stiffening : how to conserve paperbacks...pulinet ว ชาการ คร งท 1 292...

14
PULINET วิชาการ ครั้งที่ 1 292 การเสริมปกแข็ง : วิธีการบํารุงรักษาหนังสือปกออน Stiffening : How to Conserve Paperbacks นางวันทนา กิติศรีวรพันธุ สํานักหอสมุด มหาวิทยาลัยบูรพา บทคัดยอ วิธีการเสริมปกแข็งหรือที่เรียกวา Stiffening เปนวิธีการบํารุงรักษาหนังสือปกออนซึ่ง จอหน ดีน ผูเชี่ยวชาญดานการบํารุงรักษาทรัพยากรสารสนเทศหองสมุดเปนผูคิดริเริ่มขึ้นนั้น เปนวิธีการเสริมปกใหกับ หนังสือปกออนเพื่อใหเปนปกแข็ง เปลี่ยนสภาพหนังสือจากความออนตัวของรูปเลมใหมีความคงทนแข็งแรงเหมาะสม กับลักษณะการใหบริการในหองสมุด วิธีการนี้มีวิธีการทําที่ไมยุงยากซับซอน ตนทุนการผลิตดานวัสดุและเวลา ในการปฏิบัติงานต่ํา แตผลผลิตของงานมีคุณภาพสูง บรรณารักษที่สนใจจะนําวิธีการนี้ไปใชในการบํารุงรักษา หนังสือปกออนของหองสมุด สามารถปฏิบัติงานตามขั้นตอนในบทความนี้ไดดวยมีภาพประกอบชัดเจน คําสําคัญ การเสริมปกแข็ง / การบํารุงรักษาหนังสือ / การซอมหนังสือ ABSTRACT The process called stiffening, which John Dean created; it strengthens significantly the binding of paperbacks. Stiffening refer to the reinforcement of the original publisher’s covers and enables the volumes to hold up longer under heavy use for the library’s service. The book conservation by this treatment is not only low cost and very easy to work but also high effective work the library gets. The librarians who are interested in how to do this process, they can work along with this procedure that is described step by step clearly by the photographs. KEYWORDS stiffening / book conservation / book repair บทนํา กลาวกันวาหนังสือปกออนกอกําเนิดขึ้นในบรรณพิภพเมื่อราวคริสตศักราช 1841 และตอมา ได มีการผลิตหนังสือปกออนในเชิงพาณิชย โดยบริษัทเพนกวินซึ่งเริ่มผลิตหนังสือชุดปกออนออก จําหนายในป ค.ศ. 1935 (Stiffening Paperbacks, 2003) ตั้งแตนั้นมาการผลิตหนังสือปกออนจึง แพรหลายเปนที่นิยมจนในปจจุบันหนังสือสวนใหญที่หองสมุดจัดหาเขามาใหบริการนั้น เปนหนังสือปก ออน ทั้งนี้ เนื่องจากเหตุผลทางดานการตลาดเพราะหนังสือปกออนมีตนทุนการผลิตต่ํากวาหนังสือปกแข็ง ทําใหสามารถเขาถึงผูบริโภคไดงายกวา สํานักพิมพสวนมากจึงผลิตหนังสือทั่วๆ ไปในรูปเลมของหนังสือ ปกออนดวยหวังผลของการเจาะตลาด ผนวกกับความจํากัดในเรื่องงบประมาณของหองสมุดอีกสวนหนึ่ง

Upload: others

Post on 18-Aug-2020

2 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

Page 1: Stiffening : How to Conserve Paperbacks...PULINET ว ชาการ คร งท 1 292 การเสร มปกแข ง : ว ธ การบ าร งร กษาหน

PULINET วิชาการ คร้ังที่ 1

292

การเสริมปกแข็ง : วิธีการบํารุงรักษาหนังสือปกออน

Stiffening : How to Conserve Paperbacks

นางวันทนา กิติศรีวรพันธุ สํานักหอสมุด มหาวิทยาลัยบูรพา

บทคัดยอ วิธีการเสริมปกแข็งหรือที่ เรียกวา Stiffening เปนวิธีการบํารุงรักษาหนังสือปกออนซึ่ง จอหน ดีน

ผู เชี่ยวชาญดานการบํารุงรักษาทรัพยากรสารสนเทศหองสมุดเปนผูคิดริเริ่มขึ้นนั้น เปนวิธีการเสริมปกใหกับ

หนังสือปกออนเพื่อใหเปนปกแข็ง เปลี่ยนสภาพหนังสือจากความออนตัวของรูปเลมใหมีความคงทนแข็งแรงเหมาะสม

กับลักษณะการใหบริการในหองสมุด วิธีการนี้มีวิธีการทําที่ไมยุงยากซับซอน ตนทุนการผลิตดานวัสดุและเวลา

ในการปฏิบัติงานต่ํา แตผลผลิตของงานมีคุณภาพสูง บรรณารักษที่สนใจจะนําวิธีการนี้ไปใชในการบํารุง รักษา

หนังสือปกออนของหองสมุด สามารถปฏิบัติงานตามขั้นตอนในบทความนี้ไดดวยมีภาพประกอบชัดเจน

คําสําคัญ

การเสริมปกแข็ง / การบํารุงรักษาหนังสือ / การซอมหนังสือ

ABSTRACT

The process called stiffening, which John Dean created; it strengthens significantly the binding of

paperbacks. Stiffening refer to the reinforcement of the original publisher’s covers and enables the

volumes to hold up longer under heavy use for the library’s service. The book conservat ion by this

treatment is not only low cost and very easy to work but also high effective work the library gets. The

librarians who are interested in how to do this process, they can work along with this procedure that is

described step by step clearly by the photographs.

KEYWORDS

stiffening / book conservation / book repair

บทนํา

กลาวกันวาหนังสือปกออนกอกําเนิดขึ้นในบรรณพิภพเมื่อราวคริสตศักราช 1841 และตอมา ไดมีการผลิตหนังสือปกออนในเชิงพาณิชย โดยบริษัทเพนกวินซึ่งเริ่มผลิตหนังสือชุดปกออนออก จําหนายในป ค.ศ. 1935 (Stiffening Paperbacks, 2003) ตั้งแตนั้นมาการผลิตหนังสือปกออนจึงแพรหลายเปนที่นิยมจนในปจจุบันหนังสือสวนใหญที่หองสมุดจัดหาเขามาใหบริการนั้น เปนหนังสือปกออน ทั้งนี้ เนื่องจากเหตุผลทางดานการตลาดเพราะหนังสือปกออนมีตนทุนการผลิตต่ํากวาหนังสือปกแข็ง ทําใหสามารถเขาถึงผูบริโภคไดงายกวา สํานักพิมพสวนมากจึงผลิตหนังสือทั่วๆ ไปในรูปเลมของหนังสือปกออนดวยหวังผลของการเจาะตลาด ผนวกกับความจํากัดในเรื่องงบประมาณของหองสมุดอีกสวนหนึ่ง

Page 2: Stiffening : How to Conserve Paperbacks...PULINET ว ชาการ คร งท 1 292 การเสร มปกแข ง : ว ธ การบ าร งร กษาหน

PULINET วิชาการ คร้ังที่ 1

293

ทําใหหนังสือในหองสมุดสวนใหญเปนหนังสือปกออน ที่หองสมุดมักจะประสบปญหาในเรื่องของความคงทนถาวร ปกของหนังสือจะขาดชํารุดงาย ตัวเลมออนจัดขึ้นชั้นลําบาก หนังสือมักจะลม ซึ่งเปนการทาํใหหนังสือชํารุดมากยิ่งขึ้น ดวยเหตุนี้หองสมุดตางๆ จึงพยายามคิดคนหาวิธีการตางๆ เพือ่ยดือายขุองหนงัสอืปกออนใหยาวนานขึ้น การเสริมปกหนังสือปกออน (Stiffening paperback)

ในปค.ศ. 1974 จอหน เอฟ. ดีน (John F. Dean) ขณะดํารงตําแหนง หัวหนางานบํารุงรักษาหนังสือของหองสมุดไอเซนเฮาเวอร มหาวิทยาลัยจอหน ฮอบกินส มลรัฐแมรี่แลนด ประเทศสหรัฐอเมริกา (Eisenhower Library, John Hopkins University, Maryland, USA) ไดคิดคนวิธีการบํารุงรักษาหนังสือปกออน ใหหนังสืออยูในสภาพที่นาจับตอง รูปเลมแข็งแรง โดยเรียกวิธีการนี้วา Stiffening วิธี การนี้ไดรับความนิยม และแพรหลายในวงการหองสมุดตางๆ ทั่วโลก เปนวิธีการที่ประหยัด ไมยุงยากซับซอน มีตนทุนการปฏิบัติงานต่ํา อุปกรณที่ใชไมจําเปนตองใชเทคโนโลยี ที่สูงเกินความจําเปน และที่สําคัญดวยวิธีการนี้ หองสมุดยังคงรักษา

รูปลักษณของตัวเลมหนังสือรวมทั้งขอมูลที่ปรากฏบนปกและสันหนังสือไดอยางสมบูรณ โดยทีห่นังสือจะไดรับการเสริมปก และรองบานพับของปกทั้งปกหนา และปกหลังใหมีรูปเลมที่มัน่คงแข็งแรงข้ึน เหมาะสมกับการใชงานหนักสําหรับผูอานจํานวนมากของหองสมุดไดเปนอยางด ี ขอดีของวิธีการเสริมปกแข็ง หรือ Stiffening

ดังไดกลาวแลววา หนังสือที่หองสมุดจัดหาเขามาใหบริการสวนใหญเปนหนังสือปกออน วิธีการเสริมปกแข็งดวยวิธีการที่เรียกวา Stiffening นี้ นาจะเหมาะสมที่สุดสําหรับหองสมุดที่จะดําเนิน การกอนนําหนังสือปกออนออกใหบริการแกผูใช ดวยความเหมาะสมหรือขอดีของวิธีการนี้ ดังนี้คือ

1. หนังสือออกใหบริการในระยะเวลาอันรวดเร็ว หองสมุดบางแหงมีนโยบายบํารุง

รักษาหนังสือปกออนใหอยูในสภาพที่แข็งแรง เหมาะสมกับการใชงานเพื่อใหบริการแกผูใชหองสมุด ดังนั้นจึงดําเนินการเย็บเลมเขาปกแข็งหนังสือทุกเลมกอนนําออกใหบริการ แตในความเปนจริงหนังสือทุกเลมที่หองสมุดไดรับและนําออกใหบริการแกผูใชนั้น แตละเลมจะไดรับการใชที่ไมเทาเทียมกัน บางเลมอาจไดรับความสนใจจากผูใชบริการหองสมุดในระดับมาก บางเลมไดรับการใชนอย เมื่อการใชหนังสือทุก

ผูอํานวยการฝายบํารุงรักษาทรัพยากรสารสนเทศหองสมุดมหาวิทยาลัยคอรแนล

Page 3: Stiffening : How to Conserve Paperbacks...PULINET ว ชาการ คร งท 1 292 การเสร มปกแข ง : ว ธ การบ าร งร กษาหน

PULINET วิชาการ คร้ังที่ 1

294

เลมมีระดับความถี่ในการใชไมเทากัน ยอมหมายความวาหนังสือจะไมชํารุดหรือฉีกขาดในเวลาพรอมกัน ดังนั้นการเย็บเลมเขาปกแข็งหนังสือทุกเลมกอนนําออกใหบริการ โดยมีวัตถุประสงคเพื่อปองกันการฉีกขาดและไมใหหนังสือยอนกลับมาซอมนั้นจึงไมมีความจําเปน อีกทั้งการเย็บเลมเขาปกแข็งมีตนทุนสูงเนื่องจากวัสดุตางๆ ที่ประกอบการเขาเลม เชน ผาหรือกระดาษแร็กซีน เปนตน อีกทั้งตองใชเวลาในการปฏิบัติงานคอนขางมาก ทําใหหองสมุดสูญเสียงบประมาณสําหรับคาวัสดุและทําใหไดปริมาณงานจากบุคลากรผูปฏิบัติงานนอย นอกจากนี้ยังมักเกิดปญหาหนังสือตกคางในขั้นตอนการบํารุง รักษานี้เสมอๆ เพราะหนังสือมีจํานวนมาก บุคลากรผูปฏิบัติงานซอมหนังสือมีจํานวนนอย สงผลใหการนําหนังสือออกใหบริการลาชา ผูใชบริการหองสมุดไมไดรับหนังสือในเวลาที่รวดเร็ว หนังสืออาจหมดยุคแหงความสนใจ หรือกลายเปนหนังสือลาสมัย ในขณะที่การเสริมปกแข็งดวยวิธีการ Stiffening มีตนทุนการปฏิบัติงานที่ต่ํากวา บุคลากรสามารถปฏิบัติงานไดในปริมาณที่สูงกวา แกปญหาหนังสือตกคางในขั้นตอนของการบํารุงรักษากอนนําหนังสือออกใหบริการไดอยางสิ้นเชิง แมวาการบํารุงรักษาหนังสือดวย วิธีการเสริมปกแข็งนี้ หนังสือบางเลมจะหวนกลับมาใหซอมเพราะชํารุดฉีกขาดก็ตาม แตอยางที่ไดกลาวไวแลววาหนังสือทุกเลมไดรับการใชไมเทาเทียมกัน ดังนั้นหนังสือบางเลมอาจไมหวนกลับมาใหซอมแซมในระยะเวลานานหลายปก็เปนได ขอสําคัญคือหองสมุดสามารถนําหนังสือออกใหบริการไดอยางรวดเร็วในสภาพที่แข็งแรงและนาจับตองเหมาะสมกับการใหบริการในหองสมุดมากที่สุด

2. ตนทุนต่ํา วิธีการนี้ใชวัสดุนอยและราคาไมสูง จากประสบการณการปฏิบัติงานดวย

วิธีการนี้ ตนทุนคาวัสดุตอเลมเฉลี่ยประมาณ 3 บาท ในขณะที่การเขาเย็บเลมเขาปกแข็งซึ่งหุมดวยผาแร็กซีนนั้น มีราคาวัสดุเฉลี่ยประมาณ 30 บาทตอเลม รวมทั้งในแงของเวลาการปฏิบัติงานที่สูญเสียไปของบุคลากรที่ทําหนาที่บํารุงรักษาหนังสือนั้น ปริมาณงานเฉลี่ยเมื่อเปรียบเทียบระหวางวิธีการเสริมปกกับวิธีการเขาปกเย็บเลม เทากับ 8 :1 เลม ดังนั้นตนทุนที่หองสมุดตองจายสําหรับคาวัสดุและคา ตอบแทนแรงงานของบุคลากรจึงเปนตนทุนที่ต่ํามากเมื่อเทียบกับการบํารุงรักษาหนังสือดวยวิธีอื่นๆ

วิธีการเสริมปกแข็ง (Stiffening)

วิธีการทําปกออนใหเปนปกแข็ง หรือเรียกวา Stiffening เปนวิธีการของจอหน ดีน ซึ่งปจจุบันดํารงตําแหนงผูอํานวยการฝายซอมและบํารุงรักษาวัสดุสารสนเทศ มหาวิทยาลัยคอรแนล มลรัฐนิวยอรก ประเทศสหรัฐอเมริกา (Preservation & Collection Maintenance Department, Cornell University, New York, USA.) นั้น สํานักหอสมุด มหาวิทยาลัยบูรพาไดนําวิธีการมาประยุกตรวมทั้งการเลือกใชวัสดุที่เหมาะสมและหาไดสะดวกภายในประเทศ มีวิธีการปฏิบัติงานดังนี้

วัสดุและอุปกรณ

1. กระดาษแข็งหรือกระดาษปกเบอร 12 หรือมีความหนาประมาณ .050 นิ้ว 2. ผาฝาย (100% cotton) 3. กาว 4. คัดเตอร

Page 4: Stiffening : How to Conserve Paperbacks...PULINET ว ชาการ คร งท 1 292 การเสร มปกแข ง : ว ธ การบ าร งร กษาหน

PULINET วิชาการ คร้ังที่ 1

295

5. กรรไกร 6. แผนพลาสติก 7. ไมกระดานแผนเรียบ 8. แทนน้ําหนัก 9. ไมเนียน

10. เครื่องตัดกระดาษ (ถามี) เพื่อใหการปฏิบัติงานการเขาปกหนังสือนี้ประหยัดเวลาในการปฏิบัติงาน ดังนั้นผูปฏิบัติ

งานควรเตรียมวัสดุที่ตองใชไวลวงหนา ใหมีจํานวนที่พอเพียงเพื่อความสะดวกและตอเนื่องของการปฏิบัติงาน โดยมีวิธีการเตรียมวัสดุ ดังนี้คือ

การเตรียมวัสดุ

1. กระดาษปกที่จะใชผนึกใหเปนหนังสือปกแข็งนั้น จะตัดไว 6 ขนาดมาตรฐานตามปกของ

หนังสือตั้งแตขนาดเล็กจนถึงขนาดใหญ ครอบคลุมขนาดของหนังสือสวนใหญซึ่งมักจะอยูในขอบขายของขนาดตางๆ ดังนี้คือ

เบอร 1 ขนาด 20.513.8 เซนติเมตร

เบอร 2 ขนาด 2215 เซนติเมตร

เบอร 3 ขนาด 2517.5 เซนติเมตร

เบอร 4 ขนาด 2721 เซนติเมตร

เบอร 5 ขนาด 3023 เซนติเมตร

เบอร 6 ขนาด 3423 เซนติเมตร การตัดใหไดขนาดดังกลาว จะใชเครื่องตัดกระดาษไฟฟาหรือเครื่องตัดธรรมดาก็ได ทั้งนี้แลวแตอุปกรณที่สะดวกที่สุดของแตละหองสมุด เมื่อตัดเรียบรอยแลวจะนําขึ้นชั้นเรียงตามหมายเลขตามขนาดของปก เพื่อความสะดวกในการใชงาน และเพื่อใหไดประสิทธิภาพของงานรวมทั้งเปนการประหยัดวัสดุมากที่สุดดวยนั้น ใหพิจารณาตัดกระดาษตามแนวของเสนใยเปนปกตามแนวตั้ง การพิจารณาตรวจสอบแนวตั้งของเสนใยกระดาษ เราสามารถตรวจสอบไดโดยการทบกระดาษเขาหากัน โดยใชมือกดเบาๆ หากแผนกระดาษมวนตามแรงกดไมฝนมือ ก็แสดงวาเปนแนวตั้งของเสนใยกระดาษ แตหากกดทับแลว แผนกระดาษฝนหรือตานแรงกด ก็แสดงวาเปนแนวขวางของเสนใย ซึ่งไมควรตัดกระดาษตามแนวขวางนี้

Page 5: Stiffening : How to Conserve Paperbacks...PULINET ว ชาการ คร งท 1 292 การเสร มปกแข ง : ว ธ การบ าร งร กษาหน

PULINET วิชาการ คร้ังที่ 1

296

ตามแนวตัง้ของเสนใยของกระดาษ ตามแนวขวางของเสนใยของกระดาษ เมื่อทราบแนวตั้งของเสนใยกระดาษแลว นํามาคํานวณตัดกระดาษปกใหมีขนาดมาตรฐานสําหรับการใชงาน 6 ขนาดตามที่กลาวไวขางตน จัดเก็บแยกตามเบอร 1-6 เพื่อความสะดวกในการใชงาน 2. ผาฝาย ซึ่งนํามาเชื่อมบานพับระหวางปกและกับตัวเลมหนังสือนั้น จะตองเปนผาฝาย

ลวน ใหตัดออกเปน 6 ขนาดเทากับความยาวของปก ไดแก ขนาด 20.513.8, 2215, 2517.5,

2721, 3023, 3423 เซนติเมตร หรือตามความสูงของปกมาตรฐานเบอร 1-6 นั่นเอง โดยใหแตละขนาดมีความกวาง 2 เซนติเมตร นําผาที่ตัดตามขนาดความสูงมาตรฐานของปกทั้ง 6 ขนาดเรียบรอยแลวมาจัดเก็บในชองเก็บซึ่งไดจัดทําไวเปนพิเศษเหมือนรังนกกระจอก ซึ่งผูปฏิบัติงานสามารถเตรียมชองนกกระจอกนี้ไดจากการใชกระดาษปกประกอบเขาดวยกัน โดยใหมีขนาดพอเหมาะสําหรับเก็บแถบผาฝายทั้ง 6 ขนาด จัดการกํากับหมายเลขตามชองที่บรรจุแถบผาแตละขนาดใหตรงตามเบอรของปกหนังสือมาตรฐานทั้ง 6 เบอร

Page 6: Stiffening : How to Conserve Paperbacks...PULINET ว ชาการ คร งท 1 292 การเสร มปกแข ง : ว ธ การบ าร งร กษาหน

PULINET วิชาการ คร้ังที่ 1

297

วิธีการทํา

1. นําหนังสือมาเทียบขนาดกับแบบวัดมาตรฐาน ซึ่งระบุขนาดของปกมาตรฐานตามหมายเลข 1-6 หรือเบอร 1-6

2. แนบผาฝาย จํานวน 2 ชิ้นตามขนาดของหนังสือจากการวัดในขอที่ 1 แลววางหนงัสอืแยกตามหมายเลขขนาดของปก เพื่อความสะดวกในการทําในขั้นตอนการเขาปกแข็งในลําดับถัดไป ทั้งนี้เพื่อใหการเลือกขนาดของปกไมสับสน ทําใหผูปฏิบัติงานทํางานไดรวดเร็วขึ้น

3. พิจารณาหนังสือดวยวา เลมใดมีขอมูลสําคัญอยูดานในของปกใหคัดหนังสือเลมนั้นๆ ออก เพื่อนําไปถายสําเนาและตัดใหไดขนาดที่พอเหมาะกับขนาดของหนังสือแนบไปกับหนังสือ และในกรณีที่ปกหนังสือมีลักษณะพับเขาดานใน และสวนนั้นมีขอมูลที่สําคัญเปนประโยชนตอผูใชหนังสือ ใหตัดปกดานที่พับออกแลวแนบไปกับตัวเลม เพื่อนําไปติดกับปกดานในภายหลังขั้นตอนการเขาปกแข็งแลว หนังสือจะไดมีสภาพที่ใหขอมูลที่เปนประโยชนตอผูใชเหมือนเดิมมากที่สุด

4. นําหนังสือที่ไดรับการคัดแยกขนาดแตละขนาดตามข้ันตอนที่ 2 มาดําเนินการ โดยการรีดปกตามแนวบานพับของหนังสือทั้งปกหนาและปกหลัง จากนั้นจึงนําผาฝายที่แนบมากับตัวเลมมาทากาวดานหนึ่ง แลวติดลงระหวางบานพับดานในของปกหนากับตัวเลมหนังสือ โดยใหแถบผาฝายติดกับดานตัวเลมประมาณ 0.5 เซนติเมตร และควรใหขอบผาฝายดานใดดานหนึ่งมีความพอดีกับขอบหนังสือ ทิ้งปลายที่เหลือไวดานหนึ่ง ใชไมเนียนรีดผาฝายใหติดกับตัวเลมหนังสือใหเรียบรอย แลวทําแบบเดียวกันกับปกอกีดานที่เหลือ

Page 7: Stiffening : How to Conserve Paperbacks...PULINET ว ชาการ คร งท 1 292 การเสร มปกแข ง : ว ธ การบ าร งร กษาหน

PULINET วิชาการ คร้ังที่ 1

298

Page 8: Stiffening : How to Conserve Paperbacks...PULINET ว ชาการ คร งท 1 292 การเสร มปกแข ง : ว ธ การบ าร งร กษาหน

PULINET วิชาการ คร้ังที่ 1

299

ปกหนา ปกหลัง

5. นําปกตามขนาดของหนังสือมาทากาว พยายามรีดกาวใหเรียบและมีความสม่ําเสมอมากที่สุด เพราะหากมีเนื้อกาวมากเกินไปนอกจากจะสิ้นเปลืองแลว ยังทําใหปกหนังสือแหงชาและเนื้อกาวสวนเกินลนออกจากขอบปกหนังสืออีกดวย 6. เปดปกหนาของหนังสือกางออก แลวนํากระดาษปกที่ทากาวไวแลว วางบนตัวเลมโดยใหดานที่กาวอยูดานบน เวนระยะหางจากรองบานพับระหวางปกกับตัวเลมประมาณ 0.5 เซนติเมตร และพยายามใหขอบของกระดาษปกเสมอกับขอบบนของหนังสือ กระทําเชนเดียวกันกับปกหลัง

Page 9: Stiffening : How to Conserve Paperbacks...PULINET ว ชาการ คร งท 1 292 การเสร มปกแข ง : ว ธ การบ าร งร กษาหน

PULINET วิชาการ คร้ังที่ 1

300

7. การใชไมเนียนรีดปกนอกใหเรียบ โดยเฉพาะรองบานพับปกนอก ในกรณีที่ดานในปกเดิมมีขอมูลทีสําคัญตองเก็บไวคงเดิม ใหนําขอมูลที่แนบติดมาตามขอ 3 ติดเขากับปกดานในตามเดิม

8. วางหนังสือบนแผนพลาสติก เพื่อปองกันกาวที่ติดอยูกับกระดาษปกของหนังสือติดกับพื้น

Page 10: Stiffening : How to Conserve Paperbacks...PULINET ว ชาการ คร งท 1 292 การเสร มปกแข ง : ว ธ การบ าร งร กษาหน

PULINET วิชาการ คร้ังที่ 1

301

9. เมื่อเขาปกแข็งเลมตอๆ มา ใหนําพลาสติกคั่นหนังสือแตละเลมแลววางซอนกันใหมีปริมาณพอสมควร จึงใชแผนไมกระดานชนิดบางวางบนหนังสือแลวใชแทนทับหนังสือหรือตุมน้ําหนักวางทับบนแผนไมกระดานอีกชั้นหนึ่ง ปลอยทิ้งไว 1 คืน หรือจนกาวแหงสนิทดี

10. เมื่อกาวแหงดีแลว นําหนังสือแตละเลมมาตรวจสอบความเรียบรอย เชน มีเศษกาวติดหนากระดาษของหนังสือหรือไม ถามีใหใช Spatula หรือไมบรรทัดหรือจะใชไมไผเหลาบางๆ ก็ได เลาะหนากระดาษออกจากกัน หรือตรงบริเวณรองบานพับที่ติดผาฝายติดสนิทดีกับตัวเลมหรือกับปกดีหรือไม โดยสวนมากมักจะมีปญหาตรงขอบบนและลางของผาฝาย ถาพบวากาวติดไมสนิทดีใหใชพูกันจุมกาวปายตรงบริเวณนั้นๆ หรือหากพบวามีสภาพอื่นๆ ที่ไมเรียบรอยก็ใหพยายามแกไขใหดีที่สุด

11. จากนั้นนําหนังสือเขาเครื่องตัดกระดาษไฟฟา เพื่อประหยัดเวลาในการตัดเจียนขอบหนังสือ ใหนําหนังสือที่มีขนาดใกลเคียงกันตามที่ไดกระทําตั้งแตขั้นตอนที่ 1 นั้นมากระทําตอเนื่องกันเพื่อความสะดวกในการใชเครื่องตัด ไมตองเสียเวลาในการเลื่อนใบมีดเขาและออกมากนัก การตัดใหตัดขอบบนกอนเพราะตามขั้นตอนที่ 6 การติดกระดาษปกเขากับตัวเลมไดพยายามใหมีความเสมอกัน เพื่อประโยชนในการสอดตัวเลมหนังสือใหขอบบนชิดเครื่องกั้นในเครื่องตัดกระดาษ ทําใหมีความเที่ยงในการลงใบมีดตัดเจียนขอบหนังสือดานลาง เมื่อลงใบมีดตัดขอบดานลางแลว ใหกลับหนังสือใหดานลางที่ตัดแลวชิดเครื่องกั้นในเครื่องตัด เพื่อตัดสวนขอบบนของหนังสือ จากนั้นพักวางหนังสือไวในที่ที่จัดไวกอน เพื่อตดัเลมอื่นๆ ตอไปจนกระทั่งหนังสือขนาดที่ทําอยูนั้นหมดไป

12. ลําดับตอไปนําหนังสือจากข้ันตอนที่ 11 มาตัดขอบดานตรงขามกับสันหนังสือ ทําทลีะเลมจนหมด การตัดเจียนขอบหนังสือ ควรตัดออกเพียงเล็กนอย ใหหนังสือมีความสวยงามและไมทําลายเนื้อความของหนังสือภายในเลม จากนั้นสงหนังสือที่ไดเขาปกแข็งเรียบรอยแลวใหฝายอื่นดาํเนนิการตอไป เปนอันจบกระบวนการการบํารุงรักษาหนังสือปกออนซึ่งรับเขามาใหม หากหองสมุดไมมีเครื่องตัดกระดาษไฟฟา ก็สามารถปฏิบัติงานไดดวยการใชกรรไกร, คัตเตอร หรือเครื่องตัดแบบมือโยก ตัดเจียนขอบปกในสวนที่เกินออกมาจากตัวเลม การปฏิบัติงานดังกลาวอาจจะไมสะดวกและรวดเร็วเหมือนกับเครื่องตัดกระดาษไฟฟา แตวิธีการทําก็ไมยุ งยากหรือประสบปญหาในการปฏิบัติงานแตอยางใด และยังอาจจะมีขอดีเพิ่มเติมขึ้นก็คือไมตองเจียนขอบหนังสือ

Page 11: Stiffening : How to Conserve Paperbacks...PULINET ว ชาการ คร งท 1 292 การเสร มปกแข ง : ว ธ การบ าร งร กษาหน

PULINET วิชาการ คร้ังที่ 1

302

ออกทิ้ง เพราะปจจุบันการพิมพหนังสือจะเวนชองวางของกรอบหนาหนังสือไวนอยมาก การตัดดวยเครื่องตัดไฟฟาตองเพิ่มความระมัดระวังมากเปนพิเศษเพื่อไมใหเนื้อหาของหนังสือถูกตัดทิ้งไป แตหากตดัดวยกรรไกร คัตเตอร หรือเครื่องตัดกระดาษแบบมือโยกก็จะตัดเฉพาะขอบสวนเกินของปกที่นํามาเสริมออกเทานั้น ไมกระทบกระเทือนถึงตัวเลมของหนังสือแตอยางใด วิธีการตัดก็ทําไดงายดังภาพ ประกอบตอไปนี้

Page 12: Stiffening : How to Conserve Paperbacks...PULINET ว ชาการ คร งท 1 292 การเสร มปกแข ง : ว ธ การบ าร งร กษาหน

PULINET วิชาการ คร้ังที่ 1

303

การตัดดวยเครื่องตัดกระดาษแบบมือโยก

หนังสอืปกออนกอนและหลักการเสริมปกแข็ง บทสรุป

ผลลัพธของการบํารุงรักษาหนังสือปกออนดวยวิธีการเสริมปกแข็ง หรือ Stiffening นี้ก็คือหนังสือจะไดรับการยืดอายุใหอยูบนชั้นหนังสือยาวนานยิ่งขึ้น สามารถทรงตัวและวางตั้งอยูบนชั้นหนังสือไดเปนอยางดี ที่สําคัญคือมีความแข็งแรงทนทานเหมาะสมตอการใชงานเพื่อการบริการไดอยางดียิ่ง ดวยกลวิธีการปฏิบัติงานที่ประหยัดเวลาและงบประมาณ

กอนการเสริมปกแข็ง

หลังการเสริมปกแข็ง

Page 13: Stiffening : How to Conserve Paperbacks...PULINET ว ชาการ คร งท 1 292 การเสร มปกแข ง : ว ธ การบ าร งร กษาหน

PULINET วิชาการ คร้ังที่ 1

304

บรรณานุกรม

Dean, John F. (1981). The in-house processing of paperbacks and pamphlets. Serials Review.,

81-85. Stiffening Paperbacks. (2003). Retrieved from www.library.jhu.edu/preservation/

findit/Prep/stiffening.html

Page 14: Stiffening : How to Conserve Paperbacks...PULINET ว ชาการ คร งท 1 292 การเสร มปกแข ง : ว ธ การบ าร งร กษาหน

PULINET วิชาการ คร้ังที่ 1

305