database)

11
1 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี การจัดการองค์ความรู้ด้านงานวิจัย ปีการศึกษา 2559 เรื่อง เทคนิคการเขียนผลงานวิจัยเพื่อตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติที่อยู่ในฐาน Q1, Q2การตีพิมพ์บทความวิจัยในวารสารทางวิชาการ ถือเป็นขั้นตอนสาคัญเพื่อนาเสนอผลงานวิจัยและ เผยแพร่องค์ความรู้ในแวดวงวิชาการหรือวิชาชีพ การตีพิมพ์บทความวิจัยในวารสารทางวิชาการที่มีรายชื่ออยูในฐานข้อมูลที่เป็นที่ยอมรับในระดับชาติและระดับนานาชาติ ได้ถูกนามาเป็นข้อกาหนดเพื่อขอสาเร็จ การศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษาของสถาบันการศึกษาต่าง ๆ สามารถนาผลงานไปขอตาแหน่งทางวิชาการใน ระดับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ อีกทั้งยังเป็นตัวชี้วัดด้านคุณภาพทางวิชาการ ของสถาบันอุดมศึกษาด้วย ความรู้หรือเทคนิคในการเขียนผลงานวิจัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับ นานาชาติที่อยู่ในฐานข้อมูลสากล จึงเป็นสิ่งจาเป็นสาหรับคณาจารย์ นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา และนักวิจัย เพื่อที่จะได้พัฒนาและเขียนงานวิจัยของตนเองให้สามารถเผยแพร่ตีพิมพ์ได้ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ เอกสารการจัดการองค์ความรู้ด้านงานวิจัย ปีการศึกษา 2559 เรื่องเทคนิคการเขียนผลงานวิจัยเพื่อตีพิมพ์ใน วารสารวิชาการระดับนานาชาติที่อยู่ในฐาน Q1, Q2” ของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ฉบับนี้ ได้สกัดและรวบรวมองค์ความรู้ด้านเทคนิคการเขียนผลงานวิจัยจาก คณาจารย์จากทั้งภายในและภายนอกคณะและผู้วิจัย ที่สามารถตีพิมพ์ผลงงานวิจัยในวารสารวิชาการระดับ นานาชาติที่อยู่ในฐานข้อมูล Q1, Q2 ได้ อีกทั้งยังได้นาเสนอความรู้ เทคนิค และวิธีการต่างๆ เพื่อเป็นแนวทาง ให้กับคณาจารย์ นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา และนักวิจัย ในการพัฒนางานวิจัยของตนเองเพื่อให้สามารถ ตีพิมพ์ผลงานวิจัยลงในฐานข้อมูล Q1, Q2 ได้เช่นกัน เพื่อเป็นการยกระดับคุณภาพทางวิชาการในระดับคณะ และในระดับมหาวิทยาลัยให้สูงยิ่งขึ้น เอกสารฉบับนี้ได้สรุปและนาเสนอเนื้อหาใน 2 ส่วนหลัก ได้แก่ (1) เทคนิคการเลือกวารสารระดับ นานาชาติเพื่อตีพิมพ์ผลงานวิจัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งวารสารที่อยู่ในฐานข้อมูล Q1, Q2 และ (2) เทคนิคการ เขียนผลงานวิจัยเพื่อตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติที่อยู่ในฐาน Q1, Q2 ซึ่งมีรายละเอียดดังนี1. เทคนิคการเลือกระดับวารสารระดับนานาชาติเพื่อตีพิมพ์ผลงานวิจัย ในการเลือกวารสารเพื่อ ส่งผลงานตีพิมพ์นั้นควรพิจารณาในประเด็นต่างๆ ดังนี1.1 ทบทวนจากวารสารฉบับเก่า เพื่อประเมินขอบเขตเนื้อหาของวารสาร หรือตรวจสอบจาก ฐานข้อมูลอ้างอิง เช่น web of science ซึ่งเป็นฐานข้อมูลบรรณานุกรมและสาระสังเขป ( Citation

Upload: others

Post on 11-Nov-2021

6 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

Page 1: Database)

1

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี การจัดการองค์ความรู้ด้านงานวิจัย ปีการศึกษา 2559

เรื่อง “เทคนิคการเขียนผลงานวิจัยเพื่อตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติที่อยู่ในฐาน Q1, Q2”

การตีพิมพ์บทความวิจัยในวารสารทางวิชาการ ถือเป็นขั้นตอนส าคัญเพ่ือน าเสนอผลงานวิจัยและเผยแพร่องค์ความรู้ในแวดวงวิชาการหรือวิชาชีพ การตีพิมพ์บทความวิจัยในวารสารทางวิชาการท่ีมีรายชื่ออยู่ ในฐานข้อมูลที่เป็นที่ยอมรับในระดับชาติและระดับนานาชาติ ได้ถูกน ามาเป็นข้อก าหนดเพ่ือขอส าเร็จการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษาของสถาบันการศึกษาต่าง ๆ สามารถน าผลงานไปขอต าแหน่งทางวิชาการในระดับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ อีกท้ังยังเป็นตัวชี้วัดด้านคุณภาพทางวิชาการของสถาบันอุดมศึกษาด้วย

ความรู้หรือเทคนิคในการเขียนผลงานวิจัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพ่ือตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติที่อยู่ในฐานข้อมูลสากล จึงเป็นสิ่งจ าเป็นส าหรับคณาจารย์ นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา และนักวิจัย เพ่ือที่จะได้พัฒนาและเขียนงานวิจัยของตนเองให้สามารถเผยแพร่ตีพิมพ์ได้ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ เอกสารการจัดการองค์ความรู้ด้านงานวิจัย ปีการศึกษา 2559 เรื่อง“เทคนิคการเขียนผลงานวิจัยเพ่ือตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติที่อยู่ในฐาน Q1, Q2” ของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ฉบับนี้ ได้สกัดและรวบรวมองค์ความรู้ด้านเทคนิคการเขียนผลงานวิจัยจากคณาจารย์จากทั้งภายในและภายนอกคณะและผู้วิจัย ที่สามารถตีพิมพ์ผลงงานวิจัยในวารสารวิชาการระดับนานาชาติที่อยู่ในฐานข้อมูล Q1, Q2 ได ้อีกทั้งยังได้น าเสนอความรู้ เทคนิค และวิธีการต่างๆ เพ่ือเป็นแนวทางให้กับคณาจารย์ นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา และนักวิจัย ในการพัฒนางานวิจัยของตนเองเพ่ือให้สามารถตีพิมพ์ผลงานวิจัยลงในฐานข้อมูล Q1, Q2 ได้เช่นกัน เพ่ือเป็นการยกระดับคุณภาพทางวิชาการในระดับคณะและในระดับมหาวิทยาลัยให้สูงยิ่งขึ้น

เอกสารฉบับนี้ได้สรุปและน าเสนอเนื้อหาใน 2 ส่วนหลัก ได้แก่ (1) เทคนิคการเลือกวารสารระดับนานาชาติเพ่ือตีพิมพ์ผลงานวิจัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งวารสารที่อยู่ในฐานข้อมูล Q1, Q2 และ (2) เทคนิคการเขียนผลงานวิจัยเพื่อตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติที่อยู่ในฐาน Q1, Q2 ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

1. เทคนิคการเลือกระดับวารสารระดับนานาชาติเพื่อตีพิมพ์ผลงานวิจัย ในการเลือกวารสารเพ่ือส่งผลงานตีพิมพ์นั้นควรพิจารณาในประเด็นต่างๆ ดังนี้

1.1 ทบทวนจากวารสารฉบับเก่า เพ่ือประเมินขอบเขตเนื้อหาของวารสาร หรือตรวจสอบจากฐานข้อมูลอ้างอิง เช่น web of science ซึ่ งเป็นฐานข้อมูลบรรณานุกรมและสาระสังเขป (Citation

Page 2: Database)

2

Database) เพ่ือการค้นคว้าและการอ้างอิง สามารถเชื่อมโยงไปยังบทความหรือผลงานอ่ืน ๆ ที่ เกี่ยวข้องกับเรื่องท่ีต้องการจากผลการสืบค้นที่ได้

1.2 ประเมินคุณภาพวารสารจาก Impact และ Ranking ซึ่งเป็นค่าบ่งชี้ถึงคุณภาพของวารสารนั้น ๆ ตัวอย่างค่าชี้วัดที่เป็นเกณฑ์ในการประเมินคุณภาพวารสาร ได้แก่

- ค่า Impact Factor (IF) คือ ค่าเฉลี่ยจ านวนครั้งของการอ้างอิงต่อบทความในช่วงระยะเวลาหนึ่งที่ก าหนด ถ้าค่า IF สูง แสดงว่าบทความในวารสารนั้นมีการถูกอ้างอิงบ่อยครั้ง บทความส่วนใหญ่ของวารสารนั้นมีผลกระทบต่อวงการวิชาการในระดับสูง ค่า IF จึงเป็นเครื่องมือช่วยในการเปรียบเทียบและจัดอันดับวารสาร เหมาะส าหรับนักวิจัยในการคัดเลือกวารสารที่เหมาะสมเพ่ือการตีพิมพ์ แต่ถ้าจะน ามาใช้เพ่ือประเมินคุณภาพของบทความวิจัย ควรพิจารณาจ านวนการอ้างอิงของบทความนั้นด้วย

เว็บไซต์แนะน าส าหรับตรวจสอบค่า Impact Factor (http://researchguides.uic.edu/if/impact)

- ค่า h index (highly-cited index หรือ Hirsch index) คือ ดัชนีในการประเมินคุณภาพผลงานตีพิมพ์ในวารสารเป็นค่าตัวเลขที่แสดงจ านวนผลงานวิจัยที่มีจ านวนครั้งของการอ้างอิงเท่ากับหรือมากกว่าจ านวนผลงานวิจัยนั้นๆ เช่น ค่า h index = 10 หมายความว่า มีผลงานวิจัยจ านวน 10 บทความ (จากจ านวนทั้งหมด) ที่ได้รับการอ้างอิง 10 ครั้งหรือมากกว่า เป็นต้น เอกสารอ้างอิงที่น่าสนใจเกี่ยวกับค่า h index (http://stang.sc.mahidol.ac.th/text/pdf/bibliometrics.pdf)

Page 3: Database)

3

- จ านวนบทความที่ตีพิมพ์ในแต่ละปี - การประเมินช่วงอายุเฉลี่ยของการใช้วารสาร (Cited Half Life) ตัวอย่างเครื่องมือที่ช่วยในการประเมิน ได้แก่ Journal Citation Reports (JCR), Web of Science,

SCImago, Scopus Journal Analyzer, Eigen FACTOR เป็นต้น

Journal Citation Reports (http://www.scimagojr.com)

Web of Science (https://login.webofknowledge.com)

Page 4: Database)

4

Scopus (https://www.scopus.com/source/eval.uri)

1.3 สถานะการมีอยู่ของวารสาร (Index) อยู่ในฐานข้อมูลวารสารอ้างอิงที่ส าคัญ (Citation

Databases) ใช้เพ่ือประเมินคุณภาพของวารสาร โดยการตรวจสอบสถานะ Index และ ระยะเวลาที่ index ในฐานข้อมูลวารสารอ้างอิงที่ส าคัญและเป็นที่ยอมรับกันในวงการศึกษาวิจัย เช่น PubMed, Science Direct, SciFinder, Scopus, Web of science และ Google Scholar เป็นต้น

PubMed (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed)

Page 5: Database)

5

Science Direct (http://www.sciencedirect.com)

SciFinder (https://scifinder.cas.org/scifinder)

Page 6: Database)

6

Scopus (https://www.scopus.com)

1.4 ข้อมูลเกี่ยวกับวารสารที่ส าคัญ ได้แก่ จ านวนปีที่ตีพิมพ์ จ านวนการยืมส าหรับวารสารตัวเล่ม หรือการดาวโหลดวารสาร/ e journals ภาษาต้นฉบับที่ตีพิมพ์ ความถี่ของการตีพิมพ์ หรือรูปแบบการตีพิมพ์ เช่น แบบอิเล็กทรอนิกส์ หรือตัวเล่ม (print) เป็นต้น

1.5 อัตราการยอมรับ/อัตราการปฏิเสธการตีพิมพ์ (Acceptance/Rejection Rates) ใช้เป็นตัวชี้วัดถึงโอกาสที่จะได้ตีพิมพ์ในวารสารนั้น ซึ่งวารสารเฉพาะสาขามีแนวโน้มว่าจะมีอัตราต่ ากว่าวารสารทั่วไป

ตัวอย่างเว็บไซต์ที่ใช้ในการหาค่าอัตราการยอมรับ/อัตราการปฏิเสธการตีพิมพ์ (Acceptance/Rejection

Rates) ของวารสารต่างประเทศ (http://guides.lib.umich.edu)

1.6 สถานะของวารสารที่ มีคณะกรรมการกลั่นกรองผลงานก่อนการตีพิมพ์ มีการแต่งตั้ งผู้ทรงคุณวุฒิ (peer reviewer) ที่พิจารณาคุณภาพบทความที่ครอบคลุมสาขาวิชาหรือกลุ่มสาขาวิชาตาม

Page 7: Database)

7

วัตถุประสงค์และขอบเขตของวารสาร โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกหน่วยงานที่จัดท าวารสารอยู่ในรายชื่อด้วย ซึ่งจะช่วยคัดกรองเรื่องคุณภาพของวารสารได้เป็นอย่างดี ซึ่งจะสะท้อนถึงคุณภาพของกระบวนการกลั่นกรองพิจารณาบทความของวารสารนั้นๆ

1.7 ระยะเวลาของกระบวนการพิจารณากลั่นกรองโดยผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review Process) ซึ่งสามารถตรวจสอบได้จากเว็บไซต์ของวารสาร โดยปัจจัยที่ควรพิจารณาได้แก่

- ระยะเวลาเฉลี่ยในการส่งบทความตีพิมพ์ (submit) - ระยะเวลาเฉลี่ยตั้งแต่ส่งบทความถึงการตอบรับ/ปฏิเสธการตีพิมพ์ - การแจ้งถึงผู้เขียนว่าบทความได้รับการตอบรับและเมื่อตอบรับแล้วใช้เวลานานเท่าใด บทความ

ดังกล่าวจึงได้ตีพิมพ์ - ความถี่ในการตีพิมพ์ (issue per year) และขั้นตอนการ review เช่น วารสารที่ตีพิมพ์ 3 เดือนครั้ง

น่าจะมีแนวโน้มใช้เวลานานกว่าวารสารที่ตีพิมพ์ทุกเดือน 1.8 ชื่อเสียงของส านักพิมพ์ วารสาร บรรณาธิการ และบอร์ดบรรณาธิการ ซึ่งสามารถตรวจสอบได้

จากเว็บไซต์ของวารสาร 1.9 ประเภทของต้นฉบับ วารสารบางฉบับเลือกรับบทความต้นฉบับเฉพาะบางประเภทเท่านั้น เช่น

review article ซึ่งข้อมูลดังกล่าวสามารถตรวจสอบได้จากเว็บไซต์ของวารสารนั้น ๆ 1.10 ค่าใช้จ่ายท่ีจะเกิดขึ้น เช่น ค่า review บทความ ค่าด าเนินการต่าง ๆ เช่น ภาพสี สื่อประสมอื่น

ๆ ค่าจัดท าบรรณานุกรม ค่าเปิดให้บทความสามารถเข้าถึงหรืออ่านได้ฟรี (Open access) และค่าใช้จ่ายการตีพิมพ์วารสารประเภท Open access เป็นต้น ผู้วิจัยจะต้องศึกษาเรื่องค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่จะเกิดข้ึนก่อนที่จะส่งบทความไปยังวารสารนั้นๆ เพ่ือจะได้ทราบถึงค่าใช้จ่ายทั้งหมดและเตรียมการไว้ก่อนล่วงหน้า เมื่อบทความได้รับการตอบรับตีพิมพ์

เทคนิคทั้ง 10 ข้อดังกล่าวเป็นประโยชน์อย่างยิ่งส าหรับผู้วิจัยในการเลือกวารสารเพ่ือตีพิมพ์ผลงานวิจัยของตนเอง กระบวนการเริ่มต้นเป็นสิ่งที่มีความส าคัญเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากผู้วิจัยจะได้วางแผนที่จะเขียนบทความวิจัยได้ตรงกับเนื้อหาและวัตถุประสงค์ของวารสารนั้นๆ เพื่อเพ่ิมโอกาสในการตีพิมพ์ให้มีมากยิ่งขึ้น * ข้อมูลบางส่วนอ้างอิงจาก เอกสารประกอบการอบรม: กลยุทธ์การเลือกวารสารนานาชาติเพ่ือการตีพิมพ์ ในการอบรม เรื่อง “การคัดเลือกวารสารเพ่ือการตีพิมพ์ผลงานวิจัย” ส านักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วันที่ 19 ธันวาคม 2557

(2) เทคนิคการเขียนผลงานวิจัยเพื่อตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติที่อยู่ในฐาน Q1, Q2 ข้อมูลในส่วนนี้เกิดจากการตกผลึกองค์ความรู้จากคณาจารย์จากท้ังภายในและภายนอกคณะและผู้วิจัยที่มีประสบการณ์ด้านการท างานวิจัย ที่สามารถตีพิมพ์ผลงงานวิจัยในวารสารวิชาการระดับนานาชาติที่อยู่ในฐานข้อมูล Q1, Q2 ได้ คณาจารย์ ผู้วิจัย และบุคคลที่สนใจทั่วไป สามารถน าเทคนิคที่น าเสนอนี้ไปใช้ได้จริงในทางปฏิบัติ และสามารถน าไปต่อยอดองค์ความรู้เพ่ือพัฒนาและเขียนผลงานวิจัยของตนเอง เพ่ือตีพิมพ์ในวารสารวิชาการที่อยู่ในฐานข้อมูลสากล เทคนิคต่างๆ แบ่งออกเป็น 5 ด้าน ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

Page 8: Database)

8

2.1 การใช้ภาษาอังกฤษในการเขียนบทความวิจัย - ส าหรับผู้ที่ไม่ใช่เจ้าของภาษา ควรให้ native speaker ช่วยอ่าน ปรับปรุงและแก้ไขเนื้อหา

ภาษาอังกฤษก่อนที่จะส่งบทความออกไป - การให้ native speaker ช่วยอ่านและปรับปรุงบทความภาษาอังกฤษนั้น ควรเน้นเรื่อง

ความถูกต้องของการใช้ค าศัพท์ รูปแบบของประโยค โครงสร้างประโยค และการใช้ไวยกรณ์ เป็นหลัก ส่วนค าที่เป็นค าศัพท์เฉพาะ เช่น ชื่อทางวิทยาศาสตร์ ชื่ออุปกรณ์ เป็นต้น ควรแนะน าให้ native speaker คงเอาไว้ และผู้วิจัยจะต้องกลับมาทบทวนอีกครั้ง เนื่องจาก native speaker ที่อยู่คนละสาขาวิชากัน อาจไม่เข้าใจความหมายของค าศัพท์เฉพาะเหล่านั้น หากแปลหรือแก้ไขอาจท าให้ความหมายของค าศัพท์คลาดเคลื่อนไปจากความหมายเดิม

- ภาษาที่ใช้เป็นส่วนส าคัญที่จะท าให้บทความนั้นได้รับการคัดเลือกตีพิมพ์ลงในวารสารที่อยู่ในระดับควอไทล์ Q1, Q2 แต่ก็ไม่ใช่ประเด็นหลัก ถ้าเนื้อหา (content) ของงานวิจัยดี ผู้พิจารณาบทความก็อาจพิจารณาให้น ากลับมาแก้ไขปรับปรุงเนื้อหาหรือภาษาอีกครั้งและส่งกลับไปใหม่ ประเด็นด้านเนื้อหาของงานวิจัยยังเป็นประเด็นที่มีความส าคัญมากท่ีสุด

- บางวารสารมีบริการช่วย proof ด้านภาษา ในกรณีนี้ให้ผู้วิจัยประเมินคุณภาพงานวิจัยของตนเองและพิจารณาอย่างถี่ถ้วนว่าควรใช้บริการช่วย proof ด้านภาษาของวารสารนั้นๆ หรือไม่ เนื่องจากโดยส่วนใหญ่จะมีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้น ในบางกรณีอาจสอบถามกลับไปยังวารสารโดยตรง เพ่ือขอค าแนะน าเพ่ิมเติมเกี่ยวกับการแก้ไขปรับปรุงบทความวิจัยอีกครั้ง เพ่ือให้เกิดความชัดเจนมากยิ่งขึ้น

2.2 คุณภาพของงานวิจัย - งานวิจัยบางงานอาจท าคล้ายๆ กับงานวิจัยอ่ืน แต่หากผู้วิจัยเก็บข้อมูลตัวอย่างจ านวนมาก

พอ น าข้อมูลที่เก็บได้มาท าการวิเคราะห์ทางสถิติ น าเสนอวิธีการวิเคราะห์ที่ถูกต้องเหมาะสม น าเสนอผลลัพธ์ในมุมมองที่หลากหลาย หาความสัมพันธ์เพ่ิมมากยิ่งขึ้น งานในลักษณะนี้ก็สามารถตีพิมพ์ในฐาน Q1, Q2 ได้เช่นเดียวกัน โดยเฉพาะงานด้านวิทยาศาสตร์

- ผู้วิจัยโดยส่วนใหญ่เข้าใจว่าการตีพิมพ์บทความในฐาน Q1, Q2 จะต้องมีเนื้อหาที่เยอะ แต่ในหลายๆ ครั้ง ผู้วิจัยพบว่า เนื้อหาที่เยอะมากเกินไปจะก่อให้เกิดความคลุมเครือและขาดความชัดเจน ผู้อ่านไม่สามารถจับประเด็นได้ และผลสุดท้ายคือปฏิเสธการตีพิมพ์ ผู้วิจัยควรก าหนดขอบเขตของเนื้อหาให้ชัดเจนตั้งแต่เริ่มท างานวิจัย เช่น อาจแบ่งเนื้อหาออกเป็น 2 ส่วน เพ่ือแยกตีพิมพ์เป็น 2 บทความ ถ้าเนื้อหามีความชัดเจน มีผลลัพธ์ของงานวิจัยที่ดีทั้ง 2 บทความก็อาจตีพิมพ์ในฐาน Q1, Q2 ได้ หรือบทความที่ 1 อาจตีพิมพ์ในฐาน Q1 และอีกบทความอาจตีพิมพ์ในฐาน Q3 ได้เป็นต้น ซึ่งดีกว่าการรวมเป็นบทความเดียวกันและถูกปฏิเสธการตีพิมพ์ ซึ่งจะเสียเวลาและไม่สามารถน าไปใช้ประโยชน์ได้

- ขอบเขตของงานวิจัยมีความส าคัญในการก าหนดชื่อเรื่องและรูปแบบที่ต้องการน าเสนองานวิจัย ผู้เขียนงานวิจัยควรก าหนดประเด็นวิจัยหรือค าถามวิจัยให้สอดคล้องและคลอบคลุมกับเนื้อหาที่ต้องการน าเสนอ

- การตั้งชื่อเรื่องต้องกระชับและแสดงถึงภาพรวมของเนื้อหาทั้งหมด ผู้วิจัยอาจเขียนเป็นประโยคค าถามเพ่ือดึงดูดความสนใจของผู้อ่าน ในกรณีของงานวิจัยเชิงเปรียบเทียบ ชื่อบทความวิจัยควรมีค าส าคัญที่แสดงตัวแปรตาม (dependent variable) ที่ศึกษา เพ่ือให้ผู้อ่านเข้าใจว่าเป็นงานวิจัยในลักษณะใด

Page 9: Database)

9

- รูปแบบการน าเสนองานวิจัยขึ้นอยู่กับวารสารงานวิจัย การอ่านงานวิจัยที่คล้ายคลึงกับงานวิจัยของผู้วิจัยจะช่วยให้ผู้วิจัยทราบรูปแบบการเขียนงานวิจัย การเรียงล าดับหัวข้อและประเด็นที่จะน าเสนอได้ดีขึ้น

- แนวทางการเขียนบทสรุป Results and Discussion ควรพิจารณาจากวารสารที่ผู้วิจัยจะส่งตีพิมพ์ว่ามีรูปแบบอย่างไร บางวารสารแยกส่วน Results และ Discussion ออกจากกัน บางวารสารรวมอยู่ด้วยกัน ผู้วิจัยควรพิจารณาจาก journal template หรือรูปแบบของบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ไปแล้วว่าเขียนบทสรุปอย่างไรเพ่ือให้เกิดความชัดเจนในการน าเสนอ พบว่าการเขียนส่วน results และ discussion มีความส าคัญต่อการพิจารณาผลงานเป็นอย่างมากเนื่องจากเป็นบทสรุปที่จะท าให้ผู้อ่านเกิดความเข้าใจในเนื้องานและสิ่งที่ผู้เขียนได้ตอบวัตถุประสงค์ของงานวิจัย ผู้วิจัยจึงจ าเป็นต้องเน้นการเขียนบทสรุปให้ดี มีความชัดเจนในการน าเสนอผลลัพธ์ และสรุปประเด็นงานวิจัยให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์หรือโจทย์วิจัย

- การเขียนบทความวิจัย ในส่วนบทน าหรือส่วนเริ่มต้นของบทความอาจใช้ภาษาเขียนแบบเดียวกันกับภาษาที่ใช้เขียนใน magazine ซึ่งการน าเสนอในลักษณะนี้ท าให้ชวนอ่าน เพ่ิมความน่าสนใจมากยิ่งขึ้นส าหรับการอ่านและติดตาม โดยอาจน าเสนอเนื้อหาในลักษณะที่เป็น story เช่น ปัญหาคืออะไร ท าไมผู้วิจัยถึงศึกษาปัญหานี้ การแก้ปัญหานี้จะช่วยตอบโจทย์อย่างไร ผลของงานวิจัยมีผลกระทบในวงกว้างมากน้อยเพียงใด ซึ่งท าให้เกิดการเชิญชวนให้ผู้พิจารณาบทความอยากอ่านหรือสนใจที่จะอ่านบทความวิจัยนั้นๆ ต่อไปและเข้าใจในภาพรวมของงานวิจัย ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อการพิจารณาบทความ

2.3 การเลือกวารสารที่จะตีพิมพ์และการจัดเตรียมบทความ จากมุมมองและประสบการณ์ของกลุ่มนักวิจัยที่สามารถตีพิมพ์บทความวิจัยในฐานข้อมูล

Q1, Q2 ได้สรุปประเด็นเพ่ิมเติมเกี่ยวกับเทคนิคการเลือกวารสารที่จะตีพิมพ์และการจัดเตรียมบทความ โดยมีรายละเอียดดังนี้

- การเลือกวารสารในการตีพิมพ์ พิจารณาจากวารสารที่มีแนวทาง ขอบข่าย วัตถุประสงค์ หรืองานทดลอง เทคนิค แนวทางการวิจัยที่ตรงกับงานวิจัยของตนเอง โดยขอบข่ายงานตีพิมพ์ของวารสารแต่ละฉบับจะปรากฏอยู่ด้านหน้าและหลังวารสารแต่ละฉบับ หรืออาจตรวจสอบได้จากเว็บไซด์ของวารสารซึ่งมีค าแนะน าส าหรับผู้เขียน เช่น ประเภทของบทความ รูปแบบการเขียน และรูปแบบการอ้างอิง

- การเลือกวารสารใดๆ นั้น ควรพิจารณาระยะเวลาที่ใช้ในการ review โดยดูจากระยะเวลาตั้งแต่รับวารสารจนได้รับการตีพิมพ์ของบทความที่ตีพิมพ์มาก่อนหน้านี้ รวมถึงจ านวนฉบับของวารสารที่ออกตีพิมพ์ในแต่ละปี จ านวนบทความที่ตีพิมพ์ในแต่ละฉบับ แล้วน าข้อมูลมาประกอบการตัดสินใจในการส่งบทความไปยังวารสารนั้นๆ แนะน าให้ผู้วิจัยท ารายการ (list) วารสารกลุ่มเป้าหมายของตนเอง น าข้อมูลระยะเวลาที่ใช้ในการ review ระยะเวลาทั้งหมดที่ใช้ในการตีพิมพ์ จ านวนฉบับที่ตีพิมพ์ในแต่ละปี รวมถึงข้อมูลอื่นๆ ที่เป็นประโยชน์ เพ่ือใช้ในการวางแผนและตัดสินใจในการส่งบทความ

- หากต้องการส่งบทความไปยังวารสารใดก็ควรอ้างอิงบทความที่เผยแพร่ตีพิมพ์แล้วในวารสารนั้น ซึ่งการอ้างอิงบทความใดๆ ต้องอยู่ในสาขาวิจัยหรือโจทย์วิจัยเดียวกันหรือใกล้เคียงกัน ควรอ้างอิงผลงานวิจัยที่ยังไม่ล้าสมัย นักวิจัยต้องอ่านบทความท่ีน ามาอ้างอิงจริง ท าการสรุป และน ามาเขียนโดยใช้ภาษาของตนเอง ห้ามคัดลอกทั้งประโยคและน ามาอ้างอิง เนื่องจากปัจจุบันวารสารโดยส่วนใหญ่ใช้โปรแกรมมาช่วย

Page 10: Database)

10

ในการตรวจพิจารณาบทความ ซึ่งโปรแกรมอาจมองว่าเป็นการคัดลอกเนื้อหามาจากบทความอ่ืน ท าให้เกิดPlagiarism ได ้

2.4 การสร้างความร่วมมือระหว่างภาควิชา/สาขาวิชา/สถานศึกษา/หน่วยงาน/นักวิจัย

- ผลงานวิจัยที่เกิดจากความร่วมมือระหว่างภาควิชา/สาขาวิชา/สถานศึกษา/หน่วยงาน/นักวิจัย ส่งผลให้ได้ผลงานวิจัยที่ดีซึ่งสะท้อนมาจากความเชี่ยวชาญของผู้วิจัยในแต่ละสาขาวิชา เป็นการเพ่ิมโอกาสในการตีพิมพ์ในฐาน Q1, Q2 ไดม้ากยิ่งขึ้น

- ควรสร้างความร่วมมือด้านการท างานวิจัยร่วมกับหน่วยงาน สถาบันวิจัย หรือมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ เพ่ือเพ่ิมช่องทางและโอกาสในการตีพิมพ์

- การมีชื่อ Professor ต่างประเทศอยู่ในบทความก็สามารถเพ่ิมช่องทางและโอกาสในการตีพิมพ์ใน Q1, Q2 ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Professor ที่มีความเชี่ยวชาญในสาขานั้นๆ และมีงานตีพิมพ์จ านวนมาก

- ควรส่งเสริมให้นักศึกษาระดับปริญญาตรีและปริญญาโทได้ท างานวิจัย/สิ่งประดิษฐ์ข้ามสาขาวิชากัน เพ่ือให้เกิดการท างานร่วมกัน เอาความเชี่ยวชาญของแต่ละสาขามาประยุกต์ในงานวิจัย ท าให้ผลงานวิจัยที่ได้ดีกว่างานที่มาจากศาสตร์เพียงด้านเดียว

2.5 การหาผู้ช่วยวิจัย - ควรหาผู้ช่วยวิจัยที่สามารถช่วยท างานวิจัยได้ในแบบ Full-Time เช่น นักศึกษาระดับ

ปริญญาโท เป็นต้น - อาจฝากผู้ช่วยนักวิจัยไปท างานในห้องปฏิบัติการที่มีเครื่องมือพร้อมส าหรับการท างานวิจัย

วิธีนี้จะท าให้ได้ผลการวิจัยที่ดีในระยะเวลาที่สั้น ท าให้สามารถน าผลลัพธ์มาเขียนในบทความวิจัยได้ ในระยะเวลาที่ก าหนด ในกรณีนี้หน่วยงานต้องมีความร่วมมือกัน หรืออาจใช้ความสัมพันธ์ส่วนตัวในการติดต่อและประสานงาน

- การหาผู้ช่วยวิจัย อาจได้มาจากการกลับไปขอความช่วยเหลือจากอาจารย์หรือที่ปรึกษาของผู้วิจัยเอง เนื่องจากท่านเป็นคนที่มีความรู้ มีประสบการณ์ในการท างานวิจัย ซึ่งสามารถแนะน าผู้ช่วยนักวิจัยให้ได้ รวมถึงแนะน าผู้ที่เราสามารถจะไปติดต่อขอความช่วยเหลือได้ บางครั้งอาจเป็นนิสิตระดับปริญญาโทหรืออาจารย์ที่ท างานวิจัยในสาขาท่ีสามารถเกื้อหนุนกันได้ นอกจากเทคนิคใน 2 ส่วนหลักที่ได้น าเสนอไปแล้ว ผู้วิจัยควรพิจารณาถึงประเด็นด้านปัญหาและอุปสรรคประกอบด้วย เพื่อให้การเขียนบทความวิจัยมีความรัดกุม และสามารถตีพิมพ์ลงในฐานข้อมูล Q1, Q2 ได้ ปัญหาด้านเวลาส าหรับเขียนงานตีพิมพ์ การเขียนงานวิจัยส าหรับการตีพิมพ์ ต้องอาศัยเวลาในการเขียน และการศึกษาเอกสารในส่วนทฤษฎีหรืองานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพ่ือป้องกันจุดอ่อน ปรับปรุงแก้ไขงาน ท าให้ได้งานที่ถูกต้องสมบูรณ์ที่สุด ซึ่งนักวิจัยพบปัญหาด้านเวลา เนื่องมาจากภาระงานที่ต้องท า ได้แก่ งานสอน การเข้าประชุม การเข้าร่วมกิจกรรม ทั้งในระดับสาขา คณะ และมหาวิทยาลัย จึงเป็นอุปสรรคต่อการจัดสรรเวลาเพ่ือเขียนงานวิจัย เงื่อนไขเกณฑ์การ

Page 11: Database)

11

เบิกค่าสอนเกินที่ผูกติดกับการท าวิจัย ท าให้อาจารย์ที่มีภาระงานสอนมาก ต้องท าวิจัยด้วยในช่วงเวลาเดียวกัน จึงเป็นไปได้ยากที่จะสามารถจัดสรรเวลาเขียนงานวิจัยที่เสร็จแล้วเพ่ือตีพิมพ์ นอกจากนั้น ระบบการท างานของบุคลากรสายสนับสนุนของคณะ ไม่อ านวยต่อการผลิตผลงานวิจัย เนื่องจากมีความล่าช้า ไม่คล่องตัว ขาดประสิทธิภาพในการประสานงานกับหน่วยงานอื่น

ปัญหาเรื่องการคัดลอกงานวิจัย

การเขียนงานวิจัยให้เป็นเล่มรายงาน หรือ เป็นบทความเพ่ือการตีพิมพ์ก็มีความยากในระดับหนึ่งแล้ว แต่สิ่งที่ผู้วิจัยทุกคนต้องตระหนักและให้ความส าคัญในระหว่างการเขียนก็คือการเขียนทั้งหมดควรมีที่มาจากความรู้ที่เราได้รับหรือพัฒนามางานวิจัย การเขียนด้วยภาษาและส านวนของตัวเอง โดยทั้งรายงานหรือ บทความนั้นต้องปราศจากการคัดลอก การคัดลอก (Plagiarism) คือ การน าผลงานของคนอ่ืนมาใส่หรือรวมไว้ในงานตัวเองด้วยวิธีการที่ ไม่ถูกต้อง หรือ การขโมย หรือ การน าผลงานหรืองานเขียนของคนอ่ืนมาใส่ในงานเขียนของตัวเอง หรือการท าให้คนอ่ืนเชื่อว่าผลงานงานนี้เป็นผลงานของตัวเอง เมื่อการคัดลอก คือ การน าผลงานคนอ่ืนมาใส่ด้วยวิธีที่ไม่ถูกต้องหรือขโมยนั้นเราจะพบงานในลักษณะนี้จะไม่มีการอ้างอิงเอกสารหรือแหล่งความรู้ โดยการอ้างถึงเรื่อง ๆ หนึ่ง ซึ่งผู้เขียนไม่ได้ค้นพบหรือ ทดลองได้ด้วยตนเอง การอ้างลักษณะนี้ต้องมีเอกสารอ้างอิง ซึ่งการคัดลอกในลักษณะนี้มักเกิดขึ้นได้ง่าย ดังนั้น ตอนเขียนควรหมั่นตรวจทานและพยายามถามตัวเองตลอดว่าเรื่องนี้เรารู้ได้อย่างไร ควรอ้างอิงอย่างไร การคัดลอกท่ีพบได้บ่อย คือ การยกประโยค หรือ ค าพูดมาใช้ ซึ่งในประเด็นนี้ถือว่าการน าค าพูด จากเอกสารอ่ืนมาเกิน 4 ค า แม้ว่ามีการอ้างอิง ให้ถูกนับว่าเป็นการคัดลอก ดังนั้นการยกตารางหรือแผนภาพ จากรายงานผู้อ่ืนมาใช้ในรายงานของตัวเองเลยจึงเป็นการคัดลอกด้วย แต่ถ้านักวิจัยมีความจ าเป็นต้องใช้ข้อมูล จากตารางหรือแผนภาพนั้น ควรน ามาเขียนใหม่หรือเรียงใหม่ให้เป็นการน าเสนอด้วยส านวนของตัวเองพร้อม กับการอ้างอิงที่ถูกต้องและครบถ้วน ส่วนการคัดลอกด้วยการใช้งานของคนอ่ืนมาเปลี่ยนเป็นชื่อของเรานั้นเป็นเรื่องที่ไม่ควรเกิดเป็นอย่างยิ่ง เพราะถือว่าเป็นการขโมยและผู้ท าจะกลายเป็นโจรทางวิชาการ ส่วนการท าวิจัยแล้วเรื่องที่ท าไปซ้ ากับคนอ่ืนไม่ได้ถือว่าเป็นการลอกผลงาน ถ้าผู้ท าไม่ได้จงใจและไม่ได้น าเอาเนื้อหา ข้อมูลและผลงานของผู้อื่นมาใช้ การคัดลอกในกรณีสุดท้าย คือ การคัดลอกงานตัวเอง ซึ่งการคัดลอกด้วยวิธีนี้เป็นการคัดลอกที่ ผู้วิจัยรู้ตัวเองดีแต่มักจะคิดว่านี้เป็นงานของเรา การน าเรื่องหรือรูปจากงานวิจัยที่หนึ่งไปใส่ในงานวิจัยที่สองนั้น ไม่สามารถท าได้ควรใช้รูปใหม่หรือเปลี่ยนวิธีเขียนใหม่ ไม่ควรใช้ของเก่าที่เคยเผยแพร่แล้วนั้นเอง การคัดลอกงานวิจัยที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ บางท่านอาจเคยท ามาบ้างแบบตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม (อ้างอิงจากเว็บไซต์ http://www.mbs.msu.ac.th เอกสารแนวปฏิบัติที่ เกี่ยวการเขียนผลงานทางวิชาการและงานวิจัยของคณาจารย์ระดับบัณฑิตศึกษา)