หน้าปก - nidalibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2553/19590.pdf · 2010. 5. 31. ·...

114
การเผยแพรคําสอนในศาสนาอิสลามที่เกี่ยวกับการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดลอม : กรณีศึกษาโตะอิหมามในเขตกรุงเทพมหานคร อนุชา หวังภักดี วิชาการคนควาอิสระนี้เปนสวนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตร ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารการพัฒนาสังคม) คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดลอม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร .. 2553

Upload: others

Post on 31-Aug-2020

3 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

Page 1: หน้าปก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2553/19590.pdf · 2010. 5. 31. · logically analysed in comparison to theory and categorised in different aspects. The

การเผยแพรคําสอนในศาสนาอิสลามที่เกี่ยวกบัการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดลอม : กรณีศึกษาโตะอิหมามในเขตกรุงเทพมหานคร

อนุชา หวังภักดี

วิชาการคนควาอิสระนีเ้ปนสวนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตร ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารการพัฒนาสังคม) 

คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดลอม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร

พ.ศ. 2553

Page 2: หน้าปก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2553/19590.pdf · 2010. 5. 31. · logically analysed in comparison to theory and categorised in different aspects. The

บทคัดยอ

ชื่อวิชาการคนควาอิสระ : การเผยแพรคําสอนในศาสนาอิสลามที่เกี่ยวกับการพฒันาสังคม และสิ่งแวดลอม : กรณีศึกษาโตะอหิมามในเขตกรุงเทพมหานคร ชื่อผูเขียน : นายอนุชา หวังภักด ีชื่อปริญญา : ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต ( การบริหารการพัฒนาสังคม ) ปการศึกษา : 2552

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงคเพื่อ 1) เพื่อศึกษาทัศนคติของโตะอิหมามเกี่ยวกับคําสอนในศาสนาอิสลามที่เกี่ยวกับการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดลอมรวมถึงหลักคําสอนที่เกี่ยวของกับการอนุรักษ 2 ) เพื่อศึกษาบทบาทหนาที่ของโตะอิหมามเกี่ยวกับการบริหารพัฒนาชุมชนมุสลิมและวิธีการเผยแพรคําสอนในศาสนาอิสลามที่เกี่ยวกับการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดลอม 3 ) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของโตะอิหมามเกี่ยวกับการมีสวนรวมของชุมชนที่เกี่ยวกับการพัฒนาสังคมและส่ิงแวดลอม 4 ) เพื่อศึกษาผลของการเผยแพรคําสอนของศาสนาอิสลามที่เกี่ยวกับการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดลอม 5 ) เพื่อศึกษาปญหาอุปสรรคและแนวทางการแกไขวิธีการเผยแพรคําสอนในศาสนา อิสลามที่เกี่ยวกับการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดลอม

กลุมผูใหขอมูลที่สําคัญคือ โตะอิหมามผูนําศาสนาอิสลาม จํานวน 12 คน โดยใชวิธีการสัมภาษณแบบเจาะลึก ( In-depth Interview ) เก็บขอมูลดวยคําสนทนา จดบันทึก และบันทึกเทปควบคูไปกับการสังเกตและลงพื้นที่ภาคสนาม จากนั้นนําขอมูลทั้งหมดมาวิเคราะหตามหลักตรรกะเทียบเคียงแนวคิดทฤษฎี จัดหมวดหมูในแตละดานแตละประเด็น โดยอาศัยกระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เปนเครื่องมือสําคัญในการศึกษา

ผลการศึกษาพบวา 1. ทัศนคติของโตะอิหมามตอชุมชน ดานสังคม พบวามีโตะ อิหมามใหทัศนคติตรงกันมากที่สุด คือ มองวาการพัฒนาสังคมเปนหนาที่จําเปนสําหรับทุกคน รองลงมามองวาการพัฒนาสังคมควรใชโรงเรียนและมัสยิดเปนศูนยกลาง สําหรับดานสิ่งแวดลอม มีโตะอิหมามใหทัศนคติตรงกันมากทีสุด คือมองวา ชุมชนตองชวยกันอนุรักษ คูคลอง ตนไมและสิ่งแวดลอม รองลงมา มองวา ชุมชนในมัสยิดจะดีไดก็ตอเมื่อส่ิงแวดลอมตองดีกอน

Page 3: หน้าปก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2553/19590.pdf · 2010. 5. 31. · logically analysed in comparison to theory and categorised in different aspects. The

(2)

2. บทบาทหนาที่ของโตะอิหมามในการพัฒนาชุมชน ดานสังคมพบวามีโตะอิหมามทําบทบาทหนาที่ในการบริหารพัฒนาชุมชนที่ตรงกันมากที่สุดในเรื่อง การใหความรูเกี่ยวกับการใชชีวิตคูแกประชาชนรองลงมาคือเร่ืองการอนุรักษวัฒนธรรม และเอกลักษณของทองถ่ิน สําหรับดานส่ิงแวดลอม มีโตะอิหมามทําบทบาทหนาที่ตรงกันมากที่สุด ในเร่ืองการรักษาทรัพยากรของชุมชน รองลงมามีสองเรื่อง คือ เร่ืองการใหความรูดานการอนุรักษส่ิงแวดลอมและทรัพยากรตาง ๆ ในชุมชน และเรื่องการเปนแกนนําในการปฏิบัติการฟนฟู สภาพแวดลอมในชุมชน 3. ความคิดเห็นของโตะอิหมามเกี่ยวกับการมีสวนรวมของชุมชน ดานสังคมพบวา ความคิดเห็นของโตะอิหมามเกี่ยวกับการมีสวนรวมของคนในชุมชนตรงกันมากที่สุด ในเรื่อง การรวมสอดสองดูแลและรณรงคตอตานยาเสพติด รองลงมาคือเร่ือง การรวมทําบุญ (อะกีเกาะห) รับขวัญใหกับเด็กที่เกิดใหม สําหรับดานสิ่งแวดลอม มีความคิดเห็นของโตะอิหมามตรงกันมากที่สุดในเรื่อง ความรวมมือของชุมชนกับเจาหนาที่สํานักงานเขตขุดลอกคูคลองในชุมชน รองลงมา คือ เร่ืองการรณรงคใหรักษาความสะอาดในชุมชน

4. ผลของการเผยแพรคําสอนในศาสนาอิสลามของโตะอิหมาม ที่เกี่ยวกับการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดลอม ดานสังคมพบวา มีผลของการเผยแพรคําสอนของโตะอิหมามตรงกันมากที่สุดในเร่ืองสามารถชวยลงปญหาความขัดแยงของคนในชุมชนไดรองลงมาสามารถชวยลดปญหายาเสพติดไดในระดับหนึ่ง สําหรับดานสิ่งแวดลอม มีผลของการเผยแพรคําสอนของโตะอิหมามตรงกันมากที่สุดในเรื่อง สามารถชวยทําใหชุมชนมีสภาพแวดลอมดีขึ้น รองลงมามีการณรงค ปลูกฝงใหรักษาส่ิงแวดลอมมากขึ้น

ขอเสนอแนะที่ไดจากการศึกษา 1. โตะอิหมามทุกมัสยิดและผูนับถือศาสนาอิสลามทุกคน ควรนําหลักธรรมคําสอนที่ถูกตอง

จากคัมภีรอัลกุรอานและซุนนะห (แบบฉบับของศาสดา) มาปฏิบัติอยางเครงครัด 2. โตะอิหมามผูนําศาสนาอิสลามทุกมัสยิดควรจัดอบรมเกี่ยวกับการใชชีวิตคู แกเยาวชนมุสลิมและประชาชนทั่วไป

Page 4: หน้าปก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2553/19590.pdf · 2010. 5. 31. · logically analysed in comparison to theory and categorised in different aspects. The

ABSTRACT

Title of Research Paper : The Dissemination of Islam Relating to the Social and Environmental Development : A Case Study of Imams in Bangkok Author : Mr. Anucha Whungpukdee Degree : Master of Arts (Social Development Administration) Year : 2009

The purposes of this study are 1) to study the attitudes of imams towards the Islamic teachings relating to social and environmental development and environmental conservation, 2) to study the roles of imams in Muslim community management and development and the dissemination of Islam relating to the social and environmental development, 3) to study the views of imams on community participation relating to the social and environmental development, 4) to study the results of the dissemination of Islam relating to the social and environmental development and 5) to study problems and solutions of the dissemination of Islam relating to the social and environmental development The key informants are 12 imams, Islamic leaders. This study was conducted by means of qualitative research based on in-depth interview. The data was collected by means of conversation, note taking and tape recording, as well as observation and field study. All the data collected was logically analysed in comparison to theory and categorised in different aspects.

The findings were summed up as below: 1. The attitudes of imams towards community: In the social aspect, the most shared attitude by the imams is that the social development is a duty of all people. The second most shared attitude is that schools and mosques should be used as the centre for the social development. In the environmental aspect, the most shared attitude by the imams is Community collaboration

Page 5: หน้าปก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2553/19590.pdf · 2010. 5. 31. · logically analysed in comparison to theory and categorised in different aspects. The

(4)

in conserving canals, trees and environment. The second most shared attitude is that communities will not be good unless their environment is good. 2. The roles of imams in community management: In the social aspect, the role most shared role by the imams is the giving of knowledge about married life to the people in their communities. The second most shared role is the conservation of local arts, culture and identity of the communities. In the environmental aspect, the most shared role in common by the imams is the protection of community resources. The second most shared role is to give knowledge about the protection of community environment and resources to the people and to lead their communities in environmental rehabilitation. 3. The views of imams on the participation of community members: In the social aspect, the most shared view by the imams is the participation in keeping an eye on drug problems and launching anti-drug campaigns. The second most shared view is the participation in the Islamic ceremony for a newborn child (Aqiqah). In the environmental aspect, the most shared view by the imams is the mutual cooperation between communities and district offices in canal dredging. The second most shared view is the launching of campaigns and activities to keep community clean.

4. The results of the dissemination of Islam associated with the social and environmental development: In the social aspect, it resulted the most in a decrease in conflicts among people in the communities. The second most result is a reduction in drug problems. In the environmental aspect, it resulted the most in a better condition of the environment in the communities. The second most result is that the cultivation of environmental protection awareness has been promoted among community members.

Recommendations 1. Imams of all mosques and all Islamic people should strictly conform to the righteous religious principles and teachings of the Holy Quran and the Sunnah the way of the Prophet Muhammad. 2. Imams of all mosques should give Muslim youths and people lectures and knowledge about married life under the Islamic principles.

Page 6: หน้าปก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2553/19590.pdf · 2010. 5. 31. · logically analysed in comparison to theory and categorised in different aspects. The

กิตติกรรมประกาศ

ดวยพระมหากรุณาธิคุณของพระองคอัลลอฮฺ ทําใหวิชาการคนควาอิสระฉบับนี้สําเร็จลุลวงลงได ผูศึกษาขอขอบพระคุณ อาจารย ดร.สุวิชา เปาอารีย เปนอยางสูงที่ไดทําใหความกรุณารับเปนที่ปรึกษาวิชาการคนควาอิสระและไดใหความหวงใยติดตามใหคําปรึกษา แนะนํา และตรวจแกไขขอบกพรองตาง ๆ จนสําเร็จไดดวยความสมบูรณ ขอขอบคุณอาจารย วินัย หวังภักดี ที่กรุณาใหคําปรึกษาใหคําแนะนําเนื้อหาสําหรับการเขียนวิชาการคนควาอิสระฉบับนี้แกผูวิจัย และขอขอบคุณโตะอิหมามผูนําศาสนาอิสลามทั้ง 12 ทาน ที่ไดใหความรวมมือในการเก็บขอมูลการสัมภาษณเจาะลึก รวมทั้งโตะครูและเพื่อน ๆ ที่ไดใหคําชี้แนะชวยเหลือทุกทาน คุณงานความดีอันพึงเกิดจากการศึกษาครั้งนี้ ผูศึกษาขอมอบแดคณาจารยคณะพัฒนาสังคมและส่ิงแวดลอม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตรทุกทาน ที่ไดประสิทธิ์ประสาทวิชาความรูที่มีคุณคาแกผูศึกษาและขอขอบคุณทุกทานที่ชวยเหลือขอมูล เอกสาร และใหกําลังใจซึ่งกันและกันตลอดมา ขอพระองคอัลลอฮฺไดตอบแทนคุณงามความดีแกบิดา มารดา ผูอยูเบื้องหลังความสําเร็จทุกอยางของผูศึกษา ตลอดจนภรรยาและลูก ๆ ทุกคนที่คอยใหกําลังใจจนวิชาการคนควาอิสระฉบับนี้สําเร็จลุลวงไปดวยดี และนอกจากนี้ยังมีผูใหความชวยเหลืออีกมากในการทําวิชาการคนควาอิสระฉบับนี้ ซ่ึงผูศึกษาไมสามารถกลาวนามไดหมด จึงขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้ และขอพระองคอัลลอฮฺ จงทรงประทานสิ่งดีงาม และความเจริญรุงเรืองในชีวิต แดทานเหลานั้น แทนคําขอบคุณในครั้งนี้ดวย วัสลาม

อนุชา หวังภักดี เมษายน 2553

Page 7: หน้าปก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2553/19590.pdf · 2010. 5. 31. · logically analysed in comparison to theory and categorised in different aspects. The

สารบัญ

หนา บทคัดยอ ( 1 ) ABSTRACT ( 3 ) กิตติกรรมประกาศ ( 5 ) สารบัญ ( 6 ) สารบัญตาราง ( 8 ) สารบัญภาพ ( 9 ) บทที่ 1 บทนํา 1 1.1 ความเปนมาและความสาํคัญของปญหา 1 1.2 วัตถุประสงคของการศึกษา 4 1.3 ขอบเขตและวิธีการศึกษา 4 1.4 ประโยชนที่คาดวาจะไดรับ 5 บทที่ 2 แนวคิด ทฤษฎี และผลงานวิจัยที่เกี่ยวของ 6 2.1 ความหมายของทัศนคต ิ 6 2.2 แนวคดิเกีย่วกับศาสนาอสิลาม 13 2.3 แนวคดิการเผยแพรคําสอนที่เกี่ยวกับการพัฒนาสังคม 16 2.4 แนวคดิการเผยแพรคําสอนที่เกี่ยวกับการอนุรักษส่ิงแวดลอม 19 2.5 ผลงานวิจยัที่เกีย่วของ 34 บทที่ 3 แนวคิด และระเบยีบวิธีวจิัย 37 3.1 แนวคดิในการศึกษา 37 3.2 นิยามศัพทที่ใชในการศึกษา 38 3.3 กลุมเปาหมายและผูใหขอมูลที่สําคัญ 40 3.4 วิธีการเกบ็รวบรวมขอมูล 40

Page 8: หน้าปก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2553/19590.pdf · 2010. 5. 31. · logically analysed in comparison to theory and categorised in different aspects. The

( ) 7

สารบัญ (ตอ)

หนา 3.5 การวิเคราะหขอมูล 41 3.6 แนวทางการสัมภาษณแบบเจาะลึก 41 บทที่ 4 ผลการศึกษา 44 4.1 บริบทของศาสนาอิสลามในเขตกรุงเทพมหานคร 44 4.2 ขอมูลพื้นฐานของผูใหขอมูลที่สําคัญ 48 4.3 ผลการสัมภาษณแบบเจาะลึก โตะอิหมาม 58 4.4 ผลการศึกษาตามวัตถุประสงค 67 4.5 สรุปการสัมภาษณผูใหขอมูลแบบเจาะลึกทั้งหมด 72 บทที่ 5 สรุปและขอเสนอแนะ 74 5.1 สรุปขอมูลพื้นฐานของผูใหขอมูลที่สําคัญ 74 5.2 สรุปผลการศึกษา ทัศนคติของโตะอิหมาม 75 5.3 สรุปผลการศึกษา บทบาทของโตะอิหมาม 75 5.4 สรุปผลการศึกษา การมีสวนรวมของคนในชุมชน 76 5.5 สรุปผลการศึกษา การเผยแพรคําสอนศาสนาของโตะอิหมาม 76 5.6 ขอเสนอแนะที่ไดจากการศึกษา 77 5.7 ขอเสนอแนะในการศึกษาตอไป 78 บรรณานุกรม 79 ภาคผนวก 82 ภาคผนวก ก แบบสอบถาม 84 ภาคผนวก ค พระราชบัญญัติการบริหารองคกรศาสนาอิสลาม พ.ศ. 2540 89 ประวัติผูวจิัย 103  

Page 9: หน้าปก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2553/19590.pdf · 2010. 5. 31. · logically analysed in comparison to theory and categorised in different aspects. The

สารบัญตาราง

ตารางที่ หนา

4.1 แสดงจํานวน และคารอยละ ขอมูลพื้นฐานของโตะอิหมาม 49 4.2 วิเคราะหทัศนคติของโตะอิหมาม แสดงความถี่ และคารอยละ ในดานสงัคมและสิ่งแวดลอม 51 4.3 วิเคราะหบทบาทของโตะอิหมาม แสดงความถี่ และคารอยละ ในดานสงัคมและสิ่งแวดลอม 55 4.4 วิเคราะหความคิดเห็นของโตะอิหมาม ในการมีสวนรวมของ ชุมชน แสดงความถี่ และคารอยละในดานสังคมและสิ่งแวดลอม 55 4.5 แสดงความถี ่ และคารอยละ ผลของการเผยแพรคําสอน

ของโตะอิหมาม ในดานสังคมและสิ่งแวดลอม 57

Page 10: หน้าปก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2553/19590.pdf · 2010. 5. 31. · logically analysed in comparison to theory and categorised in different aspects. The

สารบัญภาพ

ภาพที่ หนา 2.1 แสดงทัศนคติ พฤติกรรม และสวนทีเ่กี่ยวของ 9 2.2 แสดงความสัมพันธระบบตาง ๆ ที่เปนองคประกอบของระบบธรรมชาติ 22

Page 11: หน้าปก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2553/19590.pdf · 2010. 5. 31. · logically analysed in comparison to theory and categorised in different aspects. The

บทที่ 1

บทนํา

1.1 ความเปนมาและความสําคัญของปญหา ศาสนาอิสลามเปนระบอบการดําเนินชีวิตที่วิวัฒนาการตอจากการสอนของศาสดาในอดีตและเปนแนวทางการดําเนินชีวิตของมุสลิมซึ่งไดมาจากคัมภีรพระมหาคัมภีรอัลกรุอาน และจาก ซุนนะห ( พระจริยวัตร คําสอนและการกระทํา ) ของทานศาสดา มูฮําหมัด ซอลลัลลอหุอะลัยฮิวะซัลลัม ( ขอความสันติสุขจงประสบแดพระองค ) และเปนคําสอนสุดทายที่มีเนื้อหาสาระสมบูรณทุกรูปแบบที่เกี่ยวของกับการดําเนินชีวิตของมนุษย เมื่อ ค.ศ. 610 หรือ พ.ศ. 1153 คือเมื่อ 1,431 ปลวงมาแลว ณ ที่ซ่ึงเปนประเทศซาอุดิอาราเบียในปจจุบัน คัมภีรอัลกุรอาน และซุนนะห ( พระจริยวัตร) ของทานศาสดามูฮําหมัด ซ.ล. เปรียบเสมือนคลังทางดานวิชาการ ซ่ึงมีความสมบูรณพรอมสรรพ ที่มีประโยชนแกมวลมนุษยชาติในทุกสาขาวิชา ทั้งเปนคําสอนแนะนําตลอดจนอุทาหรณตาง ๆ เหมาะสําหรับการคนควาโดยเฉพาะอยางยิ่งในดานการพัฒนาสังคมใหเจริญรุงเรืองมีความสงบสุขและดานการอนุรักษส่ิงแวดลอม ในปจจุบันประชากรโลกที่นับถือศาสนาอิสลามมีประมาณ 1,200 ลานคนกระจัดกระจายอยูในประเทศตาง ๆ ไมต่ํากวา 120 ประเทศทั่วโลก ประเทศไทยเปนประเทศหนึ่งที่มีผูนับถือศาสนาอิสลาม (คณะกรรมการอิสลามประจํากรุงเทพมหานคร , 2551 : 79)

จาการสํารวจประชากรในป พ.ศ. 2551 ปรากฏวาประเทศไทยมีประชากร 63 ลานคน ในจํานวนนี้เปนชาวไทยมุสลิมประมาณ 3 ลานคน หรือ ประมาณ 5% ของประชากรทั้งประเทศและนับเปนอันดับ 2 รองจากผูนับถือศาสนาพุทธ โดยผูที่นับถือศาสนาอิสลามสวนใหญอาศัยอยูใน 4 จังหวัดชายแดนภาคใต คือ จังหวัดปตตานี ยะลา นราธิวาส และ สตูล นอกจากนั้นยังกระจัดกระจายอยูในภูมิภาคอื่น ๆ คือในจังหวัดตาง ๆ เกือบจะทุกจังหวัด รวมทั้งในกรุงเทพมหานคร แตไมวาชาวไทยมุสลิมจะอยูในจังหวัด ใด ๆ ก็ตาม ก็จะมีเอกลักษณอยางหนึ่งคือ ชาวไทยมุสลิมจะอยูกันเปนกลุมกอน คือเปนหมูบาน และในแตละหมูบานก็จะมีมัสยิด หรือสุเหรา ซ่ึงเปนศูนยกลางของชุมชนที่ชาวไทยมุสลิมจะตองไปประกอบศาสนกิจรวมกัน เปนที่เรียนหนังสือของเยาวชน และอื่น ๆ โดยมีอิหมาม ซ่ึง

Page 12: หน้าปก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2553/19590.pdf · 2010. 5. 31. · logically analysed in comparison to theory and categorised in different aspects. The

2

เปนผูที่ชาวบานเลือกขึ้นมาเปนผูนําหมูบานหรือชุมชนนั้น โดยเปนไปตามหลักการของศาสนาอิสลามที่ใชทั่วโลก (คณะกรรมการอิสลามประจํากรุงเทพมหานคร , 2551 : 80 ) ปจจุบันสภาพของสังคมมีการพัฒนาอยางไมหยุดยั้ งในยุคโลกาภิวัตร ประเทศตาง ๆ มีปฏิสัมพันธกันอยางแนนแฟน โดยการถายทอดเทคโนโลยีและระบบเครือขายสื่อสารอันทันสมัย ทามกลางกระแสของการเปลี่ยนแปลงของโลกที่มุงไปสูการแขงขัน เพื่อแสวงหาความเปนผูนําและมหาอํานาจทางเศรษฐกิจจึงทําใหมนุษยนั้นตองแขงขันกัน เพื่อที่จะเปนผูนําและมหาอํานาจทางเศรษฐกิจทําใหมนุษยตองแขงขันกัน เพื่อหาหนทางใหมีชีวิตอยูรอดและมีความสุข ซ่ึงสะทอนใหเห็นถึงความตองการของมนุษยที่ไมมีขีดจํากัดและความเห็นแกตัว สงผลใหเกิดปญหาความขัดแยงอันเนื่องมาจากการแยงชิงทรัพยากรธรรมชาติ สังคมหนึ่งพยายามครอบงําเอารัดเอาเปรียบและฉกฉวยประโยชนจากอีกสังคมหนึ่งตลอดเวลา โดยผานกระบวนการที่เรียกอยางนาฟงวา “การพัฒนา ” ทั้งนี้การพัฒนาไดมีบทบาทอยางมากตั้งแตภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง โดยนานาประเทศไดเรงรัดการพัฒนาประเทศของตนผานกระบวนการปฏิวัติอุตสาหกรรมทําใหเกิดการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมและการพัฒนาการของสังคม กลาวไดวามัสยิด หรือสุเหรานั้นถือเปนศูนยกลางของคนในชุมชน ถูกสรางขึ้นมาตามหลักการของศาสนาอิสลามเพื่อเปนที่ใหมนุษยไดไปปฏิบัติศาสนกิจรวมกัน ไดทําความรูจักกัน ตลอดจนสามารถปรึกษาหารือกัน แลกเปลี่ยนความรูและความคิดเห็น เพื่อเพิ่มพูนความรูและเพื่อใหเกิดความรักใครสามัคคี หรือสรางความเปนปกแผนในสังคม ตั้งแตระดับครอบครัวชุมชนเล็ก ๆ ตลอดจนถึงการรวมกลุมของประชาชาติมุสลิมในโลก มัสยิดแตละแหงจะเปนศูนยกลางของชุมชนนั้น ๆ และมีโตะอิหมามเปนผูนําชุมชนและถายทอดคําสอนของศาสนา จากอดีตที่ผานมา ตั้งแตสมัยของทานศาสดามูฮําหมัด (ซ.ล.) ไดสรางมัสยิดเปนสถาบันที่เปนศูนยรวมในการกระทํากิจกรรมตาง ๆ ของชาวมุสลิมทางดานศาสนา สังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจและการเมือง ดังจะเห็นไดจากการที่ทานศาสดามูฮําหมัด (ซ.ล.) ไดสรางมัสยิดขึ้นเพื่อเปนสถานที่ชุมชนของชาวมุสลิมหรืออุมมะฮ ของทานจากที่ตาง ๆ โดยทานเปนผูนําในการประกอบศาสนกิจของชุมชนนั้นภารกิจดังกลาวนี้ไดดําเนินตอเนื่องมาจนถึงปจจุบันดังคําอธิบายที่วา “ ชาวมุสลิมจะไปรวมกันทําละหมาดที่มัสยิดเปนประจําทุกวัน วันละ 5 เวลา มัสยิดจึงกลายเปนศูนยกลางของการปรึกษาหารือ และชวยเหลือกันทั้งทางดานสังคมและเศรษฐกิจ ทั้งเรื่องสวนตัวและหมูคณะ ” ( เสาวนีย จิตหมวด , 2527 ) โดยมีอิหมามและคณะกรรมการมัสยิดทําหนาที่บริหารกิจการสืบทอดเจตนารมณของทานศาสดา โดยรวมดวยเหตุและผลดังกลาวหนาที่ของมัสยิด, อิหมาม และคณะกรรมการมัสยิด ที่มีตอชุมชน ยอมเปนผลดีตอชุมชนนั้น ๆ ที่จะกอใหเกิดการพัฒนาขึ้น และจะเปนการพัฒนาที่ดีที่สุดเพราะ

Page 13: หน้าปก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2553/19590.pdf · 2010. 5. 31. · logically analysed in comparison to theory and categorised in different aspects. The

3

มุงหวังที่จะพัฒนาคน พัฒนาสังคมและสิ่งแวดลอมรอบขาง ใหมีคุณภาพเปนประการสําคัญ ฉะนั้นมัสยิดจึงเปนศูนยรวมศรัทธาของบรรดามุสลิม ชีวิตของบรรดามุสลิมยอมผูกพันอยูกับมัสยิด เพราะมัสยิดมีความสําคัญตอชีวิตมุสลิมนับตั้งแตเกิดมาจนกระทั้งตายลง ดังนั้นจึงเปนเอกลักษณสําคัญประการหนึ่งของศาสนาอิสลามที่มีมัสยิดอยูที่ใด ก็ตองเขาใจวามีชาวมุสลิมอยูที่นั่น แตละมัสยิดจะตองมีอิหมามเปนประธานกรรมการ โดยอิหมามมักจะไดรับการคัดเลือกมาจากคนที่ชาวบานยกยองนับถือวาเปนผูที่มีศีลธรรม มีความรูในการประกอบพีธีกรรมทางศาสนาได มีหนาที่แนะนํา ส่ังสอนคนโดยเฉพาะคนในชุมชนใหเครงครัดอยูในศาสนา สอนใหเด็กและผูใหญสามารถที่จะอานคัมภีร อัลกุรอานได เปนผูนําในการทําพิธีกรรมทางศาสนาในชุมชนตลอดจนใหคําปรึกษา และขอช้ีแนะเกี่ยวกับการดําเนินชีวิตตามครรลองของศาสนาอิสลามแกสมาชิกชุมชน หนาที่หลักคือเปนอิหมาม (ผูนํา) นําละหมาด 5 เวลาในทุก ๆ วัน นอกจากนี้ทุก ๆ วันศุกรหลังเที่ยงวัน จะทําหนาที่นําละหมาดวันศุกร (ละหมาดุมอัต) ที่มัสยิด โดยมีผูชวยอีก 2 คน คือคอเต็บ และบิหล่ัน ชวยในการดําเนินการจัดพิธีละหมาดและอานบทเทศน ฉะนั้นหนาที่ของอิหมามจึงไมไดมีขอบเขตจํากัดแตเพียงที่มัสยิดในการนําละหมาดเทานั้น แตมีหนาที่อ่ืน ๆ อีกมากมาย ดังนั้นการที่มัสยิดจะทําหนาที่บริการแกสังคม หรืออํานวยประโยชนใหแกประชาชนไดดังที่เปนมาตั้งแตอดีตไดนั้นยอมขึ้นอยูกับผูนําของมัสยิดนั้น คือ อิหมาม คอเต็บ บิหล่ัน และคณะกรรมการมัสยิด เพราะตัวมัสยิดคืออาคาร ซ่ึงตัวอาคารไมสามารถจะทําหนาที่อันใดได นอกจากตัวบุคคลจะชวยทําใหมัสยิดเกิดหนาที่หรือมีบทบาทขึ้นมาในฐานะสถาบัน ซ่ึงหากมัสยิดใดมีอิหมามที่เปนผูนําที่ดีมีความรูความสามารถในการบริหารจัดการพัฒนาคนในชุมชนและสิ่งแวดลอม ก็จะทําใหมัสยิดมีบทบาทหนาที่ในดานตาง ๆ เชน บทบาทดานศาสนา การศึกษา เศรษฐกิจ การพัฒนาสังคม และการอนุรักษส่ิงแวดลอม เปนตน ดั่งเชนในสมัยทานศาสดามูฮําหมัด (ซ.ล.) โตะอิหมามและคณะกรรมบริหารมัสยิดจะเปนแกนหลักที่ชวยขับเคลื่อนการพัฒนาชุมชนมุสลิม และการอนุรักษส่ิงแวดลอมไดอยางดีเลิศ ฉะนั้นในการศึกษาวิจัยนี้ จะกลาวถึงทัศนคติของโตะอิหมาม (ผูนํา) ในชุมชนและการเผยแพรคําสอนในศาสนาอิสลามที่เกี่ยวกับการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดลอม ผูซ่ึงเปนแกนหลักในการขับเคลื่อนมวลชนในชุมชนนั้น ๆ ใหเกิดการพัฒนาสังคมและการอนุรักษส่ิงแวดลอมได พรอมทั้งยังสามารถที่จะขยายไปยังคนกลุมใหญที่เราเรียกวาสังคมอีกดวย ถือไดวาตําแหนงโตะอิหมามนั้นเปนที่ตําแหนงที่นาสนใจในการศึกษาวิจัยเปนอยางยิ่ง ศาสนาอิสลามมีมัสยิดเปนศาสนสถาน และมีโตะอิหมามเปนผูนําชุมชน เปนสถาบันศาสนาที่เปนระบบยอยระบบหนึ่งในสังคมไทย ดังนั้นหากระบบนี้ทํางานไดดี มีประสิทธิภาพตามศาสนบัญญัติ

Page 14: หน้าปก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2553/19590.pdf · 2010. 5. 31. · logically analysed in comparison to theory and categorised in different aspects. The

4

ยอม สงผลดีที่มีความสัมพันธเกี่ยวเนื่องไปยังสถาบันหรือระบบอื่น ๆ เชน ครอบครัว การศึกษา การพัฒนาสังคม การอนุรักษส่ิงแวดลอม ฯลฯ และสงผลไปถึงระบบใหญคือระดับประเทศชาติ 1.2 วัตถุประสงคของการศึกษา ในการศึกษาเรื่อง “การเผยแพรคําสอนในศาสนาอิสลามที่ เ ก่ียวกับการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดลอม: กรณีศึกษาโตะอิหมามในเขตกรุงเทพมหานคร” ผูศึกษาไดกําหนดวัตถุประสงคของการศึกษาวิจัยไวดังตอไปนี้

1.2.1 เพื่อศึกษาทัศนคติของโตะอิหมามเกี่ยวกับคําสอนในศาสนาอิสลามที่เกี่ยวกับการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดลอมรวมถึงหลักคําสอนที่เกี่ยวของกับการอนุรักษ

1.2.2 เพื่อศึกษาบทบาทหนาที่ของโตะอิหมามเกี่ยวกับการบริหารพัฒนาชุมชนมุสลิมที่เกี่ยวกับการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดลอม

1.2.3 เพื่อศึกษาความคิดเห็นของโตะอิหมามเกี่ยวกับการมีสวนรวมของชุมชนและวิธีการเผยแพรคําสอนในศาสนาอิสลามที่เกี่ยวกับการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดลอม 1.2.4 เพื่อศึกษาผลของการเผยแพรคําสอนของศาสนาอิสลามที่เกี่ยวกับการพัฒนาสังคมและส่ิงแวดลอม

1.2.5 เพื่อศึกษาปญหาอุปสรรคและแนวทางการแกไขวิธีการเผยแพรคําสอนในศาสนา อิสลามที่เกี่ยวกับการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดลอม

1.3 ขอบเขตและวิธีการศึกษา การศึกษางานวิจัยในครั้งนี้ ผูศึกษาไดยึดหลักการตามระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ใชแนวทางการสัมภาษณแบบเจาะลึก ( In-depth Interview ) ผูใหขอมูลจํานวน 12 คน ซ่ึงเปนผูใหขอมูลที่สําคัญ ( Key-informant ) 1.3.1 ขอบเขตดานเนื้อหา การศึกษานี้ไดกําหนดขอบเขตของการศึกษาทัศนคติของโตะอิหมามและการเผยแพรคําสอนในศาสนาอิสลามที่เกี่ยวกับการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดลอม

Page 15: หน้าปก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2553/19590.pdf · 2010. 5. 31. · logically analysed in comparison to theory and categorised in different aspects. The

5

1.3.2 ขอบเขตดานพื้นท่ี ศึกษาทศันคติและวิธีการเผยแพรของโตะอิหมามเกี่ยวกับคําสอนในศาสนาอสิลามกับการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดลอมทําการศึกษาที่มัสยดิในเขตกรุงเทพมหานคร

1.3.3 ขอบเขตดานระยะเวลา ระยะเวลาในการศึกษาตั้งแตเดือน พฤศจิกายน 2552 – เดือน มีนาคม 2553

1.4 ประโยชนท่ีคาดวาจะไดรับ ในการศึกษาวิจัยคร้ังนี้ ประโยชนที่คาดวาจะรับไดมีดังตอไปนี้ 1.4.1 ทําใหทราบถึงทัศนคติของโตะอิหมามเกี่ยวกับคําสอนในศาสนาอิสลามที่เกี่ยวกับการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดลอมรวมถึงหลักคําสอนที่เกี่ยวของกับการอนุรักษ 1.4.2 ทําใหทราบถึงบทบาทหนาที่ของโตะอิหมามเกี่ยวกับการบริหารพัฒนาชุมชนมุสลิมที่เกี่ยวกับการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดลอม 1.4.3 ทําใหทราบถึงความคิดเห็นของโตะอิหมามเกี่ยวกับการมีสวนรวมของชุมชนและวิธีการเผยแพรคําสอนในศาสนาอิสลามเกี่ยวกับการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดลอม 1.4.4 ทําใหทราบถึงผลของการเผยแพรคําสอนของศาสนาอิสลามเกี่ยวกับการพัฒนาสังคมและส่ิงแวดลอม 1.4.5 เพื่อหาแนวทางการแกไขวิธีการเผยแพรคําสอนในศาสนาอิสลามที่เกี่ยวกับการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดลอม

Page 16: หน้าปก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2553/19590.pdf · 2010. 5. 31. · logically analysed in comparison to theory and categorised in different aspects. The

บทที่ 2

แนวคิด ทฤษฏี และผลงานวิจัยที่เกี่ยวของ

ในการศึกษาทัศนคติเร่ือง “การเผยแพรคําสอนในศาสนาอิสลามที่เกี่ยวกับการพัฒนาสังคมและส่ิงแวดลอม: กรณีศึกษาโตะอิหมามในเขตกรุงเทพมหานคร ผูศึกษาไดศึกษาแนวคิดทฤษฏี และผลงานวิจัยที่เกี่ยวของ เพื่อเปนแนวทางในการศึกษาวิจัย โดยจําแนกออกไดดังนี้ 2.1 แนวคิดและทฤษฏีที่เกี่ยวกับทัศนคติ 2.2 แนวคิดเกี่ยวกับศาสนาอิสลาม 2.3 แนวคิดการเผยแพรคําสอนในศาสนาอิสลามที่เกี่ยวกับการพัฒนาสังคม 2.4 แนวคิดการเผยแพรคําสอนในศาสนาอิสลามที่เกี่ยวกับการอนุรักษส่ิงแวดลอม 2.5 ผลงานวิจัยที่เกี่ยวของ

2.1 ความหมายของทัศนคติ ทัศนคติ (Attitude) เปนศัพทจิตวิทยาทางการศึกษา เปนความเชื่อ ความรูสึก และเครื่องแสดงพฤติกรรมของบุคคลที่มีตอส่ิงตาง ๆ ซ่ึงไดมีผูใหความหมายของ “ทัศนคติ” ไวดังนี้ พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน (2525 : 393) ไดใหความหมายของทัศนคติไววา หมายถึง แนวความคิดเห็น นิพนธ คันธเสวี (2511: 3) กลาววา ทัศนคติเปนสิ่งชี้บอกของการแสดงออกของบุคคลที่กระทําตอส่ิงของ บุคคล หรือสถานการณที่เกี่ยวของ ชูชีพ ออนโคกสูง (2522 : 108) ใหความหมายวา ทัศนคติ คือ ความพรอมที่จะตอบสนองหรือแสดงความรูสึกตอวัตถุ ส่ิงของ คน สัมผัสอื่น ๆ ตลอดจนสถานการณ ซ่ึงความรูสึกหรือการตอบสนองดังกลาวอาจเปนไปไดในทางชอบ (เขาไปหา) หรือไมชอบ (ถอยหนี) ประภาเพ็ญ สุวรรณ (2520 : 3) ไดใหความหมายวา ทัศนคติ หมายถึง ความคิดเห็นซึ่งมีอารมณเปนสวนประกอบ เปนสวนที่พรอมจะมีปฏิกิริยาเฉพาะอยางตอสภาพการณภายนอก Allport (1935, อางถึงในทิพวรรณ กิตติวิบูลย, 2542 : 5) ใหความหมายวา ทัศนคติคือสภาพทางจิตหรือประสาทของความพรอมที่จัดรูปขึ้นจากประสบการณและสงอิทธิพลในทางกํากับหรืออิทธิพลไมอยูนิ่งแกการตอบสนองของบุคคลตัวที่หมาย และสถานการณทั้งหลายที่เกี่ยวของ

Page 17: หน้าปก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2553/19590.pdf · 2010. 5. 31. · logically analysed in comparison to theory and categorised in different aspects. The

7

เชิดศักดิ์ โฆวาสินธ (2520, อางถึง รุงนภา บุญคุม, 2536 : 53) กลาววาทัศนคติ หมายถึง ความรูสึกที่มีตอส่ิงตาง ๆ อันเปนผลเนื่องจากการเรียนรูประสบการณ และเปนตัวกระตุนใหบุคคลแสดงพฤติกรรม หรือแนวโนมที่จะตอบสนองตอส่ิงเรานั้น ๆ ไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่งอาจเปนไปในทางสนับสนุนหรือคัดคานก็ได ทั้งนี้ขึ้นอยูกับขบวนการอบรมใหเรียนรูระเบียบวิธีของสังคม หรือปรากฏใหเห็นไดชัดในกรณีที่ส่ิงเรานั้นเปนสิ่งเราทางสังคม ดวงเดือน พันธุมนาวิน (2542:3) กลาววาทัศนคติหมายถึง ความพรอมในการกระทําของบุคคลตอส่ิงใด บุคลใด ความพรอมดังกลาวของบุคคลเห็นไดจากพฤติกรรมที่บุคคลแสดงตอส่ิงนั้นวาชอบหรือไมชอบ เห็นดวยหรือไมเห็นดวย สรุปไดวา ทัศนคติ หมายถึง ความรูสึกชอบหรือไมชอบสิ่งใดสิ่งหนึ่งพรอมที่จะดําเนินการเพื่อตอบสนองความรูสึกนั้น ๆ เมื่อมีส่ิงเรา (วัตถุ คน สัมผัสตาง ๆ สถานการณ) ใหเกิดพฤติกรรม 2.1.2 ลักษณะองคประกอบของทัศคติ 2.1.2.1 ลักษณะของทัศนคติ ทัศนคติเปนสิ่งที่บอกทิศทางของอาการแสดงออกของบุคคล ที่จะกระทําตอส่ิงใดหรือบุคคล หรือสถานการณ ทัศนคติ มีลักษณะสําคัญ 4 ประการ (ฑิตยา สุวรรณะชฎ, 2520: 602-603) คือ 1) ทัศนคติเปนสภาวะกอนที่พฤติกรรมจะโตตอบ (Predisposition to Respond) ตอเหตุการณหรือส่ิงหนึ่งสิ่งใดโดยเฉพาะหรือจะเรียกวา ความพรอมที่จะมีพฤติกรรมจริง 2) ทัศนคติจะมีความคงตัวอยูในชวงระยะเวลา (Persistent, Overtime) แตมิไดหมายความวาจะไมมีการเปลี่ยนแปลง 3) ทัศนคติเปนตัวแปรแฝงที่นําไปสูความสอดคลองระหวางพฤติกรรมและความรูสึกนึกคิด ไมวาจะเปนไปในรูปของการแสดงออกโดยวาจา หรือการแสดงออกโดยความรูสึกตลอดจนการที่จะตองเผชิญหรือหลีกเลี่ยงตอส่ิงใดสิ่งหนึ่ง 4) ทัศนคติมีคุณสมบัติของแรงจูงใจในอันที่จะทําใหบุคคลประเมินผลและเลือกสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซ่ึงหมายความตอไปถึงการกําหนดทิศทางของพฤติกรรมจริงดวย นอกจากนี้ ลักษะสําคัญของทัศนคติ ยังอาจแยกพิจารณา (รุงนภา บุญคุม, 2536:54) ไดดังนี้ 1) ทัศนคติไมใชพฤติกรรมเปดเผยที่มีตอวัตถุทางสังคม หรือบุคคลแตเปนสภาพที่ใกลชิดตอเนื่องกับการกระทํา

Page 18: หน้าปก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2553/19590.pdf · 2010. 5. 31. · logically analysed in comparison to theory and categorised in different aspects. The

8

2) ทัศนคติเปนเครื่องกระตุนอยางสําคัญที่จะกําหนดพฤติกรรมเปดเผยของบุคคล แตในขณะเดียวกันก็อยูในขอบเขตจํากัดของบุคลิกภาพของแตละบุคคล 3) กอนจะเกิดทัศนคติตองมีส่ิงเรา ทัศนคติเปนเพียงพฤติกรรมแบบปกปด 2.1.2.2 องคประกอบของทัศคติ องคประกอบของทัศนคติ (Attitude Component) (ฑิตยา สุวรรณะชฏ, 2520:603-604) แบงออกเปน 3 สวนคือ 1) สวนของความรูสึก (Affective Component) หมายถึง บรรดาความรูสึกที่ชอบหรือไมชอบ รัก หรือเกลียด หรือกลัว ซ่ึงเปนเรื่องของอารมณของบุคคล 2) สวนของสติหรือเหตุผล (Cognitive Component) เปนเรื่องการใชเหตุผลของ แตละบุคคลในการจําแหนกความแตกตาง ตลอดจนผลตอเนื่อง ผลได ผลเสีย กลาวคือ การที่บุคคลสามารถนําอาคุณคาทางสังคมที่ไดรับการอบรมสั่งสอนและถายทอดมาใชในการวิเคราะหพิจาณาประกอบเหตุผลของการที่ตนจะประเมินขอแตกตางระหวางสวนนี้กับความรูสึก คือ การพิจารณาของบุคคลในสวนนี้จะมีลักษณะปลอดภัยจากอารมณ แตเปนเรื่องของเหตุผล อันสืบเนื่องมาจากความเชื่อของบุคคล 3) สวนของแบบพฤติกรรม (Behavioral Component) หมายถึง แนวโนมที่จะมีพฤติกรรม (action Tendency) แนวโนมที่จะมีพฤติกรรมนี้จะมีความสัมพันธตอเนื่องกับสวนของความรูสึกตลอดจนสวนของสติและเหตุผล สวนของแบบพฤติกรรมนี้เปนสวนที่บุคคลพรอมที่จะปฏิกิริยาแสดงออกตอเหตุการณหรือส่ิงใดสิ่งหนึ่ง (ฑิตยา สุวรรณะชฎ, 2520 : 603-604) 2.1.3 การเกิดทัศนคติ (Attitude Formation) ธีรพร อุวรรณโณ (2529:10-11) กลาววา ทัศนคติเกิดจากการเรียนจากสภาวะแวดลอมบุคคลไดรับอิทธิพลในการสรางทัศนคติ ดังนี้ 2.1.3.1 อิทธิพลจากพอแม เด็กวัยเขาเรยีนจะพฒันา คานิยม (Value) คามเชื่อ (Believe) และความรูสึกนึกคิดขึ้นมาในกรอบของครอบครัวที่มีพอแมเปนหลัก พอแมมีอํานาจใหคุณตอเด็กทําดี และมีอํานาจใหโทษเมื่อเดก็ทําสิ่งใดไมดหีรือพอแมไมเห็นดวย 2.1.3.2 อิทธิพลจากกลุมตาง ๆ เด็กวัยเขาเรียนจะไดรับอิทธิพลจากครู กลุมเพื่อน และกฎระเบียบตาง ๆ ตลอดจนหนังสือเรียน ก็พัฒนาทัศนคติตอเดกในวัยเรียน แตครูตองเปนตัวอยางที่ดีแกเด็กดวย ตลอดจนแรงกดดันจากภายนอก วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณีบรรทัดฐานทางสังคม เปนสิ่งกํากับทัศนคติของทั้งในภาวะเปนเด็กและเปนผูใหญ

Page 19: หน้าปก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2553/19590.pdf · 2010. 5. 31. · logically analysed in comparison to theory and categorised in different aspects. The

9

2.1.3.3 อิทธิพลจากประสบการณสรางตัว ประสบการณในวัยเด็กมีอิทธิพลตอการพัฒนาของบุคคล รวมทั้งการพัฒนาทัศนคติดวยการไดพบเห็นบอย ๆ ก็เปนทางกอใหเกิดทัศนคติที่ดีแกกันได การพบระหวางคนตางสัญชาติ แตก็มีองคประกอบหลายอยางที่เกี่ยวของเพื่อกอใหเกิดทัศนคติที่ดีตอกัน ตัวประกอบเหลานี้ ไดแก 1) การพบกันตองมีการติดตอกันนานพอสมควร 2) พบกันในการทํางานรวมมือกัน 3) ตองมีสถานภาพเทาเทียมกัน 4) มีวัตถุประสงคและความเชื่อคลาย ๆ กัน 2.1.3.4 อิทธิพลจากสื่อมวลชน รวมถึง วิทยุ โทรทัศน ส่ิงที่ชัดเจนที่จุด คือการโฆษณาประชาสัมพันธ อิทธิพลของสื่อมวลชนอาจเรียกไดวาจะมีมากที่สุด Triandis (1971 อางถึงใน พลเทพ จันทรสีประเสริฐ, 2526 : 4) ไดใหความเห็นวา ทัศคติมิใชส่ิงที่มาแตกําเนิด (Inborn) (ภาพที่ 2.1) หากพัฒนาขึ้นมาภายหลังเปนผลของปจจัยตาง ๆ อันเปนภูมิหลังของบุคคลนั้น ๆ เชน ชาติกําเนิด การศึกษาอบรมที่ไดรับ ประสบการณในชีวิตสภาพแวดลอมที่เผชิญอยูดวย สรุปไดวา ทัศคติมีที่มาจากสิ่งเรา ซ่ึงมาในรูปประสบการณโดยตรง และประสบการณโดยออม ผานขบวนการเรียนรู แลวผานออกไปสูพฤติกรรมการแสดงความคิดเห็นหรือแสดงเหตุผล ซ่ึงเปนปฏิกิริยาตอบสนอง สิ่งเรา - บุคคล - สถานการณ - กลุม - Social Issues - อื่น ๆ ภาพที่ 2.1 แสดงทัศนคติ พฤติกรรม และสวนที่เกี่ยวของ ท่ีมา : Triandis (1971 อางถึงใน พลเทพ จันทรสีประเสริฐ, 2526 : 12)

ทัศนคติ ความรูสึก (Affect)

ความรู

(Cognition)

พฤติกรรม (Behaviors)

คําพูดที่แสดงถึง ความรูสึก

การับรู

กําหนดที่แสดงความเชื่อ

ปฏิกิริยาที่แสดงออก การพฤติ ปฏิบัติ

Page 20: หน้าปก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2553/19590.pdf · 2010. 5. 31. · logically analysed in comparison to theory and categorised in different aspects. The

10

2.1.4 หนาท่ีและประโยชนของทัศนคติ หนาที่และประโยชนของทัศนคติมี 4 ประการ (Katz, 1960 อางถึงใน จิระวัฒน วงศสวัสดิ์วัฒน, 2529:9) คือ 2.1.4.1 หนาที่ใหความเขาใจ (Understanding or Knowledge Function) ทัศนคติหลายอยางชวยใหเขาใจโลกและสภาวะแวดลอม ไดเรียนรู และเขาใจ การกระทําของบุคคลในสังคม สามารถอธิบายและคาดคะเนการกระทําของตนเองและบุคคลอื่น 2.1.4.2. หนาที่ปองกันตนเอง (Ego-defense or Protect their Self esteem) บอยครั้งที่บุคคลจําเปนตองหาทางออกใหกับตัวเองวา การที่ตนทําเชนนั้นก็เพราะมีความจริงใจกับเพื่อนฝูง 2.1.4.3 หนาที่ในการปรับตัว (Adjective Function of Need Satisfaction) ทัศนคติจะชวยบุคคลในดานการปรับตัวใหเขากับสภาพแวดลอมและสังคม โดยปกติบุคคลมักจะคํานึงถึงผลประโยชนที่จะไดรับเปนสําคัญ และจะพัฒนาทัศนคติตามแนวทางที่คาดกวาจะสนองตอบความตองการของตนได เชน คนหันมาศึกษาเลาเรียน เพราะเชื่อวาการศึกษาสูงจะชวยใหมีชีวิตที่ดีขึ้น 2.1.4.4 หนาที่แสดงออกซึ่งคานิยม (Value Expression) ทัศคติชวยใหบุคคลไดแสดงออกซึ่งคานิยมของตนอง ตัวอยาง คนที่มีความซื่อสัตยมาก ก็จะแสดงออกโดยการไมชอบฉอราษฎรบังหลวง 2.1.5 การเปล่ียนทัศนคติ 2.1.5.1 สาเหตุแหงการเปลี่ยนแปลงทัศนคติ ทัศนคติของเราที่มีตอส่ิงตาง ๆ เกิดจากประสบการณและการเรียนรูทั้งสิ้นดังนั้นจึงอาจเปลี่ยนแปลงไดตลอดเวลาตามประสบการณที่ไดรับเพิ่มขึ้น แตกระบวนการเปลี่ยนแปลงอาจจะเร็วหรือชา สุดแตประสบการณใหมที่ไดรับ และการที่บุคคลจะมีทัศนคติตอส่ิงหนึ่งสิ่งใด ยอมไดรับอิทธิพลจากทัศนคติของบุคคลที่มีตอส่ิงนั้นอยูดวย และเกี่ยวของกันเสมอ (พัชนี วรกวิน, 2526:71) คือ เชื่อวา สาเหตุแหงการเปลี่ยนปลงทัศนคติมี 3 ประการ คือ 1) บุคคลเปลี่ยนแปลงทัศนคติไดโดยอาศัยแรงจูงใจ 2) บุคคลเปลี่ยนแปลงทัศนคติไดโดยอาศัยเทคนิคอันเหมาะสม 3) บุคคลเปลี่ยนแปลงทัศนคติไดโดยอาศัยการแนะนําหรือปฏิบัติจริง 2.1.5.2 กระบวนการเปลี่ยนแปลงทัศนคติ กระบวนการเปลี่ยนแปลงทัศนคติประกอบดวยข้ันตาง ๆ 5 ขั้น (พัชนี วรกวิน, 2526:85-86) คือ

Page 21: หน้าปก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2553/19590.pdf · 2010. 5. 31. · logically analysed in comparison to theory and categorised in different aspects. The

11

1) การใสใจ (Attention) เปนความสนใจในการรับฟง ถาบุคคลไมใหความสนใจที่จะฟงแลว ขบวนการตอไปจะไมเกิดขึ้น และจะไมมีการเปลี่ยนแปลงทัศนคติ สาเหตุที่ทําใหความสนใจ ไดแก ผูส่ือความและเนื้อหาของสารนั้น 2) ความเขาใจ (comprehension) เปนความเขาใจในความหมายของสารนั้นความยากหรืองายเกินไป จะทําใหผูฟงไมสนใจและไมเขาใจ 3) การยอมรับ (Acceptance) เปนผลมาจากขอ 1 และ ขอ 2 หากบุคคลตั้งใจฟงและเขาใจแจมแจงจะเกิดการยอมรับ แตหากไมสนใจและไมมีความเขาใจ ไมเกิดการยอมรับขึ้น 4) การเก็บเอาไว (Retention) เปนความคงทน อาจเก็บไวระยะหนึ่ง เมื่อเวลาผานไปอาจเปลี่ยนไป หรืออาจจะยังคงอยู ถาตัวผูส่ือมีความนาเชื่อถือมาก การเก็บไวจะคงทนและอยูไดนาน 5) การกระทํา (Action) บุคคลเมื่อเปล่ียนทัศนคติ ก็จะเปลี่ยนดวยการกระทําดวยซ่ึงมีผลตอสวนรวมและสังคม ถาเราเปลี่ยนความเชื่อแลว แตไมไดลงมือกระทําก็จะไมมีผลกระทบกระเทือนกับใคร 2.1.5.3 วิธีการเปลี่ยนทัศนคติ พจน เพชระบูรณิน (2519:64) ไดกลาวถึงวิธีการเปลี่ยนทัศนคติที่ใหผลดีที่สุดวิธีหนึ่งไดแก การเปรียบเทียบมาตรฐานการประเมินคาของตนในสิ่งนั้นกับของผูอ่ืน ซ่ึงตนยกยองเล่ือมใสวาเปนสิ่งถูกตอง นั่นคือ พยายามใชเหตุผล (Rationalize) ในการสรางทัศนคติ ซ่ึงอาจทําได 3 ทางคือ 1) การใหความรู (Knowledge) มีวิธีการนิยมไว 3 วิธีคือ (1) วิธีการบอกเลา (Telling method) (2) วธีิการแสดง (Showing method) (3) วิธีจัดทํา (Doing method) 2) การทํางานและอาศัยอยูรวมกัน รวมทั้งการชวยเหลือซ่ึงกันและกัน (co-operation) การทํางานรวมกันจะกอใหเกิด (1) ความเห็นใจซึ่งกันและกัน (2) ความเปนกันเอง (3) การรูจักนิสัยซ่ึงกันและกัน (4) การผูกมิตร (5) การมีโอกาสชี้แจงหรือปรับความเขาใจซึ่งกันและกัน

Page 22: หน้าปก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2553/19590.pdf · 2010. 5. 31. · logically analysed in comparison to theory and categorised in different aspects. The

12

3) การใหความชวยเหลือ (Aids) ไดแก (1) การใหความชวยเหลือดานวิชาการและเจาหนาที่ (2) การใหความชวยเหลือดานการเงิน (3) การใหความชวยเหลือดานวัตถุ อุปกรณ เครื่องมือ เครื่องใช 2.1.6 การวัดทัศนคติ เนื่องจากวัดทัศนคติเปนการวัดภาวะโนมเอียงในการแสดงออก ไมใชเปนการกระทําแตเปนความรูสึก ซ่ึงมีลักษณะอัตนัย (Subjective) บุคคลอาจไมใหขอเท็จจริงดวยความจริงใจ เพราะเห็นวาเปนเรื่องสวนตัว และการแสดงออกตอส่ิงใดนั้นไมวาเปนรูปวาจาหรือการเขียนก็ตาม บุคคลมักจะไตรตรองถึงความเหมาะสมตามสภาพการณทางสังคม คือ ตามปกติวิสัย ตามคานิยม ตามการตอบรับ และการใชยอมรับ และการเห็นชอบหรือไมชอบของคนสวนใหญในสังคม ดังนั้น จึงยังไมมีผูใดคนพบวาวิธีการที่จะวัดทัศนคติหรือทาทีความรูสึกของบุคคลโดยตรง อันจะเปนดัชนีที่สามารถนํามาเปรียบเทียบกันไดอยางชัดเชน นอกจากเพียงการบันทึก จากคําพูด การวัดทัศนคติจึงเปนเพียงการบันทึกจากคําพูด และพยายามหาความสัมพันธระหวางคําพูดของบุคคลนั้น กับสิ่งหรือคานิยมของเขา ที่ผูทําการวัดสามารถมองเห็น และนี้ก็เปนเพียงการคาดประมาณ (Estimate) ทัศนคติของบุคคลนั้นเทานั้น ตามที่ปฏิบัติกันอยูในการหาขอมูลเกี่ยวกับทัศคติ อาจเก็บรวบรวมไดโดยวิธีการตาง ๆ ดังนี้ (ธีรพร อุวรรณโณ, 2529 : 21) 1. การสังเกตจากพฤติกรรมของบุคคล วิธีการนี้กระทําไดยากถึงกระทําไดผลลัพธ ก็ยังไมอาจใหความมั่นใจไดวาจะแมนตรงจริง ดังไดกลาวแลววา การแสดงออกของบุคคลเปนอากัปกิริยานั้น อาจไมสะทอน หรือสอใหเราทราบถึงทัศนคติที่แทจริงของเขาได 2. วิธีการรายงานดวยคําพูด (Verbal Report) ซ่ึงมักจะใชแบบสอบถาม (Questionnaires) และ/หรือสัมภาษณ (Interview) ที่มีลักษณะแบบปรนัย (Objective) 3. วิธีแปลความ (Interpretive Method) วิธีที่ 3 นี้ เปนวิธีหาทัศนคติของบุคคลแบบอัตนัย โดยที่ผูถูกถามมักไมตระหนักถึงวัตถุประสงคของผูทําการศึกษาไมระแวงสงสัยหรือ รูสึกหวั่นเกรงที่จะตอบคําถามหรือแสดงความรูสึกนึกคิด และไมจํากัดในการตอบ ทั้งในดานเวลาและขอบเขตของเนื้อหา เปนวีที่สามารถวัดทัศนคติของบุคคลไดชัดเจน ละเอียด ถูกตองที่สุด แตมีขอจํากัดอยูที่วา ตองใชผูศึกษาที่มีความสามารถมีความชํานาญทางจิตวิทยาอยางลึกซึ้งและใชเวลามาก จึงเหมาะสําหรับการใชกับคนจํานวนนอย

Page 23: หน้าปก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2553/19590.pdf · 2010. 5. 31. · logically analysed in comparison to theory and categorised in different aspects. The

13

Thurstone (1967 อางถึงใน รุงนภา บุญคุม, 2536 : 38) มีความคิดเห็นไดวา ทัศนคติจะวัดโดยตรงไมได แตจะตองวัดจากการแสดงออกในรูปความคิดหรือภาษาพูด เขาจึงใชการวัดทัศนคติจากคําตอบวา เห็นดวยหรือไมเห็นดวยกับขอความในแบบวัดทัศนคติ Second (1964 อางถึงใน รุงนภา บุญคุม, 2536 : 40) กลาววา Likert ไดสรางแบบวัดทัศนคติ โดยกําหนดขอความทุกขอในแบบวัดทัศนคติที่มีความสําคัญเทากันหมดคะแนนของผูตอบแตละคน คือผลรวมของคะแนนทุกขอในแบบวัดทัศนคติ Likert เห็นวาผูที่มีทัศนคติที่ดีตอส่ิงใดก็ยอมจะมีโอกาสตอบเห็นดวยกับขอความที่สนับสนุนสิ่งนั้นก็จะมีมาก และโอกาสที่จะตอบเห็นดวยกับขอความที่ตอตานสิ่งนั้นก็จะมีนอย และโอกาสที่ตอบเห็นดวยกับขอความที่ตอตานสิ่งนั้นก็จะมีมาก คะแนนรวมของทุกขอจะเปนเครื่องชี้ใหเห็นทัศนคติของผูตอบในแบบวัดทัศนคติในแตละคน Nunnally (1959 อางถึงใน รุนนภา บุญคุม, 2536: 42) มีความคิดเห็นวา การวัดทัศนคติดวยวิธีตรงที่สุด คือ การถามบุคลที่เราตองการจะวัดวามีปฏิกิริยาอยางไร เห็นดวยหรือไมเห็นดวยกับขอความตาง ๆ ในแบบวัดที่จัดเรียงไวให สําหรับการศึกษาครั้งนี้ ผูศึกษาไดเลือกใชวิธีการวัดทัศคติแบบมาตรประเมินคาความถี่ (Frequency) คารอยละ (Percentage) คาเฉลี่ย (Mean) และคาสวนเบี่ยงเบน (Standard Diviation)

2.2 แนวคิดเกี่ยวกับศาสนาอิสลาม 2.2.1 ความรูเบื้องตนเกี่ยวกับศาสนาอิสลาม คําวา “อิสลาม” ในภาษาอาหรับ หมายถึง การยอมจํานน และยอมทําตาม ซ่ึงมาจากรากศัพทที่เกี่ยวของกับสันติภาพ สาระสําคัญของความสันติ คือ การยอมจํานนตอพระผูเปนเจาและตอพระประสงคของพระองคและการแสงออกถึงพระประสงคของพระองค นั่นคือ คําสั่งและระบบภายในการสรางสรรคของพระองค (อัคตะรุดดีน อะฮฺเมด, มาญิด เอช. เอ ฮาซิม และ กัซซี อัล ฮาซิม , 2547 : 200) “อิสลาม” เปนชื่อศาสนา หรือระบอบการดําเนินชวีิตที่มีการศรัทธาในพระเจาองคเดียว พระนาม “อัลลอฮฺ” อิสลามเปนศาสนาของอัลลอฮฺ (พระผูเปนเจา) ที่ประทานแกมนษุยชาติตั้งแตมีมนุษยคนแรกโดยผานศาสนา (นบ ีหรือรสูล ซ่ึงเปนมนุษย) ใหเผยแพรคําสอนของพระองคแกมนษุยแตละยุคแตละสมัย ตามสภาพและววิัฒนาการของสังคมในยุค หรือสมัยนัน้ ๆ และอัลลอฮฺไดทรงใหคําสอนของพระองคครบครัน เปนระบอบการดําเนินชวีิตที่สมบูรณที่สุดในสมัยของทานนบี มูฮําหมัด (ขอความสันติสุขจงประสบแตทาน) ศาสดาทานสุดทาย เมื่อ ค.ศ. 610 หรือ พ.ศ.1153 คือประมาณ 1,400 กวาปลวงมาแลว ณ ดนิแดนซึ่งเปนประเทศซาอุดิอาระเบีย (มานี ชูไทย, 2544:7)

Page 24: หน้าปก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2553/19590.pdf · 2010. 5. 31. · logically analysed in comparison to theory and categorised in different aspects. The

14

อิสลาม คือ ศาสนาที่อัลลอฮฺ ไดประทานมาเปนแบบอยางแกมนุษยชาติ เปนหลักประกันใหความผาสุกแกปจเจกและสวนรวม ทั้งทางสังขารและวิญญาณ ทางวัตถุและจิตใจตลอดจนโลกนี้และโลกหนา 2.2.2 หลักการสําคัญของศาสนาอิสลาม หลักการสําคัญของศาสนาอิสลามที่มุสลิมจะตองยึดมั่นมี 2 ประการ ไดแก หลักการศรัทธา และหลักการปฏิบัติ (การีม อับดุลเลาะฮฺ, 2552 : 2-4) 2.2.2.1 หลักการศรัทธาของศาสนาอิสลาม (รุกนอีหมาน) มี 6 ประการ ดังนี้ 1) ศรัทธาในอัลลอฮฺ คือ อัลลอฮฺ เปนพระเจาองคเดียว ผูทรงอํานาจนั่นคือ อัลลอฮฺ พระองคทรงไวซ่ึงความเอกะในการดํารงอยู พระองคทรงอยูในสภาวะนิจนิรันดรและการสรางสรรคตลอดจนการบริหารควบคุมสรรพสิ่งดวยอํานาจของพระองคแตเพียงผูเดียว 2) ศรัทธาในบรรดามลาอิกะฮฺ (ฑูตสวรรค) ของอัลลอฮฺ คือ มุสลิมมีความเชื่อวา มลาอิกะฮฺ ซ่ึงทําหนาที่เปนผูรับสนองคําสั่งของพระเจามาสูการปฏิบัติตาง ๆ ตามที่พระองคไดบัญชาลงมา โดยไมขัดขืน หรือดื้อดึง มลาอิกะฮฺไมมีรูปกาย ไมมีเพศ ไมมีการดําเนินชีวิตเหมือนมนุษย เปนผูนําสารจากอัลลอฮฺไปยังศาสดา เปนผูแจงขาวดีและขาวราย มลาอิกะฮฺบางทานถูกสงมาประจําหนาที่หัวไหลซายขวาเพื่อคอยจดบันทึกการกระทําดีและการกระทําชั่วของมนุษยแตละคน หรืออาจถูกทําหนาที่รับดวงวิญญาณมนุษยกลับสูความเมตตาของอัลลอฮฺ เปนตน 3) ศรัทธาในบรรดาคัมภีรของอัลลอฮฺ คัมภีร หรือหลักธรรมของพระเจาที่มีมายังศาสดาของพระองคนั้นมีอยูมากมายในภาษาและประชาชาติตาง ๆ ไดแก คัมภีรซะบูรฺ ทรงประทานแกศาสดาดาวูด (เดวิด) สวนคัมภีรเตารอดทรงประธานแกศาสดาอีซา (เยซู) ดังนั้นมุสลิมเชื่อในคัมภีรดั่งเดิม (ไมมีการแกไข ปรับปรุง เปลี่ยนแปลง หรือสังคายนาเนื้อหาสาระ) คือ สวนที่ ไมขัดกับคัมภีรอัลกุรอาน ซ่ึงบางสวนของคัมภีรเหลานั้นไดมี การแจงไวในคัมภีรอัลกุรอานดวย แตมุสลิมเชื่อและปฏิบัติตามเฉพาะคัมภีรอัลกุรอาน ซ่ึงเปนคัมภีรที่พระองคอัลลอฮฺทรงประทานแกศาสดา มูฮําหมัด (ขอความสันติสุขจงประสบแตทาน) เพื่อช้ีนําวิถีแหงการดําเนินชีวิตของมนุษยชาติในยุคปจจุบัน ทั้งนี้คัมภีรอัลกุรอานไมเคยถูกสังคายนา หรือแกไขเปลี่ยนแปลงใด ๆ มากอนแมเพียงจุดเดียว ดังนั้น อัลกุรอานฉบับปจจุบันจึงมีเนื้อหาสาระครบถวนสมบูรณเหมือนกับ อัลกุรอานที่เปนตนฉบับเมื่อกวา 1,400 ปที่ผานมา 4) ศรัทธาในบรรดาศาสดาของอัลลอฮฺ คือ มุสลิมทุกคนนั้นจะตองมีการยอมรับนับถือและใหการยกยองบรรดาศาสดาที่ปรากฏอยูในทกุ ๆ ประชาชาติที่มากอนทาน ศาสดา

Page 25: หน้าปก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2553/19590.pdf · 2010. 5. 31. · logically analysed in comparison to theory and categorised in different aspects. The

15

มูฮําหมัด (ขอความสันติสุขจงประสบแตทาน) แตมุสลิมจะเชื่อและปฏิบัติตามคําสอนของทานศาสดา มูฮําหมัด ศาสดาทานสุดทายของพระองคอัลลอฮฺที่ถูกสงมายังมวลมนุษยชาติ 5) ศรัทธาในวันแหงการพิพากษาและวันแหงการฟนคืนชีวิต อิสลาม ศรัทธาวา โลกที่เราอาศัยนี้เปนเพียงวัตถุธาตุ ยอมมีการแตกสลายเชนเดียวกับสรรพส่ิงอื่น ๆ เมื่อโลกแตกสลายดับสิ้น ทุกสิ่งในโลกก็ตองดับสูญ หลังจากนั้นอัลลอฮฺจะทรงทําใหมนุษยทุกคนฟนคืนชีพอีกครั้ง เพื่อรับผลของการกระทําขณะที่อยูในโลกนี้ แตอิสลามไมยอมรับในเรื่องการเวียนวายตายเกิด หรือการกลับชาติมาเกิด มุสลิมเชื่อวา มนุษยเกิดมาครั้งเดียวแตมี 3 ขั้นตอน คือ - ชีวิตในโลกนี้ (ชีวิตในดุนยา) - ชีวิตในโลกแหงวิญญาณ หลังความตาย (ชีวิตในบัรฺซัค) - ชีวิตถูกทําใหฟนขึ้นอีกครั้งในวันแหงการพิพากษา (ชีวิตในวัน อาคิเราะฮฺ) เพื่อที่พระองคจะไดทรงตัดสินการกระทําในโลกนี้ตามบันทึกของมลาอิกะฮฺที่บันทึกทุกสิ่งทุกอยางไว 6) ศรัทธาในกฎกําหนดสภาวะของอัลลอฮฺ คือ การศรัทธาวา สรรพสิ่งทั้งหลายในสากลจักรวาลลวนเกิดขึ้นมาและดําเนินไปตามกฎเกณฑที่อัลลอฮฺ กําหนดไวทั้งสิ้น เชน การโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย ดวงจันทรโคจรรอบโลก น้ําไหลจากที่สูงลงสูที่ต่ํา ไฟที่มีความรอนอนน้ําที่มีความเย็น ตะกั่วหนักกวาเหล็ก เหล็กหนักกวาหิน เปนตน กฎแหงการกําหนดสภาวะของอัลลฮฺ กฎบางอยางมนุษยไมสามารถเลือกได เชนมนุษยเกิดมาแลวตองตาย มนุษยไมสามารถเลือกวาจะไมตายไมได การกําเนิดในครอบครัวและเชื้อชาติ หรือเพศใด มนุษยไมสามารถเลือกได เปนตน กฎบางอยางเปนการทดลองของอัลลอฮฺ เชน การที่มนุษยทําความดี หรือความชั่วไมใชลิขิตจาก อัลลอฮฺ แตเปนเพราะ อัลลอฮฺทรงใหมนุษยมีอิสระดานความคิด เลือกที่จะกระทําสิ่งดี หรือกระทําสิ่งไมดี 2.2.2.2 หลักการปฏิบัติของศาสนาอิสลาม (รุกนอิสลาม) มี 5 ประการ ดังนี้ (การีม อับดุลเลาะฮฺ, 2552 : 83-84) 1) การปฏิญาณตนประกาศความศรัทธาวา “ขาพเจาขอปฏิญาณวาแทจริงไมมีพระเจาอื่นใดเวนแตอัลลอฮฺองคเดียว และทานนบีมูฮํามัด เปนรสูล (ศาสนทูต) ของ อัลลอฮฺ” คําปฏิญาณนี้เปนการยอมรับและปฏิบัติตามคําสั่งของอัลลอฮฺ และทานนบีมูฮําหมัด (ซ.ล.) ทุกประการ 2) การนมาซ (การนมัสการ) การนมาซ หรือ ที่ เ รียกกันโดยทั่วไปวา “ละหมาด” เปนหลักการที่มุสลิมจะตองปฏิบัติเปนกิจวัตรประจําวัน ซ่ึงเปนการปฏิบัติศาสนกิจ หรือเขาเฝาแสดงความเคารพภักดีอัลลอฮฺ วันละ 5 เวลา เวลาเชาตรูกอนพระอาทิตยขึ้น เวลาบาย เวลาเย็น เวลาพลบค่ํา และเวลากลางคืน มุสลิมสามารถทํามนาซไดไมวาที่ใด (แตจะตองเปนสถานที่สะอาด) ซ่ึงการนมาซสามารถกระทําไดเพียง1คน หรือกระทําเปนกลุม โดยไมจําเปนตองมีเครื่องประกอบพิธี

Page 26: หน้าปก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2553/19590.pdf · 2010. 5. 31. · logically analysed in comparison to theory and categorised in different aspects. The

16

3) การจายซะกาต ( การบริจาคทานบังคับ ) ถือเปนหลักการปฏิบัติที่สําคัญ

ของศาสนาอิสลามที่มีความสําคัญ การจายทรัพย ในคัมภีรอัลกุรอานจึงมีบทบัญญัติที่ย้ําถึงการบริจาค ทานควบคูกับการนมัสการ ทรัพยในทัศนะของศาสนาอิสลามมีความหมายกวาง คือ ไมไดหมายความเฉพาะเงินเพียงประการเดียว แตหมายรวมถึงทรัพยสมบัติ สติปญญา ความชวยเหลือดานกําลังกาย ตลอดจนความกรุณาปราณี เพื่อความดีงามและประโยชนแกผูอ่ืนและสวนรวม 4) การถือศีลอด คือ มุสลิมจะงดเวนการบริโภคอาหาร การดื่ม การสูบบุหร่ี การเสพเมถุน ละเวนการทําความชั่วทั้งกาย วาจา และใจ นับตั้งแตเวลาพระอาทิตยขึ้น จนถึงเวลาพระอาทิตยตกดินทุกวัน ตลอดเดือนรอมฎอน เปนเวลา 1 เดือนเต็ม 5) การประกอบพิธีฮัจญ (การแสวงบุญ) มุสลิมไมวาชาย หรือหญิง ถาสามารถทําได จะตองเดินทางไปแสวงบุญ หรือประกอบพิธีฮัจญ ยังเขตศักดสิทธิ์ในเมืองเมกกะ ประเทศซาอุดิอาระเบีย อยางนอย 1 คร้ังในชีวิต

2.3 แนวคิดการเผยแพรคําสอนในศาสนาอิสลามที่เกี่ยวกับการพัฒนาสังคม พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ไดใหความหมายของ “พัฒนา” วาคือ “ทําใหเจริญ” (ราชบัณฑิตยสถาน, 2535 : 1627) ดังนั้น การพัฒนาจึงหมายถึง การทําใหเจริญ การพัฒนานั้นก็คือ ความเจริญกาวหนาโดยทั่ว ๆ ไป เชนการพัฒนาชุมชน การพัฒนาสังคม พัฒนาประเทศ คือการทําสิ่งเหลานั้นใหดีขึ้น สนองความตองการของประชาชนสวนใหญใหไดดียิ่งขึ้น หรืออาจกลาวไดวา “การพัฒนา” เปนกระบวนการของการเคลื่อนไหวจากสภาพที่ไมนาพอใจไปสูสภาพที่นาพอใจ การพัฒนาเปนกระบวนการที่เปลี่ยนแปลงอยูเสมอ ไมหยุดนิ่ง การพัฒนามีความสัมพันธโดยตรงกับความเปลี่ยนแปลงกลาวคือ การพัฒนา หมายถึง กระบวนการของการเปลี่ยนแปลงที่มีการวางแผนไวแลว คือ การทําใหลักษณะเดิมเปลี่ยนไปโดยมุงหมายวา ลักษณะใหมที่เขามาแทนที่จะดีกวา ลักษณะเกา สภาพเกา แตโดยธรรมชาติแลวการเปลี่ยนแปลงยอมเกิดปญหาในตัวเองเพียงแตวาจะมีปญหามาก หรือปญหานอย ถาหากตีความหมายการพัฒนา จะสามารถตีความหมายได ดังตอไปนี้ (ตายูดิน อุสมาน, 2545 : 18) 1. การพัฒนาสังคม ในความเขาใจแบบสมัยใหม หมายถึง การทําใหเจริญในดานวัตถุรูปแบบ และในเชิงปริมาณ เชน ถนนหนทาง ตึกรามบานชอง ดัชนีช้ีวัดทางเศรษฐกิจ เปนตน

Page 27: หน้าปก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2553/19590.pdf · 2010. 5. 31. · logically analysed in comparison to theory and categorised in different aspects. The

17

2. การพัฒนาสังคม ในแงของพุทธศาสนา หมายถึง การพัฒนาคนทั้งในดานรางกายและจิตใจ โดยเนนในดานคุณภาพชีวิตและหลักของความถูกตองพอดีซ่ึงใหผลประโยชนสูงสุด ความกลมกลืน และความเกื้อกูลแกสรรพชีวิต โดยไมเบียดเบียน ทําลายธรรมชาติและสภาพแวดลอม

3. การพัฒนาสังคมในทัศนะอิสลาม “การพัฒนาสังคมในทัศนะอิสลาม หมายถึง การปรับปรุงสิ่งแวดลอมใหชีวิตไปสูสันติสุข ดวยการยอมรับในอัลลอฮฺ พระผูทรงสรางชีวิต และยอมรับในศาสดามูฮําหมัดศาสนทูตของพระองค ใชใหแสวงหาความสุขในโลกนี้ ไมใชมาจากสิ่งตองหาม ( ไมใหสละโลก ) และมุงความสุขในโลกหนา (ไมละเวนบทบัญญัติของศาสนา) เนนการศึกษาทางศาสนาและการงานอาชีพอยางตอเนื่อง และประกอบอาชีพอยางแข็งขัน ดวยอุดมการณของศาสนาคือ ปฏิบัติภารกิจทางโลกเสมือนจะตองมีชีวิตอยูตลอดไป และปฏิบัติภารกิจศาสนา เสมือนจะตองตายในวันพรุงนี้” (โมฮัมมัด อับดุลกาเดร, 2528 : 202-206) ดัง ถูกกลาวไวในคัมภีรอัลกรุอานใน (บทที่ 28 อัลกอซอซ โองการที่ 77) ความวา “และทานจงแสวงหาในสิ่งที่อัลเลาะฮฺไดประทานแกทานซึ่ง (ภาคผลของ) โลกหนา และทานอยาลืมภาระของทานที่เกี่ยวกับโลกนี้ และทานจงทําดีเถิดประดุจเดียวกับที่อัลเลาะฮฺทรงประทานความดีแกทานและทานอยาแสวงหา (กระทํา) การบอนทําลายในแผนดิน แทจริงอัลเลาะฮฺไมทรงรักบรรดาผูบอนทําลาย” (มัรวาน สะมะอุน , 2550 : 782) อัลกรุอานไดกลาวเกี่ยวกับการการชวยเหลือเกื้อกูลกันใน(บทที่ 5 อัลมาอิดะฮฺ โองการที่ 3)ไวดังนี้ “และพวกเจาจงชวยเหลือกันในเรื่องคุณธรรมและความยําเกรง แตพวกเจาอยาไดชวยเหลือกันในเรื่องบาป และความเปนศัตรูตอกัน และเจาทั้งหลายจงยําเกรงอัลเลาะฮฺ แทจริงอัลเลาะฮฺทรงลงโทษรายแรงยิ่ง” (มัรวาน สะมะอุน , 2550 : 196) และคัมภีรอัลกรุอานไดกลาวถึง ความสามัคคี อยาไดแตกแยกกัน อยาไดเปนศัตรูกัน เพื่อพัฒนาสังคมใหนาอยูอาศัยใน(บทที่ 3 อาลิอิมรอน โองการที่ 103) ความวา

“และพวกเจาจงยึดมั่นกับเชือก (ศาสนา) ของอัลเลาะฮฺ โดยพรอมเพียงกันเถิด และพวกเจาอยาไดแตกแยกกัน และพวกเจาจงระลึกถึงความโปรดปรานของอัลเลาะฮฺ (ที่ทรงโปรดประทาน) แกพวกเจา เมื่อคร้ังพวกเจายังเปนศัตรูตอกัน แลวพระองคไดทรงประสานระหวางหัวใจของพวกเจา ตอมาพวกเจาก็เปลี่ยนมาเปนพี่นองกัน โดยความกรุณาของพระองค และพวกเจาเคยอยูบนปากเหวแหงไฟนรก แลวพระองคก็ทรงนําพวกเจาออกมาจากมัน เชนนั้นแหละ อัลเลาะฮฺทรงแจงบรรดา (สัญลักษณ) ที่ชัดแจงแกพวกเจา เพื่อพวกเจาจะไดรับการชี้นํา”

Page 28: หน้าปก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2553/19590.pdf · 2010. 5. 31. · logically analysed in comparison to theory and categorised in different aspects. The

18

(มัรวาน สะมะอุน , 2550 : 115) และอัลกุรอานไดเรียกรองคนในสังคมใหทําความดีงามตอกัน(ในบทที่ 3 อาลิอิมรอน โองการที่ 104)

“และจงใหมีจากพวกเจา ซ่ึงประชาชาติกลุมหนึ่งที่ (ทําหนาที่) เรียกรอง (ผูคน) ไปสูความดีงาม และใชใน (การกระทําแต) คุณธรรม และหามจาก (การกระทํา) ส่ิงตองหาม และพวกเหลานั้น ลวนเปนพวกที่สมหวัง (โดยแทจริง) เอย” (มัรวาน สะมะอุน , 2550 : 115) และไดกลาวเกี่ยวกับการพฒันาสังคม การเปลี่ยนแปลงชุมชนไว(ในบทที่ 13 อัรเราะฮฺดุ โองการที่ 11) ดังตอไปนี ้ “แทจริงอัลเลาะฮฺไมทรงเปลี่ยนแปลงสภาพของชุมชนใด จนกวาพวกเขาจะเปลี่ยนแปลงสภาพตัวของพวกเขาเอง และเมื่ออัลเลาะฮฺทรงปรารถนาใหอุบัติความเลวรายกับชุมชนใด ก็จะไมมีผูผลักมันออกไปได และนอกเหนือจากอัลเลาะฮฺแลว พวกเขาไมมีผูคุมครองอื่นใดทั้งสิ้น (มัรวาน สะมะอุน , 2550 : 480) และอัลกุรอานไดสอนหลักเศรษฐกิจพอเพยีงไว (ในบทที่ 7 อัล-อะอฺรอฟ โองการที่ 31) ดังนี ้

“ลูกหลานของอาดัมเอย ! พวกเจาจงสวมใสเครื่องนุงหมของพวกเจา ณ ทุก (คร้ังที่จะทําการภักดีตออัลลอฮฺที่) มัสยิดและจงกนิและจงดื่ม และจงอยาฟุมเฟอย แทจริงพระองคไมชอบบรรดาผูที่ฟุมเฟอย” (มัรวาน สะมะอุน , 2550 : 290) และอัลกุรอานไดบอกถึงกุญแจแหงความสาํเร็จของทานศาสดามูฮําหมดั ซ.ล. ในการสรางประชาชาตินั้นก็คือ ทานไดนําจริยธรรม จรรยามารยาทที่งดงาม และทานเปนแบบอยางที่ยิ่งใหญแกมวลมนุษยดังถูกกลาวไว (ในบทที่ 33 อัล-อะหฺซาบ โองการที่ 21) ความวา “อันที่จริงในศาสนทูตแหงอลัลอฮฺยอมมีแบบฉบับอันดีงามสําหรับพวกเจาเฉพาะแกบุคคลที่มุงหวังในอัลลอฮฺ และวนัสุดทาย และที่ระลึกถึงอัลลอฮฺอยางมากมาย” (มัรวาน สะมะอุน , 2550 : 833) และพระองคทรงตรัสไว (ในบทที่ 9 อัตเตาบะฮฺ โองการที่ 128-129) ความวา “โดยแทจริง ไดมีศาสนทูตหนึ่งจากเผาพันธุของพวกเจามา (ประกาศสัจธรรม) สูพวกเจา เขามีความกังวลในสิ่งที่พวกเจาทุกขรอน เขามีความหวังดีตอพวกเจา อีกทั้งเปนผูปราณีและเมตตา แกบรรดาศรัทธาชนทั้งมวล ไมมีพระเจาอื่นใดนอกจากพระองคและพระองคทรงเปนเจาแหงบัลลังก” (มัรวาน สะมะอุน , 2550 : 390) และพระองคทรงตรัสไว (ในบทที่ 5 อัลมาอิดะฮฺ โองการที่ 128-129) ความวา

Page 29: หน้าปก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2553/19590.pdf · 2010. 5. 31. · logically analysed in comparison to theory and categorised in different aspects. The

19

“ และพระองคอัลลอฮฺทรงใหพวกเขาออกจากความมดืสูแสงสวางแหงการพัฒนา” (มัรวาน สะมะอุน , 2550 : 202)

2.4 แนวคิดการเผยแพรคําสอนในศาสนาอิสลามที่เกี่ยวกับการอนุรกัษสิ่งแวดลอม ความมหัศจรรยและความยิ่งใหญของธรรมชาติและสิ่งแวดลอมถูกกลาวถึงในโองการตาง ๆ ของอัลกุรอานจํานวนทั้งสิ้น 199 โองการ (Mohammad Assayed อางถึงใน อัคตะรุดดีน อะฮฺเมด, มาญิต เอช.เอ.ฮาซิม และกัซซี อัล ฮาซิม, 2547:159)โดยกลาวถึงความสําคัญของธรรมชาติและส่ิงแวดลอมในการเปนสัญญาณแหงความยิ่งใหญของอัลลอฮฺ และการใหความกระจางในเรื่องความสัมพันธขององคประกอบตาง ๆ ในธรรมชาติซ่ึงสามารถพิสูจนไดจากความรูทางวิทยาศาสตรสมัยใหมในปจจุบัน ทั้งนี้สามารถจําแนกความสําคัญทางหนาที่ของธรรมชาติและสิ่งแวดลอมตามที่กลาวไวในอัลกรุอานได 2 ประการ ดังนี้ (Abubakr Ahmed อางถึงใน อัคตะรุดดีน อะฮฺเมด, มาญิต เอช.เอ.ฮาซิม และกัซซี อัล ฮาซิม, 2547:168) ประการแรก คือ ความสําคัญดานจริยธรรม หมายถึง ความยิ่งใหญและความมหัศจรรยของธรรมชาติเปนสัญญาณที่แสดงใหเห็นถึงการมีอยูของพระผูทรงสราง รวมถึงพลานุภาพและเดชานุภาพของพระองค และอัลลอฮฺเทานั้นที่มีกรรมสทิธิ์อยางสมบูรณเหนือทุกสิ่งในธรรมชาติ ประการที่สอง คือ ความสําคัญดานสังคม หมายถึง ธรรมชาติและสิ่งแวดลอมมีหนาที่ในการใหบริการมนุษยและทุก ๆ ส่ิงมีชีวิตที่เกิดขึ้นบนโลกนี้ 2.4.1 ธรรมชาติและสิ่งแวดลอมเกิดจากการสรางสรรคของอัลลอฮฺและเปนกรรมสิทธ์ิของพระองค ตามทัศนะอิสลามทุกสิ่งทุกอยางในจักรวาลลวนบังเกิดขึ้นอยางสมดุลทั้งชนิดและสัดสวนที่เหมาะสมโดยปราศจากขอบกพรองดวยพลานุภาพและเดชานุภาพของอัลลอฮฺ ซ่ึงเปนสิ่งที่เหนือความสามารถของมนุษยที่จะเทียบเคียงได แมวาความรูทางดานวิทยาศาสตรและเทคโนโลยีในปจจุบันไดพัฒนาอยางรวดเร็ว ทําใหนักวิทยาศาสตรสามารถไขความลับของธรรมชาติ และทราบถึงองคประกอบหนาที่และความสัมพันธของสิ่งตาง ๆ ในระบบธรรมชาติ แตไมมีนักวิทยาศาสตรคนใดหรือวิทยาการและเทคโนโลยีใดที่จะสามารถสรางสรรคธรรมชาติและสิ่งแวดลอมใหมีความสมบูรณเหมือนกับธรรมชาติและสิ่งแวดลอมดั้งเดิมของโลกได นอกเหนือจากการสรางสรรคของและอัลลอฮฺ พระองคทรงเปนผูบริหารจัดการสรรพสิ่งตาง ๆ ใหมีวิถีที่เที่ยงตรงไมเปลี่ยนแปลงมาเปนเวลานาน ดวยเหตุนี้ มุสลิมทุกคนเชื่อวาทุก ๆ ส่ิงที่มีอยูในสากลจักรวาล ซ่ึงรวมถึงมนุษยเกิดจากการสรรคสรางของอัลลอฮฺ และพระองคเทานั้นที่บริหารจัดการสรรพสิ่งตาง ๆ ใหมีวิถีที่เปนระเบียบแบบ

Page 30: หน้าปก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2553/19590.pdf · 2010. 5. 31. · logically analysed in comparison to theory and categorised in different aspects. The

20

แผน เพื่อใหเกิดการเอื้อประโยชนดวยวิถีแหงธรรมชาติที่สอดคลองกลมกลืนกันดังนั้น กรรมสิทธิ์ในสรรพสิ่งตาง ๆ ที่อยูในจักรวาลจึงเปนเอกสิทธิ์ของพระองคเพียงพระองคเดียวดังปรากฏหลักฐานจากสวนหนึ่งของอายะฮฺในอัลกุรอานใน (บทที่ 3 อาลิอิมรอน โองการที่ 109) ความวา

“และสิ่งที่อยูในบรรดาชั้นฟาและสิ่งที่อยูในแผนดินนั้นเปนกรรมสิทธิ์ของอัลลอฮฺเทานั้นและยังอัลลอฮฺนั้นกิจกรรมทั้งหลายจะถูกนํากลับไป” (มัรวาน สะมะอุน , 2550 : 116) และพระองคทรงตรัสไวใน (บทที่ 6 อัล-มาอิดะฮฺ โองการที่ 19 ) ความวา “...และผูที่อยูในแผนดินทั้งหมด และอํานาจแหงบรรดาชั้นฟา และแผนดินและสิ่งที่อยูระหวางทั้งสองนั้นเปนกรรมสิทธ์ิของอัลลอฮฺเทานั้น และ อัลลอฮฺนั้นทรงเดชานุภาพเหนือทุกสิ่งทุกอยาง” (มัรวาน สะมะอุน , 2550 : 202) และพระองคทรงตรัสไวใน (บทที่ 24 อัลนูร โองการที่ 42 ) ความวา

“...และอํานาจอันเด็ดขาดแหงชั้นฟาทั้งหลายและแผนดินนั้น เปนสิทธิของอัลลอฮฺ และยัง อัลลอฮฺ คือ จุดหมายปลายทาง” (มัรวาน สะมะอุน , 2550 : 669) และพระองคทรงตรัสไวใน (บทที่ 35 ฟาฏิร โองการที่ 13 ) ความวา

“พระองคทรงใหกลางคืนคาบเกี่ยวเขาไปในกลางวัน และทรงใหกลางวันคาบเกี่ยวเขาไปในกลางคืน และทรงใหดวงอาทิตยและดวงจันทรเปนประโยชน (แกมนุษย) ทุกสิ่งโคจรไปตามวาระที่ไดกําหนดไวนั่นคือ อัลลอฮฺพระเจาของพวกเจา อํานาจปกครองทั้งมวลเปนสิทธิของพระองค…” (มัรวาน สะมะอุน , 2550 : 862) และพระองคทรงตรัสไวใน (บทที่ 39 อัซซุมัร โองการที่ 63 ) ความวา

“การควบคุมกิจการแหงชั้นฟาทั้งหลายและแผนดินเปนสิทธิของพระองค และบรรดาผูปฏิเสธสัญญาทั้งหลายของอัลลอฮฺ ชนเหลานั้นพวกเขาเปนผูขาดทุน” (มัรวาน สะมะอุน , 2550 : 931) และพระองคทรงตรัสไวใน (บทที่ 63 อัลมุนาฟกูน โองการที่ 7 ) ความวา “...ขุมคลังแหงชั้นฟาทั้งหลายและแผนดนินั้นเปนของอัลลอฮฺ…” (มัรวาน สะมะอุน , 2550 : 7 ) 2.4.2 ความสมดุลทางธรรมชาติ โลกทัศนของศาสนาอิสลามที่มีตอโลกธรรมชาติมีลักษณะแบบองครวม (Holistic View) ซ่ึงเปนการมองโลกธรรมชาติเปนระบบของความกลมกลืนเปนอันหนึ่งอันเดียวกัน และเปนความกลมกลืนทามกลางความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity) ในชีวมณฑล (Biosphere) เนื่องจากทุก

Page 31: หน้าปก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2553/19590.pdf · 2010. 5. 31. · logically analysed in comparison to theory and categorised in different aspects. The

21

ๆ สรรพสิ่งถูกสรรคสรางอยางมีเปาหมายและเปนเหตุเปนผล โดยอัลลอฮฺทรงสรางสรรพสิ่ง ตาง ๆ ดวยสัดสวนที่เหมาะสมและมีความสมดุล ทั้งนี้ความหลากหลายทางชีวภาพในแตละพื้นที่ ซ่ึงประกอบไปดวยความหลากหลายทางพันธุกรรม (Genetic Diversity) ความหลากหลายทางชนิดพันธุ (Species Diversity) ประกอบดวยความแตกตางของคุณสมบัติของสิ่งไมมีชีวิต เชน ดิน น้ํา อากาศ รังสี แรธาตุ เปนตน และดวยเดชานุภาพของอัลลอฮฺ พระองคทรงสรางระบบนิเวศ (Ecosystem) ในแตละพื้นที่มี เอกลักษณที่แตกตางกัน หรือกอใหเกิดความหลากหลายของระบบนิเวศ (Ecological Diversity) ดังปรากฏอายะฮฺจากอัลกุรอานที่กลาวถึงความหลากหลายทางชีวภาพ ใน (บทที่ 6 อัล-อันอาม โองการที่ 99) ความวา “และพระองคนั้นคือผูที่ทรงใหน้ําลงมาจากฟากฟาแลวทรงใหออกมาดวยน้ํานั้น ซ่ึงพันธุ พืชของทุกสิ่งและเรา (ฮัลลอฮฺ) ไดใหออกจากพันธุพืชนั้น ซ่ึงสิ่งที่มีสีเขียว จากสิ่งที่มีสีเขียวนั้นเรา (ฮัลลอฮฺ) ไดใหออกมาซึ่งเมล็ดที่ซอนตัวกันอยู และจากตนอินทผาลัมนั้น จั่นของมันเปนทลาย ต่ํา และทรงใหออกมาดวยน้ํานั้นอีก ซ่ึงสวนองุนและชัยตูน (มะกอก) และทับทิม โดยมีสภาพ คลายกันและไมคลายกัน “พวกเจาจงมองดูผลของมัน เมื่อมันเริ่มออกผลและเมื่อมันแกสุก” แทจริงในสิ่งเหลานั้นแนนอน มีสัญญาณมากมาย สําหรับหมูชนผูศรัทธา” (มัรวาน สะมะอุน , 2550 : 263) และพระองคทรงตรัสไวใน (บทที่13 อัรเราะอฺดุ โองการที่ 4) ความวา “และในแผนดินมีเขตแดนติดตอใกลเคียงกัน และมีสวนพฤกษา เชน ตนองุน และตนที่มีเมล็ด และตนอินทผลัมที่มาจากรากเดียวกัน และมิใชรากเดียวกัน ไดรับแหลงน้ําเดียวกัน และเรา (อัลลอฮฺ) ไดใหบางชนิดดีเดนกวาอีกบางชนิดในรสชาติ แทจริงในการนั้นแนนอนเปนสัญญาณสําหรับหมูชนผูใชปญญา” (มัรวาน สะมะอุน , 2550 : 478) และพระองคทรงตรัสไวใน (บทที่13 อัลมุอฺมินูน โองการที่ 18-19) ความวา “และเรา (อัลลอฮฺ) ไดหล่ังน้ําใหลงมาจากฟากฟาตามปริมาณ แลวเรา (อัลลอฮฺ) ไดใหมันขังอยูในแผนดิน และแทจริงเรา นั้น(อัลลอฮฺ) เปนผูสามารถอยางแนนอนที่จะใหมันเหือดหายไป และเรา (อัลลอฮฺ) ไดใหบางชนิดดีเดนกวาอีกบางชนิดในรสชาติ แทจริงในการนั้นแนนอนเปนตนองุนสําหรับพวกเจาในสวนนั้นมีผลไมมากมาย และสวนหนึ่งพวกเจาก็บริโภคมัน (มัรวาน สะมะอุน , 2550 : 671)

อยางไรก็ตามสิ่งตาง ๆ ที่อยูในธรรมชาติจะไมสามารถดํารงอยูได หากปราศจากการพึ่งพาซึ่งกันและ ซ่ึงจะทําใหส่ิงตาง ๆ ดํารงอยูรวมกันอยางเปนระบบ เรียกวา ระบบธรรมชาติ (Natural System) เกิดขึ้นจากความสัมพันธระหวางระบบยอยตาง ๆ ที่อยูในธรรมชาติ ไดแก ระบบบรรยากาศ (Atmospheric System) หมายถึงระบบอากาศ และชั้นบรรยากาศ ระบบอุทกวิทยา (Hydrological System) หมายถึงระบบของน้ําบนดิน น้ําใตดินและวัฏจักรน้ํา ระบบโลก (Earth System) หมายถึงระบบที่เกี่ยวของกับองคประกอบตาง ๆ ที่อยูเหนือเปลือกโลก และอยูใต เปลือก

Page 32: หน้าปก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2553/19590.pdf · 2010. 5. 31. · logically analysed in comparison to theory and categorised in different aspects. The

22

โลก เชน ภูเขา แรธาตุ และหินเหลวรอนใตพิภพ เปนตน ระบบสิ่งมีชีวิต (Vital System) หมายถึง ระบบความสัมพันธของสิ่งมีชีวิตตาง ๆ ทั้งพืชและสัตวที่อาศัยบนบกและใตน้ํา (ภาพท่ี 4.2) ทั้งนี้ความสัมพันธของระบบตาง ๆ เร่ิมตั้งแตระดับจุลภาค (Micro Scale) ซ่ึงเปนความสัมพันธของส่ิงมีชีวิตที่อาจซอนเรนสายตามนุษย เชน อาศัยอยูใตกอนหินกับสิ่งแวดลอมบริเวณนั้น จนถึงระดับ มหภาค (Macro Scale) ซ่ึงเปนความสัมพันธระหวางระบบนิเวศหนึ่งกับอีกระบบนิเวศอื่น ๆ นอกเหนือจากความสัมพันธระหวางระบบยอยตาง ๆ ที่มีความสําคัญยิ่งตอระบบธรรมชาติความสัมพันธอีกประเภทหนึ่งที่มีความสําคัญไมยิ่งหยอนกวากัน คือ ความสัมพันธระหวางสิ่งมีชีวิตกั บสิ่ ง มี ชี วิ ต ซ่ึ งมี ทั้ ง คว ามสั มพันธ แบบพึ่ งพ า (Mutualism) ความสั มพันธ แบบ เกื้ อ กู ล (Commensalisms) ความสัมพันธแบบปรสิต (Parasitism) และความสัมพันธแบบผูลา-เหยื่อ (Predator-Pray) โดยที่ความสัมพันธของสิ่งมีชีวิตแบบตาง ๆ ที่มีอยูมากมายในระบบนิเวศหนึ่งซึ่งถือเปนการรักษาสมดุลทางชีววิทยาและดุลภาพธรรมชาติ (Natural Equilibrium) ใหกับระบบนิเวศนั้น ๆ และดวยสายใยแหงระบบธรรมชาติที่ไดเรียงรอยเช่ือมโยงกันอยางแนบแนนกอใหเกิดความสัมพันธเชื่อมโยงกันของทุกสิ่งในสากลจักรวาลทั้งที่เปนสิ่งมีชีวิตและสิ่งไมมีชีวิตเปนความจริงทางระบบธรรมชาติที่ทุก ๆ ส่ิงยอมมีบทบาทและตําแหนงที่เหมาะสม (Niche) รวมทั้งมีคุณคาและคุณประโยชนในตนเองไมเฉพาะคุณคาที่เปนประโยชนตอมนุษย (Instrumental Values) แตทุกสิ่งในระบบธรรมชาติยอมมีคุณคาในตัวเองตามธรรมชาติ (Intrinsic Value) แมวาสิ่งนั้นจะเปนจุลชีพไมสามารถมองเห็นไดก็ตาม ดังนั้น ถาเกิดความเสียหายตอส่ิงหนึ่งสิ่งใดในระบบธรรมชาติยอมสงผลกระทบตอส่ิงอื่น ๆ ที่อยูในระบบธรรมชาติดวยเชนกัน

Natural System ภาพที่ 2.2 ความสัมพันธระบบตาง ๆ ที่เปนองคประกอบของระบบธรรมชาติ แหลงท่ีมา ดัดแปลงจาก Mohammad Assayed Jamil, et al., 1999 : 12

ระบบบรรยากาศ ระบบโลก

ระบบสิ่งมีชีวิต ระบบอุทกวิทยา

Page 33: หน้าปก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2553/19590.pdf · 2010. 5. 31. · logically analysed in comparison to theory and categorised in different aspects. The

23

ดวยเหตุนี้โลกทัศนและองคความรูของศาสนาอิสลามที่มีตอระบบธรรมชาติจึงเปนการอธิบายถึงบทบาทของสิ่งตาง ๆ ในระบบธรรมชาติที่ทํางานประสานเกี่ยวโยง (Interrelation Ship) และการพึ่งพาอาศัย (Interdependencies) จนเกิดเปนสังคมแหงธรรมชาติขึ้น ดังปรากฏสวนหนึ่งจากอายะฮฺหรือโองการในอัลกุรอานที่กลาวถึงความสมดุลทางธรรมชาติใน (บทที่ 2 อัล-บะเกาะเราะฮฺ โองการที่ 164) ความวา “แทจริงในการสรางบรรดาชั้นฟาและแผนดิน และสับเปลี่ยนกลางคืนและกลางวัน และเรือที่วิ่งอยูในทะเล พรอมดวยส่ิงที่อํานวยประโยชนแกมนุษย และดวยน้ําที่ อัลลอฮฺไดทรงให หล่ังลงมาจากฟากฟา แลวทรงใหแผนดินมีชีวิตชีวาขึ้นดวยน้ํานั้นหลังจากที่มันตายไปแลว และไดทรงใหสัตวแตละชนิด แพรสะพัดไปในแผนดิน และในการใหลมเปลี่ยนทิศทาง และใหเมฆซึ่งถูกกําหนดใหบริการ (แกโลก) ผันแปรไประหวางฟากฟาและแผนดินนั้น... (มัรวาน สะมะอุน, 2550 : 46) และพระองคทรงตรัสไวใน (บทที่ 13 อัลฮิจรฺ โองการที่ 19 ) ความวา

“และแผนดินนั้นเรา (อัลลอฮฺ) ไดแผมันออกไป และเรา (อัลลอฮฺ) ไดทําใหมีเทือกเขาเปนที่ยึดอยางมั่งคง และเรา (อัลลอฮฺ) ไดใหทุกสิ่งงอกเงยอยางสมดุล” (มัรวาน สะมะอุน, 2550 : 506) และพระองคทรงตรัสไวใน (บทที่ 16 อันนะหฺลิ โองการที่ 10-11 ) ความวา

“พระองค คือ ผูทรงหลั่งน้ําลงมาจากฟากฟาสําหรับพวกเจา สวนหนึ่งเปนเครื่องดื่มและอีกกสวนหนึ่ง (ทําให) พฤกษชาติ (เจริญเติบโต) เพื่อพวกเจาใชเล้ียงสัตวดวยมัน (น้ํา) พระองคทรงใหพืชผลและผลมะกอก และอินทผลัมและองุนงอกงามสําหรับพวกเจา และจากผลไมอีกหลายชนิด (มัรวาน สะมะอุน, 2550 : 519) และพระองคทรงตรัสไวใน (บทที่ 23 อัลมุอฺมินูน โองการที่ 18-19 ) ความวา

“และเรา (อัลลอฮฺ) ไดหล่ังน้ําใหลงมาจากฟากฟาตามปริมาณ แลวเรา (อัลลอฮฺ) ไดใหมันขังอยูในแผนดิน และแทจริงเรา (อัลลอฮฺ) เปนผูสามารถอยางแนนอนที่จะใหมนัเหือดหายไป และดวยน้ํานั้นเรา (อัลลอฮฺ) ทําใหมนัเปนสวนหลากหลายแกพวกเจามีตนอนิทผลัม และตนองุนสําหรับพวกเจาในสวนนัน้มีผลไมมากมาย และสวนหนึง่พวกเจาก็บริโภคมัน” (มัรวาน สะมะอุน, 2550 : 671) และพระองคทรงตรัสไวใน (บทที่ 25 อัลฟุรกอน โองการที่ 48-49) ความวา

Page 34: หน้าปก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2553/19590.pdf · 2010. 5. 31. · logically analysed in comparison to theory and categorised in different aspects. The

24

“และพระองค คือ ผูสงลม เปนการนําขาวดีลวงหนา ทามกลางความเมตตาของพระองค และเรา (อัลลอฮฺ) ไดประทานน้ําบริสุทธิ์ลงมาจากฟากฟา เพื่อเรา (อัลลอฮฺ) จะใหชีวิตดวยมัน (น้ํา) แกแผนดินทีแ่หงแลงและเรา (อัลลอฮฺ) จะใหส่ิงเรา (อัลลอฮฺ) สรางมันขึ้นมาเชน ปศุสัตว และมนุษยมากมายดื่มมนั (น้ํา) นั้น” (มัรวาน สะมะอุน, 2550 : 716) และพระองคทรงตรัสไวใน (บทที่ 31 ลุกมาน โองการที่ 10) ความวา

“พระองคทรงสรางชั้นฟาทั้งหลายโดยปราศจากเสาที่พวกเจาจะมองเห็นมันได และทรงปกษเทือกเขาไดอยางมั่นคงในแผนดินเพื่อมิใหมันสั่นคลอนไปกับพวกเจา และทรงใหสัตวทุกชนิดแพรหลายในมัน (แผนดิน) และเรา (อัลลอฮฺ) ไดใหน้ํา (ฝน) หล่ังลงมาจากฟากฟาและเรา (อัลลอฮฺ) ไดใหพืชทุกชนิดงอกเงยออกมาเปนคู ๆ อยางดีงาม (มัรวาน สะมะอุน, 2550 : 815) และพระองคทรงตรัสไวใน (บทที่ 31 ฟาฏิร โองการที่ 9) ความวา

“และอัลลอฮฺซ่ึงทรงสงลมทั้งหลายออกไป และมันไดหอบเปนเมฆขึ้น แลวเรา (อัลลอฮฺ) ไดใหมันพัดพาไปยังดินแดนที่แหงแลง แลวเรา (อัลลอฮฺ) ไดใหแผนดินนั้นมีชีวิต (ชุมชื้นดวยน้ําฝน) หลังจากการแหงแลงของมัน เชนนั้นแหละการฟนคืนชีพ” (มัรวาน สะมะอุน, 2550 : 861) และพระองคทรงตรัสไวใน (บทที่ 36 ยาซนี โองการที่ 40) ความวา

“ดวงอาทิตยนั้นจะไมตามทันดวงจันทร และกลางคืนนั้นก็จะไมลํ้ากลางวันไป แตละอยางลวนแตดําเนินไปตามวงโคจรดวยความเคลื่อนไหวของมันเอง” (มัรวาน สะมะอุน, 2550 : 876) และพระองคทรงตรัสไวใน (บทที่ 39 ฮัซซุมัรฺ โองการที่ 21) ความวา

“เจามิเห็นดอกหรือวา แทจริงอัลลอฮฺทรงหลั่งน้ําลงมาจากฟากฟา แลวทรงใหมันไหลซึมลงไปในแผนดินเปนตาน้ําดวยน้ําทรงใหพืชงอกออกมาหลายสี แลวมันก็จะเหี่ยวแหง ดังนั้นเจาจะเห็นมันกลายเปนสีเหลือง แลวพระองคทรงทําใหมันเปนเศษเปนชิ้น แทจริงในการนั้นยอมเปนขอเตือนสติแกผูมีสติปญญาทั้งหลาย (มัรวาน สะมะอุน, 2550 : 922) และพระองคทรงตรัสไวใน (บทที่ 39 อัลกอมัรฺ โองการที่ 49) ความวา

“แทจริงทุก ๆ ส่ิงนั้น เรา (อัลลอฮฺ) สรางมันตามสัดสวน แทจริงทุกสิ่งทุกอยาง เราไดบันดาลมันขึ้นมา โดยกําหนดการทีแ่นนอน (ไมมกีารเปลี่ยนแปลง) อยางใดเลย” (มัรวาน สะมะอุน, 2550 : 1077)

Page 35: หน้าปก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2553/19590.pdf · 2010. 5. 31. · logically analysed in comparison to theory and categorised in different aspects. The

25

2.4.3 สัญญาแหงเดชานุภาพของอัลลอฮฺ คําสอนใหอัลกุรอานซึ่งเปรียบเทียบเสมือนธรรมนูญแหงชีวิตของมุสลิมทุกคนไมไดสอนเฉพาะ หลักการศรัทธา หลักการปฏิบัติและจริยธรรมที่มนุษยพึงมีตอพระผูทรงสรางเทานั้นแตคัมภีรอัลกุรอานเปรียบเสมือนคลังวิชาการในศาสตรแขนงตาง ๆ ที่มนุษยสามารถแสวงหาความรูได อาทิเชน ประวัติศาสตร นิติศาสตร เศรษฐศาสตร วิทยาศาสตรสมัยใหม และธรรมชาติวิทยาเปนตน ประกอบกับศาสนาอิสลามไดสอนวาความรูตองมากอนคําพูดและการกระทํา เพื่อสงเสริมใหมนุษยไดใชสติปญญาอยางเปนเหตุเปนผล หลุดพนจากความเชื่อเร่ืองโชคลางและความงมงาย ซึ่งจะเห็นไดจากอายะฮฺลักกุรอานที่ไดประทานใหแกทานศาสดามูฮําหมัด (ซ.ล.) โดยผานมลาอิกะฮฺ ช่ือยิบรีล (ทูตสวรรค) ขณะที่ทานศาสดาหลบเขาไปอยูในถํ้าฮิรอหฺ เพื่อหลีกเลี่ยงการบูชาเจว็ดของผูคนในขณะนั้น และเพื่อแสวงหาสัจธรรมในการคนหาพระเจาที่แทจริง หลายครั้งที่มนุษยใชสติปญญาของตนเพื่อการควบคุมธรรมชาติ จนคิดวามนุษยเปนสิ่งมี ชีวิตชนิดเดียวที่มีความอํานาจเหนือทุกสรรพสิ่งในธรรมชาติและมนุษยก็หลงลืมพระเดชานุ ภาพอัลลอฮฺ แตดวยเดชานุภาพและพลานุภาพของพระองค พระองคทรงใหธรรมชาติที่สวยงามมีพละกําลังในการทําลายลาง ซ่ึงเปนหวงโซสะทอนกลับเชิงลบ (Negative Feedback Loop) เพื่อเปนบทเรียนแกมนุษยไมใหเยอหยิ่งและทะนงตนจนเปนเหตุใหเกิดการเบียดเบียนธรรมชาติการพิจารณาความสําคัญของธรรมชาติและสิ่งแวดลอมในมิติดานจริยธรรมจะทําใหมนุษยตระหนักถึงความเมตตาของอัลลอฮฺที่มีตอมนุษยชาติสํานึกในบุญคุณและนอบนอมถอมตนตอพระองค เพื่อที่มนุษยจะไมถือว าตนเองมี อิสระที่ จะทําอะไรตามความพอใจ จนเปนมูล เหตุแหงความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอม ฉะนั้นแนวคิดเกี่ยวกับการเผยแพรคําสอนในศาสนาอิสลามที่เกี่ยวกับการอนุรักษส่ิงแวดลอม คือ มุสลิมตองศรัทธาวาสรรพสิ่งตาง ๆ บังเกิดขึ้นตามพระประสงคของอัลลอฮฺ การศรัทธาวาทุกสรรพสิ่งไดถือกําเนิดตามพระประสงคของอัลลอฮฺจึงไมใชเพียงหลักการศาสนาเทานั้น แตเปนเครื่องหมายที่แสดงถึงการเชื่อฟงและการถอมตนของมุสลิมที่มีตอฮัลลอฮฺ และพรอมอุทิศตนเพื่อปฏิบัติตามบทบัญญัติของพระองค ซ่ึงถือเปนสวนหนึ่งของหนาที่ทางสังคมของมุสลิมที่ ตั้งอยูบนพื้นฐานการศรัทธาตอพระผูทรงสราง โดยปรากฏคําสอนจากอัลกุรอานและหะดีษของทานศาสดามูฮําหมัด (ซ.ล.) ที่กลาวถึงความสัมพันธระหวางมนุษยกับธรรมชาติและสิ่งแวดลอมไวอยางชัดเจน โดยสามารถสรุปความสัมพันธระหวางมนุษยกับการอนุรักษส่ิงแวดลอมไดดังนี้ Abubakr Ahmed (1994 อางถึงใน อัคตะรุดดีน อะฮฺเมด, มาญิต เอช.เอ.ฮาซิม และกัซซี อัล ฮาซิม, 2547:186)

Page 36: หน้าปก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2553/19590.pdf · 2010. 5. 31. · logically analysed in comparison to theory and categorised in different aspects. The

26

1) ความสัมพันธดานการใชสติปญญาของมนุษยในการไตรตรอง พิจารณาและการมุงมั่นการศึกษาหาความรูในทุก ๆ สรรพสิ่งในสากลจักรวาล 2) ความสัมพันธดานการนําทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดลอมมาใชใหเกิดประโยชนและเพื่อใหบรรลุส่ิงที่ตองการ 3) ความสัมพันธดานการดูแลรักษาธรรมชาติและสิ่งแวดลอม แทจริงการประพฤติดีของมนุษยตามทัศนะอิสลามไมไดจํากัดเฉพาะการสรางคุณประโยชนใหแกมนุษยดวยกันเทานั้น แตรวมถึงการสรางคุณประโยชนใหกับทุก ๆ ส่ิงที่ถูกสรางและการกระทําดีตอทุก ๆ ส่ิงมีชีวิต ดวยพระเมตตาของอัลลอฮฺที่มีตอมนุษย พระองคไดอํานวยประโยชนใหกับมนุษยดวยการสรางธรรมชาติและสิ่งแวดลอมตาง ๆ เพื่อใชสําหรับการดํารงชีพของมนุษยบนโลกนี้ โดยมีอายะฮฺโองการจากอัลกุรอานกลาวไวใน (บทที่ 10 ยูนุส โองการที่ 23) ดังนี้ “แทจริง อุปมาชีวิตในโลกนี้ ดั่งน้ําฝนที่เรา (อัลลอฮฺ) ไดหล่ังมันลงมาจากฟากฟา พืชของแผนดินไดคละเคลากับน้ํานั้น บางสวนของมัน (น้ํา) มนุษยและปศุสัตวใชกินเปนอาหารจนกระทั่งเมื่อแผนดินไดเร่ิมปรากฏความงดงามของมัน และถูกประดับดวยพืชผลอยางสวยงาม...” (มัรวาน สะมะอุน, 2550 : 397) และพระองคอัลลอฮฺทรงตรัสไวใน (บทที่ 10 ยูนุส โองการที่ 59) ความวา “จงกลาวเถิด (มูฮําหมัด) พวกทานเห็นแลวมิใชหรือ ซ่ึงเครื่องยังชีพที่อัลลอฮฺทรงประทานใหแกพวกทาน แลวพวกทานก็ทําใหบางสวนเปนที่ตองหาม (ฮะรอม) และบางสวนเปนที่อนุมัติ (ฮะลาล)’…” (มัรวาน สะมะอุน, 2550 : 407) และพระองคอัลลอฮฺทรงตรัสไวใน (บทที่ 14 อิบรอฮีม โองการที่ 33) ความวา

“ฮัลลอฮฺผูทรงสรางชั้นฟาที่ทั้งหลายและแผนดิน และทรงใหน้ําลงมาจากชั้นฟา และพระองค ทรงใหพืชผลงอกเงยออกมาดวยมัน (จากน้ํา) เพื่อเปนปจจัยยังชีพแกพวกเจาและทรงใหเรือเดนิสมุทรมีความสะดวกแกพวกเจาเพื่อใชแลนตามนานน้ําโดยพระบัญชาของพระองค และพระองคทรงทําใหลําน้ําทั้งหลายเปนประโยชนแกพวกเจา” (มัรวาน สะมะอุน, 2550 : 498) และพระองคอัลลอฮฺทรงตรัสไวใน (บทที่ 15 อัลฮิจรฺ โองการที่ 20-22) ความวา

“และในแผนดินนั้นเรา(อัลลอฮฺ) ไดทําใหมีเครื่องยังชีพแกพวกเจา และแกผูที่พวกเจามิไดเปนผูใหริซกีแกเขา และไมมีส่ิงใด (เครื่องยังชีพ) เวนแตที่เรา (อัลลอฮฺ) นั้นมีคลังของมันและเรา (อัลลอฮฺ) จะไมใหมันลงมา นอกจากตามสภาวะที่ไดถูกกําหนดไวแลว และเรา (อัลลอฮฺ) ไดสงลมผสมเกสร

Page 37: หน้าปก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2553/19590.pdf · 2010. 5. 31. · logically analysed in comparison to theory and categorised in different aspects. The

27

แลวเรา (อัลลอฮฺ) ไดใหน้ําลงมาจากฟากฟา แลวเรา (อัลลอฮฺ) ไดใหพวกเจาดื่มมัน และพวกเจาก็มิไดเปนผูสะสมมันไว” (มัรวาน สะมะอุน, 2550 : 506) และพระองคอัลลอฮฺทรงตรัสไวใน (บทที่16 อันนะหฺลิ โองการที่ 5-8) ความวา

“และปศุสัตว พระองคทรงสรางมันในตัวมีความอบอุนสําหรับพวกเจา และประโยชนมากมาย และในสวนหนึ่งจากนั้นพวกเจาเอาบริโภคได และในตัวมันมีความสงางามสําหรับพวกเจา ขณะที่นํามันกลับจากทุงหญาขณะที่นํามันออกไปเลี้ยง และมันแบกสัมภาระหนักของพวกเจาไปยังเมืองไกล ๆ โดยที่พวกเจาจะไปถึงมันไมได เวนแตดวยความเหนื่อยยากลําบากใจ แทจริง พระเจาของพวกเจานั้นเปนผูทรงเอ็นดู ผูทรงเมตตาเสมอ และมา และลอ และลา เพื่อพวกเจาจะไดขี่มัน และเปนเครื่องประดับ และพระองคยังทรงสรางสิ่งอื่น ๆ ที่พวกเจาไมรู” (มัรวาน สะมะอุน, 2550 : 518) และพระองคอัลลอฮฺทรงตรัสไวใน (บทที่16 อันนะหฺลิ โองการที่ 14) ความวา

“อัลลอฮฺ คือ ผูทรงทําใหทะเลเปนประโยชน เพื่อพวกเจาจะไดกินเนื้อ(ปลา)สดจากมันและพวกเจาจะไดงมออกมาจากทะเลซึ่งเครื่องประดับเชน (ไขมุก) และเจาเห็นเรือแลนฝาคลื่นในทองทะเล และเพื่อพวกเจาจะไดแสวงหาความโปรดปราน และเพื่อพวกเจาจะไดขอบคุณตอพระองค” (มัรวาน สะมะอุน, 2550 : 519) และพระองคอัลลอฮฺทรงตรัสไวใน (บทที่ 35 ฟาฏิร โองการที่ 12) ความวา

“และทะเลทั้งสองนั้นไมเหมือนกัน อันนี้จืดสนิทอรอยนาดื่ม พอใจในเครื่องดื่มของมันและอันนี้เค็มจัด และจากแตละทุกทะเลนั้น พวกเจาจะไดบริโภคเนื้ออันนุมนวล และพวกเจาไดนําเอาเครื่องประดับออกมากจาก (ทะเลทั้งสอง) เพื่อใชมันเปนอาภรณและเจามองเห็นเรือแลนฝาผิวน้ําไป เพื่อพวกเจาจะไดแสวงหาความโปรดปรานของพระองค และเพื่อพวกเจาจะไดกตัญู” (มัรวาน สะมะอุน, 2550 : 862) และพระองคอัลลอฮฺทรงตรัสไวใน (บทที่ 71 นูหฺ โองการที่ 12) ความวา

“และพระองคจะทรงเพิ่มพูนทรัพยสินและลูกหลานแกพวกทาน และจะทรงทําใหมีสวนมากหลายแกพวกทาน และจะทรงทําใหมีลําน้ํามากหลายแกพวกทาน ทําไมพวกทานจึงไมยอมสํานึกถึงความยิ่งใหญของอัลลอฮฺ (มัรวาน สะมะอุน, 2550 : 1175) อยางไรก็ตาม การใชประโยชนจากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอม เพื่อการตอบสนองความตองการหรือเพื่อสรางประโยชนสุขใหกับมนุษย จะตองอยูในขอบเขตที่อัลลอฮฺทรงบัญญัติไว และตองไมเปนสิ่งตองหามตามหลักการของศาสนาอิสลาม ดวยเหตุนี้ การใชทรัพยากรธรรมชาติและ

Page 38: หน้าปก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2553/19590.pdf · 2010. 5. 31. · logically analysed in comparison to theory and categorised in different aspects. The

28

ส่ิงแวดลอมดวยความฟุมเฟอย ความไมพอเพียง และการผลาญทรัพยากรธรรมชาติ (Natural Resources Depletion) ถือเปนสิ่งที่ตองหามตามหลักศาสนาอิสลาม (ฮะรอม) ดังมีโองการ (อายะฮฺ) อัลกุรอานและหะดีษกลาวไว (ในบทที่ 6 อัล-อันอาม โองการที่ 141) ดังนี้ “และพระองคนั้น คือ ผูที่ทรงใหมีขึ้น ซ่ึงสวนทั้งหลายทั้งที่ถูกใหมีรานขึ้น และไมถูกใหมีรานขึ้น และตนอินทผาลัมและพืช โดยที่ผลของมันตาง ๆ กัน และตนซัยตูนและตนทับทิม โดยที่มีความละมายคลายกันและไมละมายคลายกัน จงบริโภคจากผลของมันเถิดเมื่อออกผล และจงจายสวนอันเปนสิทธิในมันดวย ในวันแหงการเก็บเกี่ยวมันและจงอยาฟุมเฟอยทั้งหลาย” (มัรวาน สะมะอุน, 2550 : 275) และพระองคอัลลอฮฺทรงตรัสไวใน (บทที่ 7 อัล-อะอฺรอฟ โองการที่ 31) ความวา

“ลูกหลานของอาดัมเอย ! จงเอาเครื่องประดับกาย ของพวกเจา ณ ทุกมัสยิดและจงกินและจงดื่ม และจงอยาฟุมเฟอย แทจริงพระองคไมชอบบรรดาผูที่ฟุมเฟอย” (มัรวาน สะมะอุน, 2550 : 290) และพระองคอัลลอฮฺทรงตรัสไวใน (บทที่ 7 อัต-เตาบะฮฺ โองการที่ 24) ความวา

“จงกลาวเถิด (มูฮําหมัด) วา หากบรรดาบิดาของพวกเจา และบรรดาลูก ๆ ของพวกเจาและบรรดาพี่นองของพวกเจา และบรรดาคูครองของพวกเจา และบรรดาญาติของพวกเจา และ บรรดาทรัพยสมบัติที่พวกเจาแสวงหาไว และสินคาที่พวกเจากลัวจะจําหนายมันไมออก และบรรดาที่อยูอาศัยที่พวกเจาพึงพอใจมันนั้น เปนที่รักใครแกพวกเจายิ่งกวาอัลลอฮฺ และรสูลของพระองค และการตอสูในทางของพระองคแลวไซร ก็จงรอคอยกันเถิดจนกวาอัลลอฮฺจะทรงนํามาซึ่งกําลัง ของพระองค และอัลลอฮฺนั้นจะไมทรงนําทางแกกลุมชนที่ละเมิด” (มัรวาน สะมะอุน, 2550 : 359) และพระองคอัลลอฮฺทรงตรัสไวใน (บทที่ 17 บะนีอิสรออีล โองการที่ 27) ความวา

“แทจริง บรรดาผูสุรุยสุรายนั้นเปนพวกพองของเหลาชัยฏอน (มาร) และชัยฏอนนั้นเนรคุณตอพระเจาของมัน) (มัรวาน สะมะอุน, 2550 : 548) และพระองคอัลลอฮฺทรงตรัสไวใน (บทที่ 25 อัลฟุรกอน โองการที่ 67) ความวา

“และบรรดาผูที่เมื่อพวกเขาใชจาย พวกเขาก็ไมสุรุยสุราย และไมตระหนี่ และระหวางทั้งสองสภาพนั้น พวกเขาอยูสายกลาง” (มัรวาน สะมะอุน, 2550 : 67) และพระองคอัลลอฮฺทรงตรัสไวใน (บทที่ 57 อัลหะดีด โองการที่ 20) ความวา

Page 39: หน้าปก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2553/19590.pdf · 2010. 5. 31. · logically analysed in comparison to theory and categorised in different aspects. The

29

“พึงทราบเถิดวา แทจริงการมีชีวิตอยูในโลกนี้มิใชอ่ืนใด เวนแตเปนการละเลนและการสนุกสนานราเริงและเครื่องประดับและความโออวดระหวางพวกเจา และการแขงขันกันสะสมในทรัพยสินและลูกหลาน เปรียบเสมือนเชน น้ําฝนที่การงอกเงยพืชผลยังความพอใจใหแกกสิกรแลว มันก็เหี่ยวแหง เจาจะเห็นมันเปนสีเหลือง แลวมันก็กลายเปนเศษเปนชิ้นแหง สวนในวันปรโลกนั้นมีการลงโทษอยางสาหัส และมีการอภัยโทษและความโปรดปรานจากอัลลอฮฺ และการมีชีวิตอยูในโลกนี้ มิใชอ่ืนใดนอกจากแสวงหาผลประโยชนแหงการหลอกลวงเทานั้น” (มัรวาน สะมะอุน, 2550 : 1100) และพระองคอัลลอฮฺทรงตรัสไวใน (บทที่ 100 อัลอาดิยาด โองการที่ 8-10) ความวา

“และแทจริงเขามีความหวงแหน เพราะรักในทรัพยสมบัติ เขาไมรูดอกหรือวา เมื่อส่ิงที่อยูในหลุมฝงศพถูกใหฟนขึ้นมา และสิ่งที่อยูในหัวอกถูกเผยออก แทจริงพระเจาของพวกเขาในวันนั้น ทรงตระหนักในพวกเขาอยางแนนอน” (มัรวาน สะมะอุน, 2550 : 1264) และพระองคอัลลอฮฺทรงตรัสไวใน (บทที่ 102 อัตตะกาซุร โองการที่ 1-6) ความวา

“การสะสมทรัพยสมบัติเพื่ออวดอางไดทําใหพวกเจาเพลิดเพลิน จนกระทั่งพวกเจาไดเขาไปเยือนหลุมฝงศพ เปลาเลย พวกเจาจะไดรู แลวก็เปลาเลย พวกเจาจะไดรู มิใชเชนนั้นถาพวกเขาไดรูอยางแทจริงแลว แนนอน พวกเจาจะเห็นไฟที่ลุกโชน” (มัรวาน สะมะอุน, 2550 : 1267) และทานศาสดาทรงตรัสไวในหะดีษ ซอเฮี๊ยะฮ ความวา “ความจําเริญของการใชอยูในประโยชนที่ไดจากมันเปนสัดสวนกับความเสียหายของมัน” รายงานโดย ติรฺมีซี (อรุณ บุญชม, 2525 : 572) นอกจากนี้ ทรัพยากรธรรมชาติบนโลกนี้อัลลอฮฺประทานดวยความเมตตาใหกับมนุษยชาติ ไมวาจะเปนมนุษยยุคไหนก็ตาม เพื่อใชในการดํารงชีพ ประกอบกับหลักคําสอนของศาสนาอิสลามที่กลาวถึงความรักในหมูเพื่อมนุษย โดยมุงเนนใหมนุษยมีการปฏิบัติตอกันเฉกเชนพี่นองทองเดียวกัน ดวยเหตุผลดังกลาว การแสวงหาและกอบโกยประโยชนจากทรัพยากรธรรมชาติ หรือการทําลายความสมดุลทางธรรมชาติและการกอมลพิษตอส่ิงแวดลอมโดยไมคํานึงถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับบุคคลอ่ืนในสังคม หรือผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับคนรุนอนาคต จึงเปนการกระทําที่ปราศจากความยุติธรรมและเปนสิ่งตองหามตามหลักศาสนาอิสลาม ดังนั้น มนุษยควรตระหนักถึงพระเมตตาของอัลลอฮฺที่ทรงประทานทรัพยากรตาง ๆ เหลานั้น เพื่อสรางประโยชนสุข และการที่มนุษยเปนผูไดรับมอบหมายความไววางใจจากฮอัลลอฮฺ มนุษยจึง

Page 40: หน้าปก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2553/19590.pdf · 2010. 5. 31. · logically analysed in comparison to theory and categorised in different aspects. The

30

เปนแคเพียงผูดูแลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอมอยางสรางสรรคไมใช “อํานาจปกครอง” หรือ “การครอบครอง” ธรรมชาติและสิ่งแวดลอม ดังมีคํากลาวของทานอบุลฟะรอจญ นักวิชาการมุสลิมยุคแรกไดกลาววา “ความจริงแลวคนเราไมไดเปนเจาของสิ่งใด เพราะเจาของที่แทจริง คือผูสรางมัน พวกเขาเพียงแตใชประโยชนจากมันตามกฎของพระผูเปนเจา” (Abdus Salam อางใน อัคตะรุดดีน อะฮฺเมด, มาญิต เอช.เอ.ฮาซิม และกัซซี อัล ฮาซิม, 2547:215) การดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติและส่ิงแวดลอมจึงไมใชเพียงหนาที่ที่มุสลิมตองกระทําตอธรรมชาติและสิ่งแวดลอมในฐานะที่เปนเคาะลีฟะฮฺเทานั้นแตยังเปนการธํารงความยุติธรรมทางสิ่งแวดลอม (Environmental Justice) และความยุติธรรมทางสังคม (Social Justice) ระหวางคนในรุนเดียวกัน (Intra – Generation Equity) และ ความยุติธรรมระหวางคนตางรุน (Inter – Generation Equity) อีกดวย ดังปรากฏหลักฐานสวนหนึ่งจากโองการ (อายะฮฺ) อัลกุรอานใน (บทที่ 4 อัน-นิซาอฺ โองการที่ 58) ความวา “แทจริงอัลลอฮฺทรงใชพวกเจาใหมอบคืนบรรดาของฝากแกเจาของของมัน และเมื่อพวกเจาตัดสินระหวางผูคน พวกเจาก็จะตองตัดสินดวยความยุติธรรม แทจริงอัลลอฮฺทรงแนะนําพวกเจาดวยส่ิงซึ่งดีจริง ๆ แทจริงอัลลอฮฺเปนผูทรงไดยินและไดเห็น” (มัรวาน สะมะอุน, 2550 : 160) และพระองคอัลลอฮฺทรงตรัสไวใน (บทที่ 4 อัน-นิซาอ ฺโองการที่ 135) ความวา

“ผูศรัทธาทั้งหลาย ! จงเปนผูที่ดํารงไวซ่ึงความยุติธรรม...” (มัรวาน สะมะอุน, 2550 : 182) และพระองคอัลลอฮฺทรงตรัสไวใน (บทที่ 5 อัล-มาอิดะฮฺ โองการที่ 42) ความวา

“พวกเขาชอบฟงคํามุสา ชอบกินสิ่งตองหาม ถาหากพวกเขามาหาเจา ก็จงตัดสินระหวางพวกเขา หรือไมก็หลีกเลี่ยงพวกเขาเสีย และถาหากเจาหลีกเลี่ยงพวกเขา พวกเขาก็จะไมใหโทษแกเจาไดแตอยางใดเลย และหากเจาตัดสินใจ ก็จงตัดสินใจระหวางพวกเขา ดวย ความยุติธรรม แทจริงอัลลอฮฺนั้นทรงรักบรรดาผูที่ยุติธรรม” (มัรวาน สะมะอุน, 2550 : 209) และพระองคอัลลอฮฺทรงตรัสไวใน (บทที่ 5 อันนะหฺลิ โองการที่ 90) ความวา

“แทจริงอัลลอฮฺทรงใชใหรักษาความยุติธรรมและทําดี…” (มัรวาน สะมะอุน, 2550 : 535) และพระองคอัลลอฮฺทรงตรัสไวใน (บทที่ 26 อัชชุอะรออฺ โองการที่ 183) ความวา

“และอยาใหขาดพรองแกมหาชน ซ่ึงสิ่งตาง ๆ ของพวกเขา และอยาเปนผูบอนทําลายกอกวนในแผนดิน” (มัรวาน สะมะอุน, 2550 : 741)

Page 41: หน้าปก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2553/19590.pdf · 2010. 5. 31. · logically analysed in comparison to theory and categorised in different aspects. The

31

และพระองคอัลลอฮฺทรงตรัสไวใน (บทที่ 26 อัรเราะหฺมาน โองการที่ 8-9) ความวา “เพื่อพวกเจาจะไดไมฝาฝนในเรื่องการชั่งตวงวัด และจงธํารงไวซ่ึงการชั่งดวยความเที่ยง

ธรรม และอยาใหขาดหรือหยอนตาชั่ง (มัรวาน สะมะอุน, 2550 : 1078) มนุษยในฐานะที่เปนตัวแทนของอัลลอฮฺบนหนาแผนดิน จึงมีบทบาทและหนาที่โดยตรงในการรับผิดชอบตอระบบธรรมชาติที่อัลลอฮฺเปนผูสรางขึ้น ซ่ึงเปนภาระหนาที่ที่อัลลอฮฺ (ซ.บ.)ทรงมอบ หมายใหแกมนุษยชาติทุกคน โดยมนุษยจะตองรับผิดชอบตออัลลอฮฺสําหรับความไววางใจที่ถูกมอบหมาย (อะมานะฮฺ) ซ่ึงมีหนาที่จะตองดูแลเอาใจใสตัวเองและสิ่งตาง ๆที่อยูรอบตัวมนุษยจึงมีหนาที่ทั้ง ดานสวนบุคคลและสวนรวม ในการปองกันการผลาญทรัพยากรธรรมชาติและปองกันมลภาวะทางสิ่งแวดลอม ซ่ึงเปนอันตรายตอทั้งประชากรในปจจุบันและในอนาคต (เอ็ม อูเมอร ชัพพรา, 2547:27) โดยมีโองการ ( อายะฮฺ) อัลกุรอาน และหะดีษกลาวไวดังนี้ พระองคอัลลอฮฺทรงตรัสไวใน (บทที่ 2 อัล-บะเกาะเราะฮฺ โองการที่ 205) ความวา

“และเมื่อเขาใหหลังไปแลว เขาก็เพียรพยายามในแผนดิน เพื่อกอความเสียหายในนั้นและทําลายพืชผล และเผาพันธุ และอัลลอฮฺนั้นไมทรงชอบการกอความเสียหาย” (มัรวาน สะมะอุน, 2550 : 60) และพระองคอัลลอฮฺทรงตรัสไวใน (บทที่ 2 อัล-อันอาม โองการที่ 165) ความวา

“และพระองคนั้นคือผูที่ทรงใหพวกเจาเปนผูสืบแทนในแผนดิน และไดทรงเทิดบางคนของพวกเจาเหนือกวาอีกบางคนหลายขั้น เพื่อที่พระองคทรงทดสอบพวกเจาในสิ่งที่พระองคไดทรงประทานแกพวกเจา แทจริงพระเจาของเจานั้น เปนผูรวดเร็วในการลงโทษและแทจริงพระองคนั้นเปน ผูทรงอภัยโทษผูทรงเอ็นดูเมตตา” (มัรวาน สะมะอุน, 2550 : 283) และพระองคอัลลอฮฺทรงตรัสไวใน (บทที่ 7 อัลอะอฺรอฟ โองการที่ 7) ความวา

“และพวกเจาอยากอความเสียหายไวในแผนดิน หลังจากไดถูกจัดใหเปนระเบียบแลวและจงวิงวอนตอพระองคดวยความยําเกรงและความปรารถนาอันแรงกลา แทจริง ความเอ็นดูเมตตาของอัลลอฮฺนั้นใกลแกผูกระทําดีทั้งหลาย” (มัรวาน สะมะอุน, 2550 : 285) และพระองคอัลลอฮฺทรงตรัสไวใน (บทที่ 10 ยูนุส โองการที่ 23) ความวา

“แลวเรา (อัลลอฮฺ) ก็ไดแตงตั้งพวกทานใหเปนตัวแทนในแผนดินหลังจากพวกเขาเหลานั้นเพื่อเรา (อัลลอฮฺ) จะดูวาพวกทานจะปฏิบัติอยางไร” (มัรวาน สะมะอุน, 2550 : 395)

Page 42: หน้าปก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2553/19590.pdf · 2010. 5. 31. · logically analysed in comparison to theory and categorised in different aspects. The

32

และพระองคอัลลอฮฺทรงตรัสไวใน (บทที่ 30 อัรรูม โองการที่ 41) ความวา “การบอนทําลายไดเกิดขึ้นทั้งทางบกและทางน้ํา เนื่องจากสิ่งที่มือของมนุษยไดขวนขวายไว

เพื่อที่พระองคจะใหพวกเขาลิ้มรสบางสวนที่พวกเขาประกอบไว โดยท่ีหวังจะใหพวกเขากลับเนื้อกลับตัว” (มัรวาน สะมะอุน, 2550 : 809) และพระองคอัลลอฮฺทรงตรัสไวใน (บทที่ 26 อัชชุอะรออฺ โองการที่ 183) ความวา

“และอยาใหขาดพรองแกมหาชนซึ่งสิ่งตาง ๆ ของพวกเขา และอยาเปนผูบอนทําลายกอกวนในแผนดิน” (มัรวาน สะมะอุน, 2550 : 741) และพระองคอัลลอฮฺทรงตรัสไวใน (บทที่ 28 อัลกอซอซ โองการที่ 77) ความวา

“และเจาอยาแสวงหาความเสียหายในแผนดิน แทจริง อัลลอฮฺไมทรงโปรดบรรดาผูบอนทําลาย” (มัรวาน สะมะอุน, 2550 : 782) และพระองคอัลลอฮฺทรงตรัสไวใน (บทที่ 28 อัรเราะหฺมาน โองการที่ 7-8) ความวา

“พระองคไดทรงยกชั้นฟาไวสูงและไดทรงกําหนดความสมดุลไว ดังนั้น พวกเจาอยาไดทําใหความสมดุลเสียไป” (มัรวาน สะมะอุน, 2550 : 1078) และทานศาสดาทรงตรัสไวในหะดีษ ซอเฮี๊ยะฮ ความวา

“สรรพสิ่งที่ถูกบังเกิดมานั้น ลวนเปน เชน สมาชิกในครอบครัว (ใตการอภิบาล) ของอัลลอฮฺดังนั้นผูที่เปนที่รักยิ่ง ณ อัลลอฮฺ คือ ผูที่ทําดีตอสรรพส่ิงและสรรพบุคคลทั้งหลายนั้น” รายงานโดย อัล-บัยฮะกีย (อรุณ บุญชม, 2525 : 572) และทานศาสดาทรงตรัสไวในหะดีษ ซอเฮี๊ยะฮ ความวา

“โลกนี้สีเขียวและหวานชื่น และแทจริงอัลลอฮฺไดใหพวกทานมาอยูที่นี่ในฐานะผูไดรับความไววางใจในโลก เพื่อที่จะดูวาพวกทานปฏิบัติอยางไร” รายงานโดย มุสลิม (อรุณ บุญชม, 2525 : 1192) และทานศาสดาทรงตรัสไวในหะดีษ ซอเฮี๊ยะฮ ความวา

“มุสลิมคนใดที่ปลูกตนไมหรือหวานพืชลงไปในทุงนา แลวหลังจากนั้นมีคน สัตวหรือนกไดจิกกินจากนั้น นั่นเปนการทําทาน ในสวนของคนผูนั้น” รายงานโดย มุสลิม (อรุณ บุญชม, 2525 : 1224)

Page 43: หน้าปก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2553/19590.pdf · 2010. 5. 31. · logically analysed in comparison to theory and categorised in different aspects. The

33

และทานศาสดาทรงตรัสไวในหะดีษ ซอเฮี๊ยะฮ ความวา ทานญาบิรุ รฎิยัลลอฮุอันหุ (ขออัลลอฮฺทรงพอพระทัยกับเขา) ไดเลาจากทานนบีมูฮําหมัด (ขอ

ความสันติสุขจงประสบแดทาน) ซ่ึงทานกลาววา “เมื่อมุสลิมคนใดปลูกพืช ส่ิงที่ถูกนําไปใชรับประทานจากพืชตนนั้นเปนกุศลทานของเขา และจะไมมีผูใดไดใชมันเปนประโยชนนอกจากเปนกุศลทานของเขา” รายงานโดย อัน-นะสาอียฺ (อรุณ บุญชม, 2525 : 1071)

ดวยเหตุนี้ โลกทัศนอิสลามที่มีตอความสัมพันธระหวางมนุษย และทรัพยากรธรรมชาติส่ิงแวดลอม วางอยูบนพื้นฐานแนวความคิดสําคัญสามประการ คือ เตาฮีด เคาะลีฟะฮฺ และ อะดาละฮฺ รายละเอียดดังนี้ (เอ็ม อูเมอร ซัพพรา, 2547:25) 1) เตาฮีด หมายถึง ความเปนหนึ่งและความเปนเอกภาพของพระเจา ซ่ึงเปนแนวความคิดที่สําคัญที่สุดในแนวความคิดทั้งสามนี้ เพราะมุสลิมมีความศรัทธาตอเตาฮีดอยางแนวแนซ่ึงจะทําใหแนวความคิดอีกสองประการยอมจะติดตามมาโดยปริยาย ทั้งนี้สําหรับมนุษยในฐานะที่ไดรับเจตนารมณเสรี มีสติปญญาและความสํานึกทางศีลธรรมติดตัวมาจะตองดําเนินชีวิตดวยความเคารพและเชื่อฟงตอพระผูเปนเจา ซ่ึงไมใชแคเพียงการยอมรับเทานั้น แตจะตองตอบสนองการยอมรับนั้นโดยการกระทําดวย 2) เคาะลีฟะฮฺ หมายถึง มนุษยเปนตัวแทนของพระผูเปนเจาบนโลกนี้ และทรัพยากรทั้งหลายที่มนุษยครอบครองอยูนั้นคือความไววางใจ เนื่องจากพระผูเปนเจาไดทรงสรางมนุษย พระองคเทานั้นจึงเปนผูทรงรูถึงธรรมชาติ ความเขมแข็งและความออนแอของมนุษยและพระองคเทานั้นที่สามารถจัดหาทางนําที่สอดคลองกับธรรมชาติและความตองการของมนุษยไดในฐานะที่เปนตัวแทนของพระผูเปนเจา มนุษยตองรับผิดชอบตอพระองคดวยการดําเนินชีวิตในโลกนี้ตามทางนําที่พระองคไดทรงจัดเตรียมไว 3) อะดาละฮฺ หมายถึง ความยุติธรรม มนุษยทุกคนไมวาจะชนชาติใด หรือเผาพันธุใดลวนถือเปนเคาะลีฟะฮฺดวยกันทั้งสิ้น เคาะลีฟะฮฺจึงเปนตัวแทนสําหรับเอกภาพขั้นพื้นฐาน และความเปนพี่นองกันของมนุษย ความเปนพี่นองกันนี้จะยังคงเปนแนวความคิดที่ปราศจากแกนสาร ถาหากมนุษยไมมีความยุติธรรมควบคูอยูดวย ทั้งนี้คัมภีรอัลกุรอานไดประกาศวาการสราง ความยุติธรรมเปนเปาหมายแรกที่ศาสนาทูตตองทําใหสําเร็จเปนประการแรก นอกจากนี้คัมภีรอัลกุรอานถือวาความยุติธรรมใกลกับความยําเกรงมากที่สุด กลาวคือ ความยําเกรง หรือการพัฒนาทางศีลธรรม หมายถึง ความใกลชิดกับพระเจาที่เกิดขึ้นโดยการนําเอาคุณคาและสถาบันทั้งหลายของอิสลามที่พระผูเปนไดกําหนดไวในคัมภีรอัลกุรอาน และคําสอนของทานศาสดามูฮําหมัด (ของความสันติสุขจงประสบแดทาน) มาใชเพื่อสรางความยุติธรรม

Page 44: หน้าปก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2553/19590.pdf · 2010. 5. 31. · logically analysed in comparison to theory and categorised in different aspects. The

34

ส รุปสาระสํ า คัญ เ รื่ อ งมนุ ษย กั บสิ่ ง แ วดล อม ความสั มพันธ ร ะหว า งมนุษย กั บทรัพยากรธรรมชาติและส่ิงแวดลอม นอกเหนือจากการใชประโยชนเพื่อการดํารงชีพของมนุษย มนุษยยังมีหนาที่ในการดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอมไมใหเสื่อมสลายไปการดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติและส่ิงแวดลอมจะไมสามารถเกิดขึ้นได หากมนุษยปราศจากการพินิจพิเคราะหถึงคุณคาของสิ่งตาง ๆ เปนผลใหมนุษยขาดความตระหนักถึงบทบาทหนาที่และความสําคัญของสิ่งตาง ๆ ดวยเหตุผลดังกลาว การอนุรักษทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอม ควรเริ่มตนจากพื้นฐานความเขาใจในบทบาทหนาที่ และคุณคาของทุกสรรพสิ่ง ซ่ึงเปนสัญญาณที่แสดงใหเห็นถึงพระปรีชาญาณ และพลานุภาพของอัลลอฮฺในการสรางทุกสรรพสิ่งของพระองค การตระหนักถึงความสําคัญของระบบธรรมชาติและความนอบนอมตอองคอภิบาลจะเปนแรงขับเคลื่อนทางจิตใจที่สําคัญ ที่จะทําใหมุสลิมเวนการกระทําที่อาจกอใหเกิดความเสียหายตอระบบธรรมชาติ นอกจากนี้ มนุษยเปนสิ่งมีชีวิตที่ไดรับเกียรติและความไววางใจ (อะมานะฮฺ) จากองคอภิบาลในการเปนตัวแทนของพระองคบนพื้นแผนดินนี้ (เคาะลีฟะฮฺ) โดยที่มนุษยเปนเพียงผูดูแลรักษาเพื่อใชประโยชนอยางเสมอภาคไมใชเอารัดเอาเปรียบกัน แตดวยความโลภทางวัตถุอยางไรสติของมนุษย และความทะนงในสติปญญาของตัวเองไดสรางความโงเขลาที่ขัดกับสติปญญาดวยการสรางความเสียหายใหแกส่ิงแวดลอม จนกระทั่งโลกตองเผชิญกับอันตราย ในการที่จะชวยโลกใหปลอดภัยจากอันตราย มนุษยจะตองยอมจํานนตอกฎของอัลลอฮฺ และจํานนตอทางนําของพระองค เพื่อปกปองพิทักษรักษาทุกสรรพสิ่งที่พระองคทรงสรางใหอยูในภาวะสมดุล ประกอบกับหลักจริยธรรมเบื้องตนของศาสนาอิสลามเกี่ยวกับหนาที่ในการชวยเหลือดูแลซึ่งกันและกันของมนุษยและความเสมอภาคของมวลมนุษยชาติ การทําลายหรือสรางความเสียหายตอทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดลอมจึงเปนการไมใหเกียรติตอความไววางใจที่พระผูทรงอภิบาลไดประทานหนาที่อันสําคัญยิ่งมาให อีกทั้งยังเปนการเบียดเบียนเพื่อนมนุษยดวยกันซึ่งทั้งสองสิ่งนี้เปนสิ่งตองหามตามบทบัญญัติอิสลาม ดังนั้น การอนุรักษทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอมเปนหนาที่ (ฟรดู) ของมุสลิมทุกคน เพื่อเปนการพิทักษรักษาทุกสรรพสิ่งที่อัลลอฮฺทรงประทานใหมนุษยชาติทุกคนใหมีความสมดุลอีกทั้ง ยั ง เปนการรักษาความ เสมอภาคและความ เท า เที ยมกันของ เพื่ อนมนุษย ในการ เข า ถึ งทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอมที่ดีอีกดวย

2.5 ผลงานวิจัยท่ีเกี่ยวของ มานี ชูไทย ( 2544 : 424 ) ไดทําการศึกษาเรื่อง อิสลาม : วิถีการดําเนินชีวิตท่ีพัฒนาคุณภาพชีวิต จากการศึกษาพบวา อิสลามสอนใหปลูกพืชเพื่อบํารุงดิน และอนุรักษสัตวบางชนิดไมหามเรื่อง

Page 45: หน้าปก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2553/19590.pdf · 2010. 5. 31. · logically analysed in comparison to theory and categorised in different aspects. The

35

ฆาสัตวเพื่อเปนอาหารและที่เปนอันตราย หรือสัตวดุราย แตหามฆาสัตวเพื่อเกมกีฬา และหามทรมานสัตว อิสลามสอนใหมุสลิมทุกคนรักแผนดินที่อาศัย ใหทํานุ บํารุง รักษาและอนุรักษธรรมชาติ ศาสนาอิสลามมีคําสอนที่นาสนใจอีกประการหนึ่ง คือ การกลาวถึงสิทธิหนาที่ของมนุษยไววา มีหนาที่ตออัลลอฮฺ ( มหาบริสุทธิ์และความสูงสงแดพระองค ) และหนาที่ตอตนเองที่ตองรักษาทั้งรางกายและจิตใจ เนื่องจากอัลลอฮฺไดทรงประทานชีวิตแกมนุษย หนาที่ตอเพื่อนมนุษย เพราะมนุษยตองอยูรวมกันและเพื่อสรางสันติสุขจะตองเคารพสิทธิของกันและกัน และหนาที่ตอสรรพสิ่งทั้งปวง มนุษยจึงมีหนาที่ในการดูแลรักษา และใชประโยชนในทางที่ถูกตอง ( เสรี พงศพิศ อางใน ศูนยมานุษยวิทยาสิรินธร องคการมหาชน , 2548 : 131 ) ปรีชา อาบีดีน ( 2548 ) ไดศึกษาเรื่อง บทบาทของผูนําศาสนาอิสลาม (โตะอิหมาม) ในการบริหารพัฒนาชุมชนมุสลิม : ศึกษากรณีมัสยิดในเขตมีนบุรี คลองสามวา ลาดกระบัง ผลการศึกษามีดังนี้

1. บทบาทของผูนําศาสนาอิสลาม (โตะอิหมาม) ในการบริหารพัฒนาชุมชน พบวา ผูนํา ศาสนาอิสลามมีการปฏิบัติ ตามบทบาทหนาที่มากที่สุด คือ ดาน ศาสนา รองลงมาคือดานบริการ

2. ปจจัยการมีสวนรวมของชุมชนมุสลิมในกิจการตาง ๆ พบวา ชุมชนมุสลิมมีสวนรวม ในกิจกรรมมากที่สุด 3 อันดับแรกคือ ดานศาสนา รองลงมา คือ ดานสาธารณสุข และดานสังคม ตามลําดับ

3. การสนับสนุนจากหนวยงานภาครัฐที่มีตอชุมชน พบวา ไดรับการสนับสนุนมากที่สุด ในดานสาธารณสุข รองลงมาคือ ดานสิ่งแวดลอม และศาสนา

4. ความคาดหวังของผูนําศาสนาที่มีตอชุมชน ในอนาคตขางหนา พบวา อยากใหชุมชนมี การศึกษาที่ดี , มีความรักสามัคคี และปรองดองกันในชุมชน

ศูนยมานุษยวิทยาสิรินธร ( องคการมหาชน ) ( 2548 : 127 – 130 ) ไดทําการศึกษาเรื่องพลังชุมชนกับการพัฒนาและรักษาคลองแสนแสบ จากการศึกษาพบวา ในพื้นที่ศึกษาซึ่งประชากรสวนใหญเปนชาวมุสลิม ไดมีการนําคําสอนของอัลลอฮฺ มาเปนหลักในการใชและรักษาทรัพยากร ธรรมชาติ โดยมีผูนําทางศาสนาของชุมชนไดประยุกตคําสอนจากคัมภีร อัลกุรอานแนวพัฒนาเกี่ยวกับน้ํา เพื่อสอนชาวบานใหรูจักวิธีใชประโยชนจากคลอง แสนแสบโดย ใชเหตุผลทางศาสนามเปนตัวปลุกจิตสํานึก การที่ ผูนําทางศาสนาของชุมชนประยุกตคําสอน จากคัมภีรอัลกุรอาน มีฐานคิดจากธรรมชาติทั้งปวงที่มีอยูไดถูกกําหนดจากอัลลอฮฺ พระองคมิไดทรงเพียงแตสรางสรรพสิ่งขึ้นมาแตยังทรงทําใหสมบูรณและนําทางใหกฎระเบียบตาง ๆ ดําเนินไปอยางสมบูรณ นิคม สุวรรณรุงเรือง (2531 : บทคัดยอ) ศึกษาชนชั้นนําชุมชนชาวไทยมุสลิมที่พัฒนาแลวกับที่กําลังพัฒนาในจังหวัดปตตานี พบวา ชุมชนชาวไทยที่พัฒนาแลว ชนชั้นนําของชุมชน คือ บุคคลที่

Page 46: หน้าปก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2553/19590.pdf · 2010. 5. 31. · logically analysed in comparison to theory and categorised in different aspects. The

36

ดํารงตําแหนงทางสังคมมาก เคยดํารงตําแหนงผูนําศาสนาอิสลาม มีคุณสมบัติสําคัญ คือ ดํารงตําแหนงทางสังคมมาก เคยดํารงตําแหนงมากอน มีระยะเวลาในการดํารงตําแหนงมานาน มีรายไดสูงการศึกษาสายศาสนาสูง เคยผานการอบรมมามาก ติดตอกบัเจาหนาที่มาก เปนญาติชนชั้นนําเกา การดํารงตําแหนงทางการ การเคยดํารงตําแหนง การเปนสมาชิกองคการ การเปนญาติชนชั้นนําเกา การดํารงตาํแหนงสังคม และการติดตอกับเจาหนาที่ตามลําดับ สวนชุมชนชาวไทยมุสลิมที่กําลังพัฒนา ชนชั้นนําของชุมชนคือ บุคคลที่ดํารงตําแหนงทางการและบุคคลที่ดํารงตําแหนงผูนําศาสนาอิสลามเชนกัน คุณสมบัติที่สําคัญคือ ดํารงตําแหนงสังคมมาก ติดตอกบัเจาหนาที่มาก เปนคนในทองถ่ิน อยูในทองถ่ินมานาน และมีความรูความเขาใจในศาสนาดี คุณสมบัติที่อธิบายความเปนบุคคลช้ันนําไดดีที่สุดคือ การอบรมในโครงการตาง ๆ ระยะเวลาอยูในชุมชน การดํารงตําแหนงทางสังคม การดํารงตําแหนงทางการ การติดตอกับเจาหนาที่ ความรูความเขาใจในหลักศาสนา และการดํารงตําแหนงตามลําดับ

Page 47: หน้าปก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2553/19590.pdf · 2010. 5. 31. · logically analysed in comparison to theory and categorised in different aspects. The

บทที่ 3

แนวคิด และระเบียบวิธีวิจัย การศึกษาทัศนคติเร่ือง “การเผยแพรคําสอนในศาสนาอิสลามที่เกี่ยวกับการพัฒนาสังคมและ ส่ิงแวดลอม : กรณีศึกษาโตะอิหมามในเขตกรุงเทพมหานคร” บทนี้แบงการศึกษาออกเปน 6 สวน ไดแก วิธีการศึกษา นิยามศัพทที่ใชในการศึกษา กลุมเปาหมายและผูใหขอมูลที่สําคัญ แนวประเด็นการสัมภาษณเจาะลึก การรวบรวมขอมูล และสถิติที่ใชในการวิเคราะห

3.1 วิธีการศึกษา ในการศึกษาครั้งนี้เปนการศึกษาวิจัยในเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ซ่ึงใชวิธีการสัมภาษณ แบบเจาะลึก (In-depth Interview) กลุมผูใหขอมูลที่สําคัญ (Key-informant) ในครั้งนี้คือโตะอิหมาม ผูนําศาสนาอิสลามจํานวน 12 ราย ประเด็นที่นํามาศึกษาประกอบดวย

1) ขอมูลพื้นฐานของโตะอิหมามผูนําศาสนาอิสลาม ประกอบดวย อายุ อายุการปฏิบัติงาน อาชีพ รายไดการศึกษาสูงสุดดานสามัญ การศึกษาสูงสุดดานศาสนา และการอบรมดาน การบริหาร มัสยิดและชุมชน

2) ทัศนคติของโตะอิหมามผูนําศาสนาอิสลามและการเผยแพรคําสอนในศาสนาอิสลามที่ เกี่ยวกับการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดลอม

3) บทบาทหนาที่ของโตะอิหมามผูนําศาสนาอิสลามในการบริหารพัฒนาชุมชนมุสลิม ประกอบดวย 2 ดานคือ ดานสังคม และดานสิ่งแวดลอม 4) การมีสวนรวมของชุมชนมุสลิมในกิจกรรมดานสังคมและสิ่งแวดลอม

5) ผลการเผยแพรคําสอนในศาสนาอิสลามที่เกี่ยวกับการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดลอม 6) ปญหา อุปสรรค และขอเสนอแนะ

Page 48: หน้าปก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2553/19590.pdf · 2010. 5. 31. · logically analysed in comparison to theory and categorised in different aspects. The

38

3.2 นิยามศัพทท่ีใชในการศึกษา

3.2.1 การเผยแพรคําสอนของศาสนา หมายถึง การเผยแพรศาสนา กลาวคือ การทําใหผูอ่ืนรูและเขาใจหลักคําสอนของศาสนาใหถูกตอง ใหรูจักประวัติความเปนมาของศาสนา ใหเห็นการประกอบพิธีกรรมตาง ๆ ของศาสนา เมื่อรูและเห็นแลวใครมีศรัทธาจะนับถือหรือไมนั้นเปนสิทธิของแตละคน 3.2.2 ทัศคติ (Attitude) เปนศัพทจิตวิทยาทางการศึกษา เปนความเชื่อ ความรูสึกและเครื่องแสดงพฤติกรรมของบุคคลที่มีตอส่ิงตาง ๆ ซ่ึงไดมีผูใหความหมายของ “ทัศนคติ” ไวดังนี้ พจนานุกรมาฉบับราชบัณฑิตสถาน (2525 : 393) ไดใหความหมายของทัศนคติไววา หมายถึง แนวความคิดเห็น 3.2.3 บทบาท หมายถึง กิจกรรมตาง ๆ ที่เกี่ยวของกับการใชอํานาจหนาที่ของโตะอิหมาม ผูนําศาสนา ตามพระราชบัญญัติการบริหารองคกรศาสนาอิสลามตามหลักการของศาสนาอิสลาม และตามฐานะตําแหนงของบุคคลในสังคม 3.2.4 โตะอิหมาม หมายถึง ผูนําทางศาสนาอิสลามอยางเปนทางการของมัสยิดในชุมชนนั้น 3.2.5 การพัฒนาสังคม หมายถึง บทบาทของผูนําศาสนาอิสลาม (โตะอิหมาม) ในการบริหารพัฒนาโดยมุงสงเสริมสนับสนุนเปลี่ยนแปลงใหชุมชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นในดานศึกษา ศาสนา สังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดลอม และสาธารณสุข 3.2.6 การอนุรักษทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอม หมายถึง การดูแลรักษา ปองกัน บํารุง ซอมแซม ปรับปรุง และการใชทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอมที่ฉลาด มีประสิทธิภาพ ใหประโยชนตอบสนองตอความเปนอยูของมนุษยมากที่สุด รวมทั้งคํานึงถึงทรัพยากรธรรมชาติและส่ิงแวดลอมอื่น ๆ ในเวลาเดียวกันดวย เพราะการใชประโยชนจากทรัพยากรธรรมชาติและส่ิงแวดลอมชนิดหนึ่งอาจมีผลกระทบตอทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอมอีกชนิดหนึ่งไดนอกจากนี้จะตองดูแล หรือทดแทนใหคืนสภาพเดิมอีกดวย 3.2.7 ชุมชนมุสลิม หมายถึง ประชาชนทั้งชายและหญิงที่สังกัดอยูกับมัสยิดหนึ่ง ๆ โดยมีที่อยูอาศัยอยูใกล ๆ มัสยิด 3.2.8 มัสยิด หมายถึง ศาสนสถาน ที่ไดรับจดทะเบียนอยางเปนทางการ มีฐานะเปนนิติบุคคล เพื่อใชประกอบพิธีกรรมทางศาสนาอิสลาม และศูนยรวมในการประกอบกิจกรรมตาง ๆ ที่ไมขัดตอหลักศาสนาอิสลาม

Page 49: หน้าปก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2553/19590.pdf · 2010. 5. 31. · logically analysed in comparison to theory and categorised in different aspects. The

39

3.2.9 ขอมูลพื้นฐาน หมายถึง อายุ อายุงาน อาชีพ รายได การศึกษาสูงสุดดานสามัญ การศึกษาสูงสุดดานศาสนา และการอบรมดานการบริหารมัสยิดและชุมชน 1) อายุงาน หมายถึง ระยะเวลาที่ปฏิบัติหนาที่ในการดํารงตําแหนงเปนโตะอิหมาม ผูนําศาสนาอิสลาม ประจํามัสยิด 2) อาชีพ หมายถึง การประกอบอาชีพประจําของโตะอิหมาม ผูนําศาสนาอิสลาม 3) รายได หมายถึง รายไดรวมทั้งหมดของโตะอิหมาม ผูนําศาสนาอิสลามทั้งหมด กอนหักคาใชจาย 4) การศึกษาสูงสุดดานสามัญ หมายถึง ระดับการศึกษาชั้นสูงสุดสายสามัญของโตะอิหมามผูนําศาสนาอิสลาม 5) การศึกษาสูงสุดดานศาสนา หมายถึง ระดับการศึกษาชั้นสูงสุดสายศาสนาของโตะอิหมาม ผูนําศาสนาอิสลาม 6) การอบรมดานการบริหารมัสยิดและชุมชน หมายถึง การไดรับการฝกอบรมดานการบริหารจัดการตามหลักการของศาสนาอิสลามและตามหลักกฎหมายทั่วไป 3.2.10 ดานการบริหาร หมายถึง แนวทางหรือวิธีการของการบริหารจัดการของโตะอิหมามผูนําศาสนาอิสลามที่นํามาใชในการบริหารที่เกี่ยวของกับกิจกรรมการพัฒนาสังคม การพัฒนาชุมชนและการอนุรักษส่ิงแวดลอมภายในชุมชน 3.2.11 ดานศาสนา หมายถึง การประพฤติ ปฏิบัติตามบทบัญญัติของศาสนา รวมถึงการอบรมส่ังสอนและถายทอดการปฏิบัติศาสนกิจตามหลักการศาสนา และปรัชญาในการดํารงชีวิตของมุสลิม 3.2.12 ดานการศึกษา หมายถึง การบริหารจัดการของโตะอิหมามผูนําศาสนาในการทําหนาที่ดานการศึกษาสายสามัญรวมกับหนวยงานของรัฐหรือหนวยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวของ 3.2.13 ดานสังคม หมายถึง การมีปฏิบัติหนาที่ของโตะอิหมามผูนําศาสนาอิสลาม ประจํามัสยิดทั้งในดานครอบครัว ดานสังคมภายใน และดานสังคมภายนอกมัสยิด 3.2.14 ดานสิ่งแวดลอม หมายถึง การที่โตะอิหมามและคณะกรรมการมัสยิดดําเนินการพัฒนาชุมชนโดยดูแลจัดกิจกรรมและรณรงค ดานสิ่งแวดลอม มลภาวะ และการอนุรักษทรัพยากรเพื่อมิใหเปนปญหาแกชนรุนตอไป 3.2.15 ดานสาธารณสุข หมายถึง การที่โตะอิหมามและคณะกรรมการมัสยิด ประสานงานกับเจาหนาที่สาธารณสุขในการสงเสริมใหประชาชนมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี สงเสริมดานสุขภาพอนามัยของชุมชน

Page 50: หน้าปก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2553/19590.pdf · 2010. 5. 31. · logically analysed in comparison to theory and categorised in different aspects. The

40

3.2.16 ดานอาชีพ หมายถึง การที่โตะอิหมามและคณะกรรมการมัสยิด สงเสริมสนับสนุน

ชวยเหลือประชาชนทุกวิถีทางใหมีรายไดเพียงพอกับความจําเปนขั้นพื้นฐานในครอบครัว และลดปญหาการวางงาน 3.2.17 การมีสวนรวมของชุมชน หมายถึง การที่สมาชิกในชุมชนมุสลิมใหความรวมมือและเขารวมกิจกรรมดานตาง ๆ ที่เกี่ยวกับการพัฒนาชุมชนมุสลิมและการอนุรักษส่ิงแวดลอมภายในชุมชน

3.3 กลุมเปาหมายและผูใหขอมูลท่ีสําคัญ 3.3.1 กลุมเปาหมาย เปนโตะอิหมาม (ผูนําศาสนา) ในชุมชนนั้น ๆ ซ่ึงอยูในเขตกรุงเทพมหานคร 3.2.3 ผูใหขอมูลที่สําคัญ (Key-informant) เจาะจงเลือกจากกลุมเปาหมายที่เต็มใจใหขอมูลคือโตะอิหมาม (ผูนําศาสนาอิสลาม)ประจําชุมชนนั้น ๆ จํานวน 12 คน

3.4 วิธีการเก็บรวบรวมขอมูล ในการศึกษาวิจัยคร้ังนี้ ผูศึกษาไดทําการเก็บรวบรวมขอมูลดวยตนเองโดยการติดตามสัมภาษณผูใหขอมูลที่สําคัญที่มัสยิดในชุมชนนั้น ๆ ในเขตกรุงเทพมหานคร เพื่อสังเกต สภาพทั่วไป ส่ิงแวดลอม และลักษณะในการมีปฏิสัมพันธของโตะอิหมามกับประชาชนในชุมชนทั้งนี้เพื่อสังเกตลักษณะธรรมชาติของผูใหขอมูลสําคัญ จึงมิไดนัดหมายเวลาลวงหนาหรือบอกแนวคําถามลวงหนาโดยใชความสะดวกของผูใหขอมูลเปนสําคัญ การเก็บขอมูลภาคสนาม ใชวิธีการสัมภาษณเจาะลึก (In-depth Interview) เปนการรวบรวมขอมูล ตรวจสอบความถูกตอง ความเชื่อมโยง และความตรงของเรื่องราว โดยใชทัศนคติและการเผยแพรคําสอนในศาสนาอิสลามของโตะอิหมามตอประชาชนในชุมชน ทั้งการตรวจสอบ การสะทอนความรูสึก การกระตุนผูใหขอมูลที่สําคัญไดระบายความอึดอัดของใจโดยไมขัดจังหวะ จะถามเพียงบางครั้งเพื่อขอสรุปประเด็นหรือขอความชัดเจนในเรื่องราวที่ผูใหขอมูลไดไมชัดเจนเทานั้น

Page 51: หน้าปก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2553/19590.pdf · 2010. 5. 31. · logically analysed in comparison to theory and categorised in different aspects. The

41

จากนั้นการตรวจสอบขอมูลเกี่ยวกับเวลา สถานที่และความถูกตองของขอมูลแลวนํามาจัดหมวดหมูรวบรวมเขาดวยกัน พรอมกับตีความ วิเคราะห สังเคราะหตาม สภาพการณและขอมูลที่ไดมา พรอมการคนควา รวบรวม ขอมูลจากเอกสารทางวิชาการ เพื่ออธิบายเปนปรากฏการณและกระบวนการดําเนินงานที่เกิดขึ้น

3.5 การวิเคราะหขอมูล 3.5.1 การวิเคราะหขอมูลจากแบบสอบถาม การวิเคราะหขอมูลใชสถิติดังนี้ 1. สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) ไดแก คาความถี่ (Frequency) คารอยละ (Percentage) คาเฉลี่ย (Mean) และคาสวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) 3.5.2 การวิเคราะหขอมูลจากแบบสัมภาษณ ขอมูลจากการสัมภาษณ ใชการวิเคราะหเชิงตรรกะ การวิเคราะหขอมูลแบบหาขอสรุปและการวิเคราะหเนื้อหาเชิงพรรณนา (Description Method) ซ่ึงเปนการวิเคราะหเชิงคุณภาพ

3.6 แนวทางการสัมภาษณแบบเจาะลึก การศึกษาทัศนคติของโตะอิหมามที่เกี่ยวกับการเผยแพรคําสอนในศาสนาอิสลามที่เกี่ยวกับการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดลอม รวมถึงหลักคําสอนที่ เกี่ยวของกับการอนุรักษส่ิงแวดลอม กรณีศึกษาโตะอิหมามในเขตกรุงเทพมหานคร ไดใชแนวทางการสัมภาษณแบบเจาะลึก (In-depth Interview) ประกอบดวย

ประเด็นในการสัมภาษณที่ผูศึกษาไดเตรียมไว โดยแบงโครงสรางของการสัมภาษณออกเปน6 สวนดังนี้

สวนท่ี 1 ขอมูลพื้นฐานของกลุมผูใหขอมูลท่ีสําคัญ - อายุ - เปนโตะอิหมามมาทั้งหมดกี่ป - อาชีพ - รายได

Page 52: หน้าปก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2553/19590.pdf · 2010. 5. 31. · logically analysed in comparison to theory and categorised in different aspects. The

42

- การศึกษาสูงสุดดานสามัญ - การศึกษาสูงสุดดานศาสนา - เคยไดรับการอบรมดานการบริหารมัสยิดและชุมชนหรือไม

สวนท่ี 2 ขอมูลเก่ียวกับทัศนคติของโตะอิหมามและการเผยแพรคําสอนในศาสนาอิสลามที่ เก่ียวกับการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดลอม

ดานสังคม

- ทัศนคติของโตะอิหมามตอคนในชุมชนในดานการพัฒนาสังคมที่สอดคลองกับการเผยแพรคําสอนในศาสนาอิสลามที่เกี่ยวกับการพัฒนาสังคม

ดานสิ่งแวดลอม

- ทัศนคติของโตะอิหมามตอคนในชุมชนในดานการอนุรักษส่ิงแวดลอมที่สอดคลองกับการเผยแพรคําสอนในศาสนาอิสลามที่เกี่ยวกับการอนุรักษส่ิงแวดลอม

สวนท่ี 3 บทบาทหนาท่ีของโตะอิหมามผูนําศาสนาอิสลามในการบริหารพัฒนาชุมชนมุสลิม

ดานสังคม - การใหความรูเกี่ยวกับการใชชีวิตคูแกประชาชนในชุมชน - การเจรจาไกลเกลี่ย ประนีประนอม กรณีประชาชนมีปญหาชีวิตคู - การจัดตั้งกองทุนชวยเหลือผูพิการ หญิงมาย คนชรา เด็กกําพราในชุมชน - การประสานงานกับเจาหนาที่ของรัฐในการชวยเหลือ สนับสนุน เชน เงิน บุคลากร

แรงงาน ฯลฯ - การอนุรักษ รักษาศิลปะ วัฒนธรรม และเอกลักษณของทองถ่ิน ดานสิ่งแวดลอม - การใหความรูความเขาใจแกประชาชนเรื่องการอนุรักษส่ิงแวดลอมและทรัพยากร ตาง ๆในชุมชน - การเปนแกนนําในการปฏิบัติการ พื้นฟู สภาพแวดลอมในชุมชน

Page 53: หน้าปก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2553/19590.pdf · 2010. 5. 31. · logically analysed in comparison to theory and categorised in different aspects. The

43

- การจัดกิจกรรมรณรงค เพื่อการใชทรัพยากรอยางประหยัด มีประโยชนและคุมคาที่สุด - การรักษาทรัพยากรในชุมชน เชน ตนไม แมน้ํา สวนสาธารณะ เพื่อประโยชนแก เยาวชนรุนหลัง สวนท่ี 4 ประเด็นคําถามเจาะลึก การมีสวนรวมของชุมชนในดานสังคมและสิ่งแวดลอม ดานสังคม - ชุมชนของทานมีสวนรวมในกิจกรรม ดานพัฒนาสังคม ในเรื่องใดมากที่สุด ดานสิ่งแวดลอม - ชุมชนของทานมีสวนรวมในกิจกรรม ดานการอนุรักษสิ่งแวดลอม ในเรื่องใดมากที่สุด สวนท่ี 5 ผลของการเผยแพรคําสอนในศาสนาอิสลามที่เก่ียวกับการพัฒนาสังคมและ

สิ่งแวดลอม ดานสังคม - ผลที่ไดจากการเผยแพรคําสอนในศาสนาอิสลามดานการพัฒนาสังคม ดานสิ่งแวดลอม - ผลที่ไดจากการเผยแพรคําสอนในศาสนาอิสลามดานการอนุรักษส่ิงแวดลอม สวนท่ี 6 ปญหา อุปสรรค และขอเสนอแนะ - ทานมีปญหาอปุสรรคในการเผยแพรคําสอนในศาสนาอิสลามที่เกี่ยวกับการพัฒนาสังคม และการอนุรักษส่ิงแวดลอมอยางไร

(กรุณาเรียงลําดับปญหาและอุปสรรคตามความสําคัญ) - ทานมีขอเสนอแนะหรือแนวทางการแกไขปญหาอยางไร

Page 54: หน้าปก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2553/19590.pdf · 2010. 5. 31. · logically analysed in comparison to theory and categorised in different aspects. The

บทที่ 4

ผลการศึกษา การศึกษาเกี่ยวกับ การเผยแพรคําสอนในศาสนาอิสรามที่เกี่ยวกับการพัฒนาสังคมและส่ิงแวดลอม : กรณีศึกษาโตะอิหมามในเขตกรุงเทพมหานคร คร้ังนี้ เก็บขอมูลจากกลุมผูใหขอมูลจากกลุมผูใหขอมูลที่สําคัญ (Key - Informant) โดยการสัมภาษณเจาะลึก (In – depth Interview) จํานวน 12 คน ผูศึกษาไดนําเสนอผลการศึกษา ดังรายละเอียดดังตอไปนี้

4.1 บริบทของศาสนาอิสลามในเขตกรุงเทพมหานคร อิสลามคือศาสนาที่มี หลักศรัทธาที่เรียกวาอีหมาน และการปฏิบัติคุณความดี ที่เรียกวา อะมั้ล ควบคูกัน อิสลามเปนศาสนาของอัลเลาะฮฺ ที่พระองคไดบัญชามายังศาสดามูฮําหมัด (ซ.ล.) ซ่ึงประกอบดวยหลักศรัทธาและการปฏิบัติคุณความดี “อิสลาม” เปนชื่อศาสนา หรือระบอบการดําเนินชีวิตที่มีการศรัทธาในพระเจาองคเดียว พระนาม “อัลลอฮฺ” อิสลามเปนศาสนาของอัลลอฮฺ (พระผูเปนเจา) ที่ประทานแกมนุษยชาติตั้งแตมีมนุษยคนแรกโดยผานศาสนา (นบี หรือรสูล ซ่ึงเปนมนุษย) ใหเผยแพรคําสอนของพระองคแกมนุษยแตละยุคแตละสมัย ตามสภาพและวิวัฒนาการของสังคมในยุค หรือสมัยนั้น ๆ และอัลลอฮฺไดทรงใหคําสอนของพระองคครบครัน เปนระบอบการดําเนินชีวิตที่สมบูรณที่สุดในสมัยของทานนบี มูฮําหมัด (ซ.ล.) ศาสดาทานสุดทาย เมื่อ ค.ศ. 610 หรือ พ.ศ.1153 คือประมาณ 1,400 กวาปลวงมาแลว ณ ดินแดนซึ่งเปนประเทศซาอุดิอาระเบีย (มานี ชูไทย, 2544:7) เสาวนีย จิตตหมวด (2531, อางถึงใน สุพจน กล่ินกาเซ็น, 2550 : 60) ผูนับถือศาสนาอิสลามจะเรียกวา “ มุสลิม ” และไดอาศัยอยูในเมืองไทยโดยเฉพาะมุสลิมที่อยูตามหัวเมืองภาคใตจะถูกเรียกวา “ มาลายู ” และเรียกรวมวาชาวมาลายู ชาวอาหรับในภูมิภาคตะวันออกกลางจะเรียกคนในภูมิภาคของประเทศไทยวา “ ชาวยะวอ” เหตุผลที่เรียกวา ยะวอ เพราะศาสนาอิสลามไดเขามาเผยแพรในกลุมอาเซี่ยนเปนครั้งแรกโดยพอคานักเดินเรือชาวอาหรับเปอรเซียไดมาถึงเกาะชวาเปนดินแดนแหงแรกในอาเซี่ยนคําวา “ ชวา ” ก็คือ “ ยะวอหรือยะวา ” นั้นเอง ตอจากหมูเกาะชวา ศาสนาอิสลามไดถูกเผยแพรไปตามหมูเกาะตาง ๆ ในมหาสมุทรอินเดียตลอดจนถึงแหลมมาลายูและดินแดนทางตอนใตของประเทศไทย ซ่ึงสมัยนั้นคือ “ อาณาจักรศรีวิชัย ”ในสุวรรณภูมิในอดีตยุคสุโขทัย มี 4

Page 55: หน้าปก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2553/19590.pdf · 2010. 5. 31. · logically analysed in comparison to theory and categorised in different aspects. The

45

อาณาจักรยอย ๆ คือ 1 อาณาจักรลานนา 2 อาณาจักรลานชาง 3 อาณาจักรทราวดีศรีอยุธยา 4 อาณาจักรศรีวิชัย เสาวนีย จิตตหมวด (2531, อางถึงใน สุพจน กล่ินกาเซ็น, 2550 : 61)ในสมัยกรุงสุโขทัยเปนราชธานี อาณาเขตของประเทศไทยทางใตไปถึงนครศรีธรรมราชไดรับวัฒนธรรมทางศาสนาของไทยไดเร่ิมขึ้นจากภาคใต ศาสนาอิสลามไดเขาสูประเทศไทยจากดินแดนทางภาคใตหรือแหลมมาลายู โดยในสมัยสุโขทัยเมืองนครศรีธรรมราชมีหัวเมืองเทศราชหลายเมืองไปจนถึงปลายแหลมมาลายูซ่ึงถือเปนประเทศราชของไทย ดังนั้นในสมัยสุโขทัยที่มีประเทศราชที่อยูใตการปกครองของสุโขทัยไดแก ปตตานี ยะลา นราธิวาส ซ่ึงเปนชาวมุสลิมเปนสวนใหญ เสาวนีย จิตตหมวด (2531, อางถึงใน สุพจน กล่ินกาเซ็น, 2550 : 62)ในสมัยกรุงศรีอยุธยาชาวมาลายูจากเมืองปตตานีไดถูกกวาดตอนขึ้นมาจากเมืองปตตานีขึ้นมาอยูในกรุงศรีอยุธยาจึงถูกเรียกวา “ แขกปตตานี ” สวน “ แขกแพหรือแขกเทศ ” นั้นเปนเชื้อสายอาหรับเปอรเซียและเปนขุนนางรับราชการในราชสํานัก เมื่อกรุงศรีอยุธยาแตกก็ไดมาตั้งกรุงธนบุรีเปนราชธานีของไทยขึ้นใหม มุสลิมไดอพยพมาอยูกรุงธนบุรี และไดรับแตงตั้งเปนพระยาจุฬาราชมนตรีคนแรก คือ ทานเฉก อะหมัด อัลคุม ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเปนราชธานีไดมีมุสลิมเชื้อสายมาลายูกระจัดกระจายตามริมแมน้ําเจาพระยา ตลอดจนถึงคลองแสนแสบ เชน ชุมชนสี่แยกมหานาค, ชุมชนบานครัว, ชุมชนบานดอน, ชุมชนคลองตัน, ชุมชนบางกะป, ชุมชนมีนบุรี, ชุมชนคลองสามวา, ชุมชนคอยรุตตั๊กวา ทอดยาวไปจนถึงจังหวัดฉะเชิงเทรา เปนตน

กรุงเทพมหานครมีมัสยิดจํานวน 189 มัสยิด มีผูนับถือศาสนาอิสลามในกรุงเทพมหานครประมาณ 258,185 คน เปนเพศชายประมาณ 117,275 คน เปนเพศหญิงประมาณ 140,910 คน มีครอบครัวผูนับถือศาสนาอิสลามในกรุงเทพมหานคร จํานวน 51,612 ครอบครัวโดยประมาณ (คณะกรรมการอิสลามประจํากรุงเทพมหานคร , 2551 : 86)

การศึกษาทัศนคติของโตะอิหมามที่เกี่ยวกับการเผยแพรคําสอนในศาสนาอิสลามที่เกี่ยวกับ

การพัฒนาสังคมและสิ่งแวดลอม รวมถึงหลักคําสอนที่ เกี่ยวของกับการอนุรักษส่ิงแวดลอม กรณีศึกษาโตะอิหมามในเขตกรุงเทพมหานคร ไดทําการสัมภาษณโตะอิหมามจํานวน 12 คน ประจํามัสยิดดังตอไปนี้

Page 56: หน้าปก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2553/19590.pdf · 2010. 5. 31. · logically analysed in comparison to theory and categorised in different aspects. The

46

1) มัสยิดนูรุลอิสลาม (บานปา) ตั้งอยูบนถนน พัฒนาการ 20 แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง โตะอิหมาม ไพจิตร สะและมัด 2) มัสยิดบัดรูลมุมีนีน (ศาลาลอย) ตั้งอยูบนถนน สุขุมวิท 71 แขวงพระโขนงเหนือ เขตวัฒนา โตะอิหมาม ปราโมทย มีสุวรรณ 3) มัสยิดดอฮีรุลอิสลาม (ทองหลอ) ตั้งอยูบนถนน สุขุมวทิ 55 แขวงคลองตันเหนือ เขตวัฒนา โตะอิหมาม กอเซ็ม มั่นคง 4) มัสยิดอันวารุลอับรอด (ทางควาย) ตั้งอยูบนถนน พัฒนาการ 38 แขวงสวนหลวง เขตสวน

หลวง โตะอิหมามบุญรอด นาคนาวา 5) มัสยิดดารุลอามีน (บานสันต)ิ ตั้งอยูบนถนน ศรีนครินทร แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง โตะอิหมาม เกษม โสอุดร 6) มัสยิดเราฎอติ้ลญันนะห (ประตูสวรรค) ตั้งอยูบนถนน พัฒนาการ 20 แขวงสวนหลวง เขต

สวนหลวง โตะอิหมาม บุญลอม สาตและ 7) มัสยิดยามิอุลอิสลาม (คลองตัน) ตั้งอยูบนถนน เพชรบุรีตัดใหม แขวงสวนหลวง เขตสวน

หลวง โตะอิหมาม นริศ อามินเซ็น 8) มัสยิดฮิดายาตุลอิสลาม (สามอิน) ตั้งอยูบนถนน สุขุมวิท 71 แขวงคลองตันเหนือ เขตวัฒนา

โตะอิหมาม บัญญิต วงศเดอรีย 9) มัสยิดอัลคอยรียะห (นวลนอย) ตั้งอยูบนถนน สุขุมวิท 69 เอกมัย แขวงคลองตันเหนือ

เขตวัฒนา โตะอิหมาม สมหวัง แฉลมวารี 10) มัสยิดดารุลมุหซีนีน (บานดอน) ตั้งอยูบนถนน สุขุมวิท 49 แขวงคลองตันเหนือ เขตวัฒนา

โตะอิหมาม ชม มะลิ 11) มัสยิดริดวานุลอิสลาม (วัดตึก) ตั้งอยูบนถนนลาดพราว 130 แขวงคลองจั่น เขตบางกะป

โตะอิหมาม โรจนศักดิ์ มินสาคร 12) มัสยิดยะมีอุลอิสลาม (บางมะเขือ) ตั้งอยูบนถนน สุขุมวิท 71 แขวงพระโขนงเหนือ เขต

วัฒนา โตะอิหมาม อับดุรเราะหมาน เยนา

Page 57: หน้าปก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2553/19590.pdf · 2010. 5. 31. · logically analysed in comparison to theory and categorised in different aspects. The

47

เปนที่นาสังเกตวา ประชากรมุสลิมในเขตกรุงเทพมหานครสวนใหญมีอาชีพหลากหลาย

เชนเปนคูรสอนศาสนา, คาขาย, รับจาง, รับราชการ/รัฐวิสาหกิจและธุรกิจสวนตัว (หองพักใหเชา) เปนตน สวนใหญจะตั้งบานเรือนอยูใกลมัสยิด และเปนครอบครัวขยาย อยูรวมกันหลายรุน เชน ปู ยา ตา ยาย ลูก หลาน เหลน ในบานเดียวกัน หรือ ตั้งบานเรือนอยูในบริเวณรั้วเดียวกัน ใหความรักและความเอื้ออาทรตอกันทั้งในหมูเครือญาติและเพื่อนบาน ดังคําสอนที่กลาวไววามุสลิมเปนพี่นองกันและเปรียบดังเปนรางกายเดียวกัน

เนื่องจากมัสยิดทั้งหมดอยูในเขตกรุงเทพมหานคร มีการคมนาคมสะดวกทั้งทางบกและทางน้ํา ระดับการศึกษาของประชากรมุสลิมสวนใหญจะมีทั้งสองดาน กลาวคือใน ภาคศาสนาและะภาคสามัญ ภาคศาสนาสวนใหญจะอยูในระดับพื้นฐาน (ฟรดูอัย) และในภาคสามัญสวนใหญอยูในระดับปริญญาตรี ซ่ึงเมื่อเปรียบเทียบกับประชากรมุสลิมในตางจังหวัดจะพบวา การศึกษาภาคศาสนาสวนใหญจะอยูระดับสูงกวา ดานสามัญ อาจเนื่องมาจากลักษณะการทํามาหากิน การหาเลี้ยงชีพ ซ่ึงสังคมในเขตเมืองหลวงไมคอยมีพื้นที่ในการทําเกษตรมากนัก ทําใหคนในเมืองหลวงสวนใหญตองเรียนใหสูงเพื่อที่จะสามารถหาเลี้ยงชีพดวยการทํางานเปนลูกจางบริษัทเอกชน, รับราชการ/รัฐวิสาหกิจ, และทํางานในภาคอุตสาหกรรมเปนตน

Page 58: หน้าปก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2553/19590.pdf · 2010. 5. 31. · logically analysed in comparison to theory and categorised in different aspects. The

48

4.2 ขอมูลพื้นฐานของผูใหขอมูลท่ีสําคัญ 4.2.1 ขอมลูพื้นฐานสวนบุคคล

ผลการศึกษาพบวา กลุมผูใหขอมูลที่สําคัญทั้งหมด 12 คน อายุ 51 ปขึ้นไป มีจํานวน 6 คน (รอยละ 50.0) อายุ 41 – 50 ปจํานวน 4 คน (รอยละ 34.0) และอายุ 31 – 40 ปขึ้นไป จํานวน 2 คน (รอยละ 16.0) ตามลําดับ สถานภาพการสมรสของผูใหขอมูลที่สําคัญ จํานวน 12 คน ทั้งหมดสมรสแลว (รอยละ 100.0 ) อายุการทํางานของผูใหขอมูลที่สําคัญ ต่ํากวา 10 ปมีจํานวน 6 คน (รอยละ 50.0) มีอายุการทํางาน 11 – 20 ป จํานวน 5 คน (รอยละ 42.0) และมีอายุการทํางาน 21 ปขึ้นไปจํานวน 1 คน (รอยละ 8.0) อาชีพหลักของผูใหขอมูลที่สําคัญประกอบธุรกิจสวนตัว มีจํานวน 5 คน (รอยละ 42.0) เปนครูสอนศาสนา จํานวน 5 คน (รอยละ 42.0) และทํางานรัฐวิสาหกิจ จํานวน 2 คน (รอยละ 16.0) ระดับการศึกษาของผูใหขอมูลที่สําคัญสูงสุดดานศาสนา จบปริญญาตรี มีจํานวน 6 คน (รอยละ 50.0) จบซะนะวีย ( มัธยมปลาย) จํานวน 3 คน (รอยละ 25.0) จบฟรดูอัย / อิบติดาอีย (ระดับพื้นฐาน) มีจํานวน 3 คน (รอยละ 25.0) ระดับการศึกษาของผูใหขอมูลที่สําคัญสูงสุดดานสามัญ จบมัธยมปลาย เปนสัดสวนสูงสุด จํานวน 5 คน (รอยละ 42.0) จบสูงกวาปริญญาตรี จํานวน 3 คน (รอยละ 25.0) จบมัธยมตนจํานวน 3 คน (รอยละ 25.0) และ จบประถมศึกษาจํานวน 1 คน (รอยละ 8.0)รายไดตอเดือนของผูใหขอมูลที่สําคัญ มีรายไดตอเดือน 10,000 – 20,000 บาท เปนสัดสวนสูงสุดมีจํานวน 5 คน (รอยละ 42.0) รองลงมาคือ มากกวา 50,000 บาท จํานวน 3 คน (รอยละ 25.0) นอยกวา 10,000 บาท จํานวน 1 คน (รอยละ 8.0) 20,001 – 30,000 บาท จํานวน 1 คน (รอยละ 8.0) 30,001 – 40,000 บาท จํานวน 1 คน (รอยละ 8.0) 40,001 – 50,000 บาท จํานวน 1 คน (รอยละ 8.0)

ผูใหขอมูลที่สําคัญผานการอบรมการบริหารมัสยิดและชุมชน 1 คร้ังตอป เปนสัดสวนสูงสุด มีจํานวน 6 คน (รอยละ 50.0) รองลงมา 2 คร้ังตอป จํานวน 4 คน (รอยละ 34.0) 3 คร้ังตอปจํานวน 1 คน (รอยละ 8.0) 2 ปตอคร้ังจํานวน 1 คน (รอยละ 8.0)

Page 59: หน้าปก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2553/19590.pdf · 2010. 5. 31. · logically analysed in comparison to theory and categorised in different aspects. The

49

ตารางที่ 4.1 แสดงจํานวน และคารอยละ ขอมูลพื้นฐานของกลุมผูใหขอมูลที่สําคัญ

ขอมูลพื้นฐาน จํานวน (คน) รอยละ ( n = 12 ) (100.0) อายุ 31 – 40 ป 2 16.0 41 – 50 ป 4 34.0 ตั้งแต 51 ปขึ้นไป 6 50.0 สถานภาพการสมรส

โสด / แยกกันอยู 0 0 สมรส 12 100.0

อายุการทํางาน ต่ํากวา 10 ป 6 50.0 11 – 20 ป 5 42.0 21 ปขึ้นไป 1 8.0 อาชีพ พนักงานบริษัทเอกชน 0 0 คาขาย 0 0 ลูกจางใชแรงงาน 0 0 รับราชการ / รัฐวิสาหกิจ 2 16.0 ครูสอนศาสนา 5 42.0 ธุรกิจสวนตัว 5 42.0 ระดับการศึกษาสูงสุดดานศาสนา ฟรดูอัย / อิบติดาอรี (ระดับพื้นฐาน) 3 25.0 เอี๊ยะดาดีย (มัธยมตน) 0 0

Page 60: หน้าปก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2553/19590.pdf · 2010. 5. 31. · logically analysed in comparison to theory and categorised in different aspects. The

50

ตารางที่ 4.1 ( ตอ )

ขอมูลพื้นฐาน จํานวน (คน) รอยละ ( n = 12 ) (100.0) ซะนะวีย (มัธยมปลาย) 3 25.0 ปริญญาตรี 6 50.0 สูงกวาปริญญาตรี 0 0 ระดับการศึกษาสูงสุดดานสามัญ ประถมศึกษา 1 8.0 มัธยมตน 3 25.0 มัธยมปลาย 5 42.0 ปริญญาตรี 0 0 สูงกวาปริญญาตรี 3 25.0 รายไดตอเดือน ต่ํากวา 10,000 บาท 1 8.0 10,000–20,000 บาท 5 42.0 20,001-30,000 บาท 1 8.0 30,001-40,000 บาท 1 8.0 40,001-50,000 บาท 1 8.0 มากกวา 50,000 บาท 3 25.0 การอบรมการบริหารมัสยิดและชุมชน 3 คร้ังตอป 1 8.0 2 คร้ังตอป 4 34.0 1 คร้ังตอป 6 50.0 2 ปตอคร้ัง 1 8.0 ไมเคยผานการอบรม 0 0

Page 61: หน้าปก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2553/19590.pdf · 2010. 5. 31. · logically analysed in comparison to theory and categorised in different aspects. The

51

4.2.2 ทัศนคติของโตะอิหมาม ผูนําศาสนาตอคนในชุมชนในดานการพัฒนาสังคม และดานการอนุรักษสิ่งแวดลอมท่ีสอดคลองกับการเผยแพรคําสอนในศาสนาอิสลาม การศึกษาทัศนคติของโตะอิหมามผูนําศาสนาตอคนในชุมชนที่สอดคลองกับการเผยแพรคําสอนในศาสนาอิสลาม ในดานสังคม พบวา การพัฒนาสังคมเปนหนาที่จําเปนสําหรับทุกคน จํานวน 5 คน (รอยละ 42.0) รองลงมา คือ การพัฒนาสังคมควรใชโรงเรียน และมัสยิดเปนศูนยกลาง จํานวน 3 คน (รอยละ 25.0) การพัฒนาสังคมนั้นจะตองพัฒนาจิตใจดวย จํานวน 1 คน (รอยละ 8.0) การพัฒนาสังคมนั้นจะตองเริ่มจากความรักฉันพี่นอง จํานวน 1 คน (รอยละ 8.0) การพัฒนาสังคมนั้นตองเร่ิมจากความสามัคคี จํานวน 1 คน (รอยละ 8.0) ครอบครัวที่อบอุนจะชวยลดปญหาตาง ๆ ในสังคมได จํานวน 1 คน (รอยละ 8.0) ในดานอนุรักษส่ิงแวดลอม พบวา ชุมชนตองใชทรัพยากรอยางคุมคา ไมสุรุยสุราย ตองใชอยางพอดี จํานวน 5 คน (รอยละ 42.0) รองลงมาคือ ชุมชนตองชวยอนุรักษ คูคลอง ตนไม และสิ่งแวดลอม จํานวน 3 คน (รอยละ 25.0) ชุนชนในมัสยิดจะดีส่ิงแวดลอมตองดีดวย จํานวน 2 คน (รอยละ 16.0) สภาพแวดลอมที่ดีจะทําใหคนในชุมชนมีจิตใจที่ดีดวย จํานวน 1 คน (รอยละ 8.0) ส่ิงแวดลอมมีผลตอคนในชุมชนเปนอยางยิ่ง จํานวน 1 คน (รอยละ 8.0)

ตารางที่ 4.2 วิเคราะหทัศนคติของโตะอิหมามผูนําศาสนา ตอคนในชุมชนที่สอดคลองกับการ

เผยแพรคําสอนในศาสนาอิสลามที่เกี่ยวกับการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดลอม ทัศนคติของโตะอิหมามผูนําศาสนาตอคนในชุมชน ความถี่ คารอยละ ท่ีสอดคลองกับการเผยแพรคําสอนในศาสนาอิสลาม ดานสังคม 1. การพัฒนาสังคมเปนหนาที่จําเปนสําหรับทุกคน 5 42.0 2. การพัฒนาสังคมควรใชโรงเรียนและมัสยิดเปนศูนยกลาง 3 25.0 3. การพัฒนาสังคมจะตองพัฒนาจิตใจดวย 1 8.0 4. การพัฒนาสังคมนั้นจะตองเริ่มตนจากความรักฉันพี่นอง 1 8.0 5. การพัฒนาสังคมจะตองเริ่มตนจากความสามัคคี 1 8.0 6. ครอบครัวที่อบอุนจะชวยลดปญหาตาง ๆ ในสังคมได 1 8.0

Page 62: หน้าปก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2553/19590.pdf · 2010. 5. 31. · logically analysed in comparison to theory and categorised in different aspects. The

52

ตารางที่ 4.2 ( ตอ )

ทัศนคติของโตะอิหมามผูนําศาสนาตอคนในชุมชน ความถี่ คารอยละ ท่ีสอดคลองกับการเผยแพรคําสอนในศาสนาอิสลาม ดานสิ่งแวดลอม 1. ชุมชนตองใชทรัพยากรอยางคุมคา ไมสุรุยสุรายตองใชอยางพอดี 5 42.0 2. ชุมชนตองชวยกันอนุรักษ คูคลอง ตนไม และสิ่งแวดลอม 3 25.0 3. ชุมชนในมัสยิดจะดีส่ิงแวดลอมตองดีดวย 2 16.0 4. สภาพแวดลอมที่ดีจะทําใหคนในชุมชนมีจิตใจที่ดีดวย 1 8.0 5. ส่ิงแวดลอมมีผลตอคนในชุมชนเปนอยางยิ่ง 1 8.0

4.2.3 บทบาทหนาที่ของโตะอิหมาม ผูนําศาสนาอิสลามในการบริหารพัฒนาชุมชนมุสลิมดานสังคมและสิ่งแวดลอม การศึกษาบทบาทหนาที่ของโตะอิหมามผูนําศาสนาอิสลามในการพัฒนาชุมชนมุสลิมในเขตกรุงเทพมหานครไดแบงบทบาทของโตะอิหมามผูนําศาสนาอิสลาม ออกเปน 2 ดาน ผลการศึกษาออกมาเปนดังนี้ ดานสังคม จากการศึกษาบทบาทของโตะอิหมามผูนําศาสนาอิสลาม ในการบริหาร พบวา โตะอิหมาม ผูนําศาสนาอิสลาม มีการปฏิบัติตามบทบาทหนาที่มากที่สุดในเรื่อง การใหความรูเกี่ยวกับชีวิตคูแกประชาชนในชุมชน จํานวน 12 คน (รอยละ 100.0) รองลงมาเรื่องการอนุรักษ รักษาศิลปะ วัฒนธรรม และเอกลักษณของทองถ่ิน จํานวน 11 คน (รอยละ 92.0) เร่ืองการเจรจาไกลเกลี่ย ประนีประนอม กรณีประชาชนมีปญหาชีวิตคู จํานวน 9 คน (รอยละ 76.0) เร่ืองการจัดตั้งกองทุนชวยเหลือครอบครัวผูพิการ หญิงมาย คนชรา เด็กกําพรา ในชุมชน จํานวน 9 คน (รอยละ 76.0) และเรื่องการประสานงานกับเจาหนาที่ของรัฐในการชวยเหลือสนับสนุน เชน เงิน แรงงาน วัสดุอุปกรณ ฯ ล ฯ จํานวน 5 คน (รอยละ 42.0) ตามลําดับ ดังตารางที่ 4.3 ดานสิ่งแวดลอม จากการศึกษาบทบาทของโตะอิหมามผูนําศาสนาอิสลาม ในการบริหารพัฒนาชุมชน พบวา โตะอิหมาม ผูนําศาสนาอิสลามมีการปฏิบัติตามบทบาทหนาที่มากที่สุดในเรื่อง

Page 63: หน้าปก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2553/19590.pdf · 2010. 5. 31. · logically analysed in comparison to theory and categorised in different aspects. The

53

การรักษาทรัพยากรในชุมชน เชน ตนไม แมน้ํา สวนสาธารณะ เพื่อประโยชนแกเยาวชนรุนหลังตอไป จํานวน 12 คน (รอยละ 100.0) รองลงมามีสองเรื่องที่เทากันคือ เร่ืองการใหความรู ความเขาใจแกประชาชนเรื่องการอนุรักษส่ิงแวดลอมและทรัพยากรตาง ๆ ในชุมชน และเรื่องการเปนแกนนําในการปฏิบัติการ ฟนฟู สภาพแวดลอมในชุมชน จํานวน 10 คน (รอยละ 84.0) สําหรับเร่ืองที่มีการปฏิบัติตามบทบาทหนาที่นอยสุดคือเร่ือง การจัดกิจกรรมรณรงค เพื่อการใชทรัพยากรอยางประหยัด มีประโยชน และคุมคาที่สุด จํานวน 8 คน (รอยละ 68.0) ตามลําดับ ดังตารางที่ 4.3

ตารางที่ 4.3 วิเคราะหบทบาทหนาที่ของ โตะอิหมามผูนําศาสนาอิสลาม ในการบริหารพัฒนา

ชุมชนมุสลิม ดานสังคมและดานสิ่งแวดลอม บทบาทหนาท่ีของโตะอิหมาม ความถี่ คารอยละ ในการบริหารพัฒนาชุมชนมุสลิม ดานสังคม - การใหความรูเกี่ยวกับการใชชีวิตคูแกประชาชนในชุมชน 12 100.0 - การอนุรักษ รักษาศิลปะ วัฒนธรรม และเอกลักษณของทองถ่ิน 11 92.0 - การเจรจาไกลเกลี่ย ประนีประนอม กรณีประชาชนมีปญหาชีวิตคู 9 76.0 - การจัดตั้งกองทุนชวยเหลือผูพิการ หญิงมาย คนชรา เด็กกําพรา 6 50.0 - การประสานงานกับเจาหนาที่ของรัฐในการชวยเหลือ สนับสนุน 5 42.0 ดานสิ่งแวดลอม - การรักษาทรัพยากรในชุมชนเพื่อประโยชนแกเยาวชนรุนหลัง 12 100.0 - การใหความรูแกประชาชนเรื่องการอนุรักษส่ิงแวดลอม และทรัพยากร 10 84.0 - การเปนแกนนําในการปฏิบัติการ ฟนฟูสภาพแวดลอมในชุมชน 10 84.0 - การจัดกิจกรรมรณรงค เพื่อการใชทรัพยากรอยางประหยัด 8 68.0

Page 64: หน้าปก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2553/19590.pdf · 2010. 5. 31. · logically analysed in comparison to theory and categorised in different aspects. The

54

4.2.4 ความคิดเห็นเกี่ยวกับการมีสวนรวมของคนในชุมชน ในดานสังคมและสิ่งแวดลอม การศึกษา ความคิดเห็นเกี่ยวกับโตะอิหมามผูนําศาสนาอิสลามที่มีตอการมีสวนรวมของชุมชนในดานสังคม ในเขตกรุงเทพมหานคร ผลการศึกษามีดังนี้ ดานสังคม จากการศึกษาการมีสวนรวมของชุมชนมุสลิมในเขตกรุงเทพมหานคร พบวา ชุมชนมีสวนรวมในกิจกรรมมากที่สุด คือ รวมสอดสอง ดูแล และ รณรงคตอตานยาเสพติด จํานวน 12 คน (รอยละ 100.0) รวมทําบุญ อะกีเกาะห รับขวัญใหกับเด็กเกิดใหม จํานวน 11 คน (รอยละ 92.0) บริจาคเงินสงเสริมการศึกษา และรวมงานหารายไดใหกับโรงเรียนสอนศาสนา และสามัญในชุมชน จํานวน 10 คน (รอยละ 84.0) บริจาคเงินสงเคราะหแกผูเสียชีวิต (จํานวน 9 คน) รวมกันจัดงานแตงงานใหกับสมาชิกในชุมชน จํานวน 8 คน (รอยละ 68.0) จัดเวรยามประจําหมูบาน เพื่อดูแลความปลอดภัยในชุมชนจํานวน6คน (รอยละ 50.0) เขารับอบรมการทําอาชีพเสริม จํานวน 5 คน (รอยละ 42.0) เขารวมกินกรรมเพื่อสุขภาพ เชน เตน แอโรบิก เลนกีฬา จํานวน 4 คน (รอยละ 34.0) และรวมสังสรรค พบปะสนทนา ตามบานเรือนของสมาชิกในชุมชน จํานวน 3 คน (รอยละ 25.0) ตามลําดับ ตารางที่ 4.4 ดานสิ่งแวดลอม จากการศึกษาการมีสวนรวมของชุมชนดานสิ่ งแวดลอมในเขตกรุงเทพมหานคร พบวา ชุมชนมีสวนรวมในกิจกรรมมากที่สุดคือ ชาวชุมชนรวมมือกับเจาหนาที่สํานักงานเขต ทําการขุดลอกคูคลองในชุมชน จํานวน 12 คน (รอยละ 100.0) รองลงมาคือ การรณรงคเร่ืองความสะอาดในชุมชน เชน การเก็บขยะ กําจัดสิ่งปฏิกูล อนุรักษน้ําในคูคลอง จํานวน 10 คน (รอยละ 84.0) รวมปลูกและดูแลตนไมที่หนาบาน และบริเวณมัสยิด จํานวน 9 คน (รอยละ 76.0) ชาวบานรวมกันปลูกตนไมเนื่องในวันพอและวันแมแหงชาติ จํานวน 8 คน (รอยละ 68.0) จัดงบประมาณจางอาสาสมัครเก็บขยะในชุมชน จํานวน 7 คน (รอยละ 58.0) เขารับการอบรมเกี่ยวกับการทําขยะหอม น้ําหมักชีวภาพ เพื่อใชในการบําบัดน้ําเสีย จํานวน5 คน (รอยละ 42.0) และรณรงคบําบัดน้ําเสียในชุมชนกอนปลอยลงคูคลอง จํานวน 4 คน (รอยละ 34.0)

Page 65: หน้าปก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2553/19590.pdf · 2010. 5. 31. · logically analysed in comparison to theory and categorised in different aspects. The

55

ตารางที่ 4.4 วิเคราะหความคิดเห็นของโตะอิหมามผูนําศาสนาอิสลามเกี่ยวกับการมีสวนรวม ของ

ชุมชนมุสลิมในกิจกรรม จําแนกเปนรายดาน การมีสวนรวมของชุมชนมุสลิมในกิจกรรม ความถี่ คารอยละ ดานสังคม 1. รวมสอดสอง ดูแล และรณรงคตอตานยาเสพติด 12 100.0 2. รวมทําบุญ (อะกีเกาะห) รับขวัญใหกับเด็กที่เกิดใหม 11 92.0 3. บริจาคเงินสงเสริมการศึกษาในชุมชน 10 84.0 4. บริจาคเงินสงเคราะหแกผูเสียชีวิต 9 76.0 5. รวมกันจัดงานแตงงานใหกับสมาชิกในชุมชน 8 68.0 6. จัดเวรยามประจําหมูบาน เพื่อดูแลความปลอดภัยในชุมชน 6 50.0 7. เขาอบรมการทําอาชีพเสริม 5 42.0 8. เขารวมกิจกรรมเพื่อสุขภาพ 4 34.0 9. รวมสังสรรค พบปะสนทนา ตามบานเรือนของสมาชิกในชุมชน 3 25.0 ดานสิ่งแวดลอม 1. ชาวชุมชนรวมมือกับเจาหนาที่สํานักงานเขตขุดลอกคูคลอง 12 100.0 2. รณรงคเร่ืองความสะอาดในชุมชน เชน เกบ็ขยะ กําจัดสิ่งปฏิกูล อนุรักษน้ําในแมน้ําลําคลอง 10 84.0 3. รวมปลูกและดูแลตนไมที่หนาบานและบริเวณมัสยิด 9 76.0 4. ชาวชุมชนรวมกันปลูกตนไมเนื่องในวันพอและวันแมแหงชาติ 8 68.0 5. จัดงบประมาณจางอาสาสมัครเก็บขยะในชุมชน 7 58.0 6. เขารับการอบรมเกี่ยวกับการทําขยะหอม น้ําหมักชีวภาพ 5 42.0 7. รวมรณรงคบําบัดน้ําเสียในหมูบาน / ชุมชนกอนปลอยลงคูคลอง 4 34.0

Page 66: หน้าปก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2553/19590.pdf · 2010. 5. 31. · logically analysed in comparison to theory and categorised in different aspects. The

56

4.2.5 ผลของการเผยแพรคําสอนในศาสนาอิสลาม ของโตะอิหมาม ผูนําศาสนา ท่ีเกี่ยวกับการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดลอม การศึกษาผลของการเผยแพรคําสอน ในศาสนาอิสลามของโตะอิหมาม ผูนําศาสนาอิสลาม ที่เกี่ยวกับการพัฒนาสังคม ในชุมชนมุสลิม ในเขตกรุงเทพมหานคร ผลการศึกษามีดังนี้ ดานสังคม จากการศึกษาผลของการเผยแพรคําสอน ในศาสนาอิสลามของโตะอิหมาม ผูนําศาสนาอิสลาม ในชุมชนมุสลิมในเขตกรุงเทพมหานคร พบวา ชวยลัดปญหาความขัดแยงของคนในชุมชนได จํานวน 12 คน (รอยละ 100.0) ชวยลดปญหายาเสพติดไดในระดับหนึ่ง จํานวน 10 คน (รอยละ 84.0) ชวยทําใหเขาใจหลักคําสอนของศาสนาดานการพัฒนาสังคมมากขึ้น จํานวน 9 คน (รอยละ 76.0) ชวยทําใหชุมชนรักการอานคัมภีรอัลกุรอานมากขึ้น จํานวน 8 คน (รอยละ 68.0) ปฏิบัติตามสิ่งที่โตะอิหมามอบรมสั่งสอนอยางเครงครัด จํานวน 7 คน (รอยละ 58.0) ทําใหคนในชุมชนตระหนักและฉุกคิดการแกไขปญหาตาง ๆ มากขึ้น จํานวน 6 คน (รอยละ 50.0) ไมคอยไดรับความรวมมือเพราะผูใหญละเลย จํานวน 6 คน (รอยละ 50.0) ผลตอบรับดีมาก และไดรับความรวมมือจากทุกฝายในชุมชน จํานวน 6 คน (รอยละ 50.0) ดานสิ่งแวดลอม ชวยทําใหชุมชนมีสภาพแวดลอมดีขึ้น จํานวน 12 คน (รอยละ 100.0) มีการรณรงคปลูกฝงใหรักษาและอนุรักษส่ิงแวดลอมมากขึ้น จํานวน 9 คน (รอยละ 76.0) มีการนัดเอาวันหยุดมาพัฒนาชุนชนเปนประจํา จํานวน 8 คน (รอยละ 68.0) ชวยทําใหเขาใจหลักคําสอนของศาสนาดานการอนุรักษส่ิงแวดลอมมากขึ้น จํานวน 7 คน (รอยละ 58.0) ผลตอบรับดีขึ้นเล็กนอย เชน การทิ้งขยะลงคูคลองนอยลง จํานวน 6 คน (รอยละ 50.0) และผลตอบรับดีมาก ทําใหสภาพแวดลอมในชุมชนดีขึ้นมาก จํานวน 6 คน (รอยละ 50.0)

Page 67: หน้าปก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2553/19590.pdf · 2010. 5. 31. · logically analysed in comparison to theory and categorised in different aspects. The

57

ตารางที่ 4.5 วิเคราะหผลของการเผยแพรคําสอนในศาสนาอิสลามของโตะอิหมาม ผูนําศาสนา

อิสลามที่เกี่ยวกับการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดลอม ผลการเผยแพรคําสอนในศาสนาอิสลามของโตะอิหมาม ความถี่ คารอยละ

ผูนําศาสนาอิสลาม ดานสังคม 1. ชวยลดปญหาความขัดแยงของคนในชุมชนได 12 100.0 2. ชวยลดปญหายาเสพติดไดระดับหนึ่ง 10 84.0 3. ชวยทําใหเขาใจหลักคําสอนของศาสนาดานพัฒนาสังคมมากขึ้น 9 76.0 4. ชวยทําใหคนในชุมชนรักการอานคัมภีรอัลกุรอานมากขึ้น 8 68.0 5. ปฏิบัติตามสิ่งที่โตะอิหมามอบรมสั่งสอนอยางเครงครัด 7 58.0 6. ทําใหคนในชุมชนไดฉุกคิดการแกไขปญหาตาง ๆ มากขึ้น 6 50.0 7. ไมคอยไดรับความรวมมือเพราะผูใหญละเลย 6 50.0 8. ไดรับความรวมมือจากทุกฝายในชุมชน 6 50.0 ดานสิ่งแวดลอม 1. ชวยใหชุมชนมีสภาพแวดลอมดีขึ้น 12 100.0 2. มีการรณรงค ปลูกฝงใหรักษาและอนุรักษส่ิงแวดลอมมากขึ้น 9 76.0 3. มีการนัดเอาวันหยุดมาพัฒนาชุมชนเปนประจํา 8 68.0 4. ชวยทําใหเขาใจหลักคําสอนดานอนุรักษส่ิงแวดลอมมากขึ้น 7 58.0 5. ผลตอบรับดีขึ้นเล็กนอย เชน การทิ้งขยะลงคูคลองนอยลง 6 50.0 6. ผลตอบรับดีมากทําใหสภาพแวดลอมในชุมชนดีขึ้นมาก 6 50.0

Page 68: หน้าปก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2553/19590.pdf · 2010. 5. 31. · logically analysed in comparison to theory and categorised in different aspects. The

58

4.3 ผลการสัมภาษณแบบเจาะลึก โตะอิหมามทั้ง 12 คน กรณีศึกษา คนท่ี 1 : นายไพจิตร สะและมัด พบวา นายไพจิตร สะและมัด (ตําแหนงโตะอิหมาม) วันแตงตั้ง 7 มกราคม 2552 ประจํามัสยิด นูรุลอิสลาม (บานปา) ถนนพัฒนาการ แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง จังหวัดกรุงเทพมหานคร อายุ 36 ป สมรสแลว เปนโตะอิหมามมาแลว 1 ป ประกอบอาชีพธุรกิจสวนตัว มีรายไดตอเดือนประมาณ 25,000 บาท เขาอบรมการบริหารมัสยิด และชุมชน 1 คร้ังตอป การศึกษาสายสามัญระดับมัธยมปลาย สวนการศึกษาดานศาสนาระดับปริญญาตรี ทานเปนหนุมที่ไดรับตําแหนงนี้ การที่ทานไดเห็นการทํางานของบิดาของทาน ซ่ึงเคยดํารงตําแหนงโตะอิหมามกอนทาน เปนผลใหทานไดส่ังสมประสบการณที่ไดรับมาจากบิดาพอสมควร ทานไดใหทัศนะคติในเรื่อง การเผยแพรคําสอนในศาสนาอิสลามที่เกี่ยวกับการพัฒนาสังคมและส่ิงแวดลอมในดานสังคมนั้น อิสลามมองวามุสลิมทุกคนเปนพี่นองกัน เมื่อมุสลิมมีทัศนะคติเดียวกันก็จะพัฒนารวมกันไปอยางรวดเร็ว ในดานสิ่งแวดลอม ทานมองวาตัวผูนําจะตองทําตนเปนตัวอยาง จะตองไมสุรุยสุราย ตองรูจักการใชทรัพยากรอยางประหยัดและตองใชอยางรูคุณคาและมีความพอดี ผลของการเผยแพรนั้น ทานไดรับความรวมมือเปนอยางดี ทานไดทําใหคนในชุมชนไดตระหนัก และฉุกคิดไดในเรื่องการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดลอม ทานไดกลาวทิ้งทายไววา การพัฒนาที่ดีที่สุด คือ การพัฒนาคน การจะพัฒนาคนที่ดีก็คือ การพัฒนาการศึกษา กรณีศึกษา คนท่ี 2 : นายปราโมทย มีสุวรรณ พบวา นายปราโมทย มีสุวรรณ (ตําแหนงโตะอิหมาม) วันแตงตั้ง 12 ตุลาคม 2545 ประจํามัสยิด บัดรูลมุมีนีน (ศาลาลอย ) ถนนสุขุมวิท 71 แขวงคลองตันเหนือ เขตวัฒนา จังหวัดกรุงเทพมหานคร อายุ 45 ป สมรสแลว เปนโตะอิหมามมาแลว 6 ป ประกอบอาชีพครูสอนศาสนา มีรายไดตอเดือนประมาณ 12,000 บาท เขาอบรมการบริหารมัสยิดและชุมชน 2 คร้ังตอป การศึกษาสายสามัญระดับมัธยมปลาย สวนการศึกษาดานศาสนา ระดับปริญญาตรี ทานก็เปนครูหนุมอีกคนหนึ่งที่ไดรับการแตงตั้งเปนโตะอิหมาม ซ่ึงบิดาของทานเคยเปนโตะอิหมามมากอนจากทาน ทําใหทานมีประสบการณจากการทําหนาที่แทนบิดามาพอสมควร

Page 69: หน้าปก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2553/19590.pdf · 2010. 5. 31. · logically analysed in comparison to theory and categorised in different aspects. The

59

ทานไดใหทัศนคติเร่ือง การเผยแพรคําสอนในศาสนาอิสลามที่เกี่ยวกับการพัฒนาสังคมและส่ิงแวดลอมในดานสังคมนั้น หนาที่พัฒนาสังคมเปนหนาที่จําเปนสําหรับทุกคน เมื่อเห็นผูใดทําผิดจงตักเตือนดวยคําพูดที่ไพเราะ ถาไมเปนผลก็อนุญาตใหใชกําลัง ถาทําไมไดหรือทําแลวไมเกิดผล ก็ใหใชการขอพร (ดุอา) ขอตอพระเจา ทางดานสิ่งแวดลอม ทานกลาววา มี 2 ประเภท ประเภทที่ 1 คือ ส่ิงที่มนุษยสรางขึ้น ประเภทที่ 2 ที่มนุษยเรียกวาธรรมชาติ มนุษยทุกคนมีหนาที่พัฒนาสังคมและชวยกันอนุรักษส่ิงแวดลอม ผลการเผยแพรนั้น ทานไมไดรับความรวมมือมากนัก ปญหายาเสพติดไมลดลง ปญหาสังคมเพิ่มขึ้นขาดการสอดสองดูแลภายในชุมชน และโตะอิหมามไดกลาวทิ้งทายไววาวา “สังคมที่สําคัญที่สุดก็คือสังคมครอบครัว” กรณีศึกษา คนท่ี 3 : นายกอเซ็ม ม่ันคง พบวา นายกอเซ็ม มั่นคง (ตําแหนงโตะอิหมาม) วันแตงตั้ง 3 กุมภาพันธ 2550 ประจํามัสยิด ดอฮีรุลอิสลาม ถนน สุขุมวิท 55 (ทองหลอ) แขวงคลองตันเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร อายุ 56 ป สมรสแลว เปนโตะอิหมามมาแลว 3 ป ประกอบอาชีพ ครูสอนศาสนา มีรายไดตอเดือนประมาณ 15,000 บาท เขาอบรมการบริหารมัสยิดและชุมชน 1 คร้ังตอป การศึกษาสายสามัญระดับ มัธยมปลาย สวนการศึกษาดานศาสนา ระดับปริญญาตรี ทานเปนผูอาวุโส ผูมีประสบการณจึงถูกเสนอชื่อรับตําแหนงเปนโตะอิหมาม ทานไดใหทัศนคติในเรื่องการเผยแพรคําสอนในศาสนาอิสลามที่เกี่ยวกับการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดลอม ไววา ในดานสังคมนั้น เปนหนาที่จําเปนสําหรับทุกคนที่จะตองพัฒนาในทุก ๆ ดาน อาทิ เชน การศึกษา การมีคุณธรรม จริยธรรม เปนตน สวนในดานสิ่งแวดลอม ทานกลาววา ไดทําแบบกวาง ๆ มีการอบรมและสอนใหรักษาสิ่งแวดลอม สอนใหรักษาความสะอาด สอดคลองกับพระวจนะของทานศาสดา มูฮําหมัด (ซ.ล.) ทรงกลาววา “ความสะอาดนั้นเปนสวนหนึ่งของการศรัทธา” ผลที่ไดจากการเผยแพรคําสอนของอิสลาม ทานไดรับความรวมมือพอสมควร โดยเฉพาะจากผูหญิงในชุมชนที่รวมตัวกันเปนกลุม ถึงจะเปนชุมชนเล็ก ๆ แตก็ดูดี มีความสามัคคี รักใครกลมเกลียวกัน และทานไดกลาวทิ้งทายเอาไววา “การพัฒนาสังคมนั้นจะตองพัฒนาจิตใจดวย จึงจะเปนการพัฒนาที่ยั่งยืน”

Page 70: หน้าปก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2553/19590.pdf · 2010. 5. 31. · logically analysed in comparison to theory and categorised in different aspects. The

60

กรณีศึกษา คนท่ี 4 : นายบุญรอด นาคนาวา พบวา นายบุญรอด นาคนาวา (ตําแหนงโตะอิหมาม) วันแตงตั้ง 5 มกราคม 2550 ประจํามัสยิด อันวารุลอับรอค ถนนพัฒนาการ แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร อายุ 48 ป สมรสแลว เปนโตะอิหมามมาแลว 3 ป ประกอบอาชีพครูสอนศาสนา มีรายไดตอเดือน ประมาณ 7,000 บาท เขารับการอบรมการบริหารมัสยิดและชุมชน 2 ปตอคร้ัง การศึกษาสายสามัญ ประถมศึกษาตอนปลาย สวนการศึกษาดานศาสนา ระดับ ซะนะวีย (ระดับสูง) ทานเปนคนเขตสวนหลวงโดยกําเนิด ไดรับความไววางใจจากคนในชุมชนใหดํารงตําแหนงโตะอิหมาม ทานไดใหทัศนคติในเรื่องการเผยแพรคําสอน ในศาสนาอิสลามที่เกี่ยวกับการพัฒนาส่ิงแวดลอม ไววา ในดานสังคมนั้น การเผยแพรมุงไปที่ความสามัคคี ความปรองดอง ของคนในชุมชน สอดคลองกับ พระวจนะของทานศาสดา มูฮําหมัด (ซ.ล.) ที่ทรงตรัสวา “บุคคลใดที่ศรัทธาตอพระองคอัลลอฮฺ และวันอาคีเราะห (วันสิ้นโลก) ฉะนั้นทานจงรักพี่นองรวมศรัทธาของทาน เหมือนกับที่ทานรักตัวของทานเอง” ในดานสิ่งแวดลอมนั้น ทานกลาววา ชุมชนของเราอยูกับคลองสวนหลวง ถาไมรักษาดูแลกันในไมชาชุมชนจะลําบาก และประสบกับมลภาวะขั้นรุนแรง ผลที่ไดจากการเผยแพรคําสอนของอิสลาม คือ คนในชุมชนไมคอยปฏิบัติตามสิ่งที่โตะอิหมามแนะนํา เนื่องจากเปนชุมชนใหมอยูติดคลองสวนหลวงซึ่งคลองมีพื้นที่ติดตอกันหลายพื้นที่ น้ําในคลองไหลมาจากเขตชุมชนอ่ืน แตทานอิหมามไดกลาวทิ้งทายให ชวยกันรักษาความสะอาดสอดคลองกับ พระวจนะของทานศาสดา มูฮําหมัด (ซ.ล.) ทรงกลาววา “ความสะอาดนั้นเปนสวนหนึ่งของการศรัทธา” กรณีศึกษา คนท่ี 5 : นายเกษม โสอุดร พบวา นาย เกษม โสอุดร (ตําแหนงโตะอิหมาม) วันแตงตั้ง 10 ธันวาคม 2540 ประจํามัสยิด ดารุลอามีน ถนนศรีนครินทร แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง จังหวัด กรุงเทพมหานคร อายุ 65 ป เปนโตะอิหมามมาแลว 13 ป ประกอบอาชีพธุรกิจสวนตัว มีรายไดตอเดือนประมาณ 75,000 บาท การศึกษาสายสามัญระดับ มัธยมปลาย เขาอบรมการบริหารมัสยิดและชุมชน 3 คร้ังตอป สวนการศึกษาดานศาสนา ฟรดูอัย (ระดับพื้นฐาน)

Page 71: หน้าปก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2553/19590.pdf · 2010. 5. 31. · logically analysed in comparison to theory and categorised in different aspects. The

61

ทานเปนผูอาวุโสที่ไดรับการแตงตั้งใหเปนโตะอิหมาม เปนคนที่คนในชุมชนยอมรับและเคารพ ทานไดใหทัศนคติในเรื่องการเผยแพรคําสอนในศาสนาอิสลามที่เกี่ยวกับการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดลอมไววา ในดานสังคมนั้น คําสอนของอิสลามมีความสอดคลองกับการพัฒนาสังคมเปนอยางยิ่ง เชน เร่ืองความสามัคคี การประพฤติปฏิบัติตัวเปนคนดี มีจิตใจที่อาสา ดังเชน ฮาดีษ (พระวจนะ) ของทานศาสดามูฮําหมัด (ซ.ล.) ไดทรงตรัสกับ อัครสาวกของทานวา “บุคคลใดเก็บสิ่งที่เปนอันตรายบนถนนที่มีคนสัญจรออก เชน หนาม เศษแกว ตนไมที่ขวางทาง แทจริงเขาเปนผูที่ศรัทธาในอัลลอฮฺยิ่ง” ในดานสิ่งแวดลอมนั้น อิสลามพูดถึงความสะอาด การจัดการกับขยะมูลฝอยส่ิงสงปรก สอดคลองกับ หะดีษ (พระวจนะ) ของทานศาสดามูฮําหมัด (ซ.ล.) ทรงตรัสไววา “ความสะอาดเปนสวนหนึ่งของการศรัทธา” ผลจากการเผยแพรคําสอนนั้น ไมคอยไดรับความรวมมือจากคนในชุมชนมากนัก อันเนื่องมาจากผูใหญในชุมชนบางคนยังมีสวนเกี่ยวของกับสิ่งผิดกฎหมาย เชน เร่ืองยาเสพติด การพนัน และขาดความจริงใจตอกัน กรณีศึกษา คนท่ี 6 : นายบุญลอม สาตและ พบวา นาย บุญลอม สาตและ (ตําแหนงโตะอิหมาม) วันแตงตั้ง 8 พฤษจิกายน 2542 ประจํามัสยิด เราฎอติ้ ลญันนะฮู ถนนพัฒนาการ แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง จั งหวัด กรุงเทพมหานคร อายุ 57 ป เปนโตะอิหมามมาแลว 12 ป ประกอบอาชีพ ครูสอนศาสนา มีรายไดตอเดือนประมาณ 10,000 บาท เขาอบรมการบริหารมัสยิดและชุมชน 2 คร้ังตอป การศึกษาสายสามัญระดับมัธยมตน สวนการศึกษาดานสามัญ ระดับปริญญาตรี ทานสําเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจาก มหาวิทยาลัย อัลอัซฮาร คณะศาสนศาสตร กรุงไคโร ประเทศอียิปต เปนครูสอนศาสนาโดรงเรียนในเขตชุมชนจนเปนที่เคารพ รักใครของคนในชุมชน จนไดรับการแตงตั้งใหเปนโตะอิหมาม ทานไดใหทัศนคติ ในเรื่องการเผยแพรคําสอนในศาสนาอิสลามที่เกี่ยวกับการพัฒนาสังคม และสิ่งแวดลอมไววา ในดานสังคมนั้น สอดคลองกับอิสลามเปนอยางมาก มีการสอนธรรมมะ มีการปจฉิมชีวิตคู มีการอบรม และสรางภูมิคุมกัน ใหสามารถประคับประคองชีวิตใหอยูในสังคมได ในดานสิ่งแวดลอม ทานศาสดาทรงตรัสไวใน หะดีษ ในการคบหาเพือ่น ทานตรัสวา “การคบเพื่อนที่ดีนัน้เปรียบกับการคบกับผูขายน้ําหอม บางทีทานอาจจะซื้อน้ําหอมจากผูขาย หรือบางที

Page 72: หน้าปก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2553/19590.pdf · 2010. 5. 31. · logically analysed in comparison to theory and categorised in different aspects. The

62

ทานอาจไดน้ําหอมฟรีจากเขา หรืออยางนอย ๆ ทานจะไดความหอมจากเขา สวนการคบเพื่อนที่ไมดี นั้นเปรียบดัง การคบกับชางตีเหล็ก บางทีทานจะถูกสะเกด็ไฟจากการตีเหล็ก หรือบางทีทานจะไดรับความรอนและกลิ่นเหม็น” ผลที่ไดจากการศึกษานั้นดีมาก คนในชุมชนนําผลท่ีไดจากคําสอนไปใชในชีวิตประจําวัน ทําใหปญหาสังคมลดลง และสิ่งแวดลอมมีการพัฒนาขึ้น ตามลําดับ ทานไดกลาวในตอนทายวา “ส่ิงแวดลอมที่งดงามนั้นอาจเปลี่ยนใหลูกของโจรเปนคนดีก็ได” กรณีศึกษา คนท่ี 7 : นายนริศ อามินเซ็น พบวา นายนริศ อามินเซ็น (ตําแหนงโตะอิหมาม) วันแตงตั้ง 25 ธันวาคม 2549 ประจํามัสยิด ยามิอุลอิสลาม (คลองตัน) ถนนเพชรบุรีตัดใหม แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง จังหวัดกรุงเทพมหานคร อายุ 39 ป สมรสแลว เปนโตะอิหมามมาแลว 3 ป ประกอบอาชีพ ครูสอนศาสนา มีรายไดตอเดือนประมาณ 10,000 บาท เขาอบรมการบริหารมัสยิดและชุมชน 1 คร้ังตอป การศึกษาสายสามัญ ระดับมัธยมปลาย สวนการศึกษาดานศาสนา ระดับปริญญาตรี ทานเปนหนุมที่ไดรําตําแหนงนี้ การที่ทานไดเห็นการทํางานของบิดาของทาน ซ่ึงเคยดํารงตําแหนงโตะอิหมามกอนทาน เปนผลใหทานไดส่ังสมประสบการณที่ไดรับมาจากบิดาของทาน ทานไดใหทัศนคติในเรื่อง การเผยแพรคําสอนในศาสนาอิสลามที่เกี่ยวกับการพัฒนาสังคม และส่ิงแวดลอม ในดานสังคมนั้น ทานมองวา มุสลิมทุกคนตองพัฒนาตนเองโดยเฉพาะทางดานวิชาความรูในฐานะที่ทานเปนครูสอนศาสนา ทานไดใชโรงเรียนเปนหลักในการเผยแพร และใชมัสยิดเสริมความรูดวยการกลาวคําตักเตือนในพิธีละหมาดวันศุกร การจัดอบรมทั่วไป ทางดานสิ่งแวดลอมนั้น ชุมชนคลองตันเปนชุมชนใหญ ที่มีคลองแสนแสบตัดผานใจกลางชุมชน จึงมีการรณรงค ใหชวยกันรักษาความสะอาดคลองไดระดับหนึ่ง และชุมชนก็ตั้งอยูในบึงมักกะสันเปนโครงการพระราชดําริของ พระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัวภูมิพลอดุลยเดช เปนทรัพยสินของพระมหากษัตริย บึงมักกะสันจะคอยกรองน้ํา บําบัดน้ํากอนทิ้งลงคลอง ผลของการเผยแพรคําสอนนั้น ไดรับการตอบรับดีมาก มีการพัฒนาขึ้นมากทั้งดานสังคม และสิ่งแวดลอม มีมัสยิดและโรงเรียนเปนแกนนําและเมื่อขอความรวมมือใด ๆ ก็จะไดรับความรวมมือที่ดีมาก

Page 73: หน้าปก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2553/19590.pdf · 2010. 5. 31. · logically analysed in comparison to theory and categorised in different aspects. The

63

กรณีศึกษา คนท่ี 8 : นายบัณฑิต วงศเดอรี พบวา นายบัณฑิต วงศเดอรี (ตําแหนงโตะอิหมาม) วันแตงตั้ง 9 มกราคม 2551 ประจํามัสยิด ฮิดายาตุ ล อิสลาม (บ านสามอิน ) ถนนสุขุมวิท 71 แขวงคลองตัน เหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร อายุ 51 ป สมรสแลว เปนโตะอิหมามมาแลว 2 ป ประกอบอาชีพ รัฐวิสาหกิจ มีรายไดตอเดือนประมาณ 50,000 บาท เขาอบรมการบริหารมัสยิดและชุมชน 1 คร้ังตอป การศึกษาสายสามัญ ระดับปริญญาโท สวนการศึกษาดานศาสนา ระดับ ซะนะวีย (ระดับสูง) ทานเปนหนุมใหญที่ไดรับตําแหนงนี้ อันเนื่องมาจากบิดาของทานไดเคยเปนอิหมามกอนทาน และทานก็ไดเห็นการทํางาน ของบิดาของทานมากกวา 30 ป ทานจึงไดส่ังสมประสบการณจนเปนที่ยอมรับของคนในชุมชนเลือกใหทานเปน โตะอิหมามประจําชุมชน ทานไดใหทัศนคติในเรื่องการเผยแพรคําสอนในศาสนาอิสลามที่เกี่ยวกับการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดลอม ในดานสังคมนั้น อิสลามมองวา สังคมจะพัฒนาไดนั้นตองเริ่มจากการ เคารพสิทธิของผูอ่ืนกอน จะตองไมละเมิด สิทธิเสรีภาพ หรือมีการบังคับขูเข็นผูอ่ืน สอดคลองกับพระดํารัสของ พระองคอัลลอฮฺ (ซ.บ.) ทรงตรัสวา “ไมมีการบังคับขูเข็นในดานศาสนา” ในดานสิ่งแวดลอม อิสลามมองวา การรักษาสภาพแวดลอมเปนสิ่งจําเปนสําหรับทุกคน การรักษาความสะอาด การรักษาทรัพยากรธรรมชาติ เชน การหามตัดตนไมที่ใหรมเงาแกมนุษยตามถนนหนทาง ผลของการเผยแพรคําสอนไมไดรับผลตอบรับเทาที่ควร มีบางเรื่องที่ตองใชเวลาในการบริหารจัดการ เชน เร่ืองยาเสพติด เนื่องจากยังมีผูมีสวนไดเสียที่เกี่ยวของกันหลายกลุม จึงตองใชเวลาในการขจัดปญหา กรณีศึกษา คนท่ี 9 : นายสมหวัง แฉลมวารี พบวา นายสมหวัง แฉลมวารี (ตําแหนงโตะอิหมาม) วันแตงตั้ง 22 มกราคม 2540 ประจํามัสยิด อัลคอยรียะห (นวลนอย) ถนนเอกมัย แขวงคลองตันเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร อายุ 49 ป เปนโตะอิหมามมาแลว 12 ป ประกอบอาชีพ รัฐวิสาหกิจ มีรายไดตอเดือนประมาณ 18,000 บาท เขาอบรมการบริหารมัสยิดและชุมชน 2 คร้ังตอป การศึกษาสายสามัญ ระดับปริญญาโท สวนการศึกษาดานศาสนาระดับ ฟรดูอัย (ระดับพื้นฐาน)

Page 74: หน้าปก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2553/19590.pdf · 2010. 5. 31. · logically analysed in comparison to theory and categorised in different aspects. The

64

ทานไดรับการแตงตั้งจากคนในชุมชนใหเปนโตะอิหมามดวยปจจัยหลายดาน อาทิเชน การศึกษา ฐานะ การยอมรับของคนในชุมชน เปนตน ทานไดใหทัศนคติในเรื่องการเผยแพรคําสอนในศาสนาอิสลามที่เกี่ยวกับการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดลอม ในดานสังคมนั้น ทานมองวามัสยิดเปนองคกรศาสนาที่มีความสําคัญยิ่ง ตอการพัฒนาชุมชน เศรษฐกิจชุมชน พัฒนาความมั่นคงของสังคมและประเทศชาติ นอกเหนือจากการปฏิบัติศาสนกิจแลว อีกทั้งมัสยิดยังเปนที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ และยังเปนศูนยกลางของคนในชุมชน ตั้งแตเกิดจนกระทั่งตาย ฉะนั้น ชุมชนจะเห็นความสําคัญของมัสยิด ถามัสยิดเห็นความสําคัญตอการพัฒนาชุมชน ในดานสิ่งแวดลอมทานมองวา มัสยิดและชุมชนจะดีไดก็ตอเมื่อคนในชุมชน มีการพัฒนาความรู เรียนรูที่จะอยูกับสิ่งแวดลอมอยางมีสติ ชวยกันอนุรักษทรัพยากรธรรมชาติและส่ิงแวดลอมรวมกัน ผลของการเผยแพรนั้น ไมคอยไดรับผลตอบรับเทาที่ควร อาจจะมาจากการใหความสําคัญนอยเกินไป หรืออาจมองขามกันไปหมด ซ่ึงอาจมองวาไมเกี่ยวกับมัสยิด หรือตนเอง โดยเฉพาะเร่ืองการทิ้งขยะและทานไดกลาวทิ้งทายไววา “ชุมชนจะเห็นความสําคัญของมัสยิด ถามัสยิดเห็นความสําคัญตอการพัฒนาชุมชน” กรณีศึกษา คนท่ี 10 : นายชม มะลิ พบวา นายชม มะลิ (ตําแหนงโตะอิหมาม) วันแตงตั้ง 4 เมษายน 2524 ประจํามัสยิด ดารุลมุหซินีน (บานดอน) ถนนสุขุมวิท 49 แขวงคลองตันเหนือ เขตวัฒนา จังหวัดกรุงเทพมหานคร อายุ 69 ป สมรสแลว เปนโตะอิหมามมาแลว 28 ป ประกอบอาชีพ ธุรกิจสวนตัว มีรายไดตอเดือนประมาณ 75,000 บาท เขาอบรมการบริหารมัสยิดและชุมชน 1 คร้ังตอป การศึกษาสายสามัญระดับมัธยมตน สวนการศึกษาดานศาสนา ระดับ ซะนะวีย (ระดับสูง) ทานเปนโตะอิหมามที่มัสยิดแหงนี้ มาแลวหลายป เปนที่เคารพนับถือของคนในชุมชน ขณะนี้ทานชราภาพขึ้นมาก แตก็ยังบริหารจัดการได โดยมีคณะกรรมการบริหารมัสยิดเปนผูชวย ทานไดใหทัศนคติในเรื่อง การเผยแพรคําสอนของศาสนาอิสลามที่เกี่ยวกับการพัฒนาสังคม และสิ่งแวดลอม ในดานสังคมนั้น ทานมองวา การพัฒนาสังคม เปนหนาที่จําเปนสําหรับทุก ๆ คนที่จะตองชวยกันบริหารและพัฒนาคนกับชุมชนไปพรอม ๆ กัน สังคมจะดีไดถาทุกคนมีความสามัคคี ประคอง คอยชวยเหลือกัน มีความรักใหกัน แบงปนความสุขรวมกัน

Page 75: หน้าปก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2553/19590.pdf · 2010. 5. 31. · logically analysed in comparison to theory and categorised in different aspects. The

65

ในดานสิ่งแวดลอมทานมองวา ส่ิงแวดลอมจะดีไดหากคนในชุมชนชวยกันดูแลรักษา ชวยกันเปนหูเปนตาคอยสอดสองดูแลในทุก ๆ ดาน อาทิเชน ดานการศึกษา เสริมสรางคุณธรรมจริยธรรม ชวยกันปองกันลูกหลานใหหางไกลจากยาเสพติด ผลตอบรับจากการเผยแพรนั้นเปนที่นาพอใจ เพราะผูหลักผูใหญในชุมชนใหความรวมมือ อยูเสมือนเครือญาติ สอดคลองกับการเผยแพรของอิสลาม และพระดํารัสของพระองคอัลลอฮฺที่ทรงตรัสวา “และพระองคจะทรงชวยเหลือบาวของพระองค ตราบใดที่บาวของพระองคนั้นคอยชวยเหลือพี่นองของเขา” กรณีศึกษา คนท่ี 11 : นายโรจนศักดิ์ มินสาคร พบวา นายโรจนศักดิ์ มินสาคร (ตําแหนงโตะอิหมาม) วันแตงตั้ง 2 เมษายน 2541 ประจํามัสยิด ริดวานุลอิสลาม ถนนลาดพราว แขวงคลองจั่น เขตบางกะป จังหวัดกรุงเทพมหานคร อายุ 41 ป สมรสแลว เปนโตะอิหมามมาแลว 12 ป ประกอบอาชีพธุรกิจสวนตัวมีรายตอเดือน ประมาณ 25,000 บาท ไดเขาอบรมการบริหารมัสยิดและชุมชน 2 คร้ังตอป การศึกษาสายสามัญระดับมัธยมปลาย สวนการศึกษาดานศาสนาระดับ ซะนะวีย (ระดับสูง) ทานเปนคนหนุมที่ไดรับตําแหนงนี้ การที่ทานไดรับตําแหนงอันเนื่องมาจาก บุคลิกภาพสุขุม ของทาน และในดานความรู ความสามารถในการสอนสั่ง วิธีการพูดและโวหารที่งดงาม ทานไดใหทัศนคติในเรื่อง การเผยแพรคําสอนในศาสนาอิสลามที่เกี่ยวกับการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดลอม ในดานสังคมนั้นทานมองวา การที่จะพัฒนาสังคมไดนั้นจะตองพัฒนาชุมชนใหไดเสียกอน เพราะการพัฒนาครอบครัวนั้นเปนจุดเริ่มตนของระบบสังคม มันเปนระบบยอยของโครงสรางที่จะตองทําหนาที่ใหสอดประสานกันจนไปสูระบบใหม คือระบบสังคม ถาในระบบยอยไมทําหนาที่หรือทําหนาที่แตไมบรรลุผลทางมัสยิด นําโดยโตะอิหมามและคณะกรรมการก็จะเขาไปปรับปรุงแกไขจนเขาสูระบบจนไดสวนในดานสิ่งแวดลอมนั้น กลาวไดวา สอดคลองกับการเผยแพรตามแนวทางอิสลามเปนอยางยิ่ง อิสลามสอนใหรักษาและอนุรักษส่ิงแวดลอม เชน การหามตัดตนไมที่ใหรมเงาแกผูเดินทาง เปนตน ผลจากการเผยแพรคําสอนนั้นดีมาก คนในชุมชนตอบรับและชวยกันนําความรูที่ไดไปปฏิบัติตามอยางเครงครัด ลดการทิ้งน้ําเสียลงคลอง มีการคัดแยกขยะ สามารถปลูกจิตสํานึก ใหมี การรักบานเกิดและรวมกันอนุรักษ และรักษาสิ่งแวดลอมรวมกัน เปนที่นาพอใจมาก

Page 76: หน้าปก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2553/19590.pdf · 2010. 5. 31. · logically analysed in comparison to theory and categorised in different aspects. The

66

กรณีศึกษา คนท่ี 12 : นายอับดุลเราะหฺมาน เยนา พบวา นายอับดุลเราะหฺมาน เยนา (ตําแหนงโตะอิหมาม) วันแตงตั้ง 22 ธันวาคม 2533 ประจํามัสยิด ยะมีอุลอิสลาม (บางมะเขือ) ถนนสุขุมวิท 71 แขวงพระโขนงเหนือ เขตวัฒนา จังหวัดกรุงเทพมหานคร อายุ 68 ป สมรสแลว เปนโตะอิหมามมาแลว 20 ป ประกอบอาชีพธุรกิจสวนตัว มีรายไดประมาณ 65,000 บาท เขารับการอบรมการบริหารมัสยิดและชุมชน 1 คร้ังตอป การศึกษาสายสามัญระดับ มัธยมตน สวนการศึกษาดานศาสนาระดับ ปริญญาตรี ทานเปนโตะอิหมามที่มัสยิดแหงนี้มาแลวหลายป เปนที่เคารพนับถือของคนในชุมชน แมวาทานมีอายุมากแลว แตทานก็ยังสามารถดูแลคนในชุมชนไดเปนอยางดี เปนที่รักของคนในชุมชน ทานไดใหทัศนคติในเรื่อง การเผยแพรคําสอนของศาสนาอิสลามที่เกี่ยวกับการพัฒนาสังคมและส่ิงแวดลอม ในดานสังคม ทานมองวา อิสลามมุงการพัฒนาสังคมดวยการศึกษา มีการอบรม เรียนรู และบรรยายพิเศษแกคนในชุมชน เพื่อจะไดนําความรูที่ไดศึกษาไปพัฒนาตนเองและชุมชน ในดานสิ่งแวดลอม อิสลามมุงที่จะใหเกิดความเขาใจในวิธีชีวิตของทุกคนและทําใหทุกคนรูคุณคาสิ่งแวดลอม ส่ิงแวดลอมรอบตัวเราใหประโยชนกับเรามากมายแตเราหาไดรูคุณคา ดังนั้นจําเปนที่เราจะตองพยายามทําใหทุกคนฉุกคิด และตระหนักใหได ผลที่ไดจากการเผยแพรคําสอนของศาสนาอิสลามนั้น ไมไดรับความรวมมือเทาที่ควร เพราะเปนชุมชนที่หนาแนน มีการปลอยน้ําเสียลง คูคลองเปนจํานวนมาก และมีหองเชา แฟลต อพารทเมน กวาพันหอง ประกอบกับมีคนภายนอกมาพักอาศัยอยูมาก เปนปจจัยหนึ่งที่ทําใหขาดความรวมมืออยางจริงจัง

Page 77: หน้าปก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2553/19590.pdf · 2010. 5. 31. · logically analysed in comparison to theory and categorised in different aspects. The

67

4.4 ผลการศึกษา

4.4.1 ทัศนคติของโตะอิหมามเกี่ยวกับคําสอนในศาสนาอิสลามที่เกี่ยวกับการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดลอม

ในดานสังคม พบวา มีโตะอิหมามกวาครึ่งมีทัศนคติวา การพัฒนาสังคมนั้นเปนหนาที่ จําเปนสําหรับทุกคน ดังเชน ทานโตะอิหมาม ชม มะลิ ไดกลาววา การพัฒนาสังคม เปนหนาที่จําเปนสําหรับทุก ๆ คนที่จะตองชวยกันบริหารและพัฒนาคนกับชุมชนไปพรอม ๆ กัน สังคมจะดีไดถาทุกคนมีความสามัคคี ปรองดอง คอยชวยเหลือกัน มีความรักใหกัน แบงปนความสุขรวมกันรองลงมา คือ การพัฒนาสังคมควรใชโรงเรียน และมัสยิดเปนศูนยกลาง ดังเชน ทานโตะอิหมาม นริศ อามินเซ็น ไดกลาวในดานสังคมวา มุสลิมทุกคนตองพัฒนาตนเองโดยเฉพาะทางดานวิชาความรูในฐานะที่ทานเปนครูสอนศาสนา ทานไดใชโรงเรียนเปนหลักในการเผยแพร และใชมัสยิดเสริมความรูดวยการกลาวคําตักเตือนในพิธีละหมาดวันศุกร และในการจัดอบรมทั่วไป ในเรื่องการพัฒนาจิตใจ การมีความรักใหกัน ความสามัคคี และการมีครอบครัวที่อบอุนจะชวยลดปญหาตาง ๆ ในสังคมได ในดานอนุรักษส่ิงแวดลอม พบวา มีโตะอิหมามกวาครึ่งมีทัศนคติวา ชุมชนตองใชทรัพยากรอยางคุมคา ไมสุรุยสุราย ตองใชอยางพอดี ดังเชน ทานโตะอิหมาม ไพจิตร สะและมัด ไดกลาววา ตัวผูนําจะตองทําตนเปนตัวอยาง จะตองไมสุรุยสุราย ตองรูจักการใชทรัพยากรอยางประหยัดและตองใชอยางรูคุณคาและมีความพอดี รองลงมา คือ ชุมชนตองชวยกันอนุรักษคูคลอง ตนไม และสิ่งแวดลอม ดังเชน ทานโตะอิหมาม ปราโมทย มีสุวรรณ ไดกลาววา ทางดานสิ่งแวดลอม สําหรับอิสลามนั้นวา มี 2 ประเภท ประเภทที่ 1 คือ ส่ิงที่มนุษยสรางขึ้น ประเภทที่ 2 คือ ส่ิงที่มนุษยเรียกวาธรรมชาติ มนุษยทุกคนมีหนาที่รักษาและอนุรักษธรรมชาติ เพราะวามนุษยนั้นเปนตัวแทน (เคาะลีฟะฮฺ) ที่พระเจาทรงใชใหอนุรักษส่ิงแวดลอมและรักษาทรัพยากรธรรมชาติรวมกัน และชุมชนในมัสยิดจะดีไดนั้นสิ่งแวดลอมตองดีดวย สวนสภาพแวดลอมที่ดีจะทําใหคนในชุมชนมีจิตใจที่ดีดวย และสิ่งแวดลอมนั้นมีผลตอคนในชุมชนเปนอยางยิ่ง

Page 78: หน้าปก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2553/19590.pdf · 2010. 5. 31. · logically analysed in comparison to theory and categorised in different aspects. The

68

4.4.2 บทบาทหนาที่ของโตะอิหมามเกี่ยวกับการบริหารพัฒนาชุมชนมุสลิมท่ีเกี่ยวกับการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดลอม

ในดานสังคม พบวา มีโตะอิหมามทั้งหมดมีการปฏิบัติตามบทบาทหนาที่มากที่สุดใน

เร่ือง การใหความรูเกี่ยวกับชีวิตคูแกประชาชนในชุมชน ดังเชน ทานโตะอิหมาม บุญลอม สาตและทานไดกลาววา โตะอิหมามทุกคนมีหนาที่สอนธรรมมะ มีการปจฉิมชีวิตคู มีการอบรม และสรางภูมิคุมกัน ใหสามารถประคับประคองชีวิตใหอยูในสังคมได รองลงมาเรื่องการอนุรักษ รักษาศิลปะ วัฒนธรรม และเอกลักษณของทองถ่ิน มีโตะอิหมามเกือบทั้งหมดมีบทบาทในเรื่องเรื่องการอนุรักษ รักษาศิลปะ วัฒนธรรม และเอกลักษณของทองถ่ิน ดังเชนทานโตะอิหมาม สมหวัง แฉลมวารี กลาววา ที่มัสยิดมีการละหมาดตะรอเวยะประจํา มีการอาซานบอกเวลาละหมาด 5 เวลาที่มัสยิด มีการจัดละศีลอดท่ีมัสยิดในเดือนรอมาฎอน นอกจากนี้มีการตั้งกลุมการเจรจาไกลเกลี่ย ประนีประนอม กรณีประชาชนมีปญหาชีวิตคู มีการจัดตั้งกองทุนชวยเหลือครอบครัวผูพิการ หญิงมาย คนชรา เด็กกําพรา ในชุมชน และเรื่องการประสานงานกับเจาหนาที่ของรัฐในการชวยเหลือสนับสนุน เชน เงิน แรงงาน วัสดุอุปกรณ ฯ ล ฯ ดานสิ่งแวดลอม พบวา โตะอิหมาม มีการปฏิบัติตามบทบาทหนาที่มากที่สุดในเรื่องการรักษาทรัพยากรในชุมชน เชน ตนไม แมน้ํา สวนสาธารณะ เพื่อประโยชน แกเยาวชนรุนหลังตอไป ดังเชนทานโตะอิหมาม โรจนศักดิ์ มินสาคร ไดกลาววา ในเรื่องบทบาทหนาที่นั้นมีความสอดคลองกับการเผยแพรตามแนวทางอิสลามเปนอยางยิ่ง อิสลามสอนใหรักษาและอนุรักษส่ิงแวดลอม เชน การหามตัดตนไมที่ใหรมเงาแกผูเดินทาง เปนตน รองลงมามีสองเรื่องที่เทากันคือ เร่ืองการใหความรู ความเขาใจแกประชาชนเรื่องการอนุรักษส่ิงแวดลอมและทรัพยากรตาง ๆ ในชุมชน และเรื่องการเปนแกนนําในการปฏิบัติการ ฟนฟู สภาพแวดลอมในชุมชน ดังเชนทานโตะอิหมาม อับดุลเราะหฺมาน เยนา ไดกลาววา อิสลามมุงที่จะใหเกิดความเขาใจในวิธีชีวิตของทุกคนและทําใหทุกคนรูคุณคาสิ่งแวดลอม ส่ิงแวดลอมรอบตัวเราใหประโยชนกับเรามากมายแตเราหาไดรูคุณคา ดังนั้นจําเปนที่เราจะตองพยายามทําใหทุกคนฉุกคิด และตระหนักใหได สําหรับเรื่องที่มีการปฏิบัติตามบทบาทหนาที่นอยสุดคือเร่ือง การจัดกิจกรรมรณรงค เพื่อการใชทรัพยากรอยางประหยัด มีประโยชน และคุมคาที่สุด

Page 79: หน้าปก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2553/19590.pdf · 2010. 5. 31. · logically analysed in comparison to theory and categorised in different aspects. The

69

4.4.3 ความคิดเห็นของโตะอิหมามเกี่ยวกับการมีสวนรวมของคนในชุมชนท่ีเกี่ยวกับพัฒนาสังคมและสิ่งแวดลอม

ดานสังคม พบวา ชุมชนมีสวนรวมในกิจกรรมมากที่สุด คือ รวมสอดสอง ดูแล

และรณรงคตอตานยาเสพติด ดังเชน ทานโตะอิหมาม บุญลอม สาตและ ไดกลาววา การมีสวนรวมที่ไดจากการชุมชนนั้นดีมาก คนในชุมชนรวมกันดูแลสอดสอง ในเรื่องยาเสพติด ที่ไดจากคําสอนไปใชในชีวิตประจําวัน ทําใหปญหาสังคมลดลง ปญหายาเสพติดลดลงและสิ่งแวดลอมมีการพัฒนาดีขึ้น ทานไดกลาวในตอนทายวา “ส่ิงแวดลอมที่งดงามนั้นอาจเปลี่ยนใหลูกของโจรเปนคนดีก็ได” รองลงมา คือ เร่ืองการรวมทําบุญ อะกีเกาะห รับขวัญใหกับเด็กเกิดใหม ดังเชนทานอิหมาม บัญฑิต วงศเดอรี ไดกลาววา ในการจัดงานรับขวัญใหกับเด็กเกิดใหมนั้นมีความสําคัญมาก เพราะทานศาสดามูฮําหมัด (ซ.ล.) ไดกระทําเปนแบบอยาง เปนงานเฉลิมฉลองและตอนรับสมาชิกใหมในชุมชน และมีการบริจาคเงินสงเสริมการศึกษา และรวมงานหารายไดใหกับโรงเรียนสอนศาสนาและสามัญในชุมชน มีการบริจาคเงินสงเคราะหแกผูเสียชีวิต มีการจัดงานแตงงานใหกับสมาชิกในชุมชน มีการจัดเวรยามประจําหมูบาน เพื่อดูแลความปลอดภัยในชุมชน มีการเขารับอบรมการทําอาชีพเสริม มีการเขารวมกิจกรรมเพื่อสุขภาพ และรวมสังสรรค พบปะสนทนา ตามบานเรือนของสมาชิกในชุมชน ดานสิ่งแวดลอม พบวา ชุมชนมีสวนรวมในกิจกรรมมากที่สุดคือ ชาวชุมชนรวมมือกับเจาหนาที่สํานักงานเขต ขุดลอกคูคลองในชุมชน ดังที่ทานโตะอิหมาม นริศ อามินเซ็น ไดกลาววาทางดานสิ่งแวดลอมนั้น ชุมชนคลองตันเปนชุมชนใหญ ที่มีคลองแสนแสบตัดผานใจกลางชุมชน จึงมีการรณรงค ใหชวยกันรักษาความสะอาดคลองไดระดับหนึ่ง และชุมชนก็ตั้งอยูใกลบึงมักกะสันเปนโครงการพระราชดําริของ พระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัวภูมิพลอดุลยเดช เปนทรัพยสินของพระมหากษัตริย บึงมักกะสันจะคอยกรองน้ํา บําบัดน้ํากอนทิ้งลงคลองและไดรับความรวมมือที่ดีมาก รอง ลงมาคือ เร่ืองการรณรงคใหรักษาความสะอาดในชุมชน เชน เก็บขยะ กําจัดสิ่งปฏิกูล อนุรักษน้ําในคูคลอง ดังที่ทานโตะอิหมาม อับดุลเราะหฺมาน เยนา ไดกลาววา ในดานสิ่งแวดลอมนั้น อิสลามมุงที่จะใหเกิดความเขาใจในวิธีชีวิตของทุกคนและทําใหทุกคนรูคุณคาสิ่งแวดลอม ส่ิงแวดลอมรอบตัวเราใหประโยชนกับเรามากมายแตเราหาไดรูคุณคา ดังนั้นจําเปนที่เราจะตองพยายามทําใหทุกคนฉุกคิด และตระหนักใหได และมีการรวมปลูกและดูแลตนไมที่หนาบาน และบริเวณมัสยิด และมีการรวมกันปลูกตนไมเนื่องในวันพอและวันแมแหงชาติ มีการจัดงบประมาณจางอาสาสมัครเก็บขยะในชุมชน มีการอบรมเกี่ยวกับการทําขยะหอมน้ําหมักชีวภาพ เพื่อใชในการบําบัดน้ําเสีย และรวมรณรงคกําจัดและบําบัดน้ําเสียในชุมชนกอนปลอยลงคูคลอง

Page 80: หน้าปก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2553/19590.pdf · 2010. 5. 31. · logically analysed in comparison to theory and categorised in different aspects. The

70

4.4.4 ผลของการเผยแพรคําสอนของศาสนาอิสลามของโตะอิหมามที่เกี่ยวกับการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดลอม

ดานสังคม พบวา ผลของการเผยแพรคําสอนในศาสนาอิสลามของโตะอิหมามที่ไดผล

มากที่สุด คือ ชวยลดปญหาความขัดแยงของคนในชุมชน ดังที่ทานโตะอิหมาม ไพจิตร สะและมัด ไดกลาววา การมีสวนรวมที่ไดจากการชุมชนนั้นดีมาก คนในชุมชนไดนําคําสอน ที่ไดจากโตะอิหมามไปใชในชีวิตประจําวัน ทําใหปญหาความขัดแยงของคนในชุมชนลดลง และปญหาสังคมลดลง รองลงมา คือเร่ือง การชวยลดปญหายาเสพติดไดในระดับหนึ่ง ดังที่ทานโตะอิหมามบุญลอม สาตและ ไดกลาววา การมีสวนรวมที่ไดจากการชุมชนนั้นดีมาก คนในชุมชนรวมกันดูแลสอดสอง ในเรื่องยาเสพติด ทําใหปญหาสังคมลดลง ปญหายาเสพติดลดลงและสิ่งแวดลอมมีการพัฒนาดีขึ้น และชวยทําใหเขาใจหลักคําสอนของศาสนาดานการพัฒนาสังคมมากขึ้น มีการชวยทําใหชุมชนรักการอานคัมภีรอัลกุรอานมากขึ้น มีการปฏิบัติตามสิ่งที่โตะอิหมามอบรมสั่งสอนอยางเครงครัด มีการทําใหคนในชุมชนตระหนักและฉุกคิดการแกไขปญหาตาง ๆ มากขึ้น และผลที่ไดจากความรวมมือของคนในชุมชนนั้นครึ่งหนึ่งไมใหความรวมมือและอีกครึ่งหนึ่งใหความรวมมือ จะเห็นไดวายังขาดความเปนเอกภาพและความสามัคคี

ดานสิ่งแวดลอม ผลของการเผยแพรคําสอนในศาสนาอิสลามของโตะอิหมามที่ไดผลมากที่สุด คือ ชวยทําใหชุมชนมีสภาพแวดลอมดีขึ้น ดังที่ทานโตะอิหมาม เกษม โสอุดร ไดกลาววา ในดานสิ่งแวดลอมนั้น อิสลามพูดถึงความสะอาด การจัดการกับขยะมูลฝอยส่ิงสกปรก สอดคลองกับ หะดีษ (พระวจนะ) ของทานศาสดามูฮําหมัด (ซ.ล.) ทรงตรัสไววา “ความสะอาดเปนสวนหนึ่งของการศรัทธา” รองลงมา คือ มีการรณรงคปลูกฝงใหรักษาและอนุรักษส่ิงแวดลอมมากขึ้น ดังที่ทานโตะอิหมาม บีญฑิต วงศเดอรี ไดกลาววา ในดานสิ่งแวดลอม อิสลามมองวา การรักษาสภาพแวดลอมเปนสิ่งจําเปนสําหรับทุกคน การรักษาความสะอาด การรักษาทรัพยากรธรรมชาติ เชน การหามตัดตนไมที่ใหรมเงาแกมนุษยตามถนนหนทาง มนุษยเปนสิ่งมีชีวิตที่ไดรับเกียรติและความไววางใจ (อะมานะฮฺ) จากองคอภิบาล ในการเปนตัวแทนของพระองคบนพื้นแผนดินนี้ (เคาะลีฟะฮฺ) โดยที่มนุษยเปนเพียงผูดูแลรักษาเพื่อใชประโยชนอยางเสมอภาคไมใชเอารัดเอาเปรียบกัน และมีการนัดเอาวันหยุดมาพัฒนาชุนชนเปนประจํา มีการชวยทําใหเขาใจหลักคําสอนของศาสนาดานการอนุรักษส่ิงแวดลอมมากขึ้น มีผลตอบรับดีขึ้นเล็กนอยครึ่งหนึ่ง และมีผลตอบรับดีมากอีกคร่ึงหนึ่ง จะเห็นไดวายังขาดความเปนเอกภาพและความสามัคคี

Page 81: หน้าปก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2553/19590.pdf · 2010. 5. 31. · logically analysed in comparison to theory and categorised in different aspects. The

71

4.4.5 ปญหาอุปสรรคการเผยแพรคําสอนในศาสนาอิสลามของโตะอิหมามที่เกี่ยวกับการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดลอม

จากการศึกษาการเผยแพรคําสอนในศาสนาอิสลามที่ เกี่ยวกับการพัฒนาสังคมและ

ส่ิงแวดลอม รวมถึงหลักคําสอนที่เกี่ยวของกับการอนุรักษส่ิงแวดลอม พบวาโตะอิหมามบางคนยังขาดคุณสมบัติในการเปนผูนํา อันเนื่องมาจากขาดการอบรมและการเตรียมพรอมในการเปนผูนํา และโตะอิหมามบางคนยังขาดองคความรูในการบริหารจัดการและพัฒนาชุมชน อันเนื่องมาจากขาดการเรียนรู ขาดการเขาอบรมอยางจริงจัง ขาดประสบการณ มีโตะอิหมามบางคนยังเขาใจผิดในการเผยแพรคําสอนและขาดวิธีการสอนที่ถูกตอง อันเนื่องมาจากขาดการขัดเกลาจากผูที่แตงตั้ง คือคณะกรรมการประจําจังหวัด ตองมีการทดสอบวัดความรูของผูที่ถูกคัดเลือก หรืออาจทําการทดสอบวัดผลกอนการเลือกตั้งโตะอิหมามในชุมชนนั้นก็ได

โตะอิหมามจํานวนกวาครึ่งมีการอบรม การเทศ (คุตบะห) การบรรยายธรรมและการสอนองคความรูแตไมคอยไดผลเพราะผูฟงหรือคนในชุมชนไมไดนําไปปฏิบัติตาม ซ่ึงมีหลายปจจัยที่ทําใหไมประสบผลสําเร็จ เชน มีโตะอิหมามจํานวนกวาครึ่งไมคอยไดรับความรวมมือเพราะผูใหญละเลย และขาดความรวมมือจากคนในชุมชน มีโตะอิหมามจํานวนกวาครึ่งขาดความรูเกี่ยวกับการพัฒนาและการอนุรักษส่ิงแวดลอมที่ถูกตองอันเนื่องมาจากพื้นฐานการศึกษา เทคนิคการสอน และทัศนคติของโตะอิหมาม มีโตะอิหมามจํานวนกวาครึ่งขาดความจริงจังและจริงใจในการแกไขพัฒนาและการอนุรักษส่ิงแวดลอม อันเนื่องมาจากขาดการตระหนัก มีโตะอิหมามบางคนขาดรายไดหรือทุนทรัพยในการเผยแพรคําสอนของศาสนาอิสลามเพื่อที่จะนํามาพัฒนาดานการศึกษาใหคนในชุมชนและเยาวชน อันเนื่องมาจากขาดการติดตอที่ดีในการหาทุนทรัพยกับผูที่เกี่ยวของ และยังขาดการสนับสนุนจากภาครัฐและขาดบุคลากรจากภาครัฐที่จะมาใหความรูในดานวิชาชีพกับคนในชุมชน อันเนื่องมาจากขาดการประสานงานที่ดีกับหนวยงานภาครัฐหรืออาจมาจากการละเลยของภาครัฐ หรืออาจมาจากการขาดงบประมาณของภาครัฐ และที่ตองตระหนักเปนอยางยิ่ง คือ ขาดการประสานงานที่ดีและมีประสิทธิภาพของคนภายในชุมชน

Page 82: หน้าปก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2553/19590.pdf · 2010. 5. 31. · logically analysed in comparison to theory and categorised in different aspects. The

72

4.5 สรุป

จากการศึกษาการเผยแพรคําสอนในศาสนาอิสลามที่ เกี่ยวกับการพัฒนาสังคมและส่ิงแวดลอม กรณีศึกษาโตะอิหมามผูนําศาสนาอิสลาม ในเขตกรุงเทพมหานครพบวา ผลของการเผยแพรคําสอนของโตะอิหมามผูนําศาสนาอิสลามนั้น ดานสังคม มีผลที่ไดมากที่สุด คือ เร่ือง การชวยลดปญหาความขัดแยงของคนในชุมชนได รองลงมาคือ เร่ือง การชวยลดปญหายาเสพติดไดในระดับหนึ่งดวยการตักเตือน และ การชวยทําใหเขาใจหลักคําสอนของศาสนาดานพัฒนาสังคมมากขึ้น เปนที่นาสังเกตวาโตะอิหมามผูนําศาสนาอิสลาม สวนใหญสามารถใชคําสอนที่มาจากอัลลฮฺ (พระเจา) และรอซูล (ศาสนทูต) สอนสั่งคนในชุมชนจนสามารถชวยลดปญหาความขัดแยงของคนในชุมชนได สาเหตุมาจากคนในชุมนมีความศรัทธามั่นในพระเจาและศาสนทูตของพวกเขา และสามารถชวยลดปญหายาเสพติด ไดในระดับหนึ่ง ทั้งนี้เพราะการตักเตือน ส่ังสอน อบรมและขัดเกลาเปนหนาที่โดยตรงของโตะอิหมาม ผูนําศาสนา คณะกรรมการบริหารมัสยิดคนในชุมชน ที่จะตองจัดการกับยาเสพติด และหาวิธีการบําบัดผูติดยาเสพติดใหหมดไปจากชุมชนใหไดรวมถึงการหยุดยั้งผูจําหนายดวย สวนเรื่องการวากลาวตักเตือนดวยความหวังดีเมื่อสมาชิกในชุมชนทําผิดนั้น ผูนําศาสนาอิสลาม (โตะอิหมาม) จะปฏิบัติตามบทบาทหนาที่ที่มากที่สุดเปนอันดับรองลงมา ทั้งนี้อาจเปนเพราะวาหลักการบริหารจัดการชุมชนที่ประสบความสําเร็จนั้น สมควรใชวิธีการทางสันติจะดีกวาการลงโทษ นอกจากผูที่เกเร ดื้อดึงถึงที่สุด ไมสามารถใชวิธีสันติได ก็จะใชบทวิธีการลงโทษตามกฎหมายอาญา ซ่ึงสอดคลองกับ อภินันท วันแอเลาะ (2542 : 72) ที่สรุปหลักการบริหารจากกุรอานโองการโดยมีเนื้อความสําคัญวา ใหอภัย ไมอาฆาตแคนผูใด เมื่อพบคนทําผิดก็พรอมตักเตือนดวยความหวังดี และสอดคลองกับอุทัย หิรัญโต (2526 : 50) ที่กลาววา ผูนําที่ดีจะตองมีบุคลิกภาพที่ทําใหใครเห็น ใครชอบ ซ่ึงชมทั้งรางกายและจิตใจ บุคลิกภาพเชนวานั้น คือบุคลิกภาพภายนอก ไดแก รูปรางกริยาทาทาง ทวงทีวาจา และบุคลิกภายใน ไดแก ความกลาหาญเด็ดเดี่ยว ความยุติธรรม ความเมตตาปราณี บุคลิกภาพเชนวานี้จะชวยสงเสริมลักษณะผูนําใหถาวร และสอดคลองกับธงชัย สันติวงษ และชัยยศ สันติวงษ (อางถึงใน สุภาภรณ ตั้งธงทองกุล, 2546 : 24) ที่กลาววา ลักษณะของผูนําที่มีประสิทธิภาพสูง มักจะตองมีความเฉลียวฉลาด มีความยุติธรรมมีความเขาใจความรอบรูทั่วไปแบบความรูเฉพาะอยางมีการรับรูไดอยางถูกตอง เปนผูรับมอบหมายงานที่ดี และจะตองเปนความซื่อสัตยอีกดวย

Page 83: หน้าปก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2553/19590.pdf · 2010. 5. 31. · logically analysed in comparison to theory and categorised in different aspects. The

73

เร่ือง การชวยทําใหเขาใหเขาใจหลักคําสอนของศาสนาดานพัฒนาสังคมมากขึ้นนับวาเปนผลจากการเผยแพรองคความรูดานคําสอนของรองศาสนาอิสลามจากโตะอิหมาม ผูนําศาสนาอิสลามและการเผยแพรคําสอนของศาสนาอิสลามในรูปแบบตาง ๆ นั้น จะมีสถาบันจัดทําเอกสารเผยแพรศาสนาอิสลามทางเอกสารอยูหลายสถาบัน รวมทั้งสํานักจุฬาราชมนตรีคณะกรรมการอิสลามประจําจังหวัด และสมาคมคุรุสัมพันธ มีทั้งตําราเรียน หนังสือพิมพ นิตยสารและสิ่งพิมพประเภทอื่น มีการจัดรายการวิทยุกระจายเสียง โดยมีรายของสํานักจุฬาราชมนตรีรายการเอกชนอีกเปนจํานวนมาก ทั้งรายวันและรายสัปดาห และมีการเผยแพรดวยวิธีจัดประชุม จัดสัมมนาสงวิทยากรไปบรรยายตามองคการตาง ๆ เชิญมา ลักษณะการเผยแพรของสถาบันมุสลิมสวนใหญจะทํากันตามความรับผิดชอบของตนภายในประเทศเทานั้น และอาศัยงบประมาณจากแรงศรัทธาของพี่นองมุสลิมเอง ดานสิ่งแวดลอม มีการปฏิบัติตามคําสอนมากที่ สุดในเรื่อง การชวยทําใหชุมชนมีสภาพแวดลอมดีขึ้นรองลงมาคือเร่ืองการรณรงค ปลูกฝงใหรักษาและอนุรักษส่ิงแวดลอมมากขึ้น และเรื่องการนัดเอาวันหยุดมาพัฒนาชุมชนเปนประจํา สําหรับการปฏิบัติตามคําสอนนอยสุดคือ เร่ืองการชวยทําใหเขาใจหลักคําสอนของศาสนาดานอนุรักษส่ิงแวดลอมมากขึ้น มีผลตอบรับดีขึ้นเล็กนอย และมีผลตอบรับดีมากทําใหสภาพแวดลอมในชุมชนดีขึ้นมาก ซ่ึงสอดคลองกับ ยูชุฟ ดอเลาะ (2546 : บทคัดยอ) ไดศึกษาบทบาทของผูนําศาสนาอิสลาม ในการสรางเครือขาย การอนุรักษแมน้ําปตตานี : ศึกษากรณีอําเภอเมือง จังหวัดยะลา กลาววา ตามหลักปฏิบัติทางศาสนาอิสลามในการสงเสริมการรักษาสิ่งแวดลอมทางธรรมชาติ กลุมตัวอยางสวนใหญเห็น วาศาสนาอิสลามตระหนักและสงเสริมการอนุรักษส่ิงแวดลอม มากที่สุดและศาสนาอิสลามถือวาความสะอาดนั้นเปนสวนหนึ่งของหลักการศรัทธา

Page 84: หน้าปก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2553/19590.pdf · 2010. 5. 31. · logically analysed in comparison to theory and categorised in different aspects. The

บทที่ 5

สรุปผลและขอเสนอแนะ

การศึกษา เร่ือง “การเผยแพรคําสอนในศาสนาอิสลามที่เกี่ยวกับการพัฒนาสังคมและส่ิงแวดลอม : กรณีศึกษาโตะอิหมามในเขตกรุงเทพมหานคร” มีวัตถุประสงค เพื่อศึกษาการเผยแพรคําสอนในศาสนาอิสลามที่เกี่ยวกับการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดลอม ในการพัฒนาชุมชนมุสลิม และเพื่อศึกษาปจจัยที่สัมพันธกับการเผยแพรคําสอนศาสนาของโตะอิหมามผูนําสูงสุดของมัสยิดนั้น ๆ ในเขตกรุงเทพมหานคร ในการพัฒนาชุมชนมุสลิม กลุมผูใหขอมูลที่สําคัญไดแก ผูนําศาสนาอิสลาม (โตะอิหมาม) ที่ดํารงตําแหนงในมัสยิดเขตกรุงเทพ และลาดกระบัง จํานวน 12 คน ในการวิเคราะหขอมูลคร้ังนี้ เปนการศึกษาตามแนววิจัยเชิงคุณภาพ Qualitative Research ดังนั้นการวิเคราะหขอมูลจะใชหลักตรรกะ คือ ใชหลักเหตุผลการวิเคราะห เทียบเคียงกับแนวคิดทฤษฏี ควบคูกับบริษัท ซ่ึงขอมูลทั้งหมดนํามาวิเคราะหรวมกับขอมูลเอกสาร รวมทั้งมีการจัดหมวดหมูในแตละดาน แตละประเด็น เพื่อใหขอมูลมีความชัดเจนเชิงรูปธรรม ผูศึกษายังใชสถิติเชิงพรรณนาประกอบ โดยใชสถิติหาคาความถี่ และคารอยละ

5.1 สรุปขอมูลพื้นฐานของผูใหขอมูลท่ีสําคัญ

จากการวิเคราะหขอมูลสามารถสรุปผลการศึกษาไดดังนี้ ขอมูลพื้นฐานของผูใหขอมูลที่สําคัญทั้งหมด 12 คน สวนใหญอยูในกลุมอายุ ตั้งแต 51 ปขึ้นไป (รอยละ 50.0) ทุกคนสมรสแลว (รอยละ 100.0) มีอายุการทํางานต่ํากวา 10 ป (รอยละ 50.0) ประกอบอาชีพ ธุรกิจสวนตัวและครูสอนศาสนาเทากัน 5 คน (รอยละ 42.0) สําเร็จการศึกษาสูงสุดดานศาสนาในระดับปริญญาตรี (รอยละ 50.0) มีการศึกษาสูงสุดดานสามัญใน ระดับมัธยมปลาย (รอยละ 42.0) มีรายได 10,000-20,000 บาท (รอยละ 42.0) ไดรับการอบรมดานบริหารมัสยิดและชุมชนรอยละ 50.0

Page 85: หน้าปก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2553/19590.pdf · 2010. 5. 31. · logically analysed in comparison to theory and categorised in different aspects. The

75

5.2 ทัศนคติของโตะอิหมามผูนําศาสนาอิสลามตอการเผยแพรคําสอนในศาสนาอิสลาม ทัศนคติของโตะอิหมามผูนําศาสนาอิสลามตอคนในชุมชนที่สอดคลองกับการเผยแพรคําสอนในศาสนาอิสลามในเขตกรุงเทพมหานคร พบวา โตะอิหมาม ผูนําศาสนาอิสลามมีทัศนคติตอคนในชุมชนที่สอดคลองกับการเผยแพรคําสอนในศาสนาอิสลาม ในดานสังคม มีโตะอิหมามใหทัศนคติตรงกันมากที่สุด คือ มองวาการพัฒนาสังคมเปนหนาที่จําเปนสําหรับทุกคน รองลงมามองวาการพัฒนาสังคมควรใชโรงเรียนและมัสยิดเปนศูนยกลาง สําหรับดานสิ่งแวดลอม มีโตะอิหมามใหทัศนคติตรงกันมากทีสุด คือมองวา ชุมชนตองชวยกันอนุรักษ คูคลอง ตนไมและสิ่งแวดลอม รองลงมา มองวา ชุมชนในมัสยิดจะดีไดก็ตอเมื่อส่ิงแวดลอมตองดีกอน

5.3 บทบาทหนาที่ของโตะอิหมามผูนําศาสนาอิสลามในการบริหารพัฒนาชุมชนมุสลิม

บทบาทหนาที่ของโตะอิหมามผูนําศาสนาอิสลามในการบริหารพัฒนาชุมชนมุสลิมที่สอดคลอง กับเผยแพรคําสอนในศาสนาอิสลาม ในเขตกรุงเทพมหานคร พบวาโตะอิหมามผูนําศาสนาอิสลามมีบทบาทหนาที่ในการบริหารพัฒนาชุมชนมุสลิม ในดานสังคม มีโตะอิหมามไดทําบทบาทหนาที่ตรงกันมากที่สุดในเรื่อง การใหความรูเกี่ยวกับการใชชีวิตคูแกประชาชนในชุมชน รองลงมาคือเร่ืองการอนุรักษ รักษาศิลปะ วัฒนธรรม และเอกลักษณของทองถ่ิน สําหรับดานสิ่งแวดลอม มีโตะอิหมามไดนําบทบาทหนาที่ตรงกันมากที่สุด ในเรื่องการใหความรู ในการรักษาทรัพยากรของชุมชน เชน ตนไม แมน้ํา สวนสาธารณะเพื่อประโยชนแกเยาวชนรุนหลัง รองลงมามีสองเรื่อง คือ เร่ืองการใหความรู ความเขาใจแกประชาชนเรื่องการอนุรักษส่ิงแวดลอมและทรัพยากรตางๆ ในชุมชน และเรื่องการเปนแกนนําในการปฏิบัติการฟนฟู สภาพแวดลอมในชุมชน

Page 86: หน้าปก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2553/19590.pdf · 2010. 5. 31. · logically analysed in comparison to theory and categorised in different aspects. The

76

5.4 การมีสวนรวมของคนในชุมชนที่สอดคลองกับการเผยแพรคําสอนในศาสนาอิสลาม

ความคิดเห็นของโตะอิหมามเกี่ยวกับการมีสวนรวมของคนในชุมชนที่สอดคลองกับการเผยแพรคําสอนในศาสนาอิสลาม ในเขตกรุงเทพมหานคร พบวา โตะอิหมาม ผูนําศาสนาอิสลาม มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการมีสวนรวมของคนในชุมชน ในดานสังคม ความคิดเห็นของโตะอิหมามเกี่ยวกับการมีสวนรวมของคนในชุมชนตรงกันมากที่สุด ในเรื่อง การรวมสอดสองดูแลและรณรงคตอตานยาเสพติดรองลงมาคือเร่ือง การวมทําบุญ อะกีเกาะห ใหกับเด็กที่เกิดใหม และบริจาคเงินสงเสริมการศึกษา และรวมหารายไดใหกับโรงเรียนสอนศาสนาและสามัญในชุมชน ดานสิ่งแวดลอม ความคิดเห็นของโตะอิหมามเกี่ยวกับการมีสวนรวมของคนในชุมชนตรงกันมากที่สุดในเรื่อง ความรวมมือของชุมชนกับเจาหนาที่สํานักงานเขตขุดลอกคูคลองในชุมชน รองลงมา คือ การรณรงคเร่ืองรักษาความสะอาดในชุมชน เชน การเก็บขยะ กําจัดสิ่งปฏิกูล อนุรักษน้ําในคูคลอง และรวมปลูกรวมดูแลตนไมบริเวณหนาบานและมัสยิด

5.5 ผลการเผยแพรคําสอนอิสลามของโตะอิหมามกับการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดลอม

ผลของการเผยแพรคําสอนในศาสนาอิสลามของโตะอิหมาม ผูนําศาสนาอิสลาม ที่เกี่ยวกับการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดลอมในเขตกรุงเทพมหานครพบวา ผลของการเผยแพรคําสอนในศาสนาอิสลามของโตะอิหมามผูนําศาสนาอิสลาม ในดานสังคม มีผลของการเผยแพรคําสอนของโตะอิหมามตรงกันมากที่สุดในเรื่องสามารถชวยลงปญหาความขัดแยงของาคนในชุมชนได รองลงมาสามารถชวยลดปญหายาเสพติดไดในระดับหนึ่ง และชวยทําใหเขาใจหลักคําสอนของศาสนาในดานการพัฒนาสังคมมากขึ้น สําหรับดานสิ่งแวดลอม มีผลของการเผยแพรคําสอนของโตะอิหมามตรงกันมากที่สุดในเร่ือง สามารถชวยทําใหชุมชนมีสภาพแวดลอมดีขึ้น รองลงมามีการณรงค ปลูกฝงใหรักษาและอนุรักษส่ิงแวดลอมมากขึ้น และมีการนัดเอาวันหยุดมาพัฒนาชุมชนเปนประจํา

Page 87: หน้าปก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2553/19590.pdf · 2010. 5. 31. · logically analysed in comparison to theory and categorised in different aspects. The

77

5.6 ขอเสนอแนะที่ไดจากการศึกษา ดานการเผยแพรคําสอนศาสนา

1) ผูนับถือศาสนาอิสลามทุกคนจะตองนําหลักธรรมคําสอนที่ถูกตองจากพระมหาคัมภีรอัลกุรอานและซุนนะห (แบบอยางของศาสดา) มาปฏิบัติอยางเครงครัด 2) โตะอิหมาม ผูนําศาสนาอิสลาม จะตองสงเสริมใหชุมชนเขาใจหลักธรรมคําสอนของศาสนาอิสลาม คําสอนเกี่ยวกับภาคธุรกิจ ครอบครัว บทลงโทษและการอยูรวมกันอยางสันติสุขตามหลักการของศาสนาอิสลาม 3) โตะอิหมามควรเปนผูที่มีความรูดานศาสนาดานสามัญและหลักสูตรการบริหารจัดการ 4) โตะอิหมามควรสงเสริมความเขาใจอันดี ดวยหลักสมานฉันท เพื่อใหเกิดความสามัคคีเปนอันหนึ่งอันเดียวกันของคนในชุมชนและอยูในสังคมอยางมีความสุข

ดานสงัคม 1) โตะอิหมามผูนําศาสนาอิสลามควรจัดอบรมเกี่ยวกับการใชชีวิตคู แกเยาวชนมุสลิมและประชาชนทั่วไป 2) ควรมอบรางวัลใหแกคูครองที่สรางประโยชนใหกับสังคม และไมทําใหศาสนาเสื่อมเสียเพื่อเปนแบบอยางในการดําเนินชีวิตของชุมชน 3) ควรมีการรณรงคใหใชสถานที่มัสยิดเปนศูนยกลางในการจัดงานพิธีตาง ๆ และกิจกรรมตาง ๆ ที่ไมชัดตอหลักการของศาสนาอิสลาม 4) โตะอิหมามผูนําศาสนามุสลิมทุกมัสยิด ควรสอดสองดูแลสมาชิกในชุมชนใหไดรับการศึกษาทั้งดานศาสนาและสามัญอยางทั่วถึง 5) ควรจัดอาสาสมัครออกสอดสองดูแลจัดการเกี่ยวกับยาเสพติด 6) ควรจัดอาสาสมัครเยี่ยมเยียนชุมชนเก็บขอมูลในทุก ๆ ดานเปนประจํา ดานสิ่งแวดลอม 1) โตะอิหมามผูนําศาสนาอิสลามและคณะกรรมการประจํามัสยิดควรจัดงานวันอนุรักษส่ิงแวดลอมเปนประจําทุกป เพื่อปลูกฝงจิตสํานึกใหเยาวชนมีความรักปรารถนาดีตอส่ิงแวดลอมภายในชุมชน

Page 88: หน้าปก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2553/19590.pdf · 2010. 5. 31. · logically analysed in comparison to theory and categorised in different aspects. The

78

2) เขียนคําขวัญ คติเตือนใจที่มีผลตอการอนุรักษส่ิงแวดลอมเพื่อเตือนสติใหชวยกันดูแล

ส่ิงแวดลอม 3) รณรงคใหปลูกไมดอกไมประดับ ทุกครัวเรือน เพื่อสอดคลองกับคําสอนของศาสนาอิสลามใหตระหนักและอนุรักษส่ิงแวดลอม 4) ควรจัดใหมีสวนหยอมประจํามสัยิด มีการเลี้ยงปลาในคูคลองบริเวณมัสยิด

5.7 ขอเสนอแนะในการศึกษาตอไป 1) การศึกษาครั้งนี้ ไดเนนถึงการเผยแพรคําสอนในศาสนาอิสลามของโตะอิหมามผูนําศาสนาอิสลามที่เกี่ยวกับการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดลอมเทานั้น ควรมีการศึกษาในทุก ๆ ดาน เพื่อเปนประโยชนตอผูนําชุมชนมุสลิมสําหรับการเผยแพรคําสอนในศาสนาอิสลามที่ครบทุกดานและถูกตอง 2) ควรศึกษาจากผูนําศาสนาในทุกระดับที่มีบทบาทสําคัญ รวมถึงผูบริหารระดับสูงของศาสนาอิสลามในการบริหารจัดการและพัฒนาชุมชนมุสลิมเพื่อลดชองวางระหวางผูนําศาสนาในทุกระดับกับชุมชน โดยเนนการพัฒนาที่ยั่งยืนและพึ่งตนเองไดของชุมชนตอไป

Page 89: หน้าปก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2553/19590.pdf · 2010. 5. 31. · logically analysed in comparison to theory and categorised in different aspects. The

บรรณานุกรม

การีม อับดุลเลาะฮฺ. 2552. คูมือมุสลิมเบื้องตน. กรุงเทพมหานคร : สํานักพิมพ ส.วงศเสงี่ยม.คณะกรรมการอิสลามประจํากรุงเทพมหานคร. 2551. ประชาคมมุสลิม. กรุงเทพมหานคร :

สํานักพิมพมุสลิมไทย. ตายูดิน อุสมาน. 2545. การพัฒนาที่ยั่งยืนในชุมชนมุสลิม : ศึกษากรณีสามจังหวัดชายแดนภาคใต.

วิทยานิพนธปริญญามหาบัญฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร. จิระวัฒน วงศสวสัดิ์วัฒน. 2529. ทัศนคติ ความเชื่อและพฤติกรรม. ภาคนิพนธ โครงการพัฒนา

สังคม คณะพัฒนาสังคม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร. ชูชีพ ออนโคกสูง. 2522. จิตวิทยาสังคม. กรุงเทพมหานคร : ไทยวัฒนาพานิช. เชิดศักดิ์ โฆวาสินธุ. 2520. การวัดทัศนคติและบุคลิกภาพ. กรุงเทพมหานคร : สํานักทดสอบทาง

การศึกษาและจิตวิทยา. ฑิตยา สุวรรณะชฎ. 2520. ความสัมพันธระหวางทัศนคติกับพฤติกรรม. กรุงเทพมหานคร :

สถาบันบัณฑติพัฒนบริหารศาสตร. ดวงเดือน พันธุมนาวิน. 2524. เอกสารประกอบการบรรยายจิตวิทยาชั้นสูง ปการศึกษา 2523-2524.

กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร. ทิพวรรณ กิตติวิบูลย. 2542. ทัศนคติ คานิยมและพฤติกรรมทางสังคม. เอกสารประกอบการสอน

คณะพัฒนาสังคม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร.(อัดสําเนา) ธีรพร อุวรรณโณ. 2529. จิตวิทยาสังคม. กรุงเทพมหานคร : คณะคุรุศาสตร จุฬาลงกรณ

มหาวิทยาลัย. นิคม สุวรรณรุงเรือง. 2531. ชนชั้นนําและโครงสรางอํานาจของชุมชนชาวไทยมุสลิมในจังหวัดชาย

แดนภาคใต. วิทยานิพนธปริญญามหาบัณฑิต จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย. นิพนธ คันธเสวี. 2511. สรุปรายงานวิจัยเบื้องตนเกี่ยวกับทัศนคติของคนไทยบางกลุมท่ีมีตอทหาร

อเมริกันท่ีประจําในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร : สํานักงานสภาวิจัยแหงชาติ. ประภาเพ็ญ สุวรรณ. 2520. การจัดการเปลี่ยนแปลงและพฤติกรรมอนามัย. กรุงเทพมหานคร : ไทย

วัฒนาพานิช.

Page 90: หน้าปก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2553/19590.pdf · 2010. 5. 31. · logically analysed in comparison to theory and categorised in different aspects. The

80

ปรีชา อาบีดีน. 2547. บทบาทของผูนําศาสนาอิสลาม (โตะอิหมาม) ในการบริหารพัฒนาชุมชน

มุสลิม : ศึกษากรณีมัสยิดในเขตมีนบุรี คลองสามวา ลาดกระบัง ภาคนิพนธ คณะพัฒนาสังคม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร.

พจน เพชระบูรณิน. 2519. การสรางสัมพันธภาพและกําลังขวัญของบุคคล. กรุงเทพมหานคร : สํานักวิจัย สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร.

พลเทพ จันทรสีประเสริฐ. 2526. การสรางขวัญและการจูงใจในการปฏิบัติงาน. กรุงเทพมหานคร : สํานักวิจัย สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร.

พัชนี วรกวิน. 2526. จิตวิทยาสังคม ทฤษฎี และปฏิบัติการ. กรุงเทพมหานคร : ไทยวัฒนาพานชิ. มานี ชูไทย. 2544. รายงานการวิจัยเร่ือง อิสลาม : วิถีการดําเนินชีวิตท่ีพัฒนาคุณภาพชีวิต.

วิทยานิพนธปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร. มัรวาน สะมะอุน, ผูแปล. 2550. อัลกุรอานนุลการีมฉบับแปลไทย เลมท่ี 1-2 : พระดํารัสของ

พระองคอัลลอฮฺ กรุงเทพมหานคร : สํานักพิมพ ส.วงศเสงี่ยม. โมฮัมมัด อับดลุกาเดร. 2528. รายงานการสมัมนาเรื่อง อิสลาม : วิถีการดําเนินชีวิต. คร้ังท่ี 1 เลม 1

พ.ศ. 2528. ปตตานี : มหาวทิยาลัยสงขลานครินทร. ราชบัณฑิตยสถาน. 2535. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525. พิมพคร้ังที่ 5

กรุงเทพมหานคร : สํานักพิมพอักษรเจริญทัศน. รุงนภา บุญคุม. 2536. ทัศนคติของการพัฒนากรตอนโยบายการจัดตั้งศูนยสาธิตการตลาด : ศึกษา

กรณีศูนยชวยทางวิชาการพัฒนาชุมชน เขต 3 ภาคนิพนธ คณะพัฒนาสังคม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร.

ยูซุฟ ดอเลาะ. 2546. บทบาทของผูนําศาสนาอิสลามในการสรางเครือขายการอนุรักษแมน้ําปตตานี : ศึกษากรณี อําเภอเมือง จังหวดัยะลา. ภาคนิพนธ คณะพฒันาสังคม สถาบันบัณฑิต พัฒนบริหารศาสตร.

ศูนยมานุษยวิทยาสิรินธร. 2548. ภูมิปญญากับการสรางพลังชุมชน. เอกสารวิจัยองคการมหาชน ศูนยมานุษยวิทยาสิรินธร.

สุภาภรณ ตั้งธงทองกุล. 2546. บทบาทของผูนําทองถิ่นในการพัฒนาตําบลศึกษากรณี : ตําบล บางตาเถร อําเภอสองพี่นอง จังหวัดสุพรรณบุรี. ภาคนิพนธ คณะพัฒนาสังคม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร.

สุพจน กลินกาเซ็น. 2550. การประยุกตใชและการเผยแพรภูมิปญญาการแพทยตามแนวทางอิสลาม. ภาคนิพนธ คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดลอม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร.

Page 91: หน้าปก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2553/19590.pdf · 2010. 5. 31. · logically analysed in comparison to theory and categorised in different aspects. The

81

เสาวนีย จิตตหมวด. 2527. กลุมชาติพนัธุชาวไทยมุสลิม. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพกองทุน สงารุจิระอัมพร. เสาวนีย จิตตหมวด. 2535. วัฒนธรรมอิสลาม. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพจูจนีไทย. อภินันท วันแอเลาะ. 2542. บทบาทของคณะกรรมการมัสยิดในการพฒันาชุมชนมสุลิม: ศึกษา เฉพาะกรณีมัสยิดในจังหวัดนนทบุรี. ภาคนิพนธ คณะพัฒนาสังคม สถาบันบัณฑิตพฒันบริหารศาสตร. อุทัย หิรัญโต. 2526. สารานุกรมศัพทสังคมวิทยา-มนุษยวิทยา. กรุงเทพมหานคร : สํานักพิมพ โอเดียนสโตร อรุณ บุญชม. 2548. คลังวิชาการสุขภาวะมสุลิม. กรุงเทพมหานคร : สํานักพิมพมุสลิมไทย. อรุณ บุญชม, ผูแปล. 2525. หะดีษซอเฮยะฮฉบับแปลไทย เลมท่ี 1-9 : พระดํารัสของทานศาสดา

ท่ีถูกตอง. กรุงเทพมหานคร : สํานักพมิพ ส. วงศเสงี่ยม. อะหฺมัด อัซฮาร บาซิร. 2545. ระบบเศรษฐกิจอิสลามเบื้องตน. แปลจาก อัลบิดายะตุลนุซุมุลอิกติ

ซอดพิ้ลอิสลาม โดย อับดุลเลาะ อับรู. กรุงเทพมหานคร: อัลอีหมามพริ้นติ่ง. อัคตะรุดดีน อะฮฺเมด, มาญิด เอช.เอ ฮาซิม และกัซซี่ อัลฮาซิม. 2547. อิสลามกับวิกฤติสิ่งแวดลอม.

แปลจาก อัลอิสลามวลัอัซมะตุลบีอะหฺ โดย บรรจง บินกาซัน. กรุงเทพมหานคร : สํานักพิมพมุสลิมไทย.

เอ็ม. อูเมอร ชัพพรา. 2547. อิสลามกับการพัฒนาเศรษฐกิจ. แปลจาก อัลอิสลามวัตตะเตาวุรุล อิกติซอด โดย บรรจง บินกาซัน. นนทบุรี : ออฟเซ็ท เพรส.

Abubakr Ahmed Bagader. 2008. Environmental Protection in Islam. Kingdom of Saudi Arabi : The World Conservation Union.

Mohammad Assayed Jamil. 1999. A Study on Environmental Issues with Reference to The Qur,an and The Sunna. Kingdom of Morocco : Imprimerie Al-Maarif Al-Jadida Rabat.

Page 92: หน้าปก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2553/19590.pdf · 2010. 5. 31. · logically analysed in comparison to theory and categorised in different aspects. The

ภาคผนวก

Page 93: หน้าปก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2553/19590.pdf · 2010. 5. 31. · logically analysed in comparison to theory and categorised in different aspects. The

ภาคผนวก ก

แบบสอบถาม เร่ือง การเผยแพรคําสอนในศาสนาอิสลามที่เก่ียวกับการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดลอม : กรณีศึกษาโตะอิหมามในเขตกรุงเทพมหานคร แบบสอบถามนี้ ไดจัดทําขึ้นเพื่อเปนสวนหนึ่งของการศึกษาระดับปริญญาโท หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต คณะพัฒนาสังคม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร (NIDA) นอกจากจะเปนสวนหนึ่งของการศึกษาแลว ยังจะเปนประโยชนในการนําขอสรุปที่ไดจากการศึกษาไปใชในการวางแผนการบริหารงานองคกรมัสยิดและชุมชน โดยมิไดมีผลกระทบทางเสื่อมเสียกับผูใด ทานเปนบุคคลซึ่งมีความสําคัญเปนอยางยิ่งที่จะชวยในการจัดจําหนายรายงานผลการศึกษาคร้ังนี้ สําเร็จไดดวยดี ผูศึกษาจึงขอความอนุเคราะหจากทานในการแสดงความคิดเห็นอยางจริงใจ ผูศึกษาจะถือเปนความลับและใชเฉพาะในการศึกษาในครั้งนี้เทานั้น และขอขอบพระคุณอยางสูงที่ทานไดกรุณาใหความรวมมืออยางดียิ่ง คําแนะนําในการตอบ 1. โปรดตอบตามความคิดเห็นของทาน 2. โปรดตอบทุกขอ

ผูศึกษาขอขอบพระคุณมา ณ โอกาสนี้ดวย

อนุชา หวังภักดี กุมภาพนัธ 2553

Page 94: หน้าปก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2553/19590.pdf · 2010. 5. 31. · logically analysed in comparison to theory and categorised in different aspects. The

84

ภาคผนวก ก. แนวประเด็นสมัภาษณเจาะลึก

โตะอิหมาม เร่ือง การเผยแพรคําสอนในศาสนาอิสลามที่เก่ียวกับการพัฒนาสงัคมและสิ่งแวดลอม

: กรณีศึกษา โตะอิหมามในเขตกรุงเทพมหานคร ช่ือมัสยิด..................................................ที่ตั้งเลขที่.............................ถนน...................................... ตําบล............................................อําเภอ.........................................จังหวัด........................................ ________________________________________________________________________ คําชี้แจง กรุณากรอกแบบสอบถามโดยใชเครื่องหมาย ลงในชอง หรือเติม ขอความลงในชองวางที่ตรงกับขอเท็จจริง สวนที่ 1 ขอมูลภูมิหลังของโตะอิหมามผูตอบแบบสอบถาม 1. อายุ....................... ป 2. สถานภาพ 1. โสด/แยกกันอยู 2. สมรส 3. ทานเปนโตะอิหมามประจํามัสยิดแหงนี้มาแลวประมาณ....................................ป 4. อาชีพหลักที่ทานมีรายได 1. พนักงานบริษัทเอกชน 2. คาขาย 3. ลูกจางใชแรงงาน 4. รับราชการ รัฐวิสาหกิจ 5. ครูสอนศาสนา 6. ธุรกิจสวนตัว 5. ทานจบการศึกษาดานศาสนาสูงสุดในระดับใด 1. ฟรดูอัย/อิบติดาอีย (ระดับพื้นฐาน) 2. เอี๊ยะดาดีย (ระดับกลาง) 3. ซะนะวีย (ระดับสูง) 4. ปริญญาตรี สาขา........................................................................... 5. สูงกวาปริญญาตรี สาขา............................................................... 6. อ่ืน ๆ (ระบุ) .................................................................................

Page 95: หน้าปก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2553/19590.pdf · 2010. 5. 31. · logically analysed in comparison to theory and categorised in different aspects. The

85

6. ทานจบการศึกษาสามัญสูงสุดในระดับใด 1. ประถมศึกษาปที่ 4 2. ประถมศึกษาปที่ 6 หรือปที่ 7 3. มัธยมศึกษาปที่ 3 4. มัธยมศึกษาปที่ 6 หรือ ม.8 หรือ ม.ศ.5 5. อนุปริญญา สาขา................................................................. 6. ปริญญาตรี สาขา ................................................................. 7. สูงกวาปริญญาตรี ............................................................... 7. รายไดตอเดือนประมาณ..................................... บาท 8. ทานไดผานการอบรมการบริหารมัสยิดและชุมชนมากนอยเพียงใด 1. อบรม 3 คร้ัง ตอป 2. อบรม 2 คร้ัง ตอป 3. อบรม 1 คร้ัง ตอป 4. อบรม 2 ป ตอคร้ัง 5. ไมเคยผานการอบรม

Page 96: หน้าปก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2553/19590.pdf · 2010. 5. 31. · logically analysed in comparison to theory and categorised in different aspects. The

86

ประเด็นคําถามแบบเจาะลึก

สวนท่ี 2 ขอมูลเก่ียวกับทัศนคติของโตะอิหมามและการเผยแพรคําสอนในศาสนาอิสลามที่เก่ียวกับการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดลอม

ดานสังคม

- ทัศนคติของโตะอิหมามตอคนในชุมชนในดานการพัฒนาสังคมที่สอดคลองกับการเผยแพรคําสอนในศาสนาอิสลามที่เกี่ยวกับการพัฒนาสังคม

ดานสิ่งแวดลอม

- ทัศนคติของโตะอิหมามตอคนในชุมชนในดานการอนุรักษ ส่ิงแวดลอมที่สอดคลองกับการเผยแพรคําสอนในศาสนาอิสลามที่ เกี่ยวกับการอนุรักษส่ิงแวดลอม

สวนท่ี 3 บทบาทหนาท่ีของโตะอิหมามผูนําศาสนาอิสลามในการบริหารพัฒนาชุมชนมุสลิม

ดานสังคม - การใหความรูเกี่ยวกับการใชชีวิตคูแกประชาชนในชุมชน - การเจรจาไกลเกลี่ย ประนีประนอม กรณีประชาชนมีปญหาชีวิตคู - การจัดตั้งกองทุนชวยเหลือผูพิการ หญิงมาย คนชรา เด็กกําพราในชุมชน - การประสานงานกับเจาหนาที่ของรัฐในการชวยเหลือ สนับสนุน เชน เงิน บุคลากร

แรงงาน ฯลฯ - การอนุรักษ รักษาศิลปะ วัฒนธรรม และเอกลักษณของทองถ่ิน ดานสิ่งแวดลอม - การใหความรูความเขาใจแกประชาชนเรื่องการอนุรักษส่ิงแวดลอมและทรัพยากร ตาง ๆในชุมชน - การเปนแกนนําในการปฏิบัติการ พื้นฟู สภาพแวดลอมในชุมชน - การจัดกิจกรรมรณรงค เพื่อการใชทรัพยากรอยางประหยัด มีประโยชนและคุมคาที่สุด - การรักษาทรัพยากรในชุมชน เชน ตนไม แมน้ํา สวนสาธารณะ เพื่อประโยชนแก

เยาวชนรุนหลัง

Page 97: หน้าปก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2553/19590.pdf · 2010. 5. 31. · logically analysed in comparison to theory and categorised in different aspects. The

87

ประเด็นคําถามแบบเจาะลึก

สวนท่ี 4 ประเด็นคําถามเจาะลึก การมีสวนรวมของชุมชนในดานสังคมและสิ่งแวดลอม ดานสังคม - ชุมชนของทานมีสวนรวมในกิจกรรม ดานพัฒนาสังคม ในเรื่องใดมากที่สุด ดานสิ่งแวดลอม - ชุมชนของทานมีสวนรวมในกิจกรรม ดานการอนุรักษสิ่งแวดลอม ในเรื่องใดมากที่สุด

สวนท่ี 5 ผลของการเผยแพรคําสอนในศาสนาอิสลามที่เก่ียวกับการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดลอม ดานสังคม - ผลที่ไดจากการเผยแพรคําสอนในศาสนาอิสลามดานการพัฒนาสังคม ดานสิ่งแวดลอม - ผลที่ไดจากการเผยแพรคําสอนในศาสนาอิสลามดานการอนุรักษส่ิงแวดลอม

สวนท่ี 6 ปญหา อุปสรรค และขอเสนอแนะ

- ทานมีปญหาอุปสรรคในการเผยแพรคําสอนในศาสนาอิสลามที่เกี่ยวกับการพัฒนาสังคมและการอนุรักษส่ิงแวดลอมอยางไร (กรุณาเรียงลําดับปญหาและอุปสรรคตามความสําคัญ)

- ทานมีขอเสนอแนะหรือแนวทางการแกไขปญหาอยางไร

Page 98: หน้าปก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2553/19590.pdf · 2010. 5. 31. · logically analysed in comparison to theory and categorised in different aspects. The

ภาคผนวก ข

Page 99: หน้าปก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2553/19590.pdf · 2010. 5. 31. · logically analysed in comparison to theory and categorised in different aspects. The

เลม ๑๑๔ ตอนที่ ๖๕ ก ราชกิจจานเุบกษา ๙ พฤศจิกายน ๒๕๔๐ ____________________________________________________

89

พระราชบัญญัติ การบริหารองคกรศาสนาอิสลาม

พ.ศ. ๒๕๔๐ _________________

ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ใหไว ณ วันที่ ๑๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๐

เปนปที่ ๕๒ ในรัชกาลปจจบุัน

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกลาฯ ใหประกาศวา

โดยที่เปนการสมควรปรับปรุงกฎหมายวาดวยมัสยิดอิสลามและกฎหมายวาดวยการศาสนูปถัมภฝายอิสลาม

จึงทรงพระกรุณาโปรดเกลาฯ ใหตราพระราชบัญญัติขึ้นไวโดยคําแนะนําและยินยอมของรัฐสภาดังตอไปนี้

มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกวา “พระราชบัญญัติการบริหารองคกรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐”

มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ใหใชบังคับตั้งแตวันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเปนตนไป

มาตรา ๓ ใหยกเลิก (๑) พระราชบัญญัติมัสยิดอิสลาม พ.ศ. ๒๔๙๐ (๒) พระราชกฤษฎีกาวาดวยการศาสนูปถัมภฝายอิสลาม พุทธศักราช ๒๔๘๘ (๓) พระราชกฤษฎีกาวาดวยการศาสนูปถัมภฝายอิสลาม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๔๙๑

Page 100: หน้าปก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2553/19590.pdf · 2010. 5. 31. · logically analysed in comparison to theory and categorised in different aspects. The

เลม ๑๑๔ ตอนที่ ๖๕ ก ราชกิจจานเุบกษา ๙ พฤศจิกายน ๒๕๔๐ ____________________________________________________

90

มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้ “มัสยิด” หมายความวา สถานที่ซ่ึงมุสลิมใชประกอบศาสนกิจโดยจะตองมีละหมาดวัน

ศุกรเปนปกติ และเปนสถานที่สอนศาสนาอิสลาม “สัปปุรุษประจํามัสยิด” หมายความวา มุสลิมที่คณะกรรมการอิสลามประจํามัสยิดมีมติ

รับเขาเปนสัปปุรุษประจํามัสยิด และมีช่ืออยูในทะเบียนสัปปุรุษประจํามัสยิด แตผูนั้นจะเปนสัปปุรุษเกินกวาหนึ่งมัสยิดในเวลาเดียวกันไมได

“อิหมาม” หมายความวา ผูนําศาสนาอิสลามประจํามัสยิด “คอเต็บ” หมายความวา ผูแสดงธรรมประจํามัสยิด “บิหล่ัน” หมายความวา ผูประกาศเชิญชวนใหมุสลิมปฏิบัติศาสนกิจตามเวลา มาตรา ๕ ใหรัฐมนตรีวาการกระทรวงมหาดไทยและรัฐมนตรีวาการกระทรวงศึกษาธิการ

รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และใหมีอํานาจแตงตั้งพนักงานเจาหนาที่ กับออกกฎกระทรวง ระเบียบ ประกาศ และคําสั่ง เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ ในสวนที่เกี่ยวกับอํานาจหนาที่ของแตละกระทรวง

กฎกระทรวงนั้น เมื่อไดประกาศในราชกิจจานุเบกษาแลวใหใชบังคับได

หมวด ๑ บททั่วไป

____________ มาตรา ๖ พระมหากษัตริยทรงแตงตั้งจุฬาราชมนตรีคนหนึ่ง เพื่อเปนผูนํากิจการศาสนาอิสลามในประเทศไทย ใหนายกรัฐมนตรีนําชื่อผูที่จะดํารงตําแหนงจุฬาราชมนตรีซ่ึงไดรับความเห็นชอบจากกรรมการอิสลามประจําจังหวัดทั่วประเทศขึ้นทูลเกลาฯ เพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกลาฯ แตงตั้งเปนจุฬาราชมนตรี หลักเกณฑและวิธีการสรรหาจุฬาราชมนตรีตามวรรคสองใหเปนไปตามที่กําหนดในกฎกระทรวง

ใหมีเงินอุดหนุนฐานะจุฬาราชมนตรีตามที่กําหนดในพระราชกฤษฎีกา มาตรา ๗ จุฬาราชมนตรีตองมีคุณสมบัติและไมมีลักษณะตองหาม ดังตอไปนี้

(๑) เปนมุสลิมผูมีสัญชาติไทยโดยการเกิด

Page 101: หน้าปก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2553/19590.pdf · 2010. 5. 31. · logically analysed in comparison to theory and categorised in different aspects. The

เลม ๑๑๔ ตอนที่ ๖๕ ก ราชกิจจานเุบกษา ๙ พฤศจิกายน ๒๕๔๐ ____________________________________________________

91

(๒) มีอายุไมต่ํากวาสี่สิบปบริบูรณ (๓) เปนผูมีความรูความเขาใจในศาสนาอิสลามเปนอยางดี (๔) เปนผูมีประพฤติปฏิบัติตามบัญญัติแหงศาสนาอิสลามโดยเครงครัด (๕) เปนผูมีความสัมพันธอันดีกับทุกศาสนา (๖) เปนผูมีความเลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริยทรง

เปนประมุข (๗) ไมเปนหรือเคยเปนบุคคลลมละลาย (๘) ไมเปนผูเคยถูกจําคุกโดยคําพิพากษาถึงที่สุดใหจําคุก เวนแตเปนโทษสําหรับความผิด

ที่ไดกระทําโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ (๙) ไมเปนผูทุพพลภาพจนไมสามารถปฏิบัติหนาที่ได ไรความสามารถหรือมีจิตฟนเฟอน

ไมสมประกอบ หรือเปนโรคตามที่กําหนดในกฎกระทรวง (๑๐) ไมเปนผูดํารงตําแหนงทางการเมือง มาตรา ๘ จุฬาราชมนตรีมีอํานาจหนาที่ ดังตอไปนี้ (๑) ใหคาํปรึกษาและเสนอความเห็นตอทางราชการเกี่ยวกับกิจการศาสนาอิสลาม (๒) แตงตั้งคณะผูทรงคุณวุฒิเพื่อใหคําปรึกษาเกี่ยวกับบัญญัติแหงศาสนาอิสลาม (๓) ออกประกาศแจงผลการดูดวงจันทรตามมาตรา ๓๕ (๑๑) เพื่อกําหนดวันสําคัญทาง

ศาสนา (๔) ออกประกาศเกี่ยวกับขอวินิจฉัยตามบัญญัติแหงศาสนาอิสลาม มาตรา ๙ จุฬาราชมนตรีพนจากตําแหนงเมื่อ (๑) ตาย (๑) ลาออก (๑) มีพระบรมราชโองการโปรดเกลาฯ ใหพนจากตําแหนงเพราะขาดคุณสมบัติ หรือมี

ลักษณะตองหามตามมาตรา ๗ มาตรา ๑๐ จุฬาราชมนตรี กรรมการกลางอิสลามแหงประเทศไทย กรรมการอิสลาม

ประจําจังหวัดและกรรมการอิสลามประจํามัสยิด มีสิทธิสวมเสื้อครุยและประดับเข็มพระปรมาภิไธย ทั้งนี้ ตามระเบียบวาดวยการนั้น มาตรา ๑๑ เมื่อเห็นสมควร กระทรวงศึกษาธิการอาจจัดตั้ง “อิสลามวิทยาลัย” ขึ้นเพื่อใหการศึกษาและอบรมทางวิชาการศาสนา วิชาการทั่วไป และวิชาชีพได

Page 102: หน้าปก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2553/19590.pdf · 2010. 5. 31. · logically analysed in comparison to theory and categorised in different aspects. The

เลม ๑๑๔ ตอนที่ ๖๕ ก ราชกิจจานเุบกษา ๙ พฤศจิกายน ๒๕๔๐ ____________________________________________________

92

หมวด ๒ การจัดตั้งและการเลิกมัสยิด

___________ มาตรา ๑๒ การสราง การจัดตั้ง การยาย การรวม การเลิก และการจดทะเบียนมัสยิด ใหเปนไปตามหลักเกณฑและวิธีการที่กําหนดในกฎกระทรวง การจัดตั้ง การรวม และการเลิกมัสยิด ใหประกาศในราชกิจจานุเบกษา มาตรา ๑๓ ใหมัสยิดที่ไดจดทะเบียนจัดตั้งตอพนักงานเจาหนาที่แลวมีฐานะเปนนิติบุคคลโดยใหคณะกรรมการอิสลามประจํามัสยิดเปนผูแทนของมัสยิดในกิจการที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอก เพื่อการนี้คณะกรรมการอิสลามประจํามัสยิดอาจมอบหมายใหกรรมการคนหนึ่งหรือหลายคนทําการแทนก็ได มาตรา ๑๔ มัสยิดที่เปนนิติบุคคลอาจเลิกไดโดยการจดทะเบียนเลิกมัสยิดตอพนักงานเจาหนาที่ บรรดาทรัพยสินของมัสยิดที่เลิกตามวรรคหนึ่ง ใหโอนไปยังมัสยิดที่เปนนิติบุคคลที่อยูใกลที่สุด ถาไมอาจทําไดใหโอนไปยังมัสยิดที่เปนนิติบุคคลที่อยูในลําดับถัดไป เวนแตเปนทรัพยสินที่ไดมาโดยมีผูอุทิศใหและผูอุทิศใหไดแสดงเจตนาไวเปนอยางอื่น มาตรา ๑๕ มัสยิดที่ไดจดทะเบียนแลวใหดําเนินการคัดเลือกกรรมการอิสลามประจํามัสยิดหมวด ๕ ภายในเกาสิบวันนับแตวันจดทะเบียน

หมวด ๓ คณะกรรมการกลางอิสลามแหงประเทศไทย

_______________ มาตรา ๑๖ ใหมีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกวา “คณะกรรมการกลางอิสลามแหงประเทศไทย” ประกอบดวยจุฬาราชมนตรีเปนประธานกรรมการและกรรมการ ซ่ึงทรงพระกรุณาโปรดเกลาฯ แตงตั้งจากกรรมการอิสลามประจําจังหวัด ซ่ึงเปนผูแทนคณะกรรมการอิสลามประจํา

Page 103: หน้าปก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2553/19590.pdf · 2010. 5. 31. · logically analysed in comparison to theory and categorised in different aspects. The

เลม ๑๑๔ ตอนที่ ๖๕ ก ราชกิจจานเุบกษา ๙ พฤศจิกายน ๒๕๔๐ ____________________________________________________

93

จังหวัด จังหวัดละหนึ่งคนและจากกรรมการอื่นซึ่งคัดเลือกโดยจุฬาราชมนตรีมีจํานวนหนึ่งในสามของจํานวนผูแทนคณะกรรมการอิสลามประจําจังหวัด ถามีเศษใหปดทิ้ง การคัดเลือกผูแทนคณะกรรมการอิสลามประจําจังหวัด และการคัดเลือกกรรมการอื่นตามวรรคหนึ่งใหเปนไปตามหลักเกณฑและวิธีการที่กําหนดในกฎกระทรวง ใหคณะกรรมการเลือกกรรมการดวยกันเองเปนรองประธานกรรมการ เลขาธิการ และตําแหนงอื่นตามความจําเปน มาตรา ๑๗ กรรมการกลางอิสลามแหงประเทศไทยตองมีคุณสมบัติและไมมีลักษณะตองหาม

(๑) มีคุณสมบัติและไมมีลักษณะตองหามตามมาตรา ๗ ยกเวน (๒) และ (๑๐) (๒) มีอายุไมต่ํากวาสามสิบปบริบูรณ มาตรา ๑๘ คณะกรรมการกลางอิสลามแหงประเทศไทยมีอํานาจหนาที่ ดังตอไปนี้ (๑) ใหคําปรึกษาแกรัฐมนตรีวาการกระทรวงมหาดไทยและรัฐมนตรีวาการ

กระทรวงศึกษาธิการในการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ (๒) ใหคําปรึกษาหรือขอแนะนําเกี่ยวกับศาสนาอิสลามแกคณะกรรมการอิสลามประจําจังหวัดและคณะกรรมการอิสลามประจํามัสยิด (๓) แตงตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อปฏิบัติงานตามที่คณะกรรมการกลางอิสลามแหงประเทศไทยมอบหมาย (๔) ออกระเบียบเกี่ยวกับการจัดการทรัพยสินและการจัดหาผลประโยชนของสํานักงานคณะกรรมการอิสลามประจําจังหวัดและมัสยิด (๕) ออกระเบียบวิธีการดําเนินงานและควบคุมดูแลการบริหารงานของคณะกรรมการอิสลามประจําจังหวัดและคณะกรรมการอิสลามประจํามัสยิด (๖) ปฏิบัติหนาที่เปนคณะกรรมการอิสลามประจําจังหวัดในจังหวัดที่ไมมีคณะกรรมการอิสลามประจําจังหวัด ในการนี้คณะกรรมการกลางอิสลามแหงประเทศไทยจะมอบหมายใหคณะกรรมการอิสลามจังหวัดที่ใกลเคียงปฏิบัติหนาที่แทนก็ได (๗) พจิารณาวินิจฉัยคํารองคัดคานตามมาตรา ๔๑ (๘) จัดทําทะเบียนทรัพยสิน เอกสารและบัญชีรายรับรายจายของสํานักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแหงประเทศไทยใหถูกตองตามความเปนจริง (๙) ออกประกาศและใหคํารับรองเกี่ยวกับกิจการศาสนาอิสลาม (๑๐) สงเสริมสนับสนุนการจัดกิจกรรมทางศาสนา และการศึกษาศาสนาอิสลาม

Page 104: หน้าปก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2553/19590.pdf · 2010. 5. 31. · logically analysed in comparison to theory and categorised in different aspects. The

เลม ๑๑๔ ตอนที่ ๖๕ ก ราชกิจจานเุบกษา ๙ พฤศจิกายน ๒๕๔๐ ____________________________________________________

94

(๑๑) ประสานงานกับหนวยราชการที่เกี่ยวของในกิจการที่เกี่ยวกับศาสนาอิสลาม (๑๒) ปฏิบัติหนาที่อ่ืนตามที่กําหนดไวในพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๑๙ กรรมการกลางอิสลามแหงประเทศไทยซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกลาฯ แตงตั้งมีวาระการดํารงตําแหนงหกป และอาจไดรับแตงตั้งอีกได เมื่อกรรมการพนจากตําแหนงตามวาระ ใหมีการคัดเลือกเพื่อดําเนินการแตงตั้งใหมภายใน เกาสิบวันนับแตวันครบกําหนดตามวาระ ในระหวางที่ยังมิไดมีการแตงตั้งกรรมการใหม ใหกรรมการนั้นทําหนาที่ไปกอนจนกวาจะไดทรงพระกรุณาโปรดเกลาฯ แตงตั้งกรรมใหม มาตรา ๒๐ นอกจากการพนจากตําแหนงตามวาระตามมาตรา ๑๙ กรรมการกลางอิสลามกลางแหงประเทศไทย พนจากตําแหนงเมื่อ

(๑) ตาย (๒) ลาออก (๓) คณะกรรมการกลางอิสลามแหงประเทศไทยมีมติใหพันจากตําแหนงเพราะขาด

คุณสมบัตหิรือมีลักษณะตองหามตามมาตรา ๑๗ ในกรณีที่ตําแหนงกรรมการวางลงเพราะเหตุอ่ืนใด นอกจากถึงคราวออกตามวาระใหมีการคัดเลือกดําเนินการแตงตั้งกรรมการแทนตําแหนงที่วางภายในเกาสิบวันนับแตวันที่ตําแหนงวาง ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑและวิธีการที่กําหนดในกฎกระทรวง เวนแตระยะเวลาการดํารงตําแหนงที่วางเหลือไมเกินหนึ่งรอยแปดสิบวันจะไมคัดเลือกกรรมการแทนตําแหนงที่วางก็ได กรรมการที่ไดรับแตงตั้งแทนอยูในตําแหนงไดเพียงเทาวาระที่เหลืออยูของผูซ่ึงตนแทน ใหกระทรวงมหาดไทยประกาศรายชื่อกรรมการกลางอิสลามแหงประเทศไทยที่พนจากตําแหนงในราชกิจจานุเบกษา มาตรา ๒๑ ในการประชุมคณะกรรมการกลางอิสลามแหงประเทศไทยตองมีกรรมการมาประชุมไมนอยกวากึ่งหนึ่งของจํานวนกรรมการทั้งหมดเทาที่มีอยูจึงจะเปนองคประชุม ถาประธานกรรมการไมอยูหรือไมอาจปฏิบัติหนาที่ได ใหรองประธานกรรมการปฏิบัติหนาที่แทนถาประธานกรรมการและรองประธานกรรมการไมอยูหรือไมอาจปฏิบัติหนาที่ได ใหกรรมการที่มาประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเปนประธานในที่ประชุม มติของที่ประชุมใหถือเสียงขางมาก กรรมการคนหนึ่งใหมีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน ถาคะแนนเทากันใหประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเปนเสียงชี้ขาด แตถาเปนมติใหกรรมการกลางอิสลามแหงประเทศไทยพนจากตําแหนง มติดังกลาวตองมีเสียงไมนอยกวาสามในสี่ของจํานวนกรรมการทั้งหมดเทาที่มีอยู

Page 105: หน้าปก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2553/19590.pdf · 2010. 5. 31. · logically analysed in comparison to theory and categorised in different aspects. The

เลม ๑๑๔ ตอนที่ ๖๕ ก ราชกิจจานเุบกษา ๙ พฤศจิกายน ๒๕๔๐ ____________________________________________________

95

มาตรา ๒๒ ใหมีสํานักงานคณะกรรมการอิสลามแหงประเทศไทยมีฐานะเปนนิติบุคคลมีหนาที่เกี่ยวกับกิจการของคณะกรรมการกลางอิสลามแหงประเทศไทย โดยมีคณะกรรมการกลางอิสลามแหงประเทศไทยเปนผูแทนของสํานักงานในกิจการที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอก เพื่อการนี้คณะกรรมการกลางอิสลามแหงประเทศไทยอาจมีมติมอบหมายใหกรรมการคนหนึ่งหรือหลายคนทําการแทนก็ได และใหเลขาธิการคณะกรรมการกลางอิสลามแหงประเทศไทยเปนผูรับผิดชอบในกิจการของสํานักงาน

หมวด ๔ คณะกรรมการอิสลามประจําจังหวดั

_______________

มาตรา ๒๓ จังหวัดใดมีราษฎรนับถือศาสนาอิสลามและมีมัสยิดตามมาตรา ๑๓ ไมนอยกวาสามมัสยิด ใหคณะกรรมการกลางอิสลามแหงประเทศไทยประกาศใหจังหวัดนั้นมีคณะกรรมการอิสลามประจําจังหวัดคณะหนึ่งประกอบดวยกรรมการมีจํานวนไมนอยกวาเกาคนแตไมเกินสามสิบคน การคัดเลือกกรรมการอิสลามประจําจังหวัด ใหกระทรวงมหาดไทยดําเนินการใหอิหมามประจํามัสยิดในจังหวัดนั้นเปนผูคัดเลือก ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑและวิธีการที่กําหนดในกฎกระทรวง ใหคณะกรรมการเลือกกรรมการดวยกันเปนประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ เลขานุการและตําแหนงอื่นตามความจําเปน ใหกระทรวงมหาดไทยประกาศรายชื่อผูไดรับการคัดเลือกเปนประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ เลขานุการ และกรรมการอิสลามประจําจังหวัดในราชกิจจานุเบกษา มาตรา ๒๔ กรรมการอิสลามประจําจังหวัดตองมีคุณสมบัติและไมมีลักษณะตองหาม ดังตอไปนี้

(๑) มีคุณสมบัติและไมมีลักษณะตองหามตามมาตรา ๑๗ (๒) เปนสัปปุรุษประจํามัสยิดในจังหวัดนั้นมาแลวไมนอยกวาหนึ่งปกอนวันคัดเลือก (๓) มีภูมิลําเนาอยูในจังหวัดนั้นมาแลวไมนอยกวาหนึ่งปกอนวันคัดเลือก มาตรา ๒๕ กรรมการอิสลามประจําจังหวัดมีวาระการดํารงตําแหนงหกป เมื่อตําแหนง

กรรมการอิสลามประจําจังหวัดวางลงใหมีการคัดเลือกกรรมการแทนภายในเกาสิบวันนับแตวันที่ตําแหนงวาง ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑและวิธีการที่กําหนดในกฎกระทรวง เวนแตตําแหนงกรรมการ

Page 106: หน้าปก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2553/19590.pdf · 2010. 5. 31. · logically analysed in comparison to theory and categorised in different aspects. The

เลม ๑๑๔ ตอนที่ ๖๕ ก ราชกิจจานเุบกษา ๙ พฤศจิกายน ๒๕๔๐ ____________________________________________________

96

วางลงกอนถึงกําหนดตามวาระไมเกินหนึ่งรอยแปดสิบวัน และยังมีกรรมการเหลืออยูไมนอยกวากึ่งหนึ่งของจํานวนกรรมการที่ไดรับการคัดเลือก จะไมใหมีการคัดเลือกกรรมการแทนตําแหนงที่วางก็ได กรรมการที่ไดรับการคัดเลือกแทนอยูในตําแหนงเทากับวาระที่เหลืออยูของผูซ่ึงตนแทน มาตรา ๒๖ ในจังหวัดที่มีคณะกรรมการอิสลามประจําจังหวัด ใหคณะกรรมการมีอํานาจหนาที่ดังตอไปนี้

(๑) ใหคําปรึกษาและเสนอความเห็นเกี่ยวกับศาสนาอิสลามตอผูวาราชการจังหวัด (๒) กํากับดูแลและตรวจตราการปฏิบัติงานของคณะกรรมการอิสลามประจํามัสยิดใน

จังหวัดและจังหวัดอื่นตามที่คณะกรรมการกลางอิสลามแหงประเทศไทยมอบหมาย (๓) ประนีประนอมหรือช้ีขาดคํารองทุกขของสัปปุรุษประจํามัสยิดซึ่งเห็นวาไมไดรับ

ความเปนธรรมจากคณะกรรมการอิสลามประจํามัสยิด (๔) กํากับดูแลการคัดเลือกกรรมการอิสลามประจํามัสยิดใหเปนไปโดยเรียบรอย (๕) พิจารณาแตงตั้งและถอดถอนกรรมการอิสลามประจํามัสยิด (๖) สอบสวนพิจารณาใหกรรมการอิสลามประจํามัสยิดพนจากตําแหนงตามมาตรา ๔๐(๔) (๗) ส่ังใหกรรมการอิสลามประจํามัสยิดพักหนาที่ระหวางถูกสอบสวน (๘) พิจารณาเกี่ยวกับการจัดตั้ง การยาย การรวม และการเลิกมัสยิด (๙) แตงตั้งผูรักษาการแทนในตําแหนง อิหมาม คอเต็บ และบิหล่ัน เมื่อตําแหนงดังกลาว (๑๐) ออกหนังสือรับรองการสมรสและการหยาตามบัญญัติแหงศาสนาอิสลาม (๑๑) ประนีประนอมขอพิพาทเกี่ยวกับเรื่องครอบครัวและมรดกตามบัญญัติแหงศาสนา

อิสลามเมื่อไดรับการรองขอ (๑๒) จัดทําทะเบียนทรัพยสิน เอกสารและบัญชีรายรับ รายจาย ของสํานักงาน

คณะกรรมการอิสลามประจําจังหวัดใหถูกตองครบถวนเปนปจจุบัน และรายงานผลการดําเนินงาน ฐานะการเงินและทรัพยสินใหคณะกรรมการกลางอิสลามแหงประเทศไทยทราบปละหนึ่งครั้งภายในเดือนมีนาคมของทุกป

(๑๓) ออกประกาศและใหคํารับรองเกี่ยวกับกิจการศาสนาอิสลามในจังหวัด มาตรา ๒๗ นอกจากการพนจากตําแหนงตามวาระตามมาตรา ๒๕ กรรมการอิสลาม

ประจําจังหวัดพนจากตําแหนงเมื่อ (๑) ตาย (๒) ลาออก

Page 107: หน้าปก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2553/19590.pdf · 2010. 5. 31. · logically analysed in comparison to theory and categorised in different aspects. The

เลม ๑๑๔ ตอนที่ ๖๕ ก ราชกิจจานเุบกษา ๙ พฤศจิกายน ๒๕๔๐ ____________________________________________________

97

(๓) คณะกรรมการกลางอิสลามแหงประเทศไทยมีมติใหพนจากตําแหนงเพราะขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะตองหามตามมาตรา ๒๔

ใหกระทรวงมหาดไทยประกาศรายชื่อกรรมการอิสลามประจําจังหวัดที่พนจากตําแหนงในราชกิจจานุเบกษา

มาตรา ๒๘ การประชุมคณะกรรมการอิสลามประจําจังหวัด ใหนํามาตรา ๒๑ มาใชบังคับโดยอนุโลม

มาตรา ๒๙ ใหมีสํานักงานคณะกรรมการอิสลามประจําจังหวัดมีฐานะเปนนิติบุคคลมีหนาที่เกี่ยวกับกิจการของคณะกรรมการอิสลามประจําจังหวัด โดยมีคณะกรรมการอิสลามประจําจังหวัดเปนผูแทนของสํานักงานในกิจการที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอก เพื่อากรนี้คณะกรรมการอิสลามประจําจังหวัดอาจมีมติมอบหมายใหกรรมการคนหนึ่งหรือหลายคนทําการแทนก็ได และใหเลขานุการคณะกรรมการกลางอิสลามประจําจังหวัดเปนผูรับผิดชอบในกิจการของสํานักงาน

หมวด ๕ คณะกรรมการอิสลามประจํามัสยิด

_______________

มาตรา ๓๐ ใหมีคณะกรรมการอิสลามประจํามัสยิดคณะหนึ่ง ประกอบดวย (๑) อิหมามเปนประธานกรรมการ (๒) คอเต็บเปนรองประธานกรรมการ (๓) บิหล่ันเปนรองประธานกรรมการและ (๔) กรรมการอื่นตามจํานวนที่ที่ประชุมสัปปุรุษประจํามัสยิดนั้นกําหนดจํานวนไมนอย

กวาหกคนแตไมเกินสิบสองคน ใหสัปปุรุษประจํามัสยิดซึ่งมีอายุตั้งแตสิบหาปบริบูรณขึ้นไป ประชุมกันคัดเลือกผูดํารงตําแหนงตามวรรคหนึ่ง ใหคณะกรรมการอิสลามประจํามัสยิดเลือกกรรมการตาม (๔) เปนเลขานุการหนึ่งคน นายทะเบียนหนึ่งคน เหรัญญิกหนึ่งคน และตําแหนงอื่นตามความจําเปน ใหประธานกรรมการอิสลามประจําจังหวัดหรือกรรมการอิสลามประจําจังหวัดที่ไดรับมอบหมายจากประธานกรรมการอิสลามประจําจังหวัดเปนประธานในที่ประชุมสัปปุรุษประจํา

Page 108: หน้าปก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2553/19590.pdf · 2010. 5. 31. · logically analysed in comparison to theory and categorised in different aspects. The

เลม ๑๑๔ ตอนที่ ๖๕ ก ราชกิจจานเุบกษา ๙ พฤศจิกายน ๒๕๔๐ ____________________________________________________

98

มัสยิด เพื่อดําเนินการคัดเลือกกรรมการอิสลามประจํามัสยิด แลวเสนอคณะกรรมการอิสลามประจําจังหวัดเพื่อพิจารณาแตงตั้ง ทั้งนี้ ตามระเบียบที่คณะกรรมการกลางอิสลามแหงประเทศไทยกําหนด มาตรา ๓๑ อิหมาม คอเต็บ และบิหล่ัน ตองมีคุณสมบัติและไมมีลักษณะตองหาม ดังตอไปนี้

(๑) มีคุณสมบัติและไมมีลักษณะตองหามตามมาตรา ๑๗ (๒) อานพระคัมภีรอัลกุรอานไดถูกตอง (๓) สามารถนําในการปฏิบัติศาสนกิจไดถูกตองตามบัญญัติแหงศาสนาอิสลาม (๔) มีความสามารถแสดงธรรมได (๕) เปนสัปปุรุษประจํามัสยิดนั้นมาแลวไมนอยกวาเกาสิบวันกอนวันคัดเลือก อิหมาม คอ

เต็บ และบิหล่ัน ไมถือเปนนักพรตหรือนักบวชการพนจากตําแหนงของ อิหมาม คอเต็บ และบิหล่ัน ใหเปนไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกลางอิสลามแหงประเทศไทยกําหนด มาตรา ๓๒ กรรมการตามมาตรา ๓๐ (๔) ตองมีคุณสมบัติและไมมีลักษณะตองหาม ดังตอไปนี้ (๑) มีคุณสมบัติและไมมีลักษณะตองหามตามมาตรา ๑๗ (๒) เปนสัปปุรุษประจํามัสยิดนั้นมาแลวไมนอยกวาเกาสิบวันกอนวันคัดเลือก (๓) มีภูมิลําเนาอยูในจังหวัดที่มัสยิดนั้นตั้งอยูไมนอยกวาเกาสิบวันกอนวันคัดเลือก มาตรา ๓๓ เมื่อตําแหนงอิหมาม คอเต็บ หรือบิหล่ัน วางลง ใหนําวิธีการตามที่บัญญัติในมาตรา ๓๐ มาใชเพื่อดําเนินการคัดเลือกผูดํารงตําแหนงดังกลาวแทนภายในหนึ่งรอยแปดสิบวันนับแตวันที่ตําแหนงวาง มาตรา ๓๔ กรรมการตามมาตรา ๓๐ (๔) มีวาระการดํารงตําแหนงสี่ป เมื่อตําแหนงกรรมการวางลง ใหนําวิธีการตามที่บัญญัติในมาตรา ๓๐ มาใชเพื่อดําเนินการคัดเลือกกรรมการแทนภายในหนึ่งรอยแปดสิบวันนับแตวันที่ตําแหนงวาง เวนแตตําแหนงกรรมการดังกลาววางลงเนื่องจากคณะกรรมการอิสลามประจําจังหวัดมีมติใหพนจากตําแหนงตามมาตรา ๔๐ (๔) และผูที่พนจากตําแหนงไดยื่นคํารองคัดคานตอคณะกรรมการกลางอิสลามแหงประเทศไทยตามมาตรา ๔๑ ระยะเวลาหนึ่งรอยแปดสิบวันใหนับแตวันที่คณะกรรมการกลางอิสลามแหงประเทศไทยมีมติถาตําแหนงกรรมการวางลงกอนถึงกําหนดตามวาระไมเกินหนึ่งรอยแปดสิบวันจะไมดําเนินการคัดเลือกกรรมการแทนตําแหนงที่วางก็ได กรรมการที่ไดรับการคัดเลือกแทนอยูในตําแหนงเทากับวาระที่เหลืออยูของผูซ่ึงตนแทน

Page 109: หน้าปก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2553/19590.pdf · 2010. 5. 31. · logically analysed in comparison to theory and categorised in different aspects. The

เลม ๑๑๔ ตอนที่ ๖๕ ก ราชกิจจานเุบกษา ๙ พฤศจิกายน ๒๕๔๐ ____________________________________________________

99

มาตรา ๓๕ คณะกรรมการอิสลามประจํามัสยิดมีอํานาจหนาที่ ดังตอไปนี้ (๑) บํารุงรักษามัสยิดและทรัพยสินของมัสยิดใหเรียบรอย (๒) วางระเบียบปฏิบัติภายในของมัสยิดเพื่อใหการดําเนินงานของมัสยิดเปนไปดวยความเรียบรอย (๓) ปฏิบัติตามคําแนะนําชี้แจงของคณะกรรมการกลางอิสลามแหงประเทศไทยและคณะกรรมการอิสลามประจําจังหวัดในเมื่อไมขัดตอบัญญัติแหงศาสนาอิสลามและกฎหมาย (๔) สนับสนุนสัปปุรุษในการปฏิบัติศาสนกิจ สงเสริมใหเกิดความสามัคคีและชวยเหลือซ่ึงกันและกันในทางที่ชอบตามบัญญัติแหงศาสนาอิสลาม (๕) พิจารณามีมติรับมุสลิมเขาเปนสัปปุรุษประจํามัสยิด (๖) อํานวยความสะดวกและอบรมสั่งสอนใหสัปปุรุษประจํามัสยิดปฏิบัติศาสนกิจโดยถูกตองเครงครัด (๗) ประนีประนอมขอพิพาทระหวางสัปปุรุษประจํามัสยิดเมื่อไดรับการรองขอ (๘) จัดใหมีและรักษาสมุดทะเบียนสัปปุรุษประจํามัสยิด และตรวจตราแกไขเพิ่มเติมสมุดทะเบียนดังกลาวใหถูกตองตรงตามความเปนจริง (๙) จําหนายชื่อสัปปุรุษประจํามัสยิดออกจากทะเบียน เมื่อไดสอบสวนแลวปรากฏวาผูนั้นกระทําการฝาฝนหรือไมปฏิบัติใหถูกตองตามบัญญัติแหงศาสนาอิสลาม (๑๐) จัดใหมีทะเบียนทรัพยสิน เอกสาร และบัญชีรายรับรายจายของมัสยิดใหถูกตองตรงความเปนจริง และจัดทํารายงานผลการดําเนินงาน ฐานะการเงิน และทรัพยสินของมัสยิด แลวรายงานใหคณะกรรมการอิสลามประจําจังหวัดทราบภายในเดือนมีนาคมของทุกป (๑๑) ดูดวงจันทรและแจงผลการดูดวงจันทรตอคณะกรรมการอิสลามประจําจังหวัด (๑๒) สงเสริมการศึกษาและจัดกิจกรรมที่ไมขัดตอบัญญัติแหงศาสนาอิสลาม มาตรา ๓๖ สัปปุรุษประจํามัสยิดผูถูกจําหนายชื่อตามมาตรา ๓๕ (๙) มีสิทธิยื่นคํารองคัดคานตอคณะกรรมการอิสลามประจําจังหวัดภายในสามสิบวันนับแตวันที่ไดประกาศใหจําหนายชื่อออกจากทะเบียน และใหคณะกรรมการอิสลามประจําจังหวัดพิจารณาวินิจฉัยใหเสร็จภายในหนึ่งรอยยี่สิบวันนับแตวันที่ไดรับคํารองคัดคาน มติของคณะกรรมการอิสลามประจําจังหวัดใหเปนที่สุดการยื่นคํารองคัดคานและการพิจารณาวินิจฉัยคํารองคัดคานตามวรรคหนึ่ง ใหเปนไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกลางอิสลามแหงประเทศไทยกําหนด มาตรา ๓๗ อิหมามมีอํานาจหนาที่ ดังตอไปนี้ (๑) ปฏิบัติหนาที่ใหเปนไปตามบัญญัติแหงศาสนาอิสลาม

Page 110: หน้าปก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2553/19590.pdf · 2010. 5. 31. · logically analysed in comparison to theory and categorised in different aspects. The

เลม ๑๑๔ ตอนที่ ๖๕ ก ราชกิจจานเุบกษา ๙ พฤศจิกายน ๒๕๔๐ ____________________________________________________

100

(๒) ปกครองดูแลและแนะนําเจาหนาที่ของมัสยิดใหปฏิบัติงานในหนาที่ใหเรียบรอย (๓) แนะนําใหสัปปุรุษประจํามัสยิดปฏิบัติใหถูกตองตามบัญญัติแหงศาสนาอิสลามและกฎหมาย (๔) อํานวยความสะดวกแกมุสลิมในการปฏิบัติศาสนกิจ (๕) ส่ังสอนและอบรมหลักธรรมทางศาสนาอิสลามแกบรรดาสัปปุรุษประจํามัสยิด มาตรา ๓๘ คอเต็บมีหนาที่ปฏิบัติใหเปนไปตามบัญญัติแหงศาสนาอิสลามในการแสดงธรรมแกสัปปุรุษประจํามัสยิด มาตรา ๓๙ บิหล่ันมีหนาที่ปฏิบัติใหเปนไปตามบัญญัติแหงศาสนาอิสลามในการประกาศเชิญชวนใหมุสลิมปฏิบัติศาสนกิจตามเวลา มาตรา ๔๐ กรรมการอิสลามประจํามัสยิดพนจากตําแหนงเมื่อ (๑) ครบกําหนดวาระตามมาตรา ๓๔ วรรคหนึ่ง สําหรับกรรมการอื่นตามมาตรา ๓๐ (๔) ในคณะกรรมการอิสลามประจํามัสยิด (๒) ตาย (๓) ลาออก (๔) คณะกรรมการอิสลามประจําจังหวัดมีมติใหพนจากตําแหนงเนื่องจากขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะตองหามตามมาตรา ๓๒ (๕) สัปปุรุษประจํามัสยิดตามมาตรา ๓๐ วรรคสอง จํานวนเกินกวากึ่งหนึ่งยื่นคํารองตอคณะกรรมการอิสลามประจําจังหวัดขอใหพนจากตําแหนง และคณะกรรมการอิสลามประจําจังหวัดสอบสวนและวินิจฉัยแลวมีมติใหพนจากตําแหนง (๖) คณะกรรมการอิสลามประจําจังหวัดสอบสวนแลวเห็นวามีความประพฤติในทางที่จะนํามาซึ่งความเสื่อมเสียแกมัสยิด หรือบกพรองตอหนาที่ หรือดําเนินกิจการของมัสยิดไปในทางไมสงบเรียบรอย หรือขัดตอหลักการของศาสนาอิสลาม หรือกระทําการอันอาจเสื่อมเสียประโยชนของมัสยิด และคณะกรรมการอิสลามประจําจังหวัดวินิจฉัยแลวมีมติใหพนจากตําแหนง ในกรณีที่สอบสวนแลวเห็นวาพฤติการณแหงความผิดที่ไดกระทํายังไม ถึงขั้นใหพนจากตําแหนง คณะกรรมการอิสลามประจําจังหวัดอาจวินิจฉัยใหภาคทัณฑไวกอนก็ได มาตรา ๔๑ กรรมการอิสลามประจํามัสยิดซึ่งพนจากตําแหนงตามมาตรา ๔๐ (๔) (๕) และ (๖) มีสิทธิยื่นคํารองคัดคานตอคณะกรรมการกลางอิสลามแหงประเทศไทยภายในสามสิบวันนับแตวันที่ไดรับทราบคําสั่ง และใหคณะกรรมการกลางอิสลามแหงประเทศไทยพิจารณาวินิจฉัยใหเสร็จภายในเกาสิบวันนับแตวันที่ไดรับคํารองคัดคาน มติของคณะกรรมการกลางอิสลามแหง

Page 111: หน้าปก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2553/19590.pdf · 2010. 5. 31. · logically analysed in comparison to theory and categorised in different aspects. The

เลม ๑๑๔ ตอนที่ ๖๕ ก ราชกิจจานเุบกษา ๙ พฤศจิกายน ๒๕๔๐ ____________________________________________________

101

ประเทศไทยใหเปนที่สุดการยื่นคํารองคัดคาน และการวินิจฉัยคํารองคัดคานตามวรรคหนึ่ง ใหเปนไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกลางอิสลามแหงประเทศไทยกําหนด มาตรา ๔๒ การประชุมคณะกรรมการอิสลามประจํามัสยิด ใหนํามาตรา ๒๑ มาใชบังคับโดยอนุโลม

Page 112: หน้าปก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2553/19590.pdf · 2010. 5. 31. · logically analysed in comparison to theory and categorised in different aspects. The

เลม ๑๑๔ ตอนที่ ๖๕ ก ราชกิจจานเุบกษา ๙ พฤศจิกายน ๒๕๔๐ ____________________________________________________

102

บทเฉพาะกาล ________________

มาตรา ๔๓ ใหผูดํารงตําแหนงจุฬาราชมนตรีอยูในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใชบังคับ ดํารงตําแหนงตอไปจนกวาจะพนจากตําแหนงตามมาตรา ๙ ใหกรรมการกลางอิสลามแหงประเทศไทยและกรรมการอิสลามประจําจังหวัดซึ่งดํารงตําแหนงอยูในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใชบังคับดํารงตําแหนงตอไปอีกสองปนับแตวันที่พระราชบัญญัตินี้ใชบังคับใหกรรมการอิสลามประจํามัสยิดซึ่งดํารงตําแหนงอยูในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใชบังคับดํารงตําแหนงตอไปจนกวาจะพนจากตําแหนงตามมาตรา ๔๐ มาตรา ๔๔ ใหมัสยิดซึ่งไดจดทะเบียนตามพระราชบัญญัติมัสยิดอิสลาม พ.ศ. ๒๔๙๐ เปนมัสยิดตามมาตรา ๑๓ แหงพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๔๕ ให “อิสลามวิทยาลัยแหงประเทศไทย” ซ่ึงจัดตั้งขึ้นตามพระราชกฤษฎีกาวาดวยการศาสนูปถัมภฝายอิสลาม พุทธศักราช ๒๔๘๘ เปนอิสลามวิทยาลัยตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๔๖ บรรดากฎกระทรวง ระเบียบ ประกาศ และคําสั่งที่ออกตามพระราชบัญญัติมัสยิดอิสลาม พ.ศ. ๒๔๙๐ และพระราชกฤษฎีกาวาดวยการศาสนูปถัมภฝายอิสลาม พุทธศักราช ๒๔๘๘ ใหใชบังคับโดยอนุโลมกอนจนกวาจะมีกฎกระทรวง ระเบียบ ประกาศ และคําสั่งตามพระราชบัญญัตินี้ แตทั้งนี้ตองไมเกินสองปนับแตวันที่พระราชบัญญัตินี้ใชบังคับ

ผูรับสนองพระบรมราชโองการ พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ

นายกรัฐมนตร ี

หมายเหตุ - เหตุผลในการประกาศใชพระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากพระราชบัญญัติมัสยิดอิสลาม พ.ศ. ๒๔๙๐ พระราชกฤษฎีกาวาดวยการศาสนูปถัมภฝายอิสลาม พุทธศักราช ๒๔๘๘ และพระราชกฤษฎีกาวาดวยการศาสนูปถัมภฝายอิสลาม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๔๙๑ ไดใชบังคับมาเปนเวลานานไมเหมาะสมกับสภาวการณปจจุบัน สมควรปรับปรุงใหเหมาะสมยิ่งขึ้น จึงจําเปนตองตราพระราชบัญญัตินี้

Page 113: หน้าปก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2553/19590.pdf · 2010. 5. 31. · logically analysed in comparison to theory and categorised in different aspects. The

เลม ๑๑๔ ตอนที่ ๖๕ ก ราชกิจจานเุบกษา ๙ พฤศจิกายน ๒๕๔๐ ____________________________________________________

103

Page 114: หน้าปก - NIDAlibrary1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2553/19590.pdf · 2010. 5. 31. · logically analysed in comparison to theory and categorised in different aspects. The

ประวัติผูวิจัย

ช่ือ – นามสกุล นายอนชุา หวังภักด ี

ประวัติการศึกษา Al – Azhar University Cairo Egypt, 1995 มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบรีุ, 2551 ประวัติการทํางาน (อดตี) เจาหนาทีฝ่ายตางประเทศ ตําแหนง สถานทูตเลบานอนประจําประเทศไทย, กรุงเทพ (ปจจุบัน) อาจารยสอนภาษาอาหรับ โรงเรียนมิฟตาฮุลอุลูมิดดีนียะห, กรุงเทพ ที่อยูปจจุบนั 577/5, ถนนสุขุมวิท 71, แขวงคลองตันเหนือ, เขตวัฒนา, กรุงเทพมหานคร - 10110