gothicg53.files.wordpress.com€¦  · web view2013. 10. 8. · 3.gif(graphics interchange format)...

Post on 19-Feb-2021

1 Views

Category:

Documents

0 Downloads

Preview:

Click to see full reader

TRANSCRIPT

คณะวิทยาการจัดการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยนครพนมชื่อ นางสาวนฤนาท โมคมูลรหัสนักศึกษา 564070120519ระดับการศึกษา ปริญญาตรีหลักสูตร การจัดการ

เรื่อง ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอินเตอร์เน็ตวิชา คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศธุรกิจ (30702213)สอนโดยอาจารย์ สุพรรณี เขียวไกร

อาจารย์ที่ปรึกษาอาจารย์ กรรณิกา สิงห์ศรี

คำนำ

เนื่องจากในสังคมปัจจุบันเทคโนโลยีได้มีบทบาทต่อสังคมเป็นอย่างสูงทั้งด้านการเรียนรู้,การบันเทิงหรือแม้กระทั่งเรื่องความสะดวกสบายในการสร้างสรรค์งานต่างๆที่จำเป็นอย่างมากต่อการดำรงชีวิตของคนในปัจจุบันซึ่งรายงานชุดนี้ทางคณะผู้จัดทำได้จัดทำขึ้นโดยมีจุดประสงค์อยากให้ผู้อ่านได้รับรู้และเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องความรู้ที่เกี่ยวกับกราฟิกในชีวิตประจำวันไม่ว่าจะในด้านการใช้งานหรือวัตถุประสงค์ในการใช้งาน โดยคณะผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่าผู้อ่านจะสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ชีวิตประจำวันหรือในหน้าที่การงานไม่มากก็น้อย

หากรายงานชุดนี้มีบกพร่องประการใดก็ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย

สารบัญ

· ประวัติความเป็นมาของคอมพิวเตอร์กราฟิก………………………………………….1

· บทบาทและความสำคัญของคอมพิวเตอร์กราฟิก…………………………………..2

· ความสำคัญของคอมพิวเตอร์กราฟิก…………………………………………………….3

· ความหมายของคอมพิวเตอร์กราฟิก…………………………………………………….4

· หลักการทำงานและการแสดงผล…………………………………………………………5

· สีและแสงที่ใช้ในงานกราฟิก……………………………………………………………….6

· ชนิดและรูปแบบไฟล์กราฟิก………………………………………………………………7

· การประยุกต์ใช้งานกราฟิก………………………………………………………………..9

1. ประวัติความเป็นมาของคอมพิวเตอร์กราฟิก

เมื่อมนุษย์เริ่มรู้จักการขีดเขียน ขูด จารึกเป็นร่องรอย ให้ปรากฏเป็นหลักฐานในปัจจุบัน การออกแบบกราฟิกสมัยก่อนประวัติศาสตร์ จึงเป็นการเริ่มต้นการสื่อความหมายด้วยการวาดเขียน ให้ผู้อ่านตีความหมายได้ เรียกว่า  “ Pictogram ”

จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ พบว่า เมื่อล้านปีมาแล้วมนุษย์โฮโมอีเร็คทุส ( Homo Erectus ) ได้ใช้ท่าทางและสิ่งของตามธรรมชาติ ในการสื่อความหมายต่อกัน 

  เมื่อประมาณแสนปีมาแล้ว   เผ่าพันธุ์ของมนุษย์ในยุคปัจจุบัน หรือที่เรียกว่า  โฮโมซาเปี้ยน (Homo Sapiens) ได้ใช้สีตามธรรมชาติเขียนลายเส้นบนหน้าตาและร่างกาย  ภาพเหล่านี้ช่วยให้การสื่อความหมายง่ายและรวดเร็วขึ้น ซึ่งถือเป็นพื้นฐานในการวิวัฒนาการ มาเป็นภาษาพุดและภาษาเขียนในสมัยต่อมา  

ภาพบนผนังถ้ำ   ลายเส้นตามหน้าตาและร่างกาย   ลายเส้นบนเครื่องมือ  เป็นสิ่งที่ภาษาในปัจจุบันเรียกว่า  งานกราฟิก (Graphic)  จะเห็นได้ว่า งานกราฟิกเป็นภาพและสัญลักษณ์ต่าง ๆ ที่ช่วยให้มนุษย์สื่อความหมายและถ่ายทอดประสบการณ์ได้อย่างรวด เร็วและมีประสิทธิภาพ   ดังนั้น งานกราฟิกจึงเป็นเครื่องมือคู่กับสังคมมนุษย์ตลอดมาตั้งแต่สมัยดึกดำบรรพ์

 2. บทบาทและความสำคัญของคอมพิวเตอร์กราฟิก

งานกราฟิกสามารถสื่อความหมายระหว่างผู้ออกแบบกับผู้ชมได้โดยตรงเนื่องจากใช้ ภาพเป็นหลักในการสื่อสาร ทำให้เข้าใจได้ง่าย ถ้าผู้ออกแบบใส่จินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ งานกราฟิกชิ้นนั้นก็จะยิ่งมีความน่าสนใจ และมีคุณค่าทางด้านศิลปะอีกด้วย แต่ถ้าภาพที่ใช้สื่อความหมายไม่ชัดเจน ผู้รับก็ไม่สามารถเข้าใจได้อย่างถูกต้อง

บทบาท และ ความสำคัญของกราฟฟิก

               1. การประชาสัมพันธ์ ถือได้ว่างานกราฟิกนี้เป็นงานที่ควบคู่ไปกับงานบริหาร เพราะเนื้อหาของ การประชาสัมพันธ์ที่ออกไปนั้น หากไมดูดความสนใจที่ดีแล้วย่อมไม่สามารถที่จะสื่อความหมายกันระหว่าผู้ชมกับฝ่ายองค์กรได้  

2. งานโทรทัศน์ กราฟิกจะเกี่ยวข้องในส่วนที่เป็นหัวเรื่อง(title)สไลด์ ฯลฯ งานจัดฉากละคร  เช่น การจัดฉากในรูปแบบต่าง ๆ การออกแบบตัวหนังสือ            

3. นิยมใช้ในงานหนังสือพิมพ์ เพราะทำให้ผู้อ่านเข้าใจได้ง่ายมากขึ้น

4. งานออกแบบ หรือแบบร่าง เช่นออกแบบบ้าน         

6. งานพิมพ์หรือทำสำเนา ทำซิลค์สกรีน  การออกแบบหนังสือ เครื่องหมาย สัญลักษณ์ต่าง

3. ความสำคัญของคอมพิวเตอร์กราฟิก

               1. งานกราฟิกทำให้การสื่อสารเข้าใจได้ง่ายเนื่องจากใช้รูปภาพในการสื่อความหมาย จึงทำให้เห็นรายละเอียด เนื้อหาที่ต้องการนำเสนอได้ชัดเจนกว่าการใช้ข้อความ หรือตัวอักษรอธิบายเพียงอย่างเดียว และงานกราฟิกยังทำให้การสื่อความหมายเป็นไปอย่างรวดเร็ว แม้จะสื่อสารกันคนละภาษา หรือมีความแตกต่างกัน ก็สามารถเข้าใจตรงกันได้              2. งานกราฟิกมีความน่าสนใจเนื่องจากมีการใช้ภาพ และสีในการนำเสนอ จึงทำให้งานดูสะดุดตา น่าประทับใจ              3. ส่งเสริมงานด้านศิลปะ งานกราฟิกที่ดึงดูดใจ ต้องใช้ทั้งความคิดสร้างสรรค์และ ความรู้ทางด้านศิลปะ เพื่อที่จะสื่อความหมายและอารมณ์ระหว่าง ผู้ออกแบบและผู้ชม              4. พัฒนาความก้าวหน้าทางธุรกิจ ส่งเสริมการขาย งานกราฟิก ทำให้ผลิตภัณฑ์ มีจุดเด่น และเข้าใจข้อมูลของสินค้าได้เป็นอย่างดี

งานกราฟิกสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในงานด้านต่างๆ ดังตัวอย่างต่อไปนี้

1. การประชาสัมพันธ์ โฆษณา ประกาศต่าง ๆ เช่น แผ่นพับ โปสเตอร์ แผ่นป้ายโฆษณาทั้งขนาดใหญ่และเล็ก                 2. ด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่นฉลากสินค้า หน้าปกหนังสือ นิตยสาร                3. งานด้านโทรทัศน์และภาพยนตร์ เช่นการทำการการ์ตูน การใส่เทคนิคพิเศษให้กับภาพยนตร์                4. ด้านการการศึกษา เช่นทำสื่อการเรียนการสอน ผู้เรียนจะมีความสนใจและเข้าใจในเนื้อหาได้มากยิ่งขึ้น

เราสามารถพบเห็นงานกราฟิกได้มากมายในชีวิตประจำวันของเรา เนื่องจากงานกราฟิกมีประโยชน์ดังที่กล่าวไปแล้ว และยิ่งในปัจจุบัน การสื่อสารข้อมูลไม่จำกัดอยู่เพียงแค่เอกสาร หรือในหน้ากระดาษ สื่อสิ่งพิมพ์เท่านั้น เราสามารถติดต่อสื่อสารกันโดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ เนื่องจากมีความสะดวก และรวดเร็ว จึงทำให้เราพบเห็นงานกราฟิก ในสื่ออิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบอื่นๆ ด้วย เช่น หนังสืออิเล็กทรอนิสก์ (e-book) ภาพถ่ายดิจิทัล เว็บไซต์ต่าง ๆ หรือแม้แต่คอมพิวเตอร์ที่เราใช้งานอยู่ในปัจจุบัน เราใช้คอมพิวเตอร์ เพื่อ การพิมพ์งาน เล่นเกมส์ เก็บข้อมูลต่าง ๆ โดยผู้ใช้สั่งงานต่างๆ ผ่านภาพกราฟิก จึงทำให้คอมพิวเตอร์ใช้งานง่าย และแพร่หลายอยู่จนถึงปัจจุบันนี้

4. ความหมายของคอมพิวเตอร์กราฟิก

ความหมายของคอมพิวเตอร์กราฟิก             กราฟิก หมายถึง ศิลปะแขนงหนึ่งซึ่งใช้การสื่อความหมายด้วยเส้น สัญลักษณ์ รูปวาด ภาพถ่าย กราฟแผนภูมิ การ์ตูน ฯลฯ เพื่อให้สามารถสื่อความหมายของข้อมูลได้ถูกต้องตรงตามที่ผู้รับสารต้องการ             คอมพิวเตอร์กราฟิก หมายถึง การสร้าง การตกแต่งแก้ไข หรือการจัดการเกี่ยวกับรูปภาพ โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในการจัดการ เช่น การทำตกแต่งภาพที่เรียกว่า Image Retouching ภาพคนแก่   ให้มีวัยที่เด็กขึ้น การใช้ภาพกราฟิกในการนำเสนอข้อมูลต่าง ๆ

ระบบคอมพิวเตอร์สำหรับงานกราฟิก สามารถแบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลักดังนี้

1. ฮาร์ดแวร์ ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ต่อพ่วงต่าง ๆ                 2. ซอฟแวร์ ได้แก่ โปรแกรมที่สั่งงานคอมพิวเตอร์ให้ทำงานกราฟิกตามที่ผู้ใช้ต้องการซึ่งมีทั้งเป็นโปรแกรมสำเร็จรูปทางด้านกราฟิกที่มีใช้เป็นจำนวนมากเช่น อะโดบี โฟโต้ชอฟ(AdobePhotoshop) ไฟร์เวิร์ค(firework) อิลัสเตรเตอร์(Illastrator) โปรแกรมที่เราเขียนขึ้นเองด้วยภาษาคอมพิวเตอร์ เช่น ภาษาซี ภาษาเบซิค เป็นต้น

5. หลักการทำงานและการแสดงผลของภาพกราฟิกหลักการทำงาน

หลักการทำงานของภาพกราฟฟิก คือ ภาพที่เกิดบนจอคอมพิวเตอร์ เกิดจากการทำงานของโหมดสี RGB ซึ่งประกอบด้วย สีแดง สีเขียว และสีน้ำเงิน โดยใช้หลักยิงประจุไฟฟ้าให้เกิดการเปล่งแสงของสีทั้ง 3 สีมาผสมกัน ทำให้เกิดเป็นจุดสีสี่เหลี่ยมเล็กๆ ที่เรียกว่า พิกเซล (Pixel) ซึ่งมาจากคำว่าPicture กับ Element โดยพิกเซลจะมีหลากหลายสี เมื่อนำมาวางต่อกันจะเกิดเป็นรูปภาพ ซึ่งภาพที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์มี 2 ประเภท คือ แบบ Rasterกับ Vector

1. การสร้างภาพแบบเวกเตอร์ (Vector)การสร้างภาพภาพแบบเวกเตอร์หรือสโตรก (Stroked display) เป็นการสร้างภาพบนจอภาพแบบเวกเตอร์ โดยการสร้างคำสั่งเพื่อลากเส้นเชื่อมต่อระหว่างจุดต่าง ๆ ตามที่กำหนดไว้ให้เป็นรูปภาพที่ต้องการ ซึ่งข้อมูลที่เก็บอยู่ในไฟล์ภาพเวกเตอร์มีลักษณะเป็นชุดคำสั่ง คล้ายภาษาโปรแกรมหรือสมการทางคณิตศาสตร์ โดยมีคุณสมบัติเพิ่มเติมเพื่อบอกสี ขนาด หรือตำแหน่ง เช่นการสร้างรูปสามเหลี่ยม ก็จะมีองค์ประกอบที่เป็นเส้นลากผ่านจุดต่าง ๆ ทำให้เกิดรูปโครงร่างโดยรอบขึ้นมา พร้อมทั้งสามารถกำหนดสีของพื้นในโครงร่างนั้นได้

2. การสร้างภาพแบบบิตแมป (Raster)

เป็นการสร้างภาพภายในประกอบด้วยจุดภาพเล็ก ๆ เรียกว่าพิกเซล (pixel) การกำหนดตำแหน่งพิกเซลต่าง ๆ บนจอภาพบอกขนาดความกว้างยาวของรูปภาพ เพื่อให้เกิดภาพที่ต้องการ ซึ่งจะทำให้พิกเซลที่กำหนดเกิดการเรืองแสงเป็นรูปภาพ

             โดยระบบการแสดงผลของภาพ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้จอภาพเป็นอุปกรณ์แสดงผล จะมีระบบการแสดงผลอยู่ 2 โหมดคือเท็กซ์โหมดกับกราฟฟิกส์โหมด

1. เท็กซ์โหมด

เป็นระบบการแสดงผลพื้นฐานของจอภาพ ซึ่งแสดงผลในรูปของตัวอักษรหรือข้อความเท่านั้น ตัวอักษรที่ใช้แสดงจะมีการกำหนดรูปแบบหรือขนาดที่แน่นอนไว้แล้วในส่วนของCharacter Generation ของการ์ดแสดงผล ดังนั้นจึงไม่สามารถแสดงผลที่เป็นรูปภาพต่าง ๆ ได้ ขนาดของการแสดงผลในเท็กซ์โหมด คือ แสดงผลของตัวอักษรมีจำนวน 25 แถว แต่ละแถวสามารถแสดงตัวอักษรได้ 80 ตัว

2. กราฟฟิกส์โหมด

เป็นระบบการแสดงผลแบบรูปภาพ โดยใช้การ์ดแสดงผลในการควบคุมการแสดงรูปภาพให้อยู่ในลักษณะของพิกเซล ซึ่งรูปภาพที่ใช้ในการแสดงผลนี้ จะอยู่ในรูปของตัวอักษร ข้อความหรือรูปภาพโดยการควบคุมตำแหน่งของพิกเซลให้แสดงผลได้ตามที่ต้องการDisplay buffer เป็นตำแหน่งของหน่วยความจำ RAM (Read Access Memory) ขนาด 16 K-byte มีตำแหน่งเริ่มต้นที่&HB800 สามารถติดต่อกับหน่วยความจำได้ 2 วิธี โดยผ่าน CPU และ Graphics control unit ข้อมูลที่เก็บในดิสเพลย์บัฟเฟอร์จะถูกอ่านออกมา และผ่านการตีความหมายพร้อมแสดงผล ข้อแตกต่างเบื้องต้นของเท็กซ์โหมดกับกราฟฟิกส์โหมด คือข้อมูลที่เก็บในดิสเพลย์จะถูกแปลความหมายของข้อมูลแล้ว

6. สีและแสงที่ใช้ในงานกราฟิก              สีในงานคอมพิวเตอร์กราฟิกจะไม่เหมือนกับสีที่เราเห็นโดยทั่วไปความแตกต่างกันตรงนี้เป็นหัวใจสำคัญ ที่ทำให้งานของเราที่ออกแบบไว้ที่เห็นบนจอภาพของคอมพิวเตอร์กับภาพที่เห็นจากการพิมพ์แตกต่างกัน      สำหรับสีในงานคอมพิวเตอร์กราฟิก มีรูปแบบการให้แสงและการสะท้อนแสงซึ่งมี2 วิธีดังที่ได้เรียนในเรื่องระบบของสีนั้น เราพอจะอธิบายถึงระบบสีที่เกิดขึ้นในคอมพิวเตอร์ได้คือ ระบบสีAdditiveและ ระบบสี Subtractive

ปัจจุบันมีซอฟแวร์ที่ทำงานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์กราฟิกที่ทำงานโดยตรงกับสี CMYK ซึ่งเป็นข้อดีของกราฟิกแบบบิตแมป ในขณะที่โปรแกรมกราฟิกแบบเวกเตอร์มีความสามารถด้านหนึ่งแต่กราฟิกแบบบิตแมปก็มีความสามารถอีกด้านหนึ่ง คือมีการให้ผู้ใช้สามารถทำงานกับสี และควบคุมลักษณะภาพที่จะปรากฏในขณะพิมพ์

งานและการแสดงผลของภาพกราฟฟิก

ภาพที่เกิดบนจอคอมพิวเตอร์ เกิดจากการทำงานของโหมดสี RGB ซึ่งประกอบด้วย สีแดง (Red) สีเขียว (Green) และสีน้ำเงิน (Blue) โดยใช้หลักยิงประจุไฟฟ้าให้เกิดการเปล่งแสงของสีทั้ง 3 สีมาผสมกัน ทำให้เกิดเป็นจุดสีสี่เหลี่ยมเล็กๆ ที่เรียกว่า พิกเซล (Pixel) ซึ่งมาจากคำว่า Picture กับ Element โดยพิกเซลจะมีหลากหลายสี เมื่อนำมาวางต่อกันจะเกิดเป็นรูปภาพ ซึ่งภาพที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์มี 2 ประเภท คือ แบบ Raster กับ Vector

7. ชนิดและรูปแบบไฟล์กราฟิก    

1. Pixel (Picture + Element )              หน่วยพื้นฐานของภาพที่เป็นสี่เหลี่ยมเล็กๆที่บรรจุค่าสี(ลองซูมภาพของเราเข้าไป มากๆแล้วเราจะเห็นสี่เหลี่ยมเล็กๆที่แต่ละสี่เหลี่ยมที่เล็กสุดจะเก็บสีไว้ 1 สีครับ

2.Resolution(ความละเอียดของภาพ)                           คือจำนวน Pixel ต่อพื้นที่หนึ่งหน่วย เช่น-จำนวนเม็ดสีต่อตารางนิ้ว pixels  per inch : ppi dot per inch : dpi รูปแบบของภาพ1.ภาพแบบ บิตแมป(Bitmap) หรือ ราสเตอร์(Raster)             คือภาพที่เกิดจากหน่วยภาพเล็กๆมารวมกันจนเป็นภาพใหญ่คล้ายจิ๊กซอร์สามารถดูได้โดยการซูมภาพเข้าไปกล่าวคือภาพเหล่านี้ยิ่งซูม(ขยาย)ยิ่งแตก จนดูไม่รู้เรื่อง เช่นภาพนามสกุล .JPEG, .TIFF,.GIF เป็นต้น2.ภาพแบบเวคเตอร์(Vector)               คือภาพที่เกิดจากเส้นโค้ง, เส้นตรง และคุณสมบัติสีของเส้นนั้นๆที่เกิดจากการคำนวณทางคณิตศาสตร์(ที่เรามองไม่เห็นด้วยตา)กล่าวคือ ที่จุดๆหนึ่งของภาพที่เราซูมเข้าไปมันจะเกิดจากการกำหนดคุณสมบัติไว้ว่าภาพเกิดจากเส้นตรง หรือเส้นโค้งที่เอียงกี่องศา เก็บค่ารหัสสีอะไรไว้ เมื่อเราซูมขยายภาพไม่ว่าจะขนาดเท่าไหร่ก็ตามภาพมันจะไม่แตก(ไม่สูยเสียความละเอียดไป) เพราะการซูมภาพเป็นการคูณจำนวนเท่า ลงไปที่คุณสมบัติภาพนั่นเองดังนั้น ถ้าเราแก้ไขภาพก็คือไปแก้ไขคุณสมบัติทางคณิตศาสตร์ ไม่ว่าจะย่อหรือขยายกี่ครั้งภาพแบบนี้จะยังคมชัดเท่าเดิมภาพVector เหล่านี้ได้แก่           -ภาพ .wmf (Clipart ที่เราไว้ตกแต่งใน Microsoft Officeนั่นเอง)           -ภาพใน Adobe Illustrator, Macromedia Freehand

ชนิดของภาพสำหรับงานกราฟฟิก          1.JPEG(Joint Photograhic's Experts Group)จุดเด่น-สนับสนุนสีได้มากถึง 24 bit-สามารถกำหนดคุณภาพ และตั้งค่าการบีบอัดไฟล์ภาพได้-มีโปรแกรมสนับสนุนการสร้างจำนวนมาก -เรียกดูภาพได้ใน Graphic Browser ทุกตัว

 จุดด้อย-ไม่สามารถทำให้พื้นที่ของภาพเป็นแบบโปร่งใสได้(Transparent/Opacity)-หากกำหนดค่าการบบอัดไว้สูง เมื่อส่งภาพจาก Server(แม่ข่าย)--->Client(ลูกข่าย) จะทำให้การแสดงผลช้าเพราะต้องเสียเวลาในการขยายไฟล์

2.TIFF(Tag Image File Format)                 มักใช้ในงานสิ่งพิมพ์-Desktop publishing, 3D application, Faxing, Medical Imaging Application(ประสบการณ์ตรงของข้าพเจ้าคือ ภาพที่เราทำและตกแต่งในPhotoshop และ Microsoft PowerPoint ไม่ว่าจะเซฟมาเป็นนามสกุลอะไรก็ตาม ตอนส่งเข้าเครื่องพิมพ์ที่โรงพิมพ์ เขาจะแปลงไฟล์และส่งเข้าเครื่องในนามสกุล .TIFF เท่านั้น โดยรูปแบบของTIFF มีหลายประเภทคือ -Grayscale, Color Pallete, RGB full colorจุดเด่น-เป็นรูปแบบที่ทำให้ภาพแบบราสเตอร์หรือบิตแมป สามารถใช้งานร่วมกับ Appication ต่างๆรวมทั้งโปรแกรมจัดการภาพจากScaner จุดด้อย-ไฟล์ภาพขนาดใหญ่ เพราะต้องเก็บรายละเอียดความคมชัดไว้สูง3.GIF(Graphics Interchange Format)จุดเด่น-เป็นที่นิยมมากที่สุดสำหรับภาพที่จะแสดงบน Web/Internet-มีขนาดเล็กมาก-สามารถทำพื้นให้เป็นแบบโปร่งใสได้(Transparent/Opacity)-สามารถทำเป็นภาพเคลื่อนไหวบน WebPage ได้ โดยใช้เครื่องมือช่วยสร้างเช่น JAVA, Flash-มีโปรแกรมสนับสนุนในการสร้างจำนวนมาก-สามารถเรียกดูภาพได้ใน Graphic Browser ทุกตัวจุดด้อย-แสงภาพได้เพียง 256 สีเท่านั้น ไม่เหมาะสำหรับการนำเสนอภาพถ่ายหรืองานที่ต้องการความคมชัดสูง4.PNG(Portable Network Graphics)จุดเด่น-เอาคุณสมบัติของ(JPEG+GIF) มาใช้คือ สีมากกว่า 256สีและโปร่งใสได้(Transparent)-PNG มีการบีบอัดข้อมูลโดยไม่เสียคุณภาพ-ทำให้โปร่งใสได้(Transparency) และยังสามารถควบคุมองศาของความโปร่งใส(Opacity)ได้ด้วย-เก็บบันทึกภาพด้วยสีจริง(True Color) ได้เช่นเดียวกับตารางสี(Pallete) และสีเทา(Grayscale)แบบ GIFจุดด้อย-ไม่สนับสนุนภาพเคลื่อนไหว เพราะไม่สามารถเก็บภาพหลายๆภาพไว้ด้วยกันได้

8. การประยุกต์ใช้งานกราฟิก

  ในปัจจุบันโลกได้วิวัฒนาการไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งการใช้งานกราฟิกนั้นสามารถสื่อความหมายได้ ดังนั้นงานกราฟิกนั้น จะช่วยให้มนุษย์สามารถสื่อสารกันได้ เข้าใจกันได้ เกิดจินตนาการร่วมกัน ในการนำสื่อกราฟิกมาใช้งานนั้นไม่ว่าจะเป็นการสื่อสารทางใด ผู้ที่นำเอาสื่อกราฟิกมาใช้ต้องคำนึงถึงเงื่อนไขและปัญหาเหล่านี้ด้วย คือ เพื่อนำมาใช้ในการขบคิด เพื่อแก้ปัญหา จัดระบบข้อมูล และการนำเอาศิลปะมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการสื่อสารมากที่สุด นอกจากนี้งานกราฟิกนั้นยังสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ในด้านต่างๆอีกมากมาย เช่น ใช้ในการเป็นสื่อในการเรียน ใช้เพื่อโน้มน้าวจิตใจในการโฆษณา ใช้ในการจัดนิทรรศการต่างๆ หรือใช้ในการจัดแสดงงาน โดยจะต้องทำความเข้าใจในส่วนประกอบดังนี้        1. DWG (DRAWING) ภาพ - 2D (ภาพ 2 มิติ)             มาตรฐานการ สื่อของ Drawing              การมอง Top, Front, Side Views แต่ละมาตรฐาน              Auxiliary Viwes (มุมมองในส่วนที่สำคัญของ DWG โดยทำมุม 900 กับสายตา )              3D (ภาพ 3 มิติ)        2. MODELING COMMAND              Wire Frame Command (ตามมาตรฐานที่ใช้อ้างอิงกับ Software ส่วนใหญ่)              Surface and Solid Command (ตามมาตรฐานที่ใช้อ้างอิงกับ Software ส่วนใหญ่)              Other Edit (ตามมาตรฐานที่ใช้อ้างอิงกับ Software ส่วนใหญ่) Cad/Cam        3. การใช้คำสั่งประกอบการปฏิบัติงานจริง             ทำความเข้าใจกับลำดับขั้นตอน การจัดการของ 2D และ 3D             การตัดสินใจเลือก Surface Command และ Solid Command             การประยุกต์การทำงาน ให้เข้ากับบุคลิกส่วนตัว

top related