2-1 2law.stou.ac.th/dynfiles/ex.41711-2.pdf · 2-6 แบบ ประเมิน ผล...

26
หน่วยที2 แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการปกครองระบอบ ประชาธิปไตย อาจารย์ ดร.สงขลา วิชัยขัทคะ ชื่อ อาจารย์ ดร.สงขลา วิชัยขัทคะ วุฒิ น.บ., D.E.A., Docteur d' Universiteʹ (กฎหมายเพื่อการพัฒนา) Universiteʹ de Paris. V ตำแหน่ง รองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา หน่วยที่เขียน หน่วยที่2

Upload: others

Post on 01-Sep-2019

0 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

2-1

หน่วยที่2แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการปกครองระบอบ

ประชาธิปไตย

อาจารย์ดร.สงขลาวิชัยขัทคะ

ชื่อ อาจารย์ดร.สงขลาวิชัยขัทคะ

วุฒิ น.บ.,D.E.A.,Docteurd'Universiteʹ (กฎหมายเพื่อการพัฒนา)UniversiteʹdeParis.Vตำแหน่ง รองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา

หน่วยที่เขียน หน่วยที่2

2-2

แผนผังแนวคิดหน่วยที่2

แนวคิดทฤษฎีเก่ียวกับ

การปกครองระบอบ

ประชาธิปไตย

2.1 แนวคิดและความ เป็นมาของการ ปกครองระบอบ ประชาธิปไตย

2.1.1 การเกิดขึ้นของกฎบัตรMagnaCarta

2.1.2 การเกิดขึ้นของรัฐธรรมนูญสหรัฐอเมริกา

2.2 หลักการพื้นฐาน

ของการปกครอง

ระบอบประชาธิปไตย

2.2.1หลักนิติรัฐ

2.2.2หลักประชาธิปไตย

2.3รูปแบบและสาระ

สำคัญของหลัก

ประชาธิปไตย

2.3.1รูปแบบของหลักประชาธิปไตย

2.3.2สาระสำคัญของหลักประชาธิปไตย

2-3

หน่วยที่2

แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการปกครองระบอบ

ประชาธิปไตย

เค้าโครงเนื้อหาตอนที่2.1 แนวคิดและความเป็นมาของการปกครองระบอบประชาธิปไตย

2.1.1 การเกิดขึ้นของกฎบัตรMagnaCarta

2.1.2 การเกิดขึ้นของรัฐธรรมนูญสหรัฐอเมริกา

ตอนที่2.2 หลักการพื้นฐานของการปกครองระบอบประชาธิปไตย

2.2.1หลักนิติรัฐ

2.2.2หลักประชาธิปไตย

ตอนที่2.3 รูปแบบและสาระสำคัญของหลักประชาธิปไตย

2.3.1รูปแบบของหลักประชาธิปไตย

2.3.2สาระสำคัญของหลักประชาธิปไตย

แนวคิด1.จุดเริ่มต้นของการปกครองระบอบประชาธิปไตยเกิดขึ้นในประเทศอังกฤษจากเหตุการณ์

การเกิดขึ้นของกฎบัตรMagnaCarta โดยเป็นข้อตกลงระหว่างกษัตริย์และบรรดา

เหล่าขุนนางเพื่อต้องการจำกัดการใช้พระราชอำนาจของกษัตริย์ให้มีขอบเขตจำกัด และ

ขณะเดียวกันต้องการรับรองและคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนมากยิ่งขึ้น และ

ถือเป็นต้นแบบและแนวทางในการจัดทำรัฐธรรมนูญของประเทศต่างๆในยุโรป

2.รัฐที่มีการปกครองระบอบประชาธิปไตยจะต้องตั้งอยู่บนหลักการพื้นฐานที่สำคัญ คือ

ต้องปกครองโดยกฎหมาย และจะต้องให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการปกครอง

ประเทศ

3.หลักประชาธิปไตยเป็นหลักการพื้นฐานที่ยอมรับให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการ

ปกครองประเทศ ในรูปแบบต่างๆ เช่น ประชาชนเลือกตัวแทนเข้ามาปกครองบริหาร

ประเทศ (ประชาธิปไตยทางผู้แทน) หรือประชาชนมีสิทธิเข้าชื่อเสนอกฎหมาย หรือ

ถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้(ประชาธิปไตยทางตรง)

2-4

วัตถุประสงค์เมื่อศึกษาหน่วยที่2จบแล้วนักศึกษาสามารถ

1.อธิบายแนวคิดและความเป็นมาของการปกครองระบอบประชาธิปไตยได้อย่างถูกต้อง

2.อธิบายหลักการพื้นฐานของการปกครองระบอบประชาธิปไตยได้อย่างถูกต้อง

3.อธิบายรูปแบบและสาระสำคัญของหลักการพื้นฐานของการปกครองระบอบประชาธิปไตย

ได้อย่างถูกต้อง

กิจกรรม1.กิจกรรมการเรียน

1)ศึกษาแผนผังแนวคิดหน่วยที่2

2)อ่านแนวการศึกษาประจำหน่วยที่2

3)ทำแบบประเมินผลตนเองก่อนเรียนหน่วยที่2

4)ศึกษาเนื้อหาสาระในแนวการศึกษาหน่วยที่2

5)ปฏิบัติกิจกรรมในแต่ละเรื่องตรวจสอบกิจกรรมจากแนวคำตอบ

6)ทำแบบประเมินผลตนเองหลังเรียนหน่วยที่2

2.งานที่กำหนดให้ทำ

1)ทำแบบฝึกหัดทุกข้อที่กำหนดให้ทำ

2)อ่านเอกสารเพิ่มเติมจากบรรณานุกรม

แหล่งวิทยาการสื่อการศึกษา

1.แนวการศึกษาหน่วยที่2

2.รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

3.หนังสือประกอบการสอนชุดวิชากฎหมายรัฐธรรมนูญและสถาบันการเมือง

(3.1) วิษณุ เครืองาม (2530) กฎหมายรัฐธรรมนูญพิมพ์ครั้งที่ 3 กรุงเทพฯ

สำนักพิมพ์นิติบรรณการ

(3.2) หยุด แสงอุทัย (2526) คำบรรยายหลักรัฐธรรมนูญทั่วไปพิมพ์ครั้งที่ 8

กรุงเทพฯโรงพิมพ์เรือนแก้ว

2-5

(3.3)ไพโรจน์ ชัยนาม(2524)สถาบันการเมืองและกฎหมายรัฐธรรมนูญภาค1

ความนำทัว่ไปโครงการตำราชดุตำราลำดบัที่5คณะกรรมการสมัมนาและวจิยัคณะนติศิาสตร์มหาวทิยาลยั

ธรรมศาสตร์กรุงเทพฯ

(3.4)ไพโรจน์ ชัยนาม(2493)กฎหมายรัฐธรรมนูญเปรียบเทียบเล่ม1ข้อความ

เบื้องต้นและหลักทั่วไปของกฎหมายรัฐธรรมนูญคำสอนชั้นปริญญาตรี มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และ

การเมืองกรุงเทพฯ

(3.5)บวรศกัดิ ์อุวรรณโณ(2546)กฎหมายมหาชนเลม่1ววิฒันาการทางปรชัญา

และลักษณะของกฎหมายมหาชนยุคต่างๆพิมพ์ครั้งที่6กรุงเทพฯบริษัทสำนักพิมพ์วิญญูชนจำกัด

(3.6) สมยศ เชื้อไทย (2549) หลักกฎหมายมหาชนเบื้องต้น พิมพ์ครั้งที่ 2

กรุงเทพฯบริษัทสำนักพิมพ์วิญญูชนจำกัด

(3.7)อภิญญา แก้วกำเนิดวิทยานิพนธ์การสถาปนารัฐธรรมนูญเพื่อปฏิรูปการ

เมือง:ศึกษาในเชิงประวัติศาสตร์กฎหมายรัฐธรรมนูญเปรียบเทียบกรณีของประเทศสหรัฐอเมริกาเยอรมนี

ฝรั่งเศสและไทย

การประเมินผลการเรียน1.ประเมินผลจากการสัมมนาเสริมและงานที่กำหนดให้ทำในแผนกิจกรรม

2.ประเมินผลจากการสอบไล่ประจำภาคการศึกษา

2-6

แบบประเมินผลตนเองก่อนเรียน

วัตถุประสงค์ เพื่อประเมินความรู้เดิมของนักศึกษาเกี่ยวกับเรื่อง “แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการปกครอง

ระบอบประชาธิปไตย”

คำแนะนำ อ่านคำถามต่อไปน้ีแล้วเขียนคำตอบลงในช่องว่างท่ีกำหนดให้ นักศึกษามีเวลาทำแบบประเมินผล

ตนเองชุดนี้30นาที

1. จงอธิบายความหมายของการปกครองระบอบประชาธิปไตยตามที่ท่านเข้าใจมาโดยสังเขป

2.ท่านเข้าใจคำว่า“ประชาธิปไตยทางตรง”อย่างไร และแตกต่างจาก“ประชาธิปไตยทางผู้แทน”อย่างไร

3.จงอธิบายสาระสำคัญของพรรคการเมืองตามที่ท่านเข้าใจมาโดยสังเขป

2-7

ตอนที่2.1

แนวคิดและความเป็นมาของการปกครองระบอบประชาธิปไตย

โปรดอ่านแผนการสอนประจำตอนที่2.1แล้วจึงศึกษาสาระสังเขปพร้อมปฏิบัติกิจกรรมในแต่ละเรื่อง

หัวเรื่องเรื่องที่2.1.1การเกิดขึ้นของกฎบัตรMagnaCarta

เรื่องที่2.1.2การเกิดขึ้นของรัฐธรรมนูญสหรัฐอเมริกา

แนวคิด1. การปกครองในระบอบประชาธิปไตยตั้งอยู่บนแนวคิดพื้นฐานสองประการ คือต้องการ

จำกัดการใช้อำนาจของผู้ปกครองและในขณะเดียวกันให้ประชาชนในฐานะเจ้าของอำนาจ

ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการใช้อำนาจปกครองด้วย

2. ตามแนวคิดพื้นฐานทั้งสองประการตามข้อ1จึงนำไปสู่เหตุการณ์การเกิดขึ้นของกฎบัตร

MagnaCartaของประเทศอังกฤษและรัฐธรรมนูญสหรัฐอเมริกาโดยรัฐธรรมนูญของ

ทั้งสองประเทศดังกล่าวต่างมีอิทธิพลและเป็นต้นแบบที่สำคัญให้กับประเทศต่างๆ ใน

ยุโรปได้ใช้เป็นแนวทางในการจัดทำรัฐธรรมนูญประเทศของตนเองต่อมา

วัตถุประสงค์เมื่อศึกษาตอนที่2.1จบแล้วนักศึกษาสามารถ

1. อธิบายแนวคิดของการปกครองระบอบประชาธิปไตยได้อย่างถูกต้อง

2. อธิบายความเป็นมาของการปกครองระบอบประชาธิปไตยได้อย่างถูกต้อง

2-8

เรื่องที่2.1.1การเกิดขึ้นของกฎบัตรMagnaCarta

สาระสังเขปกฎบัตรMagnaCarta เป็นเอกสารทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญเกี่ยวกับการปกครองของอังกฤษ

และถือเป็นรากฐานของรัฐธรรมนูญและการปกครองระบอบประชาธิปไตยของอังกฤษ โดยหากพิจารณาถึง

ความเป็นมาของการเกิดขึ้นของกฎบัตรMagnaCartaจะพบว่าเกิดขึ้นในค.ศ.1215หรือตรงกับรัชสมัย

ของพระเจ้าจอห์นทั้งนี้สืบเนื่องจากการที่พระองค์ทรงดำเนินนโยบายต่างประเทศผิดพลาดโดยเป็นศัตรูกับ

ประเทศฝรั่งเศสตลอดจนพระองค์ทรงใช้พระราชอำนาจมากเกินไปจนทำให้เหล่าบรรดาขุนนาง ข้าราชการ

และประชาชนได้รับความเดือดร้อน เช่น มีการบังคับเรียกเก็บภาษีจากประชาชนเพิ่มมากขึ้น หากฝ่าฝืน

ไม่ปฏิบัติตามก็จะบังคับโดยใช้วิธีที่มีความรุนแรงโหดร้ายด้วยเหตุดังกล่าวจึงทำให้บรรดาขุนนางต่อต้าน

จนนำไปสู่การบังคับให้พระมหากษัตริย์ทรงยินยอมและลงนามในกฎบัตรMagnaCartaดังกล่าว

สำหรบับทบญัญตัิของกฎบตัรMagnaCartaมีสาระสำคญัเปน็การจำกดัอำนาจของพระมหากษตัรยิ์

ให้ลดน้อยลงและในขณะเดียวกันกำหนดให้หลักประกันสิทธิและเสรีภาพของประชาชนเพิ่มมากยิ่งขึ้นดังจะ

เห็นได้ในกรณีก่อนที่พระมหากษัตริย์จะเรียกเก็บภาษีจากประชาชนจะต้องได้รับความยินยอมจากมหาสภา

(MagnumConcilium)ซึ่งประกอบด้วยขุนนางผู้ครองเมืองและอัศวินในแต่ละเมืองก่อนหรือการกำหนด

ให้พระมหากษัตริย์จะต้องเคารพต่อสิทธิและเสรีภาพของประชาชนโดยรับรองว่าจะไม่จับกุมยึดทรัพย์หรือ

ลงโทษประชาชนจนกว่าจะมีคำพิพากษาตัดสินของผู้พิพากษาที่ชอบด้วยกฎหมาย

(โปรดอ่านเนื้อหาสาระโดยละเอียดในหนังสือ)

1. วิษณุ เครืองามกฎหมายรัฐธรรมนูญภาค3กฎหมายรัฐธรรมนูญของประเทศที่สำคัญบทที่1

กฎหมายรัฐธรรมนูญอังกฤษ

2. บวรศักดิ์ อุวรรณโณกฎหมายมหาชนเล่ม1วิวัฒนาการทางปรัชญาและลักษณะของกฎหมาย

มหาชนยุคต่างๆ บทที่ 4 กำเนิดกฎหมายมหาชนยุคใหม่: การจำกัดอำนาจสูงสุดและการปกครองโดย

ประชาชน

3. สมบัติ ธำรงธัญวงศ์การเมืองอังกฤษบทที่2วิวัฒนาการทางการเมือง

4. สมยศ เชื้อไทยเอกสารอัดสำเนาคำบรรยายหลักรัฐธรรมนูญทั่วไปภาคที่หนึ่งหลักทั่วไปว่าด้วย

รัฐธรรมนูญบทที่2บทนำทางประวัติศาสตร์

2-9

กิจกรรม2.1.1

จงอธิบายสาระสำคัญของบทบัญญัติในกฎบัตรMagna Carta ซึ่งถือเป็นรากฐานของ

รัฐธรรมนูญและการปกครองระบอบประชาธิปไตยของอังกฤษมาโดยสังเขป

บันทึกคำตอบกิจกรรม2.1.1

(โปรดตรวจคำตอบจากแนวตอบในแนวการศึกษาหน่วยที่2ตอนที่2.1กิจกรรม2.1.1)

2-10

เรื่องที่2.1.2การเกิดขึ้นของรัฐธรรมนูญสหรัฐอเมริกา

สาระสังเขปในอดีตพื้นที่บริเวณสหรัฐอเมริกาปัจจุบันประกอบด้วยบรรดาเมืองขึ้นของประเทศต่างๆ ในยุโรป

ซึ่งหนึ่งในประเทศเหล่านั้น คือ ประเทศอังกฤษ โดยช่วงระหว่าง ค.ศ. 1770 – 1774บรรดาเมืองขึ้นของ

ประเทศอังกฤษจำนวน13เมืองซึ่งได้แก่ เมืองVirginia เมืองMassachusetts เมืองMaryland เมือง

Connecticut เมืองNewHampshire เมืองNorthCarolina เมืองSouthCarolina เมืองNewYork

เมืองNewJersey เมืองPensylvaniaเมืองDelaware เมืองGeorgia และเมืองRhodeIslandต่างไม่

พอใจในการปกครองของประเทศอังกฤษซึ่งหันมาใช้นโยบายเข้มงวดกับบรรดาเมืองอาณานิคมมากขึ้น จน

ทำให้เกิดการต่อต้านและนำไปสู่เหตุการณ์การต่อสู้ต่างๆมากมาย เช่นการประหารหมู่ที่บอสตัน (Boston

Massacre)ในค.ศ.1771และนำไปสู่การประชุมสภาแห่งภาคพื้นทวีปครั้งแรก(TheFirstContinental

Congress)ของเหล่าบรรดาตัวแทนของเมืองขึ้นต่างๆเมื่อค.ศ.1774โดยที่ประชุมตกลงร่วมกันที่จะไม่รับ

ซื้อสินค้าจากประเทศอังกฤษและจะสะสมอาวุธเพื่อต่อสู้กับกองทหารของอังกฤษ

ภายหลังจากการประชุมสภาแห่งภาคพื้นทวีปครั้งแรกได้ไม่นานบรรดาเหล่าเมืองขึ้นต่างๆจึงได้จัด

ให้มีการประชุมครั้งที่สองขึ้นโดยที่ประชุมเห็นพ้องต้องกันให้มีการจัดให้มีกองทัพอเมริกันขึ้นและตกลงร่วม

กันว่าจะให้บรรดาเมืองอาณานิคมต่างๆที่ตกเป็นเมืองขึ้นของประเทศอังกฤษนั้นต่างได้รับเอกภาพและได้

แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นคณะหนึ่งจำนวน5คนซึ่งได้แก่นายโทมัส เจฟเฟอร์สัน นายเบนจามิน แฟรงกลิน

นายจอห์น อดัมส์ นายโรเจอร์ เชอร์แมน และนายโรเบิร์ต ลิฟวิงสตันเพื่อทำหน้าที่ยกร่างประกาศอิสรภาพ

และหลังจากนั้นสภาฯ ได้ลงมติรับรองร่างประกาศอิสรภาพดังกล่าวตามที่คณะกรรมการได้ยกร่าง และได้

ประกาศอิสรภาพเมื่อวันที่4กรกฎาคม1776 โดยในแต่ละมลรัฐต่างก็ได้มีการจัดทำรัฐธรรมนูญลายลักษณ์

อักษรขึ้นเป็นของตนเอง

ครั้นต่อมาเมื่อ ค.ศ. 1781 มลรัฐทั้ง 13 แห่ง ต่างเห็นตรงกันว่า ควรจะต้องจัดตั้งรัฐบาลแบบ

สมาพันธรัฐ (Confederation) แทนสภาแห่งภาคพื้นทวีป (Continental Congress) และได้ดำเนินการ

จัดทำรัฐธรรมนูญสำหรับรัฐบาลสมาพันธรัฐขึ้นซึ่งเรียกว่า “Articles ofConfederation” โดยถือว่าเป็น

รัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษรฉบับแรกของสหรัฐอเมริกา แต่อย่างไรก็ตามรูปแบบการปกครองตามArticles

of Confederation ยังมีความบกพร่องจนนำไปสู่การประชุมของบรรดามลรัฐต่างๆ ที่เมืองฟิลาเดลเฟีย

(ConventionofPhiladelphia) เพื่อจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยเปลี่ยนรูปแบบจากแบบสมาพันธรัฐ

(Confederation)เป็นแบบสหพันธรัฐ(FederalState)เพื่อให้รัฐบาลของสหรัฐอเมริกามีอำนาจสูงสุดทั้งใน

ด้านนิติบัญญัติด้านบริหารและด้านตุลาการซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวได้มีการประกาศและมีผลใช้บังคับ

เมื่อ ค.ศ. 1789 โดยมีสาระสำคัญเป็นการปกครองในรูปแบบสาธารณรัฐ (Republic) ยอมรับว่าประชาชน

2-11

เป็นผู้ถืออำนาจอธิปไตยรัฐบาลมีอำนาจจำกัดเท่าที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้และมีการแบ่งแยกอำนาจระหว่าง

อำนาจนิติบัญญัติอำนาจบริหารและอำนาจตุลาการเพื่อป้องกันมิให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีอำนาจมากเกินไปและ

ป้องกันการใช้อำนาจที่มิชอบด้วยกฎหมาย

(โปรดอ่านเนื้อหาสาระโดยละเอียดในหนังสือ)

1. วิษณุ เครืองามกฎหมายรัฐธรรมนูญภาค3กฎหมายรัฐธรรมนูญของประเทศที่สำคัญบทที่2

รัฐธรรมนูญสหรัฐอเมริกา

2. บวรศักดิ์ อุวรรณโณกฎหมายมหาชนเล่ม1วิวัฒนาการทางปรัชญาและลักษณะของกฎหมาย

มหาชนยุคต่างๆ บทที่ 4 กำเนิดกฎหมายมหาชนยุคใหม่: การจำกัดอำนาจสูงสุดและการปกครองโดย

ประชาชน

3. สมยศ เชื้อไทยเอกสารอัดสำเนาคำบรรยายหลักรัฐธรรมนูญทั่วไปภาคที่หนึ่งหลักทั่วไปว่าด้วย

รัฐธรรมนูญบทที่2บทนำทางประวัติศาสตร์

4. อภิญญา แก้วกำเนิด วิทยานิพนธ์ เรื่อง การสถาปนารัฐธรรมนูญเพื่อปฏิรูปการเมือง: ศึกษา

ในเชิงประวัติศาสตร์กฎหมายรัฐธรรมนูญเปรียบเทียบกรณีของประเทศสหรัฐอเมริกา เยอรมันฝรั่งเศส

และไทย

กิจกรรม2.1.2

จงอธิบายสาระสำคัญของบทบัญญัติรัฐธรรมนูญสหรัฐอเมริกาที่จัดทำขึ้นที่เมืองฟิลาเดลเฟีย

และมีผลใช้บังคับเมื่อค.ศ.1789มาโดยสังเขป

บันทึกคำตอบกิจกรรม2.1.2

(โปรดตรวจคำตอบจากแนวตอบในแนวการศึกษาหน่วยที่2ตอนที่2.1กิจกรรม2.1.2)

2-12

ตอนที่2.2

หลักการพื้นฐานของการปกครองระบอบประชาธิปไตย

โปรดอ่านแผนการสอนประจำตอนที่2.2แล้วจึงศึกษาสาระสังเขปพร้อมปฏิบัติกิจกรรมในแต่ละเรื่อง

หัวเรื่องเรื่อง2.2.1หลักนิติรัฐ

เรื่อง2.2.2หลักประชาธิปไตย

แนวคิด1. การปกครองในระบอบประชาธิปไตยเป็นการปกครองที่ผู้ใช้อำนาจปกครองจะต้องใช้

อำนาจปกครองอย่างมีขอบเขตจำกัดและคำนึงถึงหลักนิติรัฐเป็นสำคัญ

2. การปกครองในระบอบประชาธปิไตยเปน็การปกครองโดยเสยีงขา้งมากและขณะเดยีวกนั

ต้องเคารพเสียงข้างน้อยโดยผู้ใช้อำนาจปกครองมาจากความยินยอมของประชาชน

วัตถุประสงค์เมื่อศึกษาตอนที่2.2จบแล้วนักศึกษาสามารถ

1. อธิบายสาระสำคัญของหลักนิติรัฐและหลักประชาธิปไตยซึ่งถือเป็นหลักการพื้นฐานที่

สำคัญประการหนึ่งของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยได้อย่างถูกต้อง

2. อธิบายหลักประชาธิปไตยตามที่ปรากฏในรัฐธรรมนูญของประเทศไทยฉบับปัจจุบันได้

อย่างถูกต้อง

2-13

เรื่องที่2.2.1หลักนิติรัฐ

สาระสังเขปในรัฐธรรมนูญของรัฐเสรีประชาธิปไตยหรือรัฐที่มีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยส่วนใหญ่

เกือบทุกประเทศต่างก็มีแนวคิดและตั้งอยู่บนหลักการพื้นฐานที่สำคัญเหมือนกันโดยแนวคิดและหลักการ

พื้นฐานที่สำคัญประการหนึ่งคือหลักนิติรัฐ(รัฐที่ปกครองโดยกฎหมาย)ซึ่งจะประกอบด้วยหลักการย่อยที่

สำคัญหลายประการซึ่งหนึ่งในนั้นคือหลักความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญซึ่งยอมรับสถานะของ

รัฐธรรมนูญให้เป็นกฎหมายสูงสุด บทบัญญัติของกฎหมายอื่นใดจะขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญไม่ได้ และ

หลักประกันสิทธิและเสรีภาพโดยผู้ใช้อำนาจรัฐจะต้องใช้อำนาจโดยคำนึงสิทธิและเสรีภาพตามที่รัฐธรรมนูญ

บัญญัติรับรองไว้และในขณะเดียวกันผู้ใช้อำนาจจะจำกัดสิทธิและเสรีภาพของประชาชนตามที่รัฐธรรมนูญ

นี้รับรองไว้ไม่ได้เว้นแต่โดยอาศัยบทอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายเฉพาะเพื่อการที่รัฐธรรมนูญ

ได้กำหนดไว้เท่านั้น

(โปรดอ่านเนื้อหาสาระโดยละเอียดในหนังสือ)

1. บรรเจิดสิงคะเนติหลักพื้นฐานของสิทธิเสรีภาพและศักดิิ์ศรีความเป็นมนุษย์ตามรัฐธรรมนูญ

พ.ศ.2540บทที่1

2. วิษณุวรัญญูปิยะศาสตร์ไขว้พันธ์เจตน์สถาวรศีลพรตำรากฎหมายปกครองว่าด้วยกฎหมาย

ปกครองทั่วไปบทที่3

กิจกรรม2.2.1

ท่านเข้าใจคำว่า“หลักนิติรัฐ”อย่างไรจงอธิบาย

บันทึกคำตอบกิจกรรม2.2.1

(โปรดตรวจคำตอบจากแนวตอบในแนวการศึกษาหน่วยที่2ตอนที่2.2กิจกรรม2.2.1)

2-14

เรื่อง2.2.2หลักประชาธิปไตย

สาระสังเขปหลักประชาธิปไตยถือเป็นหลักการพื้นฐานของการปกครองระบอบประชาธิปไตยที่สำคัญประการ

หนึ่งซึ่งถือว่าอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนทั้งนี้เนื่องจากมีการยอมรับว่าประชาชนทุกคนมีสติปัญญาและ

มีเหตุผลจึงทำให้ประชาชนทุกคนได้มีส่วนร่วมในการปกครองประเทศแต่อย่างไรก็ตามในทางความเป็นจริง

ประชาชนทุกคนไม่สามารถเข้ามาปกครองประเทศได้โดยตรงอาจเป็นเพราะข้อจำกัดเรื่องความสามารถของ

บุคคลหรือประชาชนมีจำนวนมากและประชาชนแต่ละคนย่อมมีความคิดเห็นที่แตกต่างกัน ดังนั้นประชาชน

ทุกคนอาจไม่สามารถเข้ามาปกครองประเทศได้จึงต้องมีการคัดเลือกตัวแทนของตนเข้ามาปกครองประเทศ

แทน โดยบุคคลใดที่ได้รับการคัดเลือกจากประชาชนให้มาเป็นตัวแทนมากที่สุดย่อมเป็นตัวแทนเข้ามา

ปกครองประเทศหรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือการปกครองโดยเสียงข้างมากและในขณะเดียวกันเมื่อเรายอมรับ

ว่าประชาชนทุกคนต่างมีสติปัญญาและมีเหตุผลจึงต้องเคารพการตัดสินใจของฝ่ายเสียงข้างน้อยโดยให้ฝ่าย

เสียงข้างน้อยสามารถมีสิทธิและเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นได้อย่างเต็มที่ด้วย

(โปรดอ่านเนื้อหาสาระโดยละเอียดในหนังสือ)

1.วิษณุเครืองามกฎหมายรัฐธรรมนูญภาคที่5อำนาจอธิปไตยระบอบการปกครองและระบบ

รัฐบาลบทที่2ระบอบการปกครอง

2.ไพโรจน์ชัยนามกฎหมายรัฐธรรมนูญเปรียบเทียบภาค1หลักทั่วไปของกฎหมายรัฐธรรมนูญ

ลักษณะ1อำนาจอธิปไตยและลักษณะ2การปกครองแบบประชาธิปไตย

3. สมยศเชื้อไทยหลักกฎหมายมหาชนเบื้องต้นภาค2รัฐ:สถาบันกฎหมายมหาชนหมวด2รัฐ:

พิเคราะห์ในแง่ข้อความคิดบทที่6รูปแบบของรัฐและรูปแบบการปกครอง

กิจกรรม2.2.2

คำว่า“หลักประชาธิปไตย”ท่านเข้าใจอย่างไรจงอธิบาย

2-15

บันทึกคำตอบกิจกรรม2.2.2

(โปรดตรวจคำตอบจากแนวตอบในแนวการศึกษาหน่วยที่2ตอนที่2.2กิจกรรม2.2.2)

2-16

ตอนที่2.3

รูปแบบและสาระสำคัญของหลักประชาธิปไตย

โปรดอ่านแผนการสอนประจำตอนที่2.3แล้วจึงศึกษาสาระสังเขปพร้อมปฏิบัติกิจกรรมในแต่ละเรื่อง

หัวเรื่องเรื่อง2.3.1 รูปแบบของหลักประชาธิปไตย

เรื่อง2.3.2 สาระสำคัญของหลักประชาธิปไตย

แนวคิด1. หลักประชาธิปไตยเป็นหลักที่ยอมรับให้ประชาชนทุกคนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการ

ปกครองรูปแบบและลักษณะต่างๆเช่นการเปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีสิทธิเลือกตัวแทน

ของตนเข้ามาบริหารประเทศแทนหรือให้ได้เข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองโดยตรง เช่น

การเข้าชื่อเสนอกฎหมายหรือถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง

2. ประเทศใดที่มีการปกครองโดยเสยีงขา้งมากแต่เคารพและมีหลกัประกนัตอ่เสยีงขา้งนอ้ย

โดยเปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีสิทธิตัดสินใจเลือกผู้แทนของตนเข้ามาบริหารประเทศ

ตลอดจนมีพรรคการเมืองเข้ามาทำหน้าที่นำเสนอนโยบายและเสนอตัวต่อประชาชนเพื่อ

เข้ามาทำหน้าที่บริหารประเทศตามนโยบายที่ได้เสนอนั้น ย่อมถือได้ว่าเป็นประเทศที่มี

ประชาธิปไตยอย่างสมบูรณ์

วัตถุประสงค์เมื่อศึกษาตอนที่2.3จบแล้วนักศึกษาสามารถ

1. อธิบายสาระสำคัญเกี่ยวกับรูปแบบของหลักประชาธิปไตยได้อย่างถูกต้อง

2. อธิบายและเข้าใจสาระสำคัญของหลักประชาธิปไตยในแต่ละหลักได้อย่างถูกต้อง

3. อธิบายรูปแบบและสาระสำคัญของหลักประชาธิปไตยตามที่ปรากฏอยู่ในรัฐธรรมนูญของ

ประเทศไทยฉบับปัจจุบันได้อย่างถูกต้อง

2-17

เรื่อง2.3.1รูปแบบของหลักประชาธิปไตย

สาระสังเขปเป็นที่ทราบกันดีแล้วว่า หลักประชาธิปไตยเป็นหลักที่ถือว่าอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน โดย

ประชาชนเป็นผู้ถืออำนาจสูงสุดการใช้อำนาจของรัฐต่างๆต้องมีรากฐานหรือมาจากประชาชนเป็นสำคัญใน

อดีตประชาชนทุกคนจึงได้มีโอกาสได้เข้ามามีส่วนร่วมในการปกครองหรือบริหารประเทศ แต่อย่างไรก็ตาม

ปัจจุบันประชาชนทุกคนไม่สามารถเข้ามาปกครองหรือบริหารประเทศได้โดยตรงทั้งนี้ เพราะข้อจำกัดเรื่อง

จำนวนประชาชนที่มีจำนวนมาก ดังนั้น ประชาชนจึงต้องมีการมอบอำนาจให้ตัวแทนของตนเข้ามาปกครอง

ประเทศแทนด้วยลักษณะดังกล่าวจึงสามารถแบ่งรูปแบบของหลักประชาธิปไตยได้สองรูปแบบคือ

(1)หลักประชาธิปไตยทางตรง โดยหลักประชาธิปไตยทางตรงนี้ได้ยอมรับให้ประชาชนสามารถใช้

อำนาจอธิปไตยได้ด้วยตนเองกล่าวคือประชาชนสามารถที่จะออกกฎหมายมาบังคับใช้หรือลงมติตัดสินใจ

บริหารประเทศหรือวินิจฉัยตัดสินชี้ขาดข้อพิพาทในคดีได้ด้วยตนเองโดยไม่จำเป็นต้องเลือกตัวแทนของตน

เข้ามาใช้อำนาจอธิปไตยแทน

(2)หลักประชาธิปไตยทางผู้แทนหรือการปกครองโดยระบบผู้แทนหลักประชาธิปไตยทางผู้แทน

ถือเป็นหลักที่ตรงข้ามกับหลักประชาธิปไตยทางตรง โดยเป็นหลักที่ยอมรับให้ประชาชนจะต้องตัดสินใจ

เลือกผู้แทนของตนเข้ามาใช้อำนาจอธิปไตยแทนตน แต่อย่างไรก็ตามเพื่อเป็นการป้องกันการใช้อำนาจของ

ผู้แทนตนโดยมิชอบด้วยกฎหมาย รัฐธรรมนูญบางประเทศก็จะนำเอาหลักประชาธิปไตยทางตรงมาใช้ร่วม

กับหลักประชาธิปไตยทางผู้แทนด้วยเช่นการกำหนดให้ประชาชนมีสิทธิลงคะแนนเสียงแสดงประชามติใน

เรื่องที่สำคัญหรือการมีสิทธิเข้าชื่อเสนอกฎหมายหรือการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง

(โปรดอ่านเนื้อหาสาระโดยละเอียดในหนังสือ)

1. วิษณุ เครืองามกฎหมายรัฐธรรมนูญภาคที่5อำนาจอธิปไตยระบอบการปกครองและระบบ

รัฐบาลบทที่2ระบอบการปกครอง

2. ไพโรจน์ ชัยนามกฎหมายรัฐธรรมนูญเปรียบเทียบภาค1หลักทั่วไปของกฎหมายรัฐธรรมนูญ

ลักษณะ1อำนาจอธิปไตยและลักษณะ2การปกครองแบบประชาธิปไตย

3. สมยศ เชื้อไทย หลักกฎหมายมหาชนเบื้องต้นภาค 2 รัฐ: สถาบันกฎหมายมหาชนหมวด 2

รัฐ:พิเคราะห์ในแง่ข้อความคิดบทที่6รูปแบบของรัฐและรูปแบบการปกครอง

2-18

กิจกรรม2.3.1

ปัจจุบันประเทศไทยได้นำเอาหลักประชาธิปไตยทางตรงมาบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญหรือไม่

อย่างไรจงอธิบาย

บันทึกคำตอบกิจกรรม2.3.1

(โปรดตรวจคำตอบจากแนวตอบในแนวการศึกษาหน่วยที่2ตอนที่2.3กิจกรรม2.3.1)

2-19

เรื่อง2.3.2สาระสำคัญของหลักประชาธิปไตย

สาระสังเขปโดยที่หลักประชาธิปไตยเป็นหลักที่ถือว่าอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน โดยประชาชนเป็นผู้ถือ

อำนาจสูงสุดการใช้อำนาจของรัฐต่างๆต้องมีรากฐานหรือมาจากประชาชนเป็นสำคัญ ดังนั้นหากพิจารณา

ลักษณะสาระสำคัญของหลักประชาธิปไตยจะต้องเป็นการปกครองโดยเสียงข้างมากแต่ขณะเดียวกันจะต้อง

เคารพและมีหลักประกันต่อเสียงข้างน้อยโดยหากประเทศใดไม่เคารพเสียงข้างน้อยย่อมถือได้ว่าประเทศนั้น

มีการปกครองในระบอบเผดจ็การ นอกจากหลกัการปกครองโดยเสยีงขา้งมากซึง่เปน็ลกัษณะที่สำคญัประการ

หนึ่งของการหลักประชาธิปไตยแล้วลักษณะที่สำคัญประการต่อมาของหลักประชาธิปไตยคือการปกครอง

โดยระบบผู้แทนซึง่โดยสภาพความเปน็จรงิแลว้ประชาชนทกุคนไม่สามารถเขา้มาปกครองประเทศได้ทัง้หมด

แต่จะต้องมีการมอบให้ผู้แทนของตนเข้ามาปกครองประเทศแทนตนภายในระยะเวลาที่กำหนดและในขณะ

เดียวกันจะต้องสามารถตรวจสอบและติดตามการทำหน้าที่ของผู้แทนของตนได้

สำหรับการปกครองโดยระบบผู้แทนซึ่งประชาชนจะต้องมีการแสดงเจตนาเลือกผู้แทนของตนเข้า

มาบริหารประเทศนั้นการแสดงเจตนาเลือกตั้งดังกล่าวจะต้องเป็นการเลือกตั้งที่สุจริตและยุติธรรมกล่าวคือ

ต้องสามารถแสดงเจตนาได้โดยอิสระปราศจากการแทรกแซงหรืออยู่ภายใต้อิทธิพลของบุคคลใดตลอดจน

ทกุคนมีสทิธิแสดงเจตนาได้เทา่เทยีมกนัโดยแตล่ะคนยอ่มมีคะแนนเสยีงเทา่กนัและการแสดงเจตนาดงักลา่ว

ต้องกระทำด้วยความลับเพื่อมิให้บุคคลอื่นได้รู้ว่าตนได้แสดงเจตนาเลือกบุคคลใดมาเป็นตัวแทนของตน

นอกจากการปกครองโดยเสียงข้างมาก และการปกครองโดยระบบผู้แทนแล้ว ลักษณะที่สำคัญ

ประการสุดท้ายของหลักประชาธิปไตย คือ การมีพรรคการเมือง โดยพรรคการเมืองถือเป็นกลุ่มคนที่มี

ความคิดเห็นหรือมีอุดมการณ์ทางการเมืองตรงกันได้มารวมตัวกันโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอนโยบาย

และเสนอตัวต่อประชาชนเพื่อเข้ามาทำหน้าที่บริหารประเทศตามนโยบายที่ได้เสนอนั้น ดังนั้น จึงเห็นได้ว่า

พรรคการเมืองจึงมีบทบาทและเป็นลักษณะที่สำคัญประการหนึ่งของหลักประชาธิปไตย

(โปรดอ่านเนื้อหาสาระโดยละเอียดในหนังสือ)

1. วิษณุ เครืองามกฎหมายรัฐธรรมนูญภาคที่5อำนาจอธิปไตยระบอบการปกครองและระบบ

รัฐบาลบทที่2ระบอบการปกครอง

2. ไพโรจน์ ชัยนามกฎหมายรัฐธรรมนูญเปรียบเทียบภาค1หลักทั่วไปของกฎหมายรัฐธรรมนูญ

ลักษณะ1อำนาจอธิปไตยและลักษณะ2การปกครองแบบประชาธิปไตย

3. สมยศ เชื้อไทยหลักกฎหมายมหาชนเบื้องต้นภาค 2 รัฐ: สถาบันกฎหมายมหาชนหมวด 2

รัฐ:พิเคราะห์ในแง่ข้อความคิดบทที่6รูปแบบของรัฐและรูปแบบการปกครอง

2-20

กิจกรรม2.3.2

จงอธิบายลักษณะที่เป็นสาระสำคัญของหลักประชาธิปไตยมาโดยสังเขป

บันทึกคำตอบกิจกรรม2.3.2

(โปรดตรวจคำตอบจากแนวตอบในแนวการศึกษาหน่วยที่2ตอนที่2.3กิจกรรม2.3.2)

2-21

แนวตอบกิจกรรมหน่วยที่2

แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการปกครองระบอบประชาธิปไตย

ตอนที่2.1แนวคิดและความเป็นมาของการปกครองระบอบประชาธิปไตย

แนวตอบกิจกรรม2.1.1

สาระสำคัญของบทบัญญัติในกฎบัตรMagna Carta ที่ถือเป็นรากฐานของรัฐธรรมนูญและ

การปกครองระบอบประชาธิปไตยของอังกฤษ ได้แก่ (1) การกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปกครองกับ

ผู้อยู่ใต้ปกครองโดยการปฏิรูปโครงสร้างของมหาสภาใหม่ให้ประกอบไปด้วยขุนนางผู้ครองเมืองและอัศวิน

ในแต่ละเมืองซึ่งพระมหากษัตริย์เชิญมาร่วมปรึกษาหารือและเข้ามามีส่วนร่วมในการปกครองประเทศโดย

ถือเป็นจุดเริ่มของการปกครองระบบรัฐสภาและ(2)การกำหนดรับรองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนเพิ่ม

มากขึ้น โดยการจำกัดพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ให้ลดน้อยลง เช่นประชาชนจะถูกจับกุมหรือคุม

ขังโดยมิชอบด้วยกฎหมายมิได้

แนวตอบกิจกรรม2.1.2

สาระสำคัญของบทบัญญัติรัฐธรรมนูญสหรัฐอเมริกาที่จัดทำขึ้นที่เมืองฟิลาเดลเฟีย และมีผลใช้

บังคับเมื่อค.ศ.1789ได้แก่(1)เป็นการปกครองโดยมีรูปแบบของรัฐเป็นแบบสาธารณรัฐ(Republic)โดย

ยอมรับว่าประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยและเป็นการปกครองแบบสหพันธรัฐ(2)รัฐบาลกลางมีอำนาจ

จำกัดเท่าที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้เท่านั้น (3) มีระบบการแบ่งแยกอำนาจระหว่างอำนาจนิติบัญญัติ อำนาจ

บริหารและอำนาจตุลาการและ(4)ยอมรับว่ารัฐบาลกลาง(รัฐบาลของสหรัฐ)มีอำนาจมากกว่ารัฐบาลของ

มลรัฐและมีศาลสูงสุดเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทระหว่างมลรัฐ

ตอนที่2.2หลักการพื้นฐานของการปกครองระบอบประชาธิปไตย

แนวตอบกิจกรรม2.2.1

หลักนิติรัฐหรืออาจเรียกอีกนัยหนึ่งว่ารัฐที่ปกครองโดยกฎหมายซึ่งเป็นหลักการพื้นฐานที่ปรากฏ

อยู่ในรัฐธรรมนูญของรัฐเสรีประชาธิปไตยหรือรัฐที่มีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยส่วนใหญ่เกือบทุก

ประเทศโดยประกอบไปด้วยหลักการย่อยที่สำคัญหลายประการซึ่งหนึ่งในนั้นคือหลักความเป็นกฎหมาย

สูงสุดของรัฐธรรมนูญซึ่งยอมรับสถานะของรัฐธรรมนูญโดยกำหนดให้เป็นกฎหมายสูงสุด บทบัญญัติของ

2-22

กฎหมายอื่นใดจะขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญไม่ได้ และหลักประกันสิทธิและเสรีภาพ โดยผู้ใช้อำนาจรัฐจะ

ต้องใช้อำนาจโดยคำนึงสิทธิและเสรีภาพตามที่รัฐธรรมนูญบัญญัติรับรองไว้และในขณะเดียวกันผู้ใช้อำนาจ

จะจำกัดสิทธิและเสรีภาพของประชาชนที่รัฐธรรมนูญนี้รับรองไว้ไม่ได้เว้นแต่โดยอาศัยบทอาศัยอำนาจตาม

บทบัญญัติแห่งกฎหมายเฉพาะเพื่อการที่รัฐธรรมนูญได้กำหนดไว้เท่านั้น ซึ่งหลักความเป็นกฎหมายสูงสุด

ของรัฐธรรมนูญ และหลักประกันสิทธิและเสรีภาพต่างก็ปรากฏอยู่เบื้องหลังของบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ

หลายมาตราดังจะเห็นได้จากรัฐธรรมนูญของประเทศไทยในปัจจุบัน

แนวตอบกิจกรรม2.2.2

หลักประชาธิปไตยถือเป็นหลักการพื้นฐานที่ สำคัญประการหนึ่งของการปกครองระบอบ

ประชาธิปไตยโดยถือว่าประชาชนเป็นผู้ถืออำนาจสูงสุด จะต้องมีการเลือกตัวแทนของประชาชนเข้ามาทำ

หน้าที่ปกครองและบริหารประเทศตามหลักเสียงข้างมาก และในขณะเดียวกันจะต้องมีหลักประกันและให้

ความคุ้มครองหรือเคารพเสียงข้างน้อยด้วย

ตอนที่2.3รูปแบบและสาระสำคัญของหลักประชาธิปไตย

แนวตอบกิจกรรม2.3.1

ปัจจุบันประเทศไทยได้นำเอาหลักประชาธิปไตยทางตรงมาบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญเช่นกัน ดัง

จะเห็นได้จากบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันในหมวด 7 การมีส่วนร่วมทางการเมืองโดยตรงของ

ประชาชน ซึ่งกำหนดให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองมากขึ้น เช่น การให้สิทธิประชาชนผู้มีสิทธิ

เลอืกตัง้ไม่นอ้ยกวา่หนึง่หมืน่คนมีสทิธิเขา้ชือ่เพือ่ให้รฐัสภาพจิารณารา่งพระราชบญัญตัิตามที่กำหนดในหมวด

3(สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย)และหมวด5(แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ)ได้หรือการให้สิทธิประชาชน

ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่าสองหมื่นคนเข้าชื่อเพื่อให้วุฒิสภามีมติถอดถอนบุคคลตามมาตรา 270

(นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสมาชิกวุฒิสภาฯลฯ)ออกจากตำแหน่งได้หรือการให้

สิทธิประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งมีสิทธิออกเสียงลงประชามติได้ในเรื่องที่กำหนดไว้ในมาตรา165ได้

แนวตอบกิจกรรม2.3.2

ลักษณะที่เป็นสาระสำคัญของหลักประชาธิปไตยจะประกอบไปด้วย (1) เป็นการปกครองโดย

เสียงข้างมาก แต่ขณะเดียวกันจะต้องเคารพและมีหลักประกันต่อเสียงข้างน้อย (2) เป็นการปกครองโดย

ระบบผู้แทน โดยประชาชนจะต้องมีการแสดงเจตนาเลือกผู้แทนของตนเข้ามาบริหารประเทศ และ (3) จะ

ต้องมีพรรคการเมือง เพื่อมานำเสนอนโยบายและเสนอตัวต่อประชาชนเพื่อเข้ามาทำหน้าที่บริหารประเทศ

ตามนโยบายที่ได้เสนอนั้น

2-23

แบบประเมินผลตนเองหลังเรียน

วัตถุประสงค์ เพือ่ประเมนิความกา้วหนา้ในการเรยีนรู้ของนกัศกึษาเกีย่วกบัเรือ่ง“แนวคดิทฤษฎีเกีย่วกบั

การปกครองระบอบประชาธิปไตย”

คำแนะนำ อ่านคำถามต่อไปนี้แล้วเขียนคำตอบลงในช่องว่างที่กำหนดให้ นักศึกษามีเวลาทำแบบ

ประเมินผลตนเองชุดนี้30นาที

1. จงอธิบายความเป็นมาและสาระสำคัญของรัฐธรรมนูญสหรัฐอเมริกามาพอสังเขป

2.หลักประชาธิปไตยมีความหมายอย่างไรและมีกี่รูปแบบ

3.พรรคการเมืองคืออะไร

2-24

เฉลยแบบประเมินผลตนเองหน่วยที่2

ก่อนเรียนข้อ1 การปกครองระบอบประชาธิปไตยหมายถึงการปกครองที่ผู้ปกครองหรือผู้ใช้อำนาจปกครอง

มาจากประชาชนหรือมาจากความยินยอมของประชาชนเป็นส่วนใหญ่โดยวิธีการเลือกตั้งดังนั้น เมื่ออำนาจ

ของผู้ปกครองหรือผู้ใช้อำนาจมาจากประชาชนแล้ว การใช้อำนาจดังกล่าวก็จะต้องมีการใช้อย่างมีขอบเขต

จำกัดจะต้องคำนึงถึงประชาชนเป็นสำคัญด้วยเหตุนี้หลักนิติรัฐและหลักประชาธิปไตยย่อมถือเป็นหลักการ

พื้นฐานที่สำคัญประการหนึ่งของประเทศที่มีการปกครองระบอบประชาธิปไตย

ข้อ 2 ประชาธิปไตยทางตรงหมายถึง การที่รัฐยอมรับให้ประชาชนได้สามารถใช้อำนาจอธิปไตย

ปกครองหรอืบรหิารประเทศได้ดว้ยตนเองโดยไม่จำเปน็ตอ้งเลอืกตวัแทนของตนเขา้มาใช้อำนาจอธปิไตยแทน

ซึ่งจะแตกต่างกับประชาธิปไตยทางผู้แทนคือการที่รัฐยอมรับให้ประชาชนจะต้องตัดสินใจเลือกผู้แทนของ

ตนเขา้มาใช้อำนาจอธปิไตยแทนตน และปจัจบุนัประเทศตา่งๆสว่นใหญ่ที่มีการปกครองระบอบประชาธปิไตย

จะใช้รูปแบบประชาธิปไตยทางผู้แทนแทบทั้งสิ้น

ข้อ 3 พรรคการเมืองถือเป็นการรวมกลุ่มของคนที่มีความคิดเห็นหรือมีอุดมการณ์ทางการเมือง

ตรงกันโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอนโยบายและเสนอตัวต่อประชาชนเพื่อเข้ามาทำหน้าที่บริหารประเทศ

ตามนโยบายที่ได้เสนอนั้น ดังนั้น พรรคการเมืองจึงมีบทบาทสำคัญของการปกครองระบอบประชาธิปไตย

และเป็นลักษณะที่สำคัญประการหนึ่งของหลักประชาธิปไตย

หลังเรียนข้อ 1 เนื่องจากบรรดาเมืองขึ้นของประเทศอังกฤษในสหรัฐอเมริกาไม่พอใจในการปกครองของ

ประเทศอังกฤษที่หันมาใช้นโยบายเข้มงวดกับบรรดาเมืองอาณานิคมมากขึ้นจึงได้จัดให้มีการประชุมร่วมกัน

จนในที่สุดได้มีร่วมกันยกร่างประกาศอิสรภาพโดยแต่ละมลรัฐยังมีการจัดทำรัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษร

ขึ้นเป็นของตนเองอยู่ซึ่งต่อมาแต่ละมลรัฐเห็นตรงกันว่าควรจะต้องจัดตั้งรัฐบาลแบบสมาพันธรัฐแทนสภา

แห่งภาคพื้นทวีปและได้ดำเนินการจัดทำรัฐธรรมนูญสำหรับรัฐบาลสมาพันธรัฐขึ้นซึ่งเรียกว่า“Articlesof

Confederation”โดยถอืวา่เปน็รฐัธรรมนญูลายลกัษณ์อกัษรฉบบัแรกของสหรฐัอเมรกิาอยา่งไรกต็ามรปูแบบ

การปกครองดังกล่าวยังมีความบกพร่องจนนำไปสู่การประชุมที่เมืองฟิลาเดลเฟียเพื่อจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับ

ใหม่โดยเปลีย่นรปูแบบจากแบบสมาพนัธรฐัเปน็แบบสหพนัธรฐัเพือ่ให้รฐับาลของสหรฐัอเมรกิามีอำนาจสงูสดุ

ทัง้ในดา้นนติบิญัญตัิดา้นบรหิารและดา้นตลุาการซึง่รฐัธรรมนญูฉบบัดงักลา่วมีสาระสำคญัเปน็การปกครอง

ในรูปแบบสาธารณรัฐที่ยอมรับว่าประชาชนเป็นผู้ถืออำนาจอธิปไตยรัฐบาลมีอำนาจจำกัดเท่าที่รัฐธรรมนูญ

กำหนดไว้ และมีการแบ่งแยกอำนาจเป็นอำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการเพื่อป้องกัน

มิให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีอำนาจมากเกินไปและป้องกันการใช้อำนาจที่มิชอบด้วยกฎหมาย

2-25

ข้อ 2หลักประชาธิปไตยคือหลักที่ถือว่าอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน โดยประชาชนเป็นผู้ถือ

อำนาจสูงสุดการใช้อำนาจของรัฐต่างๆต้องมีรากฐานหรือมาจากประชาชนเป็นสำคัญทั้งนี้การปกครองใน

ระบบดังกล่าวต้องมีการเคารพเสียงข้างน้อยด้วยโดยสามารถแบ่งได้สองรูปแบบคือ

(1)หลักประชาธิปไตยทางตรงประชาชนสามารถใช้อำนาจอธิปไตยได้ด้วยตนเอง

(2)หลักประชาธิปไตยทางผู้แทนหรือการปกครองโดยระบบผู้แทนประชาชนจะต้องตัดสินใจ

เลือกผู้แทนของตนเข้ามาใช้อำนาจอธิปไตยแทนตน

ข้อ 3พรรคการเมือง เป็นลักษณะที่สำคัญประการหนึ่งของหลักประชาธิปไตย เนื่องจากเป็นการ

รวมตัวของกลุ่มคนที่มีความคิดเห็นหรือมีอุดมการณ์ทางการเมืองตรงกัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอ

นโยบายและเสนอตัวต่อประชาชนเพื่อเข้ามาทำหน้าที่บริหารประเทศตามนโยบายที่ได้เสนอนั้น