บทที่ 4 แก้ไข - -customer...

73
มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ บทที4 คูมือแหลงเรียนรูสถานที่สําคัญในจังหวัดฉะเชิงเทรา ในบทนี้ผูศึกษาจัดทําคูมือแหลงเรียนรูสถานที่สําคัญในจังหวัดฉะเชิงเทราขึ้นโดยศึกษา ขอมูลพื้นฐานของจังหวัดฉะเชิงเทราและการจัดทําคูมือ องคประกอบของคูมือ ขั้นตอนการจัดทําคูมือขึ้น ใชขอมูลแหลงเรียนรูสถานที่สําคัญในจังหวัดฉะเชิงเทราเปนเนื้อหา จากนั้นผูศึกษาสรางแบบประเมิน การใชคูมือ จํานวน 26 ขอ เพื่อใหนักวิชาการ ผูบริหารสถานศึกษา ครูผูสอน ประเมินคุณภาพของ คูมือไวดวยแลวทั้งนี้เพราะผูศึกษาพิจารณาเห็นวา การนําแหลงเรียนรูที่มีอยูในทองถิ่น และในชุมชนที่สถานศึกษาตั้งอยูเขามามีสวนรวม ในการจัดการศึกษานั้น นับเปนเปาหมายสําคัญที่สถานศึกษาจะตองใหความสําคัญโดยสงเสริม สนับสนุน และนําเอาแหลงการเรียนรูที่มีอยู มาใชใหเกิดประโยชนกับตัวผูเรียน เพื่อสรางจิตสํานึกและคานิยม ความเปนประชาธิปไตย ประหยัด อดทน รักและภูมิใจในความเปนไทย ตลอดจนการสรางความสัมพันธ ระหวางชุมชนกับสถานศึกษา ซึ่งแหลงเรียนรูที่มีอยูในจังหวัดฉะเชิงเทรา นี้ผูบริหารสถานศึกษา ครู และนักเรียนสามารถศึกษาสถานที่สําคัญจากสภาพจริงที่ปรากฏ จะทําใหผูเรียนไดรับความรูจากการพบเห็น ไดสัมผัส และลงมือปฏิบัติจริง แทนการไดรับความรูจากการจินตนาการของผูเรียนเอง ผูศึกษาจึงหวังเปนอยางยิ่งวา คูมือนี้จะเปนประโยชนในการเสริมสรางการจัดการเรียนการสอน ในสถานศึกษาที่นําสถานที่สําคัญในจังหวัดฉะเชิงเทรา ใหผูเรียนมีโอกาส ไดศึกษาความเปนจริง ตามความตองการของผูเรียนเอง

Upload: others

Post on 04-Aug-2020

3 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

Page 1: บทที่ 4 แก้ไข - -CUSTOMER VALUE-thesis.rru.ac.th/files/pdf/357_2010_12_16_041202.pdfมหาว ทยาล ยราชภ ฏราชนคร นทร 49

มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

บทท่ี 4 คูมือแหลงเรียนรูสถานที่สําคัญในจังหวัดฉะเชิงเทรา ในบทนี้ผูศึกษาจัดทําคูมือแหลงเรียนรูสถานที่สําคัญในจังหวัดฉะเชิงเทราขึ้นโดยศึกษาขอมูลพ้ืนฐานของจังหวัดฉะเชิงเทราและการจัดทําคูมือ องคประกอบของคูมือ ขั้นตอนการจัดทําคูมือข้ึนใชขอมูลแหลงเรียนรูสถานที่สําคัญในจังหวัดฉะเชิงเทราเปนเนื้อหา จากนั้นผูศึกษาสรางแบบประเมินการใชคูมือ จํานวน 26 ขอ เพื่อใหนักวิชาการ ผูบริหารสถานศึกษา ครูผูสอน ประเมินคุณภาพของคูมือไวดวยแลวทั้งนี้เพราะผูศึกษาพิจารณาเห็นวา การนําแหลงเรียนรูที่มีอยูในทองถิ่น และในชุมชนที่สถานศึกษาตั้งอยูเขามามีสวนรวมในการจัดการศึกษานั้น นับเปนเปาหมายสําคัญท่ีสถานศึกษาจะตองใหความสําคัญโดยสงเสริม สนับสนุนและนําเอาแหลงการเรียนรูที่มีอยูมาใชใหเกิดประโยชนกับตัวผูเรียน เพ่ือสรางจิตสํานึกและคานิยมความเปนประชาธิปไตย ประหยัด อดทน รักและภูมิใจในความเปนไทย ตลอดจนการสรางความสัมพันธระหวางชุมชนกับสถานศึกษา ซึ่งแหลงเรียนรูที่มีอยูในจังหวัดฉะเชิงเทรา นี้ผูบริหารสถานศึกษา ครู และนักเรียนสามารถศึกษาสถานที่สําคัญจากสภาพจริงที่ปรากฏ จะทําใหผูเรียนไดรับความรูจากการพบเห็นไดสัมผัส และลงมือปฏิบัติจริง แทนการไดรับความรูจากการจินตนาการของผูเรียนเอง ผูศึกษาจึงหวังเปนอยางยิ่งวา คูมือน้ีจะเปนประโยชนในการเสริมสรางการจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษาท่ีนําสถานที่สําคัญในจังหวัดฉะเชิงเทรา ใหผูเรียนมีโอกาส ไดศึกษาความเปนจริง ตามความตองการของผูเรียนเอง

Page 2: บทที่ 4 แก้ไข - -CUSTOMER VALUE-thesis.rru.ac.th/files/pdf/357_2010_12_16_041202.pdfมหาว ทยาล ยราชภ ฏราชนคร นทร 49

มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

49

คูมือแหลงเรียนรูสถานที่สําคัญ ในจังหวัดฉะเชิงเทรา

ของ นายวิเชียร ซัวตังไล

โรงเรียนวัดดอนทราย (ธรรมภาณีราษฎรรังสรรค) สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1

Page 3: บทที่ 4 แก้ไข - -CUSTOMER VALUE-thesis.rru.ac.th/files/pdf/357_2010_12_16_041202.pdfมหาว ทยาล ยราชภ ฏราชนคร นทร 49

มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

50

คํานํา การจัดการเรียนรูตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษาในปจจุบัน เนนกระบวนการเรียนรู ท่ีปลูกจิตสํานึกในความถูกตองเกี่ยวกับการเมือง การปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริยเปนประมุขรูจักรักษาและสงเสริมสิทธิ หนาที่ เสรีภาพ ความเคารพกฎหมาย ความเสมอภาค และศักดิ์ศรีความเปนมนุษย มีความภาคภูมิใจในความเปนไทยรูจักรักษาผลประโยชนสวนรวมและของประเทศชาติรวมทั้งสงเสริมศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรมของชาติ ตลอดจนอนุรักษทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอม มีความสามารถในการประกอบอาชีพ รูจักพ่ึงตนเองมีความริเริ่มสรางสรรคใฝรู และเรียนรูดวยตนเองอยางตอเนื่อง การจัดทําคูมือแหลงเรียนรูสถานที่สําคัญในจังหวัดฉะเชิงเทรา เลมนี้ขึ้นเพื่อประโยชนกับผูบริหารสถานศึกษา ครู อาจารย และนักเรียนใชเปนแนวทางในการศึกษาขอมูลแหลงเรียนรูไปใชในการจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษารายละเอียดของคูมือเลมนี้จะชวยในการจัดกิจกรรมการเรียน

การสอนจากสถานการณจริงหรือประสบการณตรงของนักเรียนมีประสิทธิภาพมากขึ้นซ่ึงเนื้อหาของ

คูมือเลมนี้มีรายละเอียดของแหลงเรียนรูเกี่ยวกับสถานที่สําคัญสอดคลองกับการศึกษาขั้นพื้นฐานและ

หลักสูตรสถานศึกษา

Page 4: บทที่ 4 แก้ไข - -CUSTOMER VALUE-thesis.rru.ac.th/files/pdf/357_2010_12_16_041202.pdfมหาว ทยาล ยราชภ ฏราชนคร นทร 49

มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

51

สารบัญ

เรื่อง หนา คําแนะนําการใชคูมือแหลงเรียนรูสถานทีส่ําคัญในจังหวัดฉะเชิงเทรา............................ 54 วัตถุประสงคของคูมือ...................................................................................................... 55 ประโยชนของแหลงเรียนรูสถานที่สําคัญในจังหวัดฉะเชงิเทรา...................................... 55 แหลงเรียนรูสถานที่สําคัญในจังหวัดฉะเชงิเทรา............................................................. 56

วัดโสธรวรารามวรวิหาร.................................................................................... 57 วัดปตุลาธริาชรังสฤษฎิ์....................................................................................... 67 วัดพยัคฆอินทาราม (วัดเจดยี)............................................................................ 72

วัดสัมปทวนนอก............................................................................................... 74 วัดสายชล ณ รังสี............................................................................................. 75 วัดเทพนิมิต........................................................................................................ 77 วัดจนีประชาสโมสร........................................................................................... 78 เจาแมกวนอิมลอยน้ํา.......................................................................................... 79 วัดโพธิ์บางคลา................................................................................................... 80 วัดเมืองกาย......................................................................................................... 81 วัดสุคันธศีลาราม (วัดหอมศีล)........................................................................... 85 ศาลเจาพอหลกัเมือง........................................................................................... 96 กําแพงเมืองเกาและปนใหญโบราณ................................................................... 97 ปนใหญโบราณบนกําแพงเมือง......................................................................... 99 ศาลากลางจังหวัดหลังเกา หรือศาลาวาการมณฑลปราจีนบรุี............................. 103 ศาลจังหวดัหลงัเกา (อาคารที่ทําการพุทธสมาคมในปจบุัน).............................. 105 พระบรมราชานุสาวรยีพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลาเจาอยูหัว....................... 107 สวนสมเด็จพระศรนีครนิทรฉะเชิงเทรา.............................................................. 108

อนุสาวรยีพระยาศรสีุนทรโวหาร (นอยอาจารยางกูร)........................................ 109 อนุสาวรยีพระเจาตากสินมหาราช......................................................................... 110 อนุสาวรยีพระบาทสมเด็จพระนั่งเกลาเจาอยูหัว.................................................. 112 อนุสาวรยีกํานันกระจาง นพเกตุ.......................................................................... 113

Page 5: บทที่ 4 แก้ไข - -CUSTOMER VALUE-thesis.rru.ac.th/files/pdf/357_2010_12_16_041202.pdfมหาว ทยาล ยราชภ ฏราชนคร นทร 49

มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

52

สารบัญ (ตอ) เรื่อง หนา

เขาหินซอน........................................................................................................... 115 ศูนยศึกษาการพัฒนาเขาหินซอน........................................................................... 116 สถานรีถไฟฉะเชิงเทรา......................................................................................... 117 อาคารไมสัก 100 ป............................................................................................. 121

Page 6: บทที่ 4 แก้ไข - -CUSTOMER VALUE-thesis.rru.ac.th/files/pdf/357_2010_12_16_041202.pdfมหาว ทยาล ยราชภ ฏราชนคร นทร 49

มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

53

คําแนะนําการใชคูมือแหลงเรียนรูสถานที่สําคัญ ในจังหวัดฉะเชิงเทรา

เพื่อใหการใชคูมือเลมนี้มีประสิทธภิาพสูงสุด จงึใหผูมีหนาทีเ่กีย่วของกับการจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษาปฏิบัติดังนี ้ 1. ผูบริหารสถานศึกษา 1.1 ศึกษาขอมูลในคูมือแหลงเรยีนรูสถานที่สําคัญในจังหวดัฉะเชงิเทราเพื่อนําไปใชในการวางแผนพัฒนา ปรบัปรุงการศึกษาในสถานศกึษา 1.2 วางแผนการนําขอมลูในคูมือไปใชในการแบงงาน และมอบหมายหนาที่ การจดัการศึกษาใหสอดคลองกับหลักสูตรสถานศึกษา 1.3 จัดอบรมเกีย่วกับการนําแหลงเรยีนรูจากคูมอืไปใชจัดกิจกรรมการเรียนการสอนใหครผููสอนและผูเรยีน เพือ่ใหมีความรูความเขาใจตรงกัน 1.4 ประเมินผลผูเกี่ยวของกับการจัดการศึกษา และครูผูสอนในการใชคูมือแหลงเรียนรูสถานที่สําคัญในจังหวัดฉะเชิงเทรา 2. ครู นักเรียนและผูมีหนาที่จัดการเรียนการสอนในสถานศึกษา สามารถดําเนินการตามขั้นตอน ดังนี้ 2.1 ศึกษาเนื้อหาขอมูลในคูมือแหลงเรียนรูสถานที่สําคัญในจังหวัดฉะเชิงเทราเพื่อใหมีความรู ความเขาใจเกี่ยวกับแหลงเรียนรูสถานที่สําคัญในจังหวัดฉะเชิงเทราไดถูกตอง 2.2 วางแผนจัดการศึกษาแหลงเรียนรูและนํานกัเรยีนออกไปศึกษาจากสภาพจริง 2.3 วิเคราะหเปรียบเทียบการศึกษาจากแหลงเรยีนรูจริงกับการศึกษาภายในสถานศึกษา 2.4 ประเมินผลการศึกษา 2.5 ประเมินผลการใชคูมือ แหลงเรยีนรูสถานที่สําคัญในจังหวัดฉะเชิงเทรา

Page 7: บทที่ 4 แก้ไข - -CUSTOMER VALUE-thesis.rru.ac.th/files/pdf/357_2010_12_16_041202.pdfมหาว ทยาล ยราชภ ฏราชนคร นทร 49

มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

54

วัตถุประสงคของคูมือ ในการจัดทําคูมือแหลงเรียนรูสถานที่สําคัญในจังหวัดฉะเชิงเทรา มีวัตถุประสงคที่สําคัญ ดังนี้ 1. เพื่อใหผูบริหารสถานศึกษาใชเปนแนวทางในการพัฒนาระบบการศึกษาและการสรางสัมพันธภาพที่ดีระหวางชุมชนและสถานศึกษา 2. เพื่อใหครูผูสอนและผูเกี่ยวของกบัการจัดการศึกษานําขอมูลที่มีอยูในคูมือไปจัดกิจกรรมการเรียนการสอนใหสอดคลองกับความตองการของผูเรียนและชุมชน 3. เพ่ือเปนการสงเสริมจัดการศึกษาใหสอดคลองกับการปฏิรูปการศึกษาในปจจุบัน ประโยชนของแหลงเรียนรูสถานที่สาํคัญในจังหวัดฉะเชิงเทรา คูมือแหลงเรียนรูสถานที่สําคัญในจังหวัดฉะเชิงเทรา จะเปนประโยชนตอบุคคลที่เกี่ยวของกับการจัดการศึกษา ดังนี้ 1. ผูบริหารสถานศึกษาไดนําขอมูลแหลงเรียนรูสถานที่สําคัญในจังหวัดฉะเชิงเทราจากคูมือไปพัฒนาจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษา และไดรับความรวมมือระหวางชุมชนกับสถานศึกษา 2. ครูผูมีหนาที่จัดการเรียนการสอนสามารถนําขอมูลในคูมือไปกําหนดการเรียนการสอนของครูผูสอนไดสอดคลองกับหลักสูตรสถานศึกษา 3. ครูผูสอนไดนําขอมูลที่มีอยูในคูมือไปจัดกิจกรรมการเรียนการสอนใหสอดคลองกับมาตรฐานและหลักสูตร 4. ผูเรียนสามารถศึกษาขอมูลท่ีมีอยูในคูมือกอนออกไปศึกษาสภาพจริง ดังนั้น ขอมูลจากคูมือแหลงเรียนรูสถานที่สําคัญในจังหวัดฉะเชิงเทรา จะสามารถพัฒนาการศึกษาใหสอดคลองกับการปฏิรูปการศึกษาในปจจุบัน จะสงผลใหผูเรียนไดศึกษาคนควาพบเห็นสัมผัส จนเกิดจิตสํานึกรักทองถิ่นและภูมิใจในความเปนไทย

Page 8: บทที่ 4 แก้ไข - -CUSTOMER VALUE-thesis.rru.ac.th/files/pdf/357_2010_12_16_041202.pdfมหาว ทยาล ยราชภ ฏราชนคร นทร 49

มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

55

แหลงเรียนรูสถานที่สําคัญ ในจังหวัดฉะเชิงเทรา

แมน้ําบางปะกงเปรียบเสมือน “แมน้ําแหงมังกร” อันหมายถึงเศรษฐกิจ ซึ่งแบงออกเปน 3 เขต ไดแก เขตเศรษฐกิจที่ 1 เปรียบเสมือนหัวมังกร นับตั้งแตวัดโสธรถึงอําเภอบางปะกง เขตเศรษฐกิจท่ี 2 เปรียบเสมือนลําตัวมังกร นับตั้งแตวัดโสธรขึ ้น ไปถ ึง ว ัดส ัมปทวน เ ขต เ ศรษฐก ิจที ่ 3 เปรียบเสมือนหางมังกร นับตั้งแตวัดสัมปทวนขึ้นไปถึงบางคลา

ภาพ 4 แมนํ้าบางปะกง

ฉะเชิงเทราเปนเมืองใกลทะเล มีลําน้ําบางปะกงอันคดเคี้ยว สองฟากฝงเต็มไปดวยปาจากและ ตนลําพู เขียวชอุมไปดวยพืชพันธุไมชายเลน เอนลูไหวไปมาเสียดสีกันเวลาลมพัด ฉะเชิงเทราเปน เมืองใกลทะเล มีชายฝงติดทะเลยาวประมาณ 12 กม. ท่ีอําเภอบางปะกง เพราะมีลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนอืและตะวันออกเฉียงใต จังหวัดฉะเชิงเทรา จึงชุมชื้นดวยฝนที่ตกตองตามฤดูกาล อันนําพืชพรรณธัญญาหารใหผลิดอกออกผลสะพรั่งตลอดป

ภาพ 5 ความอดุมสมบูรณของแมน้ําบางปะกง

Page 9: บทที่ 4 แก้ไข - -CUSTOMER VALUE-thesis.rru.ac.th/files/pdf/357_2010_12_16_041202.pdfมหาว ทยาล ยราชภ ฏราชนคร นทร 49

มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

56

วัดโสธรวรารามวรวิหาร

ภาพ 6 พระอุโบสถวัดโสธรหลังเกา

สถานที่ตั้ง ตั้งอยูท่ีตําบลหนาเมือง อําเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทราประวัติความเปนมา วัดโสธรเปนวัดเกาแก ไดรับพระราชทานขึ้นเปนอารามหลวง ช้ันตรีชนิดวรวิหาร มีนามวา “วัดโสธร วรารามวรวิหาร” เม่ือวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2501 ช่ือวัด กลาวกันวาวัดนี้เคยเรียกกันวา “วัดหงส” เพราะที่วัดมีเสาหงส ตอมาหงสซ่ึงอยูบนยอดเสาหัก ไดมีผูนําธงผาขึ้นแขวนแทนหงส

ช่ือวัดจึงเปลี่ยนเปน “วัดเสาธง” ตอมาเสาธงถูกลมพัดหักเปน 2 ทอนอีก ชาวบาน ก็พากันเรียกวัดนี้วา “วัดเสาทอน” ตอมาชื่อวัดก็เปลี่ยนเปน “วัดโสทอน” เพราะภาษาไทยใชสระโอ และสระเอาแทนกันได เชน “เอารส” ใช “โอรส” แทน อักขรวิธีในสมัยกอนไมมีกฎเกณฑตายตัว เพราะฉะนั้นคําวา “เสาทอน” จึงอาจจะเปลี่ยนเปน “โสธร” ได

Page 10: บทที่ 4 แก้ไข - -CUSTOMER VALUE-thesis.rru.ac.th/files/pdf/357_2010_12_16_041202.pdfมหาว ทยาล ยราชภ ฏราชนคร นทร 49

มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

57

ภาพ 7 องคหลวงพอพุทธโสธร

ตํานานของหลวงพอพุทธโสธร มีการเลาขานกันวา ในสมัยลานชาง-ลานนา เศรษฐีพี่นอง 3 คนซึ่งอาศัยอยูทางเหนือ มีจิตเลื่อมใสศรัทธาจะสรางพระพุทธรูปเพ่ือเสริมสรางบารมีและเพิ่มพูนผลานิสงส จึงไดเชิญพราหมณมาทําพิธีหลอพระพุทธรูปปางตาง ๆ ตามวันเกิด มีปางสมาธิ ปางสะดุงมาร และปางอุมบาตร แลวทําพิธบีวงสรวงชุมนุมเทวดาตามโหราศาสตร เพื่อทําพิธีปลุกเสกแลวอัญเชิญเขาสูวัด ตอมาไดเกิดยุคเข็ญขึ้น พมายกทัพมาตีไทยหลายครั้ง จนครั้งสุดทายประมาณครั้งที่ 7 ก็ตีแตก ไดเผาบานเผาเมือง ตลอดจนวัดวาอารามตาง ๆ หลวงพอ 3 พี่นอง จึงไดปรึกษากันเห็นวาเปนสถานการณคับขัน จึงไดแสดงอภินิหารลงแมน้ําปง แลวลองทางใตตลอด 7 วัน จนกระทั่งมาถึงแมนํ้าเจาพระยา ตรงที่ปจจุบัน เรียกวา “สามเสน” ไดแสดงอภินิหารลอยใหชาวบานชาวเมืองเห็น ชาวบานนับแสน ๆ คน ไดทาํการฉดุหลวงพอท้ัง 3 องค ถึง 3 วัน 3 คืน ก็ฉุดไมขึ้น ตําบลนั้นจึงไดช่ือวา “สามแสน” ซึ่งเพี้ยนเปน “สามเสน” นั่นเอง หลวงพอทั้งสามองค ลอยเขาคลองพระโขนง ลัดเลาะจนไปถึงแมนํ้าบางปะกง ผานคลองซ่ึงปจจุบันเรียก “คลองชักพระ” ไดแสดงอภินิหารลอยน้ําขึ้นมาใหชาวบานเห็นอีกครั้ง ชาวบานประมาณสามพันคน พยายามชักพระขึ้นจากน้ําก็ไมสําเร็จ วัดที่อยูใกลคลองนี้จึงไดนามวา “วัดสามพระทวน” ซึ่งตอมาเพี้ยนเปน “วัดสัมปทวน”

Page 11: บทที่ 4 แก้ไข - -CUSTOMER VALUE-thesis.rru.ac.th/files/pdf/357_2010_12_16_041202.pdfมหาว ทยาล ยราชภ ฏราชนคร นทร 49

มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

58

ภาพ 8 ตํานานหลวงพอโสธร

หลวงพอไดลอยตอไปถึงคุงนํ้าใตวัดโสธร แลวแสดงอภินิหารใหชาวบานเห็นอีก ชาวบานไดชวยกันฉุดก็ไมสําเร็จ จึงเรียกหมูบานและคลองนั้นวา “บางพระ” ตอจากนั้น ก็ลอยทวนหนาอยูตรงหัวเลี้ยวตรงกองพันทหารชางที่ 2 สถานที่ลอยวนอยูนั้นจึงเรยีกวา “แหลมหัววน” และคลองก็ไดช่ือวา “คลองสองพี่นอง” มาจนทุกวันน้ี

ตอจากนัน้ พระพุทธรูปองคพี่ใหญไดแสดงอภินิหารลอยไปถึงแมน้ําแมกลอง จังหวัดสมุทรสงคราม ชาวประมงไดชวยกันอาราธนาทานขึน้ประดิษฐานไว ณ วัดบานแหลม มีช่ือเรียกวา “หลวงพอบานแหลม” อีกองคหนึ่งไดแสดงอภินิหารลองเขาไปในคลองบางพลี ชาวบานไดอาราธนาขึ้นประดิษฐานที่วัดบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ มีช่ือเรียกวา “หลวงพอโตบางพล”ี

Page 12: บทที่ 4 แก้ไข - -CUSTOMER VALUE-thesis.rru.ac.th/files/pdf/357_2010_12_16_041202.pdfมหาว ทยาล ยราชภ ฏราชนคร นทร 49

มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

59

สวนพระพุทธรูปองคสุดทาย หรือ “หลวงพอโสธร” นั้น ไดแสดงอภินิหารลอยมาขึ้นที่หนา วัดหงส ชาวบานไดพยายามฉุดขึ้นฝงหลายครั้งหลายหน แตก็ไมสามารถอัญเชิญหลวงพอข้ึนจากน้ําได จนกระทั่งมีอาจารยผูมีความรูทางไสยศาสตรผูหนึ่ง ไดตั้งศาลเพียงตาบวงสรวง เอาสายสิญจนคลองกับพระหัตถพระพุทธรูป และเชิญชวนประชาชนท้ังชาวไทย-ชาวจีนพรอมใจกันจับสายสิญจน จึงสามารถอาราธนาขึ้นฝงไดโดยงายโดยใชคนไมกี่คน และนํามาประดิษฐานที่วิหารวัดหงสไดเปนผลสําเร็จตามความประสงค เมื่อวันขึ้น 5 ค่ํา เดือน 5ซึ่งสันนิษฐานวานาจะอยูในป พ.ศ. 2313 อันเปนสมัยตน กรุงธนบุรีนั่นเอง

พระพุทธโสธรเปนพระพุทธรูปปฏิมากรปางสมาธิ ประทับอยูเหนือรัตนบัลลังก 4 ช้ัน ซึ่งปูลาด ดวยผาทิพย อันมีความหมายถึงการอยูสูงสุด

ภาพ 9 ประชาชนปดทองหลวงพอโสธร

Page 13: บทที่ 4 แก้ไข - -CUSTOMER VALUE-thesis.rru.ac.th/files/pdf/357_2010_12_16_041202.pdfมหาว ทยาล ยราชภ ฏราชนคร นทร 49

มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

60

พระอุโบสถวัดโสธรวรารามวรวิหารหลังใหม

ภาพ 10 พระอุโบสถวัดโสธรหลังใหม

พระอุโบสถหลังใหมมีความเปนมาที่ควรคาแกการกลาวถึงและจดจํา อาจถือไดวาเปนหนึ่งในพระราชดําริของพระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ผูทรงมีพระมหากรุณาธิคุณยิ่งลนแกปวงชนชาวไทย วันท่ี 3 มิถุนายน พ.ศ. 2509 พระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัว พรอมดวยสมเด็จพระนางเจาสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และพระเจาลูกเธอเจาฟาอุบลรัตนราชกัญญา ไดเสดจ็มายังวัดโสธรวรารามวรวิหารเพื่อทรงประกอบพิธีวิสาขบูชาตามขัติยราชประเพณี เมื่อเสร็จภารกิจแลว ไดเสด็จออกนอกพระอุโบสถและมีพระราชดํารัสวา “ตั้งใจมานมัสการหลวงพอพุทธโสธรนานแลว ทําไมสรางพระอุโบสถแบบนี้ไมสมเกียรติหลวงพอโสธร ใหปรับปรุงแกไขพระอุโบสถเสียใหม” และมีพระราชดํารัสถึงเรื่องโรงเรียนและแหลงเสื่อมโทรมหนาพระอุโบสถ ใหแกไขใหสมเกียรติหลวงพอพุทธโสธร ในป พ.ศ. 2512 พระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัว เสด็จพระราชดําเนินทรงเปดอาคารเรียนโรงเรียนพุทธโสธร ทรงมีพระราชดํารัสเกี่ยวกับพระอุโบสถกับเจาอาวาสวัดโสธรวรารามวรวิหารวา “โบสถนี้เล็กคับแคบไมสมศักดิ์ศรี ทําไมถึงยังไมทําอีก” ในป 2528 พระบาทสมเด็พพระเจาอยูหัวไดเสด็จพระราชดําเนินและมีพระราชดํารัสเกี่ยวกับพระอุโบสถหลังใหมวา “ฉันตองการสรางโบสถหลังนี้เปนสิ่งมหัศจรรยประจํารัชกาลฉันใหอยูไดรอยป พันป ไมมีใครเหมือน พระอุโบสถหลังนี้ใหญโตมาก ถาสรางเสร็จคงจะดีมากและเปนจุดเดน” นับเปนพระมหากรุณาธิคุณอยางสูงที่พระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัวทรงสนพระทัยในการกอสรางพระอุโบสถหลังใหมโดยตลอด

Page 14: บทที่ 4 แก้ไข - -CUSTOMER VALUE-thesis.rru.ac.th/files/pdf/357_2010_12_16_041202.pdfมหาว ทยาล ยราชภ ฏราชนคร นทร 49

มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

61

หลังจากนั้น ทางวัดไดดําเนินการปรับปรุงแกไขบริเวณหนาวัดใหเปนระเบียบเรียบรอย และในป พ.ศ. 2530 ไดมอบหมายใหนายประเวศ ลิมปรังษี เปนสถานิกผูออกแบบพระอุโบสถหลังใหมหลังจากไดรางแบบแปลนแผนผังงานกอสรางพระอุโบสถเสร็จแลว ก็ไดสงแบบแปลนแผนผังของพระอุโบสถหลังใหมใหสํานักราชเลขาธิการพระบรมมหาราชวังเพ่ือทูลเกลาทูลกระหมอม ถวายทอดพระเนตร พระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัวไดมีพระราชกระแสวา เรียบรอยดีแลว ไมทรงมีขอทักทวงแกไข วันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2531 พระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัว พรอมดวยสมเด็จพระเทพ รัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี ไดเสด็จพระราชดําเนินมาทรงวางศิลาฤกษกอสรางพระอุโบสถวัดโสธรวรารามวรวิหาร สมเดจ็พระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี ทรงรบัเปนองคประธานในการกอสรางพระอุโบสถตามหนังสือสํานักราชเลขาธกิาร ที่ รล 0007/1416 ลงวนัท่ี 19 กุมภาพนัธ พ.ศ. 2533 นับตั้งแตวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2535 ซึ่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี ไดเสร็จพระราชดําเนินทรงประกอบพิธีบวงสรวงในการรื้อถอนพระอุโบสถหลงัเดิมแลว การดําเนินงานรื้อถอนพระอุโบสถหลังเดิมและการกอสรางพระอุโบสถหลังใหมจึงไดเริ่มดําเนินการตั้งแตเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2535 เปนตนมา และดวยเปนสถาปตยกรรมขนาดใหญ มีรายละเอียดประณีตที่ตองดําเนินการมาก จึงไดกําหนดใหงานกอสรางแลวเสร็จเปน 2 ชวงคือ งานกอสรางเพื่อประกอบพิธียกฉัตรยอดมณฑปทองคํา เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัว ที่ไดทรงครองราชยครบ 50 ป กําหนดใหแลวเสร็จภายในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2538 งานตกแตงสวนที่เหลือและงานอื่น ๆ กําหนดใหแลวเสร็จสมบูรณภายในวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2541 ดวยงานกอสรางพระอุโบสถ เปนงานสถาปตยกรรมที่มีรายละเอียดประณีตมาก ซึ่งถาหากรอการจัดทําแบบแปลนกอสรางใหสมบูรณเสียกอนแลวจึงคอยจัดหาผูรับจางนั้น จะตองใชระยะเวลานานฉะนั้น ในระหวางที่รอการจัดทําแบบแปลนกอสรางพระอุโบสถทั้งหลังวัดโสธรวรารามวรวิหารไดพิจารณาวาจางงานท่ีสามารถทําไดกอน และดําเนินงานในสวนแรกนี้ตั้งแตเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2535จนแลวเสร็จในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2537 งานกอสรางดังกลาวประกอบดวย งานรื้อถอนพระอโุบสถหลงัเดิม งานกอสรางเสาเข็มเจาะคอนกรีตเสริมเหล็กและฐานรากพระอโุบสถ งานกอสรางผนังปองกันการสั่นสะเทือน งานเสริมฐานชุกชีเพ่ือปองกนัการทรดุตัวขององคพระ งานกอสรางพืน้พระอโุบสถชั้นลาง หลังจากที่จัดทําแบบแปลนกอสรางแลวเสร็จ วัดโสธรวรารามวรวิหาร ไดดําเนินการจัดหาผูรับจาง หางหุนสวนจํากัด ป.ว.ช.ลิขิตการสรางไดเสนอราคารวมเปนเงินทั้งสิ้น 1,791,597,186 บาท

Page 15: บทที่ 4 แก้ไข - -CUSTOMER VALUE-thesis.rru.ac.th/files/pdf/357_2010_12_16_041202.pdfมหาว ทยาล ยราชภ ฏราชนคร นทร 49

มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

62

แตเนื่องจากมีรายละเอียดที่ตองพิจารณามาก จึงไดคัดเลือกจางเหมาเฉพาะงานที่ตองดําเนินการกอน จํานวน 17 รายการ รวมเปนเงิน 465,400,000 บาท ซึ่งเปนงานโครงสรางทั้งหมดและงานตกแตงบางสวนที่สามารถทําไดในชวงแรก นอกจากนี้ทางวัดโสธรวรารามวรวิหารไดตกลงวาจางหางหุนสวนจํากัด ป.ว.ช. ลิขิตการสรางใหดําเนินการกอสรางฉัตรยอดแหลมมณฑปทองคํา เปนเงินทั้งส้ิน 44,000,000 บาท เพ่ือใชประกอบพิธียกฉัตรมณฑปทองคําในป พ.ศ. 2539 วันท่ี 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2533 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี ไดเสด็จพระราชดําเนินมาเยี่ยมและทรงเปดสํานักงานออกแบบ เขียนแบบกอสรางพระอุโบสถ ในโรงเรียนวัดโสธร วันท่ี 5 มิถุนายน พ.ศ. 2535 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี ไดเสด็จพระราชดําเนินทรงประกอบพิธีบวงสรวงในการรื้อถอนพระอุโบสถและพระวิหารวัดโสธรวรารามวรวิหารหลังเดิม

งานรื้อถอนพระอุโบสถหลังเดิมและงานกอสรางหลังใหมจึงไดเริ่มดําเนินการตั้งแตบัดนั้น เปนตนมา วันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2537 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี ไดเสด็จพระราชดําเนินเปนการสวนพระองค เพื่อทรงติดตามความกาวหนาการดําเนินงานกอสรางพระอุโบสถ ในการออกแบบกอสรางพระอุโบสถหลังใหมน้ี เพื่อใหเปนไปตามพระราชดําริ ไดมีการออกแบบกอสรางใหมั่นคงถาวรคูบานคูเมืองและเนื่องจากไมมีการเคลื่อนยายองคหลวงพอพุทธโสธรแตประการใด

ฉะนั้นการออกแบบและการวางแผนกอสรางพระอุโบสถหลังใหมรวมถึงการรื้อถอนพระอโุบสถหลงัเดมิ

จึงมีการพิจารณาดําเนินการอยางรอบคอบและระมัดระวัง มิใหเกิดความเสียหายตอองคพระได งานออกแบบกอสรางมผีูรับผิดชอบดังนี ้ งานดานสถาปตยกรรม โดย นายประเวศ ลิมปรังษ ี งานดานวิศวกรรมโครงสราง โดย สํานักงานออกแบบ นายอรณุ ชัยเสร ี งานดานวิศวกรรมไฟฟา โดย กรมโยธาธิการ งานดานระบบระบายน้ํา โดย กรมโยธาธิการ งานกอสรางพระอุโบสถหลังใหมน้ีดําเนินการโดยวัดโสธรวรารามวรวิหารและจังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งมีนายฐิระวัตร กุลละวณิชย ผูวาราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา เปนผูอํานวยการและบริหารงานกอสราง งบประมาณที่ใชในการกอสรางพระอุโบสถหลังใหมนี้ใชงบประมาณที่ทางวัดโสธรวรารามวรวิหาร ไดรับเงินบริจาคจากประชาชนที่ไดเดินทางไปนมัสการองคหลวงพอพุทธโสธร แตเนื่องจากงานกอสรางพระอุโบสถหลังใหมน้ี ตองใชงบประมาณสูงมาก คือประมาณ 1,900,000,000 บาท จึงตองอาศัยผูมีจิตศรัทธาทั่วประเทศรวมบริจาคอีกเปนจํานวนมาก

Page 16: บทที่ 4 แก้ไข - -CUSTOMER VALUE-thesis.rru.ac.th/files/pdf/357_2010_12_16_041202.pdfมหาว ทยาล ยราชภ ฏราชนคร นทร 49

มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

63

รูปลกัษณของพระอุโบสถหลังใหม พระอุโบสถหลังใหมเปนสถาปตยกรรมแบบรัตนโกสินทรประยุกตอาคารทรงไทย มีความกวาง 44.50 เมตร และยาว 123.50 เมตร ลักษณะเปนอาคารหลังคาประกอบเครื่องยอด ชนิดยอดทรงมณฑปแบบไทยตอเชื่อมดวยวิหารทั้งดานหนาและดานหลัง ดานขางตอเชื่อมดวยอาคารรูปทรงอยางเดียวกันกับวิหารเปนอาคารมุขเด็จ ซ่ึงเมื่อประกอบกันเขาแลว จะเปนอาคารมีหลังคาแบบจัตุรมุข อยางอาคารปราสาทแบบไทย กําแพงของพระอุโบสถหลังใหมน้ีปูดวยหินออนจากเมืองคารรารา ประเทศอิตาลี เม่ือสรางเสร็จสมบูรณแลว จะเปนพระอุโบสถที่มีขนาดใหญและงดงามที่สุดในโลก พ้ืนที่ใชสอยหลักของพระอุโบสถแบงออกเปน 4 สวน คือ สวนกลาง คือ อาคารพระอุโบสถ มีพื้นท่ีใชสอยได 5 ชั้น รูปอาคารชั้นลางสูง 2 ชั้น เปนรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส กวางดานละประมาณ 29 เมตร รวมพ้ืนท่ีช้ันลางประมาณ 1,370 ตารางเมตร ตั้งแตช้ัน 3 ขึ้นไปเปนอาคารทรงมณฑปแปดเหลี่ยมปาดมุม ความสูงจากพื้นชั้นลางของพระอุโบสถจากตรงหนาฐานชุกชีพระประธานหลวงพอพุทธโสธรถึงฝาเพดานทรงโดมประมาณ 29 เมตร สวนหนา คือ วิหารพระไตรปฎกหรือวิหารพระธรรม เชื่อมตอกับอาคารสวนกลางของพระอุโบสถทางดานทิศตะวันออก มีความกวางประมาณ 20 เมตร ยาวประมาณ 52.50 เมตร ความสูงจากพื้นถึงสุดอกไกสันหลังคาประมาณ 24 เมตร รวมพื้นที่ทั้งสิ้นประมาณ 1,050 ตารางเมตร

Page 17: บทที่ 4 แก้ไข - -CUSTOMER VALUE-thesis.rru.ac.th/files/pdf/357_2010_12_16_041202.pdfมหาว ทยาล ยราชภ ฏราชนคร นทร 49

มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

64

ภาพ 11 สวนหนาอุโบสถ

สวนหลัง คือ อาคารวิหารพระเดิม กอสรางแทนวิหารหลังเดิม เชื่อมตอกับอาคารสวนกลางของพระอุโบสถทางดานทิศตะวันตก มีความกวางประมาณ 20 เมตร ยาวประมาณ 45 เมตร ความสูงจากพื้นถึงสุดอกไกสันหลังคาประมาณ 24 เมตร รวมพื้นที่ทั้งส้ินประมาณ 900 ตารางเมตร

ภาพ 12 สวนหลังอุโบสถ

Page 18: บทที่ 4 แก้ไข - -CUSTOMER VALUE-thesis.rru.ac.th/files/pdf/357_2010_12_16_041202.pdfมหาว ทยาล ยราชภ ฏราชนคร นทร 49

มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

65

สวนขาง คือ อาคารมุขเด็จ เชื่อมตอกับดานขางของพระอุโบสถทางทิศเหนือ และเชื่อมตอกับพระอุโบสถทางทิศใต เปนอาคาร 2 ชั้น มีความกวางประมาณ 20 เมตร ยาวประมาณ 9 เมตร ความสูงจากพื้นถึงสุดอกไกสันหลังคาประมาณ 26 เมตร รวมพื้นที่ของอาคารมุขเด็จดานขางของ พระอุโบสถทั้งสองดานประมาณ 350 ตารางเมตร

ภาพ 13 สวนขางอุโบสถ

ภาพ 14 ฉัตรทองคํา

Page 19: บทที่ 4 แก้ไข - -CUSTOMER VALUE-thesis.rru.ac.th/files/pdf/357_2010_12_16_041202.pdfมหาว ทยาล ยราชภ ฏราชนคร นทร 49

มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

66

บนยอดมณฑปของพระอุโบสถหลังใหม เหนือเม็ดน้ําคาง ครอบดวยฉัตรทองคํา คือ ฉัตร 5 ช้ัน ความสูงของตัวฉัตรประมาณ 4.90 เมตร เสนผานศูนยกลางของฉัตรชั้นลางประมาณ 1.50 เมตร ช้ันบนสุดประมาณ 0.30 เมตร โครงสรางเปนโลหะสเตนเลส ยอดฉัตรและระบายฉัตรทําดวยแผนทองคําแท ฉลุเปนลายรวมน้ําหนักทองคําถึง 77 กิโลกรัม พระบาทสมเดจ็พระเจาอยูหัว เสด็จพระราชดําเนินประกอบพระราชพธิียกยอดฉัตรทองคํานี้ เมื่อวันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2539 ระหวางเวลา 16.20-17.45 น. เพื่อถวายแดองคหลวงพอพระพุทธโสธร

วัดปตุลาธิราชรังสฤษฏิ ์วัดปตุลาธิราชรังสฤษฎิ์ (วัดเมือง) เดิมเปนวัดราษฎรมหานิกาย ตั้งอยูตําบลหนาเมือง อําเภอ

เมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา เลขทะเบียนวัดที่ 156 กรมหลวงรักษรณเรศร (ตนราชสกุล “พึ่งบุญ ณ อยุธยา”) เปนผูสรางวัดเมื่อ พ.ศ. 2377 โดยทานไดมอบที่ดินจํานวน 56 ไร 2 งาน ใหเปนท่ีดินของวัด มีเนื้อท่ี 37 ไร โฉนดที่ดินเลขที่ 6290 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกลาเจาอยูหัว โปรดเกลาฯ ใหกรมหลวงรักษรณเรศร (พระองคเจาไกรสร ชาวฉะเชิงเทราเรียกวา “หมอมเกสร”) ซึ่งเปนพระราชโอรสองคท่ี 33 ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟาจุฬาโลก รชักาลที่ 1 และลําดับที่ 2 ในเจาจอมมารดานอยแกว

ภาพ 15 หนาบันพระอโุบสถ

Page 20: บทที่ 4 แก้ไข - -CUSTOMER VALUE-thesis.rru.ac.th/files/pdf/357_2010_12_16_041202.pdfมหาว ทยาล ยราชภ ฏราชนคร นทร 49

มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

67

ประสูติเมื่อวันจันทรขึ้น 2 ค่ําเดือนยี่ ปกุน จุลศักราช 1153 ตรงกับวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2334 เปนแมกอง ยกกําลังไปกอสรางกําแพงเมือง และปอมปราการเมืองฉะเชิงเทรา โดย พระเจาลูกยาเธอพระองคเจาอภัยทัต หรือพระองคเสือเปนผูควบคุมงาน ในขณะที่กอสรางปอมเมืองและปอมปราการดังกลาวอยูนั้น พระองคไดทรงสรางวัดแหงนี้ขึ้นมาพรอมกันเพื่อทูลเกลาฯ ถวายแดพระบาทสมเด็จพระน่ังเกลาเจาอยูหัว รัชกาลที่ 3 วัดนี้ไดรับพระราชทานวิสุงคามสีมา กวาง 17 เมตร ยาว 29.50 เมตร เนื่องจากวาสรางวัดขึ้นพรอมกับปอมและกําแพงเมืองซึ่งถือวาเปนตัวเมือง ชาวบานจึงเรียกวา “วัดเมอืง” ตอมาในป 2551 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลาเจาอยูหัว รัชกาลที่ 5 ไดเสด็จประพาสจังหวัดฉะเชิงเทรา จึงพระราชทานนามวัดใหใหมวา “วัดปตุลาธิราชรังสฤษฎิ์” ซึ่งแปล วาวัดที่อาของพระเจาแผนดินทรงสราง (ปตุลา แปลวา ลุง หรืออา ในที่นี้แปลวาอา ซึ่งหมายถึงกรมหลวงรักษรณเรศร ซึ่งเปนอาของรชักาลท่ี 3)กรมหลวงรักษรณเรศร สิ้นพระชนมในรัชกาลที่ 3 เม่ือวันพุธ แรม 3 ค่ํา เดือนอาย ปวอกจุลศักราช 1210 ตรงกับวันท่ี 13 ธันวาคม พ.ศ. 2391 พระชันษา 58 ปโบราณสถานและโบราณวัตถุที่ปรากฏอยูในบริเวณวัด

Page 21: บทที่ 4 แก้ไข - -CUSTOMER VALUE-thesis.rru.ac.th/files/pdf/357_2010_12_16_041202.pdfมหาว ทยาล ยราชภ ฏราชนคร นทร 49

มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

68

พระอุโบสถ ขนาดกวาง 9 เมตร ยาว 24 เมตร สูง 8 เมตร เปนอุโบสถขนาดกลาง ตัวพระอุโบสถมีระเบยีงหนา-หลัง หลังคา ลดชั้นแยกจากหลังคาตัวพระอุโบสถทําใหเห็น หนาบันซอนสองชั้น ช้ันบนประดับดวยลายดอกเบญจมาศเปนไมประจําหลักสวยงาม

มาก ช้ันลางประดับดวยลายดอกเบญจมาศเหมือนกัน เวนแต เปนลายปูนปน สวนชอฟาใบระกาของเดมิ ผุพังไปแลว ที่เห็นในปจจบุัน เปนปูนปนฝมือหยาบ ภายในพระอโุบสถ มีพระประธานเปนพระปูนปนธรรมดา หนาตักกวางราว 1 วา ฝมือพอใช พระอุโบสถ หันหนาไปทางทิศใต ดานแมน้ําบางปะกง

พระวิหาร ขนาดกวาง 12 เมตร ยาว 26

เมตร เปนวิหารขนาดใหญ ตั้งอยูบนฐานสงูกวาพระอุโบสถประมาณ 50 เซนติเมตร อยูดานหลังขวางกับตวัพระอุโบสถภายในวิหาร มีเสาขนาดใหญกวางยาวดานละ 40 น้ิว ซึ่งคนสองคนเอามือ ตอกัน ยังโอบเสาไมรอบ เสานี้เปน เสาปูน มี 6 ตน มีพระประธานและพระอื่นๆ จํานวน 5 องค เปนพระพุทธรูปสมัยสโุขทัย เนื้อเปน ทองสัมฤทธิ ์ออกมาภายนอกวิหาร จะเห็นตนจันใหญสูงเกือบ เทาหลังคาพระวิหา ร

ภาพ 16 พระอุโบสถและพระวิหาร

Page 22: บทที่ 4 แก้ไข - -CUSTOMER VALUE-thesis.rru.ac.th/files/pdf/357_2010_12_16_041202.pdfมหาว ทยาล ยราชภ ฏราชนคร นทร 49

มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

69

ภายนอกวิหาร จะเห็นตนจันใหญสูงเกือบเทาหลังคาพระวิหาร ลําตนสูงใหญใบดก มีอายุกวา 150 ป อยู 1 ตน สันนิษฐานวาคงจะปลูกขึ้น พรอมๆ กับการสรางวัดปตุลาธริาชรังสฤษฎิ์พระปรางค รอบวิหาร มีกําแพงแกว 3 ดาน ที่มุมกําแพงมีพระปรางค 4 องค รูปทรงของพระปรางคไมใชแบบสุโขทัยและสมัยอยุธยา เปนลักษณะรูปทรงชะลดูธรรมดา เพื่อตกแตงกําแพงใหดูสวยงามยิ่งขึ้นเทาน้ันกําแพงรอบพระอุโบสถและวิหาร สภาพของกําแพงเปนของที่สรางมาแตเดิมโดย มิไดมีการซอมแซม

ภาพ 17 ตนจันหลังอโุบสถ กําแพงแกวของพระอุโบสถและวิหารตอเนื่องกันแตมีระดับตางกัน ดังท่ีกลาวแลวขางตน

วาพระวิหารอยูสูงกวาพระอุโบสถ กําแพงแกวรอบพระวิหารสูงและหนา มุมกําแพงมี พระปรางค สวนกําแพงรอบพระอุโบสถตรงสวนดานหนาโบสถมีวิหารคตเล็กๆ สองขาง ในวิหารคตนี้วางเปลา ไมมีพระพุทธรูปเรียงรายอยางเชนวิหารคตตามวัดใหญๆ ที่เห็นทั่วไปในกรุงเทพมหานคร

พระเจดีย มีเจดียเปนหลักสูงราว 6 -7 เมตร รูปทรงแปลกกวาพระเจดียองคอ่ืนตรงที่ทําเปน ปลองไฉนเรียงขึ้นไป แลวทําตอมระฆังไวขางบน พระเจดียองคนี้สรางขึ้นเพื่อบรรจุอัฐิของพระยาวเิศษฤๅชยั (ชาง) อดีตเจาเมืองฉะเชิงเทรา ลูกหลานของทานไดมากราบไหวเปนประจําทุกๆ ป (อยูในเขตรั้วของวิทยาลัยอาชีวศึกษาฉะเชิงเทรา) สาเหตุที่มีเจดียอยูนอกรั้วของวัดเพราะแตเดิมวัดนี้มีเนื้อท่ีจรดริมแมนํ้าบางปะกง สมัยกรมขุนมรุพงษศิริพัฒน เปนสมุหเทศาภิบาล ไดดําเนินการตัดถนนเพื่อความสะดวกในการคมนาคม ทําใหวัดนี้แบงออกเปน 2 สวน ทําใหเกิด คณะสงฆแบงออกเปน 2 คณะ คือ คณะบนและคณะลาง ตอมาจึงยายไปอยูในเขตกําแพงวัด รวมเปนคณะเดียวกัน และตอมาจึงมีการจัดตั้งวิทยาลัยอาชีวศึกษาฉะเชิงเทราขึ้น พระเจดียองคนี้จึงอยูในเขตดังกลาว

ธรรมาสน วัดมีโบราณวัตถุ ซึ่งมีอายุ 93 ป เปนที่นายินดีและสมควรไดเก็บรักษาใหคงอยูในสภาพเชนนี้ตลอดไป โบราณวัตถุนี้คือธรรมาสน ซึ่งเกิดจากการทําสังเค็ดเพื่อถวายพระราชกุศลอุทิศใหแกพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลาเจาอยูหัว รัชกาลที่ 5 ตามหลักฐานที่ปรากฏดานหลังธรรมาสน มีขอความอยูในตรา จ.ป.ร. และรูปพระเกี้ยว ความวา “ทรงอุทิศในงานพระบรมศพ พ.ศ. 2453” สภาพ ธรรมาสนนี้ยังสมบูรณใชงานไดดีหอระฆัง ในป พ.ศ. 2478 นางปุย อินทราสา และนางสาวแฝง อินทรวสุ ไดบริจาคทรัพยสรางหอระฆัง เพื่ออุทิศใหแกพระอินทราสา (ตรอง อินทรวสุ) อดีตเจาเมืองฉะเชิงเทรา ซึ่งตั้งอยูบริเวณหนาศาลาการเปรียญ และใชเปนวงเวียน เจาอาวาสวัดปตุลาธิราชรังสฤษฎิ์สรางมาประมาณ

Page 23: บทที่ 4 แก้ไข - -CUSTOMER VALUE-thesis.rru.ac.th/files/pdf/357_2010_12_16_041202.pdfมหาว ทยาล ยราชภ ฏราชนคร นทร 49

มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

70

160 กวาปมาแลว ไมมีหลักฐานใดที่จะใหรายละเอียดเกี่ยวกับพระที่เปนเจาอาวาสไดนับ ตั้งแตสรางวัดมา แตพอสืบทราบไดจากคําบอกเลาและรูปถายของเจาอาวาส ไมมีการบันทึกไว พอลําดับไดดังนี้

1) พระอธิการแกว คนในสมัยนั้นเรียกทานวา “หลวงพอแกว” เปนชวงที่ทางการใหยาย โรงเรียนรัฐบาลประจํามณฑลจากวัดสายชล ณ รงัสี มาอยูที่วัดเมือง ขณะนั้นอาคารเรียนไมมี มีแตศาลาการเปรียญและหอสวดมนต จึงใชเปนสถานที่เรียนไปพลางกอน จํานวนนักเรียนมากขึ้นในป พ.ศ. 2450 หลวงพอแกวจึงไดใชเงินของทานสรางเรือนไมทรงปนหยา 2 ช้ัน ขึ้นริมฝงแมน้ําบางปะกง (คือบริเวณที่ตอกับสํานักงานการศึกษา เขต 12 เดิม ที่วางโลง) เรือนปนหยานี้ ใชเปนที่เรียนของนักเรียนชั้นประถม 2-3 สวนชั้นบนเปนท่ีเรียนของนักเรียนมัธยม ซึ่งเปดสอนถึงชั้นมัธยม 4 นับไดวาทานเปนผูสนับสนุนใหการศึกษาของชาวฉะเชิงเทราเจริญ และหลังจากทานมรณภาพแลว คณะกรรมการวัดยังไดนําเงินของ ทานสวนหนึ่งมาสมทบรวมสรางอาคารเรียนหลังใหม คือ โรงเรียนเบญจมราชูทิศ (ปจจุบันคือ โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์ ฉะเชิงเทรา) พ.ศ. 2454 เปดใชอาคารหลังใหมในป พ.ศ. 2456 และยายนักเรียนมัธยมทั้งหมดมาเรียนที่ โรงเรียนเบญจมราชูทิศ (ไมทราบป พ.ศ.ใดที่ทานมรณภาพ)

2) พระครูธรรมภาณีวรคุณ เดิมชื่อ ชวย แยมจินดา เปนเจาอาวาสองค ตอมาสันนิษฐานวาคงราวป พ.ศ. 2454-2485 ตอมาทานไดรับแตงตั้งใหเปนเจาคณะอําเภอเมืองดวย

3) พระครูอุดมสมณคุณ เดิมชื่อ เติม ทองเสริม ดํารงตําแหนงเจาอาวาส ตั้งแตป พ.ศ. 2485-2514 ชาตะเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2445 มรณภาพเมื่อป พ.ศ. 2514

4) พระครูจินดาภิรมย เดิมชื่อ ชด แยมจินดา ทานเปนหลานของหลวงพอชวย แยมจินดา (พระธรรมภาณีวรคุณ) ทานไดเปนผูนําในการบูรณซอมแซมพระอุโบสถและปฏิสังขรณวัด เมื่อป พ.ศ. 2521

5) พระครูสงา ธมมโสภโณ เดิมชื่อ สงา บุปผาชาติ เปนเจาอาวาสเมื่อวันที่ 23 กันยายน 2524 -2545 ชาตะวันเสาร เดือนกุมภาพันธ พ.ศ. 2467 ที่ตําบลกานเหลือง อําเภอแวงนอย จังหวัดขอนแกน บรรพชาวันขึ้น 4 ค่ํา เดือน 5 ปมะเมีย (เมษายน) 2485

6) พระสมุหพงษพันธ (สมุหพงษพันธ) รองเจาอาวาสวัดปตุลาธิราชรังสฤษฎิ์ (วัดเมือง) ไดรักษาการในตําแหนงเจาอาวาส ตั้งแตวันท่ี 15 มิถุนายน 2545-วันที่ 19 กุมภาพันธ 2546 7) พระเทพปญญาเมธี น.ธ.เอก ป.ธ.9 เจาอาวาสวัดจุกเฌอ ไดรับการแตงตั้งใหเปน เจาอาวาสวัดปตุลาธิราชรังสฤษฎิ์ (วัดเมือง) ตั้งแตวันท่ี 20 กุมภาพันธ 2547 เปนตนมา

Page 24: บทที่ 4 แก้ไข - -CUSTOMER VALUE-thesis.rru.ac.th/files/pdf/357_2010_12_16_041202.pdfมหาว ทยาล ยราชภ ฏราชนคร นทร 49

มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

71

วัดพยัคฆอินทาราม (วัดเจดีย)

ภาพ 18 เจดียวัดพยัคฆอินทาราม วัดพยัคฆอินทาราม (วัดเจดีย) เปนวัดเกาแกอีกแหงหนึ่งของแปดริ้ว ตั้งอยูที่หมู 2 ตําบลบานใหม

มีเนื้อท่ีประมาณ 1 ไร 4 ตารางวา ประกอบดวยวิหารพระพุทธบาทเจดียใหญ 1 องค และเจดียเล็กอีก 2 องค ความสําคัญของวัดนี้คือ เปนที่คนพบแผนเงินจารึกขอความอันเปนรองรอยทางประวัติศาสตรที่สําคัญยิ่งแผนเงินที่พบทําดวยเนื้อเงินบริสุทธิ์น้ําหนัก 3 บาท 2 สลึง หรือปริมาณ 53 กรัมหยอน รูปรางเกือบเปนสี่เหลี่ยมผืนผาคือกวางดานหนึ่ง 8 เซนติเมตร อีกดานหนึ่ง 7.5 เซนติเมตร และยาว 27.5 เซนติเมตร มีขอความจารึกถึงประวัติของ “นายชาง” และ “นายเสือ” สองพ่ีนองผูมีตนตระกูลเกาแกยาวนานมากอนสมัยกรุงศรีอยุธยามีความเจริญรุงเรืองและมีชีวิตอยู ไดทันเห็นการเคลื่อนยายและเปลี่ยนแปลงของเมืองแปดริ้วในชวงกรุงรัตนโกสินทร

ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลาเจาอยูหัว “นายเสือ” ไดเปนปลัดเมืองฉะเชิงเทรา สวน “นายชาง” ไดเปนพระยาวิเศษฤๅไชย เจาเมืองฉะเชิงเทรา ในป พ.ศ. 2416 ซึ่งเปนเวลาใกลเคียงกับที่ “นายชาง” ไดสรางพระอุโบสถที่วัดโสธรนั้น “นายเสือ” และ “นางอินทร” ภรรยาก็ไดสรางเจดียใหญขึ้นที่ตําบลบานใหมแหงนี้ เมื่อการสรางวัดแลวเสร็จลงในป พ.ศ. 2424 วัดจึงไดรับนามวา

“วัดพยัคฆอินทาราม” ซึ่งเชื่อกันวามาจากชื่อของสองสามีภรรยาผูสรางนั่นเอง วัดพยัคฆอินทาราม (วัดเจดีย) จึงเปนโบราณสถานอันเปรียบเสมือนกระจกสองสมัยอันทรงคุณคายิ่ง เพราะเปนท่ีคนพบหลักฐานเปนลายลักษณอักษรท่ีบันทึกภาพอดีตของแปดริ้วไวอยางชัดเจน

“วัดพยัคฆอินทาราม” ประชาชนนิยมเรียกวา “วัดเจดีย” สิ่งสําคัญของวัดเจดียไดแกเจดียองคใหญ ปจจุบันไดบูรณะใหม เปนเจดียบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ และพระอรหันตธาตุ

Page 25: บทที่ 4 แก้ไข - -CUSTOMER VALUE-thesis.rru.ac.th/files/pdf/357_2010_12_16_041202.pdfมหาว ทยาล ยราชภ ฏราชนคร นทร 49

มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

72

กุฏิ เดิมสรางเปนหลังเล็กๆ เรียงกันเปนแถว ไดถูกรื้อมาสรางเปนกุฏิใหม เจาอาวาสองคแรกของวัดเจดีย คือ ทานพระครูญาณรังษี มุนีวงศ วัดเจดียรุงเรืองมากและเปนวัด เจาคณะจังหวัด ตอมา พระครูญาณรังษีฯ ยายไปวัดสัมปทวน วัดนี้ก็ทรุดโทรมลง จนป พ.ศ. 2472 ทานพระครูอรุณรัศมี “พิน” เปนเจาอาวาส ไดรื้อกุฏิเจาคณะจังหวัดซึ่งชํารุดมาปลูกสรางใหม เปนทรงปนหยา ใตถุนสูง มีจํานวน 5 หลัง

พระอุโบสถเดิม เสารอบนอกเปนเสาไม พื้นเรียงดวยอิฐ ปจจุบันเปลีย่นแปลงเปนเสาคอนกรีตเสริมเหล็ก พ้ืนปูนซีเมนต

รอยพระพุทธบาทจําลอง สรางในสมัยพระครูวิเศษนีลโชโต เปนเจาอาวาส ทานไดจําพรรษาอยูวัดนี้ตั้งแตป พ.ศ. 2484 ปจจุบันไดมรณภาพแลวแผนเงินจารึก บรรจุในพระเจดีย เมื่อคอระฆังพระเจดีย ชํารุดเปนโพรง จึงไดพบแผนเงินขนาดกวาง 8 เซนติเมตร ยาว 27.12 เซนติเมตร

ภาพ 19 วัดพยัคฆอนิทาราม

Page 26: บทที่ 4 แก้ไข - -CUSTOMER VALUE-thesis.rru.ac.th/files/pdf/357_2010_12_16_041202.pdfมหาว ทยาล ยราชภ ฏราชนคร นทร 49

มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

73

วัดสัมปทวนนอก ภาพ 20 วัดสมัปทวนนอก

วัดนี้ตั้งอยู ฝ งขวาของแมน้ําบางปะกง ต.บางแกว เปนวัดเกาแกสรางในสมัยกรุงธนบุรีถึงตนสมัยรัตนโกสินทร ประมาณ พ.ศ. 2315-2320 บริเวณพื้นดินที่เดิมประชาชนใชเปนที่ปลูกพริกจึงเรียกวา “หมูบานสวนพริก” ตอมากรุงศรีอยธุยาแตก นายอยูกับนายอินไดถูกกวาด ตอนไปเปนเชลย เมื่อสมเด็จพระเจาตากสินยกทัพไปตีพมา นายอยูกับนายอินหลบหนี เขามาอาศัยอยูในหมูบานสวนพริก บุคคลทั้งสองไดชักชวนประชาชนใหสรางวัดในหมู บานสวนพริก คือ “วัดสัมปทวน (ใน)” หรือ วัดไชยพฤฒาราม สรางเมื่อประมาณ พ.ศ. 2313 -2315 เมื่อสรางเสร็จนายอยูกับนายอินไดอุปสมบท พระภิกษุ “อยู” เปนเจาอาวาส ตอมาพระภิกษุอินไดแยกมาสรางวัดอีกแหงหนึ่งริมฝงแมนํ้าบางปะกง ในหมูบานสวนพริกเชนกัน คือ “วัดสัมปทวน (นอก)” จุดประสงคเพื่อความสะดวกของชาวบานท่ีมาทําบุญโดยทางน้ํา เมื่อพระภิกษุอินมรณภาพ พระภิกษุอยูไดยายมาเปนเจาอาวาส และไดรับสมณศักดิ์ เปนพระครูองคแรกของจังหวัดฉะเชิงเทรา สิ่งสําคัญของวัดนี้คือ

Page 27: บทที่ 4 แก้ไข - -CUSTOMER VALUE-thesis.rru.ac.th/files/pdf/357_2010_12_16_041202.pdfมหาว ทยาล ยราชภ ฏราชนคร นทร 49

มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

74

ภาพ 21 ภาพลายปูนปนแสดงประวัตเิมืองฉะเชิงเทราทีพ่ระอุโบสถ

พระอุโบสถ สรางขึ้นเมื่อป พ.ศ. 2479 ผูบริจาคเงินกอสรางครั้งแรกคือ คุณนายสมลิ้ม ภรรยาขุนผดุงสิน โดยมีนายเซียนกี่ แซโงว และบุตรเปนชางกอสราง พระอุโบสถสรางดวยคอนกรีตทั้งหลัง เวนแตบานประตู บานหนาตาง สรางดวยไม หลังคามุงกระเบ้ืองเคลือบที่ส่ังมาจากฮองกง ชอฟาใบระกา หลอดวยซีเมนตเปนหัวพญานาคประดับดวยกระจกสีมุก พระอุโบสถดานหนาบันเปนพระถังซําจั๋งพรอม ดวยทหารเอกกําลังเดินทางไปแสวงหาพระไตรปฎก ดานซายทางทิศเหนือตามชองคูหาชายคาระหวางเสาปนเปนรูปชาดกเรื่องพระเวสสันดรทั้ง 13 กัณฑ ดานขวามือทางทิศใตเปนรูปสภาพพื้นที่ของจังหวัดฉะเชิงเทรา และบริเวณสวนพริกท่ีสรางวัด เมื่อ 200 กวาป กอนตูพระธรรม จํานวน 2 ตู เปนของดั้งเดิม ลงรักปดทอง

วัดสายชล ณ รังสี (วัดแหลมบน) วัดนี้ตั้งอยูริมฝ งแมนํ้าบางปะกง ตําบลบานใหม ลักษณะที่ตั้งเปนหัวแหลม ประชาชน

จึงเรียกวา “วัดแหลมบน” พ.ศ. 2345 ประชาชนเชื้อสายจีน 3 ตระกูล คือ แซตั๊น, แซลิ้ม, แซโงว ไดถวายที่ดินจํานวน 10 ไร 3 งาน เพื่อสรางวัดและไดรับอนุญาตใหสรางวัด พ.ศ. 2405 พื้นท่ีวิสุงคามสีมา กวาง 9 เมตร ยาว 16 เมตร ปจจุบันวัดมีพื้นท่ีรวม 5 ไร 3 งาน 39 ตารางวา สิ่งสําคัญของวัด ไดแกพระอุโบสถเดิมเปน พระอุโบสถขนาดกลาง กวาง 7 เมตร ยาว 21 เมตร ภายในพระอุโบสถมีภาพเขียนจิตรกรรมฝาผนังเรื่องราวพุทธประวัติ ปจจุบันภาพเขียนเหลาน้ี และพระอุโบสถชํารุดทรุดโทรม

Page 28: บทที่ 4 แก้ไข - -CUSTOMER VALUE-thesis.rru.ac.th/files/pdf/357_2010_12_16_041202.pdfมหาว ทยาล ยราชภ ฏราชนคร นทร 49

มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

75

ภาพ 22 วัดสายชล ณ รังษ ี

พระอุโบสถหลังใหม กรมศิลปากรไดสรางขึ้นใหมหางออกจากพระอุโบสถเดิมเจดีย ตั้งอยูหนา พระอุโบสถเดิม ลักษณะเจดียทรงระฆังคว่ํามีปลอง 7 ปลอง รอบๆ เจดียใหญลอมรอบดวยเจดียเล็กๆ ท้ัง 4 ดาน และรอบนอกบริเวณมีเจดียลอมรอบวิหาร กวาง 4 เมตร ยาว 8 เมตร สรางเสร็จเมื่อ พ.ศ.2465

ภาพ 23 พระอุโบสถวัดสายชล ณ รังษี

Page 29: บทที่ 4 แก้ไข - -CUSTOMER VALUE-thesis.rru.ac.th/files/pdf/357_2010_12_16_041202.pdfมหาว ทยาล ยราชภ ฏราชนคร นทร 49

มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

76

วัดเทพนิมิตร

ภาพ 24 วัดเทพนิมิตร ตั้งอยูตําบลบานใหมเดิม ปจจุบันคือตําบลหนาเมือง อําเภอเมืองฉะเชิงเทรา สรางในสมัย

รัชกาลที่ 5 พ.ศ. 2411 ภายในอุโบสถมีพระประธานที่มีอายุนับรอยปเรียกวา “หลวงพอโต” มคีวามศกัดิส์ทิธิ ์ 2 ประการ คือ บนบานไมใหฝนตกได และบนบานไมใหถูกเกณฑทหาร นิยมบนบานดวยประทัดวัดนี้มีความสําคัญคือ รัชกาลที่ 8 ไดพระราชทานพระบรมรูปโลหะหลอประดษิฐานอยูหนาพระอโุบสถ เมือ่วนัที ่8 ตุลาคม 2488 กรมการศาสนาไดประกาศใหเปนวัดพัฒนาตัวอยางประจําป 2510

Page 30: บทที่ 4 แก้ไข - -CUSTOMER VALUE-thesis.rru.ac.th/files/pdf/357_2010_12_16_041202.pdfมหาว ทยาล ยราชภ ฏราชนคร นทร 49

มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

77

วัดจีนประชาสโมสร (เลงฮกยี่)

ภาพ 25 วัดจนีประชาสโมสร (เฮงฮกยี)่

วัดจีนประชาสโมสร นอกจากจะมีคุณคาทางศิลปกรรมอันงดงามแลว ยังเปนประจักษพยานของความสัมพันธอันดีระหวางชาวจีนและชาวไทยมาตั้งแตครั้งประวัติศาสตร วัดแหงนี้ เดิมชื่อวา “เลงฮกยี่” เปนวัดเนื่องในพุทธศาสนาฝายมหายาน ผูสรางคือหลวงจีนชกเฮ็ง ซึ่งเปนศิษยของวัดมังกรกมลาวาสหรือวัดเลงเนยย่ี ในกรุงเทพมหานคร รูปแบบสถาปตยกรรมในการกอสรางจึงคลายคลงึกัน ช่ือ “วัดเลงฮกยี่” ไดเปลี่ยนเปน “วัดจีนประชาสโมสร” เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลาเจาอยูหัวเสด็จเยือนเมืองแปดริ้ว แผนปายชื่อพระราชทานยังประดับเดนเปนสงาในวัดจนกระทั่งทุกวันนี้ ที่ทางเขาอุโบสถของวัดคือ

ทาวจตุโลกบาล ทําเปนรูปนายทหาร และเทวรูปจนีขนาดใหญยืนรักษาปากประตูอยางสงางาม สวนภายในอุโบสถมีพระพุทธรูปแบบจีนลัทธิมหายานอีก 3 องคคือ พระยูไล พระโอนิโทฮูด และพระเอี้ยซือฮุด ซึ่งเชื่อวาสามารถบําบัดรักษาโรคภัยไขเจ็บ ที่นาแปลก นาทึ่งคือทั้ง 3 องคลวนสรางขึ้นจากกระดาษ นํามาจากเมืองเซี่ยงไฮ ประเทศจีน พรอมๆ กับรูป 18 อรหันต ท่ีประดิษฐานอยูดานขางพระอุโบสถ

Page 31: บทที่ 4 แก้ไข - -CUSTOMER VALUE-thesis.rru.ac.th/files/pdf/357_2010_12_16_041202.pdfมหาว ทยาล ยราชภ ฏราชนคร นทร 49

มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

78

สวนบริเวณดานหลังของวัดเปนที่ตั้งของสถานสงเคราะห คนชรา ซึ่งมีคนชราชาวจีนที่ยากจนมาอาศัยอยูหลายสิบคน ขณะนี้วัดจีนประชาสโมสรกําลังดําเนินการกอสรางเจดียเจ็ดยอด และรูปปนพระโพธิสัตวอวโลกิเตศวรหรือเจาแมกวนอิมพันมืออันเปนวัตถุมงคล เพ่ือรวมเฉลิมฉลองในวาระอันเปนมหามงคลที่พระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัว รัชกาลที่ 9 ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ป

เจาแมกวนอิมลอยน้ํา

ตั้งอยูที่สมาคมสงเคราะหการกุศลฉะเชิงเทรา ตําบลหนาเมือง อําเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา เมื่อป พ.ศ.2540 มีชาวประมงไปพบเจาแมกวนอิมลอยน้าํอยูบรเิวณหนาทาเรือเทศบาล จึงเชิญมาประทับไวที่สมาคมสงเคราะหการกุศลฉะเชงิเทรา ทําใหผูท่ีมีโอกาสมานมัสการหลวง พอพุทธโสธร มักเลยมานมัสการเจาแมกวนอิม เพื่อเปน สิริมงคลตอตนเองและครอบครัวดวย

ภาพ 26 เจาแมกวนอิมลอยน้ํา

Page 32: บทที่ 4 แก้ไข - -CUSTOMER VALUE-thesis.rru.ac.th/files/pdf/357_2010_12_16_041202.pdfมหาว ทยาล ยราชภ ฏราชนคร นทร 49

มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

79

วัดโพธิ์ (บางคลา) ตั้งอยูที่อําเภอบางคลา หางจาก ตัวเมืองฉะเชิงเทรา 23 กิโลเมตร ผูที่ชอบธรรมชาติสามารถเดินทางโดยทางเรือจากตลาดตัวเมืองฉะเชิงเทราไปขึ้นที่ทาน้ําของวัดก็ได วัดนี้มีคุณคาทางประวัติศาสตร กลาวคือ พระยากําแพงเพชร (สมเด็จพระเจาตากสินมหาราช) นําพลตีฝาขาศึก มุงหนาจะไปจันทบุรี เมื่อขามคลองทาลาดมาถึงบริเวณปากน้ําโจโล อําเภอบางคลาทรงหยุดพัก ใตตนโพธิ์แหงหนึ่ง ซ่ึงภายหลังจากที่กอบกูเอกราชไดสําเร็จแลว ทรงใหสรางวัดขึ้นที่บริเวณนี้ แลวใหชื่อวา “วัดโพธิ์” วัดนีม้ีบริเวณ รมรื่น มีคางคาวแมไกจํานวนนับหมื่นตัว ในเวลากลางวัน จะเกาะหอยหัวลงมาตามกิ่งไมอยูกันเปนกลุมใหญ ยามพลบค่ําจะออกไปหากิน เปนที่นาแปลกวา คางคาวพวกนี้ไมทําความเสียหายใหกับสวนผลไมของชาวบางคลา

ภาพ 27 วิหารวดัโพธิ ์

Page 33: บทที่ 4 แก้ไข - -CUSTOMER VALUE-thesis.rru.ac.th/files/pdf/357_2010_12_16_041202.pdfมหาว ทยาล ยราชภ ฏราชนคร นทร 49

มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

80

วัดเมืองกาย

ภาพ 28 วัดเมอืงกาย

วัดเมืองกาย ตั้งอยูที่บานเมืองกาย หมูที่ 2 ตําบลพนม อําเภอพนมสารคาม จงัหวดัฉะเชงิเทรา อาณาเขตของวัด ทางดานทิศใตติดกับคลองทาลาด ทิศตะวันออกติดกับบานทาเกวียน ทิศตะวันตกติดกับบานลาดฮวง สวนทิศเหนือซ่ึงเปนดานหนาของวัดติดกับถนนสายพนมสารคาม-บางคลา โดยอยูหางจากตัวตลาดพนมสารคาม ประมาณ 500 เมตร หากมองจากภายนอกก็คงเหมือนวัดทั่วๆ ไป แตเปนมรดกทองถิ่นอันล้ําคาของชาวพนมสารคาม ปรากฏอยูในพระอุโบสถหลังเกาของวัดแหงนี้ นั่นคือ จิตรกรรมฝาผนัง

จิตรกรรมฝาผนังวัดเมืองกาย จะแบงพื้นที่การเขียนเปน 3 ชวง ชวงบนสุดของฝาผนัง เปนภาพพระพุทธเจาและสาวกนั่งเรียงรายตลอดแนว ต่ําลงมาชวงที่สองเปนภาพชาดก และชวงที่สามเปนภาพที่แสดงใหเห็นถึงวิถีชีวิตประจําวันของชาวบานและวัฒนธรรมประเพณีตางๆ ในอดีต

อดีตที่วานาจะเปนชวงตั้งแตสมัยปลายกรุงธนบุรีตอเนื่องมาถึงสมัยรัตนโกสินทร (ร.1-ร.5) ผูเขียนสันนิษฐานจากตัวพระอุโบสถ ดูจากภายนอกพระอุโบสถหลังนี้เปนศิลปะลานชาง (คลายสิมในภาคอีสาน) พระอุโบสถลาวสวนใหญมีขนาดเล็ก รูปทรงเตี้ยแจ มีหลังคาซอนลดหลั่นลงมา 2 หรือ 3 ช้ัน ผนังกออิฐโบกปูนตลอด เจาะชองแสงสวางนอย ดานหลังพระอุโบสถไมมีประตู อีกทั้งยังมีตัวพญานาคแถบเชิงชายตามความเชื่อของชาวอีสานและชาวลาวที่เช่ือวา พญานาคอยูในเมืองบาดาลใตลุมแมน้ําโขงมีอิทธิฤทธิ์สามารถแปลงราง หรือทําสิ่งที่เหนือธรรมชาติเกินกวาสัตวทั่วไปจะทําได ส่ิงตางๆ เหลานี้ ลวนเปนศิลปะที่บงชัดวาเปนสถาปตยกรรมลาว

Page 34: บทที่ 4 แก้ไข - -CUSTOMER VALUE-thesis.rru.ac.th/files/pdf/357_2010_12_16_041202.pdfมหาว ทยาล ยราชภ ฏราชนคร นทร 49

มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

81

การที่พระอุโบสถวัดเมืองกาย ถูกสรางขึ้นดวยศิลปะลานชาง (ลาว) เนื่องจากชาวบานที่ตั้งบานเรือนอยูรายรอบวัดแหงนี้ เปนกลุมชาวลาวพวนที่อพยพและถูกกวาดตอนเขามาในชวงสมัยตางๆ ดังนี้

ในป พ.ศ. 2321 สมัยกรุงธนบุรีสมเด็จพระเจาตากสินมหาราช ทรงโปรดเกลาฯ ใหสมเด็จพระยามหากษัตริยศึกกับเจาพระยาสุรสีหยกกองทัพไปตีอาณาจักรลานชาง ไดเมอืงจาํปาศกัดิ ์ เมืองเวียงจันทน และหัวเมืองขึ้นมาเปนของไทย เมื่อยกทัพกลับไดทําการกวาดตอนครัวลาวเวียงจนัทน และลาวหัวเมืองตางๆ ทางฝงตะวันออกของแมน้ําโขงเขามาดวย ชาวลาวบางสวนที่ถูกกวาดตอนเขามาในครั้งนี้ ใหมาตั้งบานเรือนอยูในพื้นที่อําเภอพนมสารคามและอําเภอสนามชัยเขตในปจจุบัน

ภาพ 29 ภาพเขียนในอุโบสถวดัเมืองกาย

ในป พ.ศ. 2335 เมืองพวนและเมืองแถง ซ่ึงเปนเมืองขึ้นตอกรุงเวียงจันทนไดกอการกบฏเจานันทเสนแหงกรุงเวียงจันทนไดสงกองทัพขึ้นไปปราบปรามจนสําเร็จ แลวกวาดตอนครัวลาวเมืองพวนสงเปนบรรณาการมาใหไทย พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟาจุฬาโลก (รัชกาลที่ 1) ทรงโปรดเกลาฯ ใหครัวลาวเมืองพวนเหลานี้บางสวนเขามาตั้งบานเรือนบริเวณอําเภอพนมสารคาม อําเภอสนามชัยเขต และอําเภอราชสาสน

ในป พ.ศ. 2369 ตรงกับสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกลาเจาอยูหัว (รัชกาลที่ 3) เจาอนุวงศแหงกรุงเวียงจันทนเปนกบฏตอไทย หลังจากปราบกบฏอนุวงศแลว พระองคทรงมีนโยบายทําลายกรุงเวียงจันทนทั้งหมด และใหกวาดตอนกําลังไพรพลของฝายลาวทั้งชาวลาวเวียงจันทน และลาวพวน (จากเมืองพวนและเขตเมืองใกลเคียง) เขามาไทยดวย เพื่อปองกันไมใหลาวฟนตัวไดอีก และปองกันไมใหไพรพลของลาวตองตกไปเปนกําลังของฝายญวน ซ่ึงขณะนั้นกําลังเริ่มรุกรานไทยอยูและไพรลาวบางสวนที่ถูกกวาดตอนเขามาครั้งนี้ใหไปตั้งถิ่นฐานทํามาหากินที่อําเภอพนมสารคาม

Page 35: บทที่ 4 แก้ไข - -CUSTOMER VALUE-thesis.rru.ac.th/files/pdf/357_2010_12_16_041202.pdfมหาว ทยาล ยราชภ ฏราชนคร นทร 49

มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

82

ในป พ.ศ. 2378 หลังเหตุการณกบฏอนุวงศ 6 ป พวกครัวลาวเมืองพวนตองอพยพมาอยูใน

พื้นที่อําเภอพนมสารคามอีกครั้ง สาเหตุเนื่องมาจากเจานอยเมืองพวน สงขาวบอกที่ซอนตัวของเจาอนุวงศใหเจาพระยาราชสุภาวดี (สิงห สิงหเสนี) แมทัพไทยไปจับตัวมาได จึงหวั่นเกรงภัยจากวงศาคณาญาติของเจาอนุวงศ เพราะเมืองพวนเปนเมืองที่เล็กกวากรุงเวียงจันทนมาก จึงไดพากันอพยพตามกองทัพไทยลงมาดวยเหตุนี ้ ชาวลาวที ่เขามาตั ้งถิ ่นฐานบานเมืองกายนี ้ สวนใหญเปนพวกลาวพวนดัง

หลักฐานที่กลาวถึงลาวพวนวา “ทรงเห็นวาบานทาทรานมีทั้งลาวพวน ลาวเวียงจันทนจะจัดแจงแตงใหทาวเพ็ชรเปนเจาเมือง ยกบานทาทรานเปนเมืองขึ้นกับเมืองฉะเชิงเทรา” หรือบางทีก็เรียกวา “ลาวพุงขาว” ซ่ึงคนลาวพวกนี้ไมนิยมสักตามรางกาย ดังหลักฐานสารตราที่กลาวถึงการเกณฑขอแรงหญิงลาวพุงขาว ซ่ึงเปนไพรลาวสวยทอง เมืองพนมสารคาม ที่วา

...พระเจาลูกเธอ 2 พระองค ทรงพระเจริญสมควรจะพระราชทาน พระสุพรรณบัฏ เฉลิมพระนามาภิไชย ตามอยางธรรมเนียม กําหนด จะไดตั้งการพระราชพิธีเฉลิมพระนามาภิไทย เดือนมีนาคม รัตนโกสินทรศก 110 โปรดเกลาฯ ใหเกณฑขอแรงหญิงลาวพุงขาว ตัดผมดอกกระทุม ที่สาวๆ กองสวยทอง เมืองพนมสารคาม จํานวน 22 คน โดยใหนุงสินไหมทุกคน แลวใหมีใบบอกแตงนายกอง ปลัด กองคุมตัวหญิงลาวลงไปสงใหถึงกรุงเทพฯ วันที่ 7 มีนาคม รัตนโกสินทรศก 110 เพื่อเจาพนักงานจะไดจัดซอมเขาขบวนแหใหทันกําหนด... จากขอความขางตน ยังสะทอนใหเห็นถึงวิถีชีวิตเกี่ยวกับวัฒนธรรมการแตงกายและทรงผม

ของหญิงลาวพวนในยุคสมัยนั้นดวย ซ่ึงสอดคลองกับภาพจิตรกรรมฝาผนังที่แสดงใหเห็นถึงการแตงกายของชาวบานที่ปรากฏเปนหลักฐานไวเชนกัน

ชาวลาวเดิมนับถือผีบรรพบุรุษ และศาสนาพุทธอยูกอนแลว เมื่ออพยพเขามาอยูในประเทศไทย ซ่ึงเปนดินแดนของพระพุทธศาสนา วัดเมืองกายจึงถูกสรางขึ้นดวยความศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา เพื่อเปนศูนยกลางของการประกอบศาสนกิจ พิธีกรรมและประเพณีตางๆ เพราะวิถีชีวิตตั้งแตเกิดจนตายตองสัมพันธเกี่ยวของกับวัด อีกทั้งหลักธรรมของศาสนาพุทธยังเปนที่ยึดถือปฏิบัติในการดาํรงชีวิต ซ่ึงจะเห็นไดจากภาพจิตรกรรมฝาผนัง เปนภาพของพระพายเรือบิณฑบาต มีหญิงชาวบานนั่งใสบาตรอยูที่บันไดทาน้ําหรือภาพของการเวียนวายตายเกิดในวัฏสงสาร เปนตน หลักฐานที่จะพออางอิงถึงชวงสมัยของการสรางวัดเมืองกายและพระอโุบสถวา นาจะเปนชวงตนของสมัยรัตนโกสินทรอีกอยางหนึ่งก็คือ กรอบเหนือบานหนาตางของพระอุโบสถจะปรากฏลายปนูปนเปนรูปพญาครฑุยุคนาค ซ่ึงเปนลายพระลญัจกรของพระบาทสมเดจ็พระพุทธเลศิหลานภาลยั (รัชกาลที่ 2) และภาพจิตรกรรมฝาผนัง มภีาพเรือกลไฟ เพราะในสมัยพระบาทสมเดจ็พระนั่งเกลา

Page 36: บทที่ 4 แก้ไข - -CUSTOMER VALUE-thesis.rru.ac.th/files/pdf/357_2010_12_16_041202.pdfมหาว ทยาล ยราชภ ฏราชนคร นทร 49

มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

83

เจาอยูหัว (รัชกาลที่ 3) ตรงกับป พ.ศ. 2386 นายยอนฮัสเลต ชันดเลอร คนไทยเรียก “หมอจันดะเล” ซึ่งเปนผูมีความรูพิเศษ ดานเครื่องจักรยนตกลไกไดเดินทางเขามาประเทศไทย และไดรวมกับสมเด็จเจาฟากรมขุนอิศเรศรังสรรค สรางเรือเดินดวยเครื่องจักรไอน้ําสําเร็จ พรอมทั้งทดลองแลนเรือกลไฟ ลําแรกนี้ไปตามลําน้ําเจาพระยา ในป พ.ศ. 2391

สําหรับภาพจิตรกรรมฝาผนังสังเกตจากเอกลักษณแลว นาจะเปนฝมือชางลาวพื้นบาน ในสมัยนั้นมากกวาที่จะเปนฝมือของชางหลวง เพราะบางภาพมีขอความที่เขียนดวยอักษรลาวกํากับอยูอีกทั้งลักษณะกรรมวิธีการเขียนภาพยังเปนแบบอยางพื้นถิ่น กลาวคือ รูปแบบที่ใชถายทอดการเขียนภาพแบบเรียบงายอยางธรรมชาติตรงไปตรงมา มีความจริงใจ และเขียนภาพขึ้นจากความเสื่อมใสศรัทธาที่มีตอพุทธศาสนาเปนสําคัญ สะทอนใหเห็นอยางเดนชัดจากภาพจิตรกรรมฝาผนังชวงบน เปนภาพพระพุทธเจาประทับนั่งภายในซุมและพระอัครสาวกซายขวา พรอมดวยเครื่องบริขาร เชน บาตร กาน้ํารอน กระโถน เปนตน ชวงลางเปนภาพชาดกเรื่องเวสสันดร เชน ภาพพระเวสสันดรประทานชางปจจัยนาเคนทรแกพราหมณ 8 คน ภาพพระเวสสันดร พระนางมัทรีและกัณหา ชาลี ออกเดินปา ภาพชูชกขอสองกุมาร จนกระทั่งถึงภาพกษัตริยสงผลใหจิตรกรรมฝาผนังวัดเมืองกายมีรูปแบบและเอกลักษณที่โดดเดนเปนของพื้นถิ่นที่ตนอยูอาศัย เชน ภาพเกี่ยวกับประเพณีการแขงเรือ การทํานา การเลี้ยงสัตว เปนตน

ดังนั้น วัดเมืองกายแหงนี้จึงมีความสําคัญและเกาแก มีคุณคาทางประวัติศาสตรสืบทอดมาพรอมกับการตั้งชุมชนของกลุมคนลาวพวนในอดีตหรือไทยพวนในปจจุบันนี้เอง และพระอุโบสถหลังเกาของวัดเมืองกายกับภาพจิตรกรรมฝาผนัง ลวนสะทอนใหเห็นความเจริญทางดานจิตใจ เปนหลักฐานที่มีคุณคาสําหรับผูสนใจศึกษาประวัติศาสตร วัฒนธรรมของชุนชมและทองถิ่น ดังนั้นเราในฐานะอนุชนรุนหลังควรสืบสานความศรัทธาความดีงาม หากเราทําอยางบรรพบุรุษไมได หรือทําไดไมดีเทา ก็ควรจะเก็บรักษาและชวยกันอนุรักษมรดกชิ้นนี้ไวใหนานที่สุดเทาที่จะทําได

Page 37: บทที่ 4 แก้ไข - -CUSTOMER VALUE-thesis.rru.ac.th/files/pdf/357_2010_12_16_041202.pdfมหาว ทยาล ยราชภ ฏราชนคร นทร 49

มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

84

วัดสุคันธศีลาราม (วัดหอมศีล)

ภาพ 30 วัดสคุันธศลีาราม (หอมศีล) 1. ท่ีตั้ง

วัดสุคันธศีลาราม ตั้งอยูในเขตบานหอมศีล ตําบลหอมศีล (เดิมอยูในเขตตําบลบางเกลือ เพิ่งจะเปลี่ยนเปนตําบลหอมศีล เมื่อพ.ศ. 2533) อําเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา

ที่ตั้งทางภูมิศาสตร คือ ตั้งอยูรุงที่ 13๐ 33' 17" เหนือ 100๐ 54' 40" ตะวันออกพิกัด กริด 47 PQQ 068989 (แผนที่ทหารลําดับชุด L 7017 ระวาง 5136 II พิมพครั้งที่ 2-RTSD มาตราสวน 1 : 50,000 2. การเดินทาง การเดินทางไปถึงวดัได 2 ทาง คือ 2.1. ทางรถ ถาออกเดินทางจากกรุงเทพฯ ใชถนนสายบางนา-ตราด (ทางหลวงหมายเลข 34) เริ่มตนจากบางนา ผานอําเภอบางพลี อําเภอบางบอ จังหวัดสมทุรปราการ เมื่อเริ่มเขาเขตอําเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา ระหวางหลักกิโลเมตรที่ 36 ถึง 37 ขามสะพานขามคลองหอมศีลและคลองบางกะมะ 2 สะพาน ทางเขาวัดอยูทางดานขวามือ ทางเขาดานหนามีซุมประตูประดับลายปูนปน อักษร อ.ด. และรูปอาวุธ 8 อยาง พระนามยอ และตราประจาํพระองคสมเด็จพระเจาบรมวงศเธอ เจาฟาอัษฎางคเดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา ถนนเขาวัดเปนถนนลูกรังระยะทางประมาณ 3 กิโลเมตรเศษ

Page 38: บทที่ 4 แก้ไข - -CUSTOMER VALUE-thesis.rru.ac.th/files/pdf/357_2010_12_16_041202.pdfมหาว ทยาล ยราชภ ฏราชนคร นทร 49

มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

85

2.2 ทางเรือ ลงเรือหางยาวจากสําโรง มาตามคลองสําโรง ผานหนาวัดระยะทางเกือบ 40 กิโลเมตร เรือที่จะมาจากสําโรงจะตองจางมา เพราะไมมีเรือโดยสารผาน อีกทั้งในฤดูรอนเรือไมสามารถวิ่งได เพราะน้ําในคลองตื้นเขิน 3. ขอบเขต สวนใหญจะลอมรอบดวยทุงนา ทิศเหนือ ติดกับทุงนาและบอปลาของชาวบาน

ทิศใต ติดกับคลองสาํโรง ถัดลงไปเปนที่ลุม และที่ตั้งบานคลองปา บานคลองสกดัสี่สิบ

ทิศตะวนัออก สวนใหญเปนที่ลุมและบอปลา ทิศตะวนัตก หางจากคลองหอมศีลประมาณ 200 เมตรถัดออกไปเปนที่ลุม

4. สภาพโดยทั่วไป พื้นที่รอบๆ วัดสวนใหญเปนพื้นที่นา ที่ลุม มักมีน้ําทวมเสมอ สูงจากระดับน้ําทะเลปานกลาง 3 เมตร มีลําคลองเล็กๆ ตัดผานหลายสาย ชาวบานสวนใหญจึงมีอาชีพทํานาและเลี้ยงปลา เลี้ยงกุง สวนบริเวณที่ติดถนนมีโรงงานอุตสาหกรรมตั้งอยูหลายแหงทั้ง 2 ฟากถนน การสัญจรไปมาในชุมชนสวนใหญยังใชเสนทางน้ําคือตามคลองสําโรงและคลองหอมศีล สวนทางถนนนั้นใชบางเล็กนอย 5. ความเปนมาของบานหอมศีล เดิมคือ บางหอมสิน ตั้งชื่อตามคลองหอมสิน ซ่ึงเปนคลองที่กั้นเขตระหวาง อ.บางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา กับ อ.บางบอ จ.สมุทรปราการ ซึ่งหอมสินถึงแมเปนคลองขนาดเล็ก แตสามารถไปเชื่อมกับคลองสําโรง ซ่ึงไหลผาน อ.บางปะกง ไปออกแมนํ้าบางปะกงบริเวณบานทาสะอาน และจากแมน้ําบางปะกง สามารถเดินทางไปออกอาวไทย แลววกเขาแมน้ําเจาพระยาไดอีกดวย บางหอมสิน เคยเปนหมูบานที่มีขนาดใหญ ขึ้นกับมณฑลปราจีน ตอมาขึ้นอยูกับตําบลบางเกลือ ซ่ึงแบงออกไดเปน 4 หมูบาน ตอมาเมื่อแยกบานหอมสิน (บานหอมศีล) ยกฐานะขึ้นเปนตําบลหอมศีล เมื่อ พ.ศ. 2533 อีก 2 หมูบาน คือ หมู 2 หมูบาน คือ หมู 3 และ 4 ไดแยกไปขึ้นอยูกับ ต.บางพลีนอย อ.บางบอ จ.สมุทรปราการ ปจจุบันมี 4 หมูบาน สําหรับชื่อหอมสินนั้นเปนชื่อเดิม ตั้งตามชื่อคลองหอมสิน ซ่ึงเปนชื่อเรียกมาตั้งแตเดิม (ในตราจองหรือโฉนดที่ดินที่สํารวจใน พ.ศ. 2473 เรียกวา คลองปา หอมสินธ สันนิษฐานวา บริเวณนี้คงเปนปามากอน สวนคําวา สินธ ไมมีความหมายแตคําวา สินมีความหมายถึง เงิน ทรัพย) เมื่อสมเด็จพระเจานองยาเธอ เจาฟาอัษฎางคเดชาวุธ กรมขุนนครราชสีมา (พระยศในขณะนั้น) ไดเสด็จประพาสวัดหอมสิน และทรงบูรณะปฏิสังขรณวัดนี้ทรงเปลี่ยนชื่อวัดจากวัดหอม

สิน

Page 39: บทที่ 4 แก้ไข - -CUSTOMER VALUE-thesis.rru.ac.th/files/pdf/357_2010_12_16_041202.pdfมหาว ทยาล ยราชภ ฏราชนคร นทร 49

มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

86

เปนวัดหอมศีล หรือวัดสุคันธศีลาราม ซ่ึงมีความหมายเดียวกัน คือ กลิ่นหอมของศีล อันจะกลาวถึงความหมายของชื่อวัดในเรื่องเกี่ยวกับปายชื่อวัด

จากคําบอกเลาของทานเจาอาวาสวัดหอมศีลองคปจจุบัน สันนิษฐานวาบานหอมสินมีคนมาอยูอาศัยในราวรัชกาลที่ 3 แลว ซึ่งยังอยูมาตลอดจนในปจจุบัน และมีคนอยูอาศัยในตําบลหอมศีลประมาณหมื่นกวาคน แบงออกไดเปน 6 หมู คือ หมู 1, 3 บานหอมศีล หมู 2 บานบางพลีนอยหมู 4, 5 บานคลองตาเอี่ยม และหมู 6 บานคลองปกกา 6. ความเปนมาของวัดสุคันธศลีาราม (วดัหอมศีล) เดิมวัดหอมสินมีอีก 1 วัด ตั้งอยูริมคลองหอมสิน ปจจุบันคือ วัดหอมศีลตั้งอยูริมถนนสายบางนา-ตราด ระหวาง ก.ม.ที่ 35-36 กอนถึงทางเขาวัดสุคันธศีลาราม ประมาณ 1 กม. วัดนี้สรางเสร็จราว พ.ศ. 2522-2533 ตามคําบอกเลาชื่อวาวัดน้ีสรางในสมัยอยุธยา ตอมาไดยายมาอยูที่ริมคลองสําโรง คือวัดสุคันธศีลารามในปจจุบัน ในราว พ.ศ. 2430 คราวเจาอธิการอิ่ม เปนเจาอาวาสซึ่งในขณะนั้นยังไมมีวัดอยูบริเวณนี้ สาเหตุที่ยายเนื่องจากลําคลองหอมสินแคบไมสะดวกในการสัญจรไปมาในการยายครั้งนั้นไดอัญเชิญหลวงพอขาว (พระพุทธรูปปูนปน) และระฆังมาประดิษฐานที่วัดสุคันธศีลาราม ตอมาในราว พ.ศ. 2523 ไดมีการสรางวัดหอมศีลขึ้นมาใหมลงบนบริเวณเดิม จึงไดอัญเชิญหลวงพอขาวและระฆังกลับไปไวที่เดิม แตหลวงพอขาวองคเดิมไดถูกดัดแปลงแกไขโบกปูนทับแลว และที่วัดหอมศีลเคยมีซากของเสาโบสถเกาเหลืออยู แตตอมาไดมีการสรางศาลาทับลงไป สวนวัดสุคันธศีลาราม (วัดหอมศีล) สรางภายหลังวัดหอมสินเดิม จากคําบอกเลาของทานเจาอาวาสกลาววา วัดนี้สรางตั้งแต พ.ศ. 2420 เจาอธิการอิ่มเปนเจาอาวาส (ในสมัยรัชกาลที่ 5) และไดรับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ. 2430 (ในสมัยรัชกาลที่ 5 เชนเดียวกัน) ชื่อวัดในตอนนั้น คือวัดหอมสินพระอาจารยอ่ิมเปนเจาอาวาส ตอมาเมื่อสมเด็จพระเจานองยาเธอ เจาฟาอัษฎางคเดชาวุธ กรมขุนนครราชสีมา (พระยศในขณะนั้น) ทรงบูรณะปฏิสังขรณ และทรงสรางโบสถใหมขึ้น จึงไดมีการขอพระราชทานวิสุงคามสีมาขึ้นใหม เมื่อ พ.ศ. 2460 (ในรัชกาลที่ 6) 7. การบูรณะปฏิสังขรณวัดหอมศีล โดยสมเด็จพระเจาบรมวงศเธอเจาฟาอัษฎางคเดชาวธุ กรมหลวงนครราชสีมา ในคราวที่สมเด็จพระเจานองยาเธอ เจาฟาอัษฎางคเดชาวุธ กรมขุนนครราชสีมา (พระยศในขณะนัน้) ทางเสด็จประพาสมาทางคลองสําโรง ผานบานหอมสิน (ช่ือในขณะนัน้) ทรงโปรดให จอดเรือพระที่นั่ง และประทับแรมอยูบริเวณวัดหอมสิน ทรงเห็นวาพระอารามในขณะนั้นชํารุด ทรุดโทรม เห็นควรที่จะบรูณะปฏสัิงขรณขึ้นมาใหม ในขณะนั้นทรงปรารภกับนายสระ เสรีวลัลภ มหาดเลก็ในกรมเมื่อ พ.ศ. 2455 หลังจากเสดจ็กลับพระนคร จึงทรงพระกรณุาโปรดเกลาฯ ใหพระยา ยตุกฤติ (สวน ไกรฤกษ) เปนผูรับสนองพระราชโองการ ใหหลวงประดษิฐนเิวศน (ชุม ยวุเตมีย)

Page 40: บทที่ 4 แก้ไข - -CUSTOMER VALUE-thesis.rru.ac.th/files/pdf/357_2010_12_16_041202.pdfมหาว ทยาล ยราชภ ฏราชนคร นทร 49

มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

87

เปนนายชาง และใหนายสระ เสรีวัลลภ เปนผูติดตอประสานงานกับขาราชการและชาวบานหอมสิน ดําเนินการแผวถางบริเวณโดยรอบ เตรียมปลูกสรางพระอารามในราว พ.ศ. 2456-2457 ในราว พ.ศ. 2457-2458 ไดเริ่มทําการปลูกสรางพระอุโบสถ ศาลาการเปรียญ ศาลาจตุรมุขสรางเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2458 พระองคทรงเสด็จมาในพิธีฉลองศาลาการเปรยีญ ศาลาจัตุรมุข และศาลาทาน้ํา 2 หลัง ซ่ึงสรางเสร็จพรอมกันงานนี้เปนงานพระกุศลครั้งแรกของวัด ทรงพระกรุณาโปรดเกลาฯ เปลี่ยนนามวัดจากวัดหอมสิน มาเปนวัดสุคันธศีลาราม (วัดหอมศีล) ตั้งแตนั้นมา (สันนิษฐานวาทรงพระราชทานปายชื่อวัดเปนแผนไม ลงรักสีดํา แกะสลักชื่อวัด ปดทองบนขอบและตัวอักษรจารึกเปนภาษาบาลี ใชตัวอักษรขอม เดิมติดอยูที่ศาลาทาน้ํา แตปจจุบันถอดออกมาเก็บรักษาไวในวัด) เมื่อพระอุโบสถสรางใน พ.ศ. 2461 ทรงเสด็จมางานพระกุศลยกชอฟาพระอุโบสถ

ตอมา พ.ศ. 2462 ทรงเสด็จมางานพระกุศลผูกพัทธสีมาพระอุโบสถหลังใหม โดยนิมนตพระธรรมโรดม (จาย) อดีตสมเด็จพระวันรัตน วัดเบญจมบพิตรเปนประธาน และใหพระศรวีสุิทธวงศ (ปลด) ซ่ึงดํารงตําแหนงสมเด็จพระวันรัตน (ตอมาไดเปนสมเด็จพระสังฆราช) ในราว พ.ศ. 2499 เปนผูชวย งานนี้ไดนิมนตพระภิกษุชั้นผูใหญจากวัดเบญจมบพิตรมารวมประกอบพิธีดวยไดนั้น คงเปนเพราะสมเด็จพระเจานองยาเธอ เจาฟาอัษฎางคเดชาวุธ กรมขุนนครราชสีมา ทรงนิมนตมา

เมื่อ พ.ศ. 2464 พระอุโบสถและพระอารามอื่นๆ ในวัดเสร็จเรียบรอยทรงโปรดเกลาฯ ใหจัดงานฉลองสมโภชพระอุโบสถ และมีการอุปสมบทพระภิกษุองคแรกของโบสถหลังนี้คือ นายสระ เสรีวัลลภ (นาวาโทสระ เสรีวัลลภ) ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2464 งานครั้งนี้เปนงานใหญมาก มีการเชิญเสด็จเจานายหลายพระองค อาทิ สมเด็จพระเจานองยาเธอ เจาฟากรมขุนสุโขทัยธรรมราชา (พระบาทสมเด็จพระปกเกลาเจาอยูหัว รัชกาลที่ 7), หมอมเจาหญิงรําไพพรรณี (พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 7), หมอมเจาเริงจิตรแจรง, หมอมเจาไขแสงระพี, หมอมเจาวงนิรธร, หมอมเจาลักษณะเลิศ, ทาวนารีวรคณารักษ (แจม ไกรกฤษ) พระพี่เลี้ยงของสมเด็จพระเจานองยาเธอ เจาฟาอัษฎางคเดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา, หมอมแผว (หมอมในสมเด็จพระเจานองยาเธอ เจาฟาอัษฎางค เดชาวุธฯ), น.อ.พระวินิจฉัยอรรถการ (ฟุง ปญญาชุน) ผูพิพากษาทหารเรือที่ 2, พระยาประสานพิธีกรณ, พระศุภรัตนกาสายานุกิจ, พระจันทรวาทิต หลวงนครราชสีมา, นายพลตรี พระยาพิชัยรณรงคสงคราม ผูบัญชาการกองพลที่ 9, พระยาวรุณฤทธีศรีสมุทรปราการ นครบาลจังหวัดสมุทรปราการ , นายพันตํารวจเอก พระยาถกลยุทธโรธ ผูบังคับการตํารวจ

ปากน้ํา นอกจากนี้ยังมีขาราชการ ทหาร ตํารวจ กํานัน ผูใหญบาน และชาวบานหอมศีลมารวมในพิธีฉลองเปนจํานวนมาก ในงานนี้มีงานฉลองพระกุศล 3 วัน 3 คืน และในราว พ.ศ. 2465 น.ท.พระวนิิจฉัยอรรถการ (ฟุง ปญญาชุน) และหลวงนครราชสีมา ไดรับอนุญาตจากสมเด็จพระเจานองยาเธอ เจาฟาอัษฎางคเดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา

Page 41: บทที่ 4 แก้ไข - -CUSTOMER VALUE-thesis.rru.ac.th/files/pdf/357_2010_12_16_041202.pdfมหาว ทยาล ยราชภ ฏราชนคร นทร 49

มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

88

สมเด็จพระเจานองยาเธอ เจาฟาอัษฎางคเดชาวธุ กรมหลวงนครราชสีมา ใหมีการออกราน การพนนัประเภทหนึ่ง เพื่อหาเงินมาไดประมาณ 6,000 พันบาท ไดนําเงินจํานวนนี้มากอสรางกุฏิสงฆทรงไทย จํานวน 6 หลัง

ในระหวางที่กําลังกอสรางพระอาราม พระองคเสด็จออกบําเพ็ญพระกศุลทีว่ดันีป้ระมาณปละ 2 ครั้ง เชน ทรงเสด็จมาถวายพุมเขาพรรษา งานอุปสมบทงานฉลองตางๆ สวนพระกฐนิสวนพระองคทรงพระกรุณาโปรดเกลาฯ พระราชทานใหนาวาโทสระ เสรีวัลลภ เปนผูแทนพระองคมาทอดกฐินพระราชทานทุกป

หลั งจากพระองค เสด็ จทิ วงคต เมื่ อ พ .ศ . 2467 ศาสนสถานที่พระองคทรงบูรณะปฏิสังขรณไดทรุดโทรมลง ไมมี เจานายมาบูรณะปฏิสังขรณ จนกระทั่งไดมีการบูรณะปฏิสังขรณพระอุโบสถในภายหลัง (พ.ศ. 2525) 8. ศาสนสถานที่ทรงสรางถวายวัด

ภาพ 31 ศาลาจัตุรมุขสลักตราอารม ครั้งที่สมเด็จพระเจานองยาเธอ เจาฟาอัษฎางคเดชาวุธ กรมขุนนครราชสีมา (พระยศในขณะนั้น) ทรงมีพระศรัทธาบูรณะปฏิสังขรณวัดหอมศีลตั้งแต พ.ศ. 2455 เปนตนมาทรงรับใบเหยยีบย่าํที่นาบริเวณ ตําบลบางเกลือ อําเภอบางปะกง จากขนุพิทกัษสิงขรภูมิ นายอําเภอบางปะกงในสมัยนั้น จํานวน 1 แปลง เนื้อทีท่ั้งหมด 1,300 ไร เมื่อ พ.ศ. 2464 ในคราวสรางพระอุโบสถ ซ่ึงในขณะนัน้เปนทีด่ินสวนพระองค ครั้นทรงเสด็จทวิงคต เมือ่ พ.ศ. 2467 และถวายพระเพลิงพระศพ พ.ศ. 2468 และในป พ.ศ. 2469 นาวาโทสระ เสรีวัลลภ ทําฎีกาถวายพระบาทสมเด็จพระปกเกลาเจาอยูหัว รัชกาลที่ 7 ขอพระราชทานที่ดินพระมรดกตามตราจอง เลขที่ 15, 16, 52 จํานวน 1,300 ไร ใหกับวัด

Page 42: บทที่ 4 แก้ไข - -CUSTOMER VALUE-thesis.rru.ac.th/files/pdf/357_2010_12_16_041202.pdfมหาว ทยาล ยราชภ ฏราชนคร นทร 49

มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

89

ซ่ึงในขณะนั้นทรงเปนผูจัดการพระมรดกของสมเด็จพระเชษฐาธิราช เจาฟาอัษฎางคเดชาวธุ กรมหลวงนครราชสีมา (พระยศในขณะนั้น) พระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัว รัชกาลที่ 7 ทรงพระกรุณาโปรดเกลาฯ พระราชทานที่ดนิพระมรดกจํานวนดังกลาวใหกับวัดสุคันธศีลาราม จํานวน 1,000 ไร และพระราชทานใหนาวาโทสระ เสรีวัลลภ จํานวน 300 ไร ซ่ึงดําเนินการสํารวจและออกโฉนดเสรจ็ในราว พ.ศ. 2473 ซ่ึงที่ดินของวัด จํานวน 1,000 ไรนัน้ เปนที่ธรณีสงฆ ปจจุบนัใหชาวบานเชาทํามาหากิน เสียคาเชาใหแกวัดเปนรายป

นอกจากพระราชทานที่ดินแกวัดแลว ยังทรงสรางศาสนสถานพระราชทานอีกหลายแหง คือ

8.1 ศาลาการเปรียญ 1 หลัง สรางดวยไมสักทั้งหลัง หลังคามงุกระเบือ้งไทย มชีอฟา ใบระกาประดับกระจกสีหนาบันไมแกะสลัก ตรงกลางแกะเปนตราประจําพระองค คือ ตราอาวุธ 8 อยาง พื้นประดับกระจกสี พื้นศาลาปูดวยไมตะแบกแผนเต็มทั้งหลังสรางเสร็จ พ.ศ. 2458

8.2 ศาลาจัตรุมุข 1 หลงั ตัง้อยูหนาศาลาการเปรยีญ สรางดวยไมสักหลังคามุงกระเบือ้งเคลอืบ ชอฟา ใบระกา ประดับกระจกสี หนาบันท้ัง 4 ดาน แกะสลักหนาบันเปนตราประจาํพระองค พื้นลายประดับ กระจกสี พื้นศาลาปูดวยไมกระดานแผน มลีูกกรงรอบ มบีันไดทางขึ้น- ลง 2 ทาง สรางเสร็จ พ.ศ. 2457 8.3 ศาลาน้ําริมคลอง 2 หลัง ขนาดเล็ก อยูริมคลอง สรางดวยไมสักทั้งหลัง มีชอฟา ใบระกาประดบักระจกสี หนาบันเปนไมแกะสลกัพระนามยอ อ.ด.พื้นปูดวยไมกระดานแผน มีลูกกรง 2 ดาน สรางเสร็จ พ.ศ. 2456

8.4 เสาหงส 1 คู ตั้งอยูหนาศาลาการเปรียญ ตัวหงสหลอดวยทองเหลืองเสาฉลุลายทอง

ภาพ 32 ตวัหงสหลอดวยทองเหลือง

Page 43: บทที่ 4 แก้ไข - -CUSTOMER VALUE-thesis.rru.ac.th/files/pdf/357_2010_12_16_041202.pdfมหาว ทยาล ยราชภ ฏราชนคร นทร 49

มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

90

8.5 พระอุโบสถมีกําแพงแกลอมรอบ และมีวิหารคต มีมุมกาํแพงดานหนา 2 หลัง ตัวพระอุโบสถกออิฐถือปูน เปนอาคารทรงไทยหลังคาลดชั้น 3 ชั้น มีชอฟา ใบระกา มุงหลังคาดวยกระเบื้องเคลือบ หนาบัน ไมแกะสลักรูปตราประจําพระองคพื้นประดับกระจกสี สรางเสร็จและฉลองในป พ.ศ. 2464

8.6 ศาลาจัตุรมุขหนาพระอุโบสถริมคลอง 1 หลัง สรางดวยไมสักทั้งหลังมีชอฟาใบระกาประดับกระจกสีหนาบัน 4 ดาน เปนไมแกะสลัก อักษรพระนามยอ อ.ด. และตราประจําพระองค พื้นศาลาปูดวยไมกระดานแผนมีลูกกรงลอมรอบ นาจะสรางเสร็จพรอมกับพระอุโบสถ

8.7 อางปลูกโพธิ์ศรีมหาโพธิ์ 2 อาง หนาพระอุโบสถ นอกกําแพงแกว เปนอางปูนใสตนโพธิ์นํามาปลูกที่วัด ขนาดของอางไมใหญมากนัก แตปจจุบันตนโพธิ์มีขนาดใหญขึ้น อางไดแตก และทางวัดไดกอขอบปูนลอมรอบ

8.8 กุฏิพระสงฆทรงไทย จํานวน 6 หลัง สรางดวยไมสักแบบเรือนฝากระดาน มีปนลม หลังคามุงกระเบื้องไทย สรางเสร็จ พ.ศ. 2465 อยูใกลกับศาลาการเปรียญ

8.9 ศาลาจิตศรัทธา 1 หลัง เปนอาคารทรงป นหยา สรางยื ่นลงไปในน้ํา ตั้งอยูระหวางศาลาจัตุรมุขกับคลอง สรางดวยไมสักทั้งหลัง หลังคามุงกระเบื้องซีเมนต ปจจุบันไดรื้อไปแลว เหลือแตปายเก็บไวที่วัด

8.10 ถนนปนูเชื่อมระหวางพระอุโบสถกบักุฏิสงฆ 1 สาย 8.11 หอระฆังและหอกลอง สรางดวยไม สวนบนเปนหลังคาทรงไทย มีชอฟา ใบระกา

ประดับกระจกสี หนาบันเปนไมแกะสลักตราประจําพระองค พื้นประดับกระจกสี (ในบันทึกของ นาวาโทสระ เสรีวัลลภ ไมไดกลาวถึงหอระฆัง)

(ขอมูลทั้งหมดเรียบเรียงจากการสอบถามทานเจาอาวาสองคปจจุบัน (พระครูสุคนธสีลากร) นายเชิดศักดิ์ บําเพ็ญเชาว และจากบันทึกของนาวาโทสระ เสรีวัลลภ มหาดเล็กในพระองค บันทึกไวเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2499) 9. ลําดับทานเจาอาวาส การกอสราง และการบูรณะสังขรณพระอาราม

การเรียงลําดับการกอสรางศาสนสถานตางๆ รวมทั้งการเรียงลําดับทานเจาอาวาส เรยีบเรยีงจากคําบอกเลาของทานเจาอาวาสองคปจจุบัน และบันทึกของนาวาโทสระ เสรีวัลลภ ตั้งแตเริ่มแรกกลาวคือ

สมัยพระอธิการอิ่ม (เริ่ม พ.ศ. 2420-ไมทราบป พ.ศ.) เริ่มแรกที่มีการยายวัดมาจากที่เดิมนั้น ไมมีหลักฐานแนชัดวายายมาตั้งแตเมือ่ใด แตมีหลกัฐานวาวัดหอมสิน สรางมาตั้งแต พ.ศ. 2420 และไดรับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ. 2430 (ในรัชกาลที่ 5) เจาอาวาสองคแรก คือ เจาอธกิารอ่ิม (อาจารยอ่ิม) สันนษิฐานวา ในชวงนี้คงมกีารกอสรางศาสนสถาน

Page 44: บทที่ 4 แก้ไข - -CUSTOMER VALUE-thesis.rru.ac.th/files/pdf/357_2010_12_16_041202.pdfมหาว ทยาล ยราชภ ฏราชนคร นทร 49

มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

91

ตางๆ แลวเทาที่ทราบ มีโบสถ และกุฏิหรืออาคารทรงไทย สําหรับโบสถเกาตั้งอยูบริเวณวิหารในปจจุบัน เปนโบสถไม ภายในประดิษฐานพระประธาน ปางมารวิชัย ชาวบานเรียกวา “หลวงพอโต” สอบถามแลวทราบวาหลอพระองคนี้ภายหลัง พ.ศ. 2430 โบสถหลังนี้ยังใชประกอบศาสนพิธีเรื่อยมา ถึงแมจะมีโบสถใหมก็ตาม ภายในโบสถเกานอกจากจะมีพระประธานแลว ยังเก็บรักษาพระพุทธรูปทรงเครื่อง ขนาดเล็ก และขนาดใหญ ปางหามญาติ ปางมารวิชัย รูปพระภิกษุณี และพระพุทธรูปอื่นๆ เปนจํานวนมาก ประมาณ 100 องค แตปจจุบันถูกขโมยไปเกือบหมดเหลือเก็บรักษาไวที่วัดประมาณ 10 กวาองค นอกจากนี้ยังเคยมีพระพุทธรูปทําดวยศิลาแลง อีกหลายองค เมื่อโบสถเกาอยูในสภาพชํารุด ทรุดโทรมมาก ทางวัดไดทําการรื้อถอนเพื่อสรางวิหารหลังใหม ในราว พ.ศ. 2532 ซ่ึงไดสรางทับลงบนที่เดิม สวนใบเสมา ลูกนิมิต และพระศิลาแลงที่หักชํารุด ไดบรรจุลงในฐานชุกชีใน วิหารหลังใหม และไดอัญเชิญหลวงพอโตมาประดิษฐาน เปนพระประธานในวิหารหลังใหม วิหารหลังใหมนี้สรางเสร็จประมาณ พ.ศ. 2535

นอกจากโบสถเกาแลวเทาที่ทราบ ยังมีอาคารทรงไทยสรางดวยไมอยูอีก 1 หลัง สันนิษฐานวา คงเคยเปนกุฏิสงฆ ปจจุบันใชเปนที่เก็บศพ และเก็บเครื่องใชเกี่ยวกับพิธีศพ ซ่ึงตัวอาคารอยูในสภาพที่ทรุดโทรมมาก

สมัยอาจารยจอย (ไมทราบป พ.ศ. แตทราบวาเปนเจาอาวาสประมาณ 6 ป) ไมทราบรายละเอยีดในชวงนี้

สมัยอาจารยบุญ (พระอุปชฌาบุญญาโชติ ตําแหนงเจาคณะอําเภอบางปะกง) เปนเจาอาวาสในชวงที่สมเด็จพระเจานองยาเธอ เจาฟาอัษฎางคเดชาวุธ กรมขุนนครราชสีมา เสด็จประพาส และทรงบูรณปฏิสังขรณวัดที่ทานอาจารยบุญลาออก แลวอาจารยลีเปนเจาอาวาสตอ แตทราบวาทานอาจารยบุญมรณภาพ พ.ศ. 2481

ทานเจาอาวาสเลาวา ทานอาจารยบุญเปนพระที่มีคนนับถือมาก รวมทั้งสมเด็จพระเจานองยาเธอ เจาฟาอัษฎางคเดชาวุธ กรมขุนนครราชสีมา ดวยทรงนับถือและเลื่อมใสทานอาจารยบุญมาก จึงทรงศรัทธาบูรณะปฏิสังขรณวัดหอมศีลซ่ึงศาสนสถานตางๆ ในชวงนี้สวนใหญพระองคทรงสรางถวายวัด ดังที่ไดกลาวมาแลวซ่ึงอยูในระหวาง พ.ศ. 2455 ถึง พ.ศ. 2465 รวมระยะเวลาประมาณ 10 ป ทรงสรางศาสนสถาน 11 แหง

ตามบันทึกของนาวาโทสระ เสรีวัลลภ กลาววาทานอาจารยบุญไดสรางศาลาบุญกิตติ์ ศาลาหอสวดมนต กุฏิสงฆ 3 หลัง และไดทําการรื้อถอนพระอุโบสถเกา เปนวิหาร 1 หลัง (คงจะเปนวิหารไมหลังเกากอนจะรื้อสรางวิหารหลังปจจุบัน)

Page 45: บทที่ 4 แก้ไข - -CUSTOMER VALUE-thesis.rru.ac.th/files/pdf/357_2010_12_16_041202.pdfมหาว ทยาล ยราชภ ฏราชนคร นทร 49

มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

92

สมัยทานอาจารยลี (พระครลู)ี ไมทราบป พ.ศ.ที่เริ่มตนเปนเจาอาวาสแตทราบวากอน พ.ศ. 2482 และทานมรณภาพ เมือ่ พ.ศ. 2495

ในบันทึกของนาวาโทสระ เสรีวัลลภ กลาวไววา ทานไดสรางศาลาฟงธรรม 1 หลัง สะพานไมขามคลองปากตะคลอง (คลองสําโรง) หนึ่งสะพาน ซึ่งไดเรี่ยไรเงินชาวบานสราง เมื่อ พ.ศ. 2482 สรางเขื่อนคอนกรีตหนาวัด ยาวประมาณ 5 เสน 10 วา (220 เมตร) โดยใชเงินผลประโยชนของวัดจากการเชาที่ธรณีสงฆเปนจํานวนเงินสี่หมื่นบาทเศษ และไดเรี่ยไรเงินสรางโรงเรียนประชาบาล 1 หลัง ในบริเวณดานหลังวัด ในราว พ.ศ. 2485 ซ่ึงในปจจุบันโรงเรียนแหงนี้ดําเนินการสอนตั้งแตชั้นประถมศึกษาปที่ 1-6 และมัธยมศึกษาปที่ 1-3

สมัยทานอาจารยนอม (พระอธิการนอม สีลวัณโณ เริ่มเมื่อ พ.ศ. 2495 จนลาออกเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ พ.ศ. 2527 ปจจุบันยงัจําพรรษาที่วดัหอมศีล)

ในชวงนี้ พระอารามสวนใหญอยูในสภาพชํารุดเสียหาย พระอธิการนอมไดทําหนังสือไปยังกรมการศาสนา ลงวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2497 เพื่อขอเงินมาทําการบูรณะปฏิสังขรณพระอาราม จํานวน 3 แสนบาท แตเรื่องไดเงียบหายไปทางวัดและชาวบานหอมศีลจึงไดดําเนินการกันเอง

โรงเรียนพระปริยัติธรรมของทานขุนเปรมพลีเขต (เล็ก ชาลีชาติ) เมื่อ พ.ศ. 2497 เปนอาคารทรงตึก 2 ช้ัน ปจจุบันยังใชอยู

เมรุปูนเผาศพ แมชีเคลือบ ราชนยิม กับพวกอุบาสก อุบาสิกา เรีย่ไรเงินสรางถวายวัด สรางศาลาการเปรียญหลังใหม เมื่อ พ.ศ. 2507 เปนอาคารทรงตึกมีใตถุน หลังคาเปนแบบ

ไทยลดชั้น 2 ช้ัน หนาบันประดับกระจกสี ลักษณะลวดลายเลียนแบบจากหนาบันศาลาการเปรียญหลังเกา คือ ตรงกลางแกะสลักและปดทองประดับกระจกสีรูปอาวุธ 8 อยาง

ในราว พ.ศ. 2506-2507 ไดทําการยายศาลาจัตุรมุข และศาลาการเปรียญ ซ่ึงเจาฟาอัษฎางค เดชาวุธฯ ทรงสรางจากพื้นที่วางระหวางโรงเรียนพระปริยัติธรรมกับคลอง (ในปจจุบัน) มาปลูกสรางใหม ในที่ตั้งปจจุบัน ซึ่งแตเดิมศาลาจัตุรมุขและศาลาการเปรียญเปนไมสักทั้งหลัง แตเมื่อถอดถอนมาปลูกสรางใหมไดดัดแปลงเปนศาลาครึ่งตึก ครึ่งไม สวนของหลังคา หนาบัน ชอฟา ใบระกา คันทวย ยังเปนของเดิม แตเสา พื้นบันไดทางขึ้น ลูกกรง เปนคอนกรีตหมด รวมทั้งในระหวางนี้ไดยายหมูกุฏิสงฆเดิมที่เจาฟาอัษฎางคฯ ทรงสรางถวายวัด จากบริเวณใกลกับที่ตั้งศาลาจัตุรมุข ศาลาการเปรียญ คือบริเวณหนาหอระฆังในปจจุบันมาปลูกใหมขนาบขางศาลาจัตุรมุข และศาลาการเปรียญ ตอมาในป พ.ศ. 2530 ไดมีการแปลงกุฏิทรงไทย 6 หลัง ใหเปนอาคารครึ่งตึกครึ่งไม 2 หลัง กลาวคือ อาคารแตละหลังมี 2 ช้ัน ช้ันลางเปนตึกแบงเปนหองๆ ชั้นบนเปนอาคารทรงไทยเดิมที่ไดดัดแปลงใหปลูกติดกัน สําหรับสาเหตุที่ยายมานั้น เนื่องจากทางวัดตองการใหมีพื้นที่วางบริเวณนั้น เพื่อใชประกอบกิจกรรมอื่น

Page 46: บทที่ 4 แก้ไข - -CUSTOMER VALUE-thesis.rru.ac.th/files/pdf/357_2010_12_16_041202.pdfมหาว ทยาล ยราชภ ฏราชนคร นทร 49

มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

93

ใน พ.ศ. 2522 กรมศิลปากรไดมาทําการสํารวจและประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานพระอุโบสถวัดสุคันธศีลาราม (วัดหอมศีล) เปนโบราณสถาน ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เลมที่ 96 ตอนที่ 184 ประกาศ ณ วันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2522 หนา 3951

เมื่อคราวจะฉลองกรุงรัตนโกสินทรครบ 200 ป เมื่อ พ.ศ. 2525 ทางคณะกรรมการวัด คณะกรรมการอําเภอ คณะกรรมการจังหวัดฉะเชิงเทรา กรมศิลปากรและทางวัด ไดดําเนินการบูรณะปฏิสังขรณพระอุโบสถ พระวิหารคด ประตู และกําแพงแกว ซ่ึงในขณะนั้นอยูในสภาพชํารุดทรุดโทรมมาก เนื่องจากระยะเวลาที่สรางมานั้น ตั้งแตสรางและฉลองพระอุโบสถเมื่อ พ.ศ. 2464 จนลวงมาถึง พ.ศ. 2525 ระยะเวลาประมาณ 60 กวาปมาแลว ยังไมมีการบูรณะปฏิสังขรณพระอุโบสถเลย จึงไดเริ่มทําการบูรณะในราว พ.ศ. 2525 เปนตนมา จนเสร็จเรียบรอยในราว พ.ศ. 2530

หลังจากที่ทานอาจารยนอมลาออก เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ พ.ศ. 2527 พระครูอาทร สังขกิจ (พระครูผิน) เจาคณะตําบลบางสมัคร และเจาอาวาสวัดลาดยาว รักษาการตําแหนง เจาอาวาส ถึง พ.ศ. 2528 สมัยทานอาจารยหนู (พระครูสุคนสีลากร) ไดรับแตงตั้งเปนเจาอาวาสตั้งแต 7 มกราคม พ.ศ. 2528 จนถึงปจจุบัน ซ่ึงกอนหนานั้นทานดํารงตําแหนงรองเจาอาวาสกอน

เมื่อทานเปนฆราวาส มีนามวา นายบุญยงค เสรีวัลลภ เกิดวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2471 เปนชาวหอมศีล ทานบรรพชาและอุปสมบท เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2491 ที่วัดหอมศีล ตอมาสอบไดนักธรรมเอก ไดรับพระราชทานสมณศักดิ์เปน พระครูบุญยงค ธมมฺสาโร ตอมาไดรับพระราชทานสมณศักดิ์เปนพระครูสัญญาบัตรที่ “พระครูสุคนสีลากร” เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2534

ในสมัยของทานเจาอาวาสองคปจจุบัน ไดมีการปรับปรุงบูรณะปฏิสังขรณพระอาราม และสรางศาสนสถานตางๆ กับไดรับความเมตตาอนุเคราะหจากพระคุณหลวงพอพระพุทธิรังสี รองเจาคณะจังหวัดฉะเชงิเทรา เปนประธานในการบูรณะปฏิสังขรณพระอารามเปนอยางดี เชน

พ.ศ. 2524 เปนประธานในการกอสรางเมรุ 1 หลัง แทนหลังเกา พ.ศ. 2528 เปนประธานในการบรูณะพระอุโบสถตอจากทานอาจารยนอมจนเสร็จ พ.ศ. 2528 - 2532 เปนประธานในการบูรณะศาลาจัตุรมุขเดิม 2 หลัง และสรางใหมอีก 1

หลัง รวม 3 หลัง พ.ศ. 2529 เปนประธานในการกอสรางกฏุิสงฆทรงไทย 6 หลัง โดยดดัแปลงมาเปน

อาคารครึ่งตกึครึ่งไม พ.ศ. 2530 รวมในการกอสรางศาลาประชาคม 1 หลัง พ.ศ. 2530 วันที่ 13 เมษายน จัดพิธีฉลองพระอุโบสถ หลังจากบูรณะปฏิสังขรณเรียบรอย

แลว โดยกราบอาราธนาเชิญหลวงพอพระพรหมคุณาภรณ เจาคณะจงัหวดัฉะเชงิเทรา และเชญิ พล.อ.พิจิตร กุลละวนิชย (ผูชวยผูบัญชาการทหารบก ยศในขณะนั้นปจจุบันเปนองคมนตรี) มาทําพิธีเปด

Page 47: บทที่ 4 แก้ไข - -CUSTOMER VALUE-thesis.rru.ac.th/files/pdf/357_2010_12_16_041202.pdfมหาว ทยาล ยราชภ ฏราชนคร นทร 49

มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

94

พ.ศ. 2532-2535 เปนประธานในการกอสรางวิหารหลังใหม แทนหลังเดิมที่เปนไม ลักษณะของวิหารทรงสี่เหลี่ยม หลังคาทรงไทย จตุรมุข หนาบันดานหนาปนปูนรูปทานอาจารยบุญ ดานขาง 2 ดาน ปนปูนเปนตราพระเกี้ยว และอาวุธ 8 อยาง พื้นหนาบันปนปูนลายกนกเปลว พื้นประดับกระจกสี ภายในเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนัง เรื่อง ทศชาติชาดก เปนภาพเขียนสีน้ํามัน สมัยใหม และไดอัญเชิญหลวงพอโต มาประดิษฐานที่เดิม วิหารหลังนี้สรางเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2537

พ.ศ. 2535 เปนประธานในการสรางพระอนุสาวรีย สมเด็จพระเจาบรมวงศเธอ เจาฟาอษัฎางคเดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา ณ พื้นที่ดานทิศตะวันออกของโบสถ ปจจุบันยงัไมไดทําพิธีเปด

พ.ศ. 2536 ทานไดมอบหมายใหบริษัท มรดกโลก จํากัด ดําเนินการลอกบานประตูพระอุโบสถเพื่อนําไปเขียนลายรดน้ําบนบานประตู หนาตางพระอุโบสถ แทนลายเดิมที่ไดลบเลือนไปหมดแลว ซ่ึงทางบริษัทฯ ไดเริ่มดําเนินการตั้งแตวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2536 และจะแลวเสร็จในวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2536

Page 48: บทที่ 4 แก้ไข - -CUSTOMER VALUE-thesis.rru.ac.th/files/pdf/357_2010_12_16_041202.pdfมหาว ทยาล ยราชภ ฏราชนคร นทร 49

มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

95

ศาลเจาพอหลักเมือง

ตั้งอยูตําบลหนาเมือง อําเภอเมืองฉะเชิงเทรา แนวเดียวกับปอมกําแพงเมือง ภายในเสาหลักเมืองยอดหัวเม็ด ซ่ึงแตกตางจากจังหวัดอื่นๆ กลาวคือ มีลักษณะเปนศิลปะจีนคลายศาลเจาจีน

ในกําแพงเมืองเกา เปนที่ประดิษฐานของศาลหลักเมืองและเสาหลักเมืองอันศักดิ์สิทธิ์ ซ่ึงเชื่อกันวาเปนของคูบานคูเมืองที่ชวยคุมครองปกปกรักษาเมืองแปดริ้วใหพนจากภยันตรายทั้ง

ปวงมาแตอดีตกาล

ภาพ 33 ศาลเจาพอหลักเมือง ศาลหล ัก เ ม ือ งนั ้นม ีม าตั ้ง แต ค รั ้ง สร า ง เ ม ือ งแปดริ ้ว ล ว งม าถ ึง ร ัชสม ัยของพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกลาเจาอยูหัว เสาหลักเมืองชํารุด ผุขาดไปมาก จึงไดสรางเสาขึ้นใหมดวยไมมะคา และจัดใหมีงานบําเพ็ญกุศลและสมโภชในการยกเสาในวันท่ี 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2438 บริเวณศาลหลักเมืองเคยมีปนใหญกองรวมกันอยู ภายหลังกรมศิลปากรไดนํามาวางบนกําแพงเมืองประมาณ 5 กระบอก ดังที่เห็นอยูในปจจุบัน

Page 49: บทที่ 4 แก้ไข - -CUSTOMER VALUE-thesis.rru.ac.th/files/pdf/357_2010_12_16_041202.pdfมหาว ทยาล ยราชภ ฏราชนคร นทร 49

มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

96

กําแพงเมืองเกา

ภาพ 34 กําแพงเมืองเกา

กําแพงเมืองเกาเปนของคูบานคูเมือง ซ่ึงจารึกรองรอยสําคัญทางประวัติศาสตรหลายยุคสมัย ทั้งรองรอยแหงชัยชนะในการศึกสงครามและเหตุการณนองเลือด อันเปนโศกนาฏกรรมครั้งใหญของเมืองฉะเชิงเทรา

ความเป นมาของกํ าแพง เมืองย อนกลับไปถึ งต นกรุ งรั ตนโกสินทร ในรัชสมั ย

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกลาเจาอยูหัว ขณะนั้นไทยกําลังขับเคี่ยวทําสงครามกับญวนเพื่อรักษา

อํานาจในการปกครองเมืองเขมร ไทยและญวนไดสูรบยืดเยื้อกันยาวนานถึง 14 ป (พ.ศ. 2376-2390) จนอาจกลาวไดวา “สงครามอานามสยามยุทธ” ในครั้งนั้นเปนการศึกกับตางชาติที่ยาวนานที่สุด

ดวยลําน้ําบางปะกงเปนแมน้ําสายหลัก และเปนชัยภูมิธรรมชาติอยางดีในการปองกันขาศึกศัตรู ในปมะเมีย พ.ศ. 2377 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกลาเจาอยูหัวจึงไดโปรดเกลาฯ ใหกรมหลวงรักษรณเรศร เปนแมกองสราง กําแพงพรอมปอมปราการรักษาปากน้ําแหงนี้ เพื่อใหเมืองฉะเชิงเทราเปนเมืองเขื่อนขัณฑกันพระนครทางทิศตะวันออกของแมน้ําเจาพระยาใหปลอดภยัจากขาศึก กําแพงมลีักษณะกออิฐถือปนูหนา 1 เมตร สูง 3 เมตร ยาว 3 เสนทางดานเหนือ, 3 เสนทางดานใต, 6 เสน 10 วา ทางทิศตะวันออก 6 เสน 10 วา ทางทิศตะวนัตก มีเนื้อที่ทั้งสิ้น 19 ไร 2 งาน ดานขางและดานหลังหางจากกําแพงออกไปประมาณ 100 เมตร มีคูน้ําเปนแนวปองกันอีกชัน้หนึ่ง บริเวณกําแพงเมืองไดมีการขุดพบกระสุนปนใหญเปนจํานวนมาก ปนใหญบางกระบอกมีจารึกเปนตัวเลข อารบิคและอักษรโรมันที่ทายกระบอกกําแพงเมืองปอมปราการนี้ นอกจากจะเปนเครื่องแสดงขอบเขตเมือง

Page 50: บทที่ 4 แก้ไข - -CUSTOMER VALUE-thesis.rru.ac.th/files/pdf/357_2010_12_16_041202.pdfมหาว ทยาล ยราชภ ฏราชนคร นทร 49

มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

97

อยางชัดเจนเปนครั้งแรกของฉะเชิงเทราในยุคโบราณแลว จากชัยชนะของไทยใน

สงครามอานามสยามยุทธ ยังเปรียบเสมือนประจักษพยานในบทบาทของฉะเชิงเทราในฐานะเมืองหนาดานซึ่งทําหนาที่ปกปองรักษาเมืองหลวงของชาติเปนครั้งแรกในประวัติศาสตรเมืองแปดริ้วอีกดวย

8 เมษายน 2391 เปนอีกวันหนึ่งที่เกิดเหตุการณสําคัญขึ้นในประวัติศาสตรของเมืองนี้ ในเมืองแปดริ้วนั้นมีอ้ังยี่อยูกกหนึ่งชื่อ “กกเสงทง” ในวันเกิดเหตุมีการแสดงงิ้วท่ีศาลเจา ชาวจนีเหลานี้ไดพากันไปดูงิ้วโดยอาศัยขามคลองจุกเฌอไปที่ศาลเจา ที่เชิงสะพานแหงนั้นมีบานคนไทยซึ่งมีสุนัขดุ สุนัขไดออกมาไลกัด ชาวจีนตองพากันไลตีสุนัข เจาของสุนัขโกรธ จึงเอาเลื่อยไปเลื่อยสะพานขามคลอง ครั้นขากลับจากดูงิ้ว ชาวจีนเดินขามสะพาน ปรากฏวาสะพานหัก จึงเกิดเปนปากเสียงจนถึงกับตอยตีกัน

เหตุการณไดทวีความรุนแรงลุกลามกลายเปนการจลาจล เพียงหลังจากนั้นไมนาน เมื่อชาวจีนคนหนึ่งตั้งตัวเปน “ตั้วเหี่ย” หรือหัวหนาอั้งยี่ เขาปลนโรงหีบออยและฆาเจาของโรงหีบ ซ่ึงเปนชาวจีน ดวยกัน ครั้นพระยาวิเศษฤๅชัย (บัว) เจาเมืองแปดริ้วออกไปจับกุม เกิดการสูรบกันขึ้นจนพระยาวิเศษฤๅชัยส้ินชีวิตในขณะปฏิบัติหนาที่ ไมกี่วันตอมา “ตั้วเห่ีย” ก็กอการกบฏ นําคณะอั้งยี่ยึดเมืองฉะเชิงเทรา เผาเมอืง และตั้งกําลังมั่นในกําแพงปอมปราการแหงนี้

รอนถึงทางกรุงเทพฯ ตองสงกองทัพหลวงออกมาปราบปรามอยางเด็ดขาด มีเจาพระยาพระคลังและเจาพระยาบดินทรเดชาเปนแมทัพจึงเอาชนะพวกอั้งยี่ได

ในการรบครั้งนั้นเกิดการฆาฟนกันตายนับพัน จนมีผูกลาวกันวา ศพไดลอยไปตามแมน้ํา บางปะกงจนน้ําในแมน้ําแดงเปนสีโลหิต นับเปนเหตุการณนองเลือดครั้งยิ่งใหญที่สุดที่เคยมี

มาในอดีตเขตกําแพงเมืองมีพื้นที่ประมาณ 100 ไรเศษ แตเนื่องจากทางราชการไดใชพื้นที่เพื่อเปนสถานที่ราชการตางๆ ดังนี้ 1. ศาลหลักเมอืง ตั้งขึ้นเมื่อป พ.ศ. 2377 มีพื้นที ่5 ไร 3 งาน 2. โรงพยาบาลเมืองฉะเชงิเทรา ตั้งขึ้นเมื่อป พ.ศ. 2478 มีพื้นที ่23 ไร 3. สโมสรขาราชการ จ.ฉะเชิงเทรา มีพื้นทีป่ระมาณ 3 ไร 3 งาน 4. สํานักงานปฏิรูปที่ดิน จ.ฉะเชิงเทรา มีพื้นที่ 1 ไร 2 งาน 5. สํานักงานสาธารณสุข จ.ฉะเชิงเทรา มีพื้นที ่ 3 ไร 16 ตารางวา 6. สํานักงานเหลากาชาดจังหวัดฉะเชิงเทรา มีพื้นที่ 1 ไร 1 งาน 98 ตารางวา

ในวันนี้ ตัวกําแพงยังคงสภาพเดิมเหมือนเมื่อครั้งตนกรุงรัตนโกสินทร เปนโบราณสถาน

สําคัญแหงหนึ่งของเมืองฉะเชิงเทราภายในกําแพงปอมปราการคือเรือนจําประจําจังหวัด สวนดานหนาแนวกําแพงจัดเปนสวนสาธารณะริมแมน้ําบางปะกง เปนที่พักผอนหยอนใจของชาวแปดริ้ว

Page 51: บทที่ 4 แก้ไข - -CUSTOMER VALUE-thesis.rru.ac.th/files/pdf/357_2010_12_16_041202.pdfมหาว ทยาล ยราชภ ฏราชนคร นทร 49

มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

98

ปนใหญโบราณบนกําแพงเมือง

ภาพ 35 ปนใหญโบราณบนกําแพงเมือง

การสงคราม “อานามสยามยุทธ” ระหวางไทยกับญวนซึ่งรบกันอยูในประเทศเขมรหลายป และดวยสภาพที่ตั้งของเมืองฉะเชิงเทราเปนเมืองหนาดาน จึงถูกเกณฑทําการสีขาวขนขาวและตัดไมตอเรือเพื่อใชบรรทุกขาว เกลือ ลําเลียงสงไปใหกองทัพยังเมืองพนมเปญนอกจากนี้ เมืองฉะเชิงเทรายังตองจัดสงขอเหล็ก ตะปู และกลอน ซ่ึงเปนอุปกรณตอเรือ เพื่อ ไวใชรับศึกญวนที่จะยกเขามาดวย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกลาเจาอยูหัว (รัชการที่ 3) ทรงพระราชดําริวา ถาญวนยกกองทัพจูโจมเขามาทางทะเลหากไทยไมมีปอมปองกันปากน้ําไวใหมั่นคง ก็จะเสียทีแกขาศึก จึงโปรดฯ ใหสรางปอมเพิ่มเติมขึ้นที่เมืองสมุทรปราการ เมืองนครเขื ่อนขัณฑ (ปจจุบัน คือ อําเภอพระประแดง) และเมืองชายทะเล คือ เมืองจันทบุรี กับเมืองที่อยูปากน้ําสําคัญๆ เชน เมอืงสมุทรสาคร สมุทรสงคราม และเมืองฉะเชิงเทรา การสรางปอมครั้งนั้น ไมสามารถที่จะหาซื้อปนใหญสําหรับประจําปอมมาจากตางประเทศไดทันการเพราะกอนสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกลาเจาอยูหัว ปนใหญอยางโบราณที่ไทยสรางขึ้นไดเองมีแตปนทองเหลือง สวนปนเหล็กตองหาซื้อจากประเทศอื่น พระองคจึงโปรดฯ ใหหาชางที่ชํานาญการหลอปนใหญเปนปนเหล็กเขามาจากประเทศจีน และทําการหลอปนเหล็กขึ้นใชภายในประเทศไทยไดเองเปนครั้งแรก ดังนั้นจึงมีการสรางปนเหล็กขึ้นเปนจํานวนมาก

Page 52: บทที่ 4 แก้ไข - -CUSTOMER VALUE-thesis.rru.ac.th/files/pdf/357_2010_12_16_041202.pdfมหาว ทยาล ยราชภ ฏราชนคร นทร 49

มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

99

สวนทหารสําหรับประจําปอมนั้น ทรงพระราชดํารวิาจาํนวนคนที่มีอยูประจําปอมโดยปกติหากเวลาเกดิศึกสงครามคงจะไมพอทําการจึงโปรดใหเกณฑขนุหมื่น กรมตางๆ ผลัดเปลีย่นกนัเปนเวรมาฝกหัดยิงปนใหญไวสํารองราชการ ดังหมายเกณฑขุนหมื่นหัดยิงปนใหญที่วา “ดวยพระยาราชสุภาวดีรับพระราชโองการใสเกลาฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกลาฯ สั่งวา ซ่ึงหมายมาแตกอนใหเกณฑขุนหมื่นฝายทหารพลเรือน พระราชวังหลวง และพระราชวังบวร ซ่ึงไดรับพระราชทานเบี้ยหวัด ใหหัดยิงปนใหญใหรูชํานิชํานาญไว มีราชการศึกสงคราม จะไดชวยกันสูรบปองกันพระศาสนา รักษาแผนดิน” ตอมาในป พ.ศ. 2383 ยังอยูในชวง “สงครามอานามสยามยุทธ” มีพวกญวนที่อพยพหนีคายมาพึ่งไทย และพวกญวนเชลยที่เจาพระยาบดินทรเดชาสงมาเพิ่มอีกในภายหลัง รัชกาลที่ 3 พระราชทานพวกญวนเหลานี้ใหสมเด็จพระเจานองยาเธอ เจาฟากรมขุนอิศเรศรังสรรค ซ่ึงขณะนั้นทรงบังคับบัญชาทหารปนใหญใหใชสอยจึงโปรดใหรวมตั้งเปนกองเรียกวา “กองอาสาญวน” และยังโปรดใหบรรดาขาราชบริพารในพระองค เปนทหารปนใหญอีกจํานวนมาก พระองคไดทรงหัดใหพวกญวนเปนทหารปนใหญโดยจัดวิธีการตามแบบทันสมัยอยางฝรั่งขึ้นพรอมทั้งนําทหารปนใหญ

ทั้งหมดไปฝกหัดยิงปนใหญที่ปอมนครเขื่อนขัณฑมีการใสดินปนยิงกันจริงๆ เพื่อใหทหารปนใหญทุกคนมีความชํานาญในการยิงปนใหญ การทหารปนใหญของไทยจึงไดเริ่มพัฒนาเขาสูรูปแบบที่ทันสมัย มีทั้งหลักทฤษฎีและหลักปฏิบัติโดยใชปนใหญที่เปนเหล็กหลอข้ึนเองในประเทศ การฝกหัดยิงอยูภายใตการอํานวยการของสมเด็จเจาฟาจุฑามณี กรมขุนอิศเรศรังสรรค ผูบัญชาการทหารปนใหญ นอกจากนั้น พระองคยังไดทรงแปลตําราปนใหญจากตนฉบับเดิมที่เปนภาษาอังกฤษ เปนภาษาไทยในป พ.ศ. 2384 นับเปนตําราวิชาการปนใหญ แบบสมัยใหมฉบับแรกของประเทศไทย สําหรับฝกหัดทหารดวย การสรางปอมและกําแพงเมืองฉะเชิงเทราเมื่อเสร็จเรียบรอยแลวในป พ.ศ. 2387 ไดมีสารตราออกมาถึงเจาเมือง กรมการเมืองฉะเชิงเทรา ใหเกณฑไพรในเมืองออกตัดไมเครื่องโรงปนเตรียมไวใหครบตามจํานวน พรอมทั้งโปรดเกลาฯ ใหเสด็จกรมหลวงรักษรณเรศร เสด็จออกไปทรงจัดแจงใหทําการ ณ เมืองฉะเชิงเทรา เมื่อกรมหลวงรักษรณเรศรเสด็จถึงวันใดจะไดโปรดทําการใหแลวเสร็จโดยเร็ว หลังจากนั้นทางกรุงเทพฯไดสงปนใหญซึ่งใชกระสุนปนใหญขนาด 8 นิ้ว จํานวน 7 กระบอกมาไวที่เมืองนี้เพื่อเปนที่มั่น สําหรับปองกันขาศึกศัตรูโดยใหหลวงสําแดงเดชา เปนเจากรมปนใหญประจําเมืองฉะเชิงเทรา ซึ่งมีไพรเปนทหารปนใหญขึ้นอยูในบังคับบัญชา จํานวน 7 คน

Page 53: บทที่ 4 แก้ไข - -CUSTOMER VALUE-thesis.rru.ac.th/files/pdf/357_2010_12_16_041202.pdfมหาว ทยาล ยราชภ ฏราชนคร นทร 49

มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

100

ตอมาเจาเมืองฉะเชิงเทราไดรับรางสารตราจากเจาพระยาจักรี พรอมทั้งสงขุนพลาญณรงค ปลัดกรมอาษาวิเสท พระราชวังบวร และหมื่นสัจจาวกฤษ ฝรั่งแมนปน ออกมานําปนใหญจากเมืองฉะเชิงเทราไปไวที่เมืองนครเขื่อนขัณฑ จํานวน 6 กระบอก โดยสงปนปเรียมรางเทียน ขนาดกระสุน 4 นิ้วครึ่ง จํานวน 1 กระบอก ขนาดกระสุน 5 นิ้ว จํานวน 3 กระบอก และขนาดกระสุน 5 นิ้วครึ่ง จํานวน 2 กระบอก รวมเปน 6 กระบอก มาเปลี่ยนไวแทน และตลอดเวลาทางเมืองหลวงจะมีหนังสือส่ังการมายังพระยาวิเสศฤาไชยเจาเมืองฉะเชิงเทราใหเอา ใจใสตรวจตราปอมกําแพงเมือง ตึกปน ปนใหญ กระสุนดินดําหากของสิ่งใดชํารุดก็ใหทําการตกแตงซอมแซมใหมั่นคงดีดังเดิม พรอมทั้งใหเอาปนใหญออกขัดสีชโลมน้ํามัน อยาใหปนเปนสนิม และใหเอาดินดําออกตากแดด อยาใหอับชื้นขึ้นรา ในป พ.ศ. 2388 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกลาเจาอยูหัวทรงมีพระราชโองการโปรดเกลาฯใหพระยาพิชัยสงคราม หลวงนายสิทธิ์ ออกมาเมืองฉะเชิงเทรา เพื่อดูแลจัดแจงและเรงรัดใหนายดานทําแทนปนใหญที่คางอยูกับโรงปนอีก 3 หลังใหแลวเสร็จ พรอมทั้งใหทําการวัดแมน้ําบริเวณเมืองฉะเชิงเทรา และปากแมน้ําบางปะกงวาจะกวาง แคบ เทาใด ใหหยั่งน้ําดวยวาลึก ตื้นสักเทาไร และตามริมฝงแมน้ํามีที่เปนคุงแหลมอยูตรงไหนตําบลใด เพื่อจะไดทําการซุมซอนวางไพรพลและปนใหญไวสําหรับยิงขาศึกไดพรอมทั้งสั่งใหทําการอยางถี่ถวนดวย ในป พ.ศ. 2405 เจาพระยาศรีสุรยิวงศ วาที่สมุหพระกลาโหม ไดสงเจาพนกังานออกมาเมืองฉะเชิงเทราเพื่อตรวจดูดินดํา พบวามีดินดําอยู 160 หีบ หีบบรรจุดินดําผุพังเพราะปลวกกิน นําขึ้นมาจากเมืองฉะเชิงเทราเขาไปยังกรุงเทพฯ จํานวน 30 หีบ เพื่อนําไปหุงประสะเสียใหม และ ยังมีดินดําเหลืออยูที่เมืองฉะเชิงเทราอีก จํานวน 130 หีบ ซ่ึงเจาพระยาศรีสุริยวงศ วาที่สมุหพระกลาโหมไดจายใหกองทัพเจาพระยามุขมนตรี และพระยาสิงหราชฤทธิไกรไปบาง แตดินดํายังเหลืออีกจํานวนมาก ซ่ึงรัชกาลที่ 4 ทรงเห็นวาอยูใกลพวกจีนนักไวใจไมได แลวราชการทัพศึกสงครามในระยะหลังก็ไมมีเจาเมืองและกรมการเมืองฉะเชิงเทรารบัทราบทองตรา และรับพระราชทานดินดําไวสําหรับราชการบานเมือง จํานวน 8 หีบ ที่เหลือนอกจากนั้นไดใหหลวงสําแดงเดชา เจากรมปนใหญ สงมอบใหแกขุนสิงณราย คุมเรือบรรทุกเขาไปยังกรุงเทพฯ

ในป พ.ศ. 2406 ฯพณฯ สมุหพระกลาโหมออกมาตรวจราชการที่เมืองฉะเชิงเทรา ไดส่ังใหพระยาวิเสศฤาไชย และกรมการเมือง รื้อกระดานแทนปนใหญที่ชํารุด ไดกระดานไมตะเคียน หนา 14 นิ้ว ยาว 5 ศอก และ 6 ศอก จํานวน 114 แผน กระดานไมสัก หนา 13 นิ้ว-14 นิ้ว ยาว 3 วา และ 4 วา จํานวน 110 แผน และเหล็กตะปู ยาว 6 นิ้ว และ 7 นิ้ว จํานวน 967 ตัวโดยนําแผนไมกระดานและตะปูที่รื้อมานี้ไปซอมโรงปนที่ชํารุดหักพัง

Page 54: บทที่ 4 แก้ไข - -CUSTOMER VALUE-thesis.rru.ac.th/files/pdf/357_2010_12_16_041202.pdfมหาว ทยาล ยราชภ ฏราชนคร นทร 49

มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

101

ปนใหญที่เมืองฉะเชิงเทราเคยชํารุดเสียหาย เนื่องจากสลักคันคุมเหล็กไปพัดถูกเครื่องปนใหญหักการซอมแซมนั้น พระยาวิเสศฤาไชย เจาเมืองฉะเชิงเทรา ไดหาชางเหล็กซ่ึงเปนไพรหลวงสวยทองกองขุนนเรศใจภักดิ์ คือ นายนวย กับนายดวงลาวทาทราน เปนผูที่เคยทําเครื่องปนมาซอมแซมเครื่องปนที่เหล็กหักใหมั่นคงดีไดดังเดิม ปนใหญ จํานวน 5 กระบอก ที่ยังคงอยู ณ เมืองฉะเชิงเทรานี้ เดิมเคยถูกนําไปกองรวมกันไวที่บริเวณศาลหลักเมือง ตอมาในป พ.ศ. 2528 ทางกรมศิลปากรไดนําไปไวบนกําแพงเมืองฉะเชิงเทรา ซ่ึง 1 ใน 5 กระบอกนี้มีขนาดใหญที่สุด พบวามีจารึกเปนตัวอักษรโรมันอยูที่ทายของกระบอกปน อีกทั้งมีตัวเลขอารบิก คือ 101789 และบริเวณสุดสายชนวน จารึกไววา 70-2-24 สวนที่บริเวณลํากลองมีตรามงกุฎ ซึ่งมีผูสันนิษฐานวานาจะเปนลายลักษณะเครื่องหมายของ

บริษัทที่ทําการหลอปน นอกจากนี้ยังมีจารึกเปนตัวอักษรไทยบอกถึงจํานวนดินปนที่บรรจแุละขนาดของลูกปน ที่ใชกับปนใหญกระบอกนี้

Page 55: บทที่ 4 แก้ไข - -CUSTOMER VALUE-thesis.rru.ac.th/files/pdf/357_2010_12_16_041202.pdfมหาว ทยาล ยราชภ ฏราชนคร นทร 49

มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

102

ศาลากลางจังหวัดหลงัเกา หรือศาลาวาการมณฑลปราจีน

ตั้งอยูตําบลหนาเมือง อําเภอเมือง ศาลากลางจังหวัด หลังเกาหรือศาลาวาการมณฑลปราจีน เปนบันทึกของ การเปลีย่นแปลงทางการเมืองครั้งใหญ และเปนสัญลกัษณของการตอสูเพื่อรกัษาเอกราชของไทยในยุคจกัรวรรดินยิม จนม ีผูขนานนามวาเปน “อนุสาวรยีแหงเสรภีาพ” ของฉะเชิงเทรา

สงครามเยน็จากยุคลาอาณานคิมซึ่งเริ่มตนในชวงตน กรุงรัตนโกสินทร ไดระอุถงึขีดสุดในรัชสมัยของพระบาทสมเดจ็พระจลุจอมเกลาเจาอยูหัว ไทยจึงเรงปรบัปรุง บานเมืองใหทันสมัย เปนวิเทโศบายหลักในการสรางขวญัและกําลงัใจใหกับคนไทยที่กําลงัหวาดหวัน่ตอการคกุคามของมหาอํานาจ “มณฑลปราจนี” จึงถือกําเนดิขึ้นในป พ.ศ. 2435 ตามระบบเทศาภบิาล ซ่ึงเปนการปกครองแบบใหม จากการรวมตวัของเมืองฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี นครนายก และพนมสารคาม เมื่อมณฑลปราจีนขยายเขตการปกครองออกไป และเมืองฉะเชิงเทราไดเปนศูนยอํานาจรัฐและเปนที่ตั้งของที่วาการมณฑล

ภาพ 36 ศาลากลางจงัหวัดหลังเกา

จึงไดกอสรางศาลาวาการมณฑลปราจีนขึน้เปนที่ทําการในป พ.ศ. 2449 ศาลารัฐบาลแหงนี้มีบทบาทในการบริหารบานเมืองฉะเชิงเทราอยางสม่ําเสมอ แมเมื่อไทยยกเลิกระบบเทศาภิบาล

Page 56: บทที่ 4 แก้ไข - -CUSTOMER VALUE-thesis.rru.ac.th/files/pdf/357_2010_12_16_041202.pdfมหาว ทยาล ยราชภ ฏราชนคร นทร 49

มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

103

ศาลาวาการแหงนี้ก็ไดใชเปนศาลากลางจังหวัด และสุดทายในป พ.ศ. 2506 ไดเปนที่ตั้งสํานักงานเทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา จนถึงป พ.ศ. 2518 เมื่อเทศบาลฯ ไดยายไปใชที่ทําการใหม จึงไดใหเอกชนเขามาเชาชวงที่ดินแหงนี้ นาเสียดายอยางยิ่งที่ในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2527 สมบัติอันทรงคาของชาติแหงนี้ไดถูกเพลิงไหมจนเหลือแตหนาบัน ซ่ึงมีตราพญาครุฑติดอยูใหเห็นรองรอยของ

อาคารเดิมเพียงเล็กนอย ตอมากรมศิลปากรไดบูรณะอาคารขึ้นใหมแตยังคงมีสภาพเปนแหลงการคา มีอาคารพาณิชยปลูกสรางอยูโดยรอบ อาคารนี้มิไดรับการดูแลรักษาหรือใชประโยชนใหสมคุณคา อยางใดเลย

กรมศลิปากรไดขึ้นทะเบยีนอาคารหลังนี้เปนโบราณสถาน เมื่อ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2520

ภาพ 37 ศาลากลางจงัหวัดหลังเกา

เปนที่ทําการของสํานักงานทรัพยสินสวนพระมหากษัตริยในปจจุบนั

Page 57: บทที่ 4 แก้ไข - -CUSTOMER VALUE-thesis.rru.ac.th/files/pdf/357_2010_12_16_041202.pdfมหาว ทยาล ยราชภ ฏราชนคร นทร 49

มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

104

ศาลจังหวัดหลังเกา (อาคารทีท่ําการพุทธสมาคมในปจจบุัน)

ภาพ 38 ศาลจังหวัดหลังเกา

ศาลจังหวัดหลังเกาหรือในปจจุบันคือที่ทําการของพุทธสมาคมตั้งอยูที่ตําบลหนาเมือง อําเภอเมืองฉะเชิงเทรา ซ่ึงมีประวัติความเปนมาดังนี้

ในป พ.ศ. 2449 พระพินิจดุลอัฎ อธิบดีผูพิพากษาศาลมณฑลปราจีน ไดมีหนังสือเรียนไปยังพระยาจักรปาณี ศรีศิลวิสุทธิ์ปลัดทูลฉลองกระทรวงยุติธรรมวา ศาลเมืองฉะเชิงเทรา (หลังกอนซึ่งไมปรากฏหลักฐานวาตั้งอยู ณ ที่ใด) ชํารุดทรุดโทรมมาก ดังนั้นพอปตอมาคือ พ.ศ. 2450 ทางกระทรวงยุติธรรมจึงอนุมัติงบประมาณใหสรางศาลใหม 1 หลัง โดยใหพระพินิจดุลอัฏเปนผูดําเนินการ โดยตกลงจางเหมาจีนกิมทําการกอสรางเริ่มทําการกอสรางเมื่อ พ.ศ. 2450 นั่นเอง อาคารที่ทําการกอสรางนั้นเปนตึก กออิฐถือปูนชั้นเดียว หลังคามุงกระเบื้อง กวาง 20.27 เมตร ยาว 35.40 เมตร ใชเปนที่ทําการศาลมณฑลปราจนีบรุีทางมุขซาย และเปนที่ทําการศาลเมืองฉะเชิงเทราทางมุขขวา ตอมา พ.ศ. 2471 ทางมุขซายและมุขขวาทรุดเอียงไมเปนที่ปลอดภัย กระทรวงยุตธิรรมไดดําเนินการซอมแซม และขยายอาคารนี้ โดยตอมุขหนากวาง 2 เมตร ยาว 15 เมตร มุขหลังกวาง 6 เมตร ยาว 15 เมตร แลวจัดมุขหลงัเปนหองพิจารณา 1 หอง และหองผูพิพากษา 1 หอง เมื่อยุบศาลมณฑลปราจนีบุรแีลว ภายหลังไดตั้งสํานกังานอธิบดผีูพิพากษาภาค 2 ขึ้น ก็ไดจัดมุขซายดานหลงันี้เปนสํานกังานอธิบดีผูพิพากษาภาค 2 สวนหองพจิารณาดานหนา ใชเปนหองพจิารณาของศาลจงัหวัดฉะเชิงเทรา แตเนื่องจากการเพิ่มขึน้ของประชากรและคดีความ อาคารที่ขยายแลวยงัคับแคบไมสะดวกแกการปฏิบัตริาชการ ทั้งประกอบดวยอาคารเดิมกอสรางมา 60 ปเศษ ตัวอาคารทรุดโทรม ผนังอิฐแตกราว หลังคารั่วเกินกําลังทีจ่ะแกไขปรับปรุงได กระทรวงยตุิธรรมจึงไดดาํเนินการของบประมาณ

Page 58: บทที่ 4 แก้ไข - -CUSTOMER VALUE-thesis.rru.ac.th/files/pdf/357_2010_12_16_041202.pdfมหาว ทยาล ยราชภ ฏราชนคร นทร 49

มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

105

สรางอาคารที่ทํา การศาลจังหวัดฉะเชิงเทราและสํานักงานอธิบดีผูพิพากษาภาค 2 ขึ้น

ใหม โดยยายไปอยูใกลเคียงกับศาลากลางจังหวัดใหมในที่ดินราชพัสดุ ซ่ึงสํานักผังเมืองไดจัดทําที่ตั้งศาลจังหวัดหลังใหมกําหนดใหปลูกหันหนาไปทางสนามหนาศาลากลาง และรัฐบาลก็อนุมัติงบประมาณใหในป พ.ศ. 2511

และเมื่อที่ทําการศาลจังหวัดฉะเชิงเทรา รวมทั้งสํานักงานอธิบดีผูพิพากษาภาค 2 ไดจัดสรางใหมสําเร็จเรียบรอยแลว ทางราชการศาลก็ยายไปอยูที่อาคารหลังใหม ทําใหอาคารหลังเกาวางลง ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณการเกษตรไดยื่นขอเชาชวงจากกรมธนารักษ เพื่อเปนที่ตั้งสํานักงานของธนาคารฯ โดยมีเงื่อนไขวา ธนาคารเพื่อการเกษตรฯ จะปลูกบานพักอธิบดีผูพิพากษาภาค 2 หนึ่งหลัง ซ่ึงตอมาเจาหนาที่กรมธนารักษไดติดตอเปนการภายในกับปลัดกระทรวงยุติธรรม เพื่อขอความเห็นในการที่พุทธสมาคมฉะเชิงเทราจะขอเชาที่ดินและสิ่งปลูกสรางอันเปนที่ตั้งศาล

จังหวัดฉะเชิงเทราเดิม โดยไมมีการชดเชยเหมือนเชนธนาคารฯ ซ่ึงก็ไดรับคําชี้แจงวา เมื่อกระทรวงยุติธรรมเลิกใชและสงคืนแลวก็สุดแตกรมธนารักษจะดําเนินการตามอํานาจและหนาที่

ตอมากรมธนารักษไดแจงวา กระทรวงการคลังไดส่ังอนุมัติใหพุทธสมาคมฉะเชิงเทราเชาที่ดินและสิ่งปลูกสรางอันเปนที่ตั้งศาลจังหวัดฉะเชิงเทราเดิมในวันที่ 15 กันยายน 2512 และทางคณะกรรมการพุทธสมาคมจังหวัดฉะเชิงเทราไดทําการซอมแซมอาคารที่ชํารุดทรุดโทรมพรอมทั้ง

จัดสรางรั้วถาวรขึ้นและไดทําการเปดปาย “พุทธสมาคมฉะเชิงเทรา” โดย ฯพณฯ ศาสตราจารยสัญญา ธรรมศักดิ์ องคมนตรี และนายกพุทธสมาคมแหงประเทศไทย เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2512 จึงเปนอันวาศาลจังหวัดหลังเกาก็ไดกลายสภาพมาเปนที่ทําการของพุทธสมาคมตั้งแตบัดนั้นเปนตน

มา เหตุการณสําคัญเกี ่ยวกับศาลจังหวัดหลังเกาที ่นารู ก็คือ เมื ่อวันที่ 24 พฤษภาคม

2489 พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 พรอมดวยสมเด็จพระอนุชา (พระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัวภูมิพลอดุลยเดช) ไดเสด็จออกประทับเปนประธานคณะผูพิพากษาในการพิจารณาคดีอาญา ซ่ึงนับเปนเหตุการณสําคัญที่นารูเหตุการณหนึ่ง อันเกี่ยวของกับสวนราชการศาลจังหวัดฉะเชงิเทรา

ภาพ 39 รัชกาลที่ 8 เสด็จศาลจังหวดัหลงัเกา

Page 59: บทที่ 4 แก้ไข - -CUSTOMER VALUE-thesis.rru.ac.th/files/pdf/357_2010_12_16_041202.pdfมหาว ทยาล ยราชภ ฏราชนคร นทร 49

มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

106

พระบรมราชานุสาวรียพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลาเจาอยูหัว

ภาพ 40 พระบรมราชานุสาวรยี รัชกาลที่ 5

ตั้งอยู ณ บริเวณหนาศาลากลางจังหวัดฉะเชิงเทรา ไดจัดสรางขึ้นเมื่อป พ.ศ. 2519 ใน

สมัยนายสุจินต กิติยารักษ เปนผูวาราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา กรมศิลปากรไดออกแบบกอสราง และประชาชนบริจาคเงินคากอสรางทั้งส้ินประมาณ 400,000 บาท คาปนหลอรูปเหมือนรัชกาลที่ 5 เปนเงนิ 65,000 บาท สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร ไดเสด็จมาทรงประกอบพิธีเปดพระบรมราชานุสาวรีย เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2521 รวมเวลากอสรางปเศษ

Page 60: บทที่ 4 แก้ไข - -CUSTOMER VALUE-thesis.rru.ac.th/files/pdf/357_2010_12_16_041202.pdfมหาว ทยาล ยราชภ ฏราชนคร นทร 49

มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

107

สวนสมเด็จพระศรีนครินทร ฉะเชงิเทรา

ภ า

ภาพ 41 สวนสมเด็จพระศรนีครินทร

ตั้งอยู หนาศาลากลางจังหวัดฉะเชิงเทรา มีเนื้อท่ีประมาณ 90 ไร ไดรับการจัดเปน

สวนสาธารณะ ตกแตงดวยไมดอกไมประดับสวยงามมาก มีพระบรมราชานุสาวรียสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี (สมเด็จยา) ประดิษฐานอยูดานในกลางสวนมีบึงขนาดใหญติดตั้งน้ําพุ ซ่ึงจะเปลี่ยนระดับการพุงน้ําอยางอัตโนมัติ มุมขวาของสวนจัดเปนสนามเด็กเลน ประชาชนนิยมพาบุตรหลานมาพักผอนหยอนใจ สวนสาธารณะแหงนี้อยูภายใตการดูแลของเทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา

Page 61: บทที่ 4 แก้ไข - -CUSTOMER VALUE-thesis.rru.ac.th/files/pdf/357_2010_12_16_041202.pdfมหาว ทยาล ยราชภ ฏราชนคร นทร 49

มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

108

อนุสาวรียพระยาศรีสุนทรโวหาร (นอย อาจารยางกูร) ตั้งอยูที่ถนนศรโีสธร อําเภอเมือง จังหวัด

ฉะเชิงเทรา พระยาศรีสุนทรโวหารเกดิเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2365 ที่บานในคลองโสธร จังหวัดฉะเชิงเทรา ทานเปนผูมี ความรูและเชีย่วชาญในหนงัสือไทย ไดแตงแบบเรียนภาษาไทยเปนโคลงฉันทตางๆ ที่ใชเปนแบบเรียนของไทยในสมัยนั้น ซ่ึงเปนที่รูจักกนัดี 6 เลม คือ มูลบทบรรพกจิ วาหนิติ์นกิร อักษรประโยค สังโยคพธิาน ไวพจนพิจารณ และพิศาลการันต

ภาพ 42 ภาพพระยาศรีสุนทรโวหาร

ทานรับราชการสอนหนังสือไทยที่

โรงเรียนหลวง ตอมาเปนอาจารยถวายพระอักษรแดเจาฟามหาวชิรณุหิศ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช พระโอรสในพระบาทสมเดจ็พระจลุจอมเกลาเจาอยูหัว รัชกาลที่ 5 ซ่ึงพระองคทรงพระเมตตาพระยาศรีสุนทร วาเปนผูมีคุณวุฒใินวิชาภาษาไทย และหนังสือขอม จึงโปรดเกลาฯ พระราชทานโกศโถมีเครื่องพรอมใหเปนเกยีรติยศเมื่อ ทานถึงแกอนิจกรรม เมือ่วันที่ 16 ตลุาคม 2434

ภาพ 43 อนุสาวรยีพระยาศรีสุนทรโวหาร

Page 62: บทที่ 4 แก้ไข - -CUSTOMER VALUE-thesis.rru.ac.th/files/pdf/357_2010_12_16_041202.pdfมหาว ทยาล ยราชภ ฏราชนคร นทร 49

มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

109

อนุสาวรียพระเจาตากสินมหาราช

ภาพ 44 ศาลอนุสาวรยีพระเจาตากสินมหาราช ประมาณป พ.ศ. 2530 ในสมัยที่นายชัยโรจน ประภาวัต เปนนายอําเภอบางคลา และนายวิสูตร ศรีสุนทร เปนนายกเทศมนตรีเทศบาลตําบลบางคลา ไดรวมคิดกันกับประชาชนชาวบางคลาและมีความเห็นกับประชาชนในเขตเทศบาล เห็นพองตองกันวา ควรจะดําเนินการอัญเชิญสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ควรคูบาน คูเมือง ขึ้นสถิต ณ สถานที่ในเขตเทศบาลที่ใดที่หนึ่ง เพื่อใหเกิดความคุมครอง ปกปกรักษาเมือง บันดาลใหรุงเรือง ประชาชนสงบสุข เปนขวัญและกําลงัใจแกชุมชนที่จะชวยพัฒนาความอยูดีกินดีใหเกิดขึ้นในอนาคต จากความดําริ จึงตั้งคณะกรรมการฯชุดคนหาประวัติบางคลาในเชิงประวัติศาสตร ขึ้นคนควาในหลายๆ แหลงความรูเฉพาะจากหอสมุดแหงชาติ พบวา สมเด็จพระเจาตากสินมหาราช มีความเกี่ยวเนื่องกับภูมิประเทศ ที่ตั้งอําเภอบางคลาอยางยิ่ง โดยสรุป ประมาณ พ.ศ. 2310 พระองคทานไดฝาวงลอมของขาศึก ที่ลอมกรุงศรีอยธุยาออกทางทศิตะวันตก มุงตรงปราจนีบรุี และหยดุรวมพล ณ รอยตอปราจีนบรุีกบัฉะเชงิเทรา (เขาใจวาเปนบรเิวณศรีมหาโพธิ์ปจจุบัน) และขาศึกไดสงกองทัพเรือออกสกดักั้นมาตั้งมัน่รบพระองคอยูที่ปากน้ําโจโลบางคลา (ที่ตัง้พระสถูปเจดยีปจจุบนั) พรอมสงทหารหนวยสอดแนม กองโจรเขาจูโจมขึน้มาบริเวณที่พระองคตั้งรบั ปรากฏวาขาศกึถูกฆาตายสิ้น กระทัง่พระองคเห็นวาขาศกึออนแรงแลว จึงเคลื่อนทัพเขาตีที่มัน่บริเวณปากน้ําโจโลจนไดรับชัยชนะ จากนั้นจึงพักรวบรวมพลอีกครั้งหนึ่ง

Page 63: บทที่ 4 แก้ไข - -CUSTOMER VALUE-thesis.rru.ac.th/files/pdf/357_2010_12_16_041202.pdfมหาว ทยาล ยราชภ ฏราชนคร นทร 49

มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

110

(เขาใจวาวัดโพธิ์บางคลาเปนที่พัก สันนิษฐานจากพระอุโบสถเกาที่รื้อไปแลวเปนสถาปตยกรรมจีน ที่พระองคสรางไว เปนอนุสรณในภายหลัง) และออกเดินทางนําทัพผานทาทองหลาง (ต.ทาทองหลางปจจุบัน) ตรงไปยังบางปลาสรอย ชลบุรีถึงระยอง เจาเมืองระยองสวามิภักดิ์ไดไพรพลมากขึ้น เคลื่อนทัพเขาตีเมืองจันทบุรีได และตั้งมั่นรวบรวมกําลังสรางอาวุธยุทโธปกรณ เพื่อกอบกูเอกราชในเวลาตอมา จะเห็นวา บริเวณปากน้ําโจโลที ่กองทัพขาศึกแตกพาย และบริเวณรวบรวมพล

เดินทัพมุงผานทาทองหลาง อยูในเขตเทศบาลตําบลบางคลา พื้นที่แหงนี้จึงเปนสวนหนึ่งของการกูชาติบานเมือง ชุมชนดั้งเดิมอันเปนบรรพบุรุษที่นี้ ตองมีสวนเขารวมขบวนกูชาติกูแผนดินอยางแนนอน คณะกรรมการฯ ชุดสรางศาลอนุสรณ จึงเห็นพองตองกัน เปนสัญญาประชาคมใหรวมพลังทุกๆ ฝายรวมกันจัดสรางศาลอนุสาวรียพระเจาตากสินมหาราชขึ้น ณ บริเวณทางเขา

เมืองบางคลา (สวนสาธารณะหลังโรงเรียนกงลิบซืองวน) เปนพระรูปทรงมาศึกในอิริยาบถ กําลังออกเดินทาง ผานทาทองหลาง ตามประวัติศาสตรที่กลาวไว การดําเนินการกอสรางเริ่มตอกเสาเข็ม เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2530 โดยนายอําเภอบางคลาเปนคูสัญญากับอาจารยจากกรมศิลปากร เพื่อจัดสรางพระรูปทรงมา และเทศบาลบางคลารับผิดชอบการสรางฐานที่ตั้งพระรูปรวมทั้งงบประมาณการกอสราง ขณะนั้น เริ่มตนจากเงินของชุมชนชาวบางคลา ที่เหลือประมาณ 40,000 บาท และไดจัดหาทุนสมทบ จากการสรางเหรียญบอกบุญไปยังเทศบาล ท่ัวประเทศ และไดจากการจัดงานชุมนุมชาวบางคลาในป 2530 อีกโสตหนึ่งจนสําเร็จเรียบรอย ไดทําพิธีอัญเชิญพระรูปขึ้นแทนสักการะ เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2531 โดยทานผูวาราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา นายกิตติ ประทุมแกว ใชเวลากอสรางรวม 1 ป 6 เดือน 19 วัน

Page 64: บทที่ 4 แก้ไข - -CUSTOMER VALUE-thesis.rru.ac.th/files/pdf/357_2010_12_16_041202.pdfมหาว ทยาล ยราชภ ฏราชนคร นทร 49

มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

111

อนุสาวรียพระบาทสมเด็จพระนั่งเกลาเจาอยูหัว

ภาพ 45 อนุสาวรยีพระบาทสมเด็จพระนั่งเกลาเจาอยูหัว

นับตั้งแตพระบาทสมเด็จพระนั่งเกลาเจาอยูหัว (ร.3) เสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติ บานเมืองกําลังเผชิญกับปญหาเกี่ยวกับการสัมพันธไมตรีกับประเทศยุโรปและอเมริกา แตดวย พระปรีชาญาณอันสุขุมลึกซึ้ง ทรงผอนปรนมิใหกระทบกระเทือนทั้งผลประโยชนของประเทศและสัมพันธไมตรีระหวางกันนโยบายหลักนี้เปนแนวทางที่พระเจาแผนดินในรัชกาลตอมาทรงยึดถือ

และเจริญรอยตาม เปนผลใหชาติไทยคงความเปนเอกราชอยูตราบเทาทุกวันนี้ ในสวนที่เกี่ยวกับความอุดมสมบูรณของบานเมือง ไดเปนที่ประจักษชัดแกบรรดาพสกนิกรวาการเศรษฐกจิในรัชสมัยนั้นมัน่คงกวายุคใดๆ ที่ผานมาสําหรับจังหวัดฉะเชิงเทรา พระบาทสมเด็จพระนั่งเกลาเจาอยูหัวไดทรงบาํเพ็ญคุณูปการใหแกชาวจังหวัดฉะเชิงเทราไวมากมายหลาย

ดาน ดังจะเห็นไดจากพระปรีชาสามารถในการคลี่คลายสถานการณและปญหาเรื่อง กบฏเจาอนุเวียงจันทร เมื่อ พ.ศ. 2369 และเรื่องจีนตั้วเห่ีย เมื่อ พ.ศ. 2391 ความเฉียบขาดในดานวิเทโศบายของพระองค ทําใหประเทศไทยไดวางเวนอริราชศัตรูมีโอกาสทํานุบํารุงประเทศในดานอื่นๆ อยางกวางขวาง จังหวัดฉะเชิงเทราในรัชสมัยนี้จึงมีการกอสรางถาวรวัตถุตางๆ ไวมากมาย และไดกลายมาเปนโบราณสถานและโบราณวตัถุในปจจุบัน เชน กําแพงเมือง ศาลเจาพอหลักเมือง วัดเมือง ฯลฯ ตลอดทั้งสภาพสังคมในสมัยรัชกาลที่ 3 มีลักษณะผสมผสานระหวางเชื้อชาติไทยกับชาวมอญ ชาวลาวและชาวเขมร อันเนื่องมาแตการทําสงคราม แตกลับใหผลดีมากกวาผลเสีย เพือ่นอมราํลกึถึงพระมหากรณุาธิคณุ

Page 65: บทที่ 4 แก้ไข - -CUSTOMER VALUE-thesis.rru.ac.th/files/pdf/357_2010_12_16_041202.pdfมหาว ทยาล ยราชภ ฏราชนคร นทร 49

มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

112

ของพระองคทานที่มีตอชาวฉะเชิงเทรา จึงไดมีการสถาปนาพระบรมราชานุสาวรียเพื่อสักการบูชา ณ คายทหารกองพลทหารราบที่ 11 (คายสมเด็จพระนั่งเกลา) ในปจจุบัน

อนุสาวรียกํานันกระจาง นพเกตุ

ภาพ 46 อนุสารียกํานันกระจาง

กํานันกระจาง นพเกตุ หรือเจาสัว “กงแก” ไดรับพระราชทานสัมปทานขุดแรเหล็กในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลาเจาอยูหัว รัชกาลที่ 5 การไดสัมปทานขุดแรเหล็กที่บานหนองบอนของเจาสัว “กงแก” ตนสกุล “นพเกตุ” นี้ ทําใหความเจริญขยายออกเปนชุมชนใหญ ตั้งแตหนองผานมายัง “วัดสุวรรณคีรีบรรพต” หรือวัดดงยาง (มีรอยพระพุทธบาทจําลองไวเปนที่สักการะในเดือน 3 ขึ้น 15 ค่ําของทุกป) และผานหมูบานปากหวย หนองแหน หนองบัว บานโคก ขามน้ําที่บึงกระจับสูถนนพระรถ เขาโรงถลุงแรเหล็กริมคลองทาลาด ในอําเภอพนมสารคามในสมัยรัชกาลที่ 5 นอกจากจะไดรับพระราชทานสัมปทานขุดแรแลว เจาสัว “กงแก” ยังไดรับพระราชทานสตรีจากตระกูล “บุนนาค” ใหมาเปนภรรยาดวย ตอมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกลาเจาอยูหัว รัชกาลที่ 6 ทายาทของเจาสัว “กงแก” มีความเจริญมั่นคงและไดรับพระราชทานนามสกุลวา “นพเกตุ” ผูที่เปนเชื้อสายตางก็มีนามสกุลที่ขึ้นดวย “นพ” เชน นพศิริ นพกร นพกาน นพโกฏิ นพประเสริฐ นพฤทธิ์ นพกัน เปนตน

Page 66: บทที่ 4 แก้ไข - -CUSTOMER VALUE-thesis.rru.ac.th/files/pdf/357_2010_12_16_041202.pdfมหาว ทยาล ยราชภ ฏราชนคร นทร 49

มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

113

ฉะเชิงเทราในสมัยนั้น เปนจังหวัดที่ขาดแคลนเสนทางคมนาคมทางบกอยูมาก และจากขอเขียนบางสวนของพลตํารวจเอก พิชัย กุลละวณิชยวาการเดินทางระหวางตําบลหัวสําโรงกับหนองปลาตะเพียนตองเดินทางโดยทางเรืออยางเดียว แตดวยความริเริ่มและสติปญญาอุตสาหะของกํานันกระจาง จึงไดมีถนนติดตอระหวางหนองปลาตะเพียนกับหัวสําโรงเกิดขึ้น และหลังจากนั้นทางรัฐบาลสหรัฐอเมริกาก็ไดสงเสริมถนนสายนี้ใหเปนทางตัดตรงไปสูจังหวัดระยอง

อนุสาวรียกํานันกระจาง นพเกตุ ตั้งอยู ณ ตําบลหัวสําโรง อําเภอแปลงยาว สรางขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2537 เพื่อเปนที่ระลึกในการไดสัมปทานการขุดแรเหล็กของตนสกุล “นพเกตุ” และเปน “ตนแบบ” ของผูประกอบการอุตสาหกรรมหนักซึ่งเปนหมายเลขหนึ่งในการพัฒนาเศรษฐกิจของจังหวัดในปจจุบัน

Page 67: บทที่ 4 แก้ไข - -CUSTOMER VALUE-thesis.rru.ac.th/files/pdf/357_2010_12_16_041202.pdfมหาว ทยาล ยราชภ ฏราชนคร นทร 49

มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

114

เขาหินซอน ตั้งอยูริมทางหลวงหมายเลข 304 (สายฉะเชิงเทรา-กบินทรบุรี) ก.ม.ที่ 53 อยูหา

งจากตัวเมืองฉะเชิงเทรา 53 กิโลเมตร เปนภูเขาที่มีความสูงไมมากนัก ประกอบดวยกอนหินขนาดและรูปทรงตางๆ เรียงรายอยูตามธรรมชาติ บริเวณเขาหินซอนจัดเปน “สวนรุกขชาติสมเด็จพระปนเกลา เจาอยูหัว” เปนที่ตั้งของศาลสมเด็จพระปนเกลาฯ ซ่ึงประดิษฐานพระบวรราชานสุาวรยีของสมเด็จพระปนเกลาเจาอยูหัว พระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัวรัชกาลปจจุบัน ไดเสด็จพระราชดําเนินทรงเปดศาลนี้เมื่อป พ.ศ. 2522

ภาพ 47 เขาหินซอน

Page 68: บทที่ 4 แก้ไข - -CUSTOMER VALUE-thesis.rru.ac.th/files/pdf/357_2010_12_16_041202.pdfมหาว ทยาล ยราชภ ฏราชนคร นทร 49

มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

115

ศูนยศึกษาการพัฒนาเขาหินซอน ตั้งอยูริมทางหลวงหมายเลข 304 ก.ม.ที่ 51-52 ตําบลเขาหินซอน และตําบลเกาะ

ขนุน อําเภอพนมสารคาม มีเนื้อที่รวมทั้งสิ้น 1,929 ไร เปนโครงการอันเนื่องมาจาก

พระราชดําริของพระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ป พ.ศ. 2524 เปนศูนยศึกษาทางวิชาการ ดานการเกษตรตามแนวทางเกษตรยั่งยืน กลาวคือ มุงรักษาสมดุลของธรรมชาติอยางเปนระบบ เปรียบเสมือนฟารมตัวอยางในการฟนฟูธรรมชาติขั้นพื้นฐาน คือ ดิน น้ํา ปาไม มุงใชเทคโนโลยีที่ผานการทดลองและไดขอสรุปแลววาไดผลดี ประหยัด และเกิดประโยชนสูงสุด มีการจําแนกพื้นที่ภายในศูนยเพื่อทําการสาธิตลักษณะงานตางๆ ไดแก การพัฒนาที่ดิน การปลูกพืช การปศุสัตว การเพาะเลี้ยงสัตวน้ํา งานศิลปาชีพ และโครงการสวนปาสมุนไพร โดยจัดตั้งเปน “สวนพฤกษศาสตรภาคตะวันออก” เพื่อดูแลงานวิจัยเกี่ยวกับคุณประโยชนของพืชตางๆ ทั้งสมุนไพรและตนไมหายาก ภายในอาคารจัดเปนนิทรรศการบรรยายและสาธิตการผลิต

สมุนไพรตางๆ โครงการศูนยศึกษาพัฒนาเขาหินซอน คือ “พิพิธภัณฑธรรมชาติที่มีชีวิต” หรือแ บ บ อ ย า ง อั น ทั น ส มั ย ใ ห เ ก ษ ต ร ก ร ยุ ค ใ ห ม แ ล ะ ผูสนใจเขาชมเพื่อศึกษาความรูและนําไปปฏิบัติ เพื่อพัฒนาอาชีพและพื้นที่ทํากินของตนเองใหมี

ผลผลิตเพิ่มขึ้นและมีฐานะความเปนอยูที่ดีขึ้น นอกจากนี้ ยังมีวิทยาลัยเกษตรกรรมฉะเชิงเทราตั้งอยูในบริเวณโครงการ รับนักศึกษา ประชาชนเขาศึกษาอบรมดวย

ภาพ 48 ศูนยศึกษาการพัฒนาเขาหินซอน

Page 69: บทที่ 4 แก้ไข - -CUSTOMER VALUE-thesis.rru.ac.th/files/pdf/357_2010_12_16_041202.pdfมหาว ทยาล ยราชภ ฏราชนคร นทร 49

มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

116

สถานีรถไฟฉะเชิงเทรา

ภาพ 49 สถานีรถไฟฉะเชิงเทรา

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลาเจาอยูหัว รัชกาลที่ 5 ไดทรงปรับปรุงสภาพการคมนาคมภายในประเทศ ดวยวัตถุประสงคใหญๆ พอที่จะสรุปได 3 ประการ คือ 1. เพื่อความสะดวกในการปกครองภายในประเทศ 2. เพื่อสงเสริมทางดานเศรษฐกิจ 3. เพื่อความสะดวกในการคมนาคม

ดังนั้น การคมนาคมทางตะวันออกระหวางกรุงเทพฯ กับหัวเมืองตามชายฝงทะเล อาวไทย หรือระหวางกรุงเทพฯ กับเมืองฉะเชิงเทรา และปราจีนบุรีนั้น เปนเสนทางที่มีความสําคัญทั้งในแงยุทธศาสตร และการคามาตั้งแตในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลาเจาอยูหัว รัฐบาลสมัยตอๆ มาไดสงเสริมโดยการขุดคลอง เพื่ออํานวยความสะดวกในการคมนาคมแถบนั้น ครั้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลาเจาอยู หัว เมื ่อมีการพัฒนาทางการรถไฟแลว มีผู สนใจขอสัมปทานสายนี้มาก เพราะเปนเสนทางระยะสั้นที่มีผูคนอาศัยตั้งบานเรือนอยูมาก อีกทั้งยังเปนชุมทางทางการคาที่มาจากเขมร และบางสวนจากทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือดวย ดังนั้นภายหลังจากทางรถไฟสายสมุทรปราการ ซึ่งเปนกิจการคมนาคมขนสงทางบกของเอกชนเปดเดินรถและประสบความสําเร็จแลวมีผูสนใจขอสัมปทานสรางทางรถไฟตอไปยังตะวันออกนี้มากขึ้นในป พ.ศ. 2339 มีผูขอสัมปทานสรางทางรถไฟไปทางตะวันออกถึง 3 ราย คือ 1. พระยามหาโยธา และพระนิเทศชลธี ขอสัมปทานเสนทางตั ้งแตกรุงเทพฯ บริเวณปากคลองพระโขนง ถึงเมืองฉะเชิงเทรา ตอไปยังพนมสารคามและสนามชัยเขต โดยยื่นหนังสือขอวันที่ 6 พฤษภาคม 2439

2. พระยาชลยุทธโยธิน ขอสัมปทานเสนทางตั้งแตกรุงเทพฯ ไปแหลมแทน โดยยื่นหนังสือขอวันที่ 11 กันยายน 2439

Page 70: บทที่ 4 แก้ไข - -CUSTOMER VALUE-thesis.rru.ac.th/files/pdf/357_2010_12_16_041202.pdfมหาว ทยาล ยราชภ ฏราชนคร นทร 49

มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

117

3. พระยางําเมือง หลวงดํารงดิฐการ และนายเบนเนต ขอสัมปทานเสนทางตั ้งแตกรุงเทพฯ ถึงฉะเชิงเทรา โดยยื่นหนังสือขอวันที่ 30 พฤศจิกายน 2439

ภาพ 50 หัวรถจักรไอน้ํา

แตขณะนั้นรัฐบาลยังไมสนใจที่จะพัฒนาทางรถไฟทางดานตะวันออก ทั้งนี้ เนื่องจากรัฐบาลตองพะวงกับการสรางทางรถไฟสายนครราชสีมา และอีกประการหนึ่ง การคมนาคมทางตะวันออก ก็มีคลองไปมาสะดวกพอควร ภายหลังจากรัฐบาลสรางทางสายนครราชสีมาแลวในป พ.ศ. 2443 รัฐบาลไดเริ่มโครงการสํารวจเสนทางทางตะวันออก เพื่อเปนขอมูลวารัฐบาลควรจะสรางเอง หรืออนุมัติสัมปทานแกเอกชนตอไป ดังนั้นในป พ.ศ. 2444 เจากรมรถไฟจึงเดินทางเพื่อสํารวจตั้งแตกรุงเทพฯ ถึงศรีราชา และเสนอรายงานตอรัฐบาลวาควรสรางทางรถไฟสายนี้ 4 ระยะ คือ กรุงเทพฯ ถึงฉะเชิงเทรา, ฉะเชิงเทราถึงพนัสนิคม, พนัสนิคมถึงชลบุร ี และชลบุรีถึงบางพระ รวมเปนระยะทาง 137 กิโลเมตร ประมาณเงินคากอสราง 8,000,000 บาท ถาจะตอไปศรีราชาเปนทางอีก 5 กิโลเมตร แตตองใชเงินคากอสรางมาก เพราะสภาพภูมิประเทศเปนภูเขา พระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัวมีพระบรมราชโองการ ใหสรางทางรถไฟเพียงสายบางพระเทานั้น

แตแลวทางรถไฟสายตะวันออกจากกรุงเทพฯ ถึงบางพระ ซ่ึงกําหนดจะสรางในป พ.ศ. 2445 ก็ตองลมเลิก ดวยเหตุที่วารัฐบาลจําเปนจะสรางทางสายเหนือ ตอมาในป พ.ศ. 2477 ทางรถไฟสายตะวันออกไดรับการกระตุนเตือนจากขาราชการไทย โดยเจาพระยาสุรศักดิ์มนตรีไดมีหนังสือทูลเกลาฯ ขอใหรัฐบาลสรางทางรถไฟสายตะวันออกดวยเงินพระคลังขางที่ ถาไมทรงโปรดใหพระคลังขางที่สรางเสร็จแลว เจาพระยาสุรศักดิ์มนตรี ขอสัมปทานสรางทางรถไฟตั้งแตกรุงเทพฯ ถึงศรีราชา รัฐบาลไดนําเรื่องเขาสูที่ประชุมเสนาบดีเพื่อพิจารณา เสนาบดีสภามีมติวารัฐบาลควรจะสรางทางนี้เอง

Page 71: บทที่ 4 แก้ไข - -CUSTOMER VALUE-thesis.rru.ac.th/files/pdf/357_2010_12_16_041202.pdfมหาว ทยาล ยราชภ ฏราชนคร นทร 49

มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

118

ดังนั้นในเดือนพฤศจิกายน 2448 กรมการรถไฟจึงไดเริ่มสรางทางรถไฟสายตะวันออก ตั้งแตกรุงเทพฯ โดยแยกจากทางรถไฟสายนครราชสีมาที่สะพานยมราชมาตามคลองบางกะป คลองประเวศบุร ีรมย และแมน้ําบางปะกง จนถึงเมืองฉะเชิง เทราระยะทางยาว 63.4 กิโลเมตร ดวยรางขนาดกวาง 1.435 เมตร และเปดเดินรถไดเมื่อ พ.ศ. 2450 การสรางทางสายตะวันออกตองยุติเพียงแคเมืองฉะเชิงเทรา ทั้งนี้เนื่องจากรัฐบาลมีภารกิจที่จะตองพัฒนาทางรถไฟสายอ่ืนๆ ที่มีความสําคัญกวา คือสรางทางรถไฟสายเหนือ เพราะเกิดกบฏเงี้ยวที่เมืองแพรขึ้น ทําใหรัฐบาลตองสรางทางสายเหนือเพื่อกระชับการปกครองหัวเมืองฝายเหนือ พิธีเปดทางรถไฟสายกรุงเทพฯ-ฉะเชิงเทรา เม่ือ พ.ศ. 2450

ทางรถไฟสายกรุงเทพฯ-ฉะเชิงเทรา ที่เริ่มสรางในเดือนพฤศจิกายน 2448 และเสร็จเมื่อราวปลายป พ.ศ. 2499 นั้น ไดเปดเดินรถในวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2450 โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลาเจาอยูหัว รัชกาลที่ 5 ซึ่งขณะนั้นพระเจาบรมวงศเธอ กรมขุนมรุพงษศิริพัฒน เปนสมหุเทศาภิบาล เปนผูกลาวตอนรับและไดทรงมีพระราชดํารัสตอบ ดังมีขอความตอไปนี้

“ดูกรประชาชนทั้งหลาย เราไดฟงคําแสดงความจงรักภักดีและอํานวยพรของเจาทั้งหลาย ซ่ึงเทศาภิบาล (กรมขุนมรุพงษ) ไดรับฉันทานุมัติกลาวแทนในเวลานี้ดวยคําไพเราะเปนที่พึงใจ

จริงอยูเปนที่นาเสียดายมาก ซ่ึงเราหาโอกาสที่จะมาเยี่ยมในมณฑลนี้ไมไดบอยๆ เชน มณฑลอ่ืน เหตุขอของดวยทางไปมาไมใครเปนที่สะดวกเหมาะแกฤดูกาล แตถึงเวลาที่เราไดมาเที่ยวในมณฑลนี้ลวงมาชานานถึง 30 ปเศษ แตความบริบูรณของภูมิประเทศที่เราไดเห็นนั้นติดตาติดใจอยูเสมอมิไดลืมเลย จึงเปนเหตุใหมีความคิดวา ประโยชนอยางอุดมที่ไดเกิดในมณฑลนี้จะสําเร็จเปนผลแกประชาชนราษฎรทั้งปวงยิ่งขึ้น ดวยมีทางไปมาแตที่นี้ถึงพระนครโดยสะดวกความเห็นอันนี้มิใชเปนความเห็นใหมเปนพระราชดําริของพระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัวแตรัชกาล กอนๆ ไดทรงเห็นประโยชนอันนี้ จึงไดมีการขุดคลองใหเรือไปมาสะดวกขึ้น ในรัชกาลที่ 3 จนถึงแผนดินปจจุบันนี้ แตยังมีชองที่จะเปนการสะดวกดีกวานั้น โดยทางรถไฟอันไดสรางขึ้นและเปนอันสําเร็จลงในวันนี้

ภาพ 51 ชุมทางฉะเชิงเทรา

Page 72: บทที่ 4 แก้ไข - -CUSTOMER VALUE-thesis.rru.ac.th/files/pdf/357_2010_12_16_041202.pdfมหาว ทยาล ยราชภ ฏราชนคร นทร 49

มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

119

เรามีความยินดีที่จะไดทําการอันเปนที่มั่นใจวาจะเปนประโยชนแกแผนดินและ

อาณาประชาราษฎรทั้งปวง คือ เปดทางรถไฟในเวลาวันนี้อยูแลว แตยิ่งเพิ่มพูนความยินดีพอใจมากขึ้นที่ไดมาพบเห็นอาณาประชาชนทั้งปวงอันมีใจจงรักภักดี ตั้งหนาคอยรับรองโดยความพอใจที่จะไดพบปะตัวเรา ทั้งไดเห็นการปกครองซึ่งไดจัดไวเปนการสําเร็จประโยชนดีอยางยิ่งสมดังความปรารถนา ถึงวาไมไดเคยมีความสงสัยเลยวาเทศาภิบาลผูนี้ ซ่ึงนับวาเปนผูจัดการสําเร็จไดจริงมาในมณฑลหนึ่งแลว จะมาจัดการในมณฑลนี้ไมสําเร็จแตสักขณะหนึ่งก็ดี แตเมื่อมาเห็นความจริงอันปรากฏแกตา ประกอบกับการที่ไดฟงก็มีความพอใจยิ่งขึ้น

เมื่อโอกาสซึ่งประชาชนเมืองนี้จะไดไปมาติดตอกับพระมหานคร มีทางที่จะบรรทุกส่ิงอันเปนผลเกิดขึ้นดวยน้ําแรงไปยังตลาดโดยสะดวกดังนี้แลวเราจึงขอเตือนประชาชนทั้งหลาย

ใหอุตสาหะตั้งหนาทํามาหากินใหทวียิ่งขึ้น จะไดมีทรัพยสมบัติเพิ่มพูนมั่งคั่งขึ้นกวาแตกอน และขออํานวยพรไวใหราษฎรทั้งหลายทํามาหากินโดยสะดวกดี มีผลเพิ่มพูนยิ่งขึ้นกวาแตกอน เปนที่ตั้งแหงความเจริญสุขสมบัติทั้งปวงทุกประการเทอญ...”

Page 73: บทที่ 4 แก้ไข - -CUSTOMER VALUE-thesis.rru.ac.th/files/pdf/357_2010_12_16_041202.pdfมหาว ทยาล ยราชภ ฏราชนคร นทร 49

มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

120

อาคารไมสัก 100 ป

ภาพ 52 อาคารไมสัก 100 ป

อาคารไมสัก 100 ปหลังนี ้ ปจจุบันเปนที ่ตั ้งของกองพันทหารชางที ่ 2 รักษาพระองค ซ่ึงเปนหนวยทหารที่จัดตั้งมาตั้งแต พ.ศ. 2454 ยายที่ตั้งจากจังหวัดพระนครศรีอยุธยามาจังหวัดฉะเชิงเทรา ในป พ.ศ. 2476 และในวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 พระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัวอานันทมหิดล และพระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัวภูมิพลอดุลยเดช ขณะทรงเปนพระ

เจานองยาเธอฯ ไดเสด็จกองพันทหารชางที่ 2 จังหวัดฉะเชิงเทรา ถือเปนการเสด็จฯเยี่ยมราษฎรทางตะวันออกครั้งแรก และ ณ ที่แหงนี้ ไดเสด็จฯ เยี่ยมหนวยทหารในตางจังหวัดเปนครั้งแรกอีกดวย ตอมาในป พ.ศ. 2476 พระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัว รัชกาลที่ 9 ทรงพระกรุณาโปรดเกลาฯสถาปนาเปนหนวยทหารรักษาพระองค