analysis ส่งออกไปเวียดนามใต้สดใส ... ·...

7
ที่มา : ศูนย์วิจัยกสิกรไทย Analysis ส่งออกไปเวียดนามใต้สดใส ด้วยเส้นทางขนส่งสายใหม่ ข้อมูลวิจัย ตุลาคม 2559

Upload: others

Post on 01-Apr-2020

1 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

Page 1: Analysis ส่งออกไปเวียดนามใต้สดใส ... · 2016-12-23 · ที่มา : ศูนย์วิจัยกสิกรไทย Analysis

ที่มา : ศูนย์วิจัยกสิกรไทย

Analysis

ส่งออกไปเวียดนามใต้สดใสด้วยเส้นทางขนส่งสายใหม่

ข้อมูลวิจัย ตุลาคม 2559

Page 2: Analysis ส่งออกไปเวียดนามใต้สดใส ... · 2016-12-23 · ที่มา : ศูนย์วิจัยกสิกรไทย Analysis

Analysis1

1 การขยายตวัของมลูคา่การส่งออกผา่นแดนในด่านอรญัประเทศส่วนหน่ึงอาจไดร้บัอานสิงสจ์ากการทยอยลดอตัราภาษนีำาเขา้ตามกรอบ AFTA (ASEAN Free Trade Agreement) ของเวียดนามตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2558

การยกระดับความร่วมมือความตกลง GMS CBTAสู่โอกาสการค้าของไทยไปเวียดนามผ่านเส้นทาง R1

หลังจากประเทศสมาชิกในกลุ่มอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำาโขง ซึ่งประกอบด้วยไทย จีน เวียดนาม กัมพูชา สปป.ลาวและเมยีนมา ไดใ้หสั้ตยาบนัภาคผนวกและพธิสีารแนบทา้ยความตกลงวา่ดว้ยการขนสง่ขา้มพรมแดนในอนุภมูภิาคลุม่แมน่้ำาโขง (GMS Cross-Border Transport Agreement: GMS CBTA) ครบทุกฉบับในปลายป ี2558 ก็ไดม้กีารประชมุคณะกรรมการร่วมสำาหรบัความตกลงว่าด้วยการขนสง่ขา้มพรมแดนในระดับรฐัมนตรอียา่งไม่เปน็ทางการ (Greater Mekong Subregion Cross Border Transport Facilitation Agreement Joint Committee Retreat) อีกครั้งวันที่ 14 ก.ค. 2559 โดยสาระสำาคัญในการประชุมคือ การร่วมกันปรับปรุงกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการเดินรถระหว่างประเทศ และการเพิ่มโควต้าใบอนุญาตรถขนส่งสินค้าและรถโดยสารไม่ประจำาทางระหว่างประเทศชั่วคราวในเส้นทางผ่านด่านต่างๆ ที่อยู่ในกรอบความตกลง GMS CBTA เป็น 500 คัน ซึ่งเส้นทางที่จะได้รับอานิสงส์มากที่สุดคงเป็นเส้นทาง R1 (กรุงเทพฯ-อรัญประเทศ-ปอยเปต-พนมเปญ-บาเวท-นครโฮจิมินห์) เนื่องจากเส้นทางดังกล่าวมีความร่วมมือและจำานวนโควต้ารถขนส่งท่ีได้รับอนุญาตโดยไทยและกัมพูชาน้อยที่สุดเพียง 40 คัน

การดำาเนินงานตามกรอบ CBTA ช่วยเติมเต็มศักยภาพของเส้นทาง R1ในฐานะเส้นทางการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ

เส้นทาง R1นับเป็นเส้นทางแนวระเบียงเศรษฐกิจตอนใต้ที่สำาคัญสำาหรับการส่งออกสินค้าของไทยเป็นอย่างมาก กล่าวคือ เส้นทาง R1 เป็นเส้นทางส่งออกสินค้าหลักของไทยไปยังกัมพูชา และมีศักยภาพที่จะส่งออกต่อไปยังเวียดนาม โดยเฉพาะเวียดนามตอนใต้ เนื่องจากเป็นเส้นทางที่เชื่อมต่อกรุงเทพฯและนครโฮจิมินห์ท่ีสั้นที่สุดเพียง 903 กม.สะท้อนจากในปี 2558 ที่เริ่มมีการเปิดใช้สะพานเนี๊ยกเลือง (Neak Loeung) ข้ามแม่น้ำาโขงในเส้นทาง R1 เพื่อทดแทนการใช้เรือขนส่งข้ามฟากที่ใช้เวลานานและมีความแออัด ทำาให้มูลค่าการส่งออกผ่านแดนของไทยไปเวียดนามปี 2558 ในด่านอรัญประเทศขยายตัวถึงร้อยละ 110.6 (YoY)1 หรือคิดเป็นมูลค่าการส่งออกผ่านแดนทั้งสิ้น 990.9 ล้านบาท

ความสำคัญของเสนทางเศรษฐกิจ R1

สงออกสินคาไปกัมพูชา และเวียดนาม

ระยะทางกรุงเทพฯ-นครโฮจิมินหสั้นที่สุด

ลดระยะเวลา 8-10 ชั่วโมง

ลดตนทุนการขนสง 30-35%

สงออกเติบโต 19.4%

Page 3: Analysis ส่งออกไปเวียดนามใต้สดใส ... · 2016-12-23 · ที่มา : ศูนย์วิจัยกสิกรไทย Analysis

Analysis2

อย่างไรกด็ ีปจัจบุนัการขนส่งสินคา้ในเสน้ทางดงักลา่วไปเวียดนามนัน้ยงัไมไ่ดร้บัความนยิมมากนกั เม่ือเทียบกบัเสน้ทางอืน่ๆ โดยมอีปุสรรคสำาคญัในเรือ่งจำานวนโควต้ารถขนสง่ระหวา่งไทย-กมัพชูาทีไ่ดร้บัอนญุาตเพียง 40 คัน2 พิธีการทางศุลกากรที่ล่าช้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฝั่งกัมพูชา ประกอบกับการใช้ด่านศุลกากรเดียวกันของรถขนส่งสินค้าและรถโดยสาร ได้ทำาให้เกิดความแออัดบริเวณด่านอรัญประเทศ ซึ่งแปรผันตรงต่อระยะเวลาและตน้ทนุการขนสง่จากไทย ผา่นดา่นอรญัประเทศไปเวียดนาม จงึเป็นผลให้การส่งออกไปยงัเวียดนามตอนใตน้ยิมใช้เรอืขนสง่สนิคา้มากกวา่ แมจ้ะใชเ้วลานานแตข่ัน้ตอนการขนส่งและพิธกีารทางศลุกากรน้ันคอ่นข้างมคีวามสะดวก ทวา่ การใหสั้ตยาบนัภาคผนวกและพธิสีารแนบท้ายความตกลง CBTA ท่ีครบทุกฉบับของประเทศสมาชกิ GMS นี้ คงจะทำาให้เกิดการปรับปรุงกฎระเบียบและพิธีการทางศุลกากรในเส้นทาง R1 มากขึ้น เช่น การพัฒนาพื้นที่ตรวจสอบเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียวกัน (Single Stop Inspection: SSI) และการเพิ่มโควต้าใบอนุญาตเดินรถเป็น 500 คัน เป็นต้น นอกจากนี้ การเร่งเจรจาทวิภาคีด้านการขนส่งทางถนนระหว่างไทย-กัมพูชา การนำาเอาเทคโนโลยีเข้ามาช่วยตรวจสินค้าและการก่อสร้างด่านศุลกากรแห่งใหม่บ้านหนองเอี่ยน-สตึงบท เพื่อแยกด่านรถโดยสารและรถขนส่งสินค้าออกจากกัน ก็คงจะช่วยแก้ปัญหาจราจรติดขัดในบริเวณด่านอรัญประเทศ ซึ่งจะทำาให้การขนส่งสินค้าจากไทยไปเวียดนาม โดยผ่านกัมพูชาในเส้นทาง R1 สะดวกและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินว่า ระยะเวลาการขนส่งสินค้าจากไทยไปเวียดนามบนเส้นทาง R1 จะลดลงประมาณ 8-10 ช่ัวโมง ทำาใหจ้ากเดมิทีใ่ชเ้วลาประมาณ 31-41 ช่ัวโมง กจ็ะเหลือเพียง 23-31ช่ัวโมง ในขณะเดียวกนั ตน้ทนุการขนส่งก็จะถูกลงเกือบร้อยละ 30-35 จากต้นทุนเดิมทั้งหมดอีกด้วย

มูลคาการสงออกผานดานอรัญประเทศไปยังเวียดนาม ป 2557-2558

0

200

400

600

800

1000

2557 2558 ม.ค.-ก.ค.2558

ลานบาท

ม.ค.-ก.ค.2559

สะพานเนี๊ยกเลืองเปดใชอยางเปนทางการ

+110.6%

ที่มา: กรมการค้าต่างประเทศ รวบรวมโดยศูนย์วิจัยกสิกรไทย

2 นอกเหนอืจากโควตา้ดังกล่าว การขนส่งสินคา้เขา้ไปยงักมัพชูาตอ้งเปล่ียนหวัรถเปน็สญัชาติกมัพูชากอ่นถงึจะสามารถเดนิรถไปถงึพนมเปญได้

Page 4: Analysis ส่งออกไปเวียดนามใต้สดใส ... · 2016-12-23 · ที่มา : ศูนย์วิจัยกสิกรไทย Analysis

Analysis3

อยา่งไรกด็ ีแมก้ารดำาเนนิงานขา้งต้นจะชว่ยลดปญัหาการเดนิรถระหวา่งไทย-กมัพชูาบนเสน้ทาง R1 ซึง่จะทำาใหก้ารขนสง่ต่อไปยงัเวยีดนามมคีวามสะดวกมากขึน้ แตก่ารขนสง่จากไทยไปยงันครโฮจมินิหข์องเวยีดนามบนเสน้ทาง R1 กย็งัคงมอีปุสรรคในบางประการ กลา่วคอื ปจัจบุนัรถขนสง่ของไทยไมส่ามารถเขา้ไปยงัเวยีดนามได้โดยตรง เนือ่งจากไทยยงัไมม่ขีอ้ตกลง 3 ฝา่ยกบักมัพชูาและเวยีดนามสำาหรบัการเดนิรถบนเสน้ทาง R13 ประกอบกบักฎระเบยีบการเดนิรถภายในประเทศเวยีดนามทีย่งัไมอ่นญุาตใหร้ถขนสง่พวงมาลยัขวาของไทยเขา้ประเทศได ้นอกจากนี้ กฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการเดินรถที่แตกต่างกันของไทย กัมพูชาและเวียดนาม เช่น พิกัดน้ำาหนักรถบรรทุกและมาตรฐานความเร็วรถ ก็เป็นอีกปัจจัยที่ทำาให้การขนส่งบนเส้นทาง R1 นั้นยังมีข้อจำากัด ดังนั้น หากไทยมข้ีอตกลงการเดนิรถขนสง่ 3 ฝา่ยกบักมัพชูาและเวียดนามในเส้นทาง R1 อีกยงัมคีวามรว่มมอืในการกำาหนดมาตรฐานการเดินรถที่เหมือนกันของทั้ง 3 ประเทศ คงจะทำาให้การเดินรถระหว่างไทย ผ่านกัมพูชา เข้าไปยังเวียดนามสมบูรณ์มากขึ้น ทว่า การให้สัตยาบันของประเทศสมาชิก GMS การนำาเทคโนโลยีเข้ามาอำานวยความสะดวกในการตรวจสินค้าของทางการไทย รวมไปถึงการยกระดับความร่วมมือระหว่างไทย-กัมพูชานี้ ก็ถือเป็นสัญญาณที่ดีสำาหรับการขนส่งสินค้าบนเส้นทาง R1 ซึ่งจะส่งผลดีต่อการค้าระหว่างประเทศในลำาดับต่อไป

ตนทุนการขนสง ระยะเวลา

หมายเหตุ : * คา Bunker Adjustment Factor (BAF) อาจมีการเปลี่ยนแปลงตามประกาศสายเรือ ** การเดินทางดวยรถบรรทุกยังไมนับรวมชั่วโมงของการจราจร หากเกิดการติดขัดและการพักรถของคนขับรถบรรทุก

เสนทางการขนสงจากไทยไปเวียดนามโดยตูคอนเทนเนอร 20 ฟุต

เสนทาง R9 : กรุงเทพฯ-มุกดาหาร-สะหวันนะเขต (สปป.ลาว)-แดนสะหวัน (สปป.ลาว)-ลาวบาว (เวียดนาม)-ฮานอย (เวียดนาม) เปนเสนทางสงออกจากไทยไปเวียดนามตอนบนและจีนตอนใต**

1,633 40-45 ≈ 2,110

903 31-41 ≈ 2,217

1,200 72-120 ≈ 375

เสนทาง R1 : กรุงเทพฯ-อรัญประเทศ-พนมเปญ (กัมพูชา)-บาเวท (กัมพูชา)-โฮจิมินทห (เวียดนาม) เปนเสนทางการสงออกจากไทยไปยังเวียดนามตอนใต**

ทาเรือแหลมฉบัง-ทาเรือโฮจิมินห : เสนทางสงออกไปยังเวียดนามตอนใต*

ระยะทาง(กิโลเมตร)

ระยะเวลา(ชั่วโมง)

ตนทุนการขนสง(USD)

การเดินรถบนเสนทาง R1 ในปจจุบัน

หลังจากการใหสัตยาบัน CBTA ของทุกประเทศ• เพิ่มโควตารถขนสงที่ไดรับอนุญาตจาก 40 คัน เปน 500 คัน• ใชเครื่อง X-ray เพื่อตรวจสินคาในดานศุลกากรไทย• แยกจุดตรวจผานแดนสำหรับรถขนสงสินคาและรถโดยสาร• พัฒนาพื้นที่ตรวจสอบเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียวกัน (SSI) ระหวางไทยและกัมพูชา

USD 2,217 31-41 ชั่วโมงตนทุนการขนสง ระยะเวลา

ลดลง ≈ 30-35% ลดลง ≈ 8-10 ชั่วโมง

ที่มา: ADB, DITP, ITD, กรมขนส่งทางบกและด่านศุลกากรอรัญประเทศ คำานวณโดยศูนย์วิจัยกสิกรไทย

3 ในขณะที่กัมพูชาและเวียดนามได้ลงนามข้อตกลงว่าด้วยการแลกเปลี่ยนสิทธิการจราจรสำาหรับการขนส่งข้ามพรมแดนบริเวณด่านบาเวท-มอคไบ (Bavet-Moc Bai Border) ทำาให้รถขนส่งของกัมพูชาสามารถเข้าไปยังดินแดนของเวียดนามได้ โดยมีโควต้ารถขนส่งระหว่างกันที่ 500 คัน ดังนั้น รถขนส่งของไทยที่ต้องการจะเข้าไปยังเวียดนาม จะต้อง เปลี่ยนหัวรถเป็นสัญชาติกัมพูชาก่อนที่จะเดินรถไปในเวียดนาม

Page 5: Analysis ส่งออกไปเวียดนามใต้สดใส ... · 2016-12-23 · ที่มา : ศูนย์วิจัยกสิกรไทย Analysis

Analysis4

เครื่องดื่ม

ชิ้นสวนยานยนต

เคมีภัณฑอนินทรีย

เครื่องปรับอากาศ

ผลไม

5 สินคาทำเงินของไทย

เส้นทาง R1 จะช่วยเพิ่มโอกาสสำาหรับผู้ประกอบการไทยในการส่งออกผ่านชายแดนไปยังเวียดนาม เพื่อเชื่อมต่อห่วงโซ่การผลิตและเจาะตลาดผู้บริโภค

เส้นทาง R1 เป็นหนึ่งในเส้นทางแนวระเบียงเศรษฐกิจตอนใต้ (Southern Economic Corridor: SEC) ท่ีมีความน่าสนใจในมติิดา้นการคา้จากไทยไปยงัเวียดนามเปน็อยา่งมาก เนือ่งจากเสน้ทางดงักลา่วนีไ้ดเ้ชือ่มเมืองสำาคญัอยา่งกรงุเทพฯและนครโฮจมินิห ์ซึง่เปน็ทัง้ศนูยก์ลางทางเศรษฐกจิและยงัมกีารกระจายตัวของฐานการผลติเพือ่การสง่ออกในบรเิวณใกลเ้คยีงเขา้ดว้ยกนั ตอกย้ำาโอกาสสำาหรบัผูป้ระกอบการไทยในการสง่ออกไปยงัเวยีดนามผ่านเส้นทาง R1 โดยสินค้าส่งออกสามารถแบ่ง 2 ประเภท ดังนี้

สินค้าที่ เดิมมีการส่งออกผ่านแดนไปเวียดนามบนเส้นทาง R1 อยู่แล้วและหากเส้นทางดังกล่าวได้รับการพัฒนาก็คงจะช่วยเพิ่มโอกาสในการส่งออกที่มากขึ้น ได้แก่ เคมีภัณฑ์ อนินทรีย์ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ กล่าวคือ เวียดนามตอนใต้ โดยเฉพาะบริเวณราบลุ่มแม่น้ำาโขง (Mekong River Delta) เป็นพื้นที่ที่มีการทำาเกษตรกรรมเพ่ือการส่งออกขนาดใหญ่ ประกอบกับเคมีภัณฑ์อนินทรีย์ ก็เป็นสารตั้งต้นสำาหรับการผลิตปุ๋ยและยาฆ่าแมลง ดังนั้น การยกระดับเส้นทาง R1 นี้คงจะช่วยเพ่ิมโอกาสสำาหรับผู้ประกอบการไทยในการส่งออกเคมีภัณฑ์อนินทรีย์ผ่านเส้นทาง R1 ไปเวียดนามตอนใต้ เ พื่ อ ร อ ง รั บก า รขยายตั ว ขอ งภาคกา ร เ กษตรเวียดนามจากการได้รับสิทธิพิ เศษทางภาษีอากร

4 จำานวนประชากรในภาคตะวันออกเฉียงใต้ (South East) และบริเวณพื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำาโขง (Mekong River Delta)

GSP และการทยอยลดภาษีนำาเข้าตามกรอบการค้าเสรีที่เวียดนามได้ทำากับนานาประเทศ เช่น เกาหลีใต้และสหภาพยุโรป เป็นต้น นอกจากนี้ เวียดนามตอนใต้ ยังเป็นตลาดขนาดใหญ่ที่มีประชากรถึง 33.3 ล้านคน4 ประกอบกับการเติบโตของภาคอสังหาริมทรัพย์และสังคมเมืองในบริเวณดังกล่าว ก็คงจะเป็นโอกาสท่ีดีในการเจาะตลาดเครือ่งปรบัอากาศและส่วนประกอบ ผา่นเส้นทาง R1 เช่นเดียวกัน อย่างไรก็ดี สำาหรับผลิตภัณฑ์เหลก็และเหลก็กลา้ แมจ้ะเป็นสนิคา้สง่ออกหลกัของไทยไปเวียดนามผ่านเส้นทางดังกล่าว แต่การที่เวียดนามมีทั้งอุตสาหกรรมเหล็กต้นน้ำา และกำาลังก่อสร้างฐานการผลิตเหล็กขนาดใหญ่ที่ลงทุนโดยนักลงทุนต่างชาติ ก็อาจทำาให้ผู้ส่งออกเหล็กของไทยไปยังเวียดนามได้รับผลกระทบอย่างมีนัยสำาคัญในอนาคต

Page 6: Analysis ส่งออกไปเวียดนามใต้สดใส ... · 2016-12-23 · ที่มา : ศูนย์วิจัยกสิกรไทย Analysis

Analysis5

สินค้าที่ปัจจุบันยังส่งออกผ่านทางเรือเป็นหลัก แต่หากเส้นทาง R1 ได้รับการพัฒนา ก็คงจะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ดี สำาหรับการขนส่งสินค้าไปยังเวียดนาม ซึ่งสินค้าข้างต้นนี้ ได้แก่ เครื่องอุปโภคบริโภคอย่างเครื่องดื่มและผลไม้ ตลอดจนชิ้นส่วนยานยนต์ที่ส่วนใหญ่เป็นอะไหล่ทดแทน (REM) เนื่องด้วยลักษณะเฉพาะตัวของการขนส่งทางถนนที่มีความรวดเร็วและสามารถให้บริการแบบถึงมือผู้รับ (Door to Door Service) จะช่วยลดต้นทุนในการเก็บรักษาและเพิ่มประสิทธิภาพในการกระจายสินค้าไปยังพื้นที่อื่นๆ ดังนั้น หากมองต้นทุนในภาพรวมแล้ว การขนส่งทางถนนจึงถือว่ามีความคุ้มค่ามากกว่าการขนส่งทางเรือ โดยเฉพาะชิ้นส่วนยานยนต์ที่มีต้นทุนในการเก็บรักษาและมีมูลค่าสูง อีกทั้งในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2559 เครื่องดื่มและชิ้นส่วนยานยนต์ก็เริ่มมีการส่งออกผ่านด่านอรัญประเทศบนเส้นทาง R1 ไปยังเวียดนามมากขึ้น ทั้งนี้ สำาหรับผลไม้ แม้จะยังไม่มีการสง่ออกผา่นด่านอรญัประเทศไปเวยีดนาม เนือ่งจากการส่งออกผลไมข้องไทยไปเวียดนามส่วนใหญก่ว่ารอ้ยละ 97 เป็นการส่งออกผ่านแดนบริเวณด่านนครพนมและด่านมุกดาหาร เพ่ือส่งออกต่อไปยังเวียดนามตอนกลาง ตอนเหนือและจีนตอนใต้เป็นหลัก แต่หากเส้นทาง R1 ได้รับการพัฒนา ก็คงเป็นโอกาสที่ดีในการส่งออกผลไม้ไทยไปเวียดนามตอนใต้ผ่านเส้นทางดังกล่าวเช่นกัน เนื่องจากผลไม้เป็นสินค้าที่ต้องการความรวดเร็วในการขนส่งเพื่อความสดใหม่เป็นหลัก

สินคาสงออกของไทยไปเวียดนามโดยรวมในชวง 7 เดือนแรกของป 2559

อื่นๆ56%

10%

8%

5% 5%5%

7%

4%

รถยนต อุปกรณและสวนประกอบเครื่องปรับอากาศและสวนประกอบเมล็ดพลาสติกเคมีภัณฑน้ำมันสำเร็จรูปเครื่องดื่มเครื่องจักรกลและสวนประกอบของเครื่องจักรกล

ที่มา: MOC รวบรวมโดยศูนย์วิจัยกสิกรไทย

สินคาสงออกผานแดนของประเทศไทยไปเวียดนามในดานอรัญประเทศชวง 7 เดือนแรกของป 2559

เครื่องปรับอากาศและสวนประกอบ

อื่นๆ 0%

เคมีภัณฑอนินทรีย

ผลิตภัณฑเหล็กและเหล็กกลา

5%

6%

89%

ที่มา: กรมการค้าต่างประเทศ รวบรวมโดยศูนย์วิจัยกสิกรไทย

Page 7: Analysis ส่งออกไปเวียดนามใต้สดใส ... · 2016-12-23 · ที่มา : ศูนย์วิจัยกสิกรไทย Analysis

Analysis6

โดยสรุป การเร่งปรับปรุงเส้นทาง R1 ผ่าน การเพิ่มจำานวนรถขนส่งที่ได้รับอนุญาตและปรับปรุงพิธีการทางศุลกากร ตลอดจนกฎระเบียบต่างๆ เพื่ออำานวยความสะดวกให้กับการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศที่กำาลังจะเกิดขึ้นในปี 2560 คงเป็นโอกาส ที่ดีสำาหรับผู้ประกอบการไทยในการใช้เส้นทาง R1 เพื่อเจาะตลาดเวยีดนาม โดยเฉพาะอยา่งยิง่เวยีดนามตอนใต้ เนือ่งจากเปน็พืน้ทีต่ัง้ของเมอืงสำาคญัทางเศรษฐกจิอยา่งนครโฮจิมินห์ และยังเป็นฐานการผลิตเพื่อการส่งออก ขนาดใหญ่ที่กำาลังเติบโตจากการได้รับสิทธิพิเศษทางภาษีอากร GSP และสิทธิพิเศษทางภาษีอ่ืนๆ จากข้อตกลงการค้าเสรีที่เวียดนามได้ทำากับนานาประเทศ ศนูยว์จิยักสกิรไทยจงึประเมนิวา่มลูคา่การสง่ออกสินคา้ของไทยผ่านด่านอรัญประเทศบนเส้นทาง R1 ไปยังเวียดนามในปี 2560 คงเติบโตร้อยละ 19.4 (YoY) หรือคิดเป็นมูลค่า 1.5 พันล้านบาท อย่างไรก็ดี การขนส่ง ผ่านเส้นทาง R1 ไปยังเวียดนามในปัจจุบันนั้น ยังมี อุปสรรคในบางส่วนที่อาจส่งผลกระทบต่อต้นทุน

กลยุทธบุกตลาดเวียดนามผานเสนทาง R1

เลือกผูใหบริการดานโลจิสติกสที่มีมาตรฐาน

หาพันธมิตรกระจายสินคา

มูลคาการสงออกของไทยไปเวียดนามบนเสนทาง R1 ป 2556-2560

0200400600800

1000120014001600

ลานบาท รอยละ

2556 2557มูลคาการคาผานดานอรัญประเทศ อัตราการเติบโต

2558 2559 (E) 2560 (F)

120100806040200-20-40-60

ที่มา: กรมการค้าต่างประเทศ รวบรวมโดยศูนย์วิจัยกสิกรไทย

อัพเดทเทรนดความรูธุรกิจไมรูจบทุกที่ทุกเวลา ไดที่

การขนส่ง ดังนั้นการเลือกใช้ผู้ให้บริการด้านโลจิสติกส์ท่ีสามารถจัดการต้นทุนการขนส่งท้ังขาไปและขากลับท่ีดี จึงเป็นสิ่งสำาคัญในการดำาเนินธุรกิจ อีกท้ังการหาพันธมิตรทางการค้าท่ีดีและมีศักยภาพในการกระจายสินค้าในฝ่ังเวียดนาม ก็จะช่วยส่งเสริมให้การค้าของไทยไปยงัเวยีดนามนัน้มปีระสทิธภิาพมากยิง่ขึน้อกีดว้ย