ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียของ...

16
ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียของสารสกัดทองพันชั่งต่อเชื้อแบคทีเรียที่พบบนผิวหนัง** Antibacterial Activity of Rhinacanthus nasutus (L.) Kurz Extract Against Bacteria with Dermatologic Relevance** ทัศนีย์ พาณิชย์กุล* และคณะ Tasanee Panichakul* et al. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต Faculty of Science and Technology, Suan Dusit University บทคัดย่อ ทองพันชั่ง เป็นสมุนไพรที่มีการนำมาใช้ประโยชน์ในการรักษาโรคผิวหนัง เนื่องจากมีรายงาน การวิจัยของสารสกัดทองใบพันชั่งมีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย งานวิจัยนี้ จึงศึกษาฤทธิ์ของสารสกัดจาก ใบทองพันชั่งในเมทานอลต่อการยับยั้งการเจริญของเชื้อแบคทีเรียก่อโรคที่ผิวหนัง ผลจากการวิเคราะห์ สารประกอบของสารสกัดทองพันชั่งด้วยวิธี Thin Layer Chromatography พบว่ามีสาร Umbelliferone และ Lupeol และศึกษาฤทธิ์ของสารสกัดในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย Staphylococcus aureus, Staphylococcus epidermidis, Escherichia coli และ Pseudomonas aeruginosa โดยวิธี Disc Diffusion และ Broth Dilution ผลการทดสอบ โดยวิธี Disc Diffusion พบว่าสารสกัดทองพันชั่งที่ความเข้มข้น 50 มิลลิกรัม ต่อมิลลิลิตร สามารถยับยั้งเชื้อ S. aureus, S. epidermidis และ E. coli แต่ไม่ยับยั้งเชื้อ P. aeruginosa เมื่อทดสอบฤทธิ์ดังกล่าวของสารสกัดทองพันชั่งโดยวิธี Broth Dilution พบว่า ความเข้มข้นต่ำสุดของ สารสกัดที่ฆ่าแบคทีเรีย (MBC) ต่อเชื้อ S. aureus, S. epidermidis และ E. coli มีค่าเท่ากับ 25 มิลลิกรัม ต่อมิลลิลิตร และ ค่าความเข้มข้นของสารสกัดที่สามารถยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียร้อยละ 90 (MIC 90 ) มีค่าเท่ากับ 9.5±0.12, 9.65±0.11และ 9.8±0.10 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร และค่าความเข้มข้นของสารสกัด ที่สามารถยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียร้อยละ 50 (MIC 50 ) มีค่าเท่ากับ 6.4±0.05, 6.5±0.06 และ 6.8±0.04 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร ต่อเชื้อ S. aureus, S. epidermidis และ E. coli ตามลำดับ จากผลการ ทดลองพบว่า สารสกัดทองพันชั่งสามารถยับยั้งแบคทีเรียผิวหนัง ผลงานวิจัยนี้จะเป็นประโยชน์ในการพัฒนา ผลิตภัณฑ์สำหรับทำความสะอาดผิวต่อไป ซึ่งเป็นการเพิ่มคุณภาพของผลิตภัณฑ์และเพิ่มมูลค่าของสมุนไพร ทองพันชั่ง คำสำคัญ: ทองพันชั่ง ฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย S. aureus, S. epidermidis, E. coli * ผู้ประสานงานหลัก (Corresponding Author) e-mail: [email protected], [email protected] **งานวิจัยนี้ได้รับทุนอุดหนุนจากงบประมาณแผ่นดินด้านการวิจัย ปีงบประมาณ 2558 มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียของสารสกัดทองพันชั่งต่อเชื้อแบคทีเรียที่พบบนผิวหนัง

Upload: others

Post on 27-Aug-2021

2 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

Page 1: ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียของ ...arcbs.bsru.ac.th/journal/File70816.pdf · 2019. 1. 18. · 18 ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียของสารสกัดทองพันชั่งต่อเชื้อแบคทีเรียที่พบบนผิวหนัง

ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียของสารสกัดทองพันชั่งต่อเชื้อแบคทีเรียที่พบบนผิวหนัง** Antibacterial Activity of Rhinacanthus nasutus (L.) Kurz Extract Against Bacteria

with Dermatologic Relevance**

ทัศนีย์ พาณิชย์กุล* และคณะ Tasanee Panichakul* et al.

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต Faculty of Science and Technology, Suan Dusit University

บทคัดย่อ

ทองพันชั่ง เป็นสมุนไพรที่มีการนำมาใช้ประโยชน์ในการรักษาโรคผิวหนัง เนื่องจากมีรายงาน การวิจัยของสารสกัดทองใบพันชั่งมีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย งานวิจัยนี้ จึงศึกษาฤทธิ์ของสารสกัดจาก ใบทองพันชั่งในเมทานอลต่อการยับยั้งการเจริญของเชื้อแบคทีเรียก่อโรคที่ผิวหนัง ผลจากการวิเคราะห์สารประกอบของสารสกัดทองพันชั่งด้วยวิธี Thin Layer Chromatography พบว่ามีสาร Umbelliferone และ Lupeol และศึกษาฤทธิ์ของสารสกัดในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย Staphylococcus aureus, Staphylococcus epidermidis, Escherichia coli และ Pseudomonas aeruginosa โดยวิธี Disc Diffusion และ Broth Dilution ผลการทดสอบ โดยวิธี Disc Diffusion พบว่าสารสกัดทองพันชั่งที่ความเข้มข้น 50 มิลลิกรัม ต่อมิลลิลิตร สามารถยับยั้งเชื้อ S. aureus, S. epidermidis และ E. coli แต่ไม่ยับยั้งเชื้อ P. aeruginosa เมื่อทดสอบฤทธิ์ดังกล่าวของสารสกัดทองพันชั่งโดยวิธี Broth Dilution พบว่า ความเข้มข้นต่ำสุดของ สารสกัดที่ฆ่าแบคทีเรีย (MBC) ต่อเชื้อ S. aureus, S. epidermidis และ E. coli มีค่าเท่ากับ 25 มิลลิกรัม ต่อมิลลิลิตร และ ค่าความเข้มข้นของสารสกัดที่สามารถยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียร้อยละ 90 (MIC

90)

มีค่าเท่ากับ 9.5±0.12, 9.65±0.11และ 9.8±0.10 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร และค่าความเข้มข้นของสารสกัด ที่สามารถยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียร้อยละ 50 (MIC

50) มีค่าเท่ากับ 6.4±0.05, 6.5±0.06 และ

6.8±0.04 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร ต่อเชื้อ S. aureus, S. epidermidis และ E. coli ตามลำดับ จากผลการทดลองพบว่า สารสกัดทองพันชั่งสามารถยับยั้งแบคทีเรียผิวหนัง ผลงานวิจัยนี้จะเป็นประโยชน์ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์สำหรับทำความสะอาดผิวต่อไป ซึ่งเป็นการเพิ่มคุณภาพของผลิตภัณฑ์และเพิ่มมูลค่าของสมุนไพรทองพันชั่ง

คำสำคัญ: ทองพันชั่ง ฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย S. aureus, S. epidermidis, E. coli

* ผู้ประสานงานหลัก (Corresponding Author) e-mail: [email protected], [email protected] **งานวิจัยนี้ได้รับทุนอุดหนุนจากงบประมาณแผ่นดินด้านการวิจัย ปีงบประมาณ 2558 มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียของสารสกัดทองพันชั่งต่อเชื้อแบคทีเรียที่พบบนผิวหนัง

Page 2: ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียของ ...arcbs.bsru.ac.th/journal/File70816.pdf · 2019. 1. 18. · 18 ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียของสารสกัดทองพันชั่งต่อเชื้อแบคทีเรียที่พบบนผิวหนัง

18

ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียของสารสกัดทองพันชั่งต่อเชื้อแบคทีเรียที่พบบนผิวหนัง SDU Res. J. 10 (3): Sep-Dec 2017

Abstract

Rhinacanthus nasutus has been traditionally used for skin treatment. From

previous reports, the extracts of this traditional plant possess antibacterial activity. This

study entailed macerating Rhinacanthus nasutus leaves in methanol, analyzed

compounds of this extract by thin layer chromatography (TLC) and testing the antibacterial

activity of this extract by using disc diffusion and broth dilution techniques against four

bacteria strains, including Staphylococcus aureus, Staphylococcus epidermidis, Escherichia

coli and Pseudomonas aeruginosa.

The results showed that umbelliferone and lupeol are two compounds in this

extract. By disc diffusion technique, 50 and 500 mg/ml of methanolic Rhinacanthus

nasutus extract could inhibit growth of S. aureus, S. epidermidis, and E. coli but did not

inhibit growth of P. aeruginosa. By broth dilution technique, the results of antibacterial

activity were reported as minimum bactericidal concentration (MBC) and minimum

inhibitory concentration at 90 % (MIC90

) and 50 % (MIC50

). We found that MIC90

of

Rhinacanthus nasutus extract were 9.5±0.12, 9.65±0.11 and 9.8±0.10 mg/ml, and MIC50

were 6.4±0.05, 6.5±0.06 and 6.8±0.04 mg/ml to S. aureus, S. epidermidis, and E. coli,

respectively, and the MBC of extracts to these three bacteria was 25 mg/ml. This study

showed that Rhinacanthus nasutus extracts could inhibit growth of skin bacteria. The

extract will be used to develop skin cleansing products, leading to increased value of

Rhinacanthus nasutus.

Key words: Rhinacanthus nasutus, Antibacterial activity, S. aureus, S. epidermidis, E. coli

บทนำ

สมุนไพรเป็นสิ่งที่ได้จากพืช สัตว์ และแร่ธาตุ ที่มีประโยชน์มากมายแก่มนุษย์ในการดำรงชีพ

มนุษย์ได้นำสมุนไพรมาใช้เป็นอาหารและยารักษาโรคต่างๆ มาเป็นเวลาช้านาน เห็นได้จากตำราหรือ

ตำรับยาโบราณต่างๆ ทองพันชั่งเป็นพืชสมุนไพรที่มีการนำมาใช้ประโยชน์มากมาย ทองพันชั่ง (White

crane flower) ชื่อวิทยาศาสตร์ Rhinacanthus nasutus (L.) Kurz จัดอยู่ในวงศ์ Acanthaceae

มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย จีน มาเลเซีย และไทย โดยมีการนำทองพันชั่งมาใช้ประโยชน์ด้านรักษาโรค

มะเร็ง โรคตับอักเสบ โรคผิวหนัง รักษากลากเกลื้อน (Sattar et al., 2004; Panichayupakaranant &

Kongchai, 2003; Nascimento et al., 2000) และศึกษาฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของเชื้อแบคทีเรีย

Page 3: ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียของ ...arcbs.bsru.ac.th/journal/File70816.pdf · 2019. 1. 18. · 18 ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียของสารสกัดทองพันชั่งต่อเชื้อแบคทีเรียที่พบบนผิวหนัง

19

ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียของสารสกัดทองพันชั่งต่อเชื้อแบคทีเรียที่พบบนผิวหนัง SDU Res. J. 10 (3): Sep-Dec 2017

(Nascimento et al., 2000; Cowan, 1999) พบสารออกฤทธิ์จากทองพันชั่ง ได้แก่ สารไรนาแคนทิน

(Rhinacanthin) ลูพีออล (Lupeol) และแอมเบลลิเฟอโรน (Umbelliferone) (Kernan et al., 1997;

Kimachi et al., 2009; Sakanaka et al., 2000; Wu et al., 1998) ซึ่งมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของเซลล์

มะเร็ง (Cai et al., 2004; Siripong et al., 2009; Wu et al., 1998) ยับยั้งการเกาะกลุ่มของแบคทีเรีย

(Voravuthikunchai & Kitpipit, 2005) สำหรับแบคทีเรียที่พบผิวหนังมีหลายชนิด ได้แก่

Staphylococcus aureus, S. epidermidis และ Pseudomonas aeruginosa เป็นต้น ซึ่งเชื้อ

S. epidermidis เป็นเชื้อแบคทีเรียแกรมบวกรูปร่างกลมพบที่ผิวหนังได้บ่อยครั้งและมักไม่ก่อโรค แต่เชื้อ

S. aureus และ P. aeruginosa พบทีผ่วิหนงันอ้ยครัง้แตเ่ปน็เชือ้กอ่โรค S. aureus เปน็เชือ้แบคทเีรยีแกรม

บวกรูปร่างกลม ก่อโรคผิวหนังอักเสบ และเชื้อเข้าสู่กระแสเลือดทำให้อาการรุนแรง สำหรับ P. aeruginosa

เป็นแบคทีเรียแกรมลบรูปร่างเป็นแท่ง ก่อโรคทางเดินหายใจ และเชื้อที่พบมักดื้อต่อยาปฏิชีวนะ

(Poole, 2004; Cogen et al., 2008; Grice et al., 2008) สำหรับ E. coli เป็นเชื้อแบคทีเรียแกรมลบ

รูปร่างเป็นแท่ง มักพบที่บริเวณแผลที่ผิวหนัง (Petkovšek et al., 2009) การศึกษาครั้งนี้ได้ศึกษาฤทธิ์ของ

ทองพันชั่งในการยับยั้งการเจริญของเชื้อแบคทีเรีย S. aureus, S. epidermidis, E. coli และ

P. aeruginosa ซึ่งเป็นเชื้อแบคทีเรียที่พบที่ผิวหนัง ซึ่งผลงานวิจัยจะเป็นประโยชน์ในการนำพัฒนา

ผลติภณัฑส์ำหรบัทำความสะอาดผวิตอ่ไป ซึง่เปน็การเพิม่คณุภาพของผลติภณัฑแ์ละเพิม่มลูคา่ของสมนุไพรไทย

วัตถุประสงค์การวิจัย

เพื่อศึกษาฤทธิ์ของสารสกัดจากใบทองพันชั่งในการยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียผิวหนัง

วิธีการวิจัย

1. การสกัดสารจากทองพันชั่งโดยการหมัก

ทองพันชั่งที่นำมาศึกษาครั้งนี้ ได้จากแหล่งที่ปลูกที่ตำบลหินกอง อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี

และได้เปรียบเทียบกับตัวอย่างหอพรรณไม้ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล (PBM) พรรณไม้

อ้างอิง Chuakul 3006 โดยเก็บใบสดจากต้นทองพันชั่งอายุ 2 ปี (เลือกเก็บใบสีเขียว ไม่เก็บใบยอดอ่อนและ

ใบเหลอืง เพือ่ควบคมุคณุภาพ) ใบทองพนัชัง่ถกูนำมาชัง่นำ้หนกั 500 กรมั และหัน่เปน็ชิน้เลก็ๆ นำไปหมกั

ด้วยเมทานอลปริมาตร 500 มิลลิลิตร เป็นเวลา 7 วัน ที่อุณหภูมิห้อง หลังจากนั้นกรองด้วยกระดาษกรอง

Whatman เบอร์ 4 และนำส่วนน้ำสกัดไประเหยด้วยเครื่องระเหยทำระเหยแบบหมุน (Rotary

Evaporator) ภายใต้ความดันต่ำ ที่อุณหภูมิ 9.5 องศาเซลเซียส แล้วนำสารสกัดที่ได้ (Crude Extract)

ไประเหยต่อในอ่างควบคุมอุณหภูมิ (Water Bath) ที่ 45 องศาเซลเซียส ภายใต้ตู้ดูดควัน (Fume Hood)

จนสารสกัดแห้ง และชั่งน้ำหนักสารสกัด (Dechatiwong Na Ayuthaya, 1993) สารสกัดถูกเก็บไว้ที่

อุณหภูมิ -20 องศาเซลเซียส ตลอดของการทดลอง นำสารสกัดที่ได้จากทองพันชั่งมาวิเคราะห์สารประกอบ

และทดสอบฤทธิ์ยับยั้งหรือต้านเชื้อแบคทีเรียต่อไป

Page 4: ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียของ ...arcbs.bsru.ac.th/journal/File70816.pdf · 2019. 1. 18. · 18 ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียของสารสกัดทองพันชั่งต่อเชื้อแบคทีเรียที่พบบนผิวหนัง

20

ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียของสารสกัดทองพันชั่งต่อเชื้อแบคทีเรียที่พบบนผิวหนัง SDU Res. J. 10 (3): Sep-Dec 2017

2. การวิเคราะห์สารประกอบของสารสกัดด้วยวิธีทีแอลซีโครมาโทกราฟฟี (Thin Layer

Chromatography, TLC)

สารสกัดทองพันชั่งถูกนำมาวิเคราะห์สารประกอบด้วยวิธีทินแลร์โครมาโตกราฟี (Thin Layer

Chromatography, TLC) (Soonthormchareonnon et al., 2008) โดยนำสารสกัดละลายด้วย

Methanol แล้ว Spot สารสกัดลงบนแผ่น TLC และใช้ตัวทำละลายเคลื่อนที่ (Mobile Phase) ที่มี

ส่วนผสมของ Dichloromethane : Methanol ในอัตราส่วน 5:1 ในการแยกส่วนประกอบของสารสกัด

หลังจากนั้นนำแผ่น TLC ตรวจสอบภายใต้แสงอัลตราไวโอเลตความยาวคลื่น 365 นาโนเมตร แล้วจึงนำ

แผ่น TLC มาพ่นด้วย 10% H2SO

4 ใน Ethanol แล้วนำไปอบที่อุณหภูมิ 98 องศาเซลเซียส เป็นเวลา

3 นาที จะปรากฏสารที่เป็นองค์ประกอบของสารสกัด หลังจากนั้นให้วัดระยะห่างของแถบของสารประกอบ

เพื่อคำนวณหาค่า Rf (Retention Factor) และเทียบกับสารมาตรฐาน Lupeol และ Umbelliferone

ได้รับความอนุเคราะห์จากคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สูตร Rf =ระยะทางที่สารเคลื่อนที่ (เซนติเมตร)/ระยะทางที่ตัวทำละลายเคลื่อนที่ได้ทั้งหมด (เซนติเมตร)

3. การทดสอบฤทธิ์ของสารสกัดในการยับยั้งการเจริญของแบคทีเรีย

การทดสอบฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียของสารสกัดทองพันชั่ง โดยทำการ

ทดสอบต่อเชื้อ 4 สายพันธุ์ ดังนี้ S. aureus (DMST 8840), S. epidermidis (DMST 15505) E. coli

(ATCC 25922) และ P. aeruginosa (DMST 26217) ด้วยวิธี Disc Diffusion และ Broth Dilution

Assay ดังนี้

วิธี Disc Diffusion การทดสอบฤทธิ์ของสารสกัดทองพันชั่งในการยับยั้งการเจริญของ

แบคทีเรียด้วยวิธี Disc Diffusion ซึ่งวิธีดัดแปลงวิธีมาจาก Barry & Thornsberry (1999) โดยเลี้ยงเชื้อ

แบคทีเรียใน Tryptic Soy Broth (TSB) และบ่มที่ 37 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 2 ชั่วโมง แบคทีเรียปริมาณ

1.5 x108 ซีเอฟยู/มิลลิลิตร (CFU/ml) โดยเทียบความขุ่นกับ McFarland No. 0.5 นำแบคทีเรียป้าย

(Swab) บนอาหาร Tryptic Soy Agar แล้วนำสารสกัดทองพันชั่ง ที่มีความเข้มข้นต่างๆ โดยเจือจางด้วย

TSB อัตราส่วน 1:10 (0.5, 5, 50, 500 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร) แล้วหยดสารสกัด 100 ไมโครลิตร ของแต่ละ

ความเข้มข้นบนแผ่นกระดาษกลม (Paper Disc) ขนาด 6 มิลลิเมตร แล้วนำมาวางบนจานเลี้ยงเชื้อ

ในการทดสอบใช้ยาปฏิชีวนะเจนต้ามัยซิน (Gentamicin) ที่ความเข้มข้น 0.08 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร

ในฟอสเฟสบัฟเฟอร์ (Phosphate Buffer) เป็นตัวควบคุมบวก ซึ่งสามารถยับยั้งเชื้อแบคทีเรียทั้งแกรมบวก

และแกรมลบ แล้วนำไปบ่มที่ 37 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 24 ชั่วโมง วัดขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของโซนใส

(Clear Zone) ซึ่งเป็นบริเวณที่เชื้อถูกยับยั้ง (Inhibition Zone) ทำการทดสอบซ้ำสามครั้ง

ขนาดของ Inhibition Zone = เส้นผ่าศูนย์กลางของโซนใส - 6 มิลลิเมตร

Page 5: ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียของ ...arcbs.bsru.ac.th/journal/File70816.pdf · 2019. 1. 18. · 18 ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียของสารสกัดทองพันชั่งต่อเชื้อแบคทีเรียที่พบบนผิวหนัง

21

ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียของสารสกัดทองพันชั่งต่อเชื้อแบคทีเรียที่พบบนผิวหนัง SDU Res. J. 10 (3): Sep-Dec 2017

จากผลการทดสอบเลือกความเข้มข้นต่ำสุดของสารสกัดที่มีฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย

ทำการทดสอบด้วยวิธี Broth Dilution ต่อไป

วิธี Broth Dilution Assay การทดสอบหาค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่สามารถฆ่าแบคทีเรีย

(Minimal Bactericidal Concentration, MBC) และค่าความเข้มข้นต่ำสุดในการยับยั้งการเจริญของ

แบคทีเรียได้ร้อยละ 90 และ 50 (Minimal Inhibitory Concentration at 90 %, MIC90 and at 50%,

MIC50) (Stalons & Thornberry, 1975; Miller et al., 2005; Davison et al., 2000) วิธีทำโดยเลี้ยงเชื้อ

แบคทีเรียในอาหาร Tryptic Soy Broth (TSB) และบ่มที่ 37oC เป็นเวลา 2 ชั่วโมง ใช้ปริมาณแบคทีเรีย

จำนวน 105 ซีเอฟยู/มิลลิลิตร ในการทดสอบกับสารสกัดที่ความเข้มข้น 1.56 – 50 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร

(เจือจางด้วยอัตราส่วน 1:2) แล้วนำไปบ่มที่ 37oC เป็นเวลา 24 ชั่วโมง หลังจากนั้นนำมาเพาะเลี้ยง

บนอาหาร TSA นำไปบ่มที่ 37oC เป็นเวลา 24 ชั่วโมง หลังจากนั้น นับจำนวนโคโลนี (Colony) ของเชื้อ

นำผลมาวิเคราะห์หาค่า MBC, MIC90 และ MIC

50

การควบคุมคุณภาพในการศึกษาครั้งนี้ ควบคุมตั้งแต่การเลือกเก็บใบทองพันชั่ง ขั้นตอนการ

สกัด และสารสกัดถูกเก็บที่อุณหภูมิ -20 องศาเซลเซียส ตลอดการทดลอง และสารสกัดถูกทดสอบ Disc

Diffusion เพื่อติดตามฤทธิ์ของสารสกัดในการยับยั้งแบคทีเรียซึ่งใช้เป็นตัวชี้วัดคุณภาพของสารสกัดใน

ระหว่างการศึกษา

4. การวิเคราะห์ข้อมูล

ข้อมูลจากผลการทดลองคำนวณหาค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานโดยโปรแกรม

Microsoft Excel Version 2003

ผลการวิจัย

จากการทำการสกัดใบทองพันชั่งด้วยวิธีการหมักด้วยเมทานอล พบว่าใบสดของทองพันชั่งน้ำหนัก

500 กรมั ไดส้ารสกดัจากใบทองพนัชัง่ นำ้หนกัได ้17.679 กรมั คดิเปน็ปรมิาณสารสกดัรอ้ยละ 4.07 (% Yield)

1. การวิเคราะห์สารประกอบของสารสกัดทองพันชั่ง

ผลการวิเคราะห์สารประกอบของสารสกัดทองพันชั่ง ด้วยวิธีทีแอลซีโครมาโทกราฟฟี (TLC)

ดังแสดงในภาพที่ 1 เมื่อตรวจสอบภายใต้แสงอลัตราไวโอเลตความยาวคลืน่ 365 นาโนเมตร ดงัแสดงในภาพ

ที ่1 (A) แถวที ่1 และ 2 คอืสารสกดัทองพนัชัง่ พบ Spot ตำแหน่งที่เรืองแสง ซึ่งมีค่า Rf เท่ากับ 0.690 ตรง

กับตำแหน่งของสารมาตรฐาน Umbelliferone (Spot เรืองแสง) ที่มีค่า Rf เท่ากับ 0.690 (แถวที่ 3)

สำหรับในภาพที่ 1 (B) แสดงผล TLC ที่ถูกพ่นด้วย 10% กรดซัลฟูริก (H2SO

4) ในเอทานอล (C

2H

5OH)

แถวที่ 1 คือสารสกัดทองพันชั่ง พบมี 5 Spot และพบว่า Spot ที่ 2 มีค่า Rf เท่ากับ 0.767 ซึ่งมีตำแหน่ง

ตรงกับสารมาตรฐาน Lupeol ที่มีค่า Rf เท่ากับ 0.767 อยู่ในแถวที่ 2 เห็นแถบสีชมพูอมม่วง ส่วนในแถว

ที่ 3 คือสารมาตรฐาน Umbelliferone ซึ่งไม่สามารถมองเห็นโดยวิธีพ่นด้วย 10% กรดซัลฟูริกในเอทานอล

Page 6: ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียของ ...arcbs.bsru.ac.th/journal/File70816.pdf · 2019. 1. 18. · 18 ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียของสารสกัดทองพันชั่งต่อเชื้อแบคทีเรียที่พบบนผิวหนัง

22

ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียของสารสกัดทองพันชั่งต่อเชื้อแบคทีเรียที่พบบนผิวหนัง SDU Res. J. 10 (3): Sep-Dec 2017

ภาพที่ 1 การวิเคราะห์สารประกอบของสารสกัดทองพันชั่งด้วยวิธี TLC, A) การตรวจ Spot ภายใต้แสง

อัลตราไวโอเลตความยาวคลื่น 365 นาโนเมตร แถวที่ 1 และ2 คือสารสกัด และแถวที่ 3 คือ

สารมาตรฐาน Umbelliferone (Spot เรืองแสง), B) การตรวจ Spot โดยการพ่นด้วย 10% กรดซัลฟูริก

แถวที่ 1 คือสารสกัด แถวที่ 2 คือสารมาตรฐาน Lupeol (Spot สีชมพูอมม่วง) และแถวที่ 3 คือ

สารมาตรฐาน Umbelliferone (มองไม่เห็น Spot โดยการตรวจด้วยวิธีพ่นด้วย 10% กรดซัลฟูริก

ในเอทานอล)

2. การทดสอบฤทธิ์ของสารสกัดต่อการยับยั้งการเจริญของเชื้อแบคทีเรีย

การทดสอบฤทธิ์ของสารสกัดทองพันชั่งต่อการยับยั้งการเจริญของเชื้อแบคทีเรีย S. aureus,

S. epidermis, E. coli และ P. aeruginosa ด้วยวิธี Disc Diffusion Assay โดยทดสอบสารสกัดทองพันชั่ง

ที่ความเข้มข้น 0.5 ถึง 500 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร ผลการทดสอบพบว่า สารสกัดสามารถยับยั้งการเจริญของ

เชื้อ S. aureus โดยเห็นโซนใสซึ่งเป็นบริเวณไม่มีเชื้อเจริญ ดังแสดงในภาพที่ 2 และสามารถยับยั้งการเจริญ

ของเชื้อ S. epidermis และ E. coli โดยเห็นโซนใสเช่นกัน แต่มีขนาดโซนใสต่างกันดังแสดงในตารางที่ 1

พบว่า สารสกัดที่ความเข้มข้น 500 และ 50 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร สามารถยังยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อ

S. aureus, S. epidermis และ E. coli แต่ไม่สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อ P. aeruginosa

ซึ่งยาปฏิชีวนะเจนต้ามัยซินสามารถยับยั้ง เชื้อ S. aureus, S. epidermis และ E. coli แต่ไม่ยับยั้งเชื้อ

P. aeruginosa เช่นกัน

Page 7: ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียของ ...arcbs.bsru.ac.th/journal/File70816.pdf · 2019. 1. 18. · 18 ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียของสารสกัดทองพันชั่งต่อเชื้อแบคทีเรียที่พบบนผิวหนัง

23

ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียของสารสกัดทองพันชั่งต่อเชื้อแบคทีเรียที่พบบนผิวหนัง SDU Res. J. 10 (3): Sep-Dec 2017

ภาพที่ 2 ฤทธิข์องสารสกดัทองพนัชัง่ในการยบัยัง้การเจรญิของเชือ้ S. aureus โดยวธิ ีDisc Diffusion Assay

สารสกัดทองพันชั่งที่ความเข้มข้น 500 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร และ Gentamicin ที่ความเข้มข้น

0.08 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร

ตารางที่ 1 ฤทธิ์ของสารสกัดทองพันชั่งในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย

ความเข้มข้นของ

สารสกัด

(mg/ml)

ชนิด Bacteria

ขนาด Inhibition Zone (mm.)

S. aureus S. epidermidis E. coli P. aeruginosa

หมายเหตุ: ค่าเฉลี่ยขนาด Clear Zone จากการทดลอง 3 การทดลอง (Mean±SD)

ความเข้มข้นของ

สารสกัด (mg/ml)

Tryptic Soy Broth

Page 8: ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียของ ...arcbs.bsru.ac.th/journal/File70816.pdf · 2019. 1. 18. · 18 ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียของสารสกัดทองพันชั่งต่อเชื้อแบคทีเรียที่พบบนผิวหนัง

24

ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียของสารสกัดทองพันชั่งต่อเชื้อแบคทีเรียที่พบบนผิวหนัง SDU Res. J. 10 (3): Sep-Dec 2017

ความเข้มข้นต่ำสุดของสารสกัดทองพันชั่งที่สามารถฆ่าเชื้อและยับยั้งการเจริญของเชื้อแบคทีเรีย

(MBC และ MIC) จากผลการทดสอบฤทธิ์ของสารสกัดทองพันชั่งด้วยวิธี Disc Diffusion Assay ต่อเชื้อ

S. aureus, S. epidermidis และ E. coli พบว่าสารสกัดทองพันชั่งสามารถยับยั้งการเจริญแบคทีเรียทั้ง

3 สายพันธุ์ จึงทำการทดสอบหาค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่สามารถฆ่าเชื้อ (Minimal Bactericidal

Concentration, MBC) และค่าความเข้มข้นต่ำสุด (Minimal Inhibitory Concentration, MIC) ของ

สารสกัดที่สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อได้ร้อยละ 90 และ 50 ต่อเชื้อ S. aureus, S. epidermidis และ

E. coli ดังแสดงผลในตารางที่ 2

พบว่าสารสกัดทองพันชั่งมีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้ที่ความเข้มข้นต่ำสุด (MBC) เท่ากับ

25 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร ต่อเชื้อแบคทีเรียทั้ง 3 ชนิด และพบว่าสารสกัดสามารถยับยั้งการเจริญของ

เชื้อแบคทีเรีย โดยวิเคราะห์จากค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่สามารถยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียได้ร้อยละ 90

และ 50 (MIC90 และ MIC

50 ตามลำดับ) เมื่อเทียบกับการเจริญของเชื้อที่ไม่มีสารสกัด พบว่าค่า MIC

90

เท่ากับ 9.5±0.12, 9.65±0.11 และ 9.8±0.10 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร และ MIC50

เท่ากับ 6.4±0.05,

6.5±0.07 และ 6.8±0.04 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร ต่อเชื้อ S. aureus, S. epidermidis และ E. coli ตามลำดับ

สำหรับ Gentamicin มีค่า MIC90 เท่ากับ 0.006 ± 0.0005, 0.006 ± 0.0007, และ 0.008 ± 0.0006

มิลลิกรัม/มิลลิลิตร ต่อเชื้อ S. aureus, S. epidermidis และ E. coli ตามลำดับ ซึ่งมีฤทธิ์ดีกว่าสารสกัด

ทองพันชั่ง 1000 เท่า

ตารางที่ 2 ค่าความเข้มข้นต่ำสุดสามารถฆ่าแบคทีเรีย (MBC) และค่าความเข้มข้นต่ำสุดสามารถยับยั้ง

การเจริญของแบคทีเรีย (MIC) ของสารสกัดทองพันชั่ง

แบคทีเรีย MBC MIC90 MIC

50

มิลลิกรัม/มิลลิลิตร มิลลิกรัม/มิลลิลิตร มิลลิกรัม/มิลลิลิตร

Page 9: ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียของ ...arcbs.bsru.ac.th/journal/File70816.pdf · 2019. 1. 18. · 18 ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียของสารสกัดทองพันชั่งต่อเชื้อแบคทีเรียที่พบบนผิวหนัง

25

ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียของสารสกัดทองพันชั่งต่อเชื้อแบคทีเรียที่พบบนผิวหนัง SDU Res. J. 10 (3): Sep-Dec 2017

วิจารณ์ผลการวิจัย

การวิจัยนี้ได้ทำการสกัดสารจากใบทองพันชั่ง โดยปริมาณการสกัดที่ได้อยู่ระหว่างร้อยละ 4 เมื่อ

เทียบน้ำหนักของสารสกัดต่อน้ำหนักของใบทองพันชั่ง และได้ทำการวิเคราะห์สารที่เป็นส่วนประกอบของ

สารสกัดของทองพันชั่ง โดยใช้วิธี Thin Layer Chromatography (TLC) พบ Lupeol และ

Umbelliferone โดยวิเคราะห์เทียบค่า Rf กับสารมาตรฐาน Lupeol และ Umbelliferone ซึ่งสอดคล้อง

กับรายงานวิจัยของ Soonthornchareonnon et al. (2008) ที่พบ Lupeol และ Umbelliferone เป็น

สารประกอบของสารสกัดทองพันชั่งเช่นกัน จากงานวิจัยครั้งนี้พบสาร Lupeol ซึ่งเป็นสาร Triterpenoids

(Hill & Connolly, 2015) และสาร Umbelliferone เป็นสาร Coumarins (Erazo et al., 1997) ในสาร

สกัดทองพันชั่ง นอกจากนี้ยังมีรายงานจากกลุ่มวิจัยอื่น พบสารประกอบชนิดอื่นของสารสกัดทองพันชั่ง

ได้แก่ Flavonoids, Steroids, Terpenoids, Anthraquinones, Lignans และ Naphthoquinone

Esters (Nirmaladevi et al., 2010)

จากผลการทดสอบฤทธิ์ของสารสกัดทองพันชั่งในการยับยั้งการเจริญของเชื้อแบคทีเรียพบว่า

สารสกัดสามารถยับยั้งเชื้อ S. aureus, S. epidermidis และ E.coli ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่พบที่ผิวหนัง และ

ที่น่าสนใจ การศึกษาครั้งนี้ พบสารประกอบของสารสกัดทองพันชั่งที่เป็นสารหลักอย่างน้อย 2 ชนิด คือสาร

Lupeol และ Umbelliferone ซึ่งสารทั้งสองชนิดเป็นสารคนละกลุ่ม คือสาร Lupeol เป็นสาร

Triterpene อยู่ในกลุ่ม Lupane (Hill & Connolly, 2015) และ สาร Umbelliferone เป็นกลุ่มสาร

Coumarins ซึ่งมีฤทธิ์ยับยั้งแบคทีเรีย (Erazo et al., 1997; Meerungrueang & Panichayupakaranant,

2014) ดังนั้นฤทธิ์ในการยับยั้งแบคทีเรียของสารสกัดทองพันชั่งอาจเป็นฤทธิ์ของสาร Lupeol และ

Umbelliferone การแยกสารประกอบหลักและทดสอบฤทธิ์ของสารจึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจศึกษาต่อไป

จากการศึกษาครั้งนี้ แสดงให้เห็นว่า สารสกัดทองพันชั่งสามารถยับยั้งการเจริญของแบคทีเรีย

S. aureus และ S. epidermis เป็นแบคทีเรียแกรมบวก และ E. coli เป็นแบคทีเรียแกรมลบ แต่ไม่ยับยั้ง

เชื้อแกรมลบ P. aeruginosa ก่อนหน้านี้มีงานวิจัยรายงานว่า สารสกัดทองพันชั่งมีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย

แกรมบวก S. aureus, Bacillus cereus, B. globigii และ B. subtilis แต่ไม่สามารถต้านเชื้อแบคทีเรีย

แกรมลบ P. aeruginosa, Proteus morgani, Proteus mirabilis, Salmonella thyphi (Sattar et al.,

2004) และสามารถยับยั้งเชื้อแบคทีเรียแกรมบวก Streptococcus spp. ที่แยกจากตัวอย่างในช่องปาก

(Apisariyakul et al., 1991) จากงานวิจัยของ Puttarak et al. (2010) ได้แยกสารบริสุทธิ์ Rhinacanthin

จากสารสกัดทองพันชั่งที่ปลูกในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส ภาคใต้ ประเทศไทย โดยใช้วิธีหมักด้วย Ethyl

Acetate และผ่าน Anion Exchange Columm แยกได้สารบริสุทธิ์ Rhinacanthin ซึ่งเป็น

Naphthoquinone Esters และทดสอบฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียแกรมบวก Streptococcus

mutans พบว่ามีค่า MIC และ MBC เท่ากับ 4 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร และในการยับยั้งเชื้อ

Propionibacterium acnes, Helicobacter pylori, S. aureus, S. epidermidis และ Candida

albicans ค่า MIC และ MBC เท่ากับ 8–16 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร ซึ่งมีประสิทธิภาพการยับยั้งที่ดีกว่า

Page 10: ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียของ ...arcbs.bsru.ac.th/journal/File70816.pdf · 2019. 1. 18. · 18 ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียของสารสกัดทองพันชั่งต่อเชื้อแบคทีเรียที่พบบนผิวหนัง

26

ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียของสารสกัดทองพันชั่งต่อเชื้อแบคทีเรียที่พบบนผิวหนัง SDU Res. J. 10 (3): Sep-Dec 2017

ต่างจากการศึกษาครั้งนี้ ใช้ทองพันชั่งที่ปลูกในพื้นที่จังหวัดราชบุรี ภาคตะวันตก ประเทศไทย และใช้วิธีการ

สกัดโดยวิธีการหมักด้วย Methanol ได้สารสกัดหยาบ ที่มีสารประกอบหลักเป็นสาร Lupeol และ

Umbelliferone และทดสอบฤทธิ์ของสารสกัดหยาบทองพันชั่งต่อการยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย มีรายงาน

พบสาร Lupeol ในสารสกัดทองพันชั่ง ที่สกัดด้วย Ethanol เช่นกัน (Brimson et al., 2012) นอกจาก

วิธีการสกัดที่ต่างกัน ปัจจัยอื่นที่สำคัญคือ พื้นที่ปลูกทองพันชั่งต่างพื้นที่ และระยะเวลาที่เก็บเกี่ยว จึงได้

สารสกดัทีม่สีารสำคญัหรอืสารประกอบแตกตา่งกนั จากรายงานของ Prabakaran & Pugalvendhan (2009)

พบว่าการสกัดทองพันชั่งด้วย Ethanol ให้ปริมาณสารสกัดมากที่สุด และมีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อ E. coli ซึ่งเป็น

แบคทีเรียแกรมลบ แสดงให้เห็นว่าการสกัดทองพันชั่งสามารถละลายได้ทั้งใน Methanol หรือ Ethanol

และได้สารสกัดที่มีฤทธิ์ในการยับยั้งแบคทีเรียทั้งแกรมลบและแกรมบวก ได้มีการพัฒนาสารสกัดทองพันชั่ง

ให้อยู่ในรูปของอนุภาคนาโนโดยใช้วิธี Silver Nanoparticle พบว่ามีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา

ได้แก่ B. subtilis, S. aureus, P. aeruginosa, K. pneumonia, E. coli, A. niger และ A. flavus

(Pasupuleti et al., 2013) ทีน่า่สนใจการศกึษาฤทธิร์ว่มของสารสกดัทองพนัชัง่กบัยาปฏชิวีนะเตตราไซคลนิ

พบว่า สามารถยับยั้งเชื้อดื้อยา Methicillin Resistant S. aureus (MRSA) (Kongcharoensuntorn et

al., 2011) นอกจากนี้สารสกัดทองพันชั่งยังมีฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อจุลชีพชนดิอืน่ๆ ได ้ เชน่ ฤทธิใ์นการตา้น

เชือ้รา (Boonyaprapas, 1998) และเชือ้ไวรสั (Sendl et al., 1996) เป็นต้น สารสกัดใบทองพันชั่งไม่เพียงแต่

ยับยั้งเชื้อจุลชีพเท่านั้น ยังสามารถยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็ง (Siripong et al., 2009) ยับยั้งการเจริญ

เติบโตของตัวอ่อน Juvenile Hormone (Boonyaprapas, 1998) จากผลการศึกษาครั้งนี้ แสดงให้เห็นว่า

สารสกัดทองพันชั่งมีฤทธิ์ยับยั้งแบคทีเรียผิวหนัง ซึ่งเป็นประโยชน์ในการนำสารสกัดทองพันชั่งมาใช้ใน

การพัฒนาผลิตภัณฑ์สำหรับทำความสะอาดผิวต่อไป ซึ่งเป็นการเพิ่มคุณภาพของผลิตภัณฑ์และเพิ่มมูลค่า

ของสมุนไพรไทย

สรุปผลการวิจัย

ในการสกัดสารจากใบของทองพันชั่งด้วยวิธีการหมักด้วยเมทานอล (Methanol) ได้ปริมาณ

สารสกัดร้อยละ 4.07 และได้ทำการวิเคราะห์สารสกัดทองพันชั่งด้วยวิธี Thin Layer Chromatography

(TLC) ผลการวิเคราะห์ พบสารประกอบของสารสกัดทองพันชั่ง อย่างน้อย 2 ชนิด คือ สาร

Umbelliferone และสาร Lupeol ซึ่งมีค่า Rf เท่ากับ 0.690 และ 0.767 ตามลำดับ โดยเทียบกับค่า

Rf ของสารมาตรฐาน Umbelliferone และ Lupeol

จากการศึกษาวิจัยครั้งนี้ พบว่า สารสกัดทองพันชั่ง มีฤทธิ์ในการฆ่าและยับยั้งการเจริญของ

แบคทีเรีย โดยใช้วิธี Disc Diffusion Assay ซึ่งพบว่าสารสกัดสามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อ S. aureus

S. epidermidis และ E. coli แต่ไม่ยับยั้งเชื้อ P. aeruginosa ดังนั้นจึงทดสอบหาค่าความเข้มข้นต่ำสุด

ที่สามารถฆ่าเชื้อ (Minimal Bactericidal Concentration, MBC) และค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่สามารถ

ยับยั้งเชื้อ (Minimal Inhibitory Concentration, MIC) ของสารสกัดที่สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อได้

Page 11: ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียของ ...arcbs.bsru.ac.th/journal/File70816.pdf · 2019. 1. 18. · 18 ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียของสารสกัดทองพันชั่งต่อเชื้อแบคทีเรียที่พบบนผิวหนัง

27

ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียของสารสกัดทองพันชั่งต่อเชื้อแบคทีเรียที่พบบนผิวหนัง SDU Res. J. 10 (3): Sep-Dec 2017

ร้อยละ 90 (MIC90) และร้อยละ 50 (MIC

50) โดยทำการทดสอบกับเชื้อ S. aureus, S. epidermidis และ

E. coli พบว่าสารสกัดทองพันชั่งมีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อ S. aureus, S. epidermidis และ E. coli ได้ที่

ความเข้มข้นต่ำสุด (MBC) เท่ากับ 25 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร ต่อเชื้อทั้ง 3 สายพันธุ์ และค่าความเข้มข้นต่ำสุด

ในการยับยั้งการเจริญของเชื้อมีดังนี้ MIC90

เท่ากับ 9.5±0.12, 9.65±0.11 และ 9.8±0.10 มิลลิกรัม

ต่อมิลลิลิตร และ MIC50

เท่ากับ 6.4±0.05, 6.5±0.06 และ 6.8±0.04 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร ต่อเชื้อ

S. aureus, S. epidermidis และ E. coli ตามลำดับ

ข้อเสนอแนะ

1. นำสารสกัดไปใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวชนิดต่างๆ เช่น Foam Bath, Gel

Bath, Cleansing Cream เป็นต้น

2. การวิเคราะห์ปริมาณสารประกอบหรือสารหลักตัวอื่นๆ ในสารสกัดหยาบ (Crude Extract)

หรือสารบริสุทธิ์ (Pure Compound)

3. การทดสอบฤทธิ์ของสารสกัดทองพันชั่งต่อแบคทีเรียสายพันธุ์อื่น และจุลชีพชนิดอื่น

4. การควบคุมมาตรฐานปริมาณสารสำคัญ ต้องควบคุมตั้งแต่การเลือกพื้นที่การเพาะปลูกพืช

สายพันธุ์พืช อายุของพืช เลือกวิธีสกัดและตัวทำละลาย การเก็บสารสกัด และมีการติดตามตรวจวิเคราะห์

สารสำคัญและทดสอบฤทธิ์ เป็นระยะ เพื่อได้สารสกัดที่มีคุณภาพ

References

Apisariyakul, A., Wannereumol, P., Watanakitwichai, T. & Apisarikul, S. (1991). A Study of

Some Medicinal Plants Effective Against Oral Streptococcus spp. Thai Journal of

Pharmacology, 13, 121-128.

Barry, A. & Thornsberry, C. (1999). Susceptibility tests: Diffusion Test procedures. In Balows,

A., Hansler, W.J., Herrman, K.U., Isenberg, H.D., Shadomy, H.J. (Ed.), Manual of

clinical microbiology. 5th eds. New York: Amerrican Society for Microbiology.

Boonyaprapas, N. (1998). Medicinal Plants indegenous to Thailand (2). Bangkok: Office of

Herbal information, Faculty of Pharmaceutical Sciences, Mahidol University.

Brimson, J.M., Brimson, S.J., Brimson, C.A., Rakkhitawatthana, V. & Tencomnao, T. (2012).

Rhinacanthus nasutus Extracts Prevent Glutamate and Amyloid-β Neurotoxicity

in HT-22 Mouse Hippocampal Cells: Possible Active Compounds Include Lupeol,

Stigmasterol and β-Sitosterol. Int. J. Mol. Sci, 13, 5074-5097.

Page 12: ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียของ ...arcbs.bsru.ac.th/journal/File70816.pdf · 2019. 1. 18. · 18 ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียของสารสกัดทองพันชั่งต่อเชื้อแบคทีเรียที่พบบนผิวหนัง

28

ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียของสารสกัดทองพันชั่งต่อเชื้อแบคทีเรียที่พบบนผิวหนัง SDU Res. J. 10 (3): Sep-Dec 2017

Cai, Q., Luo, Q., Sun, M. & Croke, H. (2004). Antioxidant Activity and phenolic compounds

of 112 traditional Chinese medicinal plants associated with anticancer. Life

Sciences, 74, 2517-2584.

Cogen, A.L., Nizet, V. & Gallo, R.L. (2008). Skin microbiota: a source of disease or defence?

Br. J. Dermatol., 158(3), 442–55.

Cowan, M.M. (1999). Plant products as antimicrobial agents. Clinical Microbiology Reviews,

12(4), 542-564.

Davison, H.C., Low, J.C. & Woolhouse, M.E. (2000). What is antibiotic resistance and how

can we measure it? Trends Microbiol., 8, 554-9.

Dechatiwong Na Ayuthaya, T. (1993). Control of Herbal quality. Workshop of Control of

Herbal quality. (pp. 45-53). Bangkok : Department of Medical Science, Ministry of

Public Health.

Erazo, S., García, R., Backhouse, N., Lemus, I., Delporte, C. & Andrade, C. (1997).

Phytochemical and biological study of radal Lomatia hirsuta (Proteaceae).

J Ethnopharmacol, 57(2), 81-3.

Grice, E.A., Kong H.H., Renaud, G., Young, A.C., Bouffard, G.G., Blakesley, R.W., Wolfsberg,

T.G., Turner, M.L. & Segre, J.A. (2008). A diversity profile of the human skin

microbiota. Genome Res., 18(7), 1043–50.

Hill, R. A. & Connolly, J. D. (2015) Triterpenoids. Natural Product Reports, 32(2), 273-327.

Kernan, M.R., Sendl, A., Chen, J.L., Jolad, S.D., Blanc, P., Murphy, J.T., Stoddart, C.A.,

Nanakorn, W., Balick, M.J. & Rozhon, E.J. (1997). Two new lignans with activity

against influenza virus from the medicinal plant Rhinacanthus nasutus. Journal

of Natural Products, 60 (6), 635-637.

Kimachi, T., Ishimoto, E. T. R., Sakue, A. & Ju-chi, M. (2009). Asymmetric total synthesis of

Rhinacanthin A. Tetrahedon: Asymmetry, 20, 1683-1689.

Kongcharoensuntorn, W., Thakaew, N., Chanapai, N., Supaporn Songsakul, S. & Budda, E.

(2011). Synergistic antibacterial effect of Rhinacanthus nasutus extract and

antibiotics on antibiotic - resistant Bacteria. Burapha Sci. J., 16(1), 56-68.

Page 13: ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียของ ...arcbs.bsru.ac.th/journal/File70816.pdf · 2019. 1. 18. · 18 ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียของสารสกัดทองพันชั่งต่อเชื้อแบคทีเรียที่พบบนผิวหนัง

29

ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียของสารสกัดทองพันชั่งต่อเชื้อแบคทีเรียที่พบบนผิวหนัง SDU Res. J. 10 (3): Sep-Dec 2017

Meerungrueang, W. & Panichayupakaranant, P. (2014). Antimicrobial activities of some Thai

traditional medical longevity formulations from plants and antibacterial

compounds from Ficus foveolata. Pharm. Biol., 52(9), 1104-9.

Miller, R.A., Walker, R.D., Carson, J., Coles, M., Coyne, R., Dalsgaard, I., Gieseker, C., Hsu,

H.M., Mathers, J.J., Papapetropoulou, M., Petty, B., Teitzel, C. & Reimschuessel, R.

(2005). Standardization of a broth microdilution susceptibility testing method to

determine minimum inhibitory concentrations of aquatic bacteria. Dis. Aquat.

Org., 64, 211–222.

Nascimento, G. G. F., Locatelli, J., Freites, P. C. & Silva,G. L. (2000). Antimicrobial activity of

Plantextracts and phytochemicals on antibiotic resistant bacteria. Brazillian

Journal of Microbiology, 31, 247-256.

Nirmaladevi, R., Padma, P.R. & Kavitha, D. (2010). Analyses of the methanolic extract of the

leaves of Rhinacanthus nasutus. J. Medicinal Plants Research, 4(15), 1554-1560.

Panichayupakaranant, P. & Kongchai, N. (2003). Antifungal activities of rhinacanthins and

Rhinacanthus nasutus extract. Proceeding of the third Indochina Conferrence on

Pharmaceutical Sciences. 117-20. Nakornpathom: Faculty of Pharmacy, Silpakorn

University.

Pasupuleti, V.R., Prasad, T.N., Shiekh, R.A., Balam, S.K., Narasimhulu, G., Reddy, C.S., Ab

Rahman, I. & Gan, S.H. (2013). Biogenic silver nanoparticles using Rhinacanthus

nasutus leaf extract: synthesis, spectral analysis, and antimicrobial studies. Int. J.

Nanomedicine, 8, 3355-64.

Petkovšek, Z., Eleršič, K., Gubina, M., Žgur-Bertok, D. & Erjavec1, M.S. (2009). Virulence

Potential of Escherichia coli Isolates from Skin and Soft Tissue Infections. J. Clin.

Microbiol., 47(6), 1811–1817.

Poole, K. (2004). Efflux-mediated multiresistance in gram-negative bacteria. Clinical

Microbiology and Infection, 10 (1), 12–26.

Prabakaran, G. & Pugalvendhan, R. (2009). Antibacterial activity and Phytochemical

standardization of Rhinacanthus nasutus. Recent Research in Science and

Technology, 1 (5), 199-201.

Page 14: ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียของ ...arcbs.bsru.ac.th/journal/File70816.pdf · 2019. 1. 18. · 18 ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียของสารสกัดทองพันชั่งต่อเชื้อแบคทีเรียที่พบบนผิวหนัง

30

ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียของสารสกัดทองพันชั่งต่อเชื้อแบคทีเรียที่พบบนผิวหนัง SDU Res. J. 10 (3): Sep-Dec 2017

Puttarak, P., Charoonratana, T. & Panichayupakarananta, P. (2010). Antimicrobial activity

and stability of rhinacanthins-rich Rhinacanthus nasutus extract. Phytomedicine,

17, 323-327.

Sakanaka, S., Juneja, L. & Taniguchi, M. (2000). Antimicrobial effect of green tea polyphenol

on thermophilic spore-forming bacteria. J. Bioscience and Bioengineering, 90(1),

81-85.

Sattar, A.M., Abdullah, N.A., Khan, A.H. & Noor, A.M. (2004). Evaluation of anti-fungal and

anti-bacterial activity of a local plant Rhinacanthus nasutus. Journal of Biological

Science, 4(4), 490–500.

Sendl, A., Chen, J. L., Jolad, S. D., Storddart, C., Rozhon, E. & Kernan, M. (1996). Two new

Naphthoquinones with antiviral activity from Rhinacanthus nasutus. Journal of

Natural Products, 59(8), 808-811.

Siripong, P., Bunthong, O. & Premjet, D. (2009). The Ability of five fungal Isolates from

Nature to Degrade of Polyaromatic Hydrocarbons (PAHs) and Polychlorinated

Biphenyls (PCBs) in Culture Media Australian. Journal of Basic and Applied

Sciences, 3(3), 1076-1082.

Soonthornchareonnon N., Sothnapun, U. & Wongsinkongmon, P. (2008). TLC a simple

method for qualitative analysis of Thai crude drugs. (pp. 159-163). Bangkok :

Faculty of Pharmacy Mahidol University. Department of Thai medicine and

alternative medicine, Mahidol University.

Stalons, D.R. & Thornsberry, C. (1975). Broth-Dilution Method for Determining the Antibiotic

susceptibility of Anaerobic Bacteria. Antimicrobial agents and Chemotherapy, 7,

15-21.

Voravuthikunchai, S. P. & Kitpipit, L. (2005). Activity of medicinal plant extracts against

Hospital isolated of methicillin-resistant Staphylococcus aureus. Clinical

Microbiology and Infection, 11, 493-512.

Wu, T.S., Hsu, H.C., Wu, P.L., Teng, C.H. & Wu, Y.C. (1998). Rhinacanthin-Q, a

naphthoquinone from Rhinacanthus nasutus and its biological activity.

Phytochemistry, 49(7), 2001-2003.

Page 15: ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียของ ...arcbs.bsru.ac.th/journal/File70816.pdf · 2019. 1. 18. · 18 ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียของสารสกัดทองพันชั่งต่อเชื้อแบคทีเรียที่พบบนผิวหนัง

31

ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียของสารสกัดทองพันชั่งต่อเชื้อแบคทีเรียที่พบบนผิวหนัง SDU Res. J. 10 (3): Sep-Dec 2017

Translated Thai References

ทวีผล เดชาติวงศ์ ณ อยุธยา. (2536). การควบคุมคุณภาพของสมุนไพร ในเอกสารการประชุมเชิงปฏิบัติการ

เรื่อง การควบคุมคุณภาพสมุนไพร. กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข หน้า 45-

53.

นพมาศ สุนทรเจริญนนท์. อุทัย โสธนะพันธุ์. ประไพ วงศ์สินคงมั่น. (2551). ทีแอลซี วิธีอย่างง่ายในการ

วิเคราะห์คุณภาพเครื่องยาไทย (TLC a simple method for qualitative analysis of Thai

crude drugs). กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกมหาวิทยาลัยมหิดล

กรุงเทพมหานคร. 159-163.

นันทวัน บุณยะประภัศร. (2541). สมุนไพรไม้พื้นบ้าน (2). กรุงเทพฯ : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัช

ศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

คณะผู้เขียน

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทัศนีย์ พาณิชย์กุล

หลักสูตรวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

e-mail: [email protected], [email protected]

นางสาวณัฐพร บู๊ฮวด

หลักสูตรวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

e-mail: [email protected]

นางสาวกัลยาภรณ์ จันตรี

หลักสูตรวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

e-mail: [email protected]

ดร.ทิวัตถ์ กุลชนะภควัต

หลักสูตรเทคโนโลยีเคมี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

e-mail: [email protected]

นางพิสุทธิ์ ปทุมาสูตร

คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

e-mail: [email protected]

Page 16: ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียของ ...arcbs.bsru.ac.th/journal/File70816.pdf · 2019. 1. 18. · 18 ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียของสารสกัดทองพันชั่งต่อเชื้อแบคทีเรียที่พบบนผิวหนัง

32

ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียของสารสกัดทองพันชั่งต่อเชื้อแบคทีเรียที่พบบนผิวหนัง SDU Res. J. 10 (3): Sep-Dec 2017

นายฤทธิพันธ์ รุ่งเรือง

หลักสูตรเทคโนโลยีเคมี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

e-mail: [email protected]

นางสาวนาถลดา อ่อนวิมล

หลักสูตรวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

e-mail: [email protected]