€¦ · web viewส วนประกอบในแบบเสนอโครงร...

Download €¦ · Web viewส วนประกอบในแบบเสนอโครงร างสารน พนธ แบบเสนอโครงร างม รายละเอ

If you can't read please download the document

Upload: others

Post on 17-Jun-2020

4 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

คู่มือการทำสารนิพนธ์

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต

สาขาการจัดการอุตสาหกรรม

ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ปรับปรุงเมื่อ 12 มิถุนายน 2551

ผศ.ดร.ธเนศ รัตนวิไล

สารบัญ

หน้า

1. ขั้นตอนการทำสารนิพนธ์

3

1.1 ขอบเขตของสารนิพนธ

3

1.2 คณะกรรมการสารนิพนธ์

4

1.3 แนวปฏิบัติในการยื่นแบบสารนิพนธ์

7

1.4 รายละเอียดการยื่นแบบสารนิพนธ์

8

1.5 แนวปฏิบัติการนำเสนอโครงร่างและความก้าวหน้าสารนิพนธ์

11

1.6 แนวปฏิบัติการนำเสนอเพื่อสอบป้องกันสารนิพนธ์

11

1.7 เอกสารประกอบการส่งสารนิพนธ์ฉบับสมบูรณ์

11

1.8 การให้ระดับขั้นในรายวิชา 228-592 สารนิพนธ์

12

1.9 การเปลี่ยนแผนการศึกษา

12

2 การเขียนและพิมพ์สารนิพนธ์

14

2.1 แบบฟอร์มการเสนอสารนิพนธ์

14

2.2 แบบข้อเสนอโครงร่างและรายงานความก้าวหน้าสารนิพนธ์

14

2.3 การจัดทำสารนิพนธ์ฉบับสมบูรณ์

14

2.3.1 เนื้อเรื่อง (Text)

15

2.3.2 เอกสารอ้างอิง

16

เอกสารแนบ

เอกสารแนบ 1 Manuscript ฉบับภาษาไทย และภาษาอังกฤษ

22

เอกสารแนบ 2 รูปแบบปกสื่ออิเล็คทรอนิกส์ (CD)

28

เอกสารแนบ 3 รูปแบบการเขียนข้อเสนอโครงร่าง

30

เอกสารแนบ 4 รูปแบบการเขียนรายงานความก้าวหน้า

34

เอกสารแนบ 5 รูปแบบการเขียนสารนิพนธ์ฉบับสมบูรณ์

38

เอกสารแนบ 6 แบบฟอร์มการขออนุมัติ (MF)

40

1 ขั้นตอนการทำสารนิพนธ์

1.1 ขอบเขตของสารนิพนธ

เกณฑมาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา ตามประกาศบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย

สงขลานครินทร (ประกาศตามระเบียบมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร วาดวยการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา และสอดคลองกับ ประกาศของทบวงมหาวิทยาลัย เรื่อง เกณฑมาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2542) ไดกําหนดไววา หลักสูตรปริญญาโทแผน ข เปนแผนการศึกษาที่เน้นการศึกษางานรายวิชา และทําสารนิพนธ 6 หนวยกิต โดยใหมีจํานวนหนวยกิตรวมตลอด

หลักสูตรไมนอยกวา 36 หนวยกิต

1.1.1 วัตถุประสงคของสารนิพนธ

1. เพื่อใหนักศึกษาไดเรียนรูกระบวนการวิจัยและฝกการทําวิจัยทุกขั้นตอน เพื่อใหได้ผลงานที่มีคุณภาพระดับหนึ่งภายใตขอจํากัดของเวลาตามจํานวนหนวยกิตที่กําหนดไว

2. เพื่อใหนักศึกษาไดฝกวิธีการในการแสวงหาความรูดวยตนเอง วิธีการสืบคน การศึกษา การแปลความหมายสําคัญ การวิเคราะห และการสรุปผลจากรายงานการวิจัย ในการ

ทํา ปริทัศนวรรณกรรม (Literature review) ในสาขาที่เกี่ยวของ

3. เพื่อใหนักศึกษาไดฝกปฏิบัติการเสนอผลงานวิชาการ การเขียนรายงานวิจัย และสาร

นิพนธ์ไดอยางถูกวิธี

1.1.2 เปาหมาย

เพื่อใหนักศึกษามีความรูความเขาใจในกระบวนการทําวิจัยที่ถูกตองสมบูรณ สามารถทํา

วิจัยได และมีคุณธรรมและจริยธรรมของนักวิจัย

1.1.3 งานวิจัยสารนิพนธ อาจมีแนวทางอยางใดอยางหนึ่ง หรือหลายอยาง เชน

· การวิจัยเชิงสํารวจ (Survey research) เพื่อศึกษาสภาพปญหาหรือสถานการณ์

· การศึกษากรณีตัวอยาง (Case study)

· การวิจัยเพื่อทดสอบทฤษฎี (Testing out theory) (ที่ไมซับซอนมากนัก) หมายถึง งานวิจัยที่เปนการทดสอบทฤษฎีที่มีอยูในขณะนั้น โดยทําการวิจัยในสภาพแวด ลอม (Circumstance) ที่แตกตางไปจากเดิม เพื่อเปนการยืนยันและขยายขอบเขตหรือลบลางทฤษฎีนั้น ๆ

· การวิจัยเพื่อแกปญหา (Problem solving research) หมายถึง งานวิจัยที่มุ่งแก้ปัญหา ในงานอาชีพที่ไม่ซับซ้อนมากนัก

· ฯลฯ

1.1.4 แนวคิดและหลักการของสารนิพนธ

· สารนิพนธในสาขาวิชาเดียวกันตองมีคุณภาพและมาตรฐานทางวิชาการเช่นเดียวกัน

· การจัดกระบวนการเรียนรู้ของรายวิชาสารนิพนธ์ในหลักสูตรต่างๆ อาจมีความแตกต่างกันได้ แต่ต้องมุ่งให้บรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ในหลักสูตรนั้นๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงธรรมชาติและลักษณะของสาขาวิชาที่มีความแตกต่างกัน และกรรมการบริหารหลักสูตรเป็นผู้ใช้ดุลยพินิจในการจัด

· สารนิพนธมีคุณลักษณะ ดังตอไปนี้

1. เปนงานวิจัยที่มีขอบเขตของสาระและเนื้อหาที่เกี่ยวของกับสาขาวิชาที่ศึกษา

2. เปนงานวิจัยที่มีคุณภาพมีกระบวนการและขั้นตอนการศึกษาวิจัยที่ถูกตองตามหลักวิชา

3. เปนการฝกปฏิบัติเพื่อเสริมความรูและความเขาใจในกระบวนการทําวิจัย รวมทั้ง ฝึกปฏิบัติในการสืบคนขอมูล การวิเคราะหและสังเคราะหขอมูลที่เกี่ยวของและการรายงานผลรวมออกมาเปนสารนิพนธที่เปนรูปเลม

1.2 คณะกรรมการสารนิพนธ์

ให้ยึดตามระเบียบมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ.

2549 โดยได้ทำการคัดลอกมาบางส่วน ดังนี้

1.2.1 อาจารย์ที่ปรึกษาสารนิพนธ์

(ข้อ16.8) อาจารย์ที่ปรึกษาสารนิพนธ์ หมายถึง อาจารย์ประจำที่ได้รับแต่งตั้งโดยคณะ

กรรมการประจำคณะตามคำแนะนำของคณะกรรมการบรหารหลักสูตร หรืออาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลักตามข้อ 16.6 ให้รับผิดชอบกระบวนการเรียนรู้เพื่อสารนิพนธ์ของนักศึกษาเฉพาะ

ราย รวมทั้งการประเมินความก้าวหน้าและการสอบสารนิพนธ์ของนักศึกษา

(ข้อ16.1) อาจารย์ประจำ หมายถึง ข้าราชการ พนักงาน หรือผู้ที่มหาวิทยาลัยแต่งตั้งให้

ปฏิบัติงานในสังกัดมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ทำหน้าที่หลักด้านการสอนและวิจัย และปฏิบัติ

หน้าที่เต็มเวลาตามภาระงานที่รับผิดชอบในหลักสูตรที่เปิดสอน

(ข้อ16.6) อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลัก (Major advisor) หมายถึง อาจารย์ประจำที่

ได้รับแต่งตั้งโดยคณะกรรมการประจำคณะตามคำแนะนำของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร ให้

รับผิดชอบกระบวนการเรียนรู้เพื่อวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาเฉพาะราย เช่น การพิจารณาเค้าโครง

การให้คำแนะนำและควบคุมดูแล รวมทั้งการประเมินความก้าวหน้าและการสอบวิทยานิพนธ์ของ

นักศึกษา

ทั้งนี้ทางหลักสูตรฯได้กำหนดให้อาจารย์ที่ปรึกษาสารนิพนธ์หลัก ต้องเป็นอาจารย์ประจำ

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการอุตสาหกรรมเท่านั้น

1.2.2 คณะกรรมการสอบสารนิพนธ์

(ข้อ 28) คณะกรรมการสอบสารนิพนธ์ ได้รับการแต่งตั้งโดยคณะกรรมการบริหาร

หลักสูตร มีจำนวนกรรมการไม่น้อยกว่า 3 คน แต่ไม่เกิน 5 คน ประกอบด้วย อาจารย์ที่ปรึกษาสาร

นิพนธ์ และอาจารย์ประจำ หรือผู้ทรงคุณวุฒิไม่น้อยกว่า 2 คน โดยให้กรรมการคนใดคนหนึ่งเป็น

ประธานคณะกรรมการสอบ

ทั้งนี้ คณะกรรมการสอบสารนิพนธ์ชุดหนึ่ง อาจทำหน้าที่สอบสารนิพนธ์ของนักศึกษาได้

มากกว่า 1 คน

1.2.3 คณะกรรมการสอบประมวลความรอบรู้

(ข้อ 26) คณะกรรมการสอบประมวลความรอบรู้ ได้รับการแต่งตั้งโดยคณะกรรมการ

บริหารหลักสูตร มีหน้าที่สอบประมวลความรอบรู้ มีจำนวนกรรมการไม่น้อยกว่า 3 คน แต่ไม่เกิน 5

คน ประกอบด้วยอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ หรือสารนิพนธ์ และหรืออาจารย์ระดับบัณฑิตศึกษา

และ หรือผู้ทรงคุณวุฒิ

แนวปฏิบัติในการสอบ

สามารถนำหนังสือ ตำรา เอกสารอื่นๆ และเครื่องคิดเลข เข้าห้องสอบได้ ยกเว้นเครื่อง

คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สื่อสาร ส่วนแนวปฏิบัติอื่นๆ ให้ยึดตามระเบียบบัณฑิตศึกษา คณะ

วิศวกรรมศาสตร์ ในการสอบจะมีทั้งการสอบข้อเขียนและสอบปากเปล่า ทั้งนี้ผู้มีสิทธิ์สอบปาก

เปล่าได้จะต้องผ่านเกณฑ์การสอบข้อเขียนก่อน สำหรับการสอบข้อเขียน จะมีข้อสอบรวมทั้งหมด

6 ข้อๆ ละ 100 คะแนน ข้อสอบถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ

รายวิชาบังคับ มีทั้งหมด 6 วิชาแต่รวมเป็น 3 ข้อ ให้ทำทุกข้อ คือ

1. วิชาสถิติประยุกต์สำหรับการตัดสินใจและการวิจัยการดำเนินงานสำหรับผู้จัดการ  (100 คะแนน)

2. วิชาการจัดการโครงการและการจัดการสิ่งแวดล้อม (100 คะแนน)

3. วิชาการบัญชีสำหรับผู้บริหารและการจัดการการเงิน (100คะแนน)                

รายวิชาเลือก มีทั้งหมด 6 วิชาๆ ละ 1 ข้อ ให้เลือกทำเพียง 3 ข้อ โดยต้องทำการแจ้งวิชาเลือกที่จะสอบในแบบฟอร์มการขอสอบประมวลความรอบรู้

เกณฑ์การประเมิน

นักศึกษา แผน ข. หลักสูตรการจัดการอุตสาหกรรม ต้องสอบประมวลความรอบรู้เพื่อจบ

การศึกษา โดยสามารถทำการสอบได้เพียงสองครั้งเท่านั้น ในการสอบจะมีทั้งการสอบข้อเขียนและ

การสอบปากเปล่า ทั้งนี้ผู้มีสิทธิ์สอบปากเปล่าได้จะต้องผ่านเกณฑ์การสอบข้อเขียนก่อน คือ                    - ได้คะแนนรวมทั้ง 6 วิชาไม่ต่ำกว่า 300 คะแนน และ

    

- แต่ละรายวิชาได้คะแนนไม่ต่ำกว่า 35 คะแนน

หากสอบไม่ผ่าน ต้องรอสอบครั้งที่สองในภาคการศึกษาถัดไป

1.3 แนวปฏิบัติในการยื่นแบบสารนิพนธ์

1.4 รายละเอียดการยื่นแบบสารนิพนธ์

ลำดับที่

กิจกรรม

แบบ ฟอร์ม

ระยะเวลา

จำนวน/คณะกรรมการ

หมายเหตุ

1

การขออนุมัติแต่งตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษาสารนิพนธ์

MF 1

4 สัปดาห์หลังเปิดภาคการศึกษาที่ 1 ของปีการศึกษาที่ 2

1-2

ชื่อสารนิพนธ์เป็นเพียง “หัวข้อ” สามารถเปลี่ยนแปลง/แก้ไขได้ก่อนการเสนอโครงร่างสารนิพนธ์

2

การขออนุมัติเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการที่ปรึกษาสารนิพนธ์

MF 1/1

ตลอดเวลา

1-2

-

3

การขออนุมัติแต่งตั้งคณะกรรมการและขอสอบโครงร่างสารนิพนธ์

MF 2

ต้นภาคการศึกษาที่ 1 ของปีการศึกษาที่ 2

ไม่น้อยกว่า 3 แต่ไม่เกิน 5

- ยื่นพร้อม MF 3

- คณะกรรมการสอบโครงร่าง สอบความก้าวหน้า และสอบป้องกันสารนิพนธ์เป็นคณะกรรมการชุดเดียวกัน

4

การขออนุมัติเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการสอบสารนิพนธ์

MF 2/1

ต้นภาคการศึกษาที่ 1 ของปีการศึกษาที่ 2

ไม่น้อยกว่า 3 แต่ไม่เกิน 5

-

5

แจ้งผลการสอบและการอนุมัติโครงร่างสารนิพนธ์

MF 3

ภายใน 2 วัน หลังจากวันสอบ

-

- ยื่นพร้อม MF 2

- ประธานกรรมการสอบส่ง MF 3 กลับไปยังหลักสูตรฯ ภายใน 2 วัน

- นักศึกษาสรุปคำแนะนำและส่งให้คณะกรรมการสอบภายใน 2 วัน

- กรณีต้องมีการแก้ไขโครงร่าง ต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 21 วัน ส่งโครงร่างฉบับแก้ไขเพื่อให้คณะกรรมการสอบพิจารณาอีกครั้ง หากเลยกำหนดต้องสอบโครงร่างใหม่ในภาคการศึกษาถัดไป

ลำดับที่

กิจกรรม

แบบ ฟอร์ม

ระยะเวลา

จำนวน/คณะกรรมการ

หมายเหตุ

6

การขออนุมัติเปลี่ยนแปลงชื่อ/โครงร่างสารนิพนธ์

MF 3/1

ตลอดเวลา

2-3

เมื่อนักศึกษาได้รับอนุมัติให้ทำสารนิพนธ์ตามแบบ MF 3 แล้ว หากภายหลังประสงค์จะขอเปลี่ยนชื่อโครงร่างสารนิพนธ์ ให้ยื่นคำร้องได้ตามแบบ MF 3/1

กรณี ที่มีการเปลี่ยนแปลงเนื้อหาของโครงร่างสารนิพนธ์ นักศึกษาจะต้องแนบโครงร่างสารนิพนธ์ที่ได้ทำการเปลี่ยนแปลง

7

ส่งรายงานความก้าวหน้า

-

หลังสอบกลางภาค และ สอบปลายภาค 1 สัปดาห์

· ส่งตามจำนวนคณะกรรมการสอบสารนิพนธ์

· กลางภาคส่งเฉพาะรายงานความก้าวหน้า ส่วนปลายภาคส่งรายงานความก้าวหน้าพร้อมการนำเสนอ

· นักศึกษาที่ไม่ส่งรายงานความก้าวหน้ากลางภาค จะไม่มีสิทธิ์สอบปลายภาคของรายวิชาสารนิพนธ์

· นักศึกษาที่ไม่ส่งรายงานความก้าวหน้าปลายภาค จะไม่มีสิทธิ์สอบนำเสนอปลายภาคของรายวิชาสารนิพนธ์

8

ขอสอบป้องกันสารนิพนธ์

MF 4

หลังจาก MF 2 อนุมัติ

-

1. ได้รับการอนุมัติการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสารนิพนธ์แล้ว 2. พร้อมที่จะสอบสารนิพนธ์และยึดแนวปฏิบัติการนำเสนอสารนิพนธ์ตามที่หลักสูตรฯกำหนด

3. นักศึกษา ต้องยื่นคำร้องก่อนวันสอบอย่างน้อย 1 สัปดาห์4. ยื่นคำร้องขอสอบสารนิพนธ์ พร้อมส่งสารนิพนธ์ฉบับร่าง (ยังไม่เย็บเล่ม และผ่านการตรวจสอบรูปเล่มแบบจากหลักสูตรฯเรียบร้อยแล้ว) จำนวน

3 - 5 เล่ม (ตามจำนวนคณะกรรมการสอบสารนิพนธ์) ก่อนวันสอบอย่างน้อย 1 สัปดาห์

ลำดับที่

กิจกรรม

แบบ ฟอร์ม

ระยะเวลา

จำนวน/คณะกรรมการ

หมายเหตุ

10

การขออนุมัติเปลี่ยนแปลงการสอบสารนิพนธ์

MF 4/1

หลังจาก MF 4 อนุมัติ

-

-

11

แจ้งผลการสอบสารนิพนธ์

บส 7

ภายใน 2 วันหลังสอบสารนิพนธ์เสร็จ

-

นักศึกษาต้องส่งสารนิพนธ์ฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่กำหนด ภายใน 21 วัน นับจากวันที่สอบสารนิพนธ์ผ่าน

กรณี ที่สอบครั้งแรกไม่ผ่าน มีสิทธิ์สอบได้อีกหนึ่งครั้งภายในเวลาไม่น้อยกว่า 30 วันหลังจากสอบครั้งแรก

12

ขอส่งสารนิพนธ์ฉบับสมบูรณ์

MF 5

ภายใน 21 วัน หลังจากสอบสารนิพนธ์ผ่าน

-

-

13

คำร้องขอสอบประมวลความรอบรู้

MF 6

ตลอดเวลา

-

เมื่อนักศึกษาได้ศึกษารายวิชาครบถ้วนตามหลักสูตรกำหนด ยกเว้นวิชา สารนิพนธ์ และได้ผลการศึกษาคิดเป็นแต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.00 ทั้งนี้ต้องทำการแจ้งวิชาเลือกที่จะสอบจำนวน 3 วิชาจากรายวิชาเลือกที่เปิดให้สอบในแต่ละภาคการศึกษา

14

แจ้งผลการสอบประมวลความรอบรู้

บว 7

ภายใน 2 วันนับจากวันสอบ

-

นักศึกษามีสิทธิ์สอบประมวลความรอบรู้ได้ไม่เกิน 2 ครั้ง ทั้งนี้ทางหลักสูตรฯ จะทำการจัดสอบภาคการศึกษาละครั้งเท่านั้น

หมายเหตุหากข้อความใดขัดแย้งกับประกาศ ระเบียบมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ.2549 ให้ยึดตามระเบียบฯ ว่าด้วยการศึกษาระดับ บัณฑิตศึกษา พ.ศ.2549

1.5 แนวปฏิบัติการนำเสนอโครงร่างและความก้าวหน้าสารนิพนธ์

1. ส่งโครงร่าง/รายงานความก้าวหน้าที่สำนักงานหลักสูตรฯ จำนวนเท่ากับคณะ

กรรมการสอบ (ประกอบด้วยคณะอาจารย์ที่ปรึกษาและคณะกรรมการที่แต่งตั้ง) ก่อน

วันสอบอย่างน้อย 1 สัปดาห์

2. นักศึกษาจะต้องตรวจสภาพความเรียบร้อยห้องสอบและอุปกรณ์ ลงไฟล์นำเสนอใน

เครื่องคอมพิวเตอร์ และพร้อมสอบทันทีเมื่อถึงเวลาที่กำหนด

3. แจกเอกสารการนำเสนอ (power point) ให้คณะกรรมการสอบทุกท่าน

4. ใช้เวลาการนำเสนอไม่เกิน 15 นาที และตอบคำถาม อีกไม่เกิน 15 นาที

1.6 แนวปฏิบัติการนำเสนอเพื่อสอบป้องกันสารนิพนธ์

1. ส่งสารนิพนธ์ฉบับสมบูรณ์ที่ผ่านการตรวจสอบรูปแบบจากหลักสูตรฯ ที่สำนักงาน

หลักสูตรฯ จำนวนเท่ากับคณะกรรมการสอบ (ประกอบด้วยคณะอาจารย์ที่ปรึกษาและ

คณะกรรมการที่แต่งตั้ง) ก่อนวันสอบอย่างน้อย 1 สัปดาห์

2. นักศึกษาจะต้องตรวจสภาพความเรียบร้อยห้องสอบและอุปกรณ์ ก่อนเวลาสอบไม่

น้อยกว่า 15 นาที

3. แจกเอกสารการนำเสนอ (power point) ให้คณะกรรมการสอบทุกท่าน

4. ใช้เวลาการนำเสนอไม่เกิน 30 นาที และตอบคำถามอีกไม่เกิน 60 นาที

5. เตรียม บส.7 พร้อมกรอกข้อมูลด้วยการพิมพ์ให้เรียบร้อย

1.7 เอกสารประกอบการส่งสารนิพนธ์ฉบับสมบูรณ์

นักศึกษาต้องส่งเอกสารต่อไปนี้มายังหลักสูตร ภายใน 21 วัน นับจากวันที่สอบป้องกัน

สารนิพนธ์

1. สารนิพนธ์ฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่กำหนดจำนวน 3 - 5 เล่ม (ตามจำนวน คณะกรรมการที่ปรึกษาสารนิพนธ์ และ สำหรับหลักสูตรฯจำนวน 2 เล่ม)  

2. Manuscript ฉบับภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ ตามรูปแบบการเขียนที่หลักสูตรฯ กำหนด (เอกสารแนบ 1)                          

3. แผ่นซีดีจำนวน 2 แผ่นบรรจุกล่องพร้อมปกตามรูปแบบที่กำหนด (เอกสารแนบ 2)โดยมีเนื้อหาซึ่งประกอบด้วย

a. สารนิพนธ์ฉบับสมบูรณ์ที่มีเนื้อหาและเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการทำสารนิพนธ์

b. Manuscript ฉบับภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ ตามรูปแบบการเขียนที่หลักสูตรฯ กำหนด

c. เอกสารการนำเสนอสารนิพนธ์ (power point)    

1.8 การให้ระดับขั้นในรายวิชา 228-592 สารนิพนธ์ มีหลักเกณฑ์ดังนี้

การพิจารณาระดับขั้นของรายวิชาสารนิพนธ์ในแต่ละภาคการศึกษา มีแนวปฏิบัติดังนี้

ภาคการศึกษาที่ 1

นักศึกษาสอบโครงร่างสารนิพนธ์ผ่าน

ได้ P = 1 หน่วยกิต

ความก้าวหน้าสารนิพนธ์ดำเนินไปได้รวม 20% ได้ P = 2 หน่วยกิต

ความก้าวหน้าสารนิพนธ์ดำเนินไปได้รวม 40% ได้ P = 3 หน่วยกิต

ภาคการศึกษาที่ 2

นักศึกษาสอบความก้าวหน้าสารนิพนธ์ผ่านได้ P = 1 หน่วยกิต

นักศึกษาเขียนสารนิพนธ์เสร็จ

ได้P = 2 หน่วยกิต

นักศึกษาสอบสารนิพนธ์ผ่าน

ได้ P = 3 หน่วยกิต

เมื่อทำการสอบป้องกันสารนิพนธ์และได้ P ครบ 6 หน่วยกิตตามที่หลักสูตรกำหนด

รวมถึงการส่งสารนิพนธ์ฉบับสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว อาจารย์ที่ปรึกษาจะส่งระดับขั้นรายวิชา

228-592 สารนิพนธ์ ด้วยฟอร์ม สน.13 ไปยังทะเบียนกลางโดยมีระเบียบปฏิบัติ ดังนี้

1. สัญญลักษณ์ S หมายถึง การสอบเป็นที่พอใจ

2. สัญญลักษณ์ U หมายถึง การสอบยังไม่เป็นที่พอใจ

3. สัญญลักษณ์ X หมายถึง การสอบอยู่ในขั้นดีเด่น

1.9 การเปลี่ยนแผนการศึกษา

นักศึกษาสามารถเปลี่ยนแผนการศึกษาได้เพียงครั้งเดียวตลอดระยะการศึกษา โดยสามารถ

ทำได้ตลอดเวลาจนถึงวันปิดภาคการศึกษาที่ 2 ของปีการศึกษาที่ 1 หากเลยระยะเวลากำหนด

หลักสูตรฯ จะไม่รับพิจารณา ทั้งนี้มีแนวการดำเนินการ ดังนี้  

กรณีการเปลี่ยนแผนการศึกษาจากแผน ข เป็น แผน ก(2)

ให้นักศึกษายื่นคำร้องขอเปลี่ยนแผนการศึกษา พร้อมร่างข้อเสนอโครงการที่มีทิศทางการ

ทำวิจัยที่ชัดเจน หรือเอกสารอื่นใดที่จะแสดงให้เห็นว่านักศึกษามีศักยภาพที่จะทำวิจัยได้ ซึ่งได้รับ

ความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารหลักสูตรแล้ว เสนอต่อคณะกรรมการบัณฑิตศึกษาเป็นผู้

พิจารณาอนุมัติ

กรณีการเปลี่ยนแผนการศึกษาจากแผน ก(2) เป็น แผน ข

ให้นักศึกษายื่นคำร้องขอเปลี่ยนแผนการศึกษา ซึ่งคณะกรรมการบริหารหลักสูตรได้ให้

ความเห็นชอบแล้ว เสนอต่อคณะกรรมการบัณฑิตศึกษาเป็นผู้พิจารณาอนุมัติ

2 การเขียนและพิมพ์สารนิพนธ์

2.1 แบบฟอร์มการเสนอสารนิพนธ์

ให้ใช้ Minor Thesis Form (MF) ตามรูปแบบที่หลักสูตรฯ กำหนดไว้ (สามารถ Download

ได้ที่ http://www.mim.psu.ac.th/main_menu/download.htm) โดยประกอบด้วยแบบฟอร์มต่างๆ

ดังนี้

· MF 1  แบบขออนุมัติแต่งตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษาสารนิพนธ์

· MF 1/1 แบบขออนุมัติเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการที่ปรึกษาสารนิพนธ์

· MF 2  แบบขออนุมัติแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสารนิพนธ์

· MF 2/1 แบบขออนุมัติเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการสอบสารนิพนธ์

· MF 3  แบบแจ้งผลการสอบและการอนุมัติโครงร่างสารนิพนธ์

· MF 3/1 แบบขออนุมัติเปลี่ยนแปลงชื่อ / โครงร่างสารนิพนธ์

· MF 4  แบบขอสอบสารนิพนธ์

· MF 4/1 แบบขออนุมัติเปลี่ยนแปลงการสอบสารนิพนธ์

· บส 7 แบบแจ้งผลการสอบสารนิพนธ์

· MF 5 แบบขอส่งสารนิพนธ์ฉบับสมบูรณ์

· MF 6

HYPERLINK "http://www.eng.psu.ac.th/~mim/documents/general_request.doc" \t "_blank" แบบคำร้องขอสอบประมวลความรอบรู้

2.2 แบบข้อเสนอโครงร่างและรายงานความก้าวหน้าสารนิพนธ์

แบบข้อเสนอโครงร่างและรายงานความก้าวหน้าสารนิพนธ์ ให้ยึดรูปแบบที่หลักสูตรฯ

กำหนดตามเอกสารแนบ 3 และ 4 ตามลำดับ

(สามารถ Download ได้ที่ http://www.mim.psu.ac.th/main_menu/download.htm)

2.3 การจัดทำสารนิพนธ์ฉบับสมบูรณ์

ให้ยึดตามคู่มือการเขียนและพิมพ์สารนิพนธ์ ของบัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยมีรายละเอียดตามเอกสารแนบ 5 (สามารถ Download ได้ที่ http://www.grad.psu.ac.th/ThesisBook/minor_thesis.pdf) ทั้งนี้ได้มีการกำหนดรายละเอียดในบางหัวข้อเพิ่มเติมเพื่อให้สามารถใช้ได้สะดวกและชัดเจนยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในส่วนของเนื้อหาและ

เอกสารอ้างอิง (ตามแนวทางการเขียนวิทยานิพนธ์ คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์) โดยมีรายละเอียด ดังนี้

2.3.1 เนื้อเรื่อง (Text)

เนื้อเรื่องของสารนิพนธ์อาจแบ่งออกเป็นกี่บทก็ได้ และรายละเอียดในแต่ละบทพิจารณา

ตามความเหมาะสมของลักษณะเนื้อหาและแบบแผนของวิธีการวิจัย ประกอบด้วยส่วนสำคัญต่าง ๆ

ดังนี้

1. บทนำ ประกอบด้วย

· บทนำต้นเรื่อง (Introduction) กล่าวถึงภูมิหลัง (Background and Rationale) ความเป็นมาเพื่อนำไปสู่ปัญหาในการวิจัย มีความสำคัญอย่างไร

· ตรวจเอกสาร (Review of Literatures) คือการสรุปความเป็นมา ความสำคัญ ข้อมูล วิธีการวิจัย ผลการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับ วิทยานิพนธ์เรื่องนั้น

· วัตถุประสงค์ (Objective) ระบุวัตถุประสงค์ของการวิจัยอย่างชัดเจน อาจแยกเป็นข้อ ๆ เรียงตามลำดับความสำคัญ

2. แนวคิดและการพัฒนา (Concept and Development) (ถ้ามี)

3. วัสดุอุปกรณ์และวิธีการ (Materials and Methods)

หมายถึงวัสดุและอุปกรณ์ เครื่องมือในห้องปฏิบัติการต่างๆ อาจมีรูปแสดง

อุปกรณ์หรือเครื่องมือต่างๆ และอธิบายวิธีการวิจัย การทดลองอย่างชัดเจนเป็นขั้นตอนตามลำดับ

ระบุวิธีการวิเคราะห์ข้อมูล สถิติ/โปรแกรมทางสถิติที่ใช้

4. ผลและการวิจารณ์ผลการทดลอง (Results and discussion)

เสนอผลการวิจัยโดยละเอียด การเสนออาจเป็นแบบบรรยายและ/หรือใช้ตาราง

และ/หรือภาพประกอบ ส่วนการวิจารณ์ผลการทดลอง เป็นการอธิบายหรือตีความหมายผลการวิจัยให้เข้าใจชัดเจนยิ่งขึ้นโดยให้เหตุผลแก่ผลการทดลอง นำแนวคิด ทฤษฎีและผลการวิจัยมา

สนับสนุน วิเคราะห์เปรียบเทียบกับผลการทดลองอื่นในเรื่องเดียวกัน เพื่อดูความแตกต่างและความ

เหมือนเพื่อหาข้อมูลมาสนับสนุนเป็นการเพิ่มคุณค่าในการนำไปใช้ประโยชน์

5. บทสรุป (Conclusion)

เป็นการสรุปผลงานสำคัญที่ค้นพบจากการวิจัยหรือการศึกษาครั้งนี้ พร้อมให้ข้อ

เสนอแนะเกี่ยวกับประโยชน์ในการประยุกต์ผลการวิจัย รวมทั้งเสนอแนะเกี่ยวกับการวิจัยครั้งต่อไป

หมายเหตุ : เมื่อสิ้นสุดในส่วนของเนื้อเรื่องให้ต่อด้วยเอกสารอ้างอิง, ภาคผนวกและประวัติผู้เขียน

2.3.2 เอกสารอ้างอิง

2.3.2.1 หลักเกณฑ์การอ้างอิง

หลักเกณฑ์การอ้างอิงใช้ระบบนาม-ปี (Name-Year System) โดยมีหลักเกณฑ์ดังนี้

(1) นามของผู้เขียนที่เป็นภาษาไทย ให้เขียนทั้งชื่อและนามสกุล ส่วนนามของ

ชื่อผู้เขียนที่เป็นภาษาต่างประเทศ ให้เขียนเฉพาะนามสกุล (Last Name)

(2) ปี หมายถึง พ.ศ. หรือ ค.ศ. ที่เอกสารได้รับการตีพิมพ์มีข้อกำหนด ดังนี้

- เขียนสารนิพนธ์เป็นภาษาไทย เอกสารที่ใช้อ้างอิงเป็นภาษาไทย ให้ใช้ พ.ศ.

- เขียนสารนิพนธ์เป็นภาษาไทย เอกสารที่ใช้อ้างอิงเป็นภาษาอังกฤษให้ใช้ ค.ศ.

- เขียนสารนิพนธ์เป็นภาษาอังกฤษ เอกสารที่ใช้อ้างอิงเป็นภาษาไทยเขียนเป็น

ภาษาอังกฤษ ให้ใช้ ค.ศ.

(3) เรื่องที่มีผู้เขียนคนเดียว และในกรณีที่วงเล็บเฉพาะปีให้เขียนดังนี้

- วีระศักดิ์ จงสู่วิวัฒน์วงศ์ (2526) พบว่า.............................................................

.......................................................................................................

กรณีที่ “ชื่อผู้เขียน-ปี” อยู่ในวงเล็บ ให้เขียน ดังนี้

....................................................................................................... (Clark, 1954)

(4) เรื่องที่มีผู้เขียน 2 คน ให้เชื่อมด้วย “และ” ในกรณีที่วงเล็บ เฉพาะปีให้เขียนดังนี้

- แพรพรรณ สองวงศ์ และพิศมัย เรืองจักร (2527) พบว่า ................................

.........................................................................................................................

- Bose และ Rawat (1987) แสดงให้เห็นว่า.........................................................

.........................................................................................................................

กรณีที่ “ชื่อผู้เขียน-ปี” อยู่ในวงเล็บและเขียนเป็นภาษาต่างประเทศให้เชื่อม

ด้วย “and” ให้เขียนดังนี้

- ……………….........................…………………….. (Bose and Rawat, 1984)

(5) เรื่องที่มีผู้เขียนตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป ภาษาไทยให้เขียนชื่อ – สกุล หรือชื่อเฉพาะ

คนแรกแล้วตามด้วย “และคณะ” สำหรับภาษาต่างประเทศให้เขียนนามสกุลเฉพาะคนแรกแล้วตาม

ด้วย et al. โดยคำว่า et al. จะพิมพ์ตัวเอน และต้องใช้ระบบเดียวกันตลอดทั้งเล่ม

- ชาญชัย มณีดุลย์ และคณะ (2529) พบว่า..........................................................

.................................................................. (ชาญชัย มณีดุลย์ และคณะ, 2529)

- Smith และคณะ (1984) พบว่า..........................................................................

.........................................................................................(Smith et al., 1984)

(6) ผู้เขียนหลายกลุ่มอ้างอิงในเนื้อหาด้วยกัน ให้คั่นแต่ละกลุ่มด้วยเครื่องหมาย

อัฒภาค (;) โดยเรียงลำดับตามปี ค.ศ. หรือ พ.ศ. เช่น

- .............................................. (Smith et al., 1984; Paterson and Clarke, 1975)

(7) การอ้างอิงที่ไม่ได้อ้างจากต้นฉบับแต่เป็นการอ้างอิงต่อให้ใช้คำว่า “อ้างโดย” เช่น

- Smith (1984 อ้างโดย Harrington, 1989) กล่าวว่า............................................

(8) ภาพประกอบให้ใช้คำว่า “ภาพที่”

(9) ตารางประกอบให้ใช้คำว่า “ตารางที่”

2.3.2.2 การเขียนและการอ้างที่มาของตารางและภาพที่หรือรูปที่

สารนิพนธ์ที่จัดทำเป็นภาษาไทยจะต้องเขียนชื่อตารางและภาพ ทั้งภาษาไทยและ

ภาษาอังกฤษและข้อความในตารางและภาพเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด ส่วนที่มาให้ใช้หลักการเดียวกับ

การเขียนอ้างแบบตามท้ายข้อความในเนื้อเรื่องแล้วตามด้วยวงเล็บปีที่พิมพ์ เช่น

ตารางที่ 1 _________________________________

Table 1. _________________________________ .

ข้อความเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด

ที่มา : Bose และคณะ (1984)

ข้อความเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด

ภาพที่ 1 ________________________________

Figure 1. ________________________________ .

ที่มา : Johnson และ Smith (1980)

2.3.2.3 การเขียนเอกสารอ้างอิง

(1) เอกสารอ้างอิง เป็นรายชื่อสิ่งพิมพ์ หรือโสตทัศนวัสดุที่ผู้วิจัยใช้อ้างอิง

ในการทำวิจัยซึ่งได้ปรากฏในรายการอ้างอิงที่แทรกในส่วนเนื้อหาของงานวิจัยนั้น ๆ รายการเอกสาร

อ้างอิงจะเป็นแหล่งข้อมูลที่ผู้อ่านสามารถตรวจสอบ หรือศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมได้ ดังนั้นรายการ

เอกสารอ้างอิงจึงควรมีรายละเอียดมากที่สุดเท่าที่จะทำได้

(2) ให้พิมพ์คำว่า “เอกสารอ้างอิง” ไว้กลางหน้ากระดาษ

(3) ให้จัดลำดับการเขียนเอกสารอ้างอิง โดยเรียงตามลำดับอักษรของผู้แต่ง

โดยให้ภาษาไทยขึ้นก่อน

(4) ให้เขียนชื่อทุกคนที่ร่วมกันเขียนเอกสารโดยภาษาไทยให้เขียนชื่อ- สกุล

ทุกคนเรียงกันไป คั่นด้วยเครื่องหมายจุลภาค (,) คนสุดท้ายให้เชื่อมด้วย “และ” เช่น

- วัลลภ สันติประชา, ขวัญจิตร สันติประชา และชูศักดิ์ ณรงค์เดช

ภาษาต่างประเทศ คนแรกให้ขึ้นด้วยนามสกุล, ตามด้วยอักษรย่อของ

ชื่อหน้าชื่อกลาง (ถ้ามี) คนถัดไปจะเขียนระบบเดียวกับคนแรก และต้องเหมือนกันทุกรายการ เช่น

- Atkin, E. L., Kullm, D. and Aikins, K. W.

เอกสารที่มีผู้เขียนชุดเดียวกัน ให้เรียงลำดับตามจากปีเก่า-ปีใหม่แต่

หากเป็นปีเดียวกันให้ใส่ ก ข ค กำกับไว้ที่ปี พ.ศ. เมื่อเป็นเอกสารอ้างอิงภาษาไทย หรือ a b c

กำกับไว้ที่ ปี ค.ศ. เมื่อเป็นเอกสารอ้างอิงภาษาอังกฤษ เช่น

- จวงจันทร์ ดวงพัตรา. 2530ก.

- จวงจันทร์ ดวงพัตรา. 2530ข.

- Boyd, A. H. and Andres, C. H. 1984a.

- Boyd, A. H. and Andres, C. H. 1984b.

(5) ชื่อเรื่องและชื่อบทความวารสารภาษาต่างประเทศให้ขึ้นต้นด้วยอักษร

ตัวใหญ่เฉพาะคำแรก ยกเว้นชื่อเฉพาะ ส่วนชื่อวารสารให้เขียนย่อตามที่วารสารนั้น ๆ กำหนด เช่น

ว. สงขลานครินทร์, ว.เกษตรศาสตร์ (วิทย์), Agron. Soil Sci. Aoc. Amer. J. ส่วนชื่อหนังสือและชื่อ

เรื่องในหนังสือให้ขึ้นต้นด้วยอักษรตัวใหญ่ทุกคำ ยกเว้นคำบุพบทและคำสันธาน

2.3.2.4 ลำดับการเขียนและเครื่องหมายวรรคตอน ให้ใช้ดังนี้

(1) วารสาร/จุลสาร (Journal/Bulletin)

ผู้เขียน. ปี. ชื่อเรื่อง. ชื่อวารสาร เล่มที่ : หน้า. เช่น

- วัลลภ สันติประชา และชูศักดิ์ ณรงค์เดช. 2535. คุณภาพเมล็ดพันธุ์ถั่ว

เขียวที่ผลิตในภาคใต้. ว.เกษตรศาสตร์ (วิทย์.)26 : 119-125.

- Brooks, J. R. and Griffin, V. K. 1987. Liquefaction of rice starch from

Milled rice flour using heat-stable alpha-amylase, J.

Food Sci. 52 : 712-717.

เอกสารอ้างอิงที่ไม่ได้อ้างจากต้นฉบับแต่เมื่อเป็นการอ้างต่อให้เขียนเฉพาะเล่มที่อ่านจริง เช่น Smith (1984 อ้างโดย Harrington, 1989) ให้เขียนเอกสารอ้างอิงเฉพาะชื่อ Harrington

(2) หนังสือ/ตำรา

(2.1) การอ้างเฉพาะบทให้เขียน ดังนี้

ผู้เขียน. ปี. ชื่อเรื่อง. ใน หรือ In ชื่อหนังสือ. Vol. (ถ้ามี) หรือพิมพ์ครั้งที่ (ถ้ามี) หรือ 1st หรือ 2 nd Ed. (ถ้ามี) (ชื่อบรรณาธิการ, บรรณาธิการ หรือ ชือ Editor, ed. หรือ eds.)

หน้า. (p.) สำนักพิมพ์. สถานที่พิมพ์ เช่น

- วิศิษฐ์ วังวิญญู. 2526. ความต่างและความคล้ายระหว่างหมู่บ้านเล็ก และ

ซัมเมอร์ฮิล. ใน ชีวิตจริงที่หมู่บ้านเล็ก. เล่มที่ 1. พิมพ์ครั้งที่

2 (พิภพ ธงไชย, บรรณาธิการ). หน้า 51-59. มูลนิธิเด็ก.

กรุงเทพฯ

- Harrington, J. F. 1972. Seed Storage and Longevity. In Seed Biology.

Vol. II. 3nd ed. (Kozlowski, T. T., ed). P. 145-295. Academic

Press. New York.

(2.2) การอ้างอิงทั้งเล่มให้เขียนดังนี้

ผู้เขียน. ปี. ชื่อเรื่อง. ครั้งที่พิมพ์. (ถ้ามี) สำนักพิมพ์. สถานที่พิมพ์. เช่น

- สุรพล อุปดิสสกุล. 2521. สถิติ : การวางแผนการทดลองเบื้องต้น

ภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

กรุงเทพฯ.

- Bewley, J. D. and Black, M. 1982. Physiology and Biochemistry of

seeds in Relation to Germination. Vol. 11. 2nd Ed. Springer-

Verlag. New York.

(3) รายงานการวิจัย/รายงานสัมมนา/ประชุมวิชาการ (Proceeding)

ผู้เขียน. ปี. ชื่อเรื่อง. ชื่อรายงานการวิจัย หรือรายงานสัมมนา หรือการ

ประชุมทางวิชาการ. เล่มที่. (ถ้ามี) ชื่อบรรณาธิการ. (ถ้ามี) สถานที่. วันสัมมนา. หน้าของเรื่อง. เช่น

- วรวิชญ์ รุ่งรัตน์ ปรีชา วดีศิริศักดิ์, นันทกร บุญเกิด, วิทยา ธนานุสนธิ์ และ เย็นใจ วสุวัต. 2527. ศึกษาปริมาณเชื้อไรโซเปียมที่เหมาะสมใน

การคลุกเมล็ดพันธุ์ถั่วลิสงพันธุ์ทนาน 9. รายงานการสัมมนาเชิง

ปฏิบัติการงานวิจัยถั่วลิสง ครั้งที่ 3. ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

วิทยาเขตกำแพงแสน. 12-21 เมษายน 2537. หน้า 172-179.

- Hill, M. J., Archer, K. A. and Hutchinson, K. J. 1989. Towards

developing and model of persistence and production for white

clover. In Proceedings of the XII International Grassland

Congress Nice, P. Singhand and F.A.R. Oliveria (Ed.) France.

4-11 October 1989. P. 1043-1049.

(4) วิทยานิพนธ์

ผู้เขียน. ปี. ชื่อวิทยานิพนธ์. ชื่อปริญญา. ชื่อมหาวิทยาลัย. เช่น

- สมศักดิ์ รักษ์วงศ์. 2528. การศึกษาการใช้ยาชนิดต่าง ๆ ในการป้องกัน

โรคราสนิมของถั่วเหลือง. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต.

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

- Phillips, O. C., Jr. 1962. The Influence of Ovid on Lucan’s Bellum

Civil. Ph.D. Dissertation. University of Chicago.

(5) การอ้างอิงจากเอกสารอิเล็กทรอนิกส์

อนุญาตให้อ้างอิงข้อมูลจาก Website ของสถาบันการศึกษา หน่วยงาน

ราชการ บริษัทหรือหน่วยงานเอกชนที่มีชื่อเสียงเท่านั้น ไม่อนุญาตให้ใช้ข้อมูลจาก Website ส่วน

บุคคลที่สร้างขึ้น หรือข้อมูลจากการเสนอความคิดเห็น web board

(5.1) มีชื่อผู้จัดทำหรือผู้ผลิต

การอ้างอิงในบทความ

ตัวอย่าง

เน้นผู้แต่ง

ข้อมูลจากกรมควบคุมมลพิษ (2542) ระบุว่า สารเคมีอันตราย

วัตถุ อันตราย สารอันตราย หมายถึง ธาตุ หรือสารประกอบที่มีคุณสมบัติเป็นพิษหรือเป็น

อันตรายต่อมนุษย์ สัตว์ พืช และทำให้ทรัพย์สินและสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรม

เน้นเนื้อหา

สารเคมีอันตราย วัตถุอันตราย สารอันตราย หมายถึง ธาตุ หรือ

สารประกอบที่มีคุณสมบัติพิษ หรือเป็นอันตรายต่อมนุษย์ สัตว์ พืช และทำให้ทรัพย์สินและ

สิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรม (กรมควบคุมมลพิษ, 2542)

การเขียนเอกสารอ้างอิง

ตัวอย่าง

กรมควบคุมมลพิษ. 2542. สารเคมีอันตราย (ออนไลน์). สืบค้นจาก :

http://www.Thaiclinic.com/medbible/bonetumor.html

(21 พฤศจิกายน 2543)

มนตรี สิริไพบูลย์กิจ. 2000. เนื้องอกกระดูก (ออนไลน์). สืบค้นจาก :

http://www.Thaiclinic.com/medbible/bonetumor.html

(21 พฤศจิกายน 2543)

Department of the Environment and Heritage. 1999. Guide to

Department and Agency Libraries (Online). Available

http://www.erin.gov.au/library/guide.html (17 November 2000)

หมายเหตุ : ผู้จัดทำอาจเป็นชื่อคน ชื่อสถาบัน หน่วยงานรัฐ/เอกชน

(5.2) ไม่ระบุชื่อผู้เขียนบทความ

การอ้างอิงในบทความ

ตัวอย่าง

เน้นเนื้อหา

นมแม่เป็นอาหารที่สมบูรณ์ที่สุดของทารก นมแม่ให้สารอาหาร

ครบถ้วนตามความต้องการของทารกแรกเกิดจนอายุ 6 เดือน สิ่งที่จะช่วยป้องกันทารกแรกเกิดจาก

เชื้อโรคและโรคติดเชื้อที่มีอยู่ทั่วไป มีอยู่ในหัวน้ำนมที่แม่ผลิตออกมาเมื่อคลอดลูกได้ 2-3 วันแรก หัว

น้ำนมนี้คือภูมิคุ้มกันแรกของทารกจากแบคทีเรียและเชื้อไวรัส (อาหารและสุขภาพ, 2000)

การเขียนเอกสารอ้างอิง

ตัวอย่าง

อาหารและสุขภาพ (ออนไลน์). 2000. สืบค้นจาก :

http://www.Khonthai.com/Vitithai/foof.thml (21 พฤศจิกายน 2543)

ท่าเรือน้ำลึกสงขลา (ออนไลน์). 2000. สืบค้นจาก :

http://www.Motc.go.th/state5.html (21 พฤศจิกายน 2543)

เอกสารแนบ 1

Manuscript ฉบับภาษาไทย

Manuscript ฉบับภาษาอังกฤษ

เอกสารแนบ 2

รูปแบบปกสื่ออิเล็คทรอนิกส์ (CD)

(download ได้ที่ http://www.mim.psu.ac.th)

เอกสารแนบ 3

รูปแบบข้อเสนอโครงร่าง

(download ได้ที่ http://www.mim.psu.ac.th)

ข้อเสนอโครงร่างสารนิพนธ์

ชื่อสารนิพนธ์ (ภาษาไทย)

ชื่อสารนิพนธ์ (ภาษาอังกฤษ)

ชื่อนักศึกษา (ชื่อ-สกุล ภาษาไทย)

ชื่อนักศึกษา (ชื่อ-สกุล ภาษาอังกฤษ)

รหัสนักศึกษา

ข้อเสนอโครงร่างฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา 228-592 สารนิพนธ์

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรม

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

เดือน.... ปี พ.ศ....

ส่วนประกอบในแบบเสนอโครงร่างสารนิพนธ์ แบบเสนอโครงร่างมีรายละเอียดของการเขียนดังนี้

1. ชื่อโครงการ1.1 ภาษาไทย: ………………………………………………………………..

1.2 ภาษาอังกฤษ: ……………………………………..……………….

2. สาขาที่ทำการวิจัยวิศวกรรมอุตสาหการ สาขาการจัดการอุตสาหกรรม

3. ผู้ดำเนินการวิจัย ชื่อ …………………..................…… รหัส ……………………

4. ที่ปรึกษาโครงงาน 1. ........................................................................ .......... .......... ..........

2. ........................................................................ .......... .......... ..........

3. ........................................................................ .......... .......... ..........

5. คำสำคัญ (keyword) ของโครงงาน

6. ความสำคัญและที่มาของปัญหา

แสดงแนวความคิดพื้นฐานที่มาของปัญหาที่มีความสำคัญหรือมีความจำเป็นที่จะต้องทำ

การวิจัยเรื่องนี้

7. โครงการวิจัยที่เกี่ยวข้อง

กล่าวถึงความเกี่ยวเนื่องและความสัมพันธ์ของโครงการนี้กับโครงการวิจัยเรื่องอื่น ๆ ทั้งใน

ประเทศและต่างประเทศว่า เคยมีใครทำการวิจัยมาแล้ว ทำที่ไหน เมื่อไร ก้าวหน้าไปแค่ไหน ฯลฯ

8. วัตถุประสงค์

แสดงวัตถุประสงค์ หรือเป้าหมายของโครงการวิจัยนี้อย่างชัดเจน และเรียงตามลำดับความ

สำคัญเป็นข้อ ๆ

9. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

บอกถึงแนวทางในการนำผลของโครงงานซึ่งอาจจะเป็นข้อมูลหรือเครื่องมือที่ได้ ไปใช้งาน

งานในระดับต่างๆ ได้แก่ อุตสาหกรรม การเรียนการสอน หรือให้ความรู้แก่รัฐวิสาหกิจชุมชน เป็นต้น

10. ทฤษฎีและหลักการหรือกรอบแนวคิด

อธิบายทฤษฏีที่ใช้ในโครงงานอาจจะเอามาจากหนังสือหรือค้นคว้าจาก internet ต้องมีการ

อ้างอิง

11. ขอบเขตการวิจัย

ระบุขอบเขตของการวิจัยในเชิงปริมาณและ/หรือคุณภาพ ซึ่งเชื่อมโยงกับปัญหาที่จะทำการ

วิจัย ที่ไม่สามารถกำหนดโดยตรงในชื่อเรื่อง และวัตถุประสงค์ของการวิจัยได้

12. สถานที่ทำการวิจัย

ระบุสถานที่ที่จะใช้เป็นที่ทำการทดลอง และ/หรือเก็บข้อมูลให้ชัดเจน

13. ระยะเวลาการดำเนินงาน

ระบุระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัย ตั้งแต่เริ่มต้นจนกระทั่งสิ้นสุดโครงการ โดยระบุเดือน ปี ที่

เริ่มต้นและสิ้นสุดโครงการ

14.ขั้นตอนและวิธีดำเนินการวิจัย

บอกถึงรายละเอียดของกระบวนการและวิธีการที่ใช้ในการทำโครงงานนี้ รวมถึงอุปกรณ์

และเครื่องมือที่ใช้ สภาวะที่ทำการทดลอง การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล

15. แผนการดำเนินงานตลอดโครงการ

แสดงถึงแผนการดำเนินงานตลอดโครงการ ด้วยแผนภูมิแสดงระยะเวลาในการดำเนินงาน

(Gantt Chart) ตามตัวอย่างต่อไปนี้

กิจกรรม/ ขั้นตอนการดำเนินการ

เดือน

10

20

30

40

50

6

70

1. กิจกรรม ...........

2. กิจกรรม ...........

3. กิจกรรม ...........

4. ........

16. งบประมาณ

แสดงรายละเอียดงบประมาณการวิจัย

17. เอกสารอ้างอิง

แสดงถึงเอกสารที่ได้อ้างอิงถึงในเนื้อหารายงาน โดยระบุชื่อเอกสารที่ใช้อ้างอิงในการเขียน

ข้อเสนอโครงการวิจัยทุกรายการตามรูปแบบมาตรฐาน

เอกสารแนบ 4

รูปแบบรายงานความก้าวหน้า

(download ได้ที่ http://www.mim.psu.ac.th)

รายงานความก้าวหน้าสารนิพนธ์

ประจำภาคการศึกษาที่ ....../25..... (กลางภาค/ปลายภาค)

ชื่อสารนิพนธ์ (ภาษาไทย)

ชื่อสารนิพนธ์ (ภาษาอังกฤษ)

ชื่อนักศึกษา (ภาษาไทย)

ชื่อนักศึกษา (ภาษาอังกฤษ)

รหัสนักศึกษา

คณะกรรมการที่ปรึกษาสารนิพนธ์

(1) ........................................... (อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก)

(2) ........................................... (อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม) (ถ้ามี)

(3) ........................................... (อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม) (ถ้ามี)

รายงานความก้าวหน้าฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา 228-592 สารนิพนธ์

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรม

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

เดือน.... ปี พ.ศ....

ความเห็นคณะกรรมการที่ปรึกษาสารนิพนธ์

............................................................................................................................................................................................................................................................................................................

....................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

..........................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

.............................................................................................................................................................

.......................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

..........................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

..........................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

..........................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

..........................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

.............................................................................................................................................................

.............................................................................................................................................................

……………………………….

(อาจารย์ที่ปรึกษา)

(สำหรับอาจารย์ที่ปรึกษาบันทึกช่วยจำและเก็บไว้ใช้ประกอบการประเมินผลเมื่อสิ้นสุดภาคการศึกษา)

รูปแบบการเขียนรายงานความก้าวหน้าวิทยานิพนธ์/สารนิพนธ์

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

1. รูปแบบของส่วนนำของรายงาน ให้ยึดตามคู่มือการเขียนและพิมพ์วิทยานิพนธ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ซึ่งประกอบด้วย

-ปกนอก

- ปกใน

- สารบัญ

· รายการตาราง - รายการภาพประกอบ- สัญลักษณ์คำย่อและตัวย่อ

2. เนื้อหา ประกอบด้วย 5 บท มีรายละเอียดดังนี้

บทที่ 1 บทนำ (Introduction)

ในบทนำจะกล่าวถึงส่วนต่างๆ ดังนี้

1.1 ที่มาของปัญหา

- บอกถึงสาเหตุที่มาของการทำงานวิจัยนี้

- เรื่องหลักที่ต้องการทำในงานวิจัยคืออะไร

1.2 วัตถุประสงค์

บอกถึงวัตถุประสงค์หลักของงานวิจัย

บทที่ 2 ความก้าวหน้าของงาน (Progress of Work)

บอกถึงงานที่ทำในเทอมนี้และที่ผ่านมาโดยเปรียบเทียบกับข้อตกลง TOR ในหัวข้อต่างๆ ดังนี้

2.1 วิธีการวิจัย

โดยบอกถึงขั้นตอน สภาวะที่ทำการทดลอง อุปกรณ์ และเครื่องมือที่ใช้ในการทำวิจัย

2.2 ผลการทดลอง

แสดงผลการทดลองและอธิบายผลการทดลอง

2.3 ปัญหาที่เกิดขึ้น

บอกถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในการวิจัยที่ผ่านมา และแนวทางการแก้ไขปัญหา

บทที่ 3 แผนการทำวิจัย (Working Schedule)

แสดงถึงตารางการทำงานที่กำลังทำในปัจจุบันและแผนการที่คาดว่าจะทำในอนาคต

บทที่ 4 ผลการทดลองที่คาดว่าจะได้รับ (Expected Results)

ให้รายละเอียดของผลที่จะได้จากการดำเนินการตามวิธีการวิจัยจนถึงปัจจุบัน และบอกถึงผลการวิจัยที่คาดว่าจะได้ในอนาคต

บทที่ 5 บทสรุป (Conclusion)

- สรุปผลของการวิจัยที่ผ่านมา

- กล่าวถึงจุดอ่อนของงานและอธิบายถึงวิธีที่น่าจะใช้ในการแก้ปัญหาจุดอ่อนดังกล่าว

3.การอ้างอิงในวิทยานิพนธ์/สารนิพนธ์และภาคผนวก (ถ้ามี) ให้ยึดตามคู่มือการเขียนและพิมพ์วิทยานิพนธ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

เอกสารแนบ 5

รูปแบบสารนิพนธ์ฉบับสมบูรณ์

(download ได้ที่ http://www.grad.psu.ac.th/th/ThesisBook/minor_thesis.pdf)

ชื่อสารนิพนธ์ (ภาษาไทย)

ชื่อสารนิพนธ์ (ภาษาอังกฤษ)

ชื่อนักศึกษา (ชื่อ-สกุล ภาษาไทย)

ชื่อนักศึกษา (ชื่อ-สกุล ภาษาอังกฤษ)

สารนิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต

สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรม

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร

A Minor Thesis Submitted in Partial Fulfillment of the Requirements

for the Degree of Master of Engineering in Industrial Management

Prince of Songkla University

ปี พ.ศ. ที่ส่ง

เอกสารแนบ 6

แบบฟอร์มการขออนุมัติ (MF)

(download ได้ที่ http://www.mim.psu.ac.th)

MF 1

Issue date 10/06/51

แบบขออนุมัติแต่งตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษาสารนิพนธ์

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการอุตสาหกรรม

1.ชื่อนักศึกษ�