รายงานการปฏิบัติงานสหกิจศึกษา

28
รายงานการปฏิบัติงานสหกิจศึกษา พัฒนาเว็บไซต์หลักของบริษัท ตลาดโซลูชั่น จากัด Website Development OF Taradsolution CO.,LTD., นายญาณศรณ์ แตงเกิด 5230211072 รายงานฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา การเตรียมความพร้อมสหกิจศึกษา สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต ภาคการศึกษาที1 ปีการศึกษา 2555

Upload: attaporn-ninsuwan

Post on 06-Dec-2014

12.020 views

Category:

Documents


6 download

DESCRIPTION

 

TRANSCRIPT

รายงานการปฏิบัติงานสหกิจศึกษา

พัฒนาเว็บไซต์หลักของบริษัท ตลาดโซลูชั่น จ ากัด Website Development OF Taradsolution CO.,LTD.,

นายญาณศรณ์ แตงเกิด 5230211072

รายงานฉบับน้ีเป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา การเตรียมความพรอ้มสหกิจศึกษา สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเกต็ ภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2555

รายงานการปฏิบัติงานสหกิจศึกษา

พัฒนาเว็บไซต์หลักของบริษัท ตลาดโซลูชั่น จ ากัด Website Development OF Taradsolution CO.,LTD.,

นายญาณศรณ์ แตงเกิด 5230211072

ปฏิบัติงาน ณ

บริษัท ตลาดโซลูชั่น จ ากัด 522 ชั้น 6 ซ.รัชดาภิเษก 26 ถ.รัชดาภิเษก แขวงสามเสนนอก เขตห้วยขวาง กทม. 10310

80/1 หมู่ 1 ถ.วิชิตสงคราม ต.กะทู้ อ.กะทู้ จ.ภูเก็ต 83120

วันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 เรื่อง ขอส่งรายงานการปฏิบัติงานสหกิจศึกษา เรียน อาจารย์ที่ปรึกษาสหกิจศึกษา สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ อาจารย์กิตย์สิริ ช่อเจี้ยง ตามที่ข้าพเจ้า นายญาณศรณ์ แตงเกิด นักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต ได้ไปปฏิบัติงานสหกิจศึกษา ระหว่างวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 ถึง วันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 ในต าแหน่งนักศึกษาฝึกงาน แผนก Programmer ณ บริษัท ตลาดโซลูชั่น จ ากัด และได้รับมอบหมายจากผู้บังคับบัญชาในการปฏิบัติงาน (Job superviso) บัดนี้ การปฏิบัติงานสหกิจศึกษาครั้งนี้ได้สิ้นสุดลงแล้ว ข้าพเจ้าจึงขอส่งรายงานดังกล่าวมาพร้อมกันนี้จ านวน 1 เล่ม เพ่ือจอรับค าปรึกษาต่อไป จึงเรียนมาเพ่ือโปรดทราบพิจารณา ขอแสดงความนับถือ (นายญาณศรณ์ แตงเกิด)

(1)

กิตติกรรมประกาศ

การที่ข้าพเจ้าได้มาปฏิบัติงานสหกิจศึกษา ณ บริษัท ตลาดโซลูชั่น จ ากัด ตั้งแต่ วันที่

5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 ถึง วันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 ส่งผลให้ข้าพเจ้าได้รับความรู้และประการณ์ต่างๆ ที่มีคุณค่ามากมาย ส าหรับรายงานวิชาสหกิจศึกษาฉบับนี้ ส าเร็จลงได้ด้วยดีจากความร่วมมือและสนับสนุนจากหลายฝ่าย ดังนี้ 1. คุณกรกมล ศรีเอ่ียม ซึ่งเป็น Marketing & Web developer 2. คุณจักรพันธ์ กาญจนวิจิตร ซึ่งเป็น พ่ีเลี้ยง Java developer รวมถึงบุคลากรท่านอ่ืนๆ ที่ไม่ได้กล่าวนามทุกท่านที่ได้ให้ค าแนะน าช่วยเหลือในการจัดท ารายงาน

ข้าพเจ้าใคร่ขอขอบพระคุณผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกท่านที่มีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลเป็นที่ปรึกษา ในหารท ารายงานฉบับบี้จนเสร็จสมบูรณ์ ตลอดจนให้การดูแลและให้ความเข้าใจเกี่ยวกับชีวิตของการท างานจริง ข้าพเจ้าขอขอบคุณไว้ ณ ที่นี้ด้วย ญาณศรณ์ แตงเกิด ผู้จัดท ารายงาน 25 กุมภาพันธ์ 2556

(2)

บทคัดย่อ

บริษัท ตลาดโซลูชั่น จ ากัด ประกอบกิจการให้บริการเป็นตลาดกลางในการซื้อขาย สินค้าหรือบริการที่สนับสนุนธุรกิจผ่านสื่ออินเตอร์เน็ต จากการที่ได้เข้าไปปฏิบัติงานของฝ่ายสหกิจศึกษาในบริษัท ตลาดโซลูชั่น จ ากัด ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติงานในต าแหน่ง web Programmer ซึ่งเป็นต าแหน่งที่ส าคัญอีกต าแหน่งต่อการพัฒนา Solutions Application Program ในการเข้าไปปฏิบัติงานนั้น ได้ท าการศึกษาในส่วนของการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ๆ แก่ลูกค้าโดยศึกษาในด้าน เทคโนโลยีใหม่ๆ พร้อมกับโซลูชั่นทางด้าน Online และ Digital Marketing ซึ่งการปฏิบัติงานนั้นได้ศึกษาการเขียน web application ตาม requirement ของลูกค้า เพ่ือเพ่ิมทั้งยอดขายและจ านวนลูกค้าในตลาดลูกค้าเดิมและตลาดลูกค้าใหม่ให้กับบริษัท เพ่ือมุ่งขยายขนาดตลาดซอฟต์แวร์ส าหรับองค์กรของอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์

ในการปฏิบัติดังกล่าวข้างต้นจะส่งผลให้บริษัทเป็นผู้น าด้าน Online and Social Network Marketing ซึ่งสามารถเพ่ิมผู้เข้าชมผ่าน Website และสร้างการตลาดทางออนไลน์ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

(3)

สารบัญ

เรื่อง หน้า กิตติกรรมประกาศ........................................................................................................................... (1) บทคัดย่อ ......................................................................................................................................... (2) สารบัญ ............................................................................................................................................ (3) สารบัญภาพ .................................................................................................................................... (5) บทที่ 1 บทน า................................................................................................................................... 1

1.1 บทน า ............................................................................................................................ 1 1.2 วัตถุประสงค์ .................................................................................................................. 1 1.3 ขอบเขตของโครงการ .................................................................................................... 1 1.4 ระยะเวลาที่ปฏิบัติงาน................................................................................................... 2 1.5 ข้อมูลผู้ประสานงาน ...................................................................................................... 2 1.6 ขั้นตอนการด าเนินการ .................................................................................................. 2 1.7 ประโยชน์ที่ได้รับจากโครงการ ....................................................................................... 3

บทที่ 2 วรรณกรรมที่เก่ียวข้อง ......................................................................................................... 4 2.1 Eclipse ......................................................................................................................... 4 2.2 ภาษาพีเอชพี (PHP Languages) .................................................................................. 4 2.3 HTML (HyperText Markup Language) .................................................................... 7 2.4 CSS (Cascading Style Sheets) ................................................................................. 8

บทที่ 3 รายละเอียดของงานที่ปฏิบัติ ................................................................................................ 9 3.1 ก าหนดเป้าหมายและวางแผน ....................................................................................... 9 3.2 วิเคราะห์และจัดโครงสร้างข้อมูล ................................................................................... 9 3.3 ออกแบบ เว็บไซต์ และเตรียมข้อมูล ............................................................................ 10 3.4 ลงมือสร้างและทดสอบ ................................................................................................ 10 3.5 เผยแพร่เว็บไซต์ ........................................................................................................... 10 3.6 ดูแลและพัฒนา ........................................................................................................... 10

บทที่ 4 ผลการด าเนินการ ............................................................................................................... 12 4.1 งานเกี่ยวกับ แผนผังโครงสร้างเว็บไซต์ ........................................................................ 12 4.2 งานเกี่ยวกับระบบน าทางหรือเนวิเกชั่น (Navigation) ................................................. 12 4.3 ไฟล์ประเภท PNG (Portable Network Graphic) ..................................................... 14

(4)

สารบัญ(ต่อ)

เรื่อง หน้า บทที่ 5 สรุป ปัญหาและข้อเสนอแนะ ............................................................................................. 16

5.1 สรุป ............................................................................................................................. 16 5.2 ปัญหาและข้อเสนอแนะ .............................................................................................. 16

หนังสือยินยอม ................................................................................................................................ 18 บรรณานุกรม ................................................................................................................................... 19 สมาชิก ............................................................................................................................................ 20

(5)

สารบัญภาพ

เรื่อง หน้า ภาพที่ 2.1 แสดงค าสั่งภาษาพีเอขพี ................................................................................................. 5 ภาพที่ 4.1 แสดงแผนผังโครงสร้างเว็บไซต์ ..................................................................................... 12 ภาพที่ 4.2 แสดงออกแบบฐานข้อมูล ............................................................................................. 13 ภาพที่ 4.3 แสดง ER Diagram ระบบสมาชิกของเว็บไซต์ .............................................................. 13 ภาพที่ 4.4 แสดงไฟล์ประเภท JPEG .............................................................................................. 14 ภาพที่ 4.5 แสดงไฟล์ประเภท PNG ............................................................................................... 15

บทท่ี 1 บทน า

1.1 บทน า ในธุรกิจการขายของในยุคใหม่ ต้องอาศัยเว็บไซต์เป็นสื่อ ในการสนับสนุน ส่งเสริม เพ่ิม

ชื่อเสียง และภาพลักษณ์ของร้านค้าให้มากขึ้น จึงท าให้ธุรกิจการจัดท าเว็บไซต์ เพ่ือใช้ในการขายสินค้า มีการแข่งขันที่เพ่ิมมากขึ้นอย่างต่อเนื่องในยุค ที่การขายมีรูปแบบที่เปลี่ยนไปเป็นการขาย ตลาดแบบออนไลน์ ซึ่งจะช่วยให้การขายสินค้าหรือการประชาสัมพันธ์ตัวสินค้า สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ได้อย่างรวดเร็ว และมีค่าใช้จ่ายที่ต่ า กว่าการเปิดร้านขาย ของแบบมีหน้าร้าน เมื่ อกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย เกิดการรับรู้และเข้ามาเยี่ยมชม จากการประชาสัมพันธ์ เพ่ือ เยี่ยมชม สั่งซื้อ ดูรายละเอียดสินค้า/บริการ ดังนั้น เว็บที่ให้บริการร้านค้าออนไลน์จึงควรที่จะมีการปรับปรุง เพ่ือให้ทันกับความต้องการใหม่ๆของลูกค้า และ มีการเปลี่ยนแปลงเพ่ือให้ ทันกับคู่แข่งที่มีมากมายในตลาดในปัจจุบัน

1.1.1 ข้อมูลสถานประกอบการ 1.1.1.1 บริษัท ตลาดโซลูชั่น จ ากัด ประกอบกิจการให้บริการเป็นตลาดกลางในการ

ซื้อขาย สินค้าหรือบริการที่สนับสนุนธุรกิจผ่านสื่ออินเตอร์เน็ต 1.1.2 เป้าหมายของบริษัท

1.1.2.1 เป็นออนไลน์เอเจนซี่ชั้นน า หนึ่งในกลุ่มบริษัท TARAD.com บริษัท e-Commerce อันดับ 1 ของประเทศไทย 1.2 วัตถุประสงค ์

1.2.1 เพ่ือเข้าใจการท างานภายในบริษัท ตลาดโซลูชั่น จ ากัด 1.2.2 เพ่ือศึกษากระบวนการในการออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์ 1.2.3 เพ่ือศึกษาการใช้เทคโนโลยีและเครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาและออกแบบเว็บไซต์ 1.2.4 เพ่ือเข้าใจถึงปัญหาที่เกิดข้ึน ในการท างานจริง 1.2.5 เพ่ือน าหลักการทฤษฏีที่ศึกษาในการเรียน มาใช้ในงานจริง

1.3 ขอบเขตของโครงการ

1.3.1 ออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์ของบริษัท 1.3.2 ปรับปรุงหรือปรับรุ่นของเว็บไซต์บริษัท

2

1.4 ระยะเวลาที่ปฏิบัติงาน เริ่มต้นการปฏิบัติงานสหกิจศึกษาวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 สิ้นสุดการปฏิบัติงาน

สหกิจศึกษาวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 1.5 ข้อมูลผู้ประสานงาน ชื่อพ่ีเลี้ยง นายจักรพันธ์ กาญจนวิจิตร ต าแหน่ง Java Developer 1.6 ขั้นตอนการด าเนินการ

1.6.1 ก าหนดเป้าหมายและวางแผน ในการพัฒนาเว็บไซต์ใน เราจะท าการก าหนดเป้าหมายและวางแผนไว้ล่วงหน้า เพ่ือให้การ พัฒนาเว็บไซต์ มีแนวทางท่ีชัดเจน

1.6.2 วิเคราะห์และจัดโครงสร้างข้อมูล เป็นการน าข้อมูลต่างๆ ที่รวบรวมได้จากขั้นแรก ไม่ว่าจะเป็นวัตถุประสงค์ของ เว็บไซต์ กลุ่มผู้ชมเป้าหมาย รวมทั้งเนื้อหาหลักของ เว็บไซต์ น ามาประเมิน วิเคราะห์ และจัดระบบ

1.6.3 ออกแบบเว็บไซต์และเตรียมข้อมูล เป็นขั้นตอนของการออกแบบเค้าโครง หน้าตา และลักษณะทางด้านกราฟฟิกของ เว็บไซต์ เพ่ือให้เพ่ือชมเกิดอารมณ์ ความรับรู้ต่อ เว็บไซต์ ตามที่เราต้องการ

1.6.4 ลงมือสร้างและทดสอบ เป็นขั้นตอนที่ เว็บไซต์ ถูกสร้างขึ้นมาจริงที่ละหน้าๆ โดยอาศัยเค้าโครงและองค์ประกอบกราฟฟิกตามที่ได้ออกแบบไว้ เนื้อหาต่างๆ จะถูกน ามาใส่และจัดรูปแบบ ลิงค์และระบบน าทางจะถูกสร้างองค์ประกอบเสริมต่างๆถูกวางเข้าที่

1.6.5 เผยแพร่เว็บไซต์ โดยทั่วไปการน า เว็บไซต์ ขึ้นเผยแพร่บนอินเตอร์เน็ต จะหระท าด้วยการอัพโหลดไฟล์ที่เกี่ยวข้องขึ้นไปบน เว็บเซิร์ฟเวอร์

1.6.6 ดูแลและพัฒนา เว็บไซต์ที่เผยแพร่ออกไปแล้วเราไม่ควรทิ้งขว้าง แต่ควรดูแลโดยตลอด ซึ่งหน้าที่นี้ครอบคลุม

หลายเรื่อง ตั้งแต่การตรวจสอบเว็บเซร์ฟเวอร์ว่าไม่หยุดท างานบ่อยๆ ลิงค์เว็บไซต์ที่เชื่อมโยงต่างๆยังคงใช้ได้ คอยตอบอีเมล์ หรือ ค าถามท่ีมีผู้ฝากไว้บน เว็บไซต์

3

1.7 ประโยชน์ที่ได้รับจากโครงการ 1.7.1 ฝึกฝนการทางานในสภาวะแวดล้อมการทางานที่กดดันและรีบเร่ง 1.7.2 ได้พัฒนาทักษะศักยภาพการใช้งานทฤษฎีความรู้ที่มีในการทางานจริง 1.7.3 ฝึกฝนระเบียบวินัยละความรับผิดชอบในการทางาน 1.7.4 เปิดมุมมองการเรียนรู้จากการทางานจริง

บทท่ี 2 วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง

ในการปฏิบัติงานสหกิจศึกษาครั้งนี้ นักศึกษาได้ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ดังรายละเอียดต่อไปนี้ 2.1 Eclipse

Eclipse เป็นเครื่องมือเขียนโปรแกรมอีกตัวหนึ่งที่เป็นโปรแกรมฟรี ของบริษัทไอบีเอ็ม (IBM) สามารถรองรับชุดพัฒนาโปรแกรมภาษาจาวา (JDK) ได้ทุกรุ่น สามารถใช้เป็นตัว editor เป็นเครื่องมือเขียนโปรแกรม การคอมไพล์โปรแกรม และสั่งให้โปรแกรมท างาน (run) ได้ และโปรแกรม อีคลิปส์ (Eclipse) ยังสามารถติดตั้งเครื่องมือเสริมได้หลายชนิด เพ่ือตามจุดประสงค์ที่แตกต่างกันของผู้ใช้งาน

Eclipse มีองค์ประกอบหลักที่เรียกว่า Eclipse Platform ซึ่งให้บริการพ้ืนฐานหลักส าหรับรวบรวมเครื่องมือต่างๆจากภายนอกให้สามารถเข้ามาท างานร่วมกันในสภาพแวดล้อมเดียวกัน และมีองค์ประกอบที่เรียกว่า Plug-in Development Environment (PDE) ซึ่งใช้ในการเพ่ิมความสามารถในการพัฒนาซอฟต์แวร์มากขึ้น เครื่องมือภายนอกจะถูกพัฒนาในรูปแบบที่เรียกว่า Eclipse plug-ins ดังนั้นหากต้องการให้ Eclipse ท างานใดเพ่ิมเติม ก็เพียงแต่พัฒนา plugin ส าหรับงานนั้นขึ้นมา และน า Plug-in นั้นมาติดตั้งเพ่ิมเติมให้กับ Eclipse ที่มีอยู่เท่านั้น Eclipse Plug-in ที่มีมาพร้อมกับ Eclipse เมื่อเรา download มาครั้งแรกก็คือองค์ประกอบที่เรียกว่า Java Development Toolkit (JDT) ซึ่งเป็นเครื่องมือในการเขียนและ Debug โปรแกรมภาษา Java

ข้อดีของโปรแกรม Eclipse คือ ติดตั้งง่าย สามารถใช้ได้กับ J2SDK ได้ทุกเวอร์ชั่น รองรับภาษาต่างประเทศอีกหลายภาษา มี plug-inที่ใช้เสริมประสิทธิภาพของโปรแกรม สามารถท างานได้กับไฟล์หลายชนิด เช่น HTML, Java, C, JSP, EJB, XML และ GIF ใช้งานได้กับระบบปฏิบัติการ Windows, Linuxและ Mac OS 2.2 ภาษาพีเอชพี (PHP Languages)

พีเอชพี (PHP) คือ ภาษาคอมพิวเตอร์ในลักษณะเซิร์ฟเวอร์-ไซด์ สคริปต์ โดยลิขสิทธิ์อยู่ในลักษณะโอเพนซอร์ส ภาษาพีเอชพีใช้ส าหรับจัดท าเว็บไซต์และแสดงผลออกมาในรูปแบบ HTML โดยมีรากฐานโครงสร้างค าสั่งมาจากภาษา ภาษาซี ภาษาจาวา และ ภาษาเพิร์ล ซึ่ง ภาษาพีเอชพี นั้น

5

ง่ายต่อการเรียนรู้ ซึ่งเป้าหมายหลักของภาษานี้ คือให้นักพัฒนาเว็บไซต์สามารถเขียน เว็บเพจ ที่มีความตอบโต้ได้อย่างรวดเร็ ภาษาพีเอชพี ในชื่อภาษาอังกฤษว่า PHP ซึ่งใช้เป็นค าย่อแบบกล่าวซ้ า จากค าว่า PHP Hypertext Preprocessor หรือชื่อเดิม Personal Home Page

2.2.1 ตัวอย่างภาษาพีเอชพี ภาษาพีเอชพี จะเป็นส่วนประกอบภายในเว็บเพจ โดยค าสั่งจะปรากฏระหว่าง <?php

... ?> เช่น แสดงรายละเอียดดังภาพที่ 2.1

ภาพที่ 2.1 แสดงค าสั่งภาษาพีเอขพี

โครงสร้าง ควบคุมของ PHP จะมีความคล้ายคลึงกับ C/C++ มาก เช่น if , for , switch และมีบางส่วนที่คล้าย Perl สามารถก าหนดตัวแปรโดยไม่ต้อง ก าหนดชนิดของตัวแปรว่าจะเป็น int, float, Boolean เป็นต้น

2.2.2 คุณสมบัติ

การแสดงผลของพีเอชพี จะปรากฏในลักษณะHTML ซึ่งจะไม่แสดงค าสั่งที่ผู้ใช้เขียน ซึ่งเป็นลักษณะเด่นที่พีเอชพีแตกต่างจากภาษาในลักษณะไคลเอนต์-ไซด์ สคริปต์ เช่น ภาษาจาวาสคริปต์ ที่ผู้ชมเว็บไซต์สามารถอ่าน ดูและคัดลอกค าสั่งไปใช้เองได้ นอกจากนี้พีเอชพียังเป็นภาษาที่เรียนรู้และเริ่มต้นได้ไม่ยาก โดยมีเครื่องมือช่วยเหลือและคู่มือที่สามารถหาอ่านได้ฟรีบนอินเทอร์เน็ต ความสามารถการประมวลผลหลักของพีเอชพี ได้แก่ การสร้างเนื้อหาอัตโนมัติจัดการค าสั่ง การอ่านข้อมูลจากผู้ใช้และประมวลผล การอ่านข้อมูลจากดาต้าเบส ความสามารถจัดการกับคุกกี้ ซึ่งท างานเช่นเดียวกับโปรแกรมในลักษณะCGI คุณสมบัติอื่นเช่น การประมวลผลตามบรรทัดค าสั่ง (command line scripting) ท าให้ผู้เขียนโปรแกรมสร้างสคริปต์พีเอชพี ท างานผ่านพีเอชพี พาร์เซอร์ (PHP parser) โดยไม่ต้องผ่านเซิร์ฟเวอร์หรือเบราว์เซอร์ ซึ่งมีลักษณะเหมือนกับ Cron (ใน ยูนิกซ์หรือ

<?php for ($i = 0; $i < 10; $i++){ echo "Test".$i; } ?>

<script language="php"> echo "Hello World."; </script>

<?php echo "Hello World."; ?>

<?php echo "Hello, World!"; ?>

6

ลีนุกซ์) หรือ Task Scheduler (ในวินโดวส์) สคริปต์เหล่านี้สามารถน าไปใช้ในแบบ Simple text processing tasks ได้

การแสดงผลของพีเอชพี ถึงแม้ว่าจุดประสงค์หลักใช้ในการแสดงผล HTML แต่ยังสามารถสร้าง XHTML หรือ XML ได้ นอกจากนี้สามารถท างานร่วมกับค าสั่งเสริมต่างๆ ซึ่งสามารถแสดงผลข้อมูลหลัก PDF แฟลช (โดยใช้ libswf และ Ming) พีเอชพีมีความสามารถอย่างมากในการท างานเป็นประมวลผลข้อความ จาก POSIX Extended หรือ รูปแบบ Perl ทั่วไป เพ่ือแปลงเป็นเอกสาร XML ในการแปลงและเข้าสู่เอกสาร XML เรารองรับมาตรฐาน SAX และ DOM สามารถใช้รูปแบบ XSLT ของเราเพ่ือแปลงเอกสาร XML

เมื่อใช้พีเอชพีในการท าอีคอมเมิร์ซ สามารถท างานร่วมกับโปรแกรมอ่ืน เช่น Cybercash payment, CyberMUT, VeriSign Payflow Pro และ CCVS functions เพ่ือใช้ในการสร้างโปรแกรมท าธุรกรรมทางการเงิน

2.2.3 การรองรับพีเอชพี

ค าสั่งของภาษาพีเอชพี สามารถสร้างผ่านทางโปรแกรมแก้ไขข้อความทั่วไป เช่น โน้ตแพด หรือ vi ซึ่งท าให้การท างานพีเอชพี สามารถท างานได้ในระบบปฏิบัติการหลักเกือบทั้งหมด โดยเมื่อเขียนค าสั่งแล้วน ามาประมวลผล Apache, Microsoft Internet Information Services (IIS) , Personal Web Server, Netscape และ iPlanet servers, Oreilly Website Pro server, Caudium, Xitami, OmniHTTPd, และอ่ืนๆ อีกมากมาย. ส าหรับส่วนหลักของ PHP ยังมี Module ในการรองรับ CGI มาตรฐาน ซึ่ง PHP สามารถท างานเป็นตัวประมวลผล CGI ด้วย และด้วย PHP, คุณมีอิสรภาพในการเลือก ระบบปฏิบัติการ และ เว็บเซิร์ฟเวอร์ นอกจากนี้คุณยังสามารถใช้สร้างโปรแกรมโครงสร้าง สร้างโปรแกรมเชิงวัตถุ (OOP) หรือสร้างโปรแกรมที่รวมทั้งสองอย่างเข้าด้วยกัน แม้ว่าความสามารถของค าสั่ง OOP มาตรฐานในเวอร์ชันนี้ยังไม่สมบูรณ์ แต่ตัวไลบรารีทั้งหลายของโปรแกรม และตัวโปรแกรมประยุกต์ (รวมถึง PEAR library) ได้ถูกเขียนขึ้นโดยใช้รูปแบบการเขียนแบบ OOP เท่านั้น

ภาษาพีเอชพีสามารถท างานร่วมกับฐานข้อมูลได้หลายชนิด ซึ่งฐานข้อมูลส่วนหนึ่งที่รองรับได้แก่ ออราเคิล dBase PostgreSQL IBM DB2 MySQL Informix ODBC โครงสร้างของฐานข้อมูลแบบ DBX ซึ่ งท าให้ พีเอชพีใช้กับฐานข้อมูลอะไรก็ได้ที่รองรับรูปแบบนี้ และ PHP ยังรองรับ ODBC (Open Database Connection) ซึ่งเป็นมาตรฐานการเชื่อมต่อฐานข้อมูลที่ใช้กันแพร่หลายอีกด้วย คุณสามารถเชื่อมต่อกับฐานข้อมูลต่างๆ ที่รองรับมาตรฐานโลกนี้ได้

ภาษาพีเอชพียังสามารถรองรับการสื่อสารกับการบริการในโพรโทคอลต่างๆ เช่น LDAP IMAP SNMP NNTP POP3 HTTP COM (บนวินโดวส์) และอ่ืนๆ อีกมากมาย คุณสามารถเปิด Socket บนเครื่อข่ายโดยตรง และ ตอบโต้โดยใช้ โพรโทคอลใดๆ ก็ได้ PHP มีการรองรับส าหรับการแลกเปลี่ยนข้อมูลแบบ WDDX Complex กับ Web Programming อ่ืนๆ ทั่วไปได้ พูดถึงในส่วน

7

Interconnection, พีเอชพีมีการรองรับส าหรับ Java objects ให้เปลี่ยนมันเป็น PHP Object แล้วใช้งาน คุณยังสามารถใช้รูปแบบ CORBA เพ่ือเข้าสู่ Remote Object ได้เช่นกัน

2.3 HTML (HyperText Markup Language)

เอชทีเอ็มแอล (อังกฤษ: HTML ย่อมาจาก Hypertext Markup Language) เป็นภาษามาร์กอัปหลักในปัจจุบันที่ใช้ในการสร้างเว็บเพจ หรือข้อมูลอ่ืนที่เรียกดูผ่านทางเว็บเบราว์เซอร์ ซึ่งตัวโค้ดจะแสดงโครงสร้างของข้อมูล ในการแสดง หัวข้อ ลิงก์ ย่อหน้า รายการ รวมถึงการสร้างแบบฟอร์ม เชื่อมโยงภาพหรือวิดีโอด้วย โครงสร้างของโค้ดเอชทีเอ็มแอลจะอยู่ในลักษณะภายในวงเล็บสามเหลี่ยม

เอชทีเอ็มแอลเริ่มพัฒนาโดย ทิม เบอร์เนอรส์ ลี (Tim Berners Lee) [ซึ่งในขณะนั้นเขาได้ประกอบอาชีพนักวิทยาศาสตร์] ส าหรับภาษา SGML ในปัจจุบัน HTML เป็นมาตรฐานหนึ่งของ ISO ซึ่งจัดการโดย World Wide Web Consortium (W3C) ในปัจจุบัน ทาง W3C ผลักดัน รูปแบบของ HTML แบบใหม่ ที่เรียกว่าXHTML ซึ่งเป็นลักษณะของโครงสร้าง XML แบบหนึ่งที่มีหลักเกณฑ์ในการก าหนดโครงสร้างของโปรแกรมท่ีมีรูปแบบที่มาตรฐานกว่า มาทดแทนใช้ HTML รุ่น 4.01 ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ขณะที่ HTML รุ่น 5 ยังคงยังอยู่ในระหว่างการพิจารณา โดยได้มีการออกดราฟต์มาเสนอเมื่อวันที่ 22 มกราคม 2551

HTML ยังคงเป็นรูปแบบไฟล์อย่างหนึ่ง ส าหรับ html และ ส าหรับ .htm ที่ใช้ในระบบปฏิบัติการที่รองรับ รูปแบบนามสกุล 3 ตัวอักษร

2.3.1 รูปแบบการเขียน 2.3.1.1 HTML นั้นมีรูปแบบการเขียนเป็นลักษณะ tag ซึ่ง tag นี้ จะมีทั้ง tag เปิด

และ tag ปิด บาง tag ก็ไม่ต้องม ีtag ปิดก็ได้ด้วย 2.3.1.2 <tag> เรียกว่า tag เปิด 2.3.1.3 </tag> เรียกว่า tag ปิด

2.3.2 ตัวอย่างการใช้งาน ดูตัวอย่างการใช้งาน ดังต่อไปนี้

<HTML> <HEAD> <TITLE>การใช้ tag</TITLE> </HEAD> <BODY> <strong>ตัวอย่าง</strong><br>การใช้ tag ของ HTML อย่างง่าย </BODY>

8

</HTML> จาก code tag ที่ เราเห็นเป็น code ของ HTML มี โครงสร้างหลักอย่ 2 ส่วนด้วยกันคือ

2.3.2.1 ส่วนหัว HEAD จะอยู่ใน tag <HEAD>...</HEAD> จากตัวอย่างข้างบนเราจะเห็นมี tag <TITLE>...</TITLE> ข้อความที่อยู่ใน tag นี้จะแสดงด้านบน title bar สังเกต ได้จากด้านบนสุดของ web Browser จะแสดงข้อความนี้ให้เราเห็น เราสามารถอธิบายหรือใส่ชื่อเรื่องต่างๆหรือข้อความที่ต้องการแสดงออกมาได้ที่นี่

2.3.2.2 ส่วนตัว BODY จะอยู่ใน tag <BODY>...</BODY> เป็นส่วนที่แสดงผลออกมายังหน้าเว็บเพจ ผ่านทาง web browser ซึ่งสามารถแสดงเป็นข้อความ ภาพ ได้

2.4 CSS (Cascading Style Sheets)

2.4.1 การท างานของ CSS จะท าร่วมกับ HTML โดยจะก าหนดการแสดงผลของสิ่งต่างๆบนเว็บ เช่น สีอักษร สีพ้ืนหลัง

ขนาดตัวอักษร การจัดเลย์เอ้าท์ ให้สวยงามและอ่ืนๆ 2.4.2 ข้อดีของ CSS

2.4.2.1 ท าให้ขนาดไฟล์แต่ละหน้าเล็กลงกว่าเดิม เพราะใช้โค้ดน้อยกว่า 2.4.2.2 มีความยืดหยุ่นสูง ในการปรับแต่งแก้ไขในอนาคต 2.4.2.3 สามารถก าหนดแยกไว้ต่างหากจากไฟล์ เอกสาร html และสามารถน ามา

ใช้ร่วม กับเอกสารหลายไฟล์ได้ ส าหรับการแก้ไขก็แก้เพียงจุดเดียวก็มีผลกับเอกสารทั้งหมดได้ 2.4.2.4 สามารถจัดการเลย์เอ้าท์ ได้อย่างละเอียดแม่นย า 2.4.2.5 ง่ายในการเรียกดู Source 2.4.2.6 ใช้ดีกับระบบสิร์ชเอ็นจินซึ่งระบบเสิร์สเอ็นจิ้นต่างๆ

2.4.3 ตัวอย่างการท างาน ไฟล์ stylesheet.css .textpink13 {font-size: 13px; font-family: "verdana"; color: #FF00FF; text-decoration:none; font-weight:normal;} ไฟล์ test.html <html> <head><link href="stylesheet.css" rel="stylesheet"

type="text/css"></head> <body> <span class="textpink13">Text Pink Color</span> </body> </html>

9

บทท่ี 3 รายละเอียดของงานท่ีปฏิบัติ

3.1 ก าหนดเป้าหมายและวางแผน ในการพัฒนาเว็บไซต์ใน เราจะท าการก าหนดเป้าหมายและวางแผนไว้ล่วงหน้า เพ่ือให้

การ พัฒนาเว็บไซต์ มีแนวทางที่ชัดเจน เรื่องหลักๆ นั้นประกอบไปด้วย 3.1.1 ก าหนดวัตถุประสงค์ของเว็บไซต์ เพ่ือให้เห็นภาพที่ชัดเจนว่า เว็บไซต์ นี้ต้องการ

น าเสนอสิ่งใด มีวัตถุประสงค์อย่างไร

3.1.2 ก าหนดกลุ่มผู้ชมเป้าหมายเพ่ือจะได้รู้ว่าผู้ชมหลักของเราคือใคร และออกแบบเว็บไซต์ ให้ตอบสนองความต้องการผู้ชมกลุ่มนั้นให้มากที่สุด

3.1.3 เตรียมแหล่งข้อมูล ข้อมูลคือสาระส าคัญของ เว็บไซต์ เราต้องรู้ว่าจ าเป็นต้องใช้ข้อมูลจากแหล่งใดบ้าง และใช้ข้อมูลอะไรบ้างดกลุ่ม

3.1.4 การเตรียมทักษะของบุคลากร การสร้าง เว็บไซต์ ต้องอาศัยทักษะหลายๆด้าน เช่น การเตรยีมเนื้อหา ออกแบบกราฟฟิก เขียนโปรแกรม และการดูแลเว็บเซิร์ฟเวอร์ เป็นต้น

3.1.5 การเตรียมทรัพยากรต่างๆ ที่จ าเป็น เว็บไซต์ บุคลากรในการ จัดท าเว็บไซต์ และ ข้อมูลต่างๆในการจัดท าเว็บไซต์ 3.2 วิเคราะห์และจัดโครงสร้างข้อมูล

เป็นการน าข้อมูลต่างๆ ที่รวบรวมได้จากขั้นแรก ไม่ว่าจะเป็นวัตถุประสงค์ของ เว็บไซต์ กลุ่มผู้ชมเป้าหมาย รวมทั้งเนื้อหาหลักของ เว็บไซต์ น ามาประเมิน วิเคราะห์ และจัดระบบ เพ่ือให้ได้โครงสร้างข้อมูลและข้อก าหนด ซึ่งจะใช้เป็นกรอบในการออกแบบด าเนินการในขั้นต่อๆไป ผลที่ได้รับจากข้ันนี้ประกอบไปด้วย

3.2.1 แผนผังโครงสร้างของ เว็บไซต์ สารบัญ (Table of Content) ล าดับการน าเสนอ (Storyboard) หรือผังงาน (Flowchart)

3.2.2 ระบบน าทางหรือเนวิเกชั่น (Navigation) ซึ่งผู้ชมจะใช้ส าหรับเปิดเข้าไปยังส่วนต่างๆของเว็บไซต์

3.2.3 องค์ประกอบต่างๆ ที่จะน ามาใช้ใน เว็บไซต์ มีอะไรบ้าง เช่น ภาพ กราฟฟิก เสียง วีดีโอ มัลติมีเดีย แบบฟอร์ม และอ่ืนๆ

3.2.4 ข้อก าหนดเกี่ยวกับลักษณะหน้าตาและรูปแบบของ เว็บไซต์ 3.2.5 ข้อก าหนดของโปรแกรมภาษาสคริปต์ หรือ เว็บแอพลิเคชั่น และฐานข้อมูลที่ใช้ 3.2.6 คุณสมบัติของเว็บเซิร์ฟเวอร์ รวมถึงข้อจ ากัด และบริการเสริมต่างๆ ที่มีให้

10

3.3 ออกแบบ เว็บไซต ์และเตรียมข้อมูล เป็นขั้นตอนของการออกแบบเค้า โครง หน้าตา และลักษณะทางด้านกราฟฟิก

ของ เว็บไซต์ เพ่ือให้เพ่ือชมเกิดอารมณ์ ความรับรู้ต่อ เว็บไซต์ ตามที่เราต้องการ ดังนั้นผู้ที่ท าหน้าที่นี้จึงควรมีความสามารถด้านศิลปะพอสมควร ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้จะประกอบไปด้วย ไฟล์กราฟฟิกต่างๆ ที่ใช้บน เว็บไซต์ เช่น โลโก้ ภาพพ้ืนหลัง ปุ่มเมนู ไอคอนที่เป็นหัวคอลัมน์ และแบนเนอร์โฆษณา

การออกแบบ เว็บไซต์ ยังรวมไปถึงการก าหนดสีสันและรูปแบบของส่วนประกอบต่างๆ ที่ไม่ใช่ภาพกราฟฟิก เช่น ฟอนต์ ขนาด สีข้อความ สีพ้ืนบริเวณที่ว่าง สีและลวดลายของเส้นกรอบ เป็นต้น นอกจากนั้นองค์ประกอบเสริมอ่ืนๆของ เว็บไซต์ ก็ต้องถูกเตรียมไว้ด้วย เช่น ภาพเคลื่อนไหว Flash และโปรแกรม JavaScript ที่ใช้ตอบโต้กับผู้ชมหรือผู้เล่นเอฟเฟ็คต่างๆ

ในส่วนของเนื้อหา ขั้นตอนนี้จะเป็นการน าเอาเนื้อหาที่เลือกไว้มาปรับแก้ และตรวจทานความถูกต้อง เพ่ือให้พร้องที่จะน าไปใส่ใน เว็บเพจ ในแต่ละหน้าในขั้นตอนถัดไป

3.4 ลงมือสร้างและทดสอบ

เป็นขั้นตอนที่ เว็บไซต์ ถูกสร้างขึ้นมาจริงที่ละหน้าๆ โดยอาศัยเค้าโครงและองค์ประกอบกราฟฟิกตามที่ได้ออกแบบไว้ เนื้อหาต่างๆ จะถูกน ามาใส่และจัดรูปแบบ ลิงค์และระบบน าทางจะถูกสร้างองค์ประกอบเสริมต่างๆถูกวางเข้าที่ อย่างไรก็ตาม เมื่อลงมือสร้าง เว็บไซต์ จริงเราอาจพบว่าสิ่งที่ออกแบบไว้แล้วบางอย่างไม่เหมาะสม หรือควรได้รับการปรับแต่ง ก็สามารถท าได้

เว็บไซต์ ที่สร้างขึ้นมาควรได้รับการทดสอบก่อนที่จะน าออกเผยแพร่ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของความถูกต้องของเนื้อหา การท างานของลิงค์และระบบน าทาง ตรวจหาความผิดพลาดของโปรแกรมสคริปต์ และฐานข้อมูล นอกจากนี้ก็ควรทดสอบ เว็บไซต์ โดยใช้สภาพแวดล้อมที่เหมือนกับของกลุ่มผู้ชม เว็บไซต์ เป้าหมาย เช่น เวอร์ชั่นของบราวเซอร์ บราวเซอร์ยี่ห้อต่างๆ ความละเอียดของจอภาพ ความเร็วที่เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต เพ่ือดูว่าผู้ชมเป้าหมายสามารถชม เว็บไซต์ ได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือไม ่

3.5 เผยแพร่เว็บไซต์

โดยทั่วไปการน า เว็บไซต์ ขึ้นเผยแพร่บนอินเตอร์เน็ต จะกระท าด้วยการอัพโหลดไฟล์ที่เกี่ยวข้องขึ้นไปบน เว็บ เซิร์ฟเวอร์ทีเ่ราเปิดบริการไว้

หลังจากนั้น เว็บไซต์ ควรได้รับการทดสอบอีกครั้ง เพ่ือตรวจหาปัญหาบางอย่างที่ไม่สามารถทดสอบบนคอมพิวเตอร์ของเราเองได้ เช่นการลิงค์ของ เว็บไซต์ กับ เว็บไซต์ อ่ืนและการท างานของโปรแกรมกับฐานข้อมูล ซึ่งอาจท าไม่ได้บนเครื่องของเรา

3.6 ดูแลและพัฒนา

เว็บไซต์ ที่เผยแพร่ออกไปแล้วเราไม่ควรทิ้งขว้าง แต่ควรดูแลโดยตลอด ซึ่งหน้าที่นี้ครอบคลุมหลายเรื่อง ตั้งแต่การตรวจสอบ เว็บเซร์ฟเวอร์ ว่าไม่หยุดท างานบ่อยๆ ลิงค์ เว็บไซต์ ที่เชื่อมโยงต่างๆ

11

ยังคงใช้ได้ คอยตอบอีเมล์ หรือ ค าถามที่มีผู้ฝากไว้บน เว็บไซต์ ถ้าเป็น เว็บไซต์ ข่าวสารก็ต้องปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา ถ้า เว็บไซต์ มีการใช้ฐานข้อมูลก็ต้องมีการส ารองข้อมูลอยู่อย่างสม่ าเสมอ

นอกจากนั้นเราควรตรวจสอบสถิติของการเข้าชมเป็นระยะๆ ซึ่งเป็นบริการเสริมที่ เว็บเซิร์ฟเวอร์ มักจะมี ให้ เช่น จ านวนผู้ เข้าชม เว็บไซต์ เว็บเพจ ใดที่มีผู้ ชมเป็นจ านวนมาก ผู้ชม เว็บไซต์ ใช้ เว็บบราวเซอร์ รุ่นใด หรือผู้ชมที่เข้ามาสู่ เว็บไซต์ ของเราโดยทางใดมากที่สุดหลังจากท่ี เว็บไซต์ ได้รับการเผยแพร่ไประยะหนึ่ง เราควรปรับปรุงเพื่อให้ผู้ชม เว็บไซต์ รู้สึกว่ามีความเปลี่ยนแปลง มีความสดใหม่ทันสมัย โดยอาจน าข้อมูลสถิติที่รวบรวมไว้มาพิจารณาประกอบด้วย การเปลี่ ยนแปลง เ ว็ บ ไซต์ ท า ได้ ทั้ ง ในส่ วนของ เนื้ อหา โครงสร้ า ง เ ว็ บ ไซต์ การออกแบบหน้าตา เว็บไซต์ และการน าเทคโนโลยีใหม่ๆเข้ามาเสริม

บทท่ี 4 ผลการด าเนินการ

4.1 งานเกี่ยวกับ แผนผังโครงสร้างเว็บไซต์

เป็นการออกแบบโครงสร้างเว็บไซต์ภายในองค์กร ซึ่งในที่นี้จะเป็นการออกแบบเฉพาะหน้าแรกของเว็บไซต์ซึ่งภายในหน้านี้จะมีรายละเอียดแสดงดังภาพที่ 4.1

ภาพที่ 4.1 แสดงแผนผังโครงสร้างเว็บไซต์

4.2 งานเกี่ยวกับระบบน าทางหรือเนวิเกชั่น (Navigation)

เป้าหมายของ ระบบน าทาง หรือ เนวิเกชั่น คือ ช่วยให้ผู้เข้าชมเข้าถึงข้อมูลที่ต้องการได้ อย่างรวดเร็ว และไม่หลงทาง ดังนั้นองค์ประกอบของระบบน าทางจึงมี 2 ส่วนด้วยกันคือเครื่องน าทาง คือเครื่องมือส าหรับให้ผู้ชมเปิดไปยังเว็บเพจต่างๆภายในเว็บไซท์ โดยแยกได้เป็น

4.2.1 เมนูหลัก เป็นเมนูส าหรับไปยังหัวข้อเนื้อหาหลักของเว็บไซท์ มักอยู่ในรูปของลิงค์ที่เป็นข้อความหรือภาพกราฟิก และจะต้องมีปรากฏอยู่บนเว็บเพจทุกหน้า

4.2.2 เมนูเฉพาะกลุ่ม เป็นเมนูที่เชื่อมโยงเว็บเพจปัจจุบันกับเว็บเพจอ่ืนภายในกลุ่มย่อยที่มีเนื้อหา เกี่ยวเนื่องเท่านั้น มักอยู่ในรูปของลิงค์ข้อความหรือกราฟิกเช่นกัน

4.2.3 เครื่องมือเสริม ส าหรับช่วยเสริมเสริมการท างานของเมนู ได้หลากหลายรูปแบบ เช่น ช่องค้นหา (Search Box) เมนูแบบดร็อปดาวน์ (Drop-down menu) อิมเพจแมพ (Image Map) และแผนที่เว็บไซท ์(Site Map)

13

4.3 งานเกี่ยวกับการออกแบบฐานข้อมูล ระบบฐานข้อมูล (Database System) คือ การรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันเข้าด้วยกัน

(Integrate) มีการจัดกลุ่มข้อมูลเก็บอยู่ในรูปตาราง (Grouping) เชื่อมโยงตารางทั้งหมดเข้าด้วยกัน (Share) เพ่ือลดความซ้ าซ้อนในการจัดเก็บข้อมูล (Non Redundancy) แสดงตัวอย่างดังภาพที่ 4.2

ภาพที่ 4.2 แสดงออกแบบฐานข้อมูล

การออกแบบฐานข้อมูลด้วย E-R model เป็นเพียงวิธีหนึ่งที่ช่วยในการออกแบบฐานข้อมูล และได้รับความนิยมอย่างมาก น าเสนอโดย Peter ซึ่งวิธีการนี้อยู่ในระดับ Conceptual level และมีหลักการคล้ายกับ Relational model เพียงแต่ E-R model แสดงในรูปแบบกราฟฟิก บางระบบจะใช้ E-R model ได้เหมาะสมกว่า แต่บางระบบจะใช้ Relational model ได้เหมาะสมกว่าเป็นต้น ซึ่งแล้วแต่การพิจารณาของผู้ออกแบบว่าจะเลือกใช้แบบใด (Relational model คือตารางข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กัน) แสดงรายละเอียดดังภาพ 4.3

ภาพที่ 4.3 แสดง ER Diagram ระบบสมาชิกของเว็บไซต์

14

4.4 งานเกี่ยวกับภาพและกราฟฟิกที่ใช้ภายในเว็บไซต์ 4.2.4 ไฟล์ประเภท GIF (Graphics Interchange Format) เป็นไฟล์ภาพที่มีขนาดเล็ก คุณภาพต่ า เนื่องจากถูกบีบอัดข้อมูลให้มีขนาดเล็ก แสดงสีได้

256 สี แต่เป็นที่นิยมส าหรับผู้เขียนเว็บเพจเป็นอย่างมากเนื่องจากสามารถท าเป็นภาพเคลื่อนไหว (Animation) และก าหนดให้แสดงภาพแบบโปร่งแสง มองทะลุไปด้านหลังได้ ไฟล์ประเภทนี้ ส่วนใหญ่จะเป็น รูปวาด ภาพการ์ตูน รูป icon, emotion, ป้ายโฆษณาแบนเนอร์ และภาพท่ีไม่ต้อง การความละเอียดมากนัก

4.2.5 ไฟล์ประเภท JPEG หรือ JPG (Joint Photo graphics Expert Group) เป็นไฟล์รูปภาพที่มีการบีบอัดข้อมูลน้อยกว่าไฟล์ประเภท GIF สามารถแสดงสีได้ 16.7 ล้าน

สี ภาพที่ได้จะมีความคมชัดมาก ไฟล์ประเภทนี้เหมาะกับภาพที่ต้องการความละเอียดสูง เช่น ภาพถ่ายจากกล้องดิจิตอลหรือ ภาพที่ ได้จากการสแกน ภาพที่แสดงการไล่ เฉดสี เป็นต้น แสดงตัวอย่างดังภาพที่ 4.4

ภาพที่ 4.4 แสดงไฟล์ประเภท JPEG

4.3 ไฟล์ประเภท PNG (Portable Network Graphic)

เป็นไฟล์ภาพที่น ามาใช้แทนที่ไฟล์ประเภท GIF เนื่องจากสามารถแสดงภาพได้เร็วกว่า แต่ยังไม่ค่อยแพร่หลายมากนักเนื่องจากไม่สามารถท าเป็นภาพเคลื่อนไหวได้ และมีข้อเสียที่ไม่ สามา รถ ใ ช้กับเว็บเบราเซอร์รุ่นเก่าได้ PNG-8 เป็นรูป แบบที่ใช้สีได้เพียง 256 สี และมีคุณสมบัติ คล้ายกับไฟล์ GIF จึงเหมาะส าหรับใช้ท าภาพที่มีสีเรียบๆ เช่น ภาพโลโก้, การ์ตูน สามารถก าหนด พ้ืนหลังให้โปร่งแสงได้ PNG-24 เป็นรูป แบบที่ใช้สีได้ 16.7 ล้านสี เช่นเดียวกับไฟล์ JPG เหมาะ ส าหรับภาพถ่าย แสดงตัวอย่างดังภาพที่ 4.5

15

ภาพที่ 4.5 แสดงไฟล์ประเภท PNG

บทท่ี 5 สรุป ปัญหาและขอ้เสนอแนะ

5.1 สรุป

การปฏิบัติงานในบริษัท ตลาดโซลูชั่น จ ากัด ในต าแหน่ง Web Programmer นั้นส่งผลให้เกิดประโยชน์ในหลายๆด้านดังนี้

5.1.1 ด้านสังคม 5.1.1.1 ได้พูดคุยท าความรู้จักกับพ่ีๆในแผนก Programmer และในบางครั้งมีพ่ีๆ

ต่างแผนกมาติดต่องานที่แผนก Programmer ก็ได้ท าความรู้จักกัน 5.1.1.2 ได้เรียนรู้การปรับตัวให้เข้ากับคนในสังคมการท างาน ซึ่งแต่ละคนจะมี

ลักษณะความเป็นอยู่ที่แตกต่างกัน 5.1.1.3 ได้รู้ถึงลักษณะการท างานจริงๆว่าเป็นอย่างไร เมื่อพบปัญหาก็ต้องหา

ทางแก้ไขเพ่ือให้งานนั้นเสร็จเรียบร้อย 5.1.1.4 ได้เรียนรู้ชีวิตประจ าวันในการท างาน

5.1.2 ด้านทฤษฎี 5.1.2.1 ได้ศึกษาเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับโค้ด PHP, CSS, JavaScript เพราะโค้ดบาง

ค าสั่งยังไม่เคยศึกษาเรียนรู้มาก่อน 5.1.2.2 ได้ศึกษาการออกแบบระบบเพ่ิมเติม เพราะมีฟังก์ชั่นในระบบยังไม่เคยท า

มาก่อน 5.1.3 ด้านปฏิบัติ

5.1.3.1 ได้ฝึกการเขียนโค้ดให้มีความช านาญมากขึ้น 5.1.3.2 ได้ฝึกฝนการท างานเป็นเวลาเหมือนๆกันทุกวัน

5.2 ปัญหาและข้อเสนอแนะ

จากการปฏิบัติงานในบริษัท ตลาดโซลูชั่น จ ากัดนั้นได้รับความรู้ต่างๆมากมายเพ่ือเก็บเป็นประสบการณ์ไว้ใช้ในอนาคตต่อไป การปฏิบัติงานในต าแหน่ง Web Programmerนั้นจัดได้ว่าเป็นการประยุกต์ใช้ความรู้ที่ได้เรียนจากมหาวิทยาลัยและความรู้ที่ได้มีการศึกษาเพ่ิมเติม ซึ่งในการปฏิบัติงานนั้น จะมีปัญหาบางประการดังนี้

17

5.2.1 ปัญหาในการท างานคือ ความรู้ที่มีอยู่นั้นยังไม่เพียงพอต่อการท างานจริง จึงต้องมีการศึกษาเพ่ิมเติมอยู่ตลอดเวลา

5.2.2 ช่วงแรกๆที่ไปยังไม่ค่อยรู้จัก พูดคุยกับพ่ีๆในแผนกมากนัก เนื่องจากไม่กล้าเข้าไปพูดคุยจึงท าให้รู้สึกเกรงๆ แต่เมื่อเวลาผ่านไปได้มีการปรับตัว ท าให้กล้าพูด กล้าคุยกับพ่ีๆในที่ท างานมากขึ้น เนื่องจากการท างานนั้นเป็นการท างานครั้งแรกท าให้ยังมีข้อบกพร่องบางประการ มีการติดขัดในการท างาน ไม่มีความคล่องตัวเล็กน้อย

18

บริษัท ตลาดโซลูชั่น จ ากัด 522 ชั้น 6 ซ.รัชดาภิเษก 26

ถ.รัชดาภิเษก แขวงสามเสนนอก เขตห้วยขวาง กทม. 10310

25 กุมภาพันธ์ 2556 เรื่อง การขออนุญาตจัดท ารายงานของบริษัท ตลาดโซลูชั่น จ ากัด เรียน คุณจักรพันธ์ กาญจนวิจิตร ต าแหน่ง Java Developer

ตามที่ข้าพเจ้า นายญาณศรณ์ แตงเกิด รหัสนักศึกษา 5230211072 สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต ได้ปฏิบัติงาน สหกิจศึกษาระหว่างวันที่ 5 พฤศจิกายน 2555 ถึง วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2556 ในต าแหน่ง Web Programmer บัดนี้การปฏิบัติงานสหกิจศึกษาได้เสร็จสิ้นแล้ว ข้าพเจ้าจึงจัดท ารายงานฉบับสมบูรณ์ เพ่ือให้คุณจักรพันธ์ กาญจนวิจิตร ได้ท าการตรวจทานและอนุญาตให้สามารถใช้เนื้อหาในรายงานดังกล่าวน าเสนอและเผยแพร่ เพ่ือให้รุ่นน้องที่สนใจได้ศึกษาค้นคว้าต่อไป

จึงเรียนมาเพ่ือโปรดพิจารณา ………………………………………................ (นายญาณศรณ์ แตงเกิด) นักศึกษาปฏิบัติงานสหกิจศึกษา วันที่……………………………………………..

อนุญาต ไม่อนุญาต ……………………………………………………. (คุณจักรพันธ์ กาญจนวิจิตร) ผู้ควบคุมการปฏิบัติงานสหกิจศึกษา วันที่……………………………………………..

19

บรรณานุกรม

ภาษาพีเอชพี(PHP)คืออะไร.(2001-2012).Avilable URL:http://blog.msu.ac.th/?p=2467. [9 กันยายน 2555] สมศักดิ์ โชคชัยชุติกุล.(2547). อินไซต์ PHP 5 (พิมพ์ครั้งที่ 1) กรุงเทพฯ: โปรวิชั่น จ ากัด. Eclipse คืออะไร. (2001-2012).Avilable URL:http://www.mindphp.com/.[9 กันยายน 2555] THE PHP Group. (2001-2012) .Date Time::format. (Online).

http://php.net/manual/en/datetime.format.php [9 กันยายน 2555]

20

สมาชิก

1. นายศุภชัย จันทร์ฮก รหัสนักศึกษา 5230211012 สาขา เทคโนโลยีสารสนเทศ 2. น.ส. ธนิกา จิตรัตน์ รหัสนักศึกษา 5230211030 สาขา เทคโนโลยีสารสนเทศ 3. น.ส. แพรพัก ขุนรอง รหัสนักศึกษา 5230211039 สาขา เทคโนโลยีสารสนเทศ 4. น.ส. วิปัศยา แดงเพชร รหัสนักศึกษา 5230211045 สาขา เทคโนโลยีสารสนเทศ 5. นายสุทธิพงษ์ จงศิริไพโรจน์ รหัสนักศึกษา 5230211049 สาขา เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. น.ส. อนุตรา หลังปูเต๊ะ รหัสนักศึกษา 5230211054 สาขา เทคโนโลยีสารสนเทศ 7. น.ส. อาศิรา ศิริไชย รหัสนักศึกษา 5230211056 สาขา เทคโนโลยีสารสนเทศ 8. นายญาณศรณ์ แตงเกิด รหัสนักศึกษา 5230211072 สาขา เทคโนโลยีสารสนเทศ 9. นางสาวลีลาวดี ศรีสุข รหัสนักศึกษา 5230212027 สาขา ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ 10. นายวัชระ คุณาปกรณ์การ รหัสนักศึกษา 5230212030 สาขา ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ 11. นายอรรถพร นิลสุวรรณ รหัสนักศึกษา 5230212042 สาขา ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ 12. นางสาวกฤติยา วงษ์วัฒนาชัย รหัสนักศึกษา 5230212051 สาขา ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์