weekly brief 19 - 31 may 11 issue 17

19
Vol. 2 Issue 18 19-31 May 2011 Thai Food Processors’ Association Useful Weblink-Technical information By TFPA ญี่ปุ ่นไฟเขียวสารปรุงแต่งอาหาร 25ชนิด เอเปคเห็นพ้องเปิดเสรีตลาดอาหาร th WEEKLY BRIEF TFPA Trade & Technical Vol. 2 issue 17 สธ.ปลดล็อก 5 จว. น�าเข้าอาหารญี่ปุ ่น ดีเดย์ 15 มิ.ย. 54 เปิดจด ทะเบียนแรงงานต่างด้าว www.thaifood.org

Upload: thai-food-processors-association

Post on 30-Mar-2016

217 views

Category:

Documents


3 download

DESCRIPTION

Weekly Brief 19 - 31 May 11 Issue 17

TRANSCRIPT

Page 1: Weekly Brief 19 - 31 May 11 Issue 17

Vol. 2 Issue 1824-30 May 2011

1

19-31 May 2011

Thai Food Processors’ Association

Useful Weblink-Technical information By TFPA

ญี่ปุ่นไฟเขียวสารปรุงแต่งอาหาร 25ชนิด

เอเปคเห็นพ้องเปิดเสรีตลาดอาหาร

th

WEEKLY BRIEF TFPA Trade & Technical Vol. 2

issue 17

สธ.ปลดล็อก 5 จว. น�าเข้าอาหารญี่ปุ่น

ดีเดย์ 15 มิ.ย. 54 เปิดจดทะเบียนแรงงานต่างด้าว

www.thaifood.org

Page 2: Weekly Brief 19 - 31 May 11 Issue 17

WEEKLY BRIEFTFPA Trade & Technical

24-30 May 2011

2

สารบัญข่าวประชาสัมพันธ ์

ข ้อมูลทางด้านเทคนิคUseful Weblink-Technical information เอกสารแนบ 1เตือนผู้ประกอบการไทย ระวังสาร Oxytetracycline ในกุ้งส่งออกไปญี่ปุ่นสธ.ปลดล็อก 5 จังหวัดน�าเข้าอาหารญี่ปุ่นอย. เผย ความคืบหน้ามาตรการอาหารน�าเข้าจากญี่ปุ่นรัฐบาลเวียดนามเข้มงวด ยุติการใช้สารปรุงแต่งอาหารผิดกฏหมายญี่ปุ่นไฟเขียวสารปรุงแต่งอาหาร 25 ชนิด ที่เหลือไม่อนุญาตให้ใช้ 55 ชนิดสิงคโปร์ปลดแบนสินค้าน�าเข้าจากบางจังหวัดในญี่ปุ่นสธ.เตือนระวังอาหารสีแดงสดพาณิชย์เข้มงวดน�าเข้า-ส่งออกยา เภสัชเคมีภัณฑ์ฯและสารเคมี 16 รายการ

สถานการณ์ด้านประมงฟิจิเฮ อียูไฟเขียวน�าเข้าปลาแคลิฟอเนียร์รับรองกฎหมาย ห้ามการจ�าหน่ายและครอบครองหูฉลาม

สถานการณ์ด้านเกษตรความคืบหน้าญี่ปุ่นแก้ไขค่า MRLs สารเคมีทางการเกษตรและสารปรุงแต่งอาหารธ.ก.ส.พร้อมจ่ายเงินชดเชยปุ๋ย ตันละ1.5พันบาทอนุมัติกองทุนสงเคราะห์ เกษตรกร 500 ล้านบาทผลิตเอทานอลจากมันเทศ

สถานการณ์ด้านเกษตรไทยเร่งเปิด FTA เปรูและชิลี ประตูการค้าสู่ตลาดลาตินอเมริกากรมส่งออกฯชี้หนี้อียูไม่มีผลกระทบการค้าไทยไปยุโรป เตือนผู้ส่งออกเลือกลูกค้าเอเปคเห็นพ้องเปิดเสรีตลาดอาหาร31 พ.ค.หมดเวลาส่งงบการเงิน ต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้าดีเดย์ 15 มิถุนายน 2554 เปิดจดทะเบียนแรงงานต่างด้าว

ลดภาษี AFTA ไทยผงาด TOP 5 ส่งออก-น�าเข้า

3

44556678

99

10111112

141515161717

Page 3: Weekly Brief 19 - 31 May 11 Issue 17

Vol. 2 Issue 1824-30 May 2011

3

งานสัมมนา “สัมมนา-นวัตกรรมและ

การประยุกต์ใช้งานบรรจุภัณฑ์อาหาร เพื่อ

สนับสนุนอุตสาหกรรมอาหารไทย” ในวันที่

22 มิถุนายน 54 ณ โรงแรมเซ็นจูรี่ ปาร์ค,

กทม. งานนี้จัดขึ้นเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยี

และให้ข้อมูลความรู ้ ความเข้าใจเกี่ยวกับ

เทคโนโลยีบรรจุภัณฑ์ หลักการออกแบบและ

การประยุกต์ใช้บรรจุภัณฑ์ในอนาคต ให้แก่

ผู ้ประกอบการอุตสาหกรรมอาหาร/อาหาร

ส�าเร็จรูป โดยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญทางด้านการ

บรรจุภัณฑ์ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ

โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

สถาบันฝึกอบรมการค้าระหว่างประเทศ จัดสัมมนาเรื่อง “Value Cre-ation & The Creative Economy - A

Thai Perspective : เศรษฐกิจสร้างสรรค์กับ

มุมมองธุรกิจส่งออกไทย” ในวันที่ 7 มิถุนายน

2554 ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 1 กรม

ส่งเสริมการส่งออก ถ.รัชดาภิเษก ผู้ที่สนใจ

สามารถดาวน์โหลดใบสมัครได้ที่ www.dep-

thai.go.th หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม

ได้ที่ 02-5120093 ต่อ 604 หรือ ทาง E-

mail:[email protected]

ข่าวประชาสัมพันธ ์

Page 4: Weekly Brief 19 - 31 May 11 Issue 17

WEEKLY BRIEFTFPA Trade & Technical

24-30 May 2011

4

เตือนผู้ประกอบการไทย ระวังสาร Oxytetracycline ในกุ้งส่งออกไปญี่ปุ่น

กระทรวงสาธารณสุขฯ ญี่ปุ่น แจ้งเตือน

มายังส�านักงานที่ปรึกษา การเกษตรต่าง

ประเทศ ประจ�ากรุงโตเกียวว่าตรวจพบสาร

Oxytetracycline ในกุ้งแช่แข็งของไทย (Fro-

zen peeled shrimp) จากบริษัทส่งออกแห่ง

หนึ่ง เกินค่ามาตรฐาน (MRL 0.2 ppm) ซึ่ง

น�าเข้าในวันที่ 11 พฤษภาคม 2554 ท�าให้

ญี่ปุ ่นแจ้งว่าจะปรับระดับคุมเข้มในการสุ ่ม

ตรวจสารดังกล่าวในกุ้งน�าเข้าจากไทย และ

หากตรวจพบสารนี้ เกินมาตรฐานอีก จะ

ท�าการกักกันกุ้งน�าเข้าจากไทยทุกรุ่น

ที่มา : มกอช. วันที่ 26 พ.ค. 54

สธ. ปลดล็อก 5 จังหวัด น�าเข้าอาหารญี่ปุ่น

กระทรวงสาธารณสุขเตรียมปรับลดจ�านวนจังหวัดที่ต้องมีการควบคุมอาหารน�าเข้าจากญี่ปุ ่นตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานอาหารที่ปนเปื้อนสารกัมมันตรังสี หรืออาหารน�าเข้าจากญี่ปุ่น หลังเกิดสึนามิในพื้นที่เสี่ยงจากเดิม 12 จังหวัด เหลือเพียง 7 จังหวัดที่ยังคงต้องเฝ้าระวัง คือ จังหวัดฟุกูชิมะ กุนมะ อิบารากิ โตชิกิ มิยางิ โตเกียว และ ชิบะ และให้เพิ่มจังหวัด คานากาวะ รวมเป็น 8 จังหวัด ซึ่งจะเร่งออกประกาศกระทรวงสาธารณสุขที่เก่ียวข้องให้แล้วเสร็จใน 1 เดือน

ส่วนอาหารที่ต้องคุมเข้มเป็นพิเศษ คือ อาหารทะเล พืชผัก และผลไม้ โดยอาหารน�าเข้าเหล่าน้ี ต้องมีใบแสดงแหล่งก�าเนิด ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ และเมื่อมีการน�าเข้าส�านักงานคณะกรรมการอาหารและยา จะท�าการตรวจซ�้าก่อนให้น�าออกจ�าหน่ายหรือรับประทานในประเทศ ขณะที่ผลการตรวจอาหารน�าเข้าจากญี่ปุ่นในช่วงที่ผ่านมา 323 รายการ ไม่พบการปนเปื้อน 322 รายการ

ท่ีมา : กรุงเทพธุรกิจ วันท่ี 26 พ.ค. 54

ข้อมูลทางด้านเทคนิค

Page 5: Weekly Brief 19 - 31 May 11 Issue 17

Vol. 2 Issue 1824-30 May 2011

5

อย. เผย ความคืบหน้ามาตรการอาหารน�าเข้าจากญี่ปุ่น

อย. ติดตามสถานการณ์การรั่วไหลของสาร

กัมมันตรังสีในญี่ปุ่นอย่างใกล้ชิด พร้อมปรับลด

มาตรการหากสถานการณ์ดีข้ึน และประเทศ

อื่น ๆ ปรับระดับการคุมเข้มลดลง เผย ยอด

สะสมอาหารที่ อย. สุ่มตรวจหาสารกัมมันตรังสี

ณ วันที่ 19 พ.ค. 54 จ�านวน 322 ตัวอย่าง

ผลการวิเคราะห์ทุกรายการอยู่ในระดับ “ปกติ”

อ่านต่อ คลิก http://www.fda.moph.go.th/

www_fda/data_center/ifm_mod/nw/ข่าว

อาหารน�าเข้าจากญี่ปุ่น_19-5-54.pdf

ที่มา อย. วันที่ 19 พ.ค. 54

รัฐบาลเวียดนามเข้มงวด ยุติการใ ช ้ ส า ร ป รุ ง แ ต ่ ง อ า ห า ร ผิ ด ก ฏห ม า ย

องค ์การด ้านความปลอดภัยและสุข

อนามัยอาหารพบว่า ผู ้ผลิตรายเล็กจ�านวน

มากใช้สารปรุงแต่งที่ใช้ในอุตสาหกรรมแทน

สารที่ ใช ้ใน อาหารเพื่อลดต้นทุนการผลิต

โดยเพิกเฉยข ้อเท็จจริงที่ว ่าสารเหล ่านี้มีสิ่ง

เจือปน รวมถึงธาตุโลหะหนักปะปนอยู ่ด ้วย

ผลการตรวจจากสถาบันความปลอดภัย

และสุขอนามัยด้านอาหารพบว่า จากการ

ตรวจตัวอย่างเมล็ดเมลอนแห้ง 17 จาก 30

ตัวอย่างตรวจพบสารก่อมะเร็ง Rhodamine

B ปริมาณตั้งแต่ 4.9 มิลลิกรัม ถึง 146.56

มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และยังตรวจพบสารชนิด

เดียวกันนี้ในพริกป่น 27 จาก 30 ตัวอย่าง

ปริมาณตั้งแต่ 20.2 มิลลิกรัม ถึง 110.2

มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม นอกจากน้ีการตรวจสี

ผสมอาหาร 9 ชนิดใน 203 ตัวอย่าง พบ

ว่าทุกตัวอย่างที่ใส่สีน�้าเงิน ม่วง และ ชมพู

ใช ้สีที่ ไม ่ได ้อยู ่ ในรายการที่อนุญาตให้ใช ้

กระทรวงสาธารณสุขจะรับผิดชอบดูแลการ

ผลิต จ�าหน่าย และการใช้สารปรุงแต่งอาหาร

หลังจากกฏหมายความปลอดภัยด้านอาหาร

มีผลบังคับใช้ วันที่ 1 กรกฎาคม 2554

ท่ีมา มกอช. วันท่ี 19 พ.ค. 54

Page 6: Weekly Brief 19 - 31 May 11 Issue 17

WEEKLY BRIEFTFPA Trade & Technical

24-30 May 2011

6

ญี่ปุ่นไฟเขียวสารปรุงแต่งอาหาร 25 ชนิด ที่ เหลือ ไม ่อนุญาตให ้ใช ้ 55 ชนิด

เมื่อเดือนพฤษภาคม 2553 กระทรวงสา

ธารณสุขฯ ญี่ปุ่น (MHLW) ได้ประกาศราย

ชื่อสารปรุงแต่งอาหารที่ไม่อนุญาตให้ใช้ 80

ชนิด และเปิดรับฟังความเห็น ผลปรากฎ

ว่า อนุญาตให้ใช้สารปรุงแต่งอาหารเพิ่มเติม

อีก 25 ชนิด ท�าให้เหลือรายชื่อสารปรุงแต่ง

อาหารที่ไม่อนุญาตให้ใช้อีกเพียง 55 ชนิด

ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 18 พฤษภาคม

2554 นี้ รายละเอียดเพิ่มเติม http://www.

acfs.go.th/news/docs/acfs_19-04-54.pdf

ที่มา มกอช. วันที่ 19 พ.ค. 54

สิงคโปร์ปลดแบนสินค้าน�าเข้าจากบางจังหวัดในญี่ปุ่น

สิงคโปร์จะยกเลิกการระงับน�าเข้าผักและผล

ไม้จากจังหวัดชิซุโอกะ และ เฮียวโงะ หลังพบ

ว่ารังสีปนเปื้อนสินค้าก่อนหน้าน้ีไม่ได้มาจากสอง

เมืองดังกล่าว แต่มาจากไซตามะ และ อิบารากิ

ความผิดพลาดเกิดจากการที่ผู้ส่งออกระบุแหล่ง

ก�าเนิดของสินค้าผิด ท�าให้ผักและผลไม้จากเมือง

ชิซุโอกะ และ เฮียวโงะ ถูกระงับการน�าเข้าวันที่

31 มีนาคม และ 4 เมษายน 2554 ตามล�าดับ

ทางญี่ปุ ่นเริ่มแผนการออกใบประกาศแหล่ง

ก�าเนิดของสินค้าส�าหรับสินค้าส่งออก สู่สิงคโปร์

เพื่อความสะดวกในการติดตาม และสิงคโปร์ให้

ความร่วมมือในการปรับใช้แผนการน้ี อย่างไร

ก็ตามสินค้าบางชนิดจากจังหวัดฟุกุชิมะ อิบา

รากิ โตชิกิ กุนมะ ชิบะ คานากาวะ ไซตามะ

และโตเกียวยังถูกระงับการน�าเข้าอยู่

ท่ีมา มกอช. วันท่ี 20 พ.ค. 54

Page 7: Weekly Brief 19 - 31 May 11 Issue 17

Vol. 2 Issue 1824-30 May 2011

7

สธ.เตือนระวังอาหารสีแดงสด น.พ.วีรพล นิธิพงศ์ นายแพทย์สาธารณสุขสมุทรปราการ เปิดเผยว่า พบอาหารที่ไม่ได้

มาตรฐาน เพราะมีการใส่สีและวัตถุกันเสียเกินปริมาณที่กฎหมายก�าหนด ได้แก่ โซเดียมไนไตรท์

ที่ช่วยป้องกันไม่ให้อาหารบูดเน่า ช่วยระงับการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ และท�าให้เนื้อมีสี

แดงน่ากิน เช่น ไส้กรอก กุนเชียง แหนม เนื้อเค็ม โดยปริมาณที่กระทรวงสาธารณสุขก�าหนดให้

ใช้ได้ต้องไม่เกิน 125 มิลลิกรัมต่ออาหาร 1 กิโลกรัม หากผู้บริโภคได้รับในปริมาณมากเกินไป จะ

ท�าให้เกิดอาการคลายตัวของหลอดเลือด เกิดสภาวะที่เม็ดเลือดแดงไม่รับออกซิเจน มีอาการหน้า

แดง ไม่สบายท้อง ปวดศีรษะ ถ้าได้รับในปริมาณมาก จะเกิดอาการเนื้อตัวเขียว คลื่นไส้ อาเจียน

ส�าหรับผู้ผลิตอาหารจากเนื้อสัตว์ หากใส่สีเกินกว่าก�าหนดต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2 หมื่น

บาท และหากใช้วัตถุกันเสียเกินกว่าก�าหนด จัดเป็นอาหารผิดมาตรฐานต้องระวางโทษปรับไม่

เกิน 5 หมื่นบาท ในส่วนของผู้บริโภค ควรเลือกซื้อไส้กรอกที่อยู่ในภาชนะบรรจุที่มีเครื่องหมาย

อย. มีการแสดงฉลากที่ถูกต้อง ระบุแหล่งที่ผลิต และหากพบเห็นการผลิตหรือจ�าหน่ายไส้กรอก

ที่มีสีแดงสดผิดธรรมชาติ

ที่มา มกอช. วันที่ 20 พ.ค. 54

Page 8: Weekly Brief 19 - 31 May 11 Issue 17

WEEKLY BRIEFTFPA Trade & Technical

24-30 May 2011

8

พาณิชย์เข้มงวดน�าเข้า-ส่งออกยา เภสัชเคมีภัณฑ์ฯและสารเคมี 16 รายการ นายสุรศักดิ์ เรียงเครือ รองอธิบดีกรมการ

ค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า กระทรวงพาณิชย์ได้มี

มาตรการควบคุมการน�าเข้า ยา เภสัชเคมีภัณฑ์ฯ

รวม 16 รายการ เป็นสินค้าที่จะต้องขออนุญาต

ก่อนน�าสินค้าเข้ามาในไทยด้วยวัตถุประสงค์ ที่

แตกต่างกัน เช่น สารเคลนบิวตารอล (Clen-

buterol)และ สารอัลบิวเตอรอล (Albuterol) หรือ

สารซัลบิวตามอล (Salbutamol) ที่ใช้เป็นสารเร่ง

เนื้อแดงในสุกร มีประกาศควบคุมน�าเข้าเพื่อความ

ปลอดภัยของผู้บริโภคเนื้อสุกรในประเทศ รวม

ถึงเภสัชเคมีภัณฑ์ที่อาจกลายเป็นสารตกค้างใน

สินค้าอุตสาหกรรมสัตว์เลี้ยงเพื่อการบริโภค เช่น

กุ้ง ไก่ ฯลฯ ประเภทไนโตรฟูแรน (Nitrofurans) และ คลอแรมฟินิคอล (Chloramphenicol)

ที่ปร! ะเทศคู่ค้าหลักของไทย เช่น สหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น มีความเข้มงวดใน

การตรวจสอบ และอาจจะส่งผลกระทบต่อการส่งออกอาหารจากไทยไปประเทศอื่นๆ ทั่วโลก

ในอนาคตได้ รวมถึงเคมีภัณฑ์และสารเคมีบางชนิด เช่น สารกาเฟอีน (Caffeine) และ สาร

โพแทสเซียมเพอร์แมงกาเนต (Potassium Permanganate) เป็นสินค้าจะต้องขออนุญาตน�า

เข้าหรือส่งออกเช่นกัน

ที่มา : ส�านักข่าวอินโฟเควสท์ วันที่ 25 พ.ค. 54

Page 9: Weekly Brief 19 - 31 May 11 Issue 17

Vol. 2 Issue 1824-30 May 2011

9

ฟิจิเฮ อียูไฟเขียวน�าเข้าปลา เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ฟิจิส่งออกปลาแช่

แข็งไปสหภาพยุโรปเป็นรอบการส่งออกแรก

หลังจากถูกระงับเป็นเวลา 3 ปี โดยส่งออก

ปลาทูนาครีบยาวแช่แข็ง (albacore tuna)

โดยมีบริษัทฟิจิ 2 แห่งที่ได้จดทะเบียนส่งออก

ปลาไปยังสหภาพยุโรป

ที่มา : FIS วันที่ 25 พ.ค. 54

แคลฟิอเนยีร์รบัรองกฎหมาย ห้ามการจ�าหน่ายและครอบครองหูฉลาม คณะกรรมการรบัรองกฎหมาย (AB376) ว่า

ด้วยการห้ามจ�าหน่าย แลกเปลี่ยน หรือครอบ

ครองหูฉลาม ซึ่งเป็นอาหารยอดนิยมของชาว

เอเชีย กฏหมายดังกล่าวผ่านความเห็นชอบ

ของคณะกรรมการด้วยคะแนน 63 ต่อ 8 โดย

ผู้สนับสนุนอ้างว่าการกระท�าดังกล่าวจะท�าให้

ฉลามสูญพันธุ์และท�าให้เกิดการเปลี่ยนแปลง

ที่ จ ะ ท� า ใ ห ้ ร ะ บบ นิ เ ว ศ ใ ต ้ น�้ า เ สี ย ห า ย

ถึงแม ้การตัดหูฉลามผิดกฎหมายใน

น่านน�้าสหรัฐฯ แต่ไม่สามารถท�าอะไรผู้ตัด

หูฉลามในน่านน�้าระหว่างประเทศได้ จึง

จ�าเป็นต้องออกกฎหมายระงับการจ�าหน่าย

ในตลาดรัฐแคลิฟอเนียซึ่งมีความต้องการ

หูฉลามในตลาดมากที่สุดที่อยู่นอกทวีปเอเชีย

ผู้สนับสนุนระบุว่า หูฉลามจ�าหน่ายในราคา

สูงถึง 600 ดอลล่าร์สหรัฐต่อปอนด์ และ

การตัดหูฉลามท�าให้ฉลามตายกว่า 73 ล้าน

ตัวต่อปี ในขณะที่ผู้ต่อต้านกฎหมายนี้อ้างว่า

เป็นการใช้อ�านาจมากเกินไปในการบงการสิ่ง

ที่ชาวแคลิฟอเนียจะสามารถรับประทานได ้

ขณะน้ีร ่างกฏหมายดังกล ่าวรอการ

พิจารณาจากวุฒิสภาและคาดว่าจะมีผลบังคับ

ใช้ในวันที่ 1 มกราคม 2556 เพื่อให้เวลาผู้

ประกอบการสามารถปฏิบัติตามได้

ท่ีมา : AP วันท่ี 25 พ.ค. 54

สถานการณ์ด้านประมง

Page 10: Weekly Brief 19 - 31 May 11 Issue 17

WEEKLY BRIEFTFPA Trade & Technical

24-30 May 2011

10

ความคืบหน้าญี่ปุ่นแก้ไขค่า MRLs สารเคมีทางการเกษตรและสารปรุงแต่งอาหาร เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2554 กระทรวงสาธารณสุข แรงงงานและสวัสดิการญี่ปุ่น

(MHLW) ได้จัดประชุมชี้แจงรายละเอียดการปรับปรุงแก้ไขมาตรฐานสารเคมีตกค้าง และสาร

ปรุงแต่งครั้งที่ 149 (the 149th Conference for Promotion of Food Import Facilita-

tion) สรุปสาระส�าคัญได้ดังนี้

1. ก�าหนดมาตรฐานสารเคมีทางการเกษตรและยาที่ใช้กับสัตว์ 7 ชนิด ได้แก่ Aci-

fluorfen, Dithianon, Lactofen, Pendimethalin, Picolinafen, Levamisole, Mebenda-

zole

2. พิจารณาขึ้นทะเบียนสารปรุงแต่ง 2 ชนิด ที่อนุญาตให้ใช้เป็นสารปรุงแต่งกลิ่น รส

เท่านั้น ได้แก่ Isoquinoline และ Pyrrole

ทั้งนี้เปิดรับฟังความคิดเห็นต่อร่างกฎหมายแก้ไขมาตรฐานสารเคมีตกค้างและ สาร

ปรุงแต่งอาหาร รวมทั้งระดับ MRL ที่ก�าหนดใหม่ ต่อ MHLW โดยตรง จนถึงวันที่ 27

พฤษภาคม 2554 หากพ้นก�าหนดนี้ให้แจ้งผ่านทางระบบ SPS รายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ

[email protected]

ที่มา มกอช. วันที่ 23 พ.ค. 54

สถานการณ์ด้านเกษตร

Page 11: Weekly Brief 19 - 31 May 11 Issue 17

Vol. 2 Issue 1824-30 May 2011

11

อนุมัติกองทุนสงเคราะห์ เกษตรกร 500 ล้านบาท นายสมชาย ชาญณรงค์กุล อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรี ได้มี

มติตามคณะกรรมการสงเคราะห์เกษตรกร เมื่อวันที่ 12 เมษายน 2554 เห็นชอบให้จัดสรร

เงินจากกองทุนสงเคราะห์เกษตรกรให้กรมส่งเสริมสหกรณ์ จ�านวน500ล้านบาท ก�าหนด

ช�าระคืนภายใน5ปี เพื่อด�าเนินการโครงการสนับสนุนสินเชื่อเพื่อพัฒนากลุ่มเกษตรกร โดยจะ

สนับสนุนเงินทุนแก่กลุ่มเกษตรกร ที่ได้มาตรฐานปีละ 1,400กลุ่มซึ่งกลุ่มเกษตรกรที่จะขอรับ

การสนับสนุนเงินทุน จะต้องท�าโครงการส่งเสริมการผลิต การรวบรวม หรือแปรรูปผลิตผล

ธ.ก.ส.พร้อมจ่ายเงินชดเชยปุ๋ย ตันละ1.5พันบาทธ.ก.ส. ประกาศพร้อมจ่ายเงินชดเชยโครงการปุ๋ยลดต้นทุนแก่เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ

ประกันรายได้ปี 53/54 ในอัตราตันละ 1,500 ล้าน

บาท วงเงินรวม 3,450 ล้านบาท พร้อมเตรียม

วงเงินกว่า 30,000 ล้านบาท ให้เกษตรกรกู้ซื้อปุ๋ย

ยันขึ้นทะเบียนร้านค้าในท้องถิ่นกว่า 7,000 ร้าน

ค้า เพื่อเพิ่มทางเลือกแก่เกษตรกร

เมื่อวันที่ 20 พ.ค. 54 นายกรณ์ จาติกวณิช

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในฐานะประธาน

คณะกรรมการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) กล่าวว่า ตามมติคณะ

รัฐมนตรี เมื่อวันที่ 6 พ.ค. ที่เห็นชอบให้ด�าเนินงานโครงการส่งเสริมการใช้ปุ๋ยเพื่อลดต้นทุน

การผลิตของเกษตรกรโดยก�าหนดราคาปุ๋ย 6 สูตร คือ 46-0-0, 16-20-0, 16-16-8, 19-8-8,

18-12-6, และ 15-15-15 พร้อมเห็นชอบให้มีการชดเชยส่วนต่างราคาปุ๋ยเคมีให้แก่ผู้เข้าร่วม

โครงการนี้ ในอัตรากิโลกรัมละ 1.50 บาทหรือตันละ 1,500 บาท อ่านต่อคลิก http://www.

thairath.co.th/content/eco/172905

ที่มา thairath วันที่ 20 พ.ค. 54

Page 12: Weekly Brief 19 - 31 May 11 Issue 17

WEEKLY BRIEFTFPA Trade & Technical

24-30 May 2011

12

หรือผลิตภัณฑ์ เสนอต่อคณะกรรมการพิจารณาเงินกู้ระดับจังหวัดเพื่อประกอบการพิจารณา

ทั้งนี้ ที่ผ่านมากรมส่งเสริมสหกรณ์ได้

ท�าการส�ารวจกลุ่มเกษตรกร จ�านวน

1,139กลุ ่ม ใน 67จังหวัด ที่กู ้ เงิน

โครงการสนับสนุนเงินทุนหมุนเวียนเพื่อ

พัฒนากลุ่ม เกษตรกร ซึ่งด�าเนินการ

ตั้งแต่ปี 2549-2553ซึ่งกลุ่มเกษตรกร

ได้กู ้ยืมไปจัดหาอุปกรณ์การเกษตร

และให้สมาชิกกู ้ยืมไปลงทุนท�าการ

เกษตรและรวบรวมผลผลิต โดยกลุ่ม

เกษตรกรส่วนใหญ่เสนอขอรับการสนับสนุนเงินทุนจากกองทุนสงเคราะห์ เกษตรกรเพิ่มขึ้น

จากเดิม เนื่องจากเงินกู้ที่ได้รับจากโครงการเดิมไม่เพียงพอ เพราะจ�านวนสมาชิกเพิ่มขึ้น

การพิจารณาอนุมัติเงินกู้แก่กลุ่มเกษตรกร จะพิจารณาจากประวัติของกลุ่มเกษตรกรเป็น

หลัก ซึ่งอาจจะอนุมัติเงินให้กับกลุ่มเกษตรกรเดิมที่เคยกู้เงินจากกองทุน สงเคราะห์เกษตรกร

หรือเป็นกลุ่มเกษตรกรใหม่ แต่มีประวัติดี ไม่ค้างช�าระหนี้ เป็นกลุ่ม ที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน

และน�าไปลงทุนใน ธุรกิจที่ไม่เกิดความเสี่ยง ซึ่งกลุ่มเกษตรกรที่มีความประสงค์จะขอกู้เงิน

สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่กลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ที่ตั้ง อยู่ในแต่ละอ�าเภอได้

ทั้งนี้ ในปัจจุบันกลุ่มเกษตรกรรวมตัวกันเพื่อหาแหล่งทุนเท่านั้น ซึ่งยังไม่ช่วยแก้ปัญหาการ

ประกอบอาชีพที่แท้จริงได้ ดังนั้นกลุ่มเกษตรกรควรมีเป้าหมายการรวมตัวที่ มากกว่านั้น เพื่อช่วย

แก้ไขปัญหา ทั้งในเรื่องปัจจัยการผลิต การถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีการเกษตร และ

การรวมกันขายผลผลิต ซึ่งเป้าหมายของการอนุมัติเงินให้กู้ยืมในครั้งนี้ จึงมิใช่เพียงการน�าไป

ใช้ส�าหรับซื้อหาปัจจัยการผลิตอย่างเดียว แต่ควรจะมีการด�าเนินธุรกิจด้านอื่นด้วย รวมถึงควร

มีการเช่ือมโยงความร่วมมือและการด�าเนินธุรกิจกันในระหว่างกลุ่ม เกษตรกรเอง หรือเชื่อมโยง

กับสหกรณ์ เพื่อให้กลุ่มเกษตรกรเกิดความเข้มแข็งและสามารถแก้ไขปัญหาให้กับเกษตรกรได้

อย่างแท้จริงต่อไป.

ที่มา มกอช. วันที่ 19 พ.ค. 54

Page 13: Weekly Brief 19 - 31 May 11 Issue 17

Vol. 2 Issue 1824-30 May 2011

13

ผลิตเอทานอลจากมันเทศ ปัจจุบัน ประเทศไทยได้รับผลกระทบโดยตรงจากการต้องพึ่งพาการน�าเข้าปริมาณน�้ามันจาก

ต่าง ประเทศในแต่ละปีมีมูลค่ามหาศาล การพัฒนาแหล่งพลังงานทดแทนหรือพลังงานทางเลือก

จึงมีความจ�าเป็นอย่างยิ่ง ส�าหรับประเทศไทยในระยะยาว

โดยเฉพาะอย่างยิ่งแหล่งพลังงานจากชีวมวลซึ่งเป็นทางเลือกหน่ึงที่จะลดการน�าเข้าปริมาณ

น�้ามัน “เอทานอล” หรือ “เอทธิลแอลกอฮอล์” ที่ ได้จากการหมักพืชโดยใช้ผลผลิตทางการ

เกษตร อาท ิมนัส�าปะหลงั อ้อย ข้าวโพด ข้าว

สาลี ข้าวบาร์เลย์ ข้าวฟ่างหวาน หัวผักกาด

หวาน มันฝรั่งและ มันเทศ เป็นต้น สามารถ

น�าเอทานอลที่ผลิตจากพืชดังกล่าวน�ามาผสม

กับน�้ามันเบนซินเป็น “แก๊สโซฮอล์” หรือน�า

มาผสมกับน�้ามันดีเซลเป็น “ดีโซฮอล์” พื้นที่

ปลูกมันส�าปะหลังในประเทศไทยในปัจจุบันมี

ประมาณ 6.8 ล้านไร่ ผลิตหัวมันสดได้ 17

ล้านตัน มีการน�าผลผลิตของหัวมันส�าปะหลัง

สดมากกว่า 50% ของผลผลิตทั้งหมดมาแปรรูปเป็นแป้ง ประเทศไทยมีศักยภาพในการผลิตและ

ส่งออกแป้งมันส�าปะหลังมากที่สุดในโลกและแป้ง มันส�าปะหลังถูกน�าไปใช้ในอุตสาหกรรมหลาก

หลายประเภท ได้แก่ แป้งที่ใช้บริโภคในครัวเรือน ผงชูรส สารให้ความหวาน สิ่งทอ ไม้อัด

กาว พลาสติก สารดูดน�้าและกระดาษ เป็นต้น ผลผลิตหัวมันส�าปะหลังสดอีกส่วนหนึ่งใช้ เป็น

วัตถุดิบส�าคัญในอุตสาหกรรมผลิตอาหารสัตว์ ในขณะที่วัตถุดิบอีกชนิดหนึ่งคือ “กากน�้าตาล” ที่

ได้จากโรงงานน�้าตาลที่น�ามาผลิตเป็นเอทานอลได้ มีการน�าไปสร้างผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่มีมูลค่า

สูงขึ้นได้มากมาย เช่น อุตสาหกรรมเหล้า เบียร์และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ต่างๆ อุตสาหกรรม

ที่เกี่ยวกับการหมักดอง อ่านต่อ http://www.ocsb.go.th/th/cms/detail.php?ID=1511&Sys

temModuleKey=economic

ที่มา OCSB วันที่ 19 พฤษภาคม 2554

Page 14: Weekly Brief 19 - 31 May 11 Issue 17

WEEKLY BRIEFTFPA Trade & Technical

24-30 May 2011

14

ไทยเร่งเปิด FTA เปรูและชิลี ประตูการค้าสู่ตลาดลาตินอเมริกานางศรีรัตน์ รัษฐปานะ อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่าในระหว่างการ

ประชุมรัฐมนตรีการค้าเอเปก (APEC Ministers Responsible for Trade: MRT) ครั้งที่ 17

ระหว่างวันที่ 19-20 พฤษภาคม ที่ผ่าน

มา ณ บิ๊กสกาย มลรัฐมอนทานา ประเทศ

สหรัฐอเมริกา ได้มีการหารือระดับทวิภาคีกับ

ผู้แทนประเทศเปรู เกี่ยวกับความคืบหน้าใน

การเปิดเสรีการค้า (FTA) กับเปรู โดยในส่วน

ของเปรูยังคงต้องรอให้มีการเปิดรัฐสภาใหม่

หลังทราบผลการเลือกตั้ง รอบ 2 ซึ่งช่วงเวลา

ก่อนหน้าที่ประเทศไทยจะมีรัฐบาลใหม่ หลัง

การเลือกตั้งในวันที่ 2 ก.ค. ซึ่งหลังจากมีการเปิดสภาผู้แทนราษฎรแล้วกระทรวงพาณิชย์จะเสนอ

ให้สภาผู้แทน ราษฎรให้ความเห็นชอบ FTA ไทย - เปรู หลังจากที่ทั้งสองประเทศได้มีการลง

นามในการท�าข้อตกลงลดภาษีสินค้าส่วนแรก (Early Harvest) ไปแล้ว ซึ่งหากสภาผู้แทนราษฎร

ให้ความเห็นชอบก็จะมีผลบังคับใช้ในปลายปีน้ี โดยจะครอบคลุมสินค้าเกือบ6,000รายการ โดย

สินค้าที่ไทยจะได้ประโยชน์คือ เครื่องใช้ไฟฟ้า รถปิคอัพ เม็ดพลาสติก ยางพารา ส่วนสินค้า

ที่เปรูจะได้ประโยชน์คือ กุ้ง น�้ามันปลาและยาฆ่าแมลง อ่านต่อ http://www.prachachat.

net/news_detail.php?newsid=1306066791&grpid=&catid=00&subcatid=0000

ที่มา ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 22 พ.ค. 54

สถานการณ์ด้านเกษตร

Page 15: Weekly Brief 19 - 31 May 11 Issue 17

Vol. 2 Issue 1824-30 May 2011

15

กรมส่งออกฯชี้หนี้อียูไม่มีผลกระทบการค้าไทยไปยุโรป เตือนผู้ส่งออกเลือกลูกค้า

นางนันทวัลย์ ศกุนตนาค อธิบดีกรมส่งเสริมการส่งออก เปิดเผยถึงความกังวลจากปัญหา

หนี้สาธารณะในสหภาพยุโรป(อียู)ว่า ไม่น่าจะส่งผลกระทบต่ออัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ

ของโลก และสร้างความกังวลให้กับส่งออกไทยที่ตั้งเป้าหมายให้ขยายตัวทั้งปีที่ 15% โดยตลาด

อียูคาดว่าจะส่งออกเพิ่มไม่น้อยกว่า 10% หรือ 20,177 ล้านเหรียญสหรัฐฯ แต่เน้นให้ผู้ส่งออก

ตรวจสอบและเลือกที่จะท�าการค้ากับประเทศที่มีระบบการเงิน ที่เชื่อถือได้ พร้อมทั้งสร้างระบบ

โลจิสติกส์และหาแหล่งวัตถุดิบคุณภาพจะท�าให้การค้าได้ตาม เป้าหมาย

ในเบื้องต้นคาดหมายได้ว่า คณะกรรมการกลางธนาคารกลางสหภาพยุโรป(อีซีบี) มีมติคง

อัตราดอกเบี้ยนโนบายไว้ที่ระดับ 1.25 ต่อปีต่อไป ด้วยเหตุผลว่า อัตราดอกเบี้ยปัจจุบันมี

ความเหมาะสมกับสถานการณ์ รวมทั้งการขึ้นอัตราดอกเบี้ยจะส่งผลกระทบต่อภาระประเทศที่

ประสบปัญหาทางการ เงินในปัจจุบัน คือ โปรตุเกส ไอร์แลนด์ และกรีซ(พีไอจี) ฉะนั้นคงจะ

พิจารณาเรื่องดอกเบี้ยในเดือนมิถุนายนเป็นต้นไป อ่านต่อ http://www.prachachat.net/

news_detail.php?newsid=1305897250&grpid=&catid=00&subcatid=0000

ที่มา ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 20 พ.ค. 54

เอเปคเห็นพ้องเปิดเสรีตลาดอาหาร เจ้าหน้าที่การค้า 21 ชาติสมาชิกเอเปค ยืนยันไม่

ควบคุมราคาอาหาร และเปิดแข่งขันอย่างเสรีที่ประชุมเจ้า

หน้าที่การค้า กลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาค

เอเชีย-แปซิฟิก (เอเปค) ที่มอนตานา สหรัฐ ออก

แถลงการณ์ร่วมเรียกร้องให้มีการเปิดเสรี และสร้างความโปร่งใสในตลาดอาหารเอเปค ระบุ

ว่าการเปิดตลาดจะช่วยรับประกันถึงความมั่นคงในด้านอาหาร ด้วยการเพิ่มความน่าเชื่อถือใน

Page 16: Weekly Brief 19 - 31 May 11 Issue 17

WEEKLY BRIEFTFPA Trade & Technical

24-30 May 2011

16

ครั้งนี้ บริษัทรายใหญ่ๆ ต่างผลักดันให้มีการเปิดเสรีตลาดอาหารมากขึ้น โดยแถลงการณ์ร่วม

ของแกนน�านักธุรกิจที่เข้าร่วมประชุมครั้งนี้ เรียกร้องให้เอเปค ให้ค�ามั่นถึงการยกเลิกการควบคุม

การส่งออกอาหารทุกรูปแบบนายสกอตต์ ไพรซ์ หัวหน้าคณะเจ้าหน้าที่บริหาร (ซีอีโอ) วอล มาร์

ท เอเชีย มองว่า วิธีการดีที่สุดคือ การลดภาวะไร้ประสิทธิภาพในการจัดเก็บผลผลิต ไม่ใช่

การควบคุมส่งออก โดยยกตัวอย่างของอินเดีย ที่ต้องสูญเสียผลผลิตไปถึง 40% หลังการเก็บ

เกี่ยวแล้ว

ที่มา กรุงเทพธุรกิจ 22 พ.ค. 54

31 พ.ค.หมดเวลาส่งงบการเงิน ต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้านายบรรยงค์ ลิ้มประยูรวงศ์ อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เปิดเผยว่า กรมฯ เปิดให้

นิติบุคคลทีมีรอบปีบัญชีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2553 ต้องน�าส่งงบการเงินต่อกรมพัฒนา

ธุรกิจการค้าจนถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2554 นี้ โดยคาดว่าปีนี้จะมีนิติบุคคลราว 4 แสน

ราย จากจ�านวนนิติบุคคลที่ยังคงสภาพการประกอบธุรกิจทั้งหมด 5.4 แสนรายทั่วประเทศที่จะ

ต้องส่งงบฯ กรมฯ จึงได้ ลดจ�านวนของเอกสาเหลือเพียงชุดเดียวเหมือนกันทั่วประเทศ และ

เปิดให้บริการรับงบการเงินทั่วประเทศ 86 แห่ง เช่น กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ชั้น 3 กระทรวง

พาณิชย์ จังหวัดนนทบุรี ส�านักงานพัฒนาธุรกิจการค้า ทั้ง 5 เขต ส�านักงานพัฒนาธุรกิจ

การค้าจังหวัดทั่วประเทศ และที่ท�าการไปรษณีย์ทุกแห่งทั่วประเทศ

ขอเชิญชวนผู้ประกอบการที่มีหน้าที่ต้องน�าส่งงบการเงินให้เร่งด�าเนินการ และท�างบการ

เงินส่งแต่เนิ่น ๆ หากไม่น�าส่งงบการเงินหรือไม่ส่งส�าเนาบัญชีผู้ถือหุ้น ภายในระยะเวลาที่

กฎหมายก�าหนดจะมีความผิดต้องโทษปรับ และกรมจะด�าเนินคดีกับ นิติบุคคลที่ไม่ส่งงบ

การเงินทุกราย

ที่มา ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 22 พ.ค. 54

Page 17: Weekly Brief 19 - 31 May 11 Issue 17

Vol. 2 Issue 1824-30 May 2011

17

ดเีดย์ 15 มถินุายน 2554 เปิดจดทะเบยีนแรงงานต่างด้าว

วันที่ 9 พฤษภาคม 2554 เวลา 10.30 น. ณ ห้อง

ประชุมชั้น 10 กรมการจัดหางาน ปลัดกระทรวงแรงงาน

นายสมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ เป็นประธานการประชุม

ซักซ้อมความเข้าใจการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวหลบ

หนีเข้า เมืองสัญชาติ พม่า ลาว กัมพูชา รวมทั้งผู้

ติดตามที่เป็นบุตรของแรงงานต่างด้าวที่มีอายุไม่เกิน 15

ปี ตามมติคณะรัฐมนตรีเม่ือวันที่ 26 เมษายน 2554

ซึ่งจะเริ่มเปิดจดทะเบียนได้ตั้งแต่วันที่ 15 มิถุนายน

2554 อ่านต่อคลิก http://wp.doe.go.th/node/208

ที่มา ส�านักบริหารแรงงานต่างด้าว วันท่ี 18 พ.ค. 54

ลดภาษี AFTA ไทยผงาด TOP 5 ส่งออก-น�าเข้า นายอัทธ์ พิศาลวานิช ผู้อ�านวยการศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัย

หอการค้าไทย เปิดเผยว่า ผลส�ารวจการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(AEC)ในรอบ 1 ปี

หลังจากความตกลงเปิดเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) ก�าหนดให้ลดภาษีสินค้าทั้งหมดเป็น 0%

ในวันที่ 1 มกราคม 2553 พบว่า ปี 2553 ส่งออกได้ 36,239 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจาก

ปีก่อนที่ส่งออกได้ 25,981 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 39.5% ส่งผลให้ไทยมีส่วนแบ่ง

ตลาด 35.8% โดยสินค้าส่งออกส�าคัญของไทยมีส่วนแบ่งตลาดเพิ่มขึ้น คือ เครื่องใช้ไฟฟ้าและ

อิเล็กทรอนิกส์ 1.23% ปิโตรเลียมและถ่านหิน 0.85% และกลุ่มยานยนต์และชิ้นส่วน 2.69%

สาเหตุที่การค้าไทยในอาเซียนเพิ่มขึ้นเพราะได้อานิสงค์จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจอาเซียน

แต่ในระยะยาวยังไม่อาจสรุปได้ว่าไทยยังได้เปรียบการค้า ดูจากส่วนแบ่งการตลาดในสินค้าแต่ละ

ชนิดพบว่าแต่ละประเทศยังคงรักษาส่วนแบ่งตลาดในสินค้ากลุ่มเดิม โดยสิงคโปร์และเวียดนาม

ที่เน้นท�าการค้ามากกว่าเป็นแหล่งผลิตก�าลังมีการรุกตลาดอาเซียนมากขึ้น

Page 18: Weekly Brief 19 - 31 May 11 Issue 17

WEEKLY BRIEFTFPA Trade & Technical

24-30 May 2011

18

อย่างไรก็ตาม หากเทียบมูลค่าการค้าระหว่างประเทศในกลุ่มอาเซียน ระยะเวลา 5 ปีที่ผ่าน

มา นับตั้งแต่ปี 2549-2553 ประเทศสิงคโปร์เป็นผู้ส่งออกสินค้ารวมมากที่สุดโดยตลอด ด้วยสัดส่วน

เกือบ 50% ของมูลค่าส่งออกทั้งหมดในปี 2553 ที่มีมูลค่า 106,605 ล้านเหรียญสหรัฐ รองลงมาคือ

มาเลเซีย ไทยและอินโดนีเซีย ด้านการน�าเข้า ประเทศสิงคโปร์ยังเป็นประเทศที่น�าเข้าสินค้ามาก

ท่ีสุด คิดเป็นมูลค่า 74,700 ล้านเหรียญสหรัฐ เนื่องจากเป็นประเทศที่เน้นการค้ามากกว่าการผลิต

นายอัทธ์ กล่าวว่า จากการ

ส�ารวจการส่งออก 18 กลุ่มสินค้า

ภาคเกษตรและอุตสาหกรรม ที่มี

สัดส่วน 80% ของการส่งออกไทย

พบว่า สินที่ไทยได้ส่วนแบ่งตลาด

เพิ่มขึ้น มีหลายรายการ ได้แก่

ข้าวสาร มันส�าปะหลังสด ปลาสด

แช่แข็ง เนื้อสัตว์ น�้าตาล เครื่องด่ืม

ยาสูบ สิ่งทอ-เครื่องนุ่งห่ม เครื่อง

หนัง ผลิตภัณฑ์ไม้ ปิโตรเลียม-

ถ่านหิน ผลิตภัณฑ์ยาง เหล็ก ยาน

ยนต์ เครื่องจักรและอิเล็กทรอนิกส์ ส่วนสินค้าที่มีส่วนแบ่งตลาดลดลง ได้แก่ ยางพารา ผัก-ผลไม้

กระดาษ-สิ่งพิมพ์ ผลิตภัณฑ์พลาสติก

ทั้งนี้ หากพิจารณาการส่งออกสินค้าส�าคัญเปรียบเทียบส่วนแบ่งตลาดก่อน-หลัง AEC อย่างเช่น

ข้าวสาร เดิมเวียดนามมีส่วนแบ่งตลาดสูงสุด 75.72% แต่ลดลง 4.34% เหลือเพียง 71.38% ใน

ขณะที่ไทยมีส่วนแบ่งตลาดอันดับ 2 มีสัดส่วน 22.37% เพิ่มขึ้นจากเดิม 5.24% ด้านผักและผลไม้

ไทยส่งออกเป็นอันดับ 1 แต่ส่วนแบ่งลดลง คือ มีส่วนแบ่ง 64% ขณะที่น�้าตาล เป็นสินค้าที่ไทยส่ง

ออกมากที่สุดในอาเซียน มีส่วนแบ่งตลาดเพิ่มเป็น 77.05% ยางพารา ไทยยังครองส่วนแบ่งตลาด

มากที่สุด ทั้งก่อนและหลังการเป็น AEC โดยส่วนแบ่งลดลงเล็กน้อย จาก 69.35% เป็น 64.02%

ที่มา : โพสต์ทูเดย์ วันที่ 25 พ.ค. 54

Page 19: Weekly Brief 19 - 31 May 11 Issue 17

Vol. 2 Issue 1824-30 May 2011

19

THAI FOOD PROCESSORS’ ASSOCIATIONTel : (662) 261-2684-6 Fax : (662) 261-2996-7www.thaifood.org E-mail: [email protected]

สมาคมผู้ผลิตอาหารส�าเร็จรูป ขอขอบคุณเว็ปไซต์ ดังต่อไปนี้1. http://www.thannews.th.com 6. http://www.dailynews.co.th2. http://www.thairath.co.th 7. http://www.acfs.go.th3. http://www.bangkokbiznews.com 8. http://www.posttoday.com4. http://www.tnsc.com 9.http://www.matichon.co.th5. http://www.prachachat.net

เสนอข้อคิดเห็น/ข้อเสนอแนะ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

th