6. บทที่ 2digital_collect.lib.buu.ac.th/dcms/files/52920337/... · 2018-09-19 · 3....

29
บทที2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยงของ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงคเพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของขาราชการครูที่มีตอการ ปฏิบัติงานของสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2 ผูวิจัยไดศึกษาคนควา และสํารวจองคความรูที่เกี่ยวของกับการวิจัย สามารถสรุปเปนหัวขอตางๆไดดังตอไปนี1. แนวคิดและทฤษฎี 2. เอกสารทางวิชาการและงานวิจัยที่เกี่ยวของ 3. การจัดการศึกษาของสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2 4. กรอบแนวคิดในการวิจัย 5. สมมติฐานการวิจัย 6. นิยามศัพทเชิงปฏิบัติการ แนวคิดและทฤษฎี แนวคิดเกี่ยวกับความพึงพอใจ 1. ความหมายของความพึงพอใจ ความหมายของความพึงพอใจ ไดมีผูใหคําอธิบายความหมายของความพึงพอใจ ดังนีมอรซ และเดวิส (Morse & David, 1953 อางถึงใน สุพัฒน อัมระนันทน , 2540, หนา 8) ไดใหความหมายของความพึงพอใจสรุปไดวา หมายถึง สิ่งที่เกิดขึ้นกับมนุษย เมื่อความตองการ พื้นฐานทั้งรางกายและจิตใจไดรับการตอบสนองและสามารถลดความตึงเครียดหรือความกระวน กระวายหรือภาวะไมสมดุลทางรางกายของมนุษยใหนอยลงหรือหมดไป ทําใหมนุษยเกิดความ พึงพอใจ เพาเวลส (Powell, 1983 อางถึงใน สุพัฒน อัมระนันทน, 2540, หนา 8-9) ไดให ความหมายของความพึงพอใจไววา หมายถึง ความสามารถของบุคคลในการดําเนินชีวิตอยางมี ความสุขสนุกสนานปราศจากความรูสึกเปนทุกข ทั้งนี้ไมไดหมายความวา บุคคลจะตองไดรับการ ตอบสนองอยางสมบูรณในทุก สิ่งที่ตองการ แตความพึงพอใจนั้นอาจจะหมายถึงความสุขที่เกิด จากการปรับตัวของบุคคลตอสิ่งแวดลอมไดเปนอยางดี และทําใหเกิดความสมดุลระหวางความ ตองการของบุคคลกับการไดรับการตอบสนอง

Upload: others

Post on 20-Jun-2020

0 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

Page 1: 6. บทที่ 2digital_collect.lib.buu.ac.th/dcms/files/52920337/... · 2018-09-19 · 3. การจัดการศึกษาของสํักงานเขตพาน

บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยงของ

การวิจัยคร้ังนี้มีวัตถุประสงคเพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของขาราชการครูที่มีตอการปฏิบัติงานของสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2 ผูวิจัยไดศึกษาคนควาและสํารวจองคความรูที่เกี่ยวของกับการวิจัย สามารถสรุปเปนหัวขอตางๆไดดังตอไปนี้ 1. แนวคดิและทฤษฎี 2. เอกสารทางวิชาการและงานวิจยัที่เกีย่วของ 3. การจัดการศึกษาของสํานกังานเขตพืน้ทีก่ารศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2 4. กรอบแนวคิดในการวิจยั 5. สมมติฐานการวิจยั 6. นิยามศัพทเชิงปฏิบัติการ

แนวคิดและทฤษฎี แนวคดิเกีย่วกบัความพึงพอใจ 1. ความหมายของความพึงพอใจ ความหมายของความพึงพอใจ ไดมีผูใหคําอธิบายความหมายของความพึงพอใจ ดังนี ้ มอรซ และเดวิส (Morse & David, 1953 อางถึงใน สุพัฒน อัมระนันทน, 2540, หนา 8) ไดใหความหมายของความพึงพอใจสรุปไดวา หมายถึง ส่ิงที่เกิดขึ้นกับมนุษย เมื่อความตองการพื้นฐานทั้งรางกายและจิตใจไดรับการตอบสนองและสามารถลดความตึงเครียดหรือความกระวนกระวายหรือภาวะไมสมดุลทางรางกายของมนุษยใหนอยลงหรือหมดไป ทําใหมนุษยเกิดความ พึงพอใจ เพาเวลส (Powell, 1983 อางถึงใน สุพัฒน อัมระนันทน, 2540, หนา 8-9) ไดให ความหมายของความพึงพอใจไววา หมายถึง ความสามารถของบุคคลในการดําเนินชีวิตอยางมีความสุขสนุกสนานปราศจากความรูสึกเปนทุกข ทั้งนี้ไมไดหมายความวา บุคคลจะตองไดรับการตอบสนองอยางสมบูรณในทุก ๆ ส่ิงที่ตองการ แตความพึงพอใจนั้นอาจจะหมายถึงความสุขที่เกิดจากการปรับตัวของบุคคลตอส่ิงแวดลอมไดเปนอยางดี และทําใหเกิดความสมดุลระหวางความตองการของบุคคลกับการไดรับการตอบสนอง

Page 2: 6. บทที่ 2digital_collect.lib.buu.ac.th/dcms/files/52920337/... · 2018-09-19 · 3. การจัดการศึกษาของสํักงานเขตพาน

8  

ไพบูลย ชางเรียน (2516, หนา 146-147 อางถึงใน นริษา นราศรี, 2544, หนา 28) กลาวถึงความหมายของความพึงพอใจไววา ความพึงพอใจเปนความตองการทางรางกาย มีความรุนแรงในตัวบุคคล ในการรวมกิจกรรมเพื่อสนองความตองการทางรางกายเปนผลทําใหเกิดความพึงพอใจแลวจะรูสึกตองการความมั่นคง ปลอดภัย เม่ือบุคคลไดรับการตอบสนองความตองการทางรางกายและความตองการความมั่นคงแลว บุคคลจะเกิดความผูกพันมากขึ้นเพื่อใหเปนที่ยอมรับวาตนเปนสวนหนึ่งของกลุม กิติมา ปรีดีดิลก (2529, หนา 278-279) ไดรวบรวมความหมายของความพึงพอใจในการ ทํางานดังนี ้ 1. ความพึงพอใจในการทํางานตามแนวคดิของ คารเตอร (Carter) หมายถึง คุณภาพ สภาพ หรือระดับความพึงพอใจของบุคคล ซ่ึงเปนผลมาจากความสนใจ และทัศนคติของบุคคลที่มีตอคุณภาพและสภาพของงานนั้น ๆ 2. ความพึงพอใจในการทํางานตามแนวคดิของ เบนจามิน (Benjamin) หมายถึง ความรูสึกที่มีความสุข เมื่อไดรับผลสําเร็จตามความมุงหมาย ความตองการ หรือแรงจูงใจ 3. ความพึงพอใจในการทํางานตามแนวคดิของ เอรเนสท (Ernest) และโจเซพ (Joseph) หมายถึง สภาพความตองการตาง ๆ ที่เกิดจากการปฏิบัตหินาที่การงานแลวไดรับการตอบสนอง 4. ความพึงพอใจตามแนวคดิของ จอรจ (George) และเลโอนารด (Leonard) หมายถึงความรูสึกพอใจในงานที่ทําและเต็มใจทีจ่ะปฏิบัติงานนั้นใหบรรลุวัตถุประสงค พจนานกุรมฉบับราชบัณฑติยสถาน (ราชบัณฑิตยสถาน, 2546, หนา 577-578) ซ่ึงความหมาย พงึพอใจจากพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ไดใหความหมายวา พอใจ หมายถึง สมใจ ชอบใจ เหมาะ พึงใจ หมายถึง พอใจ ชอบใจ ธงชัย สันติวงษ (2542, หนา 359) กลาววา ถาบุคคลหนึ่งไดมองเห็นชองทางหรือโอกาสจะสามารถสนองแรงจูงใจที่ตนมีอยูแลว ก็จะทําใหความพึงพอใจของเขาดีขึน้ หรืออยูในระดับสูง สมศักดิ์ คงเทีย่ง และอัญชลี โพธิ์ทอง (2542, หนา 278-279) กลาวไวสรุปไดวา 1. ความพึงพอใจเปนผลรวมของความรูสึกของบุคคลเกี่ยวกับระดับความชอบหรือไมชอบตอสภาพตาง ๆ 2. ความพึงพอใจเปนผลของทัศนคติที่เกีย่วของกับองคประกอบตาง ๆ 3. ความพึงพอใจในการทํางานเปนผลมาจากการปฏิบัตงิานที่ดี และสําเร็จจนเกิดเปนความภูมใิจ และไดผลตอบแทนในรูปแบบตาง ๆ ตามที่หวังไว

Page 3: 6. บทที่ 2digital_collect.lib.buu.ac.th/dcms/files/52920337/... · 2018-09-19 · 3. การจัดการศึกษาของสํักงานเขตพาน

9  

กิลเมอร (Gilmer, 1966, p. 80) ไดใหความหมายวา ความพึงพอใจในการทํางานเปน ทัศนคติของบุคคลที่มีตอปจจัยตาง ๆ ที่เกีย่วของกับการดาํรงชีวิตโดยทัว่ไปที่ไดรับมา จากความคดิเห็นของนักวิชาการ ไดใหความหมายและกลาวถึงสิ่งที่สรางความพึงพอใจนํามาสรุปไดวา ความพึงพอใจ หมายถึงความรูสึกของบุคคลที่บอกระดบัความสุขความสมหวัง ความชอบ ในทางบวกตอส่ิงตาง ๆ ที่มีผลตอบุคคลทั้งทางตรงและทางออม รวมถึงการตอบสนองความตองการหรือบรรลุจุดมุงหมาย ความพึงพอใจสงผลใหบุคคลเกิดความสบายใจหรือสนองความตองการทําใหเกิดความสุข เปนผลดีตอการปฏิบัติงาน 2. ความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน ไดมี นักการศกึษา ไดใหความหมายของความพึงพอใจในการปฏิบัติงานไวแตกตางกนั ดังนี ้ โวลแมน (Wolman, 1973, p. 333) ใหแนวคิดวาความพึงพอใจ หมายถึง ความรูสึกมีความสุขเมื่อไดรับผลสําเร็จตามความมุงหมาย ความตองการหรือแรงจงูใจ สเตาส และเซเลส (Strauss & Sayles, 1960, pp.119 - 121) ไดใหความหมายของความ พึงพอใจในการทํางานวา หมายถึง ความรูสึกพอใจในงานที่ทํา เมื่องานนั้นใหผลประโยชนตอบแทนทั้งทางดานวัตถุ และทางดานจิตใจ ซ่ึงสนองความตองการขั้นพื้นฐานของเขาได กูด (Good, 1973, p. 320) ไดใหความหมายความพึงพอใจในการปฏิบัติงานวาเปนคุณภาพ สภาพ หรือระดับความพึงพอใจ ซ่ึงเปนผลมาจากความสนใจ และทัศนคติของบุคคลที่มี ตองาน และ ลูทันส ( Luthans, 1977, p. 420 ) ไดใหความหมายความพึงพอใจในการปฏิบัติงานวาเปนผลรวมขององคประกอบตาง ๆ ซ่ึงสนองความตองการ และเปนศกัยภาพทีเ่จริญขึ้นเปนทัศนคติแฝงอยู ซ่ึงสอดคลองกับ กิลเมอร (Gilmer, 1966, p. 255) ไดกลาววา ความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน หมายถึง ผลของทัศนคติตาง ๆ ของบุคคลที่มีตอองคประกอบของงาน มอรส ( Morse, 1958, p. 27) ไดใหความหมายของความพึงพอใจในการทํางานไววา หมายถึง ทุกสิง่ทุกอยางที่สามารถลดความตึงเครียดของผูทํางานใหนอยลง และความตึงเครียดนี้มีผลมาจากความตองการของมนุษย ซ่ึงเมื่อมนุษยมีความตองการมากจะเกดิปฏิกิริยาเรียกรอง ถาเมื่อใดความตองการไดรับการตอบสนองความเครียดกจ็ะนอยลงหรือหมดไป ทําใหเกดิความ พึงพอใจได แมคคอมิก และทิฟฟน ( McCormick & Tiffin, 1978, p. 298) ไดกลาวถึง สภาพความ พึงพอใจในการทํางานนั้น หมายถึง การที่ความตองการตาง ๆ ที่เกิดจากการปฏิบัติหนาที่การงานแลวไดรับการตอบสนอง

Page 4: 6. บทที่ 2digital_collect.lib.buu.ac.th/dcms/files/52920337/... · 2018-09-19 · 3. การจัดการศึกษาของสํักงานเขตพาน

10  

แนงนอย พงษสามารถ (2519, หนา 319) เชื่อวา ความพงึพอใจในการปฏิบัติงานเปนผลมาจากทาทีของบุคคลที่มีตอส่ิงตาง ๆ หลาย ๆ ดานในการทํางาน กิติมา ปรีดีดิลก (2529, หนา 279) ไดใหแนวคิดวา ความพึงพอใจในการทํางาน หมายถึง ความรูสึกที่ชอบหรือไมพึงพอใจที่มีตอองคประกอบ และส่ิงจูงใจในดานตางๆ ของงาน และผูปฏิบัติงานนั้นไดรับการตอบสนองความตองการของเขาได สมพงศ เกษมสิน (2518, หนา 298 อางถึงใน นริษา นราศรี, 2544, หนา 28) บุคคลจะเกิดความพึงพอใจไดนั้นจะตองมีการจูงใจ และไดกลาวถึงการจูงใจไววา “การจูงใจเปนการชักจูงใหผูอ่ืนปฏิบัติตาม โดยมีมูลเหตุความตองการ 2 ประการ คือความตองการทางรางกาย และความตองการทางจิตใจ” นฤมล มีชัย (2535, หนา 15) กลาววา ความพึงพอใจเปนความรูสึกหรือเจตคติที่ดีตอการปฏิบัติงานตามภาระหนาที่ และความรับผิดชอบนั้น ๆ ดวยใจรัก มีความกระตือรือรนในการทํางานพยายามตั้งใจทํางานใหบรรลุเปาหมาย และมีประสิทธิภาพสูงสุด มีความสุขกับงานที่ทําและมีความพอใจ เมื่องานนั้นไดผลประโยชนตอบแทน จรูญ ทองถาวร (2536, หนา 222-224 อางถึงใน นริษา นราศรี, 2544, หนา 28)ไดกลาวถึงความตองการพื้นฐานของมนุษย โดยไดสรุปเนือ้ความมาจากแนวคดิของมาสโลว (Maslow) สรุปไดไววา ความตองการพื้นฐานของมนุษยแบงเปน 5 ระดับ ดังนี ้ 1. ความตองการทางรางกาย เปนความตองการพื้นฐาน ไดแก ความตองการอาหาร เครื่องนุงหม ที่อยูอาศัย และยารักษาโรค 2. ความตองการมั่นคงและปลอดภัย ไดแก ความตองการมีความเปนอยูอยางมั่นคงมีความปลอดภยัในรางกายและทรัพยสิน มคีวามมั่นคงในการทํางาน และมีชีวิตอยูอยางมั่นคงในสังคม 3. ความตองการทางสังคม ไดแก ความตองการความรกั ความตองการเปนสวนหนึ่งของสังคม 4. ความตองการเกียรติยศชื่อเสียง ไดแก ความภูมิใจ การไดรับความยกยองจากบุคคลอื่น 5. ความตองการความสําเร็จแหงตน เปนความตองการในระดับสูงสุด เปนความตองการระดับสูง เปนความตองการที่อยากจะใหเกิดความสําเร็จทุกอยางตามความคิดของตน จากความหมายของความพึงพอใจในการปฏิบัติงานที่บุคคลตาง ๆไดกลาวมาแลว พอสรุปไดวา ความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน หมายถึง ความรูสึกที่ดี รูสึกชอบ พอใจ มีความสุข ที่มีตอองคประกอบและสิ่งจูงใจในดานตาง ๆ ของงาน และผูปฏิบัติงานไดรับการตอบสนองความตองการของเขาได

Page 5: 6. บทที่ 2digital_collect.lib.buu.ac.th/dcms/files/52920337/... · 2018-09-19 · 3. การจัดการศึกษาของสํักงานเขตพาน

11  

3. แนวคดิเกีย่วกับการวัดความพึงพอใจ หทัยรัตน ประทุมสูตร (2542, หนา 14) ไดกลาวไววา การวัดความพงึพอใจ เปนเรือ่ง ที่เปรียบเทียบไดกับความเขาใจทั่ว ๆ ไป ซ่ึงปกติจะวัดไดโดยการสอบถามจากบุคคลที่ตองการจะถาม มีเครื่องมือที่ตองการจะใชในการวิจยัหลาย ๆ อยาง อยางไรก็ดีถึงแมวาจะมีการวัดอยูหลายแนวทางแตการศึกษาความพงึพอใจอาจแยกตามแนวทางวัดไดสองแนวคิดตามความคดิเห็นของ ซาลีซนิคค คริสเทนส กลาวคือ 1. วัดจากสภาพทั้งหมดของแตละบุคคล เชน ที่ทํางาน ที่บานและทกุ ๆ อยางที่เกี่ยวของกับชวีิต การศึกษา ตามแนวทางนีจ้ะไดขอมูลที่สมบูรณ แตทาํใหเกิดความยุงยากกับการที่จะวัดและเปรยีบเทียบ 2. วัดไดโดยแยกออกเปนองคประกอบ เชน องคประกอบที่เกี่ยวกับงาน การนิเทศงานเกี่ยวกับนายจาง จากแนวคิดเกี่ยวกับการวัดความพึงพอใจ ที่กลาวมาแลว พอจะสรุปไดวา การวัดความ พึงพอใจ เปนเรื่องเปรียบเทียบ ความรูสึกตอความตองการหรือความชอบของตัวบุคคล เพื่อสนองความตองการหรือบรรลุจุดมุงหมายที่จะใหเกิด 4. ประโยชนและความจําเปนในการสรางความพึงพอใจ การสรางความพึงพอใจใหเกิดขึ้นกับบุคคลรอบขาง ผูรวมงาน มีความจาํเปนสําหรบัหนวยงานทกุหนวยงาน เพราะงานทุกอยางในหนวยงานจะสําเร็จไดดวยดีกเ็พราะดวยความรวมมือรวมใจของบุคลากรทุกคน ดงันั้น การสรางความพึงพอใจใหเกิดขึ้นกับบุคลากรในหนวยงานจึงเปนความจําเปนอยางยิ่ง เพราะจะกอใหเกดิประโยชนกับหนวยงานและทกุฝายที่เกี่ยวของ ซ่ึงมีผูใหแนวคดิไวหลายทาน เชน สุทธิ ทองประดิษฐ (2536, หนา 116-118) ไดกลาวถึงการสรางความพึงพอใจทางพุทธศาสนา (Motivation in Buddhism) วาเกดิขึ้นมาจากสาเหตุที่มนุษยทุกคนมีความอยาก มีความตองการ จึงเปนธรรมชาติที่เขาจะตองดิน้รนหาทางดําเนนิการอยางใดอยางหนึ่งเพื่อใหไดมาซึ่งสิ่งที่ตนปรารถนา พนักงานทํางานในองคกรก็มีความตองการโดยสวนตัวเชนกัน ผูบริหารตองพยายามหาวิธีการที่จะสนองความตองการของผูใตบังคับบัญชาทุก ๆ คนใหสอดคลองและเหมาะสมกับสภาพความเปนจริงบนพื้นฐานความแตกตางของแตละคน เพื่อใชเปนสิ่งจูงใจ ผูกใจผูใตบังคับบัญชา ใหยอมรับ เชื่อถือและรวมมือในการประกอบภารกิจใหบรรลุวัตถุประสงคขององคการ และมีแนวคดิในทางเดียวกันนี้อีกหลายทาน เชน สมจิตต แกวเกรียงไกร (2539, หนา 39) และบัญชา อ๋ึงสกุล (2545, หนา 27) ไดกลาวถึงความจําเปนในการสรางความพึงพอใจใหแกผูรวมงานไว สรุปไดวา แรงจูงใจเปนองคประกอบที่สําคัญตอการปฏิบัติงานของบุคคลและมีความ

Page 6: 6. บทที่ 2digital_collect.lib.buu.ac.th/dcms/files/52920337/... · 2018-09-19 · 3. การจัดการศึกษาของสํักงานเขตพาน

12  

จําเปนสําหรับทุกหนวยงานที่จะตองหาวิธีจูงใจผูปฏิบัติงานใหเกิดความเต็มใจที่จะปฏิบัติงานใหเต็มความสามารถ จากแนวคิดและหลักการขางตนที่กลาวมานี้ พอสรุปไดวา ผลงานที่มีประสิทธิภาพนั้น มีผลเนื่องมาจากมีความพึงพอใจที่ไดรับการตอบสนองในสิ่งที่ตองการทั้งทางดานรางกายและจิตใจ ซ่ึงแตกตางกันไปตามสภาพของแตละบุคคล ดังนั้น จึงจําเปนตองหาวิธีการที่เหมาะสมในการสรางความพึงพอใจใหแกบุคคลในการปฏิบัติงาน อันนํามาซึ่งความสําเร็จและบรรลุเปาหมายที่ตองการอยางมีประสิทธิภาพ ทฤษฎีเกี่ยวกับความพึงพอใจ 1. ทฤษฎีลําดับขั้นความตองการของมาสโลว (Maslow’s Need Hierarchy) อับราฮัม มาสโลว (Maslow, 1970 อางถึงใน สุทธิ ทองประดิษฐ, 2536, หนา 108-111) และนรา สมประสงค (2536, หนา 134-135) กลาวถึงความตองการและความพึงพอใจของมนุษย ซ่ึงเขานําประสบการณที่ไดจากการเปนนักจิตวิทยาและผูใหคําปรึกษามาเปนพื้นฐานในการเสนอทฤษฎีสรางแรงจูงใจ (Need Hierarchy Theory) ที่อธิบายถึงพฤติกรรมของมนุษยวามีความตองการตามลําดับขั้น 5 ขั้น ดังนี้ 1. ความตองการทางรางกาย (Physiological Needs) เปนความตองการขัน้พื้นฐานที่สําคญัที่สุดเพื่อใหดํารงชวีิตอยูได เชน อาหาร อากาศ น้าํดื่ม ที่อยูอาศยั เครื่องนุงหม ยารักษาโรค ความตองการทางเพศ ความตองการพักผอน เปนตน 2. ความตองการความปลอดภัยและความมั่นคง (Safety and Security Needs) เปนการตองการความปลอดภัยและมั่นคงทั้งทางรางกาย เชน ตองการไดรับการคุมครองปกปอง ตองการกฎระเบียบและกฎหมาย ตองการอิสระสวนตัว ตองการการดูแลรักษาเมื่อเจ็บปวยและความปลอดภัย และความมั่นคงทางเศรษฐกิจ เชน ตองการซื้อขายแลกเปลี่ยน ตองการทํางานที่มีความมั่นคง ปลอดภัย ตองการมีเสถียรภาพ เปนตน 3. ความตองการทางสังคม (Social Needs) เปนความตองการที่เปนทั้งผูใหและผูรับจากสังคม ถาไมไดรับความพึงพอใจในขั้นนี้ จะเกิดความรูสึกโดดเดี่ยว อางวาง วาเหว ถูกตัดออกหรือถูกปฏิเสธจากสังคม ซ่ึงมาสโลวเห็นวาสามารถทําใหเกิดผลตอเนื่องไปถึงการปรับตัวที่ไมดีของสังคมได 4. ความตองการยอมรับนับถือ (Esteem Needs) เปนความตองการเกียรติยศ ช่ือเสียง การยอมรับนับถือจากคนอื่นและการยอมรับนับถือตนเอง เคารพตนเอง อาจแบงไดเปน 2 ประเภท คือ การยอมรับนับถือภายในตน เชน ความตองการสัมฤทธิผล ความตองการมีความสามารถ (Competence) ความภาคภูมิใจในคุณภาพของงานที่ทําจะชวยใหเกิดการยอมรับนับถือในตนเองมากขึ้นและการ

Page 7: 6. บทที่ 2digital_collect.lib.buu.ac.th/dcms/files/52920337/... · 2018-09-19 · 3. การจัดการศึกษาของสํักงานเขตพาน

13  

ยอมรับนับถือตนเองจากภายนอก เชน การไดรับความสนใจ การมีผูอ่ืนยอมตาม การยอมรับจากผูอ่ืนเปนตน 5. ความตองการความสําเร็จสูงสุดแหงตน (Self - actualization Needs) เปนความตองการพัฒนาตนเองตามศักยภาพสูงสุด ไดแสดงออกซึ่งทักษะและความเปนเลิศในบางสิ่งบางอยางที่ตนมีและมีอารมณที่แสดงออกถึงบุคลิกภาพที่สมบูรณ เปนกระบวนการที่ไมมีวันสิ้นสุด นั่นคือ เมื่อมีความรูสึก (Sense) วาตนถึงจุดหมายปลายทางสุดทาย (Ultimate Goal) แลวก็มีเปาหมายตอไปเรื่อย ตามศักยภาพของตน ความตองการขั้นนี้ไมสามารถอธิบายไดอยางสมบูรณเพียงพอเหมือนกับความตองการในขั้นอื่น ๆ เพราะความตองการความสําเร็จสูงสุดแหงตนมีแนวโนมวา บุคคลจะมีศักยภาพที่เกี่ยวของกบัพฤติกรรมความสําเร็จแหงตนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ 2. ทฤษฎีแรงจงูใจ แมกเกเกอร แมคคลีเลน สเตียรและพอรตเตอร สเตียร และพอรตเตอร (Steers & Porter, 1979, p. 340 อางถึงใน ศรีประภา พิงกุศล, 2550, หนา 20 - 21) อธิบายวา แรงจูงใจมีองคประกอบอยางนอย 3 ประการคือ 1. ทําใหเกิดพฤติกรรมตอบสนอง (Activate) กลาวคือ การที่บุคคลมีแรงจูงใจในสิ่งใด ส่ิงหนึ่งจะมแีรงขับภายใน (Internal Forces) ทําใหบุคคลนั้นแสดงปฏิกริิยาตอบสนองตามแรงขับของตน 2. กําหนดทิศทางของพฤติกรรม (Direct) เมื่อมีปฏิกิริยาตอบสนองแลว แรงจูงใจกําหนดทิศทางการตอบสนองดวย อาจเปนไปในทางบวกหรือลบ มีความเขมหรือแผวเบา 3. คงสภาพพฤติกรรมการปฏิบัติของบุคคล (Sustain) แรงจูงใจซึ่งเกิดจากแรงขับภายในยังสงผลตอระยะเวลาของการตอบสนองดังกลาวดวย การตอบสนองอาจเกิดขึ้นอยูนานหรืออาจจบในระยะเวลาอันสั้น ทั้งนี้ขึ้นอยูกับแรงขับภายในของบุคคล สรุปไดวา แรงจูงใจเกิดจากแรงขับเคลื่อนภายในของบุคคล ซ่ึงจะทําใหเกิดพฤติกรรมตอบสนองตามแรงขับเคลื่อนนั้น นอกจากนี้แรงจูงใจยังกําหนดทิศทางของการตอบสนองอาจเปนไปในทางบวกหรือทางลบ รุนแรงหรือแผวเบา ทั้งนีแ้รงจูงใจยังสงผลตอระยะเวลาของการตอบสนองดวย อาจเกดิขึ้นอยูนานหรือใชระยะเวลาอันสัน้ขึ้นอยูกับแรงขับภายในของตัวบุคคล นั้น ๆ แมคคลีเลน (McClelland, 1961, pp. 43-168 อางถึงใน ศรีประภา พิงกุศล, 2550, หนา 21) ไดเสนอแนวคดิวา มีแรงจูงใจในการปฏิบัติงานมีอยู 3 ประการ คือ 1. ความตองการดานความสาํเร็จ (Achievement) คนมีความตองการประสบความสําเร็จที่ดีที่สุดเมื่อเทยีบกับมาตรฐาน โดยมากมักนิยมตั้งเปาหมายไวคอนขางสูง เปนความตองการที่ไดมา

Page 8: 6. บทที่ 2digital_collect.lib.buu.ac.th/dcms/files/52920337/... · 2018-09-19 · 3. การจัดการศึกษาของสํักงานเขตพาน

14  

ซ่ึงความสําเร็จที่จะกระทําสิ่งหนึ่งสิ่งใดใหดีกวา และมีประสิทธิภาพสูงกวาและมีผลสําเร็จตามความมุงหมายที่ตั้งเอาไว 2. ความเปนพวกพอง (Affiliation) เปนความปรารถนาเพื่อความเปนมิตรและความสัมพันธระหวางกันอยางสนิทชิดชอบ หวังจะไดรับการมีน้ําใจตอบแทนจากคนอื่น ๆ ซ่ึงเปนความตองการเพื่อสรางและรักษาสัมพันธภาพกับคนอื่น 3. ความตองการมีอํานาจ (Power) เปนความตองการที่อยากจะมีอํานาจ เหนือบุคคลอ่ืนและจะมุงพยายามแสดงออกมาเพื่อมีอํานาจควบคุมในทางสังคมและมีความตองการใหบุคคลอื่นมีความประพฤติ หรือพฤติกรรมเปนไปในทางอื่นหรือผิดไปจากที่ตองการ สรุปไดวา คนตองการแรงจูงใจในการปฏิบัติงานใหเปนไปตามเปาหมาย ขณะเดียวกันคนตองการการยอมรับจากสังคม โดยการสรางความสัมพันธเปนมิตรไมตรีกับผูอ่ืนในการกาวไปสูความมีอํานาจเหนือบุคคลอื่น McGregor (ธนวัฒน ตั้งวงษเจริญ 2539, หนา 17-19 อางถึงใน สุพัตรา สุภาพ, 2538, หนา 152) เสนอทฤษฎีการจูงใจที่มีช่ือเสียงมาก แนวความคิดของทฤษฎีนี้ตั้งอยูบนขอสันนิษฐานที่วาลักษณะธรรมชาติของมนุษยที่ตั้งใจทํางานกับไมตั้งใจทํางาน ความเชื่อตามทฤษฎี X มีวา 1. มนุษยมีสัญชาตญาณที่จะหลีกเลีย่งงานทุกอยางเทาที่จะทําได 2. เนื่องจากไมชอบทํางานจงึตองมีการใชอํานาจบังคับควบคุม แนะนํา ขูจะลงโทษ 3. ชอบใหผูอ่ืนแนะนําชีแ้นวทางในการทาํงานหลีกเลี่ยงความรับผิดชอบ และตองการความปลอดภยัมากกวาสิ่งอืน่ นั่นคือทฤษฎี X มีสมมติฐานวาตองบังคับใหมนุษยทํางานเพราะมนุษยเกียจคราน และไมคอยรับผิดชอบ ผลคือผูบริหารจะควบคุมผูใตบังคับบัญชาอยางใกลชิด และจูงใจคนดวยการใหเงินหรือผลประโยชน แตถาทําผิดก็จะมีการคาดโทษกัน สวนผูใตบังคับบัญชาอาจจะทําตามสั่ง ไมสนใจปรับปรุงงานเนนเรื่องเงินเปนหลัก ทฤษฎีนี้จึงเหมาะใชในที่ที่ขาดคนงานและมีมาตรฐานการครองชีพต่ํา McGregor กลาววาถาคนไดตามที่ตองการทั้งกายและใจทฤษฎีนี้คงใชไมไดผล เมื่อตั้งทฤษฎี X ขึ้นมา แมคเกรเกอร ไดตั้งขอสังเกตวา ธรรมชาติของคนตามทฤษฎีนี้ จะถูกตองหรือไม หรือนําไปใชทุกสถานการณหรือไมในที่สุดก็หาขอยุติไมได เขาจึงพัฒนาทฤษฎีพฤติกรรมของมนุษยขึ้นมาทฤษฎีหนึ่ง เรียกวา ทฤษฎี Y ซ่ึงเชื่อวามนุษย น้ันโดยธรรมชาติจะมิใชเกียจคราน และเชื่อถือไมได หากแตมนุษยสามารถควบคุมตัวเองได และมีความตั้งใจที่จะทํางานใหดีที่สุด หากไดรับการจูงใจอยางเหมาะสม ผูบริหารที่ยอมรับทฤษฎี Y เขาจะไมควบคุมหรือใช

Page 9: 6. บทที่ 2digital_collect.lib.buu.ac.th/dcms/files/52920337/... · 2018-09-19 · 3. การจัดการศึกษาของสํักงานเขตพาน

15  

อํานาจขมขูผูใตบังคับบัญชาใหอยูในความกลัว แตจะพยายามชวยใหผูใตบังคับบัญชาควบคุมตัวเองและมีโอกาสแสดงความกาวหนาอยางกวางขวาง แมคเกรเกอรอธิบายทฤษฎี Y โดยช้ีใหเหน็วา 1. ความพยายามของมนุษยทางกําลังกาย กําลังใจตองาน มีมากเทากบัการเลน และการพักผอน 2. การควบคมุและการบังคบัจากภายนอกไมใชวิธีเดียวที่จะใหการงานบรรลุวัตถุประสงคเพราะคนยอมที่จะทํางานดวยความเปนตัวของตัวเอง 3. มนุษยมคีวามพอใจที่จะทาํงานใหสําเร็จดวยความตั้งใจ 4. คนเราไมเพียงเรียน แตเพียงการยอมรับผิดชอบเทานั้น ยังแสวงหาความรับผิดชอบเพิ่มขึ้นอีกดวย 5. ความสามารถในการใชความคิดจนิตนาการความเฉลียวฉลาด และความคิดริเร่ิมแกปญหาตาง ๆ ที่ประสบเปนสิ่งที่มีอยูในทุกตัวคน 6. ในสังคมปจจุบันมนษุยแตละคนมีโอกาสแสดงความสามารถเพียงสวนหนึ่งเทานั้น นั่นคือตามทฤษฎี Y เชื่อวามนุษยมีความคิดริเร่ิม ความขยัน ความรับผิดชอบ อยากใหมีความรวมมือ เพียงแตผูบริหารจะพัฒนาคน หรือจูงใจคนเหลานี้อยางถูกตองไดแคไหนเพียงไร วิธีการคือตองจัดหรือสรางสภาพแวดลอมใหผูใตบังคับบัญชาไดสมดังคาดหวัง และองคการก็จะไดตามเปาหมาย โดยไมตองควบคุมอยางเขมงวด แตในทางตรงกันขามผูบังคับบัญชาจะสงเสริมใหผูใตบังคับบัญชาควบคุมตัวเอง หากอยากไดรับการยกยอง มีตําแหนง มีความกาวหนา งานจึงเสมือนการเลนหรือการพักผอน ถาสภาพแวดลอมมีความเหมาะสม นั่นก็คือคนจะสนุกกับงาน มีแรงจูงใจทํางานอยางเปนสุข จะทํางานดวยความกระตือรือรนหรือทํามากกวาที่มอบหมาย หรือพยายามเสนอแนะการปรับปรุงงานที่มีอยูใหมีประสิทธิภาพมากขึ้นยอมทุมเทเวลาใหอยางเต็มที่เพื่อจะไดเปนที่ยอมรับของผูบังคับบัญชาหรือเพื่อนรวมงาน โดยหวังวาในอนาคตเขาคงจะไดกาวหนาในการงาน แมคเกรเกอรชี้ใหเห็นวาในการจูงใจใหทํางานนั้นผูบริหารจะตองใชทฤษฎี Y และเขาตองมองคนในแงดี เปดโอกาสใหผูใตบังคับบัญชาใชความสามารถของตนอยางเต็มที่ การใชทฤษฎี Y จูงใจคนไดมากกวาการใชทฤษฎี X แตทั้งนี้มิไดความหมายวาจะละเลยตอการควบคุมเสียโดยส้ินเชิง 3. ทฤษฎีสองปจจัยเฮอรซเบอรก ปจจัยที่สงผลใหเกิดความพึงพอใจ จากแนวคิดและทฤษฎีที่กลาวขางตนจะเห็นไดวา มนุษยจะเกิดความพึงพอใจก็ตอเมื่อความตองการของเขาไดรับการตอบสนอง ซ่ึงมีทั้งรางกายและ

Page 10: 6. บทที่ 2digital_collect.lib.buu.ac.th/dcms/files/52920337/... · 2018-09-19 · 3. การจัดการศึกษาของสํักงานเขตพาน

16  

จิตใจ ดังนั้น ผูวิจัยจึงศึกษาคนควาเกี่ยวกับปจจัยหรือส่ิงที่จะสงผลใหมนุษยเกิดความพึงพอใจ โดยมีผูเสนอแนวคิดที่นาสนใจไว ดังนี้ เฮอรซเบอรก (Herzberg, 1959 อางถึงในเจริญศรี พันป, 2546, หนา 12-13) กลาววา การจูงใจมีปจจัย 2 ชนิด คือ 1. ปจจัยจูงใจ และ 2. ปจจัยเกื้อหนุน โดยมีรายละเอียดดังนี้ 1. ปจจัยจูงใจ (Motivation Factors) เปนปจจัยภายในตัวบุคคล (Intrinsic) เปนสิ่งที่อยูในความรูสึกนึกคิดหรือในจิตใจของแตละบุคคลที่จะกระตุนใหผูที่ทํางานมีความรูสึกในดานดี มีความพึงพอใจในการทํางาน การขาดปจจัยเหลานี้มิไดเปนส่ิงที่ทําใหเกิดความไมพึงพอใจแกผูที่ทํางานแตอยางใด แตการมีปจจัยเหลานี้จะชวยเปนสิ่งจูงใจใหเขาทํางานไดอยางมีประสิทธิภาพและมีผลตอความพึงพอใจในงานที่ทํา 2. ปจจัยเกื้อหนุน (Hygiene Factors) เปนปจจัยภายนอก (Extrinsic) เชน นโยบายขององคการและการบริหาร การนิเทศ เงินรายได สภาพการทํางาน เปนตน ปจจัยเหลานี้มิไดเปนส่ิงจูงใจในการทํางาน แตถาขาดหรือไมมีปจจัยเหลานี้จะกอใหเกิดความไมพึงพอใจแกผูที่ทํางานได จากการศึกษาวิเคราะห ทําให เฮอรซเบอรก พบวา ปจจัยท่ีจะทําใหเกิดความรูสึกพึงพอใจและไมพึงพอใจในการทํางาน สามารถแบงออกได 2 กลุม ดังนี ้ 1. ปจจัยที่สรางความพึงพอใจ (Satisfiers or Factors) ประกอบดวยความสําเร็จการไดรับ การยอมรับนับถือ ลักษณะของงาน ความรับผิดชอบ ความกาวหนา 2. ปจจัยที่สรางความไมพึงพอใจ (Dissatisfies or Hygiene factors) ประกอบดวย เงินเดือน ความเปนไปไดที่จะเจริญกาวหนาในการงาน ความสัมพันธกับผูใตบังคับบัญชา ความสัมพันธกับเพื่อนรวมงาน สถานภาพ การนิเทศงาน นโยบายขององคการ เงื่อนไขของงาน ชีวิตสวนตัว ความมั่นคงในงาน กิลเมอร (Gilmer, 1971 อางถึงในเจริญศรี พันป, 2546, หนา 14) กลาวถึงองคประกอบที่มีผลตอความพึงพอใจในการทํางานไว 10 ประการ คือ 1. ลักษณะการงานที่ทํา (Intrinsic Aspect of the Job) เปนองคประกอบที่สัมพันธกับความรูความสามารถของผูปฏิบัติงาน กลาวคือ หากผูปฏิบัติงานไดทํางานตามที่เขาถนัดก็จะเกิดความพึงพอใจ 2. การนิเทศงาน (Supervision) มีสวนสําคัญที่ทําใหผูทํางานมีความรูสึกพอใจหรือไมพอใจ การนิเทศเปนสาเหตุทีท่ําใหเขาเกิดการขาดงานหรอืลาออกจากงานได 3. ความมั่นคงในงาน (Security) ไดแก ความมั่นคงในการทํางาน ไดทํางานตามหนาที่อยางเต็มความสามารถ การไดรับความเปนธรรมจากผูบังคับบัญชา คนที่มีความรูนอยหรือขาด

Page 11: 6. บทที่ 2digital_collect.lib.buu.ac.th/dcms/files/52920337/... · 2018-09-19 · 3. การจัดการศึกษาของสํักงานเขตพาน

17  

ความรู ยอมเหน็ความมั่นคงในงานมีความสาํคัญสําหรับเขามาก แตคนทีม่ีความรูสูงจะรูสึกวาไมมีความสําคัญมากนักและในคนที่มีอายุมากขึ้นจะตองการความมั่นคง ความปลอดภยัสูงขึ้น 4. เพื่อนรวมงานและการดําเนินงานภายใน (Company and Management) ไดแก ความพอใจตอเพื่อนรวมงาน ช่ือเสยีงของสถาบัน การดําเนนิงานภายในสถาบนั ซ่ึงพบวาคนอายุมากมีความตองการในเรื่องนี้สูงกวาคนอายนุอย 5. สภาพการทํางาน (Working Condition) ไดแก แสง เสียง อากาศ หองอาหาร หองสุขา ช่ัวโมงการทํางาน มีการวจิยัหลายเรื่องแสดงวา สภาพการทํางานมีความสําคัญสําหรับผูหญิงมากกวาผูชาย 6. คาจาง (Wages) ไดแก คาตอบแทน หรือคาแรงในการทํางาน เชน เงินเดือน 7. ความกาวหนาในการทํางาน (Advancement) เชน การไดเล่ือนตําแหนงสูงขึ้น การไดรับสิ่งตอบแทนจากความสามารถในการทํางาน 8. ลักษณะทางสังคม (Social Aspect of the Job) ถางานใดมีผูปฏิบัติงาน รวมกนัทํางานอยางมีความสขุ ก็เกิดความพอใจในงานนัน้ 9. การติดตอส่ือสาร (Communication) ทั้งภายในและภายนอกหนวยงาน การติดตอ ส่ือสารมีความสําคัญมากสําหรับผูที่มีการศึกษา 10. ผลตอบแทนที่ไดรับจากการทํางาน (Benefits) เชน เงินบําเหน็จตอบแทนเมื่อออกจากงาน การบริการ และการรักษาพยาบาล สวัสดิการ อาหาร ที่อยูอาศยั วันหยดุ เปนตน 4. ทฤษฎีเกี่ยวกับความพึงพอใจ นักวิชาการไดกลาวถึงทฤษฏีความพงึพอใจไวแตกตางกนัดังนี ้ เชลลี่ (Shelly, 1975, pp. 252-268) ไดกลาวถึงทฤษฎีของความพึงพอใจวาเปนความรูสึกสองแบบของมนุษย คือ ความรูสึกทางบวกและความรูสึกทางลบ ความรูสึกทางบวกเปนความรูสึกที่เมื่อเกิดขึน้แลวจะทาํใหเกดิความสุข ความสุขนี้เปนความรูสึกที่แตกตางจากความรูสึกทางบวกอื่น ๆ กลาวคือ เปนความรูสึกที่ระบบยอนกลับ ความสุขที่สามารถทําใหเกดิความสุขหรือความรูสึกทางบวกเพิ่มขึ้นไดอีก ดังนั้นจะเห็นไดวาความสุขเปนความรูสึกที่สลับซับซอนและความสุขนี้จะมีผลตอบุคคลมากกวาความรูสึกทางบวกอืน่ ๆ วรูม (Vroom, 1964, p. 99) ไดกลาววาทัศนคติและความพึงพอใจในสิ่งหนึ่งสามารถใช แทนกันได เพราะทั้งสองคํานี้จะหมายถึงผลที่ไดจากการที่บุคคลเขาไปมีสวนรวมในสิ่งนั้น โดยทัศนคติดานบวก จะแสดงใหเห็นสภาพความพึงพอใจในสิ่งนั้นและทัศนคติดานลบจะแสดงใหเห็นสภาพความไมพึงพอใจนั่นเอง

Page 12: 6. บทที่ 2digital_collect.lib.buu.ac.th/dcms/files/52920337/... · 2018-09-19 · 3. การจัดการศึกษาของสํักงานเขตพาน

18  

โรเซนเบิรก และฮอฟแลนด (Rosenberg & Hovland, 1960, pp. 94) กลาววา ทัศนคต ิประกอบดวยสามสวน สวนที่หนึ่งเปนความรูความเขาใจ กลาวคือ เปนสวนที่เกี่ยวของกับความรู ความนึกคิดอีกเรื่องหนึ่ง สวนที่สองเปนเรื่องเกี่ยวกับอารมณหรือความรูสึกเกี่ยวกับอารมณ สวนที่สามเปนเรื่องเกี่ยวกับการกระทําหรือพฤติกรรมเปนสวนที่มีผลตอการกําหนดพฤติกรรม วิมลสิทธิ์ หรยางกูร (2526, หนา 74) ไดใหความหมายวา ความพึงพอใจ เปนการใหคาความรูสึกของคนเราที่สัมพันธกับโลกทัศน ที่เกี่ยวกับความหมายของสภาพแวดลอม คาความรูสึกของบุคคลที่มีตอสภาพแวดลอมจะแตกตางกัน เชน ความรูสึก ดี – เลว พอใจ – ไมพอใจ สนใจ – ไมสนใจ เปนตน จึงสรุปไดวาความพึงพอใจ หมายถึง ความรูสึกที่ดีหรือทัศนคติที่ดีของบุคคลซึ่งมักเกิดจากการไดรับการตอบสนองตามที่ตนตองการ ก็จะเกิดความรูสึกที่ดีในสิ่งนั้น ตรงกันขามหากความตองการไมไดรับการตอบสนอง ความไมพึงพอใจก็จะเกิดขึ้น ความพึงพอใจที่มีตอการใชบริการจะเกิดขึ้นหรือไมนั้น จะตองพิจารณาถึงลักษณะของการใหบริการขององคกร ประกอบกับระดับความรูสึกของผูมารับบริการในมิติตาง ๆ ของแตละบุคคล ดังนั้นการวดัความพึงพอใจในการใชบริการอาจจะกระทําไดหลายวิธี ดังตอไปนี้ (สาโรช ไสยสมบัติ, 2534, หนา 39) 1. การใชแบบสอบถาม ซ่ึงเปนวิธีการที่นิยมใชกันแพรหลายวิธีหนึ่งโดยการรองขอหรือขอความรวมมือ จากกลุมบุคคลที่ตองการวัด แสดงความคิดเห็นลงในแบบฟอรมที่กําหนดคําตอบไวใหเลือกตอบหรือเปนคําตอบอิสระ โดยคําถามที่ถามอาจจะถามถึงความพึงพอใจในดานตาง ๆ ที่หนวยงานกําลังใหบริการอยู เชน ลักษณะของการใหบริการ สถานที่ใหบริการ บุคลากรที่ใหบริการ เปนตน 2. การสัมภาษณ เปนอีกวิธีหนึ่งที่จะทําใหทราบถึงระดับความพึงพอใจของผูใชบริการซ่ึงเปนวิธีการที่ตองอาศัยเทคนิคและความชํานาญพิเศษของผูสัมภาษณที่จะจูงใจใหผูถูกสัมภาษณตอบคําถามใหตรงกับขอเท็จจริง การวัดความพึงพอใจโดยวิธีการสัมภาษณนับวาเปนวิธีที่ประหยัดและมีประสิทธิภาพอีกวิธีหนึ่ง 3. การสังเกต เปนอีกวิธีหนึ่งที่จะทําใหทราบถึงระดับความพึงพอใจของผูใชบริการไดโดยวิธีการสังเกตจากพฤติกรรมทั้งกอนมารับบริการ ขณะรอรับบริการและหลังจากการไดรับบริการแลว เชน การสังเกตกิริยาทาทาง การพูด สีหนา และความถี่ของการมาขอรับบริการ เปนตน การวัดความพึงพอใจโดยวิธีนี้ ผูวัดจะตองกระทําอยางจริงจังและมีแบบแผนที่แนนอน จึงจะสามารถประเมินถึงระดับความพึงพอใจของผูใชบริการไดอยางถูกตอง

Page 13: 6. บทที่ 2digital_collect.lib.buu.ac.th/dcms/files/52920337/... · 2018-09-19 · 3. การจัดการศึกษาของสํักงานเขตพาน

19  

จะเห็นไดวา การวัดความพึงพอใจตอบริการนั้น สามารถที่จะทําการวัดไดหลายวิธี ทั้งนี้จะตองขึ้นอยูกับความสะดวก ความเหมาะสม ตลอดจนจุดมุงหมายหรือเปาหมายของการวัดดวย จึงจะสงผลใหการวัดนั้นมีประสิทธิภาพเปนที่นาเชื่อถือได ผาสุวรรณ สนิทวงศ ณ อยุธยา (2532, หนา 68) ไดอธิบายไววา การวัดดานจิตนิสัย หรือ ความรูสึกเปนการวัดพฤติกรรมที่เกี่ยวของกับความรูสึกหรืออารมณ เชน ความสนใจ ความพอใจ ความซาบซึ้ง เจตคติหรือทัศนคติ คานิยมการปรับตัว ทัศนคติเปนการวัดถึงความรูสึกของบุคคลอันเนื่องมาจากการ เรียนรู หรือประสบการณตอส่ิงตาง ๆ ที่คอนขางถาวรในระยะหนึ่ง แตอาจเปลี่ยนได และทัศนคติก็สามารถระบุ ทิศทาง ความมากนอยหรือความเขมได 1. ขอตกลงเบื้องตนในการวดัทัศนคติ มักมีขอตกลงเบื้องตน (เชิดศกัดิ ์โฆวาสินธุ, 2522, หนา 94-95) ดังนี้ 1.1 การศึกษาทัศนคติเปนการศึกษาความคิดเห็น ความรูสึกของบุคคลที่มีลักษณะ คงเสนคงวาหรืออยางนอย เปนความคิดเหน็หรือความรูสึกที่ไมเปล่ียนแปลงไปในชวงเวลาหนึ่ง 1.2 ทัศนคติไมสามารถสังเกตหรือวดัไดโดยตรง ดังนัน้การวดัทัศนคติจึงเปนการวัดทางออมจากแนวโนมที่บุคคลจะแสดงออกหรือประพฤตปิฏิบัติอยางมีระเบียบแบบแผนคงที่ไมใชพฤติกรรมโดยตรงของมนุษย 1.3 การศึกษาทัศนคติของมนุษยนั้น ไมใชเปนการศึกษาแตเฉพาะทิศทางทัศนคติของบุคคลเหลานั้น แตตองศกึษาถึงระดับความมากนอยหรือความเขมของทัศนคติดวย 2. การวัดทัศนคติ มีหลักเบือ้งตน 3 ประการ (บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์, 2547, หนา 222) ดังนี้ 2.1 เนื้อหา (Content) การวดัทัศนคติตองมีส่ิงเราไปกระตุนใหแสดงกริยาทาทีออก ส่ิงเรา โดยทั่วไปไดแก ส่ิงทีต่องการทํา 2.2 ทิศทาง (Direction) การวัดทัศนคติโดยทั่วไปกําหนดใหทัศนคติมีทิศทางเปน เสนตรงและตอเนื่องกันในลักษณะเปน ซาย - ขวา และบวก - ลบ 2.3 ความเขม (Intensity) กริยาทาทีและความรูสึกที่แสดงออกตอส่ิงเรานั้น มีปริมาณมากหรือนอยแตกตางกัน ถามีความเขมสูงไมวาจะเปนไปในทิศทางใดก็ตาม จะมีความรูสึก หรือทาทีรุนแรงมากกวาที่มีความเขมปานกลาง 3. มาตรวัดทศันคติ (Attitude Scale) เครื่องมือที่ใชวัดทัศนคติ เรียกวามาตราสวนประมาณคา (Rating Scale) เครื่องมือวัดทศันคติที่นิยมใชและรูจักกันแพรหลายมี 4 ชนิด ไดแก มาตรวัดแบบเธอรสโตน (Thurstone Type Scale) มาตรวดัแบบลิเคิรท (Likert Scale) มาตรวัดแบบกัตตแมน (Guttman Scale) และมาตรวดัของออสกูด (Osgood Scale) ซ่ึงแตละประเภทมี

Page 14: 6. บทที่ 2digital_collect.lib.buu.ac.th/dcms/files/52920337/... · 2018-09-19 · 3. การจัดการศึกษาของสํักงานเขตพาน

20  

ขอจํากัด ขอดี ขอเสียแตกตางกัน ดังนัน้การจะเลือกใชมาตรวัดแบบใดขึ้นอยูกับสถานการณและความจํากดัของการศึกษา (บญุธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์, 2547, หนา 294-306) จากที่กลาวมาขางตน สามารถสรุปทฤษฏีความพึงพอใจไดดังนี้ ความพึงพอใจคือส่ิงที่แสดงความรูสึกทางบวกสงผลทําใหเกิดความสุข ซ่ึงการวัดความพึงพอใจนั้นจะตองวัดทางดานความรูสึกหรืออารมณ และเลือกใชเครื่องมือวัดใหเหมาะสม ซ่ึงขึ้นอยูกับสถานการณและความจํากัดของการศึกษา

เอกสารทางวิชาการและงานวิจัยที่เกี่ยวของ จากการสํารวจองคความรูทางดานผลการศึกษาที่ตรงหรือใกลเคียงกับหัวขอในการวิจัย พบวา มีเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวของ ดังนี้ สายัณห โพธิ์ไพจิตร (2551) ไดวิจัยเร่ือง ความพึงพอใจของครูตอการบริหารงานของโรงเรียนมหรรณพาราม สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 3 ไดศึกษาความพึงพอใจของครูตอการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนมหรรณพาราม สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 3 ใน 8 หลักสูตรสถานศึกษา การพัฒนากระบวนการเรียนรูการวัดผลประเมินผลและเทียบโอนผลการเรียนรู การประกันคุณภาพภายในและมาตรฐานการศึกษา การพัฒนาการใชส่ือและเทคโนโลยีทางการศึกษา การพัฒนาและสงเสริมแหลงเรียนรู การวิจัยเพ่ือพัฒนาคุณภาพการศึกษา และการสงเสริมชุมชนใหมีความเขมแข็งทางวิชาการ เพื่อนําขอมูลไปใชในการวางแผนปรับปรุง สงเสริมและพัฒนาการดําเนินงานบริหารงานวิชาการของโรงเรียน ประชากรที่ใชในการวิจัย คือ ขาราชการครูในโรงเรียนมหรรณพาราม สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 3 จํานวน 58 คน ผลการวิจัย พบวา ความพึงพอใจของครูตอการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนมหรรณพาราม โดยภาพรวมมีคาเฉลี่ยอยูในระดับมาก ศรีประภา พิงกุศล (2550) ไดวิจัยเร่ือง ความพึงพอใจของขาราชการครูในอําเภอขลุงที่มีตอการปฏิบัติงาน ของสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาจันทบุรี เขต 2 โดยใชวิธีการศึกษา คือ จําแนกตามสถานภาพตามกลุมตัวอยางที่ใช ผลวิจัยพบวา ความพึงพอใจของขาราชการครูในอําเภอขลุง ที่มีตอการปฏิบัติงานของสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาจันทบุรี เขต 2 โดยรวมอยูในระดับปานกลาง เพียร แกวสวัสดิ์ (2549) ไดศึกษาเรื่อง ความพึงพอใจของพนักงานที่มีตอการใหบริการดานพัสดุของฝายบริหารพัสดุ บริษัท ทีโอที จํากัด (มหาชน) และเปรียบเทียบความพึงพอใจที่มีตอการใหบริการดานพัสดุของฝายบริหารพัสดุของพนักงาน จําแนกตามลักษณะประชากรศาสตร กลุมตัวอยางเปนพนักงานที่ใชบริการดานพัสดุจํานวน 360 คน ผลการวิจัย พบวา ผูใชบริการ มคีวามพึงพอใจตอการใหบริการดานพัสดุของฝายบริหารพัสดุ เฉพาะดานสถานที่ และดานการบริการของ

Page 15: 6. บทที่ 2digital_collect.lib.buu.ac.th/dcms/files/52920337/... · 2018-09-19 · 3. การจัดการศึกษาของสํักงานเขตพาน

21  

พนักงานอยูในระดับมาก ผลเปรียบเทียบความพึงพอใจของพนักงานตามลักษณะประชากรศาสตร พบวา กลุมสายงาน และระดับการศึกษา มีความพึงพอใจโดยรวม แตกตางกันอยางมีนัยสําคัญ ประสบการณ ไมแตกตางกันอยางมีนัยสําคัญทางสถิติ การวิจัยคร้ังนี้จะเปนประโยชนแกองคกร และผูบริหารซึ่งสามารถนําขอมูลที่ไดจากการวิจัยไปใชประกอบการ แกไขปญหา รวมทั้งปรับปรุงสภาพการในการใหบริการใหเปนไปอยางมีประสิทธิภาพ และมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น ฟามุย สุกัณศีล (2548) ไดศึกษาเรื่อง ความพึงพอใจตอการใหบริการของสํานักเลขานุการ คณะสังคมศาสตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม รวม 5 งาน ไดแกงานบริหารและงานธุรการ งานคลังและพัสดุ งานนโยบายและแผน งานบริการการศึกษา งานวิจัยและวิเทศสัมพันธ และภาพรวมของการใหบริการของ สํานักเลขานุการ คณะสังคมศาสตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม ประชากรที่ใชในการวิจัย คือคณาจารย ขาราชการ สังกัดภาควิชาและศูนยสตรีศึกษา คณะสังคมศาสตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม ผลการวิจัย พบวา ประชากรสวนใหญมีความพึงพอใจในระดับปานกลาง เกสร โพธ์ิศรี (2546) ไดวิจัยเร่ือง การศึกษาความพึงพอใจของผูปกครองนักเรียนที่มีตอการจัดการศึกษาของโรงเรียนชุมชนพัฒนา จังหวัดสระแกว พบวา ผูปกครองนักเรียนมีความ พึงพอใจตอการจัดการศึกษาของโรงเรียนชุมชนพัฒนา จังหวัดสระแกว โดยรวมและรายดานทุกดานอยูในระดับปานกลาง ความพึงพอใจของผูปกครองนักเรียน จําแนกตามระดับการศึกษาแตกตางกันอยางมีนัยสําคัญทางสถิติ และจําแนกตามอาชีพของผูปกครองแตกตางกันอยางมีนัยสําคัญทางสถิติ อํานวย ดีประสิทธิ์ (2546) ไดวิจัยเร่ือง ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของขาราชการที่ปฏิบัติงานในสํานักงานการประถมศึกษาอําเภอ สังกัดสํานักงานการประถมศึกษาจังหวัดระยอง โดยใชวิธีการศึกษา คือ การจําแนกตามเพศ และประสบการณ ผลการวิจัยพบวา ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของขาราชการที่ปฏิบัติงานในสํานักงานการประถมศึกษาอําเภอ สังกัดสํานักงานการประถมศึกษาจังหวัดระยอง โดยรวมอยูในระดับมาก ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของขาราชการที่ปฏิบัติงานในสํานักงานการประถมศึกษาอําเภอ สังกัดสํานักงานการประถมศึกษาจังหวัดระยอง จําแนกตามเพศและประสบการณพบวา ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานแตกตางกันอยางไมมีนัยสําคัญทางสถิติ สุกิจ โพธ์ิศิริกุล (2544) ไดศึกษาวิจัยเร่ือง ความพึงพอใจของครูตอการบริหารงานของผูบริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสํานักงานการประถมศึกษาจังหวัดระยอง พบวา ความพึงพอใจของครูตอการบริหารงานของผูบริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสํานักงานการประถมศึกษาจังหวัดระยอง อยูในระดับมาก ความพึงพอใจระหวางครูชายกับครูหญิงตอการบริหารงานของผูบริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสํานักงานการประถมศึกษาจังหวัดระยองไมแตกตางกัน

Page 16: 6. บทที่ 2digital_collect.lib.buu.ac.th/dcms/files/52920337/... · 2018-09-19 · 3. การจัดการศึกษาของสํักงานเขตพาน

22  

นิศานาถ บุญสูง (2544) ไดศึกษาเรื่อง ความพึงพอใจของครูตอการบริหารงานของผูบริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดเทศบาลเมืองภูเก็ต พบวาความพึงพอใจของครูตอการบริหารงานของผูบริหารโรงเรียนประถมศึกษาอยูในระดับปานกลาง ความพึงพอใจของครูชาย กับครูหญิงตอการบริหารงานของผูบริหารโรงเรียนไมแตกตางกัน ความพึงพอใจของครูที่มีประสบการณมากกับครูที่มีประสบการณนอยตอการบริหารงานของผูบริหารโรงเรียนไมแตกตางกัน นวสุ ภูไพจิตรกุล (2544) ไดวิจัยเร่ือง ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรสํานักงานศึกษาธิการจังหวัดและอําเภอในจังหวัดชลบุรี พบวา ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรสํานักงานศึกษาธิการจังหวัดและอําเภอในจังหวัดชลบุรี อยูในระดับมาก ผลการเปรียบเทียบความพึงพอใจในการปฏิบัติงานโดยรวมจําแนกตามเพศ และประสบการณในการทํางาน แตกตางกันอยางไมมีนัยสําคัญทางสถิติ เมื่อพิจารณาเปนรายดาน จําแนกตามเพศดานนโยบายและการบริหาร แตกตางกันอยางมีนัยสําคัญทางสถิติ (p<.05) และจําแนกตามประสบการณในการทํางาน ดานสภาพการทํางาน แตกตางกันอยางมีนัยสําคัญทางสถิติ (p<.05) สวนดานอื่น ๆ แตกตางกันอยางไมมีนัยสําคัญทางสถิติ สุทธิพงษ ใจตรง (2544) ไดศึกษาเรื่อง ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของผูชวยผูบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดมุกดาหาร จํานวน 112 คน ผลการศึกษา พบวา ผูชวยผูบริหารโดยรวมที่จําแนกตามประสบการณในการปฏิบัติงาน และขนาดโรงเรียนมีความ พึงพอใจในการปฏิบัติงานโดยรวมและเปนรายดานอยูในระดับมาก ไดแก ดานงานที่ทําในปจจุบัน ดานผูบังคับบัญชาชั้นตน ดานเพื่อนรวมงาน ดานการเลื่อนขั้นเลื่อนตําแหนง ดานเงินเดือนและสวัสดิการ ยกเวนผูชวยผูบริหารในโรงเรียนขนาดเล็ก มีความพึงพอใจในการปฏิบัติงานดานเงินเดือนและสวัสดิการที่ไดรับ ดานการเลื่อนขั้นเล่ือนตําแหนง และดานเพื่อนรวมงานอยูในระดับปานกลาง ผูชวยผูบริหารที่มีประสบการณ 1-5 ป มีความพึงพอใจในการปฏิบัติงานดานเงินเดือนและสวัสดิการที่ไดรับ และดานการเลื่อนขั้นเลื่อนตําแหนงอยูในระดับปานกลาง และผูชวยผูบริหารที่มีประสบการณ 6-10 ป มีความพึงพอใจดานการเลื่อนขั้นเล่ือนตําแหนง อยูในระดับปานกลาง ผูชวยผูบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนขนาดกลาง มีความพึงพอใจในการปฏิบัติงานโดยรวมและรายดาน 3 ดานคือ ดานงานที่ทําในปจจุบัน ดานเงินเดือนและสวัสดิการที่ไดรับ ดานการเลื่อนขั้นเล่ือนตําแหนง มากกวาโรงเรียนขนาดเล็ก อยางมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สวนอีก 2 ดาน คือ ดานผูบังคับบัญชาชั้นตน และเพื่อนรวมงาน มีความพึงพอใจไมแตกตางกัน สวนผูชวยผูบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา ที่มีประสบการณในการทํางานตางกัน มีความพึงพอใจโดยรวมและเปนรายดานทั้ง 5 ดาน ไมแตกตางกัน

Page 17: 6. บทที่ 2digital_collect.lib.buu.ac.th/dcms/files/52920337/... · 2018-09-19 · 3. การจัดการศึกษาของสํักงานเขตพาน

23  

ดรุณี ชวาลารัตน (2543) ไดวิจัยเร่ือง ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของขาราชการในสํานักงานการประถมศึกษาจังหวัดจันทบุรีใชวิธีการศึกษา คือ จําแนกตามเพศ และประสบการณ ผลการวิจัยพบวา ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของขาราชการในสํานักงานการประถมศึกษาจังหวัดจันทบุรี โดยภาพรวมและรายดานในปจจัยจูงใจและปจจัยคํ้าจุนอยูในระดับมาก เมื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของขาราชการในสํานักงานการประถมศึกษาจังหวัดจันทบุรี จําแนกตามเพศ ประสบการณในการปฏิบัติงาน ในปจจัยจูงใจและปจจัยคํ้าจุน พบวาความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของขาราชการ แตกตางกันอยางไมมีนัยสําคัญทางสถิต ิ คอลเมอร (Collmer, 1990) ไดศึกษาวิจัยเร่ือง ความสัมพันธระหวางแบบผูนําของผูบริหารกับความพึงพอใจในการทํางานของครูโรงเรียนประถมศึกษาตามความคิดเห็นของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยเท็กซัส พบวา ลักษณะผูนําของผูบริหารไดสงผลตอความพึงพอใจในการทํางานของครใูนโรงเรียน และความพึงพอใจของครูมีมากขึ้น เมื่อผูบริหารไดเปดเผยพฤติกรรมผูนําของตนเอง ตลอดจนการใหความรักความอบอุน ยอมรับความคิดเห็นของครู ไดเปดโอกาสใหครูไดแสดงความรูความสามารถไดอยางเต็มที่ จากการศึกษาเอกสารทางวิชาการและงานวิจัยที่เกี่ยวของทั้งในและตางประเทศ ในเรื่องความพึงพอใจที่มีตอการใหบริการในหนวยงานหรือองคกรตางๆ โดยภาพรวมแลว พบวา ความรูสึกพึงพอใจนั้น เปนความรูสึกภายในจิตใจตัวบุคคล ที่เมื่อไดรับในสิ่งที่คาดหวังไว หรือส่ิงที่คาดหวังนั้นไดรับการตอบสนองตามที่บุคคลตองการเกิดความรูสึกที่ดี หรือที่เราเรียกวาพึงพอใจ อยางไรก็ตามยังมีปจจัย หรือส่ิงแวดลอมอื่นที่เขามามีสวนที่ทําใหการใหบริการนั้นๆ ไมไดรับความพึงพอใจ และยังไมเปนไปตามที่ผูรับบริการตองการ เชน ขอปฏิบัติทางกฎหมาย แนวทางการปฏิบัติงานตามขั้นตอน หรือกระบวนการทํางานของแตละหนวยงานที่อาจทําใหเกิดความลาชาในการปฏิบัติงาน บริบทอื่น ๆ สภาพแวดลอมในองคกร การบริหารจัดการองคกร ขนาดขององคกร หรือตัวบุคลากรผูใหบริการ เปนตน

การจัดการศึกษาของสํานกังานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบรุี เขต 2 สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2 เปนหนวยงานบริหารราชการสวนกลาง จัดตั้งตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 และประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เร่ือง กําหนดเขตพื้นที่การศึกษา ประกาศ ณ วันที่ 7 กรกฎาคม 2546 อยูในสังกัดสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ มีอํานาจหนาที่ตามมาตรา 38 แหงพระราชบัญญัติการศึกษาแหงชาติ พ.ศ. 2542 และที่แกไขเพิ่มเติม (พ.ศ. 2545) คือ การกํากับดูแลจัดตั้ง ยุบ รวม หรือเลิกสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตพื้นที่การศึกษา ประสาน

Page 18: 6. บทที่ 2digital_collect.lib.buu.ac.th/dcms/files/52920337/... · 2018-09-19 · 3. การจัดการศึกษาของสํักงานเขตพาน

24  

สงเสริมและสนับสนุนสถานศึกษาเอกชนในเขตพื้นที่การศึกษา ประสานและสงเสริมองคกรปกครองสวนทองถ่ินใหสามารถจัดการศึกษาสอดคลองกับนโยบายและมาตรฐานการศึกษา สงเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษาของบุคคล ครอบครัว องคกรชุมชน องคกรเอกชน องคกรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ สถาบันสังคมอื่นที่จัดการศึกษาในรูปแบบหลากหลายในเขตพื้นที่การศึกษา (พระราชบัญญัติการศึกษาแหงชาติ พ.ศ. 2542 และที่แกไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545, หนา 23) และมาตรา 37 แหงพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 คือ การบริหารและการจัดการศึกษาและพัฒนาสาระของหลักสูตรการศึกษาใหสอดคลองกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานของสํานกังานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน การพัฒนางานดานวิชาการและจัดใหมีระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษารวมกับสถานศึกษา (พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546, หนา 22) สภาพทั่วไปของเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2 สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2 ตั้งอยูหมูที่ 3 ตําบลอูทอง อําเภออูทอง จังหวัดสุพรรณบุรี 72000 สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2 ประกอบดวย อําเภออูทอง อําเภอสองพี่นอง และอําเภอดอนเจดีย มีสภาพทั่วไป ดังนี ้ ลักษณะที่ตั้งและอาณาเขต เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2 ซ่ึงประกอบดวย อําเภออูทอง อําเภอสองพี่นอง และอําเภอดอนเจดีย ตั้งอยูบริเวณภาคกลาง ดานทิศตะวันตกของประเทศไทย รวมพื้นที่ 1,632.752 ตารางกิโลเมตร โดยแยกเปนรายละเอียดดานพื้นที่ และอาณาเขตติดตอกับอําเภอ จงัหวัดใกลเคียง ดังนี้

อําเภออูทอง มีพื้นที่ประมาณ 630.290 ตารางกิโลเมตร

ทิศเหนือ ติดตอกับอําเภอดอนเจดยี จังหวัดสุพรรณบรีุ

ทิศใต ติดตอกับอําเภอสองพี่นอง จังหวัดสุพรรณบุรี

ทิศตะวนัออก ติดตอกับอําเภอเมืองสุพรรณบุรี และอําเภอบางปลามา

ทิศตะวนัตก ติดตอกับจังหวัดกาญจนบุรี

อําเภอสองพี่นอง มีพื้นที่ประมาณ 750.381 ตารางกิโลเมตร

ทิศเหนือ ติดตอกับอําเภออูทอง และอําเภอบางปลามา จังหวดัสุพรรณบุรี

ทิศใต ติดตอกับอําเภอกําแพงแสน และอําเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม

ทิศตะวนัออก ติดตอกับอําเภอบางปลามา จังหวัดสุพรรณบุรี และอําเภอ

บางซาย อําเภอลาดบัวหลวง จังหวดัพระนครศรีอยุธยา

ทิศตะวนัตก ติดตอกับอําเภอทามะกา และอําเภอพนมทวน จังหวดักาญจนบุรี

Page 19: 6. บทที่ 2digital_collect.lib.buu.ac.th/dcms/files/52920337/... · 2018-09-19 · 3. การจัดการศึกษาของสํักงานเขตพาน

25  

อําเภอดอนเจดยี มีพื้นที่ประมาณ 252.081 ตารางกิโลเมตร

ทิศเหนือ ติดตอกับอําเภอหนองหญาไซ และอําเภอสามชุก จังหวดัสุพรรณบุรี

ทิศใต ติดตอกับอําเภอเมืองสุพรรณบุรี และอําเภออูทอง

จังหวดัสุพรรณบุรี

ทิศตะวนัออก ติดตอกับอําเภอเมืองสุพรรณบุรี และอําเภอศรีประจันต จังหวดัสุพรรณบุรี

ทิศตะวนัตก ติดตอกับอําเภอเลาขวัญ จังหวัดกาญจนบุรี

การแบงสวนราชการของเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2 การพิจารณาแบงสวนราชการภายในของสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2 มีพื้นที่รับผิดชอบสถานศึกษาในสังกัดสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจํานวน 137 โรงเรียน ครอบคลุมพื้นที่ 3 อําเภอ ไดแก อําเภออูทอง จาํนวน 54 โรงเรียน อําเภอสองพี่นอง 55 โรงเรียน และอําเภอดอนเจดีย จํานวน 28 โรงเรียน ขาราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา จํานวน 1,203 คน นักเรียน จํานวน 37,767 คน มีโรงเรียนในสังกัดสํานักงานคณะกรรมการสงเสริมเอกชน จํานวน 10 โรงเรียน ครู 358 คน และนักเรียน จํานวน 7,745 คน การแบงโครงสรางภายในเปน 7 กลุม และ 1 หนวย คือ (สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2, 2554, หนา 4 - 5) 1. กลุมอํานวยการ 2. กลุมบริหารงานการเงินและสินทรัพย 3. กลุมบริหารงานบุคคล 4. กลุมนโยบายและแผน 5. กลุมสงเสริมการจัดการศกึษา 6. กลุมสงเสริมสถานศึกษาเอกชน 7. กลุมนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการจัดการศึกษา 8. หนวยตรวจสอบภายใน บทบาทหนาที่ของสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2 มีดังนี้ 1. จัดทํานโยบาย แผนพัฒนาและมาตรฐานการศึกษาของเขตพื้นที่การศกึษาใหสอดคลองกับนโยบายมาตรฐานการศึกษา แผนการศึกษา แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐานและความตองการของทองถ่ิน

Page 20: 6. บทที่ 2digital_collect.lib.buu.ac.th/dcms/files/52920337/... · 2018-09-19 · 3. การจัดการศึกษาของสํักงานเขตพาน

26  

2. วิเคราะหการจัดตั้งงบประมาณเงินอุดหนุนทั่วไปของสถานศึกษาและหนวยงานในเขตพื้นที่การศึกษาและแจงการจัดสรรงบประมาณที่ไดรับใหหนวยงาน ขางตนรับทราบ รวมทั้ง กํากับ ตรวจสอบ ติดตามการใชจายงบประมาณของหนวยงานดังกลาว 3. ประสาน สงเสริม สนับสนุนและพัฒนาหลักสูตรรวมกับสถานศึกษาในเขตพื้นที่ การศึกษา 4. กํากับ ดแูล ติดตามและประเมินผลสถานศึกษาขั้นพืน้ฐานในเขตพื้นทีก่ารศึกษา 5. ศึกษา วเิคราะห วิจยัและรวบรวมขอมูลสารสนเทศดานการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา 6. ดําเนินการจัดตั้ง ยุบ รวมหรือเลิกสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตพืน้ที่การศึกษา 7. พิจารณาแบงสวนราชการของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และของสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาตามที่กําหนดในกฎกระทรวง 8. พัฒนางานดานวิชาการ จดัระบบการประกันคณุภาพการศึกษาและประเมินผลสถานศึกษาในเขตพื้นทีก่ารศึกษา 9. ประสานการระดมทรัพยากรดานตาง ๆ รวมทั้งทรัพยากรบุคคลเพื่อสงเสริมสนับสนุนการจัดและพัฒนาการศึกษาในเขตพื้นที่การศกึษา 10. ประสาน สงเสริม สนับสนุนการจัดการศึกษาของสถานศึกษาเอกชน องคกรปกครองสวนทองถ่ินรวมทั้งบุคคลองคกรชุมชน องคกรวิชาชีพ สถานบันศาสนาสถานประกอบการและสถาบันอื่นที่จัดการศึกษาในรูปแบบที่หลากหลายในเขตพื้นที่การศึกษา 11. ดําเนินการและประสาน สงเสริม สนับสนุนการวจิัยและพัฒนาการศึกษาในเขตพืน้ที่การศึกษา 12. รับผิดชอบงานเลขานุการของคณะกรรมการเขตพื้นทีก่ารศึกษาและประสาน สงเสริมการดําเนินงานของคณะอนกุรรมการและคณะทํางานดานการศึกษา 13. ประสานการปฏิบัติราชการทั่วไปกับองคกรหรือหนวยงานตาง ๆ ทัง้ภาครัฐและภาคเอกชน และองคกรสวนทองถ่ิน ในฐานะสํานักงานผูแทนกระทรวงศึกษาธิการในเขตพืน้ที่การศึกษา 14. ปฏิบัติหนาที่อ่ืนเกี่ยวกับกิจการภายในเขตพื้นที่การศกึษาที่มิไดระบุใหเปนหนาที่ของหนวยงานใดโดยเฉพาะ หรือปฏิบัติงานอื่นตามที่ไดรับมอบหมาย 15. ปฏิบัติหนาที่อ่ืนตามกฎหมาย ระเบียบ ประกาศ ฯลฯ กําหนดตามบทบาทภาระหนาที่ที่ไดกําหนดไวตามกฎหมาย สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2

Page 21: 6. บทที่ 2digital_collect.lib.buu.ac.th/dcms/files/52920337/... · 2018-09-19 · 3. การจัดการศึกษาของสํักงานเขตพาน

27  

วิสัยทัศน ภายในป 2556 สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2 เปนองคกรที่สงเสริม สนับสนุนการจัดการศึกษาอยางทัว่ถึง มีคุณภาพ พัฒนาไดมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานสูความเปนเลิศ พันธกิจ 1. จัดบริการการศึกษาแกประชากรวยัเรียนทุกคนไดรับการศึกษาอยางทั่วถึง เสมอภาค และมีคุณภาพ 2. พัฒนานักเรียนใหมีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาขัน้พื้นฐาน 3. สงเสริม สนับสนุนใหสถานศึกษามีคณุภาพ และบรหิารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล 4. สงเสริม สนับสนุน พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาใหมีความเชี่ยวชาญในวิชาชีพสามารถปฏิบัติงานไดอยางมีประสิทธิภาพ เต็มตามศักยภาพ 5. พัฒนาสํานกังานเขตพืน้ทีก่ารศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2 ไดตามมาตรฐานสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา 6. ประสาน สงเสริมใหทุกภาคสวนมีสวนรวมในการบริหารและจดัการศึกษา 7. สงเสริม สนับสนุนการใชเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรูและการบริหารจัดการ เปาประสงค 1. ประชากรวยัเรียนทกุคนไดรับบริการการศึกษาอยางทัว่ถึง เสมอภาค มีคุณภาพ และไดรับการพัฒนาใหมีความรูคูคุณธรรม 2. ครูและบุคลากรทางการศึกษาสามารถปฏิบัติงานไดอยางมีประสิทธิภาพ 3. สถานศึกษาทุกแหงมีระบบประกันคณุภาพภายในที่เขมแข็ง และผานการรับรองจาก สํานักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคณุภาพการศึกษา (องคการมหาชน) (สมศ.) 4. สํานักงานเขตพื้นที่การศกึษาประถมศกึษาสุพรรณบรีุ เขต 2 ไดมาตรฐานสํานักงานเขตพื้นที่การศกึษา 5. สํานักงานเขตพื้นที่การศกึษาประถมศกึษาสุพรรณบรีุ เขต 2 และสถานศึกษาบรหิารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล และใชระบบ ICT ที่ทันสมัย กลยุทธ 1. ยกระดับคณุภาพและมาตรฐานการศึกษาทุกระดับตามหลักสูตร และสงเสริมความสามารถดาน ICT เพื่อเปนเครื่องมือในการเรียนรู 2. ปลูกฝงคุณธรรมจริยธรรม ความสํานึกในความเปนชาติไทย และวถีิชีวิตตามหลกัปรัชญาเศรษฐกิจพอเพยีง

Page 22: 6. บทที่ 2digital_collect.lib.buu.ac.th/dcms/files/52920337/... · 2018-09-19 · 3. การจัดการศึกษาของสํักงานเขตพาน

28  

3. ขยายโอกาสทางการศึกษาใหประชากรวัยเรียนไดรับบริการการศึกษาที่มีคุณภาพ ทั่วถึง เสมอภาค ครอบคลุมทั้งกลุมเด็กปกตทิั่วไป ผูพิการ ผูดอยโอกาส ใหไดรับการพฒันาเต็มตามศักยภาพและลดอัตราการออกกลางคัน 4. พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาอยางเปนระบบ เนนการใชภาคเีครือขายใหสามารถปฏิบัติงานไดอยางมีประสิทธิภาพ และสามารถจัดการเรียนการสอนไดอยางมีคุณภาพ 5. พัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการศึกษา เนนการมีสวนรวมจากทุกภาคสวน และระบบ ICT ที่ทันสมัย สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2 ไดมีการกําหนดกลยุทธในการดําเนินงานบริหารจัดการ ดังนี้

กลยุทธที่ 1 ยกระดับคณุภาพและมาตรฐานการศึกษาทกุระดับตามหลักสูตร และสงเสริม ความสามารถดาน ICT เพื่อเปนเครื่องมือในการเรียนรู

เปาหมาย 1. ผลสัมฤทธ์ิทางการเรียน 5 กลุมสาระวชิาหลักเพิ่มขึน้รอยละ 4 ตอป 2. นักเรียนชัน้ ป.3 ที่มีปญหาการอาน การเขียนภาษาไทยต่ํากวาเกณฑลดลงรอยละ 2 3. นักเรียนชัน้ ป.3 ที่มีปญหาการคิดเลขต่ํากวาเกณฑลดลงรอยละ 1 4. นักเรียนมีความสามารถดานเทคโนโลยีเพื่อเปนเครื่องมือในการเรียนรูไมนอยกวา

รอยละ 85 ตัวช้ีวดั 1. รอยละของผลสัมฤทธ์ิทางการเรียน 5 กลุมสาระวิชาหลักเพิ่มขึ้น 2. รอยละของนักเรียนที่มีปญหาการอานการเขียนภาษาไทยต่ํากวาเกณฑลดลง 3. รอยละของนักเรียนที่มีปญหาการคิดเลขต่ํากวาเกณฑลดลง 4. รอยละของนักเรียนที่มีความสามารถดานเทคโนโลยี เพื่อเปนเครื่องมือในการเรียนรู

กลยุทธที่ 2 ปลูกฝงคุณธรรมจริยธรรม ความสํานึกในความเปนชาตไิทย และวิถีชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกจิพอเพยีง เปาหมาย 1. นักเรียนทุกคนไดรับการพัฒนาใหมีคุณธรรม จิตสํานึกในความเปนไทย 2. นักเรยีนมีคณุลักษณะทีพ่งึประสงคตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพืน้ฐานไมนอยกวา รอยละ 80 3. โรงเรียนทุกโรงเรียนจัดกิจกรรมเสริมสราง คุณธรรมจิรยธรรม ความสํานึกในความเปนชาติไทย และวิถีชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

Page 23: 6. บทที่ 2digital_collect.lib.buu.ac.th/dcms/files/52920337/... · 2018-09-19 · 3. การจัดการศึกษาของสํักงานเขตพาน

29  

4. นักเรยีนทุกคนไดรับการพัฒนาทักษะการดํารงชีวิตทีม่ีคุณภาพตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตัวช้ีวดั 1. จํานวนนักเรียนไดรับการพัฒนาใหมีจิตสํานึกความเปนไทย ยึดมั่นในสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตรยิ และการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอนัมีพระมหากษัตริยทรงเปนประมุข 2. รอยละของนักเรียนมีคุณลักษณะที่พึงประสงคตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน 3. จํานวนโรงเรียนที่จดักิจกรรมเสริมสรางคุณธรรมความสํานึกในความเปนชาติไทย และวิถีชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 4. จํานวนโรงเรียนที่จดักิจกรรมตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพยีงเปนโรงเรียนพอเพียงตนแบบ 4 แหง 5. จํานวนนกัเรียนไดรับการพัฒนาทักษะการดํารงชีวิตทีม่ีคุณภาพตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

กลยุทธที่ 3 ขยายโอกาสทางการศึกษาใหประชากรวยัเรียนไดรับบริการการศึกษาที่มีคุณภาพ ทัว่ถึง เสมอภาค ครอบคลุมทั้งกลุมเด็กปกติทัว่ไป ผูพิการ ผูดอยโอกาส ใหไดรับการพัฒนาเต็มตามศักยภาพและลดอัตราการออกกลางคัน

เปาหมาย 1. ประชากรวยัเรียนทกุคนไดรับการศึกษาภาคบังคับ 2. นักเรียนไดเรียนจนจบการศึกษาภาคบังคับ ภายในกําหนดไมนอยกวารอยละ 90 3. ผูพิการทุกไดรับการพัฒนาสมรรถภาพ 4. นักเรียนทกุคนไดรับการสนับสนุนการศึกษาโดยไมเสียคาใชจายสําหรับรายการคา

เลาเรียน หนังสือเรียน อุปกรณการเรียน เครื่องแบบนักเรียน และกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผูเรียน ตัวช้ีวดั 1. รอยละของนักเรียนที่ไดรับการศึกษาขัน้พื้นฐาน 2. รอยละของนักเรียนที่จบการศึกษาภายในเวลาที่หลักสตูรกําหนด 3. อัตราการออกกลางคันลดลง

4. จํานวนผูพกิารที่ไดรับการพัฒนาสมรรถภาพ 5. จํานวนนักเรียนที่ไดรับการสนับสนุนการศึกษาโดยไมเสียคาใชจายสําหรับรายการคา

เลาเรียน หนังสือเรียน อุปกรณการเรียน เครื่องแบบนักเรียน และกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผูเรียน

Page 24: 6. บทที่ 2digital_collect.lib.buu.ac.th/dcms/files/52920337/... · 2018-09-19 · 3. การจัดการศึกษาของสํักงานเขตพาน

30  

กลยุทธที่ 4 พฒันาครูและบุคลากรทางการศึกษาอยางเปนระบบ เนนการใชภาคีเครือขายใหสามารถปฏิบัติงานไดอยางมปีระสิทธิภาพ และสามารถจัดการเรียนการสอนไดอยางมคีุณภาพ

เปาหมาย 1. ขาราชการครูไดรับการพฒันา สามารถจัดการเรียนรูไดอยางมีคุณภาพไมนอยกวา

รอยละ 85 2. ครูและบุคลากรทางการศึกษามีความพอใจในความมั่นคงของการประกอบวิชาชีพ

ไมนอยกวารอยละ 95 3. บุคลากรทางการศึกษาไดรับการพัฒนาใหมีคุณภาพและสามารถปฏิบัติงานไดตาม

มาตรฐานหรือเกณฑที่กําหนดไมนอยกวา รอยละ 85 4. ครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกคนไดรับการพัฒนาโดยภาคีเครือขาย

ตัวช้ีวดั 1. รอยละของขาราชการครูที่ไดรับการพฒันา สามารถจัดการเรียนรูไดอยางมีคุณภาพ 2. รอยละของครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มีความพอใจในความมั่นคงของการประกอบวิชาชีพ 3. รอยละของบุคลากรทางการศึกษาที่ไดรับการพัฒนาใหมีคุณภาพและสามารถปฏิบัติงานไดตามมาตรฐานหรือเกณฑที่กาํหนด 4. จํานวนครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ไดรับการพัฒนาโดยภาคีเครือขาย กลยุทธที่ 5 พฒันาประสิทธิภาพการบริหารจัดการศึกษา เนนการมีสวนรวมจากทกุภาคสวน และระบบ ICT ที่ทันสมัย เปาหมาย 1. สถานศึกษาทุกแหงที่ผานการรับรองมาตรฐาน 2. สถานศึกษาที่ไมผานการรับรองมาตรฐานคุณภาพภายนอก 3. สถานศึกษาทุกแหงไดรับการนิเทศ ติดตาม ชวยเหลือการดําเนนิงานใหมีคณุภาพ 4. สํานักงานเขตพื้นที่การศกึษาประถมศกึษาสุพรรณบรีุ เขต 2 ไดมาตรฐานสํานักงานเขตพื้นที่การศกึษา 5. สํานักงานเขตพื้นที่การศกึษาประถมศกึษาสุพรรณบรีุ เขต 2 และสถานศึกษาทุกแหง ใช ICT เพื่อการบริหารและจดัการเรียนรู 6. สํานักงานเขตพื้นที่การศกึษาประถมศกึษาสุพรรณบรีุ เขต 2 และสถานศึกษาทกุแหง ไดรับการสนบัสนุน ชวยเหลือในการบริหารและจัดการศึกษาจากทุกภาคสวน

Page 25: 6. บทที่ 2digital_collect.lib.buu.ac.th/dcms/files/52920337/... · 2018-09-19 · 3. การจัดการศึกษาของสํักงานเขตพาน

31  

ตัวช้ีวดั 1. รอยละของสถานศึกษาทีม่ีผลการประเมินคุณภาพภายนอกผานการรับรองมาตรฐาน 2. จํานวนสถานศึกษาทีไ่มผานการรับรองไดรับการแกไขเพื่อพัฒนาคณุภาพ 3. จํานวนสถานศึกษาทีไ่ดรับการนิเทศ ตดิตาม ชวยเหลือ การดําเนินงานใหมีคณุภาพ 4. สํานักงานเขตพื้นที่การศกึษาประถมศกึษาสุพรรณบรีุ เขต 2 ผานการประเมินคุณภาพตามเกณฑมาตรฐานของสํานักงานเขตพืน้ทีก่ารศึกษา 5. สํานักงานเขตพื้นที่การศกึษาประถมศกึษาสุพรรณบรีุ เขต 2 ใช ICT เพื่อการบริหารจัดการ 6. รอยละของสถานศึกษาทีใ่ช ICT เพื่อการบริหารจัดการ และจัดการเรียนรู 7. จํานวนโครงการที่ สํานักงานเขตพื้นทีก่ารศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2 ไดรับการสนับสนุน ชวยเหลือจากทุกภาคสวน

8. จํานวนสถานศึกษาทีไ่ดรับการสนับสนุน ชวยเหลือจากทุกภาคสวนในการบริหารและจัดการศึกษา การบริหารจัดการศึกษาของสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2 สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2 ไดนําแนวคิดทฤษฎีในดานการบริหารจัดการ โดยเนนการบริหารจัดการแบบมีสวนรวม ในระบบเครือขาย การจัดการความรู การวิจยัและพฒันา และระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ทันสมัย เพื่อใหการบริหารจัดการศึกษาบงัเกิดผลอยางมปีระสิทธิภาพ ในระดบัสถานศึกษา และสถานศึกษาสามารถบริหารจัดการศึกษาไดดวยตนเอง โดยใชโรงเรียนเปนฐาน (School-based Management) จึงไดแบงหนวยงานเพิ่มโดยการจดัตั้งกลุมโรงเรียน มีการบริหารงานโดยคณะกรรมการ เพื่อบริหารจัดการรวมกันในลักษณะกลุมโรงเรียนจํานวน 12 กลุม ไดแก 1. กลุมโรงเรียนเขตพื้นที่อําเภออูทอง จํานวน 5 กลุม 2. กลุมโรงเรียนเขตพื้นที่อําเภอสองพี่นอง จํานวน 5 กลุม 3. กลุมโรงเรียนเขตพื้นที่อําเภอดอนเจดยี จํานวน 2 กลุม (สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2, 2554, หนา 24-28)

Page 26: 6. บทที่ 2digital_collect.lib.buu.ac.th/dcms/files/52920337/... · 2018-09-19 · 3. การจัดการศึกษาของสํักงานเขตพาน

 

ภา

าพที่ 1 โครงสสรางสํานักงาน

นเขตพื้นทีก่ารศึกษาประถมศึกษาสุพรรรณบุรี เขต 2

32

Page 27: 6. บทที่ 2digital_collect.lib.buu.ac.th/dcms/files/52920337/... · 2018-09-19 · 3. การจัดการศึกษาของสํักงานเขตพาน

33  

กรอบแนวคดิในการวิจัย จากการสํารวจองคความรูทั้งทางดานทฤษฎีและงานวิจยัที่เกี่ยวของ ผูวจิัยสามารถกําหนดกรอบแนวคดิในการวิจัย ดังนี ้

ตัวแปรตน ตัวแปรตาม

ภาพที่ 2 กรอบแนวคดิในการวิจัย

สมมติฐานการวิจัย จากตัวแบบการวิเคราะหกรอบแนวคดิในการวิจยั ผูวิจยัสามารถกําหนดสมมติฐาน ไดดังตอไปนี ้ 1. ความพึงพอใจตอการปฏบิัติงานของสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สุพรรณบุรี เขต 2 ของขาราชการครูในสังกัด โดยรวมอยูในระดับมาก 2. ความพึงพอใจตอการปฏบิัติงานของสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สุพรรณบุรี เขต 2 ของขาราชการครูในสังกัด ซ่ึงจําแนกตามเพศ อายุ สายการปฏิบัติงาน ระดับการศึกษา และประสบการณในการทํางาน มีความแตกตางกัน

ขอมูลพื้นฐาน 1. เพศ 2. อายุ 3. สายการปฏิบัติงาน 4. ระดับการศกึษา 5. ประสบการณทํางาน

ความพึงพอใจของขาราชการครูที่มีตอการปฏิบัติงาน ของสํานักงานเขตพื้นทีก่ารศึกษาประถมศึกษา สุพรรณบุรี เขต 2 1. งานอํานวยการ 2. งานบริหารการเงินและสินทรัพย 3. งานบริหารงานบุคคล 4. งานนโยบายและแผน 5. งานสงเสริมการจัดการศกึษา 6. งานนิเทศ ตดิตามและประเมินผลการจัดการศึกษา 7. งานตรวจสอบภายใน

Page 28: 6. บทที่ 2digital_collect.lib.buu.ac.th/dcms/files/52920337/... · 2018-09-19 · 3. การจัดการศึกษาของสํักงานเขตพาน

34  

นิยามศัพทเชิงปฏิบัติการ เพื่อเปนแนวทางในการเก็บรวมรวมขอมูลและวเิคราะหขอมูล ผูวิจัยไดกําหนดนยิามศัพทเบื้องตนไวดังนี ้ ขาราชการครู หมายถึง บุคคลซึ่งเปนขาราชการปฏิบัติหนาที่เกี่ยวกับการศึกษา และการจัดการศึกษา ซ่ึงในการวิจัยคร้ังนี้ ศึกษากับขาราชการครูในอําเภอดอนเจดีย อําเภอสองพี่นอง และอําเภออูทอง สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2 โดยกําหนดใหเปนกลุมตัวอยางในการตอบแบบสอบถามขอมูลการวิจัย และจําแนกตามสถานภาพของขาราชการครู เพื่อเปนตัวแปรในการวิเคราะหขอมูลโดยจําแนกตามสายงานที่ปฏิบัติหนาที่เปน 2 ลักษณะ ดังนี้ 1. ผูบริหาร หมายถึง ผูอํานวยการสถานศึกษา ซ่ึงมีบทบาทหนาที่เปนผูนําในการจัดระบบและแผนงาน ควบคุมการดําเนินงาน และบริหารงานตาง ๆ ตามภาระงานของสถานศึกษาภายในสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2 2. ครู หมายถึง ขาราชการครู ผูมีบทบาทเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอน สงเสริมการเรียนรูและพัฒนาผูเรียนในสถานศึกษาภายในสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สุพรรณบุรี เขต 2 ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2 หมายถึง ความรูสึกที่ดีทําใหเกิดความสบายใจและมีความสุขที่ไดรับการตอบสนองตามความตองการของผูบริหารและครูในการพยายามทํางานและสรางสรรคส่ิงตาง ๆ ใหประสบผลสําเร็จตามภารกิจงานทั้ง 7 งาน 1. การปฏิบัติงานอํานวยการ หมายถึง การปฏิบัติงานเกี่ยวกับการรับสงหนังสือราชการ การจัดระบบบริหาร การเผยแพรขอมูลขาวสาร การบริการดานขอมูลขาวสาร และอํานวยความสะดวกในดานตางๆ 2. การปฏิบัติงานบริหารการเงินและสินทรัพย หมายถึง การปฏิบัติงานเกี่ยวกับการเบิกจายงบประมาณ การบริหารการเงิน การบริหารบัญชี การบรหิารพัสดุและสินทรัพย จัดซื้อ จัดจาง และการพัสดุ รวมทั้งตรวจสอบ ติดตามและประเมินประสิทธิภาพการใชจายงบประมาณของโรงเรียน 3. การปฏิบัติงานบริหารงานบุคคล หมายถึง การปฏิบัติงานที่เกี่ยวกับการยายขาราชการครู งานบําเหน็จความชอบ งานบริการบุคลากรอันไดแก การขอมีบัตรประจําตัวเจาหนาที่ของรัฐ การขอหนังสือรับรอง การอบรม งานพัฒนามาตรฐานวิชาชีพ งานวินัย 4. การปฏิบัติงานนโยบายและแผน หมายถึง การปฏิบัติงานเกี่ยวกับงานขอมูลสารสนเทศ งานแผนและพัฒนาการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน การจัดสรรงบประมาณ งานรายงานผลการดําเนินงานตามนโยบายและแผน

Page 29: 6. บทที่ 2digital_collect.lib.buu.ac.th/dcms/files/52920337/... · 2018-09-19 · 3. การจัดการศึกษาของสํักงานเขตพาน

35  

5. การปฏิบัติงานสงเสริมการจัดการศึกษา หมายถึง การปฏิบัติงานเกี่ยวกับงานสงเสริมแหลงเรียนรูและภูมิปญญาทองถ่ิน สงเสริมการจัดการศึกษาเด็กพิการ เด็กดอยโอกาส งานสงเสริมสุขภาพอนามัย งานสงเสริมกิจกรรมแนะแนว งานสงเสริมกีฬา และนันทนาการ งานสงเสริมกิจการลูกเสือ เนตรนารี งานสงเสริมกิจกรรมประชาธิปไตย งานสงเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพในสถานศึกษา งานปองกันแกไขปญหายาเสพติด 6. การปฏิบัติงานนิเทศ ติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา หมายถึง การปฏิบัติงานเกี่ยวกับงานสงเสริมพัฒนาหลักสูตรและการจัดกระบวนการเรียนรู พัฒนาระบบ การนิเทศและการจัดกระบวนการเรียนรู งานนเิทศการจัดการศึกษา สงเสริมประสานงานการประกันคุณภาพภายในและภายนอกสถานศึกษา 7. การปฏิบัติงานหนวยตรวจสอบภายใน หมายถึง การปฏิบัติงานเกี่ยวกับการตรวจสอบระบบการเงินบัญชี ตรวจสอบการดําเนนิงาน การจัดระบบพัสดุและสินทรัพย