march 2019 issue 20...การบรรยายในคร งน ดร. อ ซอาร ย...

16
1

Upload: others

Post on 22-Oct-2020

1 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

  • 1

  • 2

    MARCH 2019 ISSUE 20 มีนาคม 2562 ฉบับที่ 20

    ท่ีปรกึษากองบรรณาธิการ

    รศ.ดร.วินัย ดะห์ลัน ผู้อ�านวยการศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาฯ

    ผศ. ดร. วนิดา นพพรพันธุ์ รองผู้อ�านวยการศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาฯ

    ผศ. นิฟาริด ระเด่นอาหมัด รองผู้อ�านวยการศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาฯ ส�านักงานปัตตานี

    ดร.บรรจง ไวทยเมธา ที่ปรึกษาผู้อ�านวยการศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาฯ ส�านักงานปัตตานี

    คุณมนัส สืบสันติกุล ที่ปรึกษาผู้อ�านวยการฯ ด้านบริหารงานบุคคล

    คุณสุลิดา หวังจิ ที่ปรึกษาผู้อ�านวยการฯ ด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศด้านงานคลังและพัสดุ

    รศ.ดร.อดิศรา กาติ๊บ ที่ปรึกษาผู้อ�านวยการฯ ด้านกิจการต่างประเทศ

    คุณสมพล รัตนาภิบาล ที่ปรึกษาผู้อ�านวยการฯ ด้านบริการการศึกษาและอุตสาหกรรม

    อ.ดร.ภราดร สุรีย์พงษ์ ผู้ช่วยผู้อ�านวยการศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาฯ ส�านักงานเชียงใหม่

    คุณมนฤดี เข็มท�า ผู้อ�านวยการฝ่ายบริหาร ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาฯ

    บรรณาธิการอ�านวยการ

    รศ.ดร.อดิศรา กาติ๊บ

    บรรณาธิการ

    นายอัครชัย เกิดอยู่

    เลขานุการกองบรรณาธิการ

    นางสาววรัญญา ริดมัด

    กองบรรณาธิการ

    นางสาวชีรีน นิภารัตน์

    นางสาวรานี สมันตรัฐ

    นางสาวธัญพิชญ์ฌา หวังนุช

    นางสาวอานีซะห์ ลาเตะ

    ออกแบบกราฟฟิก

    นายบากียา บินดอเลาะ

    ผู้แปล

    รศ.ดร.อดิศรา กาติ๊บ นางสาววรัญญา ริดมัด

    ส�านักงานกองบรรณาธิการ

    ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

    254 อาคารวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น 11-13 ถนนพญาไท

    แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 โทร. 02-2181054 แฟกซ์ 02-2181105

    ADVISORS TO EDITORIAL TEAM

    Assoc. Prof. Dr.Winai Dahlan Founding Director

    Assist. Prof. Dr. Vanida Nopponpunth Deputy Director

    Assist Prof. Nik Farid Raden Ahmad Deputy Director (Pattani Office)

    Dr. Banchong Withayanetha Advisor to the Director at the Pattani office

    Mr. Manat Suebsantikul Advisor to the Director for Personnal Management

    Ms. Sulida Wangchi Advisor to the Director for International Relations

    and finance and Procurement

    Assoc. Prof. Dr. Adisara Katib Advisor to the Director for International Affairs

    Mr. Sompol Rattanabhibal Advisor to the Director for Educational Seruices

    and Industries

    Dr. Pradorn Sureephong Assistant to the Director (Chiangmai Office)

    Ms. Monruedee Khemtham Director of Administration

    EDITOR - IN - CHIEF

    Assoc. Prof. Dr. Adisara Katib

    EDITORIAL BOARD

    Mr. Akkarachai Kerdyoo Editor

    Ms. Warunya Ridmad Editorial Secretary

    Ms. Tunpitcha Vangnuch

    Ms. Shereen Niparatana

    Ms. Ranee Samantarath

    Ms. Aneesah lateh

    Mr. Bakeeya Bindoloh Graphic designer

    TRANSLATOR

    Assoc. Prof. Dr. Adisara Katib

    Ms. Warunya Ridmad

    OFFICE ADDRESS

    The Halal Science Center Chulalongkorn University

    254 CU Research Building, Fl.11-13, Phayathai Rd., Wangmai, Pathumwan Bangkok 10330

    Tel. 0-2218-1053-4 Fax: 0-2218-1105 Web. www.halalscience.org

    สวัสดีครับท่านผู้อ่านทุกท่าน มาพบกันอีกครั้งกับวารสาร Halal Insight ฉบับเดือน

    มีนาคม 2562 ก่อนอื่นเลย พวกเราชาวศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

    ขอร่วมแสดงความยินดี วันคล้ายวันสถาปนา ครบรอบ 102 ปี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ใน

    วันที่ 26 มีนาคม 2562 และเนื่องในโอกาสครบรอบวันสถาปนา ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

    ทางวารสารของเรามบีทสมัภาษณ์ของ รศ.ดร.วนัิย ดะห์ลนั ผูอ้�านวยการศนูย์วทิยาศาสตร์ฮาลาล

    เรื่อง “ความสัมพันธ์ระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่มีพระคุณต่อศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล

    ของเรามาตลอดระยะเวลา 16 ปี” ในคอลัมป์ Halal Highlight และในคอลัมป์ Halal Science

    เราจะพูดถึงเรื่อง “Future foods” เพ่ือจะแสดงให้เห็นว่าการตรวจแล็ปของศูนย์วิทยาศาสตร์

    จะมีบทบาทส�าคัญอย่างไรในอนาคต และเท่านั้นยังไม่พอเรายังมี Case study ที่น่าสนใจกรณี

    หนึง่ ทีอ่ธิบายถึงการเฝ้าระวังความเสีย่งด้านฮาลาลท่ีมโีอกาสเกิดขึน้ ในโรงงานแปรรปูอาหารท่ี

    พบได้จริงในโรงงานอุตสาหกรรมในคอลัมป์ Hal-Q Corner และในเล่มนี้ยังมีคอลัมป์ที่น่าสนใจ

    อีกมากมาย จะมีคอลัมป์อะไรอีกบ้าง ไปติดตามกันต่อได้เลยครับ

    As we would like more people and international

    organizations to know about the Halal Science Center, Chulalongkorn

    University (HSC-CU), we have decided to include the English version

    on some sections covering various interesting issues in Halal Insight

    to serve our readers who would like to enjoy reading the content in

    English. Last month, after our first try-out on some content in English

    we thought would be useful to our readers, we have received positive

    feedback, so we intend to continue this line of service to serve our

    valued readers.

    In this edition, on the auspicious occasion of the 102nd

    anniversary of the establishment of Chulalongkorn University, we

    have the honour of interviewing Associate Professor Dr. Winai Dahlan,

    the Founding Director and the sitting Director of the HSC-CU on

    his perspectives of the relations between the University and the

    Center. The interview and the summary of the interview in English

    are presented in the Halal Highlight section. Several other sections

    including the Halal Science article on Future Foods by Dr. Acharee

    Suksuwan and the Halal Update by Dr. Pornpimol Mahamad are

    also written in English as well.

    Hope you will enjoy this edition of Halal Insight.

    บทบรรณาธิการ

    กองบรรณาธิการ Associate Professor Dr. Adisra Katib

    เพื่อแสดงความคิดเห็น

    และข้อติชม

    สแกน QR

    NOTE FROM THE EDITOR-IN-CHIEF

  • 3

    ผู้ชายมักเครียดมากกว่าผู้หญิง เป็นเร่ืองที่รู้กันอยู่ มีบ้าง

    เข้าใจว่าเหตุท่ีผู้ชายเครียดเป็นเพราะค่านิยมของสังคมมักให้ความ

    คาดหวงัแก่ผูช้ายมากกว่าผูห้ญิงจงึกลายเป็นปัจจยัท�าให้ผูช้ายเครยีด

    เป็นปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมว่ากันอย่างนั้น ไม่เกี่ยวกับพันธุกรรม แต่ข้อ

    เทจ็จรงิเป็นเช่นน้ันหรอืเปล่า ปรากฏว่ามงีานวจิยัยืนยันออกมาแล้วว่า

    พันธุกรรมเป็นปัจจัยด้วยเช่นกัน โดยพบว่าความเครียดถ่ายทอดจาก

    พ่อไปยังลูกชายได้ด้วย งานวิจัยนี้ท�าที่สถาบัน Shanghai Institutions

    of Higher Learning ของจีน โดยท�าในหนูทดลอง ตีพิมพ์ในวารสาร

    Cell Metabolism เดอืนกุมภาพันธ์ 2016 ในการทดลองใช้หนูเพศผูท่ี้ถูก

    ท�าให้เครยีดผลคอืหนเูพศผูเ้หล่านัน้มรีะดบัน�า้ตาลในเลอืดสงูขึน้ สิง่ที่

    นกัวิจยัตรวจพบคอืความเครยีดทีส่ร้างขึน้น้ันมผีลต่อการเปลีย่นแปลง

    ในดเีอนเอของหนท่ีูตรวจพบในสเปิร์ม สรปุคอืความเครยีดได้ก่อปัญหา

    ให้กับพันธุกรรมได้จริงๆ

    บทความโดย..

    รศ.ดร.วินัย ดะห์ลัน ผู้อ�านวยการศูนย์วทิยาศาสตร์ฮาลาล จฬุาลงกรณ์มหาวิทยาลยั

    FACEBOOK FANPAGE: DR.WINAI DAHLAN

    ลูกหนูที่เกิดจากสเปิร์มของพ่อที่เครียดมีระดับโปรตีนในตับ

    ท่ีท�าหน้าท่ีกระตุ้นการสร้างน�้าตาลมีระดับเพ่ิมสูงข้ึนเมื่อเทียบกับหนู

    ปกติ ลูกหนูเหล่านี้เครียดได้ง่ายกว่าปกติเป็นผลมาจากตับถูกกระตุ้น

    ให้สร้างน�้าตาลให้สูงข้ึนในเลือดได้ง่าย คล้ายถูกสร้างอะดรีนาลีนให้

    เกิดบ่อยยังไงยังงัน้ มอีะไรเลก็น้อยมากระตุน้ อารมณ์ก็พุ่งปรีด๊ขึน้แล้ว

    ผลคือการท�าอะไรที่ขาดสติ ไม่สามารถควบคุมตนเองได้ เรื่องอย่างนี้

    อย่าว่าคนเป็นพ่อไม่เคยทราบเลย แม้แต่แพทย์ก็ยังไม่รู้

    วิธีแก้ไข นักวิจัยให้หนูทดลองกินยาลดฮอร์โมนเครียดเป็น

    ประจ�าก่อนให้หนูผสมพันธุ์ ปรากฏว่าหนูมีสเปิร์มที่ปกติ ลูกหนูที่เกิด

    มาจากพ่อหนูที่ได้รับยาลดความเครียดก่อนการผสมพันธุ์เป็นระยะ

    เวลานานพอสมควรจะกลับเป็นหนูปกติ น�้าตาลในเลือดไม่เพ่ิมสูง

    ขึ้น ตับไม่สร้างน�้าตาลมากขึ้น กลไกการสร้างน�้าตาลในตับที่เรียกว่า

    gluconeogenesis เป็นปกตไิม่มกีารสร้างปัญหาเช่นเดยีวกับหนเูครยีด

    ท่ีไม่เคยได้รับยาลดเครียด สรุปเอาเป็นว่าความเครียดก่อปัญหาให้

    เกิดความผิดปกติในโครโมโซมวาย (y chromosome) ที่มากับสเปิร์ม

    การแก้ไขน้ันไม่ยาก หากท�าให้พ่อท่ีเครียดบ่อยได้หาทางลดเครียด

    ปัญหาเครยีดทางพันธุกรรมย่อมไม่ถ่ายทอดไปทีล่กู งานวิจัยน้ีแม้ท�าใน

    หนูทดลอง จะน�าไปประยุกต์ใช้กับคนโดยตรงได้หรอืไม่ไม่ส�าคญั ผลดี

    ย่อมมีมากกว่าผลเสีย นั่นคือแนะน�าให้ คุณพ่อทั้งหลายหากไม่อยาก

    ให้ลูกชายต้องเครียดเหมือนตนเองจ�าเป็นต้องหาทางลดความเครียด

    ลงให้ได้

    https://ww

    w.sanook.com

    /men/625/

    http://www.vichaiyut.co.th/health/informations/พ่อแม่เข้ม-เด็กเครียด/

    ACADEMIC ZONEHALAL INSIGHT

  • 4

    ศวฮ. เปิดบ้านต้อนรบั นักเรียน รร. สันติวิทยา จงัหวัดกระบี่

    ในวันศุกร์ท่ี 22 กุมภาพันธ์ 2562 ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาฯ (ศวฮ.) เปิด

    บ้านต้อนรับ คณะอาจารย์และนักเรียน จ�านวน 50 คน จากโรงเรียนสันติวิทยา จังหวัดกระบี่

    โดยมี อ.มนัส สืบสันติกุล ที่ปรึกษา ผอ.ศูนย์ฯ ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับการรับรองอาหารฮาลาล

    ประเทศไทย ภายใต้หลกัการ “ศาสนารบัรอง วิทยาศาสตร์รองรบั” และให้ความรูเ้ก่ียวกับการ

    ปฏิบตังิานต่างๆของศนูย์ฯ อกีทัง้ได้เย่ียมชมศนูย์ฯ และห้องปฏิบตักิารนิตวิิทยาศาสตร์ ซ่ึงได้

    รับความสนใจจากคณะผู้เยี่ยมชมเป็นอย่างมาก

    ผูแ้ทน ผอ. ศวฮ. บรรยายพิเศษ นศ. ภาควิชาเคมอุีตสาหกรรม ม.ลาดกระบงั

    วันพุธท่ี 13 มนีาคม 2562 เวลา 08.00 น. ดร.อซัอารย์ี สขุสวุรรณ ผูแ้ทนผูอ้�านวยการ

    ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้การต้อนรับผู้ช่วยศาสตราจารย์

    ดร.เอกรัฐ เดชศรี อาจารย์ผู้ดูแลรายวิชา และนักศึกษาจากภาควิชาเคมีอุตสาหกรรม

    แขนงเคมีวิเคราะห์ คณะวิทยาศาสตร์ จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร

    ลาดกระบัง ท่ีได้จัดการเรียนการสอนในรายวิชาการวิเคราะห์สารเคมีในอุตสาหกรรม โดย

    การบรรยายในครั้งนี้ ดร. อัซอารีย์ สุขสุวรรณ ได้บรรยายในหัวข้อ “การวิเคราะห์สารเคมีใน

    อุตสาหกรรมฮาลาล” มีนักศึกษากว่า 30 คน ซึ่งให้ความสนใจในเรื่องของการให้การรับรอง

    มาตรฐานฮาลาล

    HSC-CU representative gave an interesting lecture to students from Department of Chemistry, KMITL.

    The HSC-CU welcomed a group of students from Santiwitthaya School, Krabi.

    On Wednesday, 13 March, 2019, Dr. Acharee Suksuwan, on behalf of HSC-CU Director, warmly welcomed a group of 30 students led by Assist. Prof. Dr. Ekarat Detsri, the coordinator the Chemical Analysis of the Industry course, the Department of Chemistry, Faculty of Science, King Mongkut’s Institute of TechnologyLadkrabang (KMITL). On this occasion, Dr.Acharee gave an informative lecture on “The Chemical Analysisof the Halal Industry”. The delegations paid lot of attention to the lecture with many interesting questions afterwards.

    On Friday, 22 February 2019, the Halal Science Center, Chulalongkorn University (HSC-CU) welcomed the faculty members and 50 students from Santiwitthaya School, Krabi Province. Mr. Manat Suebsantikun, an advisor to the HSC-CU Director, gave a brief introduction on the roles and missions of the center and on the process of Thailand’s Halal Certification under the concept of “Religion Certifies, Halal Science Supports.” Later, Mr. Manat led the delegations to visit the HSC’s Halal Forensic Science Laboratory, bringing on many interesting and though-provoking questions during their visit.

    ข้อมูล website: www.halalscience.org

  • 5

    Associate Professor Dr. Winai Dahlan, the HSC-CU Director was invited by The Science Society of Thailand under the Patronage of His Majesty the King to give lecture at National Science Museum (NSM) on food technology, which is one of the activities under the main activity “Think wisely like a scientist” of the 11th Secondary School Thai Science Camp Project. There were approximately 150 students selected from students all over the country participating in this project.

    In the lecture, the HSC-CU Director talked about the research and technology in food originally carried out by him, which have been developed, and eventually leading to the first Halal Science Center in the world. He also talked about research conducted in Thailand aiming to develop the country’s agricultural and industrial markets. The talk was followed by the Q&A. Later, the session was joined by the HSC-CU scientists, making it even more interesting and inspiring to the students. The afternoon session was organized by the HSC-CU scientists to give guidelines to the students in conducting science projects in food technology.

    รศ.ดร.วินัย ดะห์ลัน ผู้อ�านวยการศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาฯ ได้รับเชิญ

    จากสมาคมวิทยาศาสตร์เเห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ให้เป็นวิทยากรบรรยาย

    เก่ียวกับเทคโนโลยีทางอาหารในกิจกรรม “ ฉลาดคิดอย่างนักวิทยาศาสตร์” กิจกรรมน้ี

    เป็นกิจกรรมหนึ่งในโครงการ Thai Science Camp ครั้งที่ 11 มีนักเรียนระดับมัธยมศึกษา

    ตอนปลายจากท่ัวประเทศที่ผ่านการคัดเลือก เข้าร่วมประมาณ 150 คน ณ องค์การ

    พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์เเห่งชาติ (อพวช.)

    รศ.ดร.วินัย ดะห์ลัน ได้เล่าถึงประวัติความเป็นมาของตนเองในการพัฒนา

    งานวิจัยเเละเทคโนโลยีทางด้านอาหารซึ่งน�ามาสู่การจัดตั้งศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาลอัน

    ดับเเรกของโลกขึ้น พร้อมเเลกเปลี่ยนเเนวความคิดด้านการท�างานวิจัยของไทยเพื่อน�ามา

    สู่การพัฒนาตลาดเกษตรกรรมเเละอุตสาหกรรมอาหารของประเทศ เเละตอบค�าถามใน

    ประเดน็ท่ีน่าสนใจมากมาย ทัง้นีค้ณะนักวิจยัจาก ศวฮ. ได้เข้าร่วมเสรมิทัพมาสร้างเเรงบนั

    ดาลใจเเละให้มุมมองในการท�างานวิจัยแก่เหล่าน้องค่ายด้วย ทั้งยังได้ให้เเนวทางในการ

    ท�าโครงงานวิทยาศาสตร์ด้านเทคโนโลยีทางอาหารในกิจกรรมช่วงบ่ายอีกด้วย

    HALAL NEWSHALAL INSIGHT

    5

  • 6

    การเดินทางเข้าร ่วมพิธีเปิดศูนย์วิทยาศาสตร์และ

    ห้องปฏิบัติการฮาลาลแห่งชาติฟิลิปปินส์ ซึ่งจัดข้ึนในช่วงเวลา

    เดียวกันกับงานประชมุวชิาการนานาชาต ิWorld Halal Assembly

    Philippines 2019 ระหว่างวันที่ 25-28 กุมภาพันธ์ 2562 โดยใน

    ครั้งนี้ รศ.ดร. วินัย ดะห์ลัน ผู้อ�านวยการศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล

    จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ศวฮ.) ได้รับเชิญจาก Dr. Hadja Sittie

    Shayma Zenaida P. Hadji Raof Laiden ผูอ้�านวยการส่วนภมูภิาค

    กรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเขต 12 (DOST XII) ของประเทศ

    ฟิลิปปินส์ซึ่งเป็นประธานจัดงานในคร้ังน้ี ศูนย์วิทยาศาสตร์และ

    ห้องปฏิบตักิารฮาลาลแห่งชาตฟิิลปิปินส์ The Philippine National

    Halal Laboratory and Science Center (PNHLSC) ต้ังอยู่ท่ี

    หมู่บ้านบารังไกย์ (Barangay) เมืองโคโรนาดัล (Koronadal) บน

    พื้นที่ 1 เฮกตาร์ มีพื้นที่ใช้สอยประมาณ 3,000 ตารางเมตร ทั้ง 3

    ชั้นประกอบด้วยห้องส�าหรับใช้งาน 35 ห้อง พื้นที่ชั้นที่ 1 แบ่งเป็น

    ห้องประชุม ห้องสมุด ห้องรับประทานอาหาร และห้องติดต่อ

    ประสานงานฝ่ายต่างประเทศ ชั้นท่ี 2 แบ่งเป็นห้องส�านักงาน

    ผู้อ�านวยการ และห้อง ICT Unit และชั้นที่ 3 แบ่งเป็นห้อง

    ปฏิบตักิารท่ีมเีครือ่งมอืวิเคราะห์ต่างๆ เช่น DSC/ICP, E-nose,

    GC-MS, HPLC และ Real-Time PCR ส�าหรับให้บริการตรวจ

    วิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ และทดสอบผลิตภัณฑ์ประเภท

    ต่าง ๆ จากลูกค้า

    Dr. Laiden กล่าวว่า PNHLSC น้ีจดัต้ังขึน้โดย DOST

    XII และได้รบังบประมาณจาก the Department of the Budget

    and Management (DBM) โดยเมื่อปี 2008 ได้รับงบประมาณ

    75 ล้านเปโซ จึงเริ่มสร้างอาคารเมื่อปี 2009 ต่อมาในปี 2018

    ได้รบังบประมาณเพ่ิมขึน้อกี 75 ล้านเปโซ จนสามารถสร้างศนูย์

    PNHLSC ได้เสรจ็สมบรูณ์ รวมงบประมาณอาคารท้ังหมด 150

    ล้านเปโซ หรือประมาณ 90 ล้านบาท

    เปิดศูนย์วิทยาศาสตร์และห้องปฏิบัติการฮาลาลแห่งชาติฟิลิปปินส์The Philippine National Halal Laboratory and Science Center (PNHLSC)

    ดร.พรพิมล มะหะหมัด หัวหน้าฝ่ายบริการวิชาการและวิจัย ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาฯ

    Dr.Pornpimol Mahamad, Head of Academic Services and Research Division, The Halal Science Center,Chulalongkorn University

    The Philippine National Halal Laboratory and Science Center (PNHLSC) in Koronadal City, South Cotabato.

    photo by Edd K. Usman

    HALAL UPDATEHALAL INSIGHT

  • 7

    in 2018 after more funding was released P75

    million in 2017. PNHLSC is located on a 1-hectare

    land area, with floor area of about 3,000 square

    meters. It has 35 rooms in its three floors which

    consists of Conference Room, Halal Library,

    Halal Lounge, Service Room, International Co-

    ordination Office, the Regional Director and ICT

    Unit and laboratory instrument such as DSC/

    ICP E-nose, GC-MS, HPLC and Real-Time PCR.

    There are providing laboratory analysis servic-

    es and various types of products testing from

    customers.

    In addition, Dr.Laiden refers to Assoc.

    Prof.Dr.Winai, who mentioned about the

    cooperation with him and the Halal Science

    Center. Like the Philippines, Thailand is

    a non-Muslim country of which the government

    supports the Islamic affairs. One of the examples

    of these supports is that a cabinet resolution on

    August 13, 2003 approved the establishment

    of the Halal Science Center at Chulalongkorn

    University. These stories became inspirations

    for Dr. Laiden to pursue her work in establishing

    the Philippine National Halal Laboratory and

    Science Center.

    Inauguration of the Philippine Na-

    tional Halal Laboratory and Science Center

    (PNHLSC) was held at the same time as

    the World Halal Assembly Philippine 2019

    between 25-28 February 2019. This time,

    Assoc. Prof. Dr. Winai Dahlan, the Found-

    ing Director of the Halal Science Center,

    Chulalongkorn University (HSC-CU) was

    invited by Dr. Hadja Sittie Shayma Zenaida

    P. Hadji Raof Laiden, Regional Director,

    Department of Science and Technology,

    Region XII (DOST XII), Philippines.

    Dr. Laiden said that PNHLSC is

    a project established by DOST XII. De-

    partment of the Budget and Management

    (DBM) released P75 million allocation for

    the building in 2008, and finally completed

    Dr. Laiden มีความตั้ งใจท่ีท�าให ้

    PNHLSC เป็นศูนย์รวมสินค้าครบวงจร

    โดยมีเป ้าหมายสูงสุดในการพัฒนา

    ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตในท ้องถ่ินให ้ เป ็น

    แบรนด์พรีเมี่ยมฮาลาลที่สอดคล้อง

    กับมาตรฐานและข้อก�าหนด โดยใช้

    มาตรฐานฮาลาลท่ีครบวงจรและเป็น

    ที่ยอมรับในระดับสากล และยังเป็น

    ห้องปฏิบัติการที่ท�าหน้าที่ตรวจสอบ

    ผลิตภัณฑ์เพ่ือการขอรับรองฮาลาล

    ส�าหรับผลิตภัณฑ์ท่ีต้องการส่งเข้าและ

    ออกนอกประเทศเพ่ือประโยชน์ของ

    ผู้บริโภค อีกท้ังการสร้างเครือข่ายและ

    การเข้าถึงประชากรมุสลิม โดยท�าเล

    ที่ตั้งของศูนย์ PNHLSC ซึ่งอยู่ในส่วน

    ภาคใต้ตอนกลางของมินดาเนาซ่ึงเป็น

    ประตูสู่โลก สามารถให้บริการประชากร

    มุสลิมที่กว้างกว่าเมื่อเทียบกับเขตการ

    ปกครองอื่นๆของประเทศ และติดกับ

    เขตปกครองตนเองในมินดาเนามุสลิม

    the Autonomous Region in Muslim

    Mindanao (ARMM) และอยู่ใกล้กับ

    เขตพัฒนาเศรษฐกิจอาเซียนด้านตะวัน

    ออก the East ASEAN Growth Area

    (BIMP-EAGA) ซึ่งมีกลุ่มประเทศในเขต

    พ้ืนท่ีบรูไน อินโดนีเซีย มาเลเซีย และ

    ฟิลิปปินส์อีกด้วย

    นอกจากนี้ Dr.Laiden ได้กล่าวถึง

    รศ.ดร.วินยั ดะห์ลนั ถึงความร่วมมอืท่ีได้

    รับจากตัวผู้อ�านวยการเองและจากศูนย์

    วิทยาศาสตร์ฮาลาล ซึง่ท�าให้พวกเราชาว

    ศวฮ. รู้สึกภาคภูมิใจ และประเทศไทย

    ในฐานะที่มิใช่ประเทศมุสลิมเช่นเดียว

    กับฟิลิปปินส์ หากแต่รัฐบาลให้การ

    สนับสนุนกิจการศาสนาอิสลาม เช่น

    มีมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 13 สิงหาคม 2546

    ที่ให้การสนับสนุนการจัดต้ังศูนย์วิทยาศาสตร์

    ฮาลาล ท่ีจุฬาลงกรณ ์มหาวิทยาลัย ซึ่ ง

    เร่ืองราวเหล่านี้กลายเป็นแรงบันดาลใจให้กับ

    Dr. Laiden กระทั่งสร้างความส�าเร็จให้เกิดขึ้น

    ในฟิลิปปินส์

    รูปภา

    พจาก

    http

    s://w

    ww

    .face

    book

    .com

    /PIA

    12So

    ccsk

    sarg

    en/p

    osts

    /207

    5796

    3225

    3773

    7

    HALAL UPDATEHALAL INSIGHT

    ข้อมูลเพิ่มเติม

    1.https://businessmirror.com.ph/2019/03/10/

    phls-one-stop-shop-halal-center-opens/

    2. https://www.facebook.com/drwinaidahlan/

  • 8

    Q. นโยบายของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีจุดเด่นอย่างไรคะ?

    Q. แล้วจุดเด่นท่ีนอกเหนือจากนโยบายของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

    มีอะไรเพิ่มเติมอีกไหมคะ?

    Q. ในอนาคตของศนูย์วทิยาศาสตร์ฮาลาล จฬุาฯของเรามีเป้าหมายอย่างไร

    ท่ีจะเป็นส่วนหน่ึงในการช่วยผลักดันหรือว่าสนับสนุนให้กับจุฬาลงกรณ์

    มหาวิทยาลัยคะ?

    A. ผมเองได้เป็นอาจารย์ มาทั้งหมด 3 มหาวิทยาลัย ส่วนจุฬาฯ เป็น

    มหาวิทยาลัยท่ี 3 ฉะนั้นผมเองจะเห็นนโยบายของแต่ละมหาวิทยาลัยท่ีไม่

    เหมือนกัน กรณีของจุฬาลงกรณ์มีนโยบายท่ีค่อนข้างชัดเจน คือ ในการท่ีจะ

    ให้โอกาสกับคนที่อยู่ข้างล่างในการที่จะท�างาน ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล เป็น

    ตวัอย่างในการสร้างองค์กรขึน้มาในลกัษณะทีเ่ป็น Bottom-up หมายความว่า

    นักวิจัยเป็นคนผลักดันที่จะท�าให้เกิดการสร้างศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล ไม่ใช่

    ผู้บริหารเพราะฉะนั้นเราจะเห็นได้ว่าหน่วยงานในมหาวิทยาลัยท้ังหลายส่วน

    ใหญ่ เป็นการผลักดันของผู้บริหาร แต่ในกรณีของศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล

    เราเริ่มมาจากนักวิจัยเพียงหนึ่งคนสร้างศูนย์ขึ้นมา และมหาวิทยาลัยก็ให้การ

    สนับสนุน ซึ่งนักวิจัยคนนั้นก็คือ ตัวผมเอง ตัวอย่างนโยบายลักษณะอย่างนี้มี

    ค่อนข้างน้อย แต่จะต้องเริม่จาก การสนบัสนุนของมหาวทิยาลยัก่อน ฉะน้ันสิง่

    แรกที่ส�าคัญเลยก็คือ เรื่องของนโยบายของมหาวิทยาลัย

    A. ในส่วนของนโยบายของมหาวิทยาลัย นอกเหนือจากน้ีจะมีในเรื่องของ

    วัฒนธรรมวิธีคิดของผู้บริหารมหาวิทยาลัยในหลายแห่งก็อาจจะเห็นว่า งาน

    ที่มาจากระดับล่างขึ้นมา กังวลว่าอาจจะไม่ Stable เค้าก็เลยไม่ค่อยให้การ

    สนับสนุน แต่ว่ากรณีของศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล ให้ความไว้วางใจและเชื่อ

    มั่นว่าจะไปรอดได้ ทางมหาวิทยาลัยก็เลยสนับสนุนผลักดัน และอันน้ีก็เป็น

    เรื่องท่ีมหาวิทยาลัยมีนโยบายและก็มีวัฒนธรรมขององค์กรท่ีชัดเจน ที่ท�าให้

    ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล เกิดขึ้นที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยแห่งนี้ได้ ผมเคย

    ได้ยินคณะกรรมการท่ีไปตรวจในเรื่องของประกันคุณภาพของมหาวิทยาลัย

    ใหญ่แห่งหน่ึงพูดให้คณะกรรมการฟังว่า ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาลน่าจะเกิด

    ขึ้นที่มหาวิทยาลัยของเขา แต่มหาวิทยาลัยของเขาไม่มีวัฒนธรรมองค์กรที่จะ

    ท�าให้ศูนย์ลกัษณะนีเ้กิดได้ เพราะฉะนัน้เรือ่งของวัฒนธรรมองค์กรของผูบ้รหิาร

    มหาวิทยาลัยนั้นมีความส�าคัญ

    A.ผมว่าอีกสิ่งหน่ึงท่ีเป็นพันธกิจส�าคัญ เพราะว่ามหาวิทยาลัยต้ัง KPI ชัดเจน

    เก่ียวข้องกับมหาวิทยาลัย ในการที่จะขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยไปสู่ระดับที่เป็น

    ที่ยอมรับในระดับสากล เพราะฉะน้ัน การท่ีมหาวิทยาลัยก้าวขึ้นไปสู่ระดับโลก

    นอกจากจะเป็นภาพของมหาวิทยาลัยแล้ว ก็ยังเป็นภาพที่ดีของประเทศอีกด้วย

    ท�าให้คนท่ีมาเรียนในมหาวิทยาลัยน้ันมีความภาคภูมิใจและประเทศก็จะได้รับ

    เกียรติยศไปด้วย หน้าท่ีของหน่วยงานท่ีอยู่ภายใต้มหาวิทยาลัยอย่างเช่นศูนย์

    วิทยาศาสตร์ฮาลาล คือพวกเราจะต้องช่วยกันผลักดัน หน่วยงานท่ีอยู่ภายใต้

    มหาวิทยาลัยเป็นผู้ท�าเป็นผู้ปฏิบัติ เราถือว่าเป็นผู้ปฏิบัติอย่างหนึ่ง แต่ว่าเราถูก

    จัดตั้งขึ้นมาด้วยพันธกิจท่ีค่อนข้างท่ีจะชัดเจนโดยรัฐบาลท่ีอาจจะไม่ตอบสนอง

    ต่อความต้องการของมหาวิทยาลัย สิ่งท่ีเราจ�าเป็นที่จะต้องท�าก็คือ แบ่งส่วน

    หน่ึงจะต้องท�างานให้รัฐบาล อีกส่วนหน่ึงในฐานะท่ีจุฬาฯ เป็นเจ้าของทุน เราก็

    จะต้องท�างานให้กับทางมหาวิทยาลยัในฐานะทีเ่ราเป็นส่วนหนึง่ของมหาวิทยาลยั

    มหาวิทยาลัยจ�าเป็นที่จะต้องได้ KPI ในเรื่องของงานวิจัย ในเรื่องของงานตีพิมพ์

    ในเรือ่งของนวัตกรรม ในเรือ่งของการทีเ่ป็นทีย่อมรบัในระดบัสากลงานต่างๆเหล่า

    นี้ ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จะต้องมีส่วนร่วม เราก็เลยมีนโยบายว่า ต้องช่วยกัน

    ด�าเนินการในเรือ่งน้ี ศนูย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จะท�าตวัแปลกแยกจากมหาวิทยาลยั

    ไม่ได้ เพราะมหาวทิยาลยัก้าวข้ึนไปข้างบน ศนูย์วทิยาศาสตร์ฮาลาล เป็นส่วนหน่ึง

    ได้ประโยชน์ตรงนีเ้ราจงึจ�าเป็นทีจ่ะต้องเข้าไปร่วมท�า และอนัน้ีก็เป็นนโยบายทีเ่รา

    ได้ประกาศไปแล้วว่าจะต้องท�าให้ส�าเร็จครับ

    HALAL HIGHLIGHTHALAL INSIGHT

    8

  • 9

    Q.สุดท้ายนี้เนื่องในโอกาสครบรอบ 102 ปี แห่งการสถาปนาจุฬาลงกรณ์

    มหาวิทยาลัย ในวันอังคารท่ี 26 มีนาคม 2562 ท่ีจะถึงน้ี อยากให้ท่านผู้

    อ�านวยการกล่าวอวยพร หรือจะฝากถึงจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนิดนึงคะ

    In an interview given on the auspicious occasion of the 102nd

    anniversary of the establishment of Chulalongkorn University on the 26th March, 2019, Associate Professor Dr. Winai Dahlan – the Founding Director of the Halal Science Center, Chulalongkorn University (HSC-CU) makes four important points on the relation between Chulalongkorn University and the Halal Science Center. He first states that the most important opportunity for an instituteunder the university’s administration to grow and be successful is the ‘university’s policy’ towards that particular institute. In the Halal Science Center’s case, Chulalongkorn University initially gave an opportunity for a researcher like himself to push the organization forward to finally become the Halal Science Center. Therefore, the Center is a good example of the ‘Bottom-up’ approach.

    The Founding Director then talks about the ‘culture’ or ‘perspective’ of the educational institution’s administration. Unlike many other universities which may not have confidence in the work initiated from the lower levels for fear of instability, Chulalongkorn University has a clear policy and cor-porate culture. The university initially believed in the Halal Science Center and trusted that it would be able to sustain. This type of culture from the university’s administration led to the existence of the Halal Science Center, which has continued to receive support from the university. The third point that the Founding Director makes is related to Chulalongkorn University’s mission. He states that one of the main missions of the university is to achieve the KPI set to propel the university to be the world class national university, reflecting the good image of both the university and the country. The Center should also have its mission to take part in the university’s KPI in research, publications, and innovation. Lastly, on this special occasion, the Founding Director thanks the university and the four Chulalongkorn University Presidents in particular– Associate Professor Dr. Tatchai Sumitra, Professor Emeritus Khunying Suchada Kiranandana, Professor Pirom Kamolratanakul (M.D.), and Professor Dr. Bundhit Eua-arporn – the sitting President, for continuing supporting the Center from the time when the Center was first established under the Faculty of the Allied Health Sciences until it has become anindependent center under Chulalongkorn University. Some of the importantsupports from the university to the Center worth mentioning are the encouragement to the Center in putting forward important proposals to the government and the financial assistance given to the Center. The best things for the Halal Science Center to do are to be a good asset to the university and to take parts in helping the university become successful in many different aspects, similar to what children can do for their parents.

    Translated by Associate Professor Dr. Adisra Katib

    A. ก่อนอื่นเลยผมต้องขอขอบพระคุณกับทางมหาวิทยาลัยที่ได้เก้ือหนุนศูนย์

    วิทยาศาสตร์ฮาลาล มาตั้งแต่ต้น ทั้งในเรื่องของการสนับสนุนผลักดันในการ

    ที่เราจะเข้าไปน�าเสนอโครงการกับทางรัฐบาล ทางมหาวิทยาลัยช่วยเรามาก

    มีอะไรขาดเหลือมหาวิทยาลัยก็เข้ามาสนับสนุน และก็จัดตั้งเราจนกระท่ังเป็น

    ศูนย์ภายใต้มหาวิทยาลัยแยกออกมาจากคณะ ท้ังหมดน้ีเป็นการสนับสนุนของ

    มหาวิทยาลัยท้ังนั้นเลยครับ และอธิการบดีของมหาวิทยาลัยทุกๆท่านตั้งแต่เรา

    เริม่ก่อต้ังมาจนถึงปัจจบุนัได้เข้ามามส่ีวนร่วมเป็นอย่างมาก และศนูย์วิทยาศาสตร์

    ฮาลาล จุฬาฯเติบโตมากับอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถึง 4 ท่าน ได้แก่

    รองศาสตราจารย์ ดร. ธัชชัย สุมิตร ศาสตราจารย์กิตติคุณ คุณหญิง สุชาดา

    กีระนันทน์ ศาสตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์ ภิรมย์ กมลรัตนกุล และอธิการบดี

    จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยคนปัจจุบัน ศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์

    เพราะฉะน้ันต้องบอกว่าทุกท่านมีส่วนส�าคัญในการที่ได้สร้างความก้าวหน้าให้

    กับศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาฯ แห่งน้ีครับ ในวาระที่มหาวิทยาลัยครบรอบ

    102 ปี ถือว่าเป็นมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย สิ่งที่เราจะท�าให้กับ

    มหาวิทยาลัยได้ก็คือ พวกเราจะเป็นบุคลากรที่ดีของมหาวิทยาลัยและประสงค์ที่

    จะมีส่วนต่อความส�าเร็จและความก้าวหน้าของมหาวิทยาลัย และดีที่สุดในการที่

    เราจะท�าให้กับมหาวทิยาลยัน้ันก็คอื ‘ท�าให้มหาวิทยาลยันัน้ได้ประสบความส�าเรจ็

    ในด้านต่างๆ’ ส่วนในเรือ่งของการอวยพร คงไม่มเีพราะว่าเราเป็นผูน้้อย ก็เอาเป็น

    ว่าสิง่ทีเ่ราจะท�าได้ เราก็เหมอืนกับลกูนัน่แหละครบั สิง่ทีล่กูจะท�าก็คอื ลกูจะท�าสิง่

    ที่ดีที่สุดให้กับมหาวิทยาลัยแห่งนี้ นั่นคือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยครับ

    ผู้สัมภาษณ์ : นางสาวธัญพิชญ์ฌา หวังนุช

    ผู้ให้สัมภาษณ์ : รศ.ดร. วินัย ดะห์ลัน ผู้ก่อตั้งและผู้อ�านวยการศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

    HALAL HIGHLIGHTHALAL INSIGHT

  • 10

    ฮาลาลกับการคุ้มครองผู้บริโภคอาหารอนาคต (Future Foods)

    จากโรงเชือดสู่โรงเพาะเลี้ยงจากพืชสู่เนื้อสัตว์

    แนวโน้มจ�านวนประชากรมนุษย์เพิ่มขึ้นเป็น 8.5 ล้านคน และ 9.3 ล้านคน ในปี ค.ศ. 2030 และ ค.ศ. 2050

    ตามล�าดับ ส่งผลให้ปริมาณความต้องการอาหารเพ่ิมสูงขึ้นตามไปด้วย โดยเฉพาะอย่างย่ิงความต้องการบริโภคเนื้อสัตว์

    จะเพิ่มขึ้นมากกว่า 2 ใน 3 ของการบริโภคในปัจจุบัน ในขณะที่พื้นที่เพาะปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ส�าหรับเป็นอาหารกลับลด

    ปริมาณลงอย่างต่อเนื่อง นักวิทยาศาสตร์ด้านอาหารจากหลายๆ ประเทศ ก�าลังปฏิวัติวิถีการเพ่ิมผลผลิตทางการเกษตร

    ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งน�าไปสู่ความย่ังยืนทางอาหารในอนาคตได้ น่ันคือ การเปลี่ยนแปลงจากวิธีการแบบ

    เก่าในการผลิตพืชและสัตว์จากเดิมที่เป็นการปลูกพืชเลี้ยงสัตว์ไปสู่การ “ปลูกสัตว์ เลี้ยงพืช”

    การเลี้ยงปศุสัตว์ใช้พลังงาน อาหาร น�้า

    และทรัพยากรอื่นๆที่ค่อนข้างสูง และเป็นสาเหตุ

    หน่ึงของการปล่อยแก๊สเรือนกระจก (16% ของ

    ปรมิาณท้ังหมด) ตวัอย่างเช่น ผลติเน้ือววัในโรงงาน

    ขนาดใหญ่ต้องใช้อาหารเกือบ 8 เท่า และใช้ที่ดิน

    มากกว่าปกตถึิง 160 เท่า ดงันัน้ การฆ่าสตัว์อาจจะ

    เป็นเรือ่งไม่ค่อยนยิมในอนาคตและมนษุย์จะหนัไป

    บริโภคเนื้อสัตว์ปลูก (in vitro meat, clean meat)

    กันมากขึน้ เนือ้สงัเคราะห์จากห้องปฏิบติัการน้ีไม่ใช้

    เนื้อปลอมแต่ผลิตจากเซลล์ต้นก�าเนิด (Stem cell)

    ท่ีจะเป็นเซลล์ท่ีได้มาจากสตัว์ต่างๆ หลงัจากนัน้จะ

    น�าเซลล์ดังกล่าวไปเพาะเลี้ยงให้แบ่งตัวทวีคูณใน

    สภาพแวดล้อมท่ีท�าให้เซลล์เชื่อว่ายังอาศัยอยู่ใน

    ร่างกายของสตัว์ตวัน้ัน จากน้ันเซลล์ดงักล่าวกลาย

    เป็นเน้ือเย่ือซ้อนทับกันคล้ายเซลล์กล้ามเนื้อใกล้

    เคยีงกับเน้ือสตัว์มากท่ีสดุ ด้วยเทคนคิน้ีท�าให้เซลล์

    กล้ามเนื้อนี้สามารถแบ่งตัวได้เท่ากับเน้ือปริมาณ

    10 ตัน

    ปัจจุบัน แม้จะได้รับการยอมรับจาก

    กลุ่มรณรงค์ต่อต้านการทารุณกรรมสัตว์และกลุ่ม

    คนท่ีงดทานเน้ือสัตว์ แต่ขั้นตอนการผลิตเน้ือปลูก

    ยังต้องมีการพิจารณาในประเด็นฮาลาลต่างๆ เช่น

    ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีชีวภาพ

    ท�าให้เราสามารถออกแบบและสื่อสารกับพืชเพ่ือ

    ให้พืชผลิตสิ่งท่ีเราต้องการได้ การผลิตเนื้อสัตว์

    เทียม (artificial meat, synthetic meat) ไม่ว่าจะ

    เป็นเน้ือไก่ เนือ้ววั ไส้กรอก เนือ้ปลาและอาหารทะเล

    สังเคราะห์ ซึ่งท�ามาจากโปรตีนพืช เช่น ถั่วลันเตา

    หัวบีต เป็นต้น ก�าลังเป็นที่นิยมเป็นอย่างมาก

    ไม ่ เฉพาะเนื้อเทียมเพียงอย ่างเดียว แม ้แต ่

    ผลิตภัณฑ์จากสัตว์อย่างเช่นนมและเนยแข็ง ก็

    ก�าลังถูกทดแทนโดยพืช ข้อดีของเน้ือเทียมและสิ่ง

    อื่นๆ จากพืชคือนอกจากช่วยลดการแพร่กระจาย

    เชื้อโรคจากสัตว์สู่คนแล้ว ยังช่วยดูแลสิ่งแวดล้อม

    ทางอ้อม

    ในอนาคตนัน้ มนษุย์จะมกีารน�าโปรตนี

    จากพืชมาใช้ทดแทนเนื้อสัตว์กันมากขึ้น อย่างไร

    ก็ตามเนื้อเบอร์เกอร์จากพืชต่างๆ เช่น มันฝรั่ง

    ถ่ัวเขียว ข้าวโพด บางส่วนผ่านการตัดต่อทาง

    พันธุกรรม (GMO) เพ่ือให้สามารถผลิตออกมาให้

    ได้มากและมคีณุสมบตัติามต้องการ อย่างไรก็ตาม

    เพ่ือให้ได้มีรสชาติและกลิ่นท่ีเหมือนเนื้อสัตว์จริงๆ

    นอกจากนั้นยังคงมีการผสมสารปรุงรสและส่วน

    ประกอบอื่นๆ รวมถึงเลือดหรือฮีมที่ผลิตมาจาก

    ยีสต์ลงไปด้วย ถึงแม้ว่าในปัจจบุนัจะสามารถค้นพบ

    สารท่ีคล้ายคลงึกับเลอืด (Leghemoglobin จากราก

    ของถ่ัวเหลือง) เพ่ือกลุ่มผู้บริโภคมังสวิรัติแล้วก็ตาม

    พืช GMO ที่ตัดต่อพันธุกรรมจากสัตว์ที่ต้องห้าม

    สารปรุงรส กลิ่น และส่วนประกอบอื่นๆ ก็ยังเป็น

    ปัญหาถึงแหล่งท่ีมาของวัตถุดิบและกระบวนการ

    ผลิตว่าฮาลาลหรือไม่

    Acharee Suksuwan, Ph Dดร.อัชอารีย์ สุขสุวรรณHead of Scientific Affairs Service Unit & Researcher, The Halal Science Center, Chulalongkorn University

    หัวหน้ากลุ่มภารกิจบริการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาฯ

    10

  • 11

    จากคอกสัตว์สู่ฟาร์มแมลง

    ในอนาคตนั้นมนุษย์จะมีการน�าโปรตีน

    จากแมลงมาใช้ประโยชน์กันมากข้ึนโดยใช้เป็นอาหาร

    สัตว์โปรตนีสงูหรอืเป็นส่วนประกอบในอาหารแปรรปู

    เพราะแมลงหลายชนิด เช่น ด้วง ตั๊กแตน จิ้งหรีด และ

    ตัวอ่อนแมลงมีปริมาณโปรตีนและสารอาหารรอง

    (micronutrient) อย่างกรดไขมัน เกลือแร่ และกรด

    อะมโินท่ีล้วนแต่ดต่ีอสขุภาพมากกว่าเนือ้วัวเมือ่เทยีบ

    ปรมิาณต่อกโิลกรมั ตัวอย่างเช่น ปลวกมรีสชาตคิล้าย

    แครอทหรือสับปะรด มีธาตุเหล็ก สังกะสี แมงกานีส

    ซึ่งช่วยเสริมภูมิต้านทานให้มนุษย์ จิ้งหรีดบ้านหรือ

    จิ้งหรีดทองแดง เป็นแมลงที่นิยมเพาะเลี้ยงมากที่สุด

    เพราะรสชาตอิร่อยท่ีสดุ ดงัน้ันแมลงจงึจดัเป็นโรงงาน

    ผลิตโปรตีนท่ีมีประสิทธิภาพสูงกว่าวัวและไก่มาก

    และการเพาะเลี้ยงแมลงนั้นก็ใช้ทรัพยากรเพียงน้อย

    นิดเมื่อเทียบกับการผลิตเนื้อวัวเนื้อไก่ ท�าให้สามารถ

    ผลิตในระดับอุตสาหกรรมท�าได้โดยสร้างผลกระทบ

    ต่อสิ่งแวดล้อมเพียงเล็กน้อย

    หากในอนาคตมนุษย์มีการใช้โปรตีนจาก

    แมลงมาเป็นส่วนประกอบของอาหาร สิ่งที่ควรระวัง

    ด้านฮาลาล คอืแมลงส่วนใหญ่เป็นข้อห้ามทางศาสนา

    อิสลามในการบรโิภค ดงันัน้โปรตนีสกัดจากแมลงอาจ

    มปัีญหาด้านฮาลาล รวมถึงผลติภณัฑ์ทีไ่ด้จากแมลง

    เช่น สารสกัดโปรตีน สี รสชาติ ยังเป็นปัญหาในด้าน

    การตคีวามทางศาสนา หากเป็นเช่นนัน้ วิทยาศาสตร์

    ฮาลาลต้องเข้ามามีบทบาทในการตรวจสอบแหล่ง

    ทีม่าของวัตถุดบิและอาหารดงักล่าวเพ่ือการคุม้ครอง

    ผู้บริโภคอาหารฮาลาล

    เซลล์ต้นก�าเนิดที่น�ามาเพาะเลี้ยงต้องเป็นท่ีอนุญาต

    ตามหลกัการอสิลาม น�า้ยาเลีย้งเซลล์/เชือ้ ซึง่ประกอบ

    สารอาหารต่างๆ ที่จ�าเป็นต่อการเจริญเติบโตของ

    เซลล์/เชื้อ อาจมีสารอาหารที่มาจากสิ่งต้องห้ามตาม

    หลักการอสิลาม เช่น โปรตนีและเอมไซม์จากสตัว์ต้อง

    ห้ามทางศาสนา โครงเล้ียงเซลล์ (Scaffold) ส่วนใหญ่

    นยิมใช้ชวีวัสดจุากธรรมชาต ิเช่น คอลลาเจน เจลาตนิ

    ไหม ผงกระดกู วสัดสุงัเคราะห์ หรอืสารแต่งสแีต่งกลิน่

    รสชาติ รสสัมผัส เส้นใยและไขมัน เพ่ือให้มีรูปร่าง

    หน้าตาเหมือนเนื้อสัตว์จริงๆ ยังอาจมีความเสี่ยงใน

    การปนเป้ือนสิง่ต้องห้ามตามหลกัการศาสนาอสิลาม

    The trend of human population has

    increased to 8.5 and 9.3 million people in 2030

    and 2050, respectively, resulting in increasing

    demand for food. In particular, the demand for

    meat consumption will increase by more than

    two-thirds of current consumption. Scientists

    from many countries are revolutionizing the

    way to increase agricultural productivity with

    science and technology, leading to food sus-

    tainability in the future. Advances in Science

    and technology allow us to design and control

    what scientists want. The productions of artificial

    meats or synthetic meats including chicken,

    beef, sausage, fish and synthetic seafood, or

    their derivatives, made from plant and animal

    stem cells are becoming very popular. Current

    animal farming techniques cause pronounced

    impacts on the environment, especially green-

    house effect. For example, the production of

    beef in a large plant requires almost 8 times

    food consumption and 160 times more land

    than usual. In the future, animal slaughtering

    might not be popular and humans will turn to

    consume more cultured or clean meat. Synthetic

    meat is produced from stem cells derived from

    the desired animals using tissue engineering

    HALAL AND CONSUMER PROTECTION OF FUTURE FOODS

    techniques. However, people are likely to consume

    more plant protein than animal protein because

    they believe that plant-based protein consump-

    tion can reduce the spread of pathogens from

    animals to humans and also help to take care of

    the environment indirectly. In addition, protein from

    insects is one of the alternative choices. Many

    insects such as beetles, grasshoppers, crickets,

    and insect larvae, have a high amount of protein

    and nutrients (micronutrient) when compared

    to the beef amount per kilogram. Despite being

    accepted by some of the anti-cruelty campaign

    groups and vegans, the production process of

    cultured meat must also be considered in various

    halal issues. For example, the stem cells that are

    cultured must be in accordance with the Islamic

    principles. The question is whether cell culture

    solution containing various nutrients necessary for

    cell growth is prohibited by Islamic principles or

    not. Scaffolds from collagen, gelatin, bone powder

    and some food additives (color additives, flavoring,

    and taste) may also pose a risk of contamination

    of prohibited items according to the religious prin-

    ciples. Moreover, insect proteins and genetically

    modified plants from prohibited animals are still

    a problem because of the source of origin, raw

    materials and production processes. Therefore,

    Halal science must play a role in examining the

    original source of raw materials/ingredients for

    Halal food consumer protection.

  • 12

    วันนี้ขออนุญาตหยิบยก แอปพลิเคชั่นที่มีชื่อว่า “Auditor Assistant”

    (ระบบผูช่้วยผูต้รวจประเมนิ) เป็นอกีแอปหนึง่ท่ีอยู่ในโครงการ SPHERE เน่ืองจาก

    ในแต่ละปีมผีูป้ระกอบการมาขอรบัรองฮาลาลเพ่ิมมากขึน้ ปัจจบัุนมจี�านวนโรงงาน

    กว่า 7,000 โรงงาน จ�านวนผลิตภัณฑ์มากกว่า 100,000 ผลิตภัณฑ์ ซึ่งผู้ตรวจ

    ประเมินมาตรฐานฮาลาลก็จะต้องท�างานอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมาก

    ย่ิงข้ึน รศ.ดร.วินัย ดะห์ลัน ผู้อ�านวยการศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์

    มหาวิทยาลัย จึงมีนโยบาย พัฒนาแอปพลิเคชั่นนี้ เพื่ออ�านวยความสะดวก และ

    ความรวดเรว็ ให้แก่ คณะกรรมการอสิลามประจ�าจงัหวัด โดยมอบหมายให้ทางทีม

    งานส�านักงานเชยีงใหม่ ด�าเนนิการจดัท�าแอปพลเิคชัน่ดงักล่าว เราไปดกัูนเถอะว่า

    แอปพลิเคชั่นตัวนี้ใช้ประโยชน์อะไรได้บ้าง

    Auditor Assistant เป็นแอปพลเิคชัน่ทีช่่วยเหลอืผูต้รวจประเมนิตัง้แต่

    ต้นจนจบกระบวนการ ไม่ว่าจะเป็น การนดัหมายวันเข้าไปตรวจสถานประกอบการ

    ให้ผู้ตรวจสามารถยืนยันวันท่ีเหมาะสมได้ อกีทัง้ยังแสดงตารางวันท่ีเข้าตรวจ รวม

    ถึงการน�าทางไปยังสถานประกอบการได้อย่างถูกต้องแม่นย�า ในส่วนของสถาน

    ประกอบการ ผูต้รวจสามารถแบ่งหน้าท่ีความรบัผดิชอบในการเข้าไปตรวจประเมนิ

    ในตัวระบบจะรวบรวมความคิดเห็น รูปถ่าย หรือข้อเสนอแนะของผู้ตรวจแต่ละ

    ท่าน เข้ามายังในโทรศพัท์มอืถือของประธานและเลขานกุารของทีมได้ทนัท ีเพ่ือลด

    ระยะเวลาในการสรปุเอกสาร และทีส่�าคัญเมือ่มข้ีอแก้ไขให้กับสถานประกอบการ

    ทีมผู ้ตรวจยังสามารถติดตามสถานะการแก้ไข ได้อีกด้วย นอกเหนือจากนี้

    แอปพลเิคชัน่ยังมคีวามสามารถอืน่ๆอกีมากมายท่ีจะช่วยเหลอืผูต้รวจประเมนิและ

    สถานประกอบการให้สะดวกและรวดเรว็มากย่ิงขึน้ นบัได้ว่าเป็นแอปท่ีอ�านวย

    ความสะดวกและตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์คนยุคใหม่ได้เป็นอย่างดีเลยทีเดียว

    สุดท้ายน้ีทางทีมงานศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์

    มหาวิทยาลัย ส�านักงานเชียงใหม่ ซึ่งเป็นศูนย์กลางด้านไอทีและด้านฐาน

    ข้อมูลฮาลาลขนาดใหญ่ (Halal Big Data) เชื่อมั่นว่าแอปพลิเคชั่นที่ได้ตั้งใจ

    จัดท�าข้ึนจะมีประโยชน์และสามารถน�าไปประยุกต์ใช้ในการตรวจรับรอง

    ฮาลาลได้ คอลัมน์หน้าจะเป็นเรื่องอะไรนั้นฝากติดตามด้วยนะคะ

    สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลหรือข่าวสารต่างๆ เพิ่มเติม

    ได้ที่ Facebook Fanpage,Instagram,Twitter:

    HalalScienceCM #HSCCM

    APPLICATIONAUDITOR ASSISTANT

    โดย...ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาฯ ส�านักงานเชียงใหม่

    The Halal Science Center, Chulalongkorn University at the Chiang Mai Office has invented an application named ‘Application Auditor Assistant’ to facilitate Halal standard auditors to be able to work faster. At present, an increasing number of factories and products submitting requests for Halal certification could lead to delays in the process of certification. We hope that this application will be useful to the Halal Standard auditors.

    Translated by Associate Professor Dr. Adisra Katib

    12 ฮาลาลล้านนาHALAL INSIGHT

  • 13

    สวัสดีค่ะ กลับมาพบกับคอลัมป์ Halal ปักษ์ใต้ ฉบับเดือนมีนาคม คอลัมป์นี้พวกเรา

    ชาวศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล ส�านักงานปัตตานี จะพาพวกเราไปรู้จักกับ วิสาหกิจฮาลาลเพ่ือ

    สังคม ที่ทางส�านักงานปัตตานี ด�าเนินการอยู่ในขณะนี้ ก่อนอื่นเลยเราจะพาทุกท่านไปท�าความ

    รู้จัก ค�าว่า Social Enterprise ( SE ) ประกอบด้วย Enterprise คือ การประกอบการ หรือเรียกว่า

    “วิสาหกิจ” และค�าว่า Social คือ “สังคม” และเมื่อน�าค�าดังกล่าวมารวมกันจึงเกิดค�าใหม่ขึ้นว่า

    “วิสาหกิจเพื่อสังคม”คือ การประกอบการเพื่อสังคม ซึ่งถือเป็นค�าเดียวกับ “กิจการเพื่อสังคม” ซึ่ง

    ยังอยู่ระหว่างการพิจารณาข้ันตอนการออกพระราชบญัญัตส่ิงเสรมิวิสาหกิจเพ่ือสงัคม Enterprise

    คือ การประกอบการ หรือเรียกว่า “วิสาหกิจ”

    เป็นท่ีทราบกันดีว่าสภาพสังคมไทยในปัจจุบันมีความสลับซับซ้อนเคลื่อนไหว

    เปล่ียนแปลงอย่างรวดเร็วไปพร้อมกับการเชื่อมโยงของระบบเครือข่ายสังคมออนไลน์ ( Social

    Network System ) โดยปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นถือเป็นเรื่องยากท่ีภาครัฐเพียงล�าพังจะเข้ามา

    แก้ไขได้ ฉะนั้น ภาครัฐจึงได้เล็งเห็นความจ�าเป็นในการให้ภาคเอกชน และประชาชน ได้เข้ามา

    มีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศ และแก้ไขปัญหาร่วมกัน แนวทางหน่ึงในการส่งเสริมให้ภาค

    เอกชนและประชาชนมีส่วนขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ คือ การส่งเสริมและพัฒนา “วิสาหกิจ

    เพื่อสังคม” ( Social Enterprise ) เป็นกิจการที่มีจุดมุ่งหมายหลักในการแก้ไขปัญหาสังคมและ

    สิง่แวดล้อม โดยใช้กลไกการบรหิารจดัการทีด่ขีองภาคธุรกิจมาบวกกบัความรูแ้ละนวัตกรรมสงัคม

    มีความยั่งยืนทางการเงินจากรายได้หลักที่มาจากสินค้าหรือบริการ โดยไม่ต้องพึ่งพาเงินบริจาค

    และน�าก�าไรที่เกิดขึ้นไปลงทุนซ�้า เพื่อขยายผลทางสังคม ทั้งนี้ วิสาหกิจเพื่อสังคม จึงเป็นการน�า

    จดุเด่นขององค์กรสาธารณะกุศล ( Non-Profit Organization : NPO ) ท่ีมุง่สร้างประโยชน์ให้แก่

    สังคม มาผสมผสานกับจุดเด่นของธุรกิจ ที่มีการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อสร้างผล

    ก�าไร จนสามารถ พ่ึงพาตนเองได้ ท้ังน้ีวสิาหกิจเพ่ือสงัคมท่ีเป็นท่ีรูจ้กักันในปัจจบุนั ได้แก่ โครงการ

    พัฒนาดอยตุง และโรงพยาบาลอภัยภูเบศ

    ส�าหรับเป้าหมายของวิสาหกิจเพ่ือสังคม คือ

    การน�าผลก�าไรจากการประกอบกิจการไปสร้างประโยชน์

    แก่สังคม และจัดสวัสดิการให้แก่ผู ้ด ้อยโอกาส เช ่น

    การสาธารณสุข ที่พักอาศัย บริการทางการเงิน โภชนาการ

    ส�าหรบัเดก็ท่ีขาดสารอาหาร บรกิารน�า้ดืม่ ไฟฟ้าชมุชน และ

    ดูแลปัญหาสิ่งแวดล้อม

    แล้วฮาลาล จะมส่ีวนช่วยในเรือ่งนีอ้ย่างไร ? ทาง

    ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรามี

    ฐานข้อมูล หรือที่เรารู้กันคือ Halal Big Data ซึ่งจะสามารถ

    ส่งเสริมวิสาหกิจฮาลาลเพื่อสังคมได้ในระยะยาว ด้วยพื้นที่

    สามจงัหวดัชายแดนภาคใต้อนัโดดเด่นไปด้วยทรพัยากรทาง

    ธรรมชาต ิและ อตัลกัษณ์ทางวัฒนธรรม การน�าวิทยาศาสตร์

    ฮาลาล และธุรกิจฮาลาล มาประยุกต์ใช้ร่วมกัน ก็จะมีส่วน

    ช่วยพัฒนาสงัคมได้อย่างย่ังยืน บนแนวทาง “ศาสนารบัรอง

    วิทยาศาสตร์รองรับ ธุรกิจฮาลาลสร้างรายได้สู่ชุมชน อย่าง

    ยั่งยืน”บทความโดย อัสลินดา ระเด่นอาหมัด

    BIHAPS

    ศนูย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จฬุาลงกรณ์มหาวทิยาลยั ส�านักงานปัตตานี

    ข้อมูลอ้างอิง 

    ส�านักงานสร้างเสริมกิจการเพื่อสังคมแห่งชาติ

    It is known that the present Thai society is complex and changing rapidly in parallel with the social network system. Hence, the government sector views that it is necessary for the private sectorand the public to take part in the development and problem solving of the country. One way of encouraging this collaboration between these two parties is to promote the social enterprise. Its main aim is to solve the social and environmental problems by employing the efficient management system of the private sector in combination with the knowledge and social innovation from the public. This will lead to financial sustainability deriving from the main income from selling products and services without having to depend on financial donation. Profits gained from these investments can be reinvested for social benefits. Using Halal Science and Halal businesses as guidelines will help develop the society under the concept of ‘Religion Certifies, Halal Science Supports, creating sustainable income for commu-nities.’

    Translated by Associate Professor Dr. Adisra Katib

    ฮาลาลปักษ์ใต้ฮาลาลล้านนาHALAL INSIGHT

  • 14

    กรณีศึกษาในโรงงานอุตสาหกรรมการผลิตเนย ชีส มาการีน

    โรงงานผลิตอาหารประเภท ผลิตภัณฑ์กลุ่ม Dairy products เช่น ชีส ตั้งอยู่

    ที่จังหวัดสมุทรปราการ ผลิตภัณฑ์ที่ขอการวางระบบ HAL-Q คือ ชีส ผงวุ้น เป็นต้น

    การวิเคราะห์อันตรายจากหะรอม

    จากการเข้าตรวจประเมินในสายการผลิตของผลิตภัณฑ์ Dairy products

    พบว่า ขัน้ตอนการคดัเลอืกวตัถุดบิ เพ่ือน�ามาใช้ในกระบวนการผลติ ถึงแม้จะมมีาตรการ

    ควบคมุและข้ันตอนการรบัอย่างเป็นระบบและสามารถควบคมุอนัตรายทางด้านฮาลาล

    แล้วน้ัน ต้องมีการตรวจสอบให้แน่ชัดว่า มาตรการดังกล่าวสามารถใช้ได้จริง จากการ

    ตรวจสอบในขั้นตอนการรับวัตถุดิบ ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ต้องควบคุมด้านฮาลาล (Haram

    Control Point; HCP) พบว่าการตรวจรับวัตถุดิบพร้อมการตรวจสอบใบรับรองฮาลาล

    (Halal Certificate) นั้นเป็นสิ่งส�าคัญที่พลาดไม่ได้ กรณีที่พบในโรงงานดังกล่าว พบว่า

    มีการขอใบรับรองฮาลาลของวัตถุดิบจากหน่วยงาน สกอจ. จริง แต่ใบรับรองฮาลาลดัง

    กล่าวมรีะยะเวลาท่ีระบใุนเอกสาร เป็นการระบุระยะเวลา ล่วงหน้าก่อนการรบัรองฮาลาล

    จรงิ ซึง่เป็นการระบรุะยะเวลาในเอกสารรบัรองฮาลาลก่อนหลายเดอื�