arc it man ครั้งที่ 2

20
เอกสารประกอบการอบรมเชิงปฏิบัติการ โครงการพัฒนาศักยภาพด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (ARC IT MAN) ฉบับที่ 2 เรียบเรียงโดย นายธีรยุทธ บาลชน ภารกิจด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อโสตทัศน์ สานักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

Upload: buidiep

Post on 03-Feb-2017

216 views

Category:

Documents


1 download

TRANSCRIPT

Page 1: ARC IT MAN ครั้งที่ 2

13

เอกสารประกอบการอบรมเชิงปฏิบัติการ โครงการพัฒนาศักยภาพด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ

(ARC IT MAN)

ฉบับที่ 2 เรียบเรียงโดย นายธีรยุทธ บาลชน

ภารกิจด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและส่ือโสตทัศน ์

ส านักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

Page 2: ARC IT MAN ครั้งที่ 2

14

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพวง

โดยหลักการแล้ว ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ ประกอบไปด้วยอุปกรณ์ที่ท างานตามหน้าที่ 4 ส่วนด้วยกัน คือ 1. ส่วนรับข้อมูล (Input Unit) 2. ส่วนประมวลผลข้อมูล (Central Processing Unit) 3. หน่วยความจ า (Memory Unit) 4. ส่วนแสดงผล (Output Unit)

1. ส่วนรับข้อมูล (Input Unit) ส่วนรับข้อมูล (Input Unit) เป็น ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ ที่ท าหน้าที่รับข้อมูลจากคน และส่ง

ต่อข้อมูลไปยัง หน่วยประมวลผล (Process Unit) เพ่ือท าการประมวลผลต่อไป รูปแบบการส่งข้อมูลจากอุปกรณ์รับข้อมูลจะอยู่ในรูปของการส่งสัญญาณเป็นรหัสดิจิตอล (หรือเป็นเลข 0 กับ 1) นั่นเอง อุปกรณ์ส่วนรับข้อมูล ได้แก่

- คีย์บอร์ด (Keyboard) แป้นพิมพ์ หรือ คีย์บอร์ด เป็นอุปกรณ์ส าหรับน าเข้าข้อมูลขั้นพ้ืนฐาน ท าหน้าที่เชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับระบบคอมพิวเตอร์ โดยส่งค าสั่งหรือข้อมูลจากผู้ใช้ไปสู่หน่วยประมวลผลในระบบคอมพิวเตอร์

- เมาส์ (Mouse) คือ อุปกรณ์น าเข้าข้อมูลที่นิยมใช้กันโดยทั่วไปอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งใช้งานง่ายและสะดวกกว่าแป้นพิมพ์มาก เนื่องจากไม่ต้องจดจ าค าสั่งส าหรับป้อนเข้าสู่เครื่อง

- สแกนเนอร์ (Scanner) เป็นอุปกรณ์น าเข้าข้อมูลประเภทที่ไม่สะดวกในการป้อนเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ทางคีย์บอร์ดได้ เช่น ภาพโลโก้ วิวทิวทัศน์ ภาพถ่ายรูปคน สัตว์ ฯลฯ เราสามารถใช้สแกนเนอร์สแกนภาพเพ่ือแปลงเป็นข้อมูลเข้าไปสู่เครื่องได้โดยตรง

- อุปกรณ์โอซีอาร์ (OCR: Optical Character Recognition) เป็นอุปกรณ์ที่รับข้อมูลเข้าสู่ระบบได้โดยตรง โดยใช้เทคนิคอ่านค่าของข้อมูลด้วยแสง เช่น เครื่องสแกนบาร์โค๊ด (Bar Code Reader) ตามเคาเตอร์ยืมคืนหนังสือทั่วไป

Page 3: ARC IT MAN ครั้งที่ 2

15

- อุปกรณ์สแกนลายนิ้วมือ (Finger scan) เป็นอุปกรณ์ที่รับข้อมูลเข้าสู่ระบบโดยการเปรียบเทียบลายนิ้วมือแล้วแปลงค่าเป็นรหัสข้อมูล เช่น ตัวเลข เพื่อตรวจเข้าถึง บันทึก ข้อมูล เช่น ข้อมูลการลงเวลาเข้า-ออกการท างานในหน่วยงาน

- ไมโครโฟน(Microphone)

- กล้องเว็บแคม (Webcam)

อุปกรณ์ใน ส่วนรับข้อมูล ยังมีอีกมากมายและสามารถจะยังมีเพ่ิมตามข้ึนไปเรื่อยๆ ตามการพัฒนาด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์

2. ส่วนประมวลผลข้อมูล (Central Processing Unit: CPU ซีพียูหรือหน่วยประมวลผลกลาง) เปรียบได้กับสมองของมนุษย์ เป็นส่วนที่ท าหน้าที่ควบคุมและประมวลผลของเครื่องคอมพิวเตอร์ มีลักษณะเป็นชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ขนาดเล็กมาก ภายในประกอบด้วยทรานซิสเตอร์ประกอบกันเป็นวงจรหลายล้านตัว มีความส าคัญมาก พูดง่ายๆ ว่าเครื่องจะแรงหรือเร็ว ต้องดูที่ CPU เป็นหลัก รองลงมาให้ดูที่หน่วยความจ าหลักหรือที่เรียกว่า แรม (RAM- Random Access Memory)

3. หน่วยความจ า (Memory Unit) เป็นหน่วยท่ีส ำคัญ ที่จะต้องท ำงำนร่วมกันกับหน่วยประมวลผลอยู่โดยตลอด หน้ำที่หลักคือ จดจ ำและบันทึกข้อมูลต่ำงๆที่ถูกส่งมำจำกหน่วยรับข้อมูล จัดเก็บไว้ชั่วครำว ก่อนที่จะส่งต่อไปให้หน่วยประมวลผล นำกจำกนี้ยังท ำหน้ำที่เป็นเสมือนกระดำษทด ส ำหรับให้หน่วยประมวลผลใช้คิดค ำนวณ ประมวลผลข้อมูลต่ำงๆ ด้วย ซึ่งประกอบด้วย

- หน่วยความจ าหลัก (Main Memory) เป็นหน่วยความจ าพ้ืนฐานในคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง เป็นหัวใจของการท างานในรูปแบบอัตโนมัติ มีหน้าที่เก็บข้อมูลต่างๆ ที่ป้อนเข้ามาเพ่ือให้หน่วยประมวลผลน าไปใช้ และเก็บข้อมูลที่เก่ียวกับคุณสมบัติและระบบการท างานของเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วย โดยปกติแล้วเราจะคุ้นชินกับหน่วยความจ าหลักที่เรียกว่า แรม (Random Access Memory - RAM) คือ หน่วยความจ าชั่วคราวที่

Page 4: ARC IT MAN ครั้งที่ 2

16

สามารถบันทึกข้อมูลหรืออ่านข้อมูล ณ เวลาใดๆ ได้ตามต้องการ (Random Access) ต้องอาศัยสัญญาณไฟฟ้าในการเก็บรักษาข้อมูลและอ่านข้อมูล ฉะนั้น ข้อมูลที่อยู่ในแรมจะสูญหายไปทันทีที่ปิดเครื่อง หรือไม่มีไฟฟ้าไปหล่อเลี้ยง

แรมเป็นหน่วยความจ าที่ ใกล้ชิดและเกี่ยวข้องกับผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์โดยตรง เนื่องจากการรับข้อมูล การประมวลผล และการแสดงผลข้อมูล ต่างต้องอาศัยพ้ืนที่ในหน่วยความจ านี้ทั้งสิ้น กล่าวได้ว่า แรมเป็นหน่วยความจ าที่เป็นตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ส าคัญ ขนาดของแรมหรือความจุของแรมเปรียบเสมือนขนาดของโต๊ะท างาน หากแรมมีความจุมากก็เหมือนโต๊ะท างานที่มีพ้ืนที่ในการท างานได้มากนั่นเอง

- หน่วยความจ าส ารอง เนื่องจากหน่วยความจ าหลัก ในเครื่องคอมพิวเตอร์ ไม่สามารถรักษาข้อมูลไว้ได้หลังจากปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ ดังนั้น การบันทึกข้อมูลลงบนหน่วยความจ าส ารอง จึงมีความจ าเป็นในการเก็บรักษาข้อมูลไว้ใช้ในอนาคต และท าให้สามารถน าข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่ง เคลื่อนย้ายไปสู่เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอ่ืนในระบบเดียวกันได้อีกด้วย ซึ่งเราจะคุ้นชินกับอุปกรณ์เหล่านี้ได้แก่ ฮำร์ดดิสก์ (Hard Disk),ซีดีรอม (CD-ROM) และ ดีวีดี (DVD), แฟลชไดร์ฟ (Flash Drive), เอ็กเทอนอลฮำร์ดดิสส์(External Hard Disk)

4. ส่วนแสดงผล (Output Unit) เป็นหน่วยที่แสดงผลลัพธ์ที่มาจากการประมวลผลข้อมูล ของส่วนประมวลผลข้อมูล โดยปกติรูปแบบของการแสดงผล มีอยู่ 2 แบบ ด้วยกันคือ แบบที่สามารถเก็บไว้ดูภายหลังได้ และแบบที่ไม่มีส าเนาเก็บไว้

- แบบท่ีสามารถเก็บไว้ดูภายหลังได้ เช่น เครื่องพิมพ์ (Printer) และ เครื่องวาด (Plotter) 1) เครื่องพิมพ์ (Printer) เครื่องพิมพ์โดยทั่วไปแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท คือ

- เครื่องพิมพ์แบบจุด (Dot Matrix Printer) คือ เครื่องพิมพ์ที่อาศัยการใช้หัวเข็มไปกระแทกกระดาษ โดยผ่านผ้าหมึกท าให้เป็นจุดขึ้น

Page 5: ARC IT MAN ครั้งที่ 2

17

- เครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึก (Ink Jet Printer) คือ เครื่องพิมพ์ที่ใช้วิธีพ่นน้ าหมึกลงไปบนวัตถุงาน โดยหมึกจะถูกฉีดออกจากรูขนาดเล็กบนหัวพิมพ์

- เครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์ (Laser Printer)

มีหลักการท างานเหมือนกับเครื่องถ่ายเอกสาร เป็นเครื่องพิมพ์ที่พัฒนามาจากเครื่องพิมพ์แบบจุดและแบบพ่นหมึก สามารถพิมพ์ได้เร็วกว่าแบบอื่นและมีความคมชัดมาก จึงได้รับความนิยมน ามาใช้งานในส านักงานทั่วไป เครื่องพิมพ์ประเภทนี้จะใช้หมึกผงในการพิมพ์

2) เครื่องวาด (Plotter) เนื่องจากการแสดงรูปกราฟิกทางเครื่องพิมพ์ (Printer) จะมีข้อจ ากัดทางด้านคุณภาพและขนาดของภาพ ดังนั้นจึงมีการผลิตพลอตเตอร์ขึ้นมาเพ่ือใช้ในงานที่มีการสร้างรูปภาพทางกราฟิก เช่น การออกแบบ ป้ายไวนิล โปสเตอร์ แผนผัง และชาร์ตต่างๆ เป็นต้น

- แบบท่ีไม่มีส าเนาเก็บไว้ เช่น จอภาพ(Monitor) , เครื่องฉายภาพ(LCD Projector) และ ล าโพง (Speaker)

1) จอภาพ (Monitor) มีทั้งจอภาพท่ัวไปและจอทรัสกรีน (Touch screen Monitor)

2) เครื่องฉายภาพ (LCD Projector)

Page 6: ARC IT MAN ครั้งที่ 2

18

5. เมนบอร์ด (Main board) หรือมาเธอร์บอร์ด (Motherboard) เป็นแผงวงจรขนาดใหญ่ ซึ่งมีการเชื่อมต่อวงจรต่างๆ ส าหรับเชื่อมอุปกรณ์หลายๆ ตัวเข้าด้วยกัน โดยมีความส าคัญมาก ซึ่งจะขอยกตัวอย่างเพ่ืออธิบายเบื้องต้นดังต่อไปนี้

Page 7: ARC IT MAN ครั้งที่ 2

19

1) ขั้วต่อและพอร์ตต่างๆ

2) ถ่านหรือแบตเตอรี่ไบออส (BIOS Battery) แบตเตอรี่ไบออสเป็นอุปกรณ์ที่อยู่บนเมนบอร์ด

เป็นส่วนที่ไม่ค่อยมีผู้สนใจนัก จนกระทั่งเมื่อนาฬิกาของเครื่องคอมพิวเตอร์ผิดพลาดและ CMOS เริ่มเก็บข้อมูลไม่อยู่ ซึ่งบอกให้รู้ว่าแบตเตอรี่ไบออสใกล้จะหมดอายุแล้ว ถ้าปล่อยไว้เช่นนี้นานๆ ก็อาจจะท าให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมาได้ แบตเตอรี่ที่ใช้จะเป็นแบบลิเธียม (Lithium) เนื่องจากมีความคงทน และสามารถใช้งานได้นานเป็นปี ๆ โดยมีอายุการใช้งานเฉลี่ยจะอยู่ที่ประมาณ 3 ปี ลักษณะจะคล้ายกระดุมหรือเหรียญสีเงิน ถูกวางอยู่ใน

เบ้าพลาสติกสีด า และอาจมีแผ่นโลหะติดอยู่เป็นขั้วไฟส าหรับต่อเข้ากับเมนบอร์ด โดยส่วนใหญ่ถ่านไบออสจะใช้ถ่านนาฬิกาข้อมือทั่วไป โดยหมายเลขเบอร์ของถ่านที่ใช้คือ CR 2032 หาซื้อได้ตามท้องตลาด

3) ช่องส าหรับติดตั้งหน่วยความจ า (Memory Slot) หรือสล็อตเสียบแรมนั่นเอง หน่วยความจ า RAM จะมีลักษณะเป็นแผงที่มีความยาว จ านวนขา (Pin) และรอยบากที่แตกต่างกัน ดังนั้นจึงต้องมีการออกแบบช่องเสียบให้ตรงชนิดของ RAM ที่จะน ามาใช้

Page 8: ARC IT MAN ครั้งที่ 2

20

4) ช่องส าหรับติดตั้งหรือเสียบการ์ดจอ หรือที่เรียกว่า AGP Slot (Accelerated Graphic Port) ออกแบบมาส าหรับติดต้ังการ์ดแสดงผล (การ์ดจอ) โดยเฉพาะ ซึ่งเป็นอุปกรณ์ท่ีมีการส่งข้อมูลมากท่ีสุด และจ าเป็นต้องส่งผ่านข้อมูลให้ได้เร็วที่สุด เพราะจะมีผลต่อประสิทธิภาพโดยรวมอย่างเห็นได้ชัด แต่ก็มีข้อจ ากัดคือ เมนบอร์ดส่วนใหญ่จะมีสล็อต AGP อยู่เพียงสล็อตเดียวเท่านั้น

5) ช่องส าหรับติดตั้งหรือเสียบการ์ดต่างๆ เช่น การ์ดเสียง การ์ดแลน เป็นต้น (PCI Express

Slot) 6) ช่องส าหรับติดตั้งซีพียู ซีพียูถือได้ว่าเป็นตัวหลักที่ก าหนดว่าเมนบอร์ดแต่ละรุ่นนั้นจะน าไปใช้งาน

ร่วมกับซีพียูรุ่นใดหรือแบบใดได้บ้าง ซึ่งก็จะเป็นตัวก าหนดชิปเซ็ต, ซ็อคเก็ต และอ่ืนๆ ที่เหมาะกับซีพียูรุ่นนั้นๆ ตัวอย่างรูปแบบของช่องส าหรับติดตั้งซีพียู เช่น

Page 9: ARC IT MAN ครั้งที่ 2

21

Socket 604 ใช้กับซีพียู Xeon และ Xeon Nocona Socket 603 ใช้กับซีพียู Xeon Socket 1156 หรือLGA1156 ใช้กับซีพียูของ Intel เช่น Core i3, Core i5, Core i7 Socket T หรือ LGA 775 ใช้กับซีพียูของ Intel เช่น Pentium4 และ Celeron D แกน

Prescott, Pentium4 Extreme Edition, Pentium D (Dual-Core) Socket 478 ใช้กับซีพียู CeleronII, Celeron D (บางรุ่น), Pentium4 (Northwood) Socket 940 ใช้กับซีพียู Athlon 64 FX และ Opteron ของ AMD Socket 939 ใช้กับซีพียู Sempron , Athlon 64(0.09 ไมครอน) ของ AMD Socket 754 ใช้กับซีพียู Athlon 64(0.13 ไมครอน) ของ AMD Socket A ใช้กับซีพียู Duron, Athlon XP ของ AMD

Socket T หรือ LGA 775 Socket 478 Socket 754 Socket 1156 หรือ

LGA1156 7) ช่องเสียบสายข้อมูลของฮาร์ดดิสค์ แบบ SATA และ IDE คือช่องส าหรับเสียบสายเพื่อเชื่อมต่อ

ข้อมูลระหว่างฮาร์ดดิสค์กับเมนบอร์ด เพ่ือท าการจัดเก็บ เข้าถึง ลบ และแก้ไขข้อมูลต่างๆ ซึ่งปัจจุบันจะนิยมใช้แบบ SATA มากกว่า เพราะสามารถส่งผ่านข้อมูลได้เร็วกว่า

8) ช่องเสียบสายหลักจาก Power Supply คือช่องส าหรับเชื่อมต่อกระแสไฟฟ้าจาก Power supply หรือหม้อแปลงไฟฟ้าที่ติดตั้งไว้ในเครื่องเข้าสู่เมนบอร์ด เพ่ือจ่ายไฟไปเลี้ยงอุปกรณ์ต่างๆ

Page 10: ARC IT MAN ครั้งที่ 2

22

9) การ์ดแสดงผล (Graphic card) หรือที่เรียกว่า การ์ดจอ คือ แผงวงจรหรืออุปกรณ์ที่ช่วยแปลงสัญญาณคอมพิวเตอร์ให้อยู่ในรูปแบบกราฟฟิคหรือรูปภาพที่แสดงผลผ่านหน้าจอนั่นเอง คอมพิวเตอร์จะแสดงผลกราฟฟิค รูปภาพ ขณะท างาน เช่น เล่นเกมส์ ออกแบบโปสเตอร์ ตัดต่อวิดีโอ ได้คมชัด ลื่นไหล แรงและเร็วได้นั่น การ์ดจอ เป็นปัจจัยที่มีผลมากพอสมควร กำร์ดจอมี 2 รูปแบบ คือแบบชิปที่ฝังไว้ที่เมนบอร์ดและแบบกำร์ดท่ีแยกออกมำจำกเมนบอร์ดดังรูป 10) การ์ดแสดงสัญญาณเสียง (Sound Card) หรือการ์ดเสียงเป็นอุปกรณ์สร้างและจัดการกับระบบเสียงทั้งหมดในเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น เล่นไฟล์เสียงในรูปแบบต่างๆ สร้างเสียงดนตรีตามค าสั่งแบบ MIDI บันทึกและแปลงเสียงลงเป็นไฟล์แบบดิจิตอล ตลอดจนผสมเสียงจากหลายๆแหล่งที่มาเข้าด้วยกัน เป็นต้น 11) Power Supply หรือหม้อแปลงไฟฟ้าส าหรับคอมพิวเตอร์ เป็นอุปกรณ์หลักที่คอยจ่ายไฟให้กับชิ้นส่วนและอุปณ์ต่างๆทั้งหมดภายในเครื่อง มีรูปร่างเป็นกล่องสี่เหลี่ยมติดตั้งอยู่ภายในตัวเคส (สามารถถอดเปลี่ยนได้) ท าหน้าที่แปลงแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) ตามบ้านจาก 220 โวลต์ให้เหลือเพียงแรงดันไฟฟ้ากระแสตรง (DC) 3 ชุดคือ 3.3 และ 5 โวลต์ เพ่ือจ่ายไฟให้กับวงจรชิ้นส่วนอุปกรณ์ต่างๆ และ 12 โวลต์ เพ่ือจ่ายไฟให้กับมอเตอร์ของอุปกรณ์ดิสก์ไดรว์ต่างๆรวมถึงพัดลมระบายอากาศด้วย 12) ช่องเสียบสายข้อมูล (Data Cable) และสายไฟ (Power Cable) ที่ Hard disk โดย Hard disk ในปัจจุบันมีรูปแบบการส่งผ่านข้อมูล 2 แบบ คือ SATA, IDE แต่ปัจจุบันจะนิยมใช้แบบ SATA มากกว่า IDE เนื่องจากเป็นเทคโนโลยีที่ทันสมัยกว่าและสามารถส่งผ่านข้อมูลได้เร็วกว่ามาก

Page 11: ARC IT MAN ครั้งที่ 2

23

การวินิจฉัยอาการและการแก้ไขปัญหาคอมพิวเตอร์เบื้องต้น จากปัญหาด้านคอมพิวเตอร์ที่เกิดข้ึนภายในส านักวิทยบริการที่ผ่านมา สามารถจ าแนกปัญหาที่พบบ่อยครั้ง ไดด้ังนี้ ปัญหาด้านฮาร์ดแวร์

1. ลักษณะอาการ: ปัญหาหน้าจอไม่ปรากฏภาพหรือข้อความใดๆ แตไ่ฟสถานะการเปิดเครื่องสว่าง (ไฟเข้า) อาจจะมีเสียงร้อง “ติ๊ด..ต๊ิด..”หรือไม่ก็ได้ สาเหตุ: - อาจจะเกิดจากไม่มีไฟเลี้ยงที่จอมอนิเตอร์ สายไฟหรือสายสัญญาณภาพ (สาย VGA) หลวมท าให้หน้าจอไม่สามารถแสดงภาพได้

- แรม RAM สกปรก ท าให้ไม่สามารถเปิดเครื่องได้ วิธีแก้ไข:

1) หากไม่ปรากฏเสียงร้องใดๆ ให้ตรวจเช็คไฟสถานะของหน้าจอคอมพิวเตอร์ หากไฟไม่สว่าง ควรตรวจสอบว่า ได้เสียบปลั๊กไฟหรือเปิดสวิชที่ตัวเต้ารับหรือไม่ ปลั๊กไฟ สายสัญญาณภาพ (สาย VGA) สายไฟที่จอคอมพิวเตอร์หลวมหรือไม่ ให้ถอดทั้งสายไฟและสายสัญญาณภาพที่หน้าจอคอมพิวเตอร์และเคสคอมพิวเตอร์ออกแล้วเสียบกลับให้แน่น

2) หากแก้ไขด้วยวิธีในข้อที่ 1 แล้วไม่หาย หรือปรากฏเสียงร้อง “ต๊ิด..ต๊ิด..” ที่เครื่องพิวเตอร์ ให้ถอดแรม (RAM) ที่อยู่ภายในเครื่องออกมาขัดด้วยยางลบ โดยมีขั้นตอนดังนี้

ขยับหรือถอดสาย VGA ทีห่น้าจอและเคสคอมพิวเตอร์แล้วเสยีบใหม่ให้แน่น

Page 12: ARC IT MAN ครั้งที่ 2

24

เปิดฝาครอบที่ตัวเครื่องหรือเคสคอมฯ

มองหา Slot ที่ติดตั้งแรมซึ่งมีลักษณะดังภาพ

ค าเตือน 1.กรุณาถอดสายไฟและสายสัญญาณต่างๆทีม่ีไฟเลี้ยง เช่นสายสญัญาณภาพ VGA ออกจากเคสหรือตัวเครื่องเพื่อป้องกันไปดูด

Page 13: ARC IT MAN ครั้งที่ 2

25

ใช้นิ้วหัวแม่มือกดสลักล๊อคแรมทั้งสองข้างออก แล้วดึงแรมขึ้นมา

ใช้ยางลบขัดที่แถบทองแดงไปมาทั้งด้านหน้าและด้านหลังประมาณ 10-15 ครั้ง

Page 14: ARC IT MAN ครั้งที่ 2

26

เมื่อขัดเสร็จแล้วเตรียมใส่คืนท่ี Slot ส าหรับตดิตั้งแรมในตัวเครื่อง

ตรวจสอบช่องสลักให้ตรงกับ Slot ในตัวเครื่อง

Page 15: ARC IT MAN ครั้งที่ 2

27

กดที่ตัวสลักสีขาวลงแล้วว่างแรมลงใน Slot

กดแรมลงเบาๆ ใหส้ลักสีขาวดีดกลับเข้าล๊อคกับตัวแรม

Page 16: ARC IT MAN ครั้งที่ 2

28

เมื่อท าการติดตั้งแรมเข้าดังเดิมแล้ว ให้ผู้ใช้ทดสอบดูว่าการแก้ไขปัญหาด้วยวิธีดังกล่าวได้ผลหรือไม่ โดยการต่อสายสัญญาณต่างๆเข้าดังเดิมและเปิดเครื่อง หากสามารถเปิดเครื่องและสามารถเข้าระบบปฏิบัติการได้ ก็ถือว่าผู้ใช้สามารถแก้ไขปัญหาได้ถูกวิธี หากแก้ไขแล้วไฟสถานะที่ตัวเครื่องและหน้าจอติด แต่ไม่ปรากฏภาพใดๆ ให้ลองเอาหน้าจอ สายสัญญาณภาพจากเครื่องอ่ืนๆมาเปลี่ยน หากยังใช้ไม่ได้ เมนบอร์ดอาจจะมีปัญหา ให้แจ้งฝ่ายไอทีโดยตรงที่เบอร์ 42606

2. ลักษณะอาการ: ปัญหาเครื่องไม่ติด ไม่มีไฟเข้า ไฟสถานการณ์เปิดเครื่องไม่ติด สาเหตุ: ปลั๊กไฟหลวม ลืมเสียบปลั๊ก ลืมเปิดสวิทต์ที่เต้ารับ วิธีแก้ไข: ให้เช็คสายไฟที่เคสคอมพิวเตอร์ ปลั๊กท่ีเต้ารับต่างๆ ว่าเปิดสวิชต์หรือหลวมหรือไม่ หากหลวมให้เสียบกลับให้แน่น หากแก้ไขปัญหาด้วยวิธีดังกล่าวแล้ว เปิดเครื่องไม่ติด ไฟสถานะไม่ติด ปรากฏว่าไม่มีไฟเลี้ยงภายในตัวเครื่องใดๆเลย Power Supply อาจจะเสีย ให้แจ้งฝ่ายไอทีโดยตรงที่เบอร์42606

ตรวจสอบดูว่าสลักสีขาวเข้าล๊อกกบัตัวแรมหรือไมด่ังภาพ

Page 17: ARC IT MAN ครั้งที่ 2

29

Safe Mode อาจจะเรยีกหรือรูจ้กักันในอีกช่ือหน่ึงว่า Diagnostic Mode เป็นโหมดการท างานอย่างหนึ่งของระบบปฏิบตัิการ ยกตัวอย่างเช่น Microsoft Windows, Mac OS X ซึ่งถ้าหากว่าเราไมส่ามารถ Boot เข้าสู่ Normal Mode หรือโหมดการท างานปกตขิองระบบปฏิบัติการ หรือเกดิปัญหาขึ้นอย่างใดอย่างหน่ึง ท าให้ไม่สามารถ Boot เข้าสู่ Normal Mode ได้ Safe Mode เป็นอีกทางเลือกหนึ่งส าหรับการเข้าไปตรวจสอบ แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นกับระบบปฏิบตัิการในเครื่องของเรา ทั้งนี้ใน Safe Mode นั้นฟังก์ช่ันการท างานต่างๆจะถูกลดหรือปิดการท างานออกไปบางตัว แต่ฟังก์ช่ันการท างานหลักๆ ยงัสามารถใช้ได้ตามปกต ิโดยโปรแกรมไวรัส โทรจัน สบายแวร์ทั้งหลาย จะไม่ถูกรันในโหมดนี ้

ปัญหาด้านซอฟท์แวร์ 1. ลักษณะอาการ: เครื่องไม่สามารถบูทเข้าสู่ระบบปฏิบัติการ (Window) ได,้ รีสตาร์ทตลอดเวลา

หรือขึ้นหน้าจอ Error สีฟ้า (Blue screen) สาเหตุ: - อาจะเกิดจากไวรัสคอมพิวเตอร์เข้าไปท าลายไฟล์ระบบ (System file) ซึ่งเป็นไฟล์เกี่ยวกับการบูท (boot) เข้าสู่ระบบปฏิบัติการ (Window) ท าให้ไม่สามารถเข้าสู่วินโดว์ได้ - ในกรณีที่ขึ้นหน้าจอสีฟ้า อาจจะเกิดจากไวรัสคอมพิวเตอร์หรือการติดตั้งฮาร์ดแวร์และชอฟท์แวร์ใหม่ๆ ที่ไม่รองรับกับระบบปฏิบัติการ ท าให้อาจจะเกิดการ Error ขึ้นได้ ซึ่งท าให้ระบบแจ้งปัญหาในรูปแบบข้อความบนหน้าจอสีฟ้านั่นเอง วิธีแก้ไขปัญหา: Safe Mode กับ System Restore สุดยอดวิธีแก้ปัญหา ที่ทุกคนควรรู้

1) เข้าสู่ระบบ Save mode โดยการรสีตาร์ทเครื่องคอมพิวเตอร์ ในขณะที่เครื่องก าลังบูทผ่านหน้าจอ Bios ที่แสดงการท างานของหน่วยความจ า ให้กดปุ่ม F8 ที่แป้นพิมพ์ ไปเรื่อยๆ จนเข้าหน้าจอ Windows Advance Option Menu

2) จากนั้นเลือกการบูทแบบ Safe Mode แล้วกดปุ่ม Enter ดังรูป -

Page 18: ARC IT MAN ครั้งที่ 2

30

3) เมื่อสามารถเข้าสู่ระบบปฏิบัติการในรูปแบบ Save mode ได้แล้ว จะปรากฏกล่องข้อความข้ึนมาให้คลิก No เพ่ือท าการเปิด system restore ดังรูป

4) จะปรากฏหน้าต่างดังรูป ให้คลิก Next

5) จากนั้นจะปรากฏหน้าต่าง ตารางจุด restore point ในวันที่ผ่านมา โดยระบบจะสร้าง

จุด restore point ไว้ตามวัน-เวลา หรือเหตุการณ์ท่ีส าคัญๆ ให้เลือก จุด restore point ในวัน-เวลาที่เครื่องยังใช้งานได้ปกติ จากนั้นให้คลิก Next ดังรูป

Page 19: ARC IT MAN ครั้งที่ 2

31

6) จะปรากฏกล่องข้อความขึ้นมาให้กด OK

7) จะปรากฏหน้าต่างรายละเอียดการ restore เพ่ือให้เราตรวจสอบและยืนยันอีกครั้ง จากนั้นให้คลิก Next

Page 20: ARC IT MAN ครั้งที่ 2

32

8) ระบบจะท าการ restore กลับไปยังค่าเดิม ณ วัน-เวลา ที่ถูกสร้างจุด restore point ไว้

9) จะปรากฏหน้าต่างแสดงข้อความการ restore เสร็จเรียบร้อยแล้ว จากนั้นให้กด OK จากนั้นให้ท าการรีสตาร์ทเครื่องเพ่ือเข้าสู่ระบบใหม่

หากไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ หรือในกรณีที่ไม่สามารถเข้าสู่ Save mode ได้ตั้งแต่ขั้นตอนแรกให้ท าการแก้ไขปัญหาโดยการท า recovery ด้วยโปรแกรม acronis (สามารถดูรายละเอียดวิธีการ recovery ได้ที่ เอกสารประกอบการอบรมเชิงปฏิบัติโครงการพัฒนาศักยภาพด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ฉบับที่ 1)

ตัวอย่างที่แสดงด้านบนเป็นของ Windows XP ส าหรับวินโดว์อ่ืนๆ เช่น Window 7 อาจจะต่างไปบ้าง แต่ถือว่าคล้ายๆกัน อย่างไรก็ตาม การใช้ System Restore ไม่สามารถแก้ปัญหาได้เสมอไป เนื่องจาก

1. ตัวไวรัสบางตัวเข้าไปอยู่ใน System Restore ได้ 2. ไม่มีวันที่ต้องการย้อนเวลาที่เหมาะสม เนื่องจากไม่ได้ท า Restore point ไว้ 3. เวลาที่ต้องการย้อน เป็นระยะเวลานานเกินไป 4. ปัญหาที่เกิด เป็นปัญหาทางด้าน Hardware