knowledge sheet

17
เอกสารประกอบการออกแบบสิ่งพิมพ์ 5. ใส่เนื้อหาข้อความโดยคลิกที่ไอคอน หรือใส่ข้อความ สมมติไปทีType > Fill with Placeholder Text 6. เสร็จแล้วทําการ Export ชิ้นงาน ไปทีFile > Export > Format: EPUB > Save และลองเปิดไฟล์งานได้ในแอพพลเคชั่น iBook ขั้นตอนสร้าง EPUB 1. เปิดโปรแกรม Adobe Indesign ขึ้นมา 2. ไปทีFile > New Document > ตั้งค่า Intent: Digital Publishing > เลือก Page Size ตาม อุปกรณ์ที่ใช้งาน เช่น iPhone 6 plus = 1920 x 1080 px หรือ Samsung S6 = 1140 x 2560 px 3. ใส่รูปภาพโดยการ คลิก File > Place หรือกด Ctr +D, +D 4. ใส่คลิปวิดีโอ คลิก File > Place หรือ Ctr+D, +D ลากกรอบวิดีโอตามขนาด ทีต้องการ INDESIGN TUTORIAL EPUB | Cover Magazine | Flip Book | Brochure

Upload: wilasimew

Post on 24-Jul-2016

216 views

Category:

Documents


2 download

DESCRIPTION

 

TRANSCRIPT

Page 1: Knowledge sheet

เอกสารประกอบการออกแบบสิ่งพิมพ์

5. ใส่เนื้อหาข้อความโดยคลิกที่ไอคอน หรือใส่ข้อความสมมติไปที่ Type > Fill with Placeholder Text

6. เสร็จแล้วทําการ Export ชิ้นงาน ไปที่ File > Export > Format: EPUB > Save และลองเปิดไฟล์งานได้ในแอพพลิเคชั่น iBook

ขั้นตอนสร้าง EPUB

1. เปิดโปรแกรม Adobe Indesign ขึ้นมา

2. ไปที่ File > New Document > ตั้งค่า Intent: Digital Publishing > เลือก Page Size ตามอุปกรณ์ที่ใช้งาน เช่น iPhone 6 plus = 1920 x 1080 px หรือ Samsung S6 = 1140 x 2560 px

3. ใส่รูปภาพโดยการ คลิก File > Place หรือกด Ctr+D, ⌘+D

4. ใส่คลิปวิดีโอ คลิก File > Place หรือ Ctr+D, ⌘+D ลากกรอบวิดีโอตามขนาด ที่ต้องการ

INDESIGN TUTORIAL EPUB | Cover Magazine | Flip Book | Brochure

Page 2: Knowledge sheet

เอกสารประกอบการออกแบบสิ่งพิมพ์

ขั้นตอนการสร้างปกนิตยสาร

(Cover Magazine)

1. เปิดโปรแกรม Adobe Indesign ขึ้นมา

2. ไปที่ File > New Document > ตั้งค่าตามต้องการ เช่น Page Size: A3 >

3. ใส่รูปภาพโดยการ คลิก File > Place หรือกด Ctr+D, ⌘+D 4. ใส่ข้อความ โดยคลิกที่ไอคอน ลากเส้นเพื่อวางตำแหน่งของตัวหนังสือ

5. พิมพ์ข้อความเสร็จแล้ว ตั้งค่าขอบตัวหนังสือที่ Object > Text Frame Options > กําหนดตัวเลขที่ Insert Spacing > คลิก Preview

6. จัดวางหัวข้อต่างๆ ของคอลัมน์ให้อยู่บนหน้าปก โดยการใช้เทคนิคเดียวกันในการ ตกแต่งหน้าปก

pinterest.com

Page 3: Knowledge sheet

เอกสารประกอบการออกแบบสิ่งพิมพ์

ขั้นตอนการสร้าง Flip Book

1. เปิดโปรแกรม Adobe Indesign ขึ้นมา

2. ไปที่ File > New Document > ตั้งค่าจำนวนหน้า 4 หน้า แล้ว คลิก OK

3. ใส่รูปภาพโดยการ คลิก File > Place หรือกด Ctr+D, ⌘+D

4. เมื่อใส่รูปภาพแล้ว คลิกที่ Object > Fitting > Fit Content to Frame เพื่อให้ภาพเต็มกระดาษ

5. จากนั้นคลิกที่ไอคอน หรือ Pages (มุมบนขวา) > Page Attributes > Page Transitions > Choose จากนั้น เลือกตามต้องการ แล้วคลิก OK

6. เสร็จแล้วทำการ Export โดยการคลิก File > Export > เลือก Format: Flash Player (SWF) > Save > เลือก Size (pixels): Fit 800x600 คลิก OK

7. ทดลองเปิดไฟล์ที่ Save ไว้ อาจเปิดไฟล์บน Google Chrome ก็ได้

Page 4: Knowledge sheet

เอกสารประกอบการออกแบบสิ่งพิมพ์

ขั้นตอนการสร้างแผ่นพับ (Brochure)

1. เปิดโปรแกรม Adobe Indesign ขึ้นมา

2. ไปที่ File > New Document > ตั้งค่า Page Size: Width: 72 in, Height: 44 in > Columns: 3 > Margin 1 in > คลิก OK 3. สร้างข้อความโดยการคลิกไอคอน ไปยังตำแหน่งที่ต้องการ จากนั้นก็พิมพ์ข้อความ

4. เลือกสีพื้นหลังของกรอบข้อความได้ที่ Swatches (ไอคอนอยู่ด้านขวา)

5. คลิก Rectangle Frame Tool (F) เพื่อสร้างข้อความของแผ่นพับให้อยู่ในกรอบ จากนั้นลากเส้นในคอลัมน์แรก คลิก เพื่อใส่ข้อความ 6. จากนั้นก็ทำการ copy ข้อความที่เตรียมไว้ past ลงในกรอบ

7. คลิกเครื่องหมาย + ในกรอบล่างขวาของคอลัมน์แรก เพื่อขยายเนื้อหาของข้อความให้มาอยู่ ในคอลัมน์ที่ 2 และ 3 8. กดเครื่องหมาย (Selection) กด shift คลิกเส้นของทั้ง 3 คอลัมน์ คลิก Object > Text Frame Option > ปรับ Insert Spacing > กด Preview 9. เพิ่มรูปภาพในแผ่นพับ File > Place หรือ Ctr+D, ⌘+D

10. จัดรูปไม่ให้ทับตัวหนังสือ โดยการคลิก (Text Wrap) เลือกตามต้องการ และจัดระยะ ขอบของตัวหนังสือ และรูปภาพ จากนั้นก็ Save เป็นอันจบการทำงาน

dateee.com

readylayouts.com

Page 5: Knowledge sheet

เอกสารประกอบการออกแบบสิ่งพิมพ์

หลักการออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์

หลักการออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ มีดังนี้

1. ความสมดุล (Balance) คือการกระจายอย่างทั่วถึงของน้ำหนักในงานออกแบบสิ่งพิมพ์ น้ำ

หนักส่วนประกอบต่างๆ เป็นน้ำหนักที่สายตารู้สึก โดยทุกส่วนบนเลย์เอ้าท์มีน้ำหนักซึ่งรู้สึกได้จาก

ขนาด ความมืด ความสว่าง สี ความเข้มของสี ความหนา บางของเส้น องค์ประกอบของการออกแบบ

ที่นำมาใช้เพื่อสร้างความสมดุล ได้แก่ รูปร่าง ขนาด ค่าความดำ สี ความสมดุลมี 2 แบบ คือ

1.1 Symmetrical Balance คือ สมดุลกระจายเท่ากันทั้งซ้ายขวาของศูนย์กลาง ให้

ความรู้สึกมั่นคง แข็งแรง เหมาะสำหรับสิ่งพิมพ์ที่ต้องการสื่อถึงความมีระเบียบแบบแผน และความ

อนุรักษ์นิยม

1.2 Asymmetry Balance คือ ความสมดุลที่เกิดจากการนำส่วนประกอบที่มี

ขนาดไม่เท่ากันมาจัดวาง เมื่อดูโดยรวมน้ำหนักทั้งหมดสมดุลกัน โดยจะสื่อถึงความขัดแย้ง ความ

หลากหลาย ความไม่เป็นระเบียบ และความประหลาดใจ

การสร้างความสมดุล

• กำหนดจุดศูนย์กลางของชิ้นงาน

• ส่วนประกอบเล็กๆ หลายชิ้นสามารถสมดุลกับส่วนประกอบใหญ่หนึ่งชิ้น

• ใช้รูปร่างที่แปลกออกไปหนึ่งหรือสองชิ้นร่วมกับรูปร่างทั่วๆ ไป

• เว้นช่องว่างสีขาวให้มากรอบๆ คอลัมน์สีเข้ม หรือรูปภาพมืดๆ

• ตัวอักษรที่หนาหนัก ควรมีภาพสีสว่าง สดใสมาช่วยให้สว่างขึ้น

• ภาพประกอบสีทึม ควรวางตัวหนังสือชิ้นเล็กเข้าไป เว้นช่องไฟสีเยอะๆ

2. จังหวะ (Rhythm) คือรูปแบบที่เกิดจากการซ้ำกันขององค์ประกอบต่างๆ การซ้ำกันของ

องค์ประกอบเดียวกันในลักษณะที่สม่ำเสมอ และความแตกต่าง เช่น การเปลี่ยนรูปร่าง ขนาด หรือ

ตำแหน่งขององค์ประกอบ เป็นสิ่งที่ทำให้เกิดการมองเห็นจังหวะในงานออกแบบ การวางองค์ประ

กอบซ้ำๆ กันที่ระยะห่างเท่าๆ กันทำให้เกิดความรู้สึกราบเรียบ จังหวะที่เท่าๆ กัน สงบและผ่อนคลาย

การเปลี่ยนขนาดและช่องไฟของส่วนประกอบอย่างฉับพลันจะทำให้เกิดจังหวะเร็วและมีชีวิตชีวา

สร้างความรู้สึกน่าตื่นเต้น

การสร้างจังหวะในงานออกแบบ

• วางองค์ประกอบเดิมซ้ำกันและให้มีช่องไฟเท่ากัน

• วางองค์ประกอบเดิมในขนาดที่ใหญ่ขึ้น และขยายช่องไฟขึ้นให้รับกัน

Page 6: Knowledge sheet

เอกสารประกอบการออกแบบสิ่งพิมพ์

• กลับความหนาบางของตัวอักษร ให้มีตัวอักษรบางเบา สลับกับตัวทึบหนา

• วางองค์ประกอบเดิมในหลายๆ จุดบนเลย์เอ้าท์

• ถ้ามีหลายหน้าอาจวางองค์ประกอบเดิมที่จุดเดียวกันบนทุกๆ หน้า

3. การเน้น (Emphasis) คือการทำให้องค์ประกอบหนึ่งเป็นที่สังเกตเห็นก่อนส่วนอื่นจะเกิด

ขึ้นเมื่อองค์ประกอบนั้นแตกต่างจากองค์ประกอบอื่น บนงานออกแบบทุกชิ้นควรมีจุดเด่นนี้เพื่อดึงดูด

สายตาของผู้ดูไปสู่ส่วนสำคัญของงาน แต่ถ้ามีจุดเด่นมากเกินไปก็อาจไม่เกิดผลตามที่ต้องการ

การทำให้เกิดจุดสนใจ

• วางรูปภาพที่ต้องการเน้นให้กรอบภาพมีรูปทรงแปลกออกไป

• ใช้เส้นโค้งเป็นรูปร่างของตัวอักษรที่จะเน้นท่ามกลางตัวอักษรตรงๆ

• ใช้ตัวอักษรสีหรือรูปแบบตัวอักษรที่ต่างออกไปเมื่อต้องการเน้น

• ใช้ตัวอักษรขาวบนพื้นสีสำหรับสิ่งที่จะเน้น

• ใช้ตัวหนาสำหรับหัวข้อและตัวอักษรที่บางลงสำหรับเนื้อหา

4. เอกภาพ (Unity) เอกภาพจะทำให้งานออกแบบดูเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ซึ่งจะช่วยผู้อ่าน

รู้ว่าเป็นงานชิ้นเดียวกัน งานออกแบบมักจะใช้กริด (Grid) เพื่อวางกรอบโครงร่างของงาน (การเว้นคั่น

หน้า คั่นหลัง คอลัมน์ การเว้นช่องไฟ และสัดส่วน) ให้เป็นระบบระเบียบ การจัดกลุ่มให้องค์ประกอบ

เป็นอันหนึ่งอันเดียวให้ดูเรื่องการซ้ำกันของสี รูปร่างและพื้นผิว เพื่อทำให้ผู้อ่านเห็นตัวอักษร หัวเรื่อง

รูปภาพ ภาพถ่าย เป็นงานเดียวกัน

การสร้างเอกภาพ

• ใช้ตัวอักษรเพียงหนึ่งหรือสองแบบของชิ้นงาน

• ถ้าจะให้ตัวอักษรตัดกันให้ใช้ขนาดที่แตกต่างกัน

• ให้ความสม่ำเสมอในแบบตัวอักษร ขนาดหัวข้อ หัวข้อย่อย และข้อความ

• เลือกภาพที่มีโครงสีคล้ายคลึงกัน

• วางรูปภาพและคอลัมน์ในเส้นกริดเดียวกัน

• เลือกใช้สีจากชุดสีเดียวกันตลอดทั้งงาน

• ให้มีการซ้ำกันของสี รูปร่างและพื้นผิวในที่ต่างๆ ตลอดทั้งงาน

Page 7: Knowledge sheet

เอกสารประกอบการออกแบบสิ่งพิมพ์

Adobe Indesign

โปรแกรม Adobe Indesign เป็นโปรแกรมสำหรับงานด้านสิ่งพิมพ์ งานออกแบบเอกสาร

หรือเรียกกันง่ายๆ ว่า โปรแกรมจัดหน้ากระดาษ จุดเด่นของโปรแกรม InDesign คือสามารถทำงาน

ด้านการจัดหน้ากระดาษได้เป็นอย่างดี ซึ่งคล้ายๆ กับการนำเอาโปรแกรม PageMager มารวมกับ

โปรแกรม Illustrator

Interface ของโปรแกรม Indesign

a

c

b

d

e

f g

Page 8: Knowledge sheet

เอกสารประกอบการออกแบบสิ่งพิมพ์

a Menu bar แถบเมนูคำสั่งหลักในการทำงานบนโปรแกรม เช่น การเปิดหน้างาน, การจัดการ

หน้างาน layout, การปรับแต่งหน้า workspace เป็นต้น

b Panel Control แถบคำสั่งในการปรับแต่งวัตถุ รูปภาพ หรือตัวอักษรที่อยู่บนหน้างาน เช่น

การกำหนดตำแหน่งของวัตถุ, การเปลี่ยนรูปแบบตัวอักษร เป็นต้น

c Toolbox กล่องอุปกรณ์เครื่องมือที่ใช้ในการสร้างวัตถุ พิมพ์ตัวอักษร ปรับแต่งวัตถุ เป็นต้น

d Panels กล่องคำสั่งที่ใช้ปรับแต่งหน้างานเพิ่มเติม เช่น การปรับ-เปลี่ยนสี, การเพิ่ม-ลบ

หน้างาน, การทำงานกับปุ่ม วิดีโอ หรือเสียง เป็นต้น

e File(s) แถบแสดงไฟล์ที่เปิดใช้งานอยู่บนโปรแกรมและบอกสถานะของไฟล์งานในเรื่องการ

Save ไฟล์

f Status bar แถบแสดงสถานะของไฟล์งานว่าอยู่ที่หน้าใดและมี Error ใดๆ หรือไม่

g Pasteboard พื้นที่หน้างาน

การใช้งานตัวอักษร

ลักษณะการทำงานของโปรแกรม InDesign จะเป็นการทำงานในลักษณะของ Frame คือ

การพิมพ์ตัวอักษรจะต้องพิมพ์ภายในกรอบที่สร้างขึ้นเท่านั้น จะไม่สามารถคลอกบนหน้างานแล้ว

พิมพ์ได้ทันที

Type Tool เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับการพิมพ์ตัวอักษรเป็นคำ ประโยค หรือ

ย่อหน้า โดยลักษณะการพิมพ์จะเป็นการพิมพ์จากซ้ายไปขวา วิธีการพิมพ์ตัวอักษรด้วย Type Tool

จะเริ่มต้นจากการสร้างพื้นที่สำหรับการพิมพ์ตัวอักษร โดยใช้ Type Tool สร้าง Text Frame ขึ้นมา

แล้วจึงพิมพ์ตัวอักษร

Page 9: Knowledge sheet

เอกสารประกอบการออกแบบสิ่งพิมพ์

การทำงานกับ Grids

Grids แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ Baseline Grid หรือที่เรียกว่า เส้นบรรทัด และ

Document Grid หรือเรียกว่า เส้นตาราง

Baseline Grid

Document Grid

Baseline Grid เป็นเส้น Grid ที่ใช้สำหรับการจัดวางตัวอักษรให้เป็นระเบียบ โดยคำสั่งที่จะ

ทำให้ตัวอักษรวางอยู่บนเส้น Baseline Grid สามารถใช้ที่ Panel Paragraph แล้วเลือกคำสั่ง Align

to Baseline Grid การเปิดหรือซ่อน Baseline Grid สามารถใช้คำสั่ง Menu View > Grids &

Guides > Show / Hide Baseline Grid หรือปุ่มลัด + + หรือ + + optionCtrl 'Alt '

Page 10: Knowledge sheet

เอกสารประกอบการออกแบบสิ่งพิมพ์

Document Grid เป็น Grid ที่ใช้สำหรับการจัดวางทุกอย่างบนหน้างาน ไม่ว่าจะเป็นกล่องตัวอักษร

รูปภาพ กราฟิก และอื่นๆ เพื่อให้งานออกมาดูมีระเบียบ สวยงาม สบายตา และอ่านง่าย การเปิดหรือ

ซ่อน Document Grid สามารถใช้คำสั่ง Menu View > Grids & Guides > Show / Hide

Document Grid หรือปุ่มลัด + หรือ +

การทำงานกับ Column Guide

Column Guide เป็นเส้น Guide ที่ใช้สำหรับการแบ่งขอบเขตของกล่องตัวอักษรใน 1 หน้า

คำสั่งในการแบ่ง Column Guide สามารถเข้าไปใช้คำสั่งได้ที่ Menu Layout > Margins and

Columns...

การตั้งค่า Column Guide จะต้องเลือกหน้างานที่ต้องการจะแบ่งคอลัมน์ไว้ก่อน จากนั้นจึง

จะสามารถกำหนดจำนวนคอลัมน์ (Column Number) และระยะห่างระหว่างคอลัมน์ (Gutter) ได้

ตามต้องการ เช่น ใส่ค่าจำนวนคอลัมน์เป็น 3 คอลัมน์

Ctrl ' '

Page 11: Knowledge sheet

เอกสารประกอบการออกแบบสิ่งพิมพ์

การแทรกรูปภาพเข้าไปไว้ใน Frame

การทำงานอย่างมีระบบ จะทำให้การทำงานง่ายและสะดวกมากขึ้น เช่นเดียวกับการนำ

รูปภาพเข้ามาวางบนหน้างาน การทำงานกับรูปภาพอย่างมีระบบก็คือ จะต้องกำหนดพื้นที่ในการวาง

รูปภาพไว้ก่อน จึงนำรูปภาพเข้ามาวาง และการกำหนดพื้นที่เพื่อนำรูปภาพเข้ามาวาง ก็คือการสร้าง

กรอบ หรือ Frame ขึ้นมา โดยการใช้เครื่องมือในกลุ่ม Frame Tool

เมื่อกำหนด Frame ให้กับรูปภาพเรียบร้อยแล้ว จึงใช้คำสั่ง File > Place เพื่อเลือกรูปภาพ

และคลิกที่ Open เพื่อนำรูปภาพเข้ามา และคลิกบน Frame ที่วาดไว้ตอนแรก หรืออาจใช้วิธีง่ายๆ

ด้วยการคลิก Frame ที่ต้องการจะนำรูปภาพเข้ามาใส่ด้วย Selection Tool คลิกเลือกคำสั่ง

Replace Selected Item หลังจากที่ใช้คำสั่งที่ Menu File > Place... เพื่อให้รูปภาพที่เลือกเข้าไป

อยู่ใน Frame ที่ได้เลือกไว้บนหน้างาน

Page 12: Knowledge sheet

เอกสารประกอบการออกแบบสิ่งพิมพ์

การใช้ Text Wrap

Text Wrap คือ การใช้คำสั่งเพื่อทำให้ตัวอักษรหลบออกจากรูปภาพ โดยวิธีการใช้คำสั่งนี้

รูปภาพจะต้องอยู่ด้านบนของกล่องตัวอักษรเสมอ และสามารถใช้คำสั่ง Text Wrap นี้ได้ โดยการเปิด

Panel ที่ Menu Window > Text Wrap หรือปุ่มลัด + + หรือ + +

การใช้คำสั่ง Text Wrap หรือการทำให้ตัวอักษรหลบออกจากรูปภาพ สามารถทำได้โดย

1. ใช้ Selection Tool เลือกรูปภาพที่ต้องการจะแทรกในตัวอักษร

2. เลือกรูปแบบของ Text Wrap ตามต้องการ

3. กำหนดระยะห่างระหว่างรูปภาพที่ใช้คำสั่ง Text Wrap กับตัวอักษร หากเลือกใช้คำสั่ง Text

Wrap แบบ Wrap Around Bounding Box, แบบ Jump Object หรือแบบ Jump to Next

Column ก็จะสามารถกำหนดระยะห่างได้ทั้งด้านบน ล่าง ซ้าย ขวา ได้ตามต้องการ แต่หากเลือกคำ

สั่ง Text Wrap แบบ Wrap Around Object Shape ก็จะกำหนดระยะห่างได้แค่ด้านเดียว แต่จะ

เป็นการสร้างระยะห่างให้กับรอบๆ วัตถุเท่าๆ กันทุกด้าน

4. กำหนด Wrap Options ว่าต้องการให้ตัวอักษรด้านใดด้านหนึ่งของรูปภาพหายไปหรือไม่ โดยการ

เลือกที่ Wrap To

5. กำหนด Contour Options เป็นการกำหนดรูปแบบ Text Wrap แบบ Wrap Around Object

Shape โดยเลือกตามประเภทของรูปภาพที่นำเข้ามาวางบนหน้างาน

การสร้าง Preset ของหน้างาน

การสร้าง Preset ของหน้างาน คือการตั้งค่าทั้งหมดของหน้างาน โดยทำให้ตัวโปรแกรม

จดจำการตั้งค่านี้ไว้ และเมื่อต้องการทำงานในครั้งต่อไป ไม่จำเป็นต้องมาใส่ค่าต่างๆ ซ้ำอีก ซึ่งการ

สร้าง Preset ของหน้างาน มีดังนี้

optionCtrl WAlt W

Page 13: Knowledge sheet

เอกสารประกอบการออกแบบสิ่งพิมพ์

1. ไปที่คำสั่ง Menu File > New > Document...

2. จากนั้นจะมี Dialog Box ขึ้นมา ให้ทำการตั้งค่า

3. เมื่อตั้งค่าเสร็จเรียบร้อยแล้ว คลิกที่ปุ่ม Save Preset เพื่อทำการเก็บค่าทั้งหมดเอาไว้ โดยการ

ตั้งชื่อ Preset ขึ้นมา

รายละเอียดของการตั้งค่า Preset มีดังนี้

✦ Document Preset คือ ชื่อ Preset ที่จะตั้งค่า อาจตั้งเป็นชื่อหนังสือ หรือนิตยสาร หรืออาจตั้ง

ตามขนาดของหน้างานที่กำหนดก็ได้ เช่น A4, A3, B5 หรือ Letter เป็นต้น

✦ Number of Pages คือ จำนวนหน้าของ Preset สามารถเพิ่ม-ลบหน้าได้ตามจำนวนต้องการ

✦ Start Pages # คือ การใส่เลขหน้าเริ่มต้นของหน้างาน สามารถกำหนดภายหลังจากที่เปิดหน้า

งานขึ้นมาแล้วก็ได้

• Facing Pages เป็นการกำหนดว่าต้องการทำงานหน้าคู่ หรือหน้าเดี่ยว หากต้องการ

ทำงานหน้าคู่ ก็ต้องคลิกเครื่องหมายถูกไว้

• Master Text Frame เป็นการสร้างกล่องตัวอักษรขึ้นมาบน Master Page เพื่อให้

สามารถพิมพ์ตัวอักษรบนหน้างานได้เลย ไม่ต้องสร้างกล่องตัวอักษรขึ้นมาเอง

Page 14: Knowledge sheet

เอกสารประกอบการออกแบบสิ่งพิมพ์

✦ Page Size คือ ขนาดหน้างาน ว่าต้องการให้รูปเล่มของหนังสือ นิตยสาร หรือส่ิงพิมพ์ที่ทำงาน

ออกมามีขนาดเท่าไร

• Width / Height ขนาดหน้างานที่ต้องการไม่ใช่ขนาดมาตรฐานตามที่โปรแกรมกำหนด

ไว้ให้ ก็สามารถใส่ค่าความกว้าง (Width) และความสูง (Height) ของหน้างานได้เองตาม

ต้องการ

• Orientation เป็นการกำหนดแนวของหน้างาน ว่าต้องการทำงานเป็นแนวตั้ง

(Portrait) หรือแนวนอน (Landscape)

✦ Column คือ แถวของกล่องตัวอักษรบนหน้างาน

• Number เป็นการกำหนดจำนวนกล่องตัวอักษรบนหน้างาน แบ่งเป็นแถวแนวตั้ง

(Colums)

• Gutter เป็นการกำหนดค่าระยะห่างของแต่ละแถวกล่องตัวอักษร (Columns) ที่ถูกแบ่ง

✦ Margins คือ ขอบเขตของการวางตัวอักษรบนหน้างาน เพื่อความเป็ระเบียบเรียบร้อยในการจัด

วางตัวอักษร และเพื่อให้อ่านง่ายสบายตา อีกทั้งยังช่วยป้องกันการโดนตัดเนื้อหาจากการเจียน

กระดาษและการเย็บเล่ม

• Top / Bottom เป็นการกำหนดขอบเขตการวางตัวอักษรบนหน้างานที่ขอบด้านบน

และขอบด้านล่าง

• Inside (Left) เป็นการกำหนดขอบเขตการวางตัวอักษรบนหน้างานที่ขอบด้านใน

(Inside) หรือด้านที่อยู่ใกล้กับสันหนังสือ แต่หากเป็นการทำงานแบบหน้าเดี่ยว จาก

Inside ก็จะเปลี่ยนเป็น Left

• Outside (Right) เป็นการกำหนดขอบเขตการวางตัวอักษรบนหน้างานที่ขอบด้านนอก

(Outside) หรือด้านที่อยู่ตรงข้ามกันสันหนังสือ หากเป็นการทำงานแบบหน้าเดี่ยวจาก

Outside ก็จะเปลี่ยนเป็น Right

✦ Bleed คือ ขอบที่อยู่ด้านนอกของหน้างานหรือที่เรียกว่า “ขอบตัดตก” กำหนดไว้เพื่อเป็น

ขอบเขตในการวางเผื่อ หากต้องการวางวัตถุหรือรูปภาพไว้ติดกับมุมหรือขอบหนังสือ ก็จะวางให้

เกินออกมาจากหน้างานจนถึงขอบ Bleed เพื่อป้องกันการตัดกระดาษที่ผิดพลาดได้

• Top / Bottom เป็นการกำหนดขอบตัดตกนอกหน้างานที่ขอบบน และขอบล่าง

• Inside (Left) เป็นการกำหนดขอบตัดตกนอกหน้างานที่ขอบด้านใน ขอบนี้จะใช้ก็ต่อ

เมื่อหน้างานมีหน้าขวา หรือซ้ายเพียงหน้าเดียว

Page 15: Knowledge sheet

เอกสารประกอบการออกแบบสิ่งพิมพ์

• Outside (Right) เป็นการกำหนดขอบตัดตกนอกหน้างานที่ขอบด้านนนอก แต่หาก

เป็นการทำงานกับหน้าเดี่ยว จาก Outside ก็จะเปลี่ยนเป็น Right

✦ Slug คือ ขอบเขตที่ใช้สำหรับการวางข้อมูลการพิมพ์ของหน้างาน เช่น Crop Marks,

Registration Marks, Color Bars

• Top / Bottom เป็นการกำหนดขอบเขตการวางข้อมูลการพิมพ์นอกหน้างานที่ขอบบน

และขอบล่าง

• Inside (Left) เป็นการกำหนดขอบเขตการวางข้อมูลการพิมพ์นอกหน้างานที่ขอบด้าน

ใน หากทำงานแบบหน้าเดี่ยวจาก Inside ก็จะเปลี่ยนเป็น Left โดยขอบ Slug ด้าน

Inside จะใช้ได้ก็ต่อเมื่อหน้างานมีหน้าขวา หรือซ้ายเพียงหน้าเดียว

• Outside (Right) เป็นการกำหนดขอบเขตการวางข้อมูลการพิมพ์นอกหน้างานที่ขอบ

ด้านนอก แต่หากเป็นการทำงานแบบหน้าเดี่ยว จาก Outside ก็จะเปลี่ยนเป็น Right

+ + + + + + + + + + + + + + + + + + + + + +

Page 16: Knowledge sheet

เอกสารประกอบการออกแบบสิ่งพิมพ์

ตัวอย่างการออกแบบ Layout

magspreads.net

Page 17: Knowledge sheet

เอกสารประกอบการออกแบบสิ่งพิมพ์

ตัวอย่างผลงาน